Marketing Trend ปี 2015 ต้อง “Option” มากกว่า “Standards” “สร้างมูลค่าเพิ่ม อย่าลดมูลค่าตนเอง”

เรื่องโดย : ดร.ธเนศ ศิริกิจ

วันนี้ขออนุญาตพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ควรระวังในการตลาดปี 2015 ก่อนอื่นคงจะเห็นได้ว่า มีปัจจัยมากมายที่ Controls และ Un-controls ซึ่งกำลังพูดถึง ปัจจัยที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

ในปี 2015  อาจจะต้องสร้างความเชื่อและความศรัทธาพอสมควร จึงจะตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าธุรกิจปัจจุบัน  จะต้องตอบโจทย์ในเรื่องสุขภาพ( Health)  และความปลอดภัย (Safety, Needs) ดังนั้นตามความเห็นของอาจารย์   แนวโน้มการตลาดปี 2015 นี้ คงอาจจะพอสรุปได้ ดังนี้

1.Service  Focus (มุ่งบริการ)

ดูแล้วอาจเป็นเรื่องที่พูดกันมานานมากแล้ว เหมือนเป็นเรื่องเก่าที่พูดกันมาเมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว แต่มาถึงยุคนี้ ปี 2014 – 2015 หรืออีก 2-3 ปี “เทคโนโลยีจะเข้ามาแทนที่ความรัก” โดยเราไม่รู้ตัว เพราะปัจจุบันคนเราพูดคุยกันมากขึ้น แต่ความผูกพันลดลง ซึ่งมันเป็นโจทย์ย้อนกลับว่า คนอาจจะเริ่มมุ่งเน้น เทคโนโลยีมากเกินไป

ดังนั้นการมุ่งเน้นการบริการจึงเป็นจุดที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ เพราะปัจจุบันระบบธุรกิจที่มีการบริการเข้ามาด้วย จะสนใจมือถือมากกว่าลูกค้าหรือไม่ โดยเฉพาะ New Gen ที่เข้ามาอยู่ในระบบงาน  ทักษะการแก้ปัญหา และวุฒิภาวะอาจจะยังน้อย

จะเห็นได้ว่า การฟ้องร้องหรือร้องเรียนในปัจจุบันมีมาก และความเสรีด้านเทคโนโลยี ทำให้การฟ้องร้องโดยระบบเอกสารจะมีน้อยกว่าการฟ้องร้องโดยคลิป โดยสื่อออนไลน์ ซึ่งจะเร็วและ Response ทันที
       
ดังนั้น สินค้า (Product) หรือ P’s ต่างๆที่มีออกมามากมาย หรือ Hi-tech คงสู้ Hi-touch  ลำบาก ถ้าธุรกิจคุณยังต้อง  Connection กับคนอยู่


          
2. Add Value หรือ “ผู้บริโภคมองที่คุณค่าที่ได้รับ”

คือมองในเรื่องคุณค่าที่ได้รับ ไม่มองสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่จะดูในเรื่องของ Add Values หรือที่เราชอบพูดว่า Options ต้อง มากว่า Standards

ดังนั้นแนวโน้มปี 2015 นั้น สินค้าหรือบริการต่างจะต้องมาให้ความสำคัญกับคุณค่าให้มาก

แนวโน้มต่างในปี 2014 และในปี 2015 หรือในอนาคต  ผู้บริโภคจะมองในเรื่องของสุขภาพ (Health Focus) ดังนั้นไม่ว่าธุรกิจต่างๆเช่น ธุรกิจเครื่องดื่ม จะชูจุดขายในเรื่อง Functional  เช่น เพิ่มวิตามิน, เพิ่มส่วนผสมต่างๆ มากว่า Standards   

โดย Add Values มอง 3 มุมมอง
– Product Value
– Process Value
– People Value

กลยุทธ์ที่เหมาะสมคือ ความแตกต่าง,โดดเด่น, น่าประทับใจ,เป็นประสบการณ์และเกิดความทรงจำที่ดี

3. การสร้าง Brand Image(ภาพลักษณ์สินค้า) จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

ในปี 2015 นักธุรกิจตงจะต้องหันมาให้ความเชื่อถือใน Brand เป็นอย่างยิ่ง เพราะการที่มีชื่อเสียงที่สร้างมา อาจถูกทำลายลงไปได้เพียงไม่กี่วัน  ถ้าถูกร้องเรียน จากชื่อเสียงอาจเป็นชื่อเสียได้ภายในพริบตา 
ดังนั้นการสร้างภาพลักษณ์ สร้าง Brand จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะสร้างความมั่นใจให้เกิดกับผู้บริโภคและเกิด Passion คือการเป็นสาวกในสินค้า บริการนั้นๆ

