อิษณาติ วุฒิธนากุล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 29 Nov 2021 02:51:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 国潮 เมื่อคลื่นจีนถาโถม https://positioningmag.com/1364025 Sun, 28 Nov 2021 13:30:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364025

ถ้าคนศึกษาประวัติศาสตร์จีนจะทราบว่าสมัยก่อนวัฒนธรรมจีนมีอิทธิพลอย่างมหาศาล ขนาดที่ว่าญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และอีกนานาประเทศในแถบเอเชียได้มีการเลียนแบบหลากหลายภาคส่วนของวัฒนธรรมจีนมาใช้กับประเทศตัวเอง อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่ยุคปฏิวัติวัฒนธรรมช่วงปี 1966 – 1976 ที่นำโดยเหมา เจ๋อตง นั้น วัฒนธรรม ศิลปะจีน กลับดูเป็นเรื่องล้าหลัง น่าอับอาย ครั้งหนึ่งขนาดที่ว่าตัวอักษรจีนก็เกือบจะหายไป

หลายสิบปีผ่านไปคลื่นกระแสความนิยมในวัฒนธรรมจีนได้หวนกลับมาอีกครั้ง และในยุคที่จีนเหมือนเป็นกึ่งๆ ทุนนิยมนี้ กระแสการกลับมาในรอบนี้กลับมาในรูปแบบของการผสมผสานระหว่างรากเหง้าวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนกับสินค้าและบริการต่างๆ ในยุคใหม่โดยคลื่นกระแสนี้ถูกเรียกว่า 国潮 (กั๋วเฉา) หรือ China-Chic Concept ในภาษาอังกฤษ

Source: Carousell, ehangzhou.gov

ถ้าถามว่ากระแสนี้มีผลต่อผู้บริโภคแค่ไหนก็ต้องตอบว่า 93% ของผู้บริโภคจีนมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้า และบริการเหล่านั้นเพิ่มขึ้นหากมันเป็น 国潮 โดยเหตุผลที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ 国潮 นี้ได้รับความนิยมอย่างมาก หลักๆ ก็เป็นเพราะคนจีนในยุคปัจจุบันมีความต้องการที่จะนำกลับมาซึ่งความยิ่งใหญ่ของชนชาติจีนในอดีต พร้อมกับกระแส ‘ชาตินิยม’ ที่ก่อตัวรุนแรงขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างจีนกับประเทศต่างๆ ปัจจุบันสามารถพบเห็นสินค้าประเภทนี้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมประเภทแฟชั่น เครื่องสำอาง อาหาร เทคโนโลยี หรือกระทั่ง อุตสาหกรรมรถยนต์

อ้างอิงจากข้อมูลจาก AliResearch ช่วงปี 2018 ผู้บริโภคชาวจีนได้มีการค้นหาคำที่เกี่ยวกับ 国潮 นี้ถึง 1.26 หมื่นล้านครั้ง ในแพลตฟอร์มอาลีบาบา และเพียง 7 เดือนแรกของปี 2019 ตัวเลขนี้ก็เพิ่มขึ้นถึง 393% หนึ่งในตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ 国潮 ที่หลายคนอาจนึกถึงคือ 汉服Hanfu หรือก็คือเสื้อผ้าย้อนยุคของจีน เฉพาะแค่ใน Tmall ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เองมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 500% ในปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2019 และมีการคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2021 นี้ เฉพาะแค่ตลาดของ 汉服Hanfu นี้จะมีมูลค่าถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

Source: Weibo @她街拍

จริงๆ แล้วไม่เพียงแค่เสื้อผ้าย้อนยุค แต่วงการแฟชั่นจีนเองก็มีการประยุกต์ดีไซน์สมัยใหม่กับองค์ประกอบสไตล์จีน ทำให้เกิดรูปแบบแฟชั่นแนวใหม่ที่มีลักษณะความเป็นจีนอยู่อย่างเด่นชัด หลากหลายแบรนด์ และดีไซเนอร์จีน อาทิเช่น BanXiaoxue, Li Ning, Feiyue, Minghuatang, Guo Pei และ Zhang Turan ได้ผงาดขึ้นมาในเวทีระดับประเทศและเวทีระดับโลกจากคอนเซ็ปต์การดีไซน์ในรูปแบบนี้

Source: bilibili

ความนิยมใน 国潮 นี้ทำให้หลากหลายแบรนด์ต่างชาติต้องมีการปรับตัวตาม ซึ่งก็มีทั้งแบรนด์ต่างชาติที่ทำได้ดีและทำได้ไม่ดี ในแบรนด์ที่ทำได้ไม่ดีมักจะเกิดจากการตีความถึงความเป็น “จีน” ในลักษณะที่ตื้นเขินเกินไป ในขณะที่แบรนด์ที่ทำได้ดีนั้นจะแสดงถึงความเข้าใจในความเป็น “จีน” ได้ลึกซึ้งกว่า เช่น ไนกี้ที่มีการรคอลแลปส์กับศิลปินอย่าง Jason Deng ที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีน หรืออย่าง Dior ที่ได้สร้างป๊อปอัพสโตร์โดยมีการผสมผลานระหว่างการดีไซน์หุ่นล้ำยุคกับอาคารโบราณรวมไปถึงตึกระฟ้าอันทันสมัยในประเทศจีน

Source: High Snobiety& Founder type

จากผลการสำรวจของ China Market Research Group and Fidelity International ปัจจุบัน 85% ของผู้บริโภคชาวจีนชื่นชอบ และให้น้ำหนักแบรนด์จีนมากกว่าแบรนด์ต่างชาติ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเยอะมากหากเทียบกับสมัยก่อนที่คนจีนเองยังไม่เชื่อถือในผลิตภัณฑ์ของตัวเองด้วยซ้ำ

โดยในปี 2016 มีเพียง 60% และ 2011 มีเพียง 15% ที่จะเลือกซื้อสินค้าจีนก่อนสินค้าต่างชาติ จริงๆ แล้วในหมู่คนจีนด้วยกันเองมีคำเรียกสินค้าจีนสมัยก่อนว่า 山寨(ซันไจ้) หรือก็คือพวกสินค้าก๊อปนั่นเอง แสดงให้เห็นว่าเพียงไม่กี่สิบปีก่อนหน้า คนจีนเองยังดูแคลนผลิตภัณฑ์ของประเทศตัวเองอยู่เลย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจีนมาได้ไกลมากๆ ทั้งในแง่การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และทำให้ประชาชนรู้สึกภูมิใจในชาติ และผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

หากหันกลับมามองที่ไทยเราดูเหมือนไม่ว่าผ่านไปกี่ปี แบรนด์ สินค้า และบริการต่างชาติก็ดูเหมือนจะได้รับความนิยมในหมู่คนไทยเรา มากกว่าแบรนด์ไทยเองมาโดยตลอด อาจต้องใช้เวลาและความร่วมมือจากหลากลายภาคส่วน อีกหลายปีกว่าที่จะทำให้คนไทยส่วนใหญ่หันมานิยมภูมิใจในแบรนด์ไทย และเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าไทยก่อนแบรนด์ต่างชาติได้

]]>
1364025
จีน จ้าวแห่งรถอีวี https://positioningmag.com/1358246 Tue, 26 Oct 2021 16:10:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358246
ความสำเร็จของยอดขายรถยนต์ MG ในประเทศไทยที่ก้าวขึ้นมามียอดขายเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่ม SUV  รวมถึงกระแสการตอบรับที่ดีของ ORA GOOD CAT ที่มียอดจองกว่า 4,000 คันในช่วง 24 ชั่วโมงแรก แสดงให้เห็นถึงมุมมองที่เปลี่ยนไปของคนไทยต่อแบรนด์รถยนต์จีน ปัจจุบันแบรนด์รถยนต์จากประเทศจีนได้ก้าวเข้ามามีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังจะกลายเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวทั้งต่อแบรนด์รถยนตร์ญี่ปุ่นและยุโรปที่เป็นเจ้าตลาดมาอย่างยาวนาน

ในความเป็นจริงสงครามการแข่งขันนี้เพิ่งเริ่มต้นขึ้น เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนที่สำคัญ ซึ่งคือการเปลี่ยนผ่านจากเครื่องยนต์สันดาปไปสู่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า ในกรณีของเครื่องยนต์สันดาป ถึงแม้จีนจะทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่คงเป็นอันยากที่จะสามารถเอาชนะแบรนด์ยุโรปหรือญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง ความชำนาญ เทคโนโลยี และประสบการณ์ที่สั่งสมมานับร้อยปีได้ จึงจะเห็นได้ว่าในกลุ่มเครื่องยนต์สันดาปนั้น แบรนด์รถยนต์ที่ครองตลาดมากที่สุดในหลากหลายประเทศทั่วโลกยังคงเป็นแบรนด์ที่มาจากจากยุโรป อเมริกา หรือ ญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม แทนที่จีนจะพยายามแข่งขันในอุตสากรรมเก่าที่กำลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนผ่าน จีนกลับได้โฟกัสตัวเองไปยังเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่างอีวี โดยถ้ามองไปที่รถไฟฟ้าแล้ว จะพบว่าจีนกำลังก้าวนำหลากหลายประเทศทั่วโลกไปแล้ว ในปีที่ผ่านมา จีนมีสถานีชาร์จไฟฟ้าถึง 1.68 ล้านสถานี

