ราคูเท็น เติบโตผ่านการขยายกิจการและบริการสู่ตลาดใหม่ๆ พร้อมลงทุน การตลาดอย่างต่อเนื่อง ในปี 2557

 

ราคูเท็น คือหนึ่งในผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซแถวหน้าของประเทศไทย และยังคงยืนอย่างมั่นคงบนเวทีโลก โดยการได้ Viber และ Ebates มาเสริมทัพในเครือ พร้อมกับการขยาย Wuaki.tvและ Viki, ที่ให้บริการด้านสตรีมมิ่งวิดิโอ

ตั้งแต่ย้ายเข้าไปอยู่ในกระดานที่หนึ่งของตลาดหลักทรัพย์โตเกียว (First Section, Tokyo Stock Exchange) ในเดือนธันวาคม 2556 ราคูเท็นยังคงเติบโตและขยายช่องทางการให้บริการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการที่เกี่ยวกับดิจิทัลคอนเทนท์  (Digital Content), บริการข้อมูลทางการเงิน และ การท่องเที่ยว นอกจากนั้นในปี 2557 ราคูเท็นได้เปิดตัว Rakuten Venture กองทุนเพื่อสนับสนุนและพัฒนาระบบนิเวศของการให้บริการทางอินเตอร์เน็ต โดยทุ่มงบลงทุนสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ

ราคูเท็น ได้สร้างจุดยืนอย่างมั่นคงในฐานะหนึ่งในผู้ให้บริการด้านอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเอเซียแปซิฟิค จากการตรวจสอบข้อมูลผู้ใช้ล่าสุดในเดือนธันวาคม 2557 ราคูเท็นนั้นนำเสนอสินค้ากว่า 6.75 ล้านชิ้น จากร้านค้าจำนวนกว่า 255,000 ร้านค้า ในประเทศอินโดนิเซีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ไต้หวัน และประเทศไทย ทางด้านเอ็มคอมเมิร์ซก็เติบโตไม่แพ้กัน โดยมียอดการสั่งสินค้าจากโทรศัพท์มือถือสูงถึง 676% เมื่อตรวจสอบในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557

ในปี 2557 ที่ผ่านมานี้ ราคูเท็น ตลาดดอทคอม ได้ฉลอง 5 ปีแห่งความสำเร็จ โดยตั้งแต่การรวมตัวกับ    ตลาดดอทคอมในปี 2552 ราคูเท็นยังคงดำรงตำแน่งผู้นำแถวหน้าของการปฏิวัติรูปแบบธุรกิจ ซื้อ-ขาย ออนไลน์ ซึ่งปัจจุบัน ราคูเท็น มีสมาชิกจำนวนถึง 2.5 ล้านราย รวมไปถึงการเติบโตของจำนวนร้านค้าที่เพิ่มมากขึ้นถึง 110% และยอดขายที่พุ่งกระฉูดถึง 1,876% นับตั้งแต่ปี 2553

ราคูเท็น ตลาดดอทคอม พัฒนาบริการพิเศษสายด่วน Hotline Express Messenger Post ในปีนี้อีกด้วย เพื่ออีกขั้นของความสะดวกสำหรับนักช้อปออนไลน์ โดยลูกค้าสามารถเลือกนัดรับสินค้าส่งถึงมือได้ทุกที่ภายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เพื่อรองรับกับความต้องการใช้งานสินค้าอย่างรวดเร็วของผู้คนในยุคสมัยดิจิทัล

เนื่องจาก ราคูเท็น มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้ให้บริการในระบบอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในปี 2557 จะเป็นก้าวต่อไปที่จะทำให้ราคูเท็นไปถึงจุดหมายนั้น โดยเหตุการณ์สำคัญในปี 2557 มีดังต่อไปนี้:

ราคูเท็นก้าวสู่เวทีโลก

· ราคูเท็นเปิดตัว Rakuten.co.uk นี่เป็นย่างก้าวที่ยิ่งใหญ่สำหรับราคูเท็น ในการเป็นผู้นำด้าน          อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก ราคูเท็นวางแผนที่จะบูรณาการค้าปลีก โดยใช้แนวทางความคิดแบบระบบนิเวศ ในการให้บริการบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมไปถึง Kobo และ Wuaki.tv ซึ่งหมายความว่าลูกค้าของราคูเท็นทำการลงทะเบียนเพียงครั้งเดียว ก็จะสามารถซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ราคูเท็นของประเทศอื่นๆได้ทั่วโลก

· ราคูเท็นขยายบริการการสตรีมมิ่งวิดิโอในยุโรป สืบเนื่องจากการเปิดตัว Wuaki.tv ในเดือนสิงหาคมที่ประเทศฝรั่งเศส และเดือนพฤศจิกายนที่ประเทศเยอรมัน โดยปัจจุบันฝรั่งเศสนั้นถือส่วนแบ่งการตลาดของ Wuaki.tvใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากสเปนที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2553 และประเทศอังกฤษที่เปิดตัวในปี 2556 โดยในปี 2558 ที่จะถึงนี้ ราคูเท็น ตั้งเป้าจะเปิดตัว Wauki.tvในอีก 15 ประเทศในทวีปยุโรป

· ราคูเท็นเปิดตัว Rakuten.com.sg ที่ประเทศสิงคโปร์ ถือเป็นการขยายกิจการในเอเซีย-แปซิฟิค ราคูเท็น เปิดสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคที่สิงคโปร์ในปี 2556 เพื่อเป็นศูนย์กลางให้กับประเทศไทย, อินโดนิเซียและมาเลเซีย ซึ่งสิงคโปร์จะทำหน้าที่เป็นประตูสู่ภูมิภาคสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่