จะสังเกตได้ว่าสินค้าใด หรือธุรกิจใดที่ Brand ไม่เข้มแข็งพอ หรือไม่ได้เป็น “Top of mind Brand” ความ Success จะค่อนข้างลำบากพอสมควร

ดังนั้น ธุรกิจหรือสินค้า จะต้องออกมา Present หรือแสดงสิ่งดีๆ ออกมามากหน่อยในปีหน้า เพราะสินค้าสำคัญที่ “Brand”

4. สินค้า “คนทำงาน” และ “ผู้สูงอายุ” มีแนวโน้มดี

เนื่องจากในอนาคต กลุ่มที่เรียกว่า Baby Boomer จะกลายเป็นกลุ่ม “ผู้สูงวัยตอนต้น” (ขอตั้งขึ้นเองนะ) ดังนั้นแน่นอน กลุ่มเหล่านี้จะมีอำนาจการซื้อและการตัดสินใจสูง เพราะทุกอย่างนั้นจะสนองความต้องการในชีวิต และสุขภาพตนเองโดยอาจยินดีจ่ายเพิ่มในสิ่งที่สนองทั้ง “Need” และ “Want” ได้คือ ต้องสนองความจำเป็น (Need) และ ความต้องการ (Want) ของกลุ่มนี้  Aging  Society (สังคมผู้สูงอายุ)


 
5. ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ “External Factors” และ “Internal Factors”

สิ่งที่สำคัญที่ธุรกิจไทยต้องปรับตัวและให้ความสำคัญกับเสรีทางการค้าประชาคมอาเซียนที่จะเปิดประชาคมสมบูรณ์แบบในข้อตกลงว่าด้วยเรื่อง เศรษฐกิจ ความมั่นคง และวัฒนธรรม ซึ่งปัจจุบันเรานึกแต่เพียง AEC ซึ่งยังมีข้อตกลงว่าด้วยเรื่องความมั่นคง และวัฒนธรรมด้วย  แต่เราให้ความสำคัญกับ AEC เพราะเป็นเรื่องใหญ่ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจ

ดังนั้น อันดับแรกมองปัจจัยภายนอกที่เข้ามาเมื่อเกิดเสรี แน่นอนธุรกิจเกี่ยวกับการติดต่อขนส่ง Logistics ก็เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ได้ ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจที่พักและการบริการของคนที่เป็นจุดเด่นในเรื่อง เป็นชาตินักบริการที่มี Service Mind เป็นที่ขึ้นชื่อ ดังนั้นธุรกิจบริการก็เป็นสิ่งที่สามารถรองรับในอนาคตได้ดี  และอาหารไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอาหารระดับ Premium ที่เป็นที่ชื่นชอบในหลายประเทศ  แต่คนไทยยังมองว่าอาหารก็คืออาหารไทย ควรจะสร้างจุดเด่นเหล่าแล้วกลับมาเป็นภาพลักษณ์ หรือ Brand ไทยได้ดี

เหมือนญี่ปุ่นมีการผลักดันเศรษฐกิจในกรอบกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Abenomics

หากประเทศไทยสามารถสร้างวัฒนธรรมเศรษฐกิจ Economics Culture แบบเกาหลีใต้ได้ จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง หากสามารถสร้าง “Thailand Branding” ได้ ซึ่งเมืองไทยมีพร้อมและสามารถดึงการท่องเที่ยวมาได้ เมื่อการเปิดเสรีการค้า ASEAN Community สมบูรณ์แบบ 


 
อีกมุมคือการให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนา “คน” People Management  การให้ความสำคัญกับภายในธุรกิจหรือองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการดูแลคน

การพัฒนาบุคลากรไม่ใช่การอบรมอย่างเดียว การอบรมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาบุคลากร แต่การให้ความไว้วางใจ เพิ่มทักษะ ความรู้ และให้ความสำคัญ สร้างความเชื่อมั่น การสร้างแรงจูงใจก็เป็นการการพัฒนาบุคลากรด้ำเช่นเดียวกัน เพื่อพร้อมกับการแข่งขันที่กำลังจะเกิดขึ้นเมื่อASEAN Community เกิดขึ้นแบบเต็มรูปแบบ 

คงเป็นเพียงมุมมองเท่านั้น ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถ้า Change แล้วดีขึ้นแล้วพัฒนาขึ้นคงเป็นสิ่งที่ดีกว่าจะถอยหลัง
           
ดร.ธเนศ ศิริกิจ :
ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาการวางแผนกลยุทธ์การตลาด /อาจารย์ ในระดับปริญญาโท หลายสถาบัน , นักวิชาการ และวิทยากรทั้งภาครัฐและเอกชน
Email : s_thaneth @yahoo.com