Photo : Shutterstock

ในขณะมีอเมริกาประเทศต้นกำเนิดของรถไฟฟ้าอย่างเทสล่า มีสถานีชาร์จไฟฟ้าเพียง 72,000 สถานี และประเทศไทยนั้นยังมีจำนวนไม่ถึง 1 พันสถานี ปัจจุบันจีนจึงเป็นตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกทั้งจากจำนวนและยอดขาย ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวเลขนี้ยังนับเป็นเพียง 5% จากยอดขายรถทั้งหมดในประเทศจีน โดยรัฐบาลจีนต้องการให้มีสัดส่วนของรถไฟฟ้าเป็น 40% ในปี 2030

ความแตกต่างของประเทศจีนกับประเทศโลกเสรีอื่นคือรัฐบาลจีนนั้นมีอำนาจเด็ดขาดในการจัดการเรื่องราวต่างๆ ในประเทศ การที่รัฐบาลจีนต้องการให้ประเทศเพิ่มสัดส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า แปลว่ารัฐบาลจีนพร้อมปรับนโยบาย ทุ่มงบประมาณ และบริษัทเอกชนเองก็ต้องปรับตัวตามกฎข้อบังคับของรัฐบาล

ซึ่งปัจจัยตรงนี้จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์อีวีของจีนพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและจะกลายมาเป็นผู้เล่นหลักในตลาดโลก ไม่เหมือนในตลาดเครื่องยนต์สันดาปที่จีนนั้นเป็นผู้ตาม

(Photo : Shutterstock)

ที่สำคัญรถยนต์ไฟฟ้านั้นไม่ใช่แค่รถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า แต่รถยนต์ไฟฟ้านั้นเป็นการรวมหลากหลายเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย การนำทางผ่านดาวเทียม ชิปการประมวลผล software เซ็นเซอร์ เทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่ การแก้ปัญหาผ่านทางไกล เอไอ และอีกหลากหลายเทคโนโลยี

ซึ่งจีนเองก็กำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในหลากหลายด้าน โดยเมื่อรวมเทคโนโลยีพวกนี้เข้าด้วยกันทั้งหมดก็จะนำไปสู่การที่รถยนต์สามารถขับขี่ตัวเองได้อย่างอัตโนมัติ (self-driving, autonomous vehicle)

การขับขี่อัตโนมัตินั้นต้องอาศัยเอไอที่ชาญฉลาด ซึ่งการที่เอไอจะสามารถเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ต้องอาศัยจำนวนข้อมูลมหาศาล การที่จีนมีจำนวนรถไฟฟ้ามากที่สุดในโลก รวมถึงการที่มีกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนน้อย แปลว่ารัฐบาลและบริษัทจีนมีจำนวนข้อมูลจำนวนมากมายที่สามารถนำมาให้เอไอเรียนรู้

Photo : Shutterstock

ซึ่งแตกต่างจากทั้งฝั่งประเทศยุโรปและญี่ปุ่นที่มีข้อจำกัดทางด้านนี้ จีนจึงมีความได้เปรียบทั้งช่วงเวลาที่ได้เริ่มก่อน ทั้งนโยบายการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมถึงจำนวนข้อมูลขับชี่อันมหาศาล

รถยนต์อีวีจึงเปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นที่จีนจะใช้บุกตลาดไทยและตลาดโลก ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ พร้อม เราคงจะได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถขับขี่ตัวเองได้จากประเทศจีน ใครจะรู้ว่าในอีกเพียงไม่กี่ปี “แบรนด์รถจากจีน” อาจจะให้ความรู้สึกเหมือน “แบรนด์รถญี่ปุ่น” หรือ “แบรนด์รถยุโรป” อย่างในปัจจุบันก็เป็นได้

]]>
1358246
Plant-Based Food สมรภูมิที่พึ่งเริ่มต้น https://positioningmag.com/1353413 Sun, 26 Sep 2021 07:27:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353413
ดูเหมือนว่ากระแสของ Plant-Based Food ในเมืองไทยกำลังค่อยๆ แรงขึ้นเรื่อยๆ ถึงความนิยมอาจจะยังไม่มากเท่าในประเทศฝั่งอเมริกาหรือยุโรป แต่หากอ้างอิงจากผลสำรวจในปีนี้ของบริษัท Ipsos ปัจจุบันเกินครึ่งของคนไทยหรือราว 58% ระบุว่ารู้จัก หรืออย่างน้อยๆ ก็เคยได้ยินเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบใหม่นี้มา

น่าสนใจนะครับว่า Plant-Based Food จะเป็นแค่กระแสระยะสั้นๆ เหมือนหลายๆ กระแสที่เกิดขึ้นและดับลงในบ้านเรา หรือ Plant-Based Food จะสามารถกลายเป็นกระแสหลักที่คนไทยส่วนมากจะบริโภคในเร็ววันนี้ได้?

จากผลสำรวจ 58% ของคนไทยในช่วงอายุ 18-29 ปีระบุว่า เคยลองรับประทานผลิคภัณฑ์ Plant-Based Food นี้แล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่เยอะมากสำหรับอาหารรูปแบบใหม่ที่ผู้บริโภคจำนวนมากยังไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดต่างๆ ด้วยซ้ำ อาจเพราะความเป็นไปได้ในตลาดใหม่นี้ ทำให้ ณ ปัจจุบันมีหลากหลายบริษัทที่ได้ตัดสินใจกระโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้

หากดูกระแสจากโลก Online ผ่านแพลตฟอร์ม Social Intelligence อย่าง Synthesio จะพบได้ว่าแบรนด์ที่ถูก Mention เยอะที่สุดในบ้านเราในรอบปีที่ผ่านมา คือ Beyond Meat ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำจากประเทศอเมริกา อย่างไรก็ตาม หากดูจาก Social Interaction แล้วก็น่าดีใจว่า Meat Zero ที่มีน้องนาย ณภัทร เป็นพรีเซ็นเตอร์ และเป็นแบรนด์จากบริษัทของไทยเราอย่าง CPF มีสัดส่วน Interaction สูงที่สุดในบรรดาทุกแบรนด์

Source: Synthesio, *Tracking period: Sep’20 – Sep’21

ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องบอกว่า Social Interaction ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นของ Meat Zero ดูเหมือนจะมาจาก Interaction ผ่าน KOL และ Influencer เป็นหลัก และ Mention ส่วนมากของแบรนด์ยังมาจากช่องทางสื่อ เช่น News เป็นส่วนมาก

ในขณะที่ Beyond Meat ที่แม้จะได้ Interaction ต่ำกว่า แต่ก็ได้ Mention เป็นจำนวนมากและส่วนใหญ่ยังมาจากช่องทางอย่าง Twitter ซึ่งเป็นช่องทางที่มี ‘เสียงจริง’ ของผู้บริโภคมากกว่าช่องทางสื่อหลักอย่างมีนัยสำคัญ

Source: Synthesio, *Tracking period: Sep’20 – Sep’21

ในความเป็นจริงไม่ได้แปลว่า Beyond Meat หรือ Meat Zero เป็นผู้ชนะในตลาด เพราะการแข่งขันในตลาด Plant-Based Food นี้เรียกว่าพึ่งจะเริ่มต้นขึ้นเท่านั้น อีกหลากหลายแบรนด์ อาทิ Harvest Gourmet หรือ Meat Avatar ก็สร้างแรงกระเพื่อมได้อยู่ไม่น้อย

จริงๆ แล้ว ‘กระแส’ หรือ ‘การลองทาน’ จำนวนมากในช่วงแรกนี้ไม่ได้การันตีถึงความสำเร็จของตลาด Plant-Based Food ในบ้านเรา เพราะสิ่งที่ต้องคำนึง คือถึงแม้มีคนไทยจำนวนมากระบุว่าได้ ‘ลอง’ ทาน Plant-Based Food นี้แล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้จะ ‘กลับมา’ รับประทานซ้ำ

เพราะหากลองดู Feedback ของคนที่ได้ลองซื้อรับประทาน ส่วนใหญ่ก็ยังกล่าวว่ารสชาติของผลิตภัณฑ์ Plant-Based Food ยังสู้รสชาติของเนื้อสัตว์จริงๆ ไม่ได้ ทำให้มีผู้บริโภคจำนวนวนมากไม่กลับไปซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ซ้ำ

 

ในระยะยาวไม่เพียงปัจจัยเรื่องรสชาติที่มีผลต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ แต่การเข้าถึงสินค้า ที่หมายถึงจำนวนและประเภทของช่องทางร้านค้าที่ผู้บริโภคสามารถหาซื้อสินค้าได้ ราคาต่อมื้ออาหาร ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ รวมไปถึงการโปรโมตและสนับสนุนจากองค์กรและห้างร้านต่างๆ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ตัดสินความสำเร็จของตลาดและผู้เล่นในสมรภูมินี้ได้

น่าสนใจนะครับว่าสุดท้ายแล้วแบรนด์ใด บริษัทใดจะก้าวขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งในตลาดนี้ ที่แน่ๆ ตลาด Plant-Based Food ของบ้านเรากำลังจะร้อนระอุขึ้นในไม่ช้า เพราะ 66% ของคนไทยระบุว่าอยากลองผลิตภัณฑ์ Plant-Based Food นี้ในอีก 3 – 6 เดือนข้างหน้า แปลว่าเรากำลังจะได้เห็นการแข่งขัน และกระแสที่ทวีคูณความดุเดือดและรุนแรงขึ้นในอีกไม่ข้านี้