ราคูเท็นสนับสนุนการบริการโดยได้ Viber, Ebates และ Slice มาเสริมทัพ

· ราคูเท็นผลักดันกลยุทธ์ดิจิทัลด้วยการเข้าสู่ตลาดการสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต โดยได้ Viber มาร่วมทัพ การร่วมมือกันครั้งนี้นับเป็นก้าวย่างไปสู่ดิจิทัลคอนเทนท์ที่สำคัญของราคูเท็น โดยมี Kobo, Wuaki.tv และ Viki ตามหลังมาติดๆ

· ราคูเท็นได้ Ebates, ผู้นำทางด้านการเงินออนไลน์, มาครอบครองทำให้ทั้งราคูเท็นและ Ebates เสนอการช้อปปิ้งแบบคุ้มค่าให้กับลุกค้าได้สำเร็จ

· ราคูเท็นได้ Slice, แอพพลิเคชั่นอีคอมเมิร์ซ, มาครอบครอง ทำให้ราคูเท็นทราบข้อมูลผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นแนวโน้มการซื้อสินค้าและวิธีการขนส่ง เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาการบริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้

· ราคูเท็นได้เข้าถือหุ้นของ AirAsia Japan สายการบินราคาประหยัดหน้าใหม่ในเครือ AirAsia ที่นับเป็นสายการบินราคาประหยัดที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย โดยความเคลื่อนไหวในครั้งนี้ของราคูเท็นได้เข้าไปสนับสนุนข้อเสนอของRakuten Travel บริการทางด้านท่องเที่ยวชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น

ราคูเท็นสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการทางอินเตอร์เน็ตหน้าใหม่

· การเปิดตัว Rakuten Ventures ด้วยงบลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบการทางอินเตอร์เน็ตหน้าใหม่ในประเทศอิสราเอล, อเมริกา และประเทศในเอเซีย-แปซิฟิค โดยการลงทุนครั้งนี้สืบเนื่องมาจากความสำเร็จของ Rakuten Ventures ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2556

· ราคูเท็นได้ทำการลงทุนไปกว่า 15 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2557  โดยลงทุนกับ PocketMath, แพลตฟอร์มของการโฆษณาบนมือถือไป 10 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 3.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปกับ Visenze, แอพพลิเคชั่นการแสดงผลค้นจากภาพถ่าย นอกจากนี้ Rakuten Ventures ยังทำการลงทุนกับ แอพพลิเคชั่นSend Anywhere, ซึ่งแอพพลิเคชั่นการแบ่งปันไฟล์, และ Algorithmia, พื้นที่ตลาดสำหรับระบบคลาวด์ อีกด้วย

ราคูเท็นยังคงกระตุ้นการปฏิวัติรูปแบบธุรกิจ ซื้อ-ขาย ออนไลน์อย่างต่อเนื่อง

· ราคูเท็นเปิดตัว Rakuten Institute of Technology (RIT) ในกรุงปารีส เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุสาหกรรมการค้าอีคอมเมิร์ซทั่วโลก Rakuten Institute of Technology (RIT) นั้นมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนการวิจัยภายในราคูเท็น โดยได้ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้ได้ระบบเทคโนโลยีที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนความก้าวหน้าและนวัตกรรมสำหรับการค้าภายใต้ระบบอีคอมเมิร์ซทั่วโลก

· ราคูเท็นเปิดบริการโอนเงินผ่านทาง Facebook ที่ญี่ปุ่นเป็นที่แรกRakuten Bank เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการโอนเงินให้เพื่อนบน Facebook ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเลือกรายชื่อเพื่อนที่ต้องการโอนเงินจากเพื่อนบน Facebookผ่านทางแอพพลิเคชั่น จากนั้นใส่จำนวนเงินที่จะโอนเป็นแค่นี้เป็นอันเสร็จ

· ราคูเท็นเปิดตัว Rakuten CAFÉ คาเฟ่เรือธงของราคูเท็น ที่กรุงโตเกียว เพื่อเปิดตัวแนวความคิด Rakuten Ecosystem หรือระบบนิเวศภายในราคูเท็นในรูปแบบใหม่ ซึ่งได้รับการออกแบบโดย Kashiwa Sato  ราคูเท็น คาเฟ่(Rakuten CAFÉ) เป็นการขยายธุรกิจในรูปแบบออฟไลน์ โดยลูกค้าของราคูเท็นจะสามารถสัมผัสบริการของราคูเท็นในรูปแบบใหม่ รวมไปถึงการเยี่ยมชมสินค้าของเหล่าร้านค้าในราคูเท็นภายใต้บรรยากาศคาเฟ่อีกด้วย ราคูเท็น คาเฟ่ ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนตั้งแต่เรื่องการให้บริการทางการเงินไปถึงeReading และช้อปปิ้งออนไลน์ ลูกค้าสามารถอ่าน Kobo eReader ซึ่งวางไว้ทั่วร้าน ได้ อย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้ ราคูเท็น คาเฟ่ ยังเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าโดยให้การบริการปลั๊กไฟ, ที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ และ 1Gbps Wifi ภายในคาเฟ่อีกด้วย

· ราคูเท็นเปิดตัวบริการบัตร R-point ที่ประเทศญี่ปุ่น ลุกค้าสามารถใช้ราคูเท็นซุปเปอร์พอยท์ที่ร้านค้าภายในเครือราคูเท็นได้แล้วทุกสาขา บัตร R-point ถือเป็นการขยายธุรกิจรูปแบบออฟไลน์ของราคูเท็นที่ประสบความสำเร็จด้วยการสะสมสมพอยท์สำหรับลูกค้าโรยัลตี้โปรแกรม โดยสมาชิกสามารถใช้คะแนนซุปเปอร์ พอยท์ ได้ภายในร้านค้าทั่วประเทศญี่ปุ่น