]]>
1353413
หรือระบบกำลังมีปัญหา? https://positioningmag.com/1348507 Sat, 28 Aug 2021 14:00:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348507
มีทฤษฎีมากมายที่พยายามจะหาว่า ‘ปัจจัย’ อะไร ที่ทำให้ประเทศๆ หนึ่งเจริญก้าวหน้าได้ ตั้งแต่สถานที่ตั้งของประเทศ สภาพอากาศ ชาติพันธ์ุ วัฒนธรรม หรือ กระทั่งศาสนา ในปี 2012 หนังสือชื่อ ‘Why Nations Fail’ ได้ถูกตีพิมพ์ออกมา โดยหนังสือเล่มนี้ได้สรุปว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่สามารถทำให้ประเทศๆหนึ่ งเจริญได้คือ ‘ระบบสถาบันการเมือง’ เพราะการมีระบบการเมืองที่ดีก็จะนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่ดีอีกทอดหนึ่ง

หากมองไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดคือสิงคโปร์ ทั้งๆ ที่เป็นประเทศที่แทบจะไม่มีทรัพยากรใดๆ แต่ ‘ลีกวนยู กลับสามารถสร้างชาติสิงคโปร์ให้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศพัฒนาแล้วเพียงหนึ่งเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสามารถทำทั้งหมดนี้ได้เพียงแค่ในหนึ่งช่วงอายุคนเท่านั้น

สิ่งที่ลีกวนยูให้ความสำคัญที่สุดก็คือการสร้างชาติผ่านระบบการเมืองที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ การมองภาพรวม และการวางแผนระยะยาว ทำให้ทฤษฎีที่ว่าชาติจะเจริญได้ต้องมี ‘ระบบการเมือง ที่ดี ก็คงไม่ใช่คำกล่าวที่เกินเลยไปนัก

ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาทั้งในแง่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และความขัดแย้งทางด้านการเมือง ในมุมหนึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้ ได้เปิดโปงให้เห็นถึงหลากหลายปัญหาทั้งในด้านบุคคล และระบบ แตกต่างจากความขัดแย้งครั้งก่อนๆ ที่ปัญหามักจะถูกเชื่อมโยงที่ตัวบุคคลเป็นหลัก จริงๆ แล้วไม่เพียงแค่ในประเทศไทยแต่ในหลากหลายประเทศทั่วโลกประชาชนก็กำลังรู้สึกว่า ‘ระบบ’ การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศตัวเองกำลังมีปัญหา

Source: Ipsos

ใน 25 ประเทศและกว่า 19,000 คน ที่ Ipsos ได้ทำการสำรวจพบว่า

  • 71% เห็นด้วยว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศตัวเองเอื้อประโยชน์ต่อคนรวย และคนที่มีอำนาจ
  • ในขณะที่ 68% เห็นด้วยว่า พรรคการเมือง และนักการเมืองไม่ได้ใส่ใจประชาชนทั่วๆ ไป

พูดง่ายๆ ว่าคนในหลายประเทศเหล่านี้รู้สึกว่า ‘ระบบมีปัญหา’ ถึงแม้ผลสำรวจนี้ไม่ได้มีการจัดทำขึ้นในประเทศไทย แต่เชื่อว่าผลลัพธ์ก็น่าจะออกมาในทิศทางเดียวกัน

ประเด็นที่น่าสนใจคือมีการเอา ดัชนี ‘ระบบมีปัญหา’ นี้ มาพลอตกราฟหาความสัมพันธ์เทียบกับ ‘ความพัฒนาของสังคม’ ซึ่งเป็นข้อมูลจากองค์กร Social Progress พบว่าดัชนี ‘ระบบมีปัญหา’ นั้นมีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับดัชนี ‘ความพัฒนาของสังคม’

หรืออธิบายอย่างง่ายๆ คือ ในประเทศที่ระบบการเมืองมีปัญหามาก ระดับการพัฒนาของสังคมนั้นๆ ก็จะแย่กว่าประเทศที่มีระบบการเมืองที่มีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าประเทศโลกที่สามอย่าง เปรู โคลัมเบีย อยู่ค่อนไปทางซ้ายของกราฟ ที่แปลว่าระบบมีปัญหาค่อนข้างสูง และความพัฒนาของสังคมค่อนข้างต่ำ

ในขณะที่ประเทศโลกที่หนึ่งหรือประเทศที่เจริญแล้วอย่าง เยอรมัน สวีเดน หรือ แคนนาดา จะอยู่ไปทางขวาล่างของกราฟ ซึ่งแปลว่าเป็นประเทศที่ระบบการเมืองมีปัญหาน้อย และมีความเจริญก้าวหน้าทางสังคมสูง

Source: Ipsos & Socialprogress.org

หากให้คาดการณ์ประเทศไทยเราก็… น่าจะอยู่ใกล้เคียงกับมาเลเซียในกราฟนี้ ก็ได้แต่หวังว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เป็นตัวเร่งให้เห็นถึงหลากหลายปัญหา และความขัดแย้งทางการเมืองในรอบนี้ จะทำให้เกิดการตกผลึกทางด้านความคิด และอุดมการณ์ ที่สามารถนำพาประเทศไปสู่ระบบการเมืองที่มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเป็นระบบที่ปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนรวม

ที่สุดแล้วเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามความขัดแย้ง ก้าวผ่านกับดับประเทศรายได้ปานกลาง และช่วยให้ประชาชนทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นได้

]]>
1348507
Family Mart ไต้หวันกำลังท้าชิง 7-11 https://positioningmag.com/1344058 Sun, 25 Jul 2021 13:56:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344058
ช่วงนี้กระแสการเมืองบ้านเราค่อนข้างรุนแรงนะครับ กระแสหนึ่งที่เป็นผลพวงจากความขัดแย้งทางการเมืองคือการแบนธุรกิจหรือสินค้าต่างๆ โดยหนึ่งในธุรกิจที่ตกเป็นเป้าของการแบนในรอบนี้คือ 7-11 ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมร้านค้าสะดวกซื้อของบ้านเรามาเป็นเวลาหลายสิบปี

แน่นอนว่าปัญหานี้ส่งผลในแง่ลบต่อ 7-11 ในขณะที่คู่แข่งอื่นๆ กำลังได้ประโยชน์โดยไม่คาดหมาย ที่ไต้หวันเองก็เป็นอีกหนึ่งตลาดที่คล้ายบ้านเราโดยมีจำนวนร้านสะดวกซื้อเป็นจำนวนมาก และมี 7-11 เป็นผู้นำตลาดมาอย่างยาวนาน แต่ในปีที่ผ่านมาถึงแม้ยอดขายยังน้อยกว่าแต่หากมองผลรวมของจำนวนลูกค้าและความถี่ในการเข้าซื้อแล้ว Family Mart ไต้หวันมีอัตราเติบโตที่สูงกว่า 7-11 แล้ว

Photo : Shutterstock

หากดูจากจำนวนสาขาแล้ว การแข่งขันของระหว่างยักษ์ใหญ่ 7-11 กับเบอร์สองอย่าง Family Mart ของไต้หวันดูจะมีความสูสีมากกว่า 7-11 กับเบอร์สอง Tesco Lotus Express ของไทยเรา  โดยที่ไต้หวันนั้น 7-11 มีจำนวนสาขาราว 5,400 สาขา ในขณะที่ Family Mart มีจำนวนอยู่ที่ 3,800 สาขา ซึ่งใกล้เคียงกันมากกว่าไทย โดย 7-11 ที่ไทยมีจำนวนสาขาอยู่ราว 12,000 สาขา ในขณะที่ Tesco Lotus Express มีอยู่ราว 2,200 สาขา

Family Mart ที่ไต้หวันได้พยายามสร้างความแตกต่างของธุรกิจตัวเองในหลายๆ แง่มุมด้วยกัน เพื่อเพิ่มเหตุผลว่าทำไมลูกค้าจึงควรใช้บริการของที่ร้านของตัวเองมากกว่าคู่แข่ง เช่น ระบบสมาชิก, ระบบการซื้อของออนไลน์ และสามารถรับได้ที่สาขาใกล้บ้าน หรือ ‘private label’ ซึ่งอาจจะคล้ายคลึงกับกลยุทธ์ที่ร้านค้าสะดวกซื้อที่บ้านเราใช้อยู่

แต่นอกเหนือจาก private label แล้ว Family Mart ที่ไต้หวันยังมีการออก Clean Label แบรนด์สินค้าที่ทำขึ้นมาเพื่อจับเทรนด์รักสุขภาพโดยเฉพาะ Clean Label เป็นกลุ่มสินค้าที่มีสารเคมีและวัตถุเจือปนในอาหารที่น้อยกว่าสินค้าปรกติซึ่งยังครอบคลุมไปถึงกลุ่มสินค้าจำพวกอาหารสดด้วย

Photo : Family.com.tw

โดยหากอ้างอิงจากข้อมูลของกันตาร์ สินค้ากลุ่ม Private Label และ Clean Label นี้ ช่วยให้ Family Mart เข้าถึงกลุ่มครัวเรือนไต้หวันเพิ่มจาก 21.1% ในปี 2019 เป็น 27.2% ในปีที่ผ่านมา หรือพูดในอีกมุมคือปัจจุบันราว 1 ใน 3 ของครัวเรือนไต้หวัน ได้มีการซื้อสินค้าจาก Family Mart แล้ว

อีกกลยุทธ์ที่น่าสนใจของ Family Mart ไต้หวัน คือ การใช้ความเข้าใจในชุมชน โดยบริษัทเชื่อว่าแต่ละจุดของร้านค้าตัวเองนั้นมีความใกล้ชิดกับชุมชนนั้นๆ มากที่สุด แปลว่าผู้จัดการสาขานั้นๆ ก็ควรจะมีความเข้าใจในกลุ่มลูกค้าของตัวเองมากที่สุดเช่นกัน ทำให้บริษัทได้มีการสร้างไลน์กลุ่มของแต่ละสาขาตัวเองขึ้นมา

โดยปัจจุบันมีผู้จัดการร้านของ Family Mart ราว 3,000 คนที่บริหารจัดการไลน์กลุ่มของร้านตัวเอง ซึ่งผู้จัดการแต่ละสาขานั้นมีสิทธิ์ และอำนาจในการเลือกสินค้าสำหรับร้านของตัวเอง และสามารถสร้าง ‘ดีลกลุ่ม’ ที่คนในชุมชนสามารถรวมกันซื้อเพื่อให้ได้สินค้าที่ถูกลง และแน่นอนย่อมเป็นสินค้าที่คนในชุมชนต้องการเช่นกัน

Photo : Shutterstock

อ้างอิงจากข้อมูลของ Euroview ในปี 2019 7-11 มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 47% ในขณะที่ Family Mart อยู่ที่ 29% ถึงแม้ในมุมส่วนแบ่งการตลาด Family Mart จะยังตามหลังอยู่อย่างมีนัยสำคัญ แต่กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างผ่านสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการโฟกัสที่ความต้องการของผู้บริโภค และการจับเทรนด์ที่ถูกต้องก็ทำให้ Family Mart กลายเป็นแบรนด์ในกลุ่มค้าปลีกที่มีอัตราการเติบโตของผลรวมจำนวนและความถี่ของผู้บริโภคสูงที่สุดในปี 2020

น่าสนใจนะครับ ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ Family Mart จะสามารถเอาชนะ 7-11 ที่ไต้หวันได้หรือไม่ ที่แน่ๆในมุมมองของ 7-11 Family Mart คงเป็นคู่แข่งที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อย ส่วนที่บ้านเราเองถึงแม้กระแสการเมืองจะแรงแค่ไหน แต่ 7-11 ก็น่าจะเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมร้านสะดวกซื้อของประเทศเราไปอีกนาน

]]>
1344058
Genki Forest – โคคาโคล่าแห่งประเทศจีน https://positioningmag.com/1338329 Wed, 23 Jun 2021 15:24:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338329
‘Genki desu ka’ สบายดีกันมั้ยครับ? เชื่อว่าคงมีคนไทยน้อยคนที่เคยได้ยินหรือรู้จักบริษัทที่มีชื่อว่า ‘Genki Forest’ คำว่า ‘Genki’ เป็นภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า ‘แข็งแรง/มีพลัง’ และ ‘Forest’ เป็นภาษาอังกฤษที่แปลว่า ‘ป่า’

หากได้ยินชื่อ ‘Genki Forest’ หรือ ‘ป่าที่แข็งแรงนี้’ คิดถึงบริษัทที่มาจากประเทศอะไรครับ? คิดถึงธุรกิจ สินค้า หรือบริการประเภทไหนครับ?

ทราบมั้ยครับว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทเครื่องดื่มสัญชาติจีนแต่ใช้ชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น และบริษัทที่คนไทยไม่เคยได้ยินชื่อนี้ไม่เพียงเป็นบริษัทเครื่องดื่มที่เติบโตเร็วที่สุดในตลาดประเทศจีนในปีที่ผ่านมา แต่ยังกำลังมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทเครื่องดื่มชั้นนำของประเทศจีน เหมือนที่โคคาโคล่าเป็นแบรนด์เครื่องดื่มชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา

Genki Forest

ช่วงปลายของราชวงศ์ชิง ปี 1894 และ 1931 ญี่ปุ่นได้มีการก่อสงคราม และเข้ารุกรานประเทศจีน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศนี้ไม่เคยอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกได้ว่าดี เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่ลุ่มๆ ดอนๆ มาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม หลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นนั้นมีความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีมากกว่าจีนอย่างมหาศาล การใช้ชื่อแบรนด์ หรือการใช้ชื่อสินค้าเป็นภาษาญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยครั้ง

หากแต่เมื่อจีนได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้นำในเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางการค้าที่เกิดขึ้น รวมถึงการปลุกระดม ‘ชาตินิยม’ สินค้าและบริการจากประเทศญี่ปุ่นจึงถูกเลือกปฏิบัติ กระทั่งถูกบอยคอตมาเป็นระยะๆ การมีสินค้า และบริการที่เกี่ยวข้องกับประเทศญี่ปุ่น จึงนับได้ว่าเป็น ‘ความเสี่ยง’ รูปแบบหนึ่งในตลาดประเทศจีน

ดังนั้นการถือกำเนิดขึ้นของ ‘Genki Forest’ ในปี 2016 ซึ่งใช้ภาษาญี่ปุ่นมาเป็นชื่อบริษัท ทั้งๆ ที่เป็นบริษัทจีน 100% จึงนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย ว่าสินค้าของบริษัทนี้จะสามารถประสบความสำเร็จได้เพียงไหน

‘Genki Forest’ ถูกก่อตั้งขึ้นโดยมีผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทเป็นเครื่องดื่มอัดลมที่ใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ทั้งๆ ที่เพิ่งก่อตั้งมาได้ราว 4–5 ปี  ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าอยู่ราว 190,000 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบให้กับผู้อ่านชาวไทยเห็นภาพ ไทยเบฟ หรือบริษัทเครื่องดื่มชั้นนำของไทยเรามีมูลค่าอยู่ราว 400,000 ล้านบาท แปลว่าปัจจุบันบริษัท ‘Genki Forest’ มีมูลค่าเกือบครึ่งหนึ่งของไทยเบฟ ความแตกต่างคือไทยเบฟนั้นถูกก่อตั้งมาแล้วกว่า 18 ปี

นอกจากนั้นถึงแม้ ‘Genki Forest’ จะมีอัตราการเติบโตเป็นตัวเลขสามหลัก (CAGR) มาโดยตลอด แต่ในปี 2020 ที่ผ่านมา การเติบโตที่น่าประทับใจนี้มาจากการเข้าถึงครัวเรือนเพียง 11.1% ของครัวเรือนจีน หรือราว 20 ล้านครัวเรือนในประเทศจีนเท่านั้น ในขณะที่ประเทศไทยทั้งประเทศมีครัวเรือนรวมอยู่เพียง 26 ล้านครัวเรือน แปลว่าแค่ในประเทศจีนเอง ‘Genki Forest’ ก็ยังมีช่องว่างในการเติบโต และเข้าถึงผู้บริโภคได้อีกอย่างอย่างมหาศาล

เครื่องดื่มของ ‘Genki Forest’ วางรากฐานและเน้นการสื่อสารใน คอนเซ็ปต์ 3 ศูนย์ : ศูนย์น้ำตาล ศูนย์ไขมัน และศูนย์แคลอรี ปัจจัยที่ทำให้ ‘Genki Forest’ โดดเด่น นอกเหนือจากการจับเทรนด์รักสุขภาพของผู้บริโภครุ่นใหม่ได้อย่างถูกต้อง แต่ยังคือ ความเข้าใจผู้บริโภคของตัวเองอย่างลึกซึ้งว่าถึงจะรักสุขภาพแต่ก็ยังมีคนจำนวนมากที่ชื่นชอบเครื่องดื่มน้ำอัดลม เพียงแต่ต้องเป็นเครื่องดื่มอัดลมที่ดี หรืออย่างน้อยๆ ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย

จริงอยู่ที่หลายบริษัทเครื่องดื่มน้ำดำระดับโลกได้มีการออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำอัดลมที่มีการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลออกสู่ตลาด แต่เครื่องดื่ม 0% เหล่านี้มักจะมีรสชาติที่แย่กว่าเครื่องดื่มรสออริจินัลของบริษัทซึ่งเป็นรสชาติที่ผู้บริโภคคุ้นเคยมาอย่างยาวนาน

ถึงแม้จะมีการสื่อสารว่านี่คือสินค้าคนละตัว แต่สำหรับผู้บริโภคหลายๆ คน ก็คงอดเปรียบเทียบโดยไม่รู้ตัวไม่ได้ว่าตัว 0% นี้ มีรสชาติที่แย่กว่าตัวออริจินัลอย่างเทียบไม่ได้ ผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งอาจยอมที่จะเปลี่ยนไปดื่มตัว 0% แทน แต่ก็ยังมีผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่รับไม่ได้กับรสชาติและเลือกที่จะเปลี่ยนไปดื่มเครื่องดื่มประเภทอื่นโดยสิ้นเชิง ทั้งๆ ที่ยังมีความชื่นชอบในเครื่องดื่มอัดลมอยู่

นอกจากเหนือจากความเสียเปรียบของบริษัทน้ำดำดั้งเดิม ที่มีผลิตภัณฑ์ออริจินัลให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบแล้ว บริษัทน้ำอัดลมยักษ์ใหญ่มักจะใช้สารให้ความหวานจำพวก แอสปาร์แตม (Aspartame) และ แอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (Acesulfame potassium) ซึ่งเป็นสารให้ความหวานสังเคราะห์ ไม่ใช่สารให้ความหวานจากธรรมชาติ

ซึ่งสารนี้นอกจากจะมีรสชาติที่คนไทยมักพูดว่า ‘หวานปะแล่มๆ’ แล้ว ผลข้างเคียงหรือผลเสียจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมเป็นสารให้ความหวานสังเคราะห์ก็ยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคจำนวนมากกังวล

‘Genki Forest’ จึงมีความได้เปรียบที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ออริจินัลของตัวเองให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบ บริษัทไม่มีความจำเป็นที่ต้องพยายามทำให้เครื่องดื่ม 0% มีรสชาติเหมือนเครื่องดื่มออริจินัล ‘Genki Forest’ จึงสามารถพัฒนาเครื่องดื่มที่มีรสชาติที่ดีที่สุดจากการใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติเป็นตัวตั้งต้น

นอกเหนือจากนั้น ‘Genki Forest’ ยังสร้างความแตกต่าง โดยเป็นบริษัทแรกในจีนที่มีการใช้ Erythritol ซึ่งเป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติไม่ใช่สารให้ความหวานสังเคราะห์ ที่ถึงแม้จะมีราคาสูงกว่าแต่ก็ให้รสชาติที่ดีกว่าสารให้ความหวานประเภท xylitol หรือ maltol และปลอดภัยต่อสุขภาพมากกว่า นับว่าเป็นข้อได้เปรียบที่บริษัทสามารถสื่อสารให้กลุ่มผู้บริโภคได้เห็นถึงความแตกต่าง รวมถึงคุณภาพที่เหนือกว่าของบริษัทด้วย

จริงๆ แล้วนอกจากตลาดประเทศจีน ปัจจุบัน ‘Genki Forest’ มีจำหน่ายอยู่ใน 40 ประเทศทั่วโลก โดยรายได้จากต่างประเทศในไตรมาส 4 ของปี 2020 เติบโตถึง 69% เทียบปีต่อปี (YoY) แปลว่าโอกาสทางการตลาดของบริษัทไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในประเทศบ้านเกิด แต่ยังมีอยู่อีกในหลากหลายประเทศทั่วโลก

ทราบกันมั้ยครับว่า หนึ่งในประเทศที่บริษัทสนใจจะเข้ามาทำตลาดก็คือประเทศไทยของเรานี่เอง โดย ‘Genki Forest’ ได้มีการลงประกาศรับสมัครพนักงานชาวไทยผ่านช่องทางอย่าง Linkedin ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของบริษัทในการเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย

จริงๆ แล้วมีคนไทยส่วนหนึ่งที่ได้ลองชิมเครื่องดื่มของ ‘Genki Forest’ ผ่านช่องทางอย่าง Shopee และช่องทางออนไลน์อื่นๆ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยหากดูจาก Sentiment ของ Social mention แล้ว เครื่องดื่มของบริษัทก็ดูจะเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวไทยอยู่ไม่น้อย

น่าสนใจนะครับว่าหากบริษัทตัดสินใจเข้ามาทำตลาดในประเทศเราอย่างเต็มตัว ‘Genki Forest’ จะสามารถสร้างแรงกระเพื่อมและแข่งขันกับแบรนด์อื่นๆ ในตลาดบ้านเราได้มากน้อยเพียงใด เพราะตลาดเครื่องดื่มบ้านเราก็เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในตลาดปราบเซียนที่มีการแข่งขันการอย่างเลือดสาดเลยทีเดียว

]]>
1338329
กรอบความคิดกับความมั่งคั่ง… https://positioningmag.com/1316377 Tue, 26 Jan 2021 15:08:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316377

ถ้ามองไปรอบตัว ผมเชื่อว่าเราทุกคนน่าจะมีคนรู้จักบางคนที่ทำงานมาทั้งชีวิต ซื่อสัตย์ สุจริต มัธยัสถ์อดออม แต่จนกระทั่งถึงตอนเกษียณ หรือเสียชีวิต บุคคลเหล่านี้ก็ยังหลีกหนีความจนหรือการเป็นคนชนชั้นกลางทั่วๆ ไปไม่พ้น จริงอยู่คนเราเกิดมาต้นทุนชีวิตไม่เท่ากัน แต่เหตุใดในระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม

ซึ่งเน้นย้ำว่าทุกคนสามารถเลื่อนสถานะทางสังคมขึ้น หรือลงได้ตามความพยายาม หรือความสามารถของตัวเองนั้น เหตุใดในคน หรือในครอบครัวที่มีฐานะยากจน แต่ละรุ่นของครอบครัวเหล่านี้จึงมักจะมีฐานะยากจนเช่นเดียวกันคนที่อยู่ในฐานะปานกลาง รุ่นต่อไปก็มักจะอยู่ในฐานะปานกลาง เพราะเหตุใดถึงเป็นเช่นนั้น?

แน่นอนครับ เราสามารถถกเถียงปัญหานี้กันได้ในหลากหลายแง่มุม เอาตรงๆ มันคงไม่ได้มีคำตอบสูตรสำเร็จ แต่มุมหนึ่งที่ผมอยากพูดถึงในวันนี้คือการที่ ครอบครัว สังคม ระบบการเรียนการสอน รูปแบบเศรษฐกิจ และการจัดการของรัฐบาล ได้สร้างกรอบความคิดที่ส่งผลและเอื้อให้สภาพสังคมเป็นเช่นนี้ สิ่งที่น่ากลัวคือถึงแม้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตาของเราทุกคน คนจำนวนมากกลับไม่ตระหนักหรือคำนึงถึงความเป็นจริงและปัญหานี้เลย

Photo : Freepik

หากเรามองเด็กคนหนึ่งที่ลืมตาเกิดขึ้นมาบนโลกนี้ สถาบันแรกที่จะให้การสั่งสอนกับเด็กคนนี้ก็คือ พ่อ แม่ และครอบครัว ซึ่งหากดูภาพรวมโดยเฉลี่ยแล้วในสังคมแต่ละชนชั้น ก็มักจะมีลักษะกรอบความคิดที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันโดยกรอบความคิดนี้มักจะถูกส่งต่อรุ่นสู่รุ่น ผ่านการสั่งสอนจากปู่ย่าตายาย มาถึงรุ่นพ่อแม่ และรุ่นลูกเด็กคนนี้เองก็จะได้รับการปลูกฝังและซึมซับกรอบความคิดนี้ไปโดยไม่รู้ตัว

ในครอบครัวที่มีฐานะค่อนข้างลำบาก หากเรามองภาพรวมเราจะพบว่า แนวความคิดที่แพร่หลายในสังคนกลุ่มนี้คือการหาเงินให้พอใช้ต่อวันต่อเดือน และถ้าหากไม่พอใช้ก็สามารถกู้หนี้ยืมสินมาก่อนได้ การวางแผนชีวิต การเงิน การสร้างครอบครัว หรือกระทั่งการมีลูก มักจะถูกมองในระยะสั้นหรือปานกลาง การลงทุนที่ถูกต้อง หรือหลักการการทวีคูณของเงิน เป็นสิ่งที่ไม่ถูกพูดถึงหรืออาจจะไม่เป็นที่เข้าใจสำหรับประชากรกลุ่มนี้เลย

ในกลุ่มสังคมชนชั้นกลาง คำสอนและแนวคิดที่แพร่หลาย คือการให้ตั้งใจเรียน เรียนจบให้หางานที่ดี ตั้งใจทำงาน  ตั้งใจเก็บเงิน คนในกลุ่มนี้มักจะเชื่อในความพยายาม ความขยันหมั่นเพียรและอดออม และเป็นกลุ่มคนที่มีความสบายใจในสิ่งที่ตัวเองรู้ ทำให้คนกลุ่มนี้มักไม่ค่อยสบายใจกับสิ่งที่ตัวเองไม่รู้หรือไม่ถนัด

ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงทางด้านการลงทุน ถึงแม้จะพอมีความรู้อยู่บ้างก็ตามโดยหากคนกลุ่มนี้มีลูกเดินไปในเส้นทางที่ตัวเองไม่คุ้นชิน ความอึดอัด และความไม่สบายใจ หรือหลายครั้งความพยายามที่จะห้ามลูกไม่ให้เดินไปยังเส้นทางที่ตัวเองไม่คุ้นเคยก็จะเกิดขึ้นทันที

แน่นอนว่ากรอบความคิดนี้จะถูกถ่ายทอด สอนสั่ง จากรุ่นสู่รุ่นในครอบครัวนั้นๆ ทำให้แนวความคิดของเด็กทุกคนได้ถูกวาดกรอบมาตั้งแต่ในวัยเยาว์โดยที่เด็กเหล่านี้ไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำไป เมื่อถึงวัยเข้าเรียนครอบครัวในแต่ละฐานะทางสังคม ก็มีแนวโน้มที่จะส่งบุตรหลานของตนไปยังโรงเรียนที่ตัวเองมีกำลังทรัพย์พอจะส่งไหว ทำให้ความคิดที่ถูกวาดกรอบมาแล้วจากครอบครัว ยิ่งถูกตอกย้ำให้แน่นขึ้นจากความรู้สึกที่ว่าเพื่อนตัวเองในสังคมก็คิดและมีมุมมองที่คล้ายคลึงกัน

Photo : Freepik

หลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนและมหาลัยเอง ก็มักจะเน้นสอนทางวิชาการ ต้องการให้เด็กเก่งทางด้านเลข ภาษา วิทยาศาสตร์หรือวิชาเฉพาะด้าน อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนที่เกี่ยวกับ วินัยด้านการเงินการวางแผนทางการเงิน การวางแผนทางด้านภาษีหรือการลงทุน แทบไม่เคยมีอยู่ในหลักสูตรที่นักเรียนไทยต้องเรียน หรือสอบเลย

แนวความคิดและความเชื่อที่ได้จากการเข้าสู่ระบบการศึกษา คือการสั่งสอนและตอกย้ำให้เด็กตั้งใจเรียน ต้องเรียนให้ได้เกรดดีๆ เพื่อที่จะได้เข้ามหาลัยดีๆ และสามารถหางานที่มีเงินเดือนดีๆ ได้ โดยไม่มีการสอนและพูดถึงหลักการบริหารเงินเมื่อเด็กเริ่มมีรายได้แล้ว

เมื่อเข้าสู่วัยทำงานซึ่งเป็นวัยที่มีรายได้ จากสถานะนักเรียน-นักศึกษา เด็กเหล่านี้จะเปลี่ยนสถานภาพกลายเป็นผู้บริโภค แบรนด์ ห้างร้าน สินค้าและบริการต่างๆ จะใช้ทุกกลยุทธ์เพื่อทำให้เด็กกลุ่มนี้รู้สึกว่า “ของมันต้องมี” ธนาคารจะเริ่มเข้ามานำเสนอบัตรเครดิต

ซึ่งจำนวนเงินเดือนที่สามารถยื่นขอบัตรเครดิตได้ก็ดูจะต่ำลงมาเรื่อยๆ แน่นอนโปรโมชันลด แลก แจกแถม หรือการผ่อน 0% รวมถึงบริษัทสินเชื่อที่พร้อมทำให้เรื่องกู้ยืมง่ายเหมือนการเดินไปเข้าห้องน้ำ ก็ยิ่งทำให้คนทั่วไปตกอยู่ในวงเวียนและไม่สามารถหลีกหนีจากวงจรนี้ได้

Photo : Freepik

รัฐบาลเองซึ่งมีภารกิจสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือพูดง่ายๆ ว่าต้องพัฒนา ‘คุณภาพ’ ของคนในชาติตัวเอง ก็ดูเหมือนจะมองไม่เห็นหรือมองข้ามปัญหานี้ นอกจากไม่มีการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมที่ดี และมีประสิทธิภาพเพื่อให้คนในประเทศตัวเองสามารถแข่งขันกับตลาดโลก และมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว

ในด้านความรู้การบริหารเงินเพื่อที่จะให้คนไทยรู้จักการเก็บเงิน ลงทุน และบริหารสินทรัพย์เพื่อเพิ่มความมั่งคั่ง หรือกระทั่งการวางแผนภาษีที่คนไทยทุกคนมีภาระหน้าที่ต้องจ่าย รัฐก็แทบไม่มีการจัดอบรมหรือการศึกษาอะไรที่เป็นรูปธรรมเพื่อช่วยในด้านนี้เลย ทำให้เราสามารถเห็นคนวัยทำงานที่มีอายุงานเกินสิบปีจำนวนมากที่ยังไม่รู้จักวิธีการวางแผนภาษี และการลงทุนที่ถูกต้อง

สิ่งที่รัฐบาลทำโดยมากกลับเป็นการแจกเงิน ลดดอกเบี้ย และลดเกณฑ์การกู้เงิน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น ซึ่งนโยบายลักษณะนี้แม้จะช่วยให้คนที่เดือดร้อนได้รับการบรรเทา ณ ขณะนั้น แต่ก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ที่รังแต่จะทำให้ปัญหานี้หนักหน่วงขึ้นในอนาคค

หนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขี้นมากเป็นประวัติการณ์ก็เป็นดัชนีชี้วัดที่ตอกย้ำให้เห็นถึงปัญหานี้ รัฐบาลซึ่งเป็นสถาบันสำคัญที่ควรจะมองภาพและวางแผนในระยะยาว เหตุใดจึงมักเลือกทำและออกนโยบายที่แก้ปัญหาได้เพียงระยะสั้นอยู่เสมอ

Photo : Freepik

บางทีการพูดว่าจะรวยจะจนก็อยู่ที่ตัวทำ อาจจะไม่เป็นธรรมร้อยเปอร์เซ็นต์สมอไป เพราะการต่อต้านหรือก้าวข้ามแนวความคิดที่ถูกตีกรอบมาตั้งแต่เด็ก การตอกย้ำเมื่อเข้าสู่สังคมเพื่อน การศึกษาที่ไม่เคยพยายามสอนและเปลี่ยนความคิด ระบบเศรษฐกิจที่ถูกออกแบบให้เอื้อต่อการเป็นหนี้ และรัฐบาลที่มองข้ามและไม่พยายามแก้ปัญหา

ทั้งหมดนี้ได้ก่อตัวเป็นกรอบทางความคิดที่แม้จะไร้สภาพ แต่ก็มีพลังและแรงกดดดันมหาศาลซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะสามารถเอาชนะมันได้ ทั้งหลายทั้งปวงที่พูดมานี้ บางท่านอาจรู้สึกว่าอย่าตีโพยตีพายโทษอย่างอื่นเลย มันก็อยู่ที่ตัวเอง

จริงครับ อย่างที่เราพูดกันว่า ศัตรูที่น่ากลัวที่สุดคือตัวเราเอง “Your worst enemy is yourself” แค่บางทีการจะชนะตัวเองเราก็แค่ต้องการความช่วยเหลือจากภายนอกบ้างก็เท่านั้นเอง

]]>
1316377
เศรษฐกิจแย่ เลยต้องขายแค่ของถูก? https://positioningmag.com/1291957 Mon, 10 Aug 2020 18:03:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1291957

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของไทยและทั่วโลก คนจำนวนมากมีรายได้ลดลงและอีกไม่น้อยที่สูญเสียการงานไปอย่างถาวร ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันทำให้หลายคนเริ่มใช้มาตราการรัดเข็มขัด พยายามประหยัดที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เราจะสามารถเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม แต่ ‘motivation และ core value’ ของคนเราไม่ได้เปลี่ยนง่ายขนาดนั้น

หนึ่งใน Motivation หลักของคนเรา คือความต้องการที่จะปรนเปรอ หรือสร้างความสุขให้กับตัวเองผ่านการกิน ใช้ หรือ ซื้อ หรือที่คนไทยเราชอบพูดกันว่า ‘ใช้เงินซื้อความสุข’ ถึงแม้บางท่านอาจคิดว่าทุกคนตอนนี้จะประยัดสุดๆ ไม่ใช้จ่ายกับอะไรทั้งนั้น แต่ในความเป็นจริงยิ่งในสถานการณ์เลวร้ายคนเรายิ่งต้องการความสุขเล็กๆ น้อยจากการกิน ช้อป ใช้

โดยเฉพาะจากสินค้ากลุ่มที่เรียกว่า ‘Affordable Indulgences’ ซึ่งก็คือ สินค้าที่ไม่ได้มีราคาถูกที่สุด แต่ไม่ใช่สินค้าราคาแพงแบบที่เคยซื้อเมื่อสมัยเศรษฐกิจดี เป็นสินค้าที่ยังสามารถให้ประสบการณ์ปรนเปรอตัวเองอย่างที่ผู้บริโภคมองหา แต่อยู่ในระดับราคาที่ยังจ่ายไหว

แบรนด์ที่มีสินค้าในลักษณะ Affordable Indulgences นี้ ไม่เพียงจะไม่ถูกกระทบในแง่ลบจาก COVID-19 แต่ยังสามารถเติบโตได้ดีในช่วงภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ สำหรับแบรนด์ที่อาจมีหลายรุ่นหลายช่วงราคา จริงๆ แล้ว ณ เวลานี้ ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีในการโปรโมตรุ่นที่มีราคาต่ำลงมา ไม่ใช่รุ่นเรือธงที่มีราคาสูงที่สุดเหมือนที่ปรกติเคยโฟกัส เพราะสินค้าที่มีราคาอยู่ในระดับต่ำลงมา เป็นกลุ่มสินค้าที่ยังเป็นที่ต้องการสำหรับลูกค้า เนื่องด้วยเป็นสินค้าที่ยังให้ประสบการณ์ปรนเปรอที่ค่อนข้างใกล้เคียง แต่อยู่ในระดับราคาที่สามารถรับได้แม้ในช่วงภาวะแบบนี้

ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือแบรนด์ Yves Saint Laurent (YSL) ที่ได้ออกรุ่น ‘Edition 24’ ซึ่งมีราคาถูกกว่าหลายรุ่นก่อนหน้าถึงราวครึ่งหนึ่ง จากรุ่นที่มีราคา 2,350 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นรุ่น ‘Edition 24’ ที่มีราคา 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ

โดยทางบริษัทได้ออกรุ่น Edition 24 นี้ในช่วงราวปี 2008 ซึ่งเป็นช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจสินเชื่อซับไพรม์ กระเป๋ารุ่นนี้ไม่เพียงช่วยให้ YSL สร้างยอดขายและกระแสเงินสดได้เป็นจำนวนมาก แต่ยังสามารถเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ๆ ได้ในช่วงที่หลายบริษัท ณ ตอนนั้นต้องปิดตัวลงหรือประสบปัญหาด้านการเงินอย่างหนัก

หากย้อนกลับมาดูที่บ้านเรา ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือกระแสด้านการทานร้านอาหารจำพวกโอมากาเสะซูชิ หรือ สเต็กพรีเมียมซึ่งมาแรงเป็นอันมาก แน่นอนว่าในช่วงล็อกดาวน์ร้านเหล่านี้ไม่สามารถให้บริการได้ อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันที่ร้านอาหารเหล่านี้สามารถกลับมาเปิดได้ตามปรกติแล้ว จำนวนลูกค้าก็ยังไม่ได้กลับมาเท่าเดิม

มันไม่ได้แปลว่าลูกค้าไม่ต้องการรับประทานซูชิ หรือสเต๊กอีกต่อไป ลูกค้าจำนวนมากเพียงเลือกออฟชั่นที่ให้ประสบการณ์ที่ค่อนข้างใกล้เคียงแต่มีราคาที่ถูกลง เราจึงเริ่มเห็นร้านจำนวนมากรวมไปถึงร้านในไอจี และเฟซบุ๊กที่ขายซูชิทำเองที่บ้าน หรือเนื้อพรีเมียมส่งถึงบ้าน ราคาของอาหารประเภทนี้ไม่ได้ถูกเลย เรียกว่าไม่ได้เข้ากับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันด้วยซ้ำ แต่คนจำนวนมากก็ยังยอมจ่ายเงินเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ที่ใกล้เคียงอยู่ดี

ช่วงวันที่ 25-28 มิถุนายน 2020 ที่ผ่านมาซึ่งคือช่วงที่โควิดยังระบาดหนักอยู่ บริษัท Ipsos ได้มีการสำรวจในกว่า 16 ประเทศทั่วโลกเพื่อดูว่าผู้บริโภคได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้จ่ายของตัวเองอย่างไร ซึ่งผลสำรวจก็พบว่าในผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในหลายๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่าเป็น Affordable Indulgence อย่างเช่นในผลิตภัณฑ์กลุ่มเบียร์ และเครื่องสำอางที่เพิ่มขึ้น 15% และ 7% ตามลำดับ ทั้งๆ ที่อยู่ในช่วงโรคระบาดและเศรษฐกิจตกต่ำ

Source: Ipsos Global Essentials Report Wave 8, June 25-28

ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วแบรนด์พรีเมียมที่คนรู้สึกว่ามันเป็น Affordable Indulgence สามารถขายได้ดีในช่วงภาวะที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี เพราะยิ่งในช่วงเวลาแบบนี้คนเรายิ่งต้องการอะไรที่จะปลอบโยนและสร้างความสุข ของที่ไม่ได้มีราคาถูกจึงไม่ได้แปลว่าจะขายไม่ได้ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี

เราเพียงแค่ต้องเข้าใจว่าสินค้าและบริการอะไรที่เป็น Affordable Indulgence ลูกค้ากลุ่มไหนที่น่าจะสนใจในผลิตภัณฑ์นี้ และเราควรทำการตลาดและสื่อสารออกไปอย่างไรเพื่อให้ลูกค้ารู้จัก สนใจ และพร้อมที่จะจ่ายเงินออกไป ทุกวิกฤติมีโอกาส สุดท้ายมันคงขึ้นอยู่ว่าเราจะมองหาโอกาสนั้นเจอมั้ย

]]>
1291957
ต้องรอด! ฝ่าวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1268920 Thu, 19 Mar 2020 06:13:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268920

ณ ปัจจุบันที่บทความนี้ได้ถูกเขียนขึ้น ประเทศไทยมีคนติดไวรัสโคโรนาถึง 212 รายแล้ว และตัวเลขผู้ติดเชื้อก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ คงไม่มีข้อโต้แย้งอีกต่อไปว่าประเทศเรากำลังเผชิญกับวิกฤตโรคระบาดที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายสิบปี การระบาดครั้งนี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทุกคน แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคงเป็นความตายที่อาจจะไม่ใช่แค่กับตัวเราเอง แต่กับคนที่เรารักและห่วงใย
Source : Ipsos

อย่างไรก็ตาม รัฐบาล รวมถึงประชาชนบางส่วนทั้งในไทยและต่างประเทศยังคงไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหา โดยจากผลสำรวจของ Ipsos ประชาชนส่วนใหญ่กว่า 70-80% ของหลายประเทศที่สำรวจยกเว้น เวียดนาม จีน อิตาลี และอินเดีย ยังมองว่าตัวเองไม่มีความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในครั้งนี้

อาจเพราะจำนวนกรณีเคสผู้ติดเชื้อที่ยังไม่สูงมากในความรู้สึก และคนรอบข้างที่ยังไม่มีใครติด ทำให้หลายคนยังคงมีการใช้ชีวิตรูปแบบเดิม ไปในพื้นที่ หรือทำกิจกรรมที่ยังมีความเสี่ยง จริงๆ แล้วความน่ากลัวของโรคระบาดคือสิ่งที่เรียกว่า ‘paradox of pandemics’ หรือการที่คนเราไม่ตระหนักว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยในโรคระบาดคือการเพิ่มจำนวนอย่างทวีคูณ หากไม่หยุดยั้งตั้งแต่เริ่มแรก รู้ตัวอีกทีจำนวนผู้ติดเชื้อจะมากขึ้นอย่างรุนแรงจนส่งผลกระทบมหาศาล

Source: New England, journal of medicine, WHO

หากมองย้อนกลับในช่วงศตวรรษที่ 20 การระบาดของโรคที่น่าจะมีความใกล้เคียงกับ COVID-19 มากที่สุดคือการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ในช่วงปี 1918 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไข้หวัดสเปน (Spanish Flu) การระบาดครั้งนั้นมีคนเสียชีวิตถึง 50 ล้านคนทั่วโลก และมีคนติดไวรัสถึง 500 ล้านคน หรือ 1/3 ของประชากรโลกในยุคนั้น

ในขณะที่อัตราการเสียชีวิตของไข้หวัดสเปนอยู่ที่ 2% อัตราการเสียชีวิตของ COVID-19 ด้วยข้อมูลปัจจุบันนั้นสูงถึง 3.4% หรือมากกว่าเกือบ 1.5 เท่า โดยหากเทียบกับไข้หวัดทั่วไปแล้ว COVID-19 มีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าเป็นพันเท่าเลยทีเดียว

ในความเป็นจริง ถึงแม้ COVID-19 จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมันคงเป็นไปได้ยากมากที่โลกเราจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตถึง 50 ล้านคน ทั้งนี้ทั้งนั้นหากไม่จัดการให้ดี การระบาดครั้งนี้ก็ยังสามารถคร่าชีวิตคนจำนวนมากกว่าที่ควรจะเป็นอยู่ดี

ณ ตอนนี้ เราไม่สามารถยับยั้งไม่ให้เกิดโรคระบาด COVID-19 ได้อีกต่อไป วิธีเดียวที่จะลดอัตราการเสียชีวิตได้ดีที่สุดคือ ต้องทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อทุกช่วงระยะอยู่ในจำนวนที่ระบบสาธารณสุขไทยเรายังรองรับไหวเสมอ

หากดูจากรูป เส้นประคือความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของระบบสาธารณะเรา ความสามารถในการรองรับในที่นี่หมายถึง จำนวนเตียง หมอ รวมไปถึงเครื่องช่วยหายใจ ถึงแม้หลังๆ จะได้ยินข่าวว่าหมอไทยเราเก่ง ระบบสาธารณสุขเราดี ให้เชื่อมั่นในระบบสาธารณสุขของเรา

โดยหากอ้างอิงจากข้อมูลของหน่วยงานบริการสุขภาพของสำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ ในปี 2017 ประเทศไทยมีจำนวนเตียงของภาครัฐอยู่ที่ 122,470 เตียง หรือคิดเป็นสัดส่วนเตียง 1.9:1,000 คนต่อประชากร ซึ่งในความเป็นจริงยังห่างไกลจากค่าเฉลี่ยของ OECD หรือระดับสากลเองก็ตาม

“เกาหลีใต้” ที่มีการระบาดรุนแรงเป็นลำดับต้นๆ มีสัดส่วนเตียงอยู่ที่ 6.4: 1,000 ประชากร และใน “ญี่ปุ่น” เองคือ 7.9: 1,000 ประชากร พูดง่ายๆ คือต่อให้หมอไทยเราเก่งแค่ไหน แต่หากจำนวนเครื่องช่วยหายใจ จำนวนหมอ พยาบาล หรือจำนวนเตียงไม่พอกับจำนวนผู้ป่วย เมื่อนั้นอัตราการเสียชีวิตของคนไทยเราจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

คงมีไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถสร้างโรงพยาบาลชั่วคราว และเพิ่มจำนวนเตียงจำนวนมากได้เพียงในเวลาสั้นๆ เหมือนประเทศจีน ที่แน่ๆ ประเทศไทยคงไม่ใช่หนึ่งในนั้น แปลว่าก่อนที่โลกเราจะสามารถผลิตยาหรือวัคซีนสำหรับ COVID-19 ได้สำเร็จสิ่งเดียวที่เราทำได้ ณ ปัจจุบันคือต้องพยายามทำให้จำนวนผู้ป่วยในทุกช่วงเป็นแบบกราฟสีส้มคือ น้อยกว่าเส้นประอยู่เสมอ เพราะหากมีจำนวนผู้ป่วยพุ่งทะยานอย่างรวดเร็วตามกราฟสีเขียวแล้วหลายคนที่ควรจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้คงสูญเสียไปอย่างน่าใจหาย

จะใช้มาตรการหรือจะใช้คำว่า ‘lockdown’, ‘quarantines’, ‘isolation’, ‘ban’, ‘social distancing’ อะไรก็แล้วแต่ สรุปโดยรวมคือ ต้องพยายามที่สุดที่จะไม่ทำให้ตัวเองติดเชื้อ หรือหากติดก็ต้องทำทุกวิถีทางที่จะไม่แพร่เชื้อตัวเองให้ใคร อย่าฝากความหวังไว้กับรัฐบาล แต่มาช่วยตัวเรา ครอบครัวเรา และประเทศของเราด้วยตัวเราเอง เริ่มตั้งแต่วันนี้ก่อนที่เราจะเห็นคนใกล้ตัวของเราต้องสูญเสียชีวิตหรือทรัพย์สินจากโรคระบาดนี้ไป

]]>
1268920
ชีวิตในหมอกพิษกับแนวทางการแก้ปัญหา https://positioningmag.com/1261583 Wed, 22 Jan 2020 18:50:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261583

ช่วงนี้อากาศที่กรุงเทพฯ ไม่ดีเอามาก ๆ จะว่าไปบทความชีวิตในหมอกพิษที่ผมได้เขียนไว้เมื่อเดือนมกราคมปีที่แล้ว แทบจะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ในทุก ๆ คำ หากดูที่ กทม. เชื่อว่าทุกคนรวมถึงรัฐบาลทราบนะครับว่าปัญหาฝุ่นพิษส่วนใหญ่เกิดจากรถยนต์

โดยภาครัฐได้พยายามรณรงค์ให้ประชาชนใช้รถโดยสารสาธารณะเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลอาจลืมไปว่า รถโดยสารของภาครัฐจำนวนไม่ต่ำกว่าครึ่งนั้นใช้เครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งเป็นระบบเผาไหม้หลักที่ก่อให้เกิด PM 2.5 อีกมาตราการที่ภาครัฐทำคือการตรวจจับควันดำ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถบรรทุก รวมถึงห้ามแท็กซี่อายุเกิน 9 ปี และรถตู้อายุเกิน 10 ปี วิ่งรับส่งผู้โดยสาร แต่ก็อาจลืมไปอีกครั้งว่ารถโดยสารจำนวนมากของรัฐบาล เช่น รถเมล์ ขสมก. นั้นต่างก็มีอายุเกิน 10 ปีขึ้นทั้งสิ้น ซึ่งเครื่องยนต์เก่านั้นก็ก่อให้เกิด PM 2.5

ถ้าถามว่าจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไร คงต้องโฟกัสที่ระบบขนส่ง นอกจากการเปลี่ยนให้รถสาธารณะของภาครัฐให้เป็นรถที่ใช้ไฟฟ้าแล้ว ต้องมีการสร้างระบบรางให้ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ และต้องทำให้ระบบรางสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือ การทำให้ราคาค่าโดยสารอยู่ในระดับผู้ที่มีรายได้น้อยก็สามารถจ่ายได้ ไม่ใช่แพงติดอันดับต้น ๆ ของโลกอย่างปัจจุบัน หากลงทุนสร้างระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่จากภาษีของประชาชน แต่ประชาชนส่วนใหญ่กลับไม่สามารถใช้หรือต้องกล้ำกลืนใช้ ก็คงเป็นระบบขนส่งที่ล้มเหลวในสายตาของหลาย ๆ คน และคงไม่สามารถแก้ปัญหามลพิษหรือจราจรได้อย่างที่หลาย ๆ ฝ่ายคาดหวัง

นอกเหนือจะระบบราง การปฏิรูปรถยนต์สันดาปเป็นอีกสิ่งที่จำเป็น หากอ้างอิงจาก ‘The Paris Declaration on Electro-Mobility an Climate Change and call to Action’ ในปี 2030 รถยนต์บนท้องถนน 20% ควรจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งมันคงเป็นไปไม่ได้เลยที่กรุงเทพฯ ของเราจะมีรถยนต์ไฟฟ้าถึง 20% ภายใน 10 ปี หากขาดซึ่งนโยบายความช่วยเหลือ และการลงมือทำอย่างจริงจังของภาครัฐ การปฏิรูปนี้ไม่จำเป็นต้องทำทั้งประเทศไปพร้อม ๆ กัน แต่สามารถเริ่มทำจากจังหวัดที่มีความพร้อม โดยให้ส่วนปกครองจังหวัดนั้น ๆ เข้ามามีส่วนผลักดัน ซึ่งการปฏิรูปจากเมืองก่อนในรูปแบบนี้ได้เกิดขึ้นแล้วใน นิวยอร์ก ปารีส และลอนดอน เพราะเมืองเหล่านี้ต่างก็มีปัญหาที่คล้ายคลึงกับ กทม.บ้านเรา คือความแออัดของการจราจรรวมถึงปัญหามลพิษทางอากาศ

Source : Telegraph.co.uk

วิธีการกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงวงการรถยนต์สันดาปของเมืองเหล่านี้ มีทั้งการการออกนโยบายจำกัด และการสนับสนุนในหลาย ๆ รูปแบบ อาทิ จำกัดมาตารฐานไอเสียที่สูงขึ้น, สร้างพื้นที่หรือวันปราศจากรถยนต์, การสร้างเขต Ultra Low Emission Zone (อย่างในลอนดอน), การลดภาษีสำหรับรถยนต์ EV, การสร้างและให้ที่จอดรถฟรีสำหรับ car sharing รวมถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า อย่าง สถานีชาร์จไฟให้ครอบคลุมทั้งเมือง

โดยนอร์เวย์เป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จในการปฏิรูปโครงสร้างรถยนต์สันดาปตัวเองอย่างสูง จนทำให้เกินครึ่งของรถยนต์ใหม่ที่ถูกซื้อในปีที่ผ่านมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า หรือ ไฮบริด ทั้งสิ้น ถึงแม้นอร์เวย์จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่กลับมียอดขายของรถยนต์ประเภทนี้สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียงแค่จีนและอเมริกาที่ทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรใหญ่กว่าอย่างเทียบกันไม่ได้

แล้วในประเทศไทยของเราควรทำอย่างไร? ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่ว่าคนไทยเราไม่เห็นประโยชน์ของรถยนต์ไฟฟ้า ประชาชนจำนวนไม่น้อยตระหนักถึงข้อดีและความจำเป็นที่ควรใช้รถยนต์ไฟฟ้า ถึงแม้ว่าไทยจะไม่อยู่ในการสำรวจตามข้อมูลด้านล่างนี้แต่เชื่อได้ว่าความเห็นไม่ต่างจากประชาชนในประเทศอื่นที่เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะข้อดีที่มีต่อสภาพแวดล้อม (เฉลี่ย 42%) และราคาไฟฟ้าที่ถูกกว่าน้ำมัน (เฉลี่ย 36%)

จากการศึกษาพบว่าปัญหาหลักที่ทำให้ประชาชนทั่วไปยังมีความลังเลในการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคือระยะทางที่รถไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเช่นภาษีและสถานีชาร์จไฟ

จริง ๆ แล้วระยะทางที่วิ่งได้สำหรับการชาร์จไฟหนึ่งครั้งของรถยนต์ไฟฟ้าปัจจุบันทำได้มากกว่าระยะทางที่คนส่วนใหญ่ขับต่อวันไปแล้ว (ราว 40 กม./วัน) อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่คาดหวังว่ารถจะสามารถวิ่งได้ระยะ 350 กม.ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง โดยชาร์จเฉลี่ย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งโครงการรถยนต์ใหม่ ๆ จากค่ายอย่างเทสล่าก็ดูจะสามารถก้าวข้ามปัญหานี้ไปได้ในไม่ช้า 

แปลว่าสิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือ การรื้อระบบภาษีรถยนต์ไฟฟ้า ร่วมมือกับเอกชน และสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า รัฐบาลหรือนักการเมืองบางท่านอาจมองว่าการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต้องใช้ระยะเวลานานและจำนวนเงินที่มาก ทำให้ลังเลในการลงมือทำ ซึ่งไม่ผิดแต่ในความเป็นจริงมันไม่จำเป็นที่ต้องรอให้โครงสร้างพื้นฐานพร้อมสมบูรณ์ถึงเริ่มผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้า

เพราะจากการศึกษาพบว่าในเกือบทุกประเทศที่ทำการสำรวจ ประชาชนส่วนใหญ่วางแผนที่จะชาร์จไฟรถตัวเองที่บ้านเป็นหลัก เมืองอย่าง กรุงเทพฯ ที่คนส่วนใหญ่ขับรถระยะทางไม่ไกลก็เชื่อได้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ก็น่าจะเลือกชาร์จไฟที่บ้านเป็นหลักเช่นกัน

สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือการเปลี่ยนรถขนส่งของรัฐให้เป็นรถพลังงานไฟฟ้าเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับประชาชน รื้อระบบภาษีเพื่อที่จะทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าเอื้อมถึงได้สำหรับคนหมู่มาก พร้อมทั้งกำหนดโรดแมปในประเทศให้ชัดเจนว่าจะมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมอย่างไรในอนาคตอันใกล้ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงตรงนี้อย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้โครงสร้างต่าง ๆ อาจจะยังไม่พร้อมดีนัก ก็เชื่อได้ว่าจะมีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่จะยอมเป็นผู้ซื้อและผู้ขับรถยนต์ไฟฟ้าพร้อมทั้งกลายกลุ่มผู้สนับสนุนโน้มน้าวให้คนรอบข้างใช้ตาม จริง ๆ แล้วนะครับเราอาจเพียงกำลังรอให้รัฐบาลลงมือทำอะไรสักอย่าง มากกว่าการที่จะถูกบอกให้ ปิดจมูก สวมหน้ากากกันฝุ่นไปวัน ๆ ก็เป็นได้.

]]>
1261583