ดร.กุลเดช สินธวณรงค์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 28 Nov 2017 07:38:12 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทำไม ? โซเชียลคอมเมิร์ซ (s-commerce) ยังเป็น Trend แรงแห่งปี 2018 https://positioningmag.com/1148397 Tue, 28 Nov 2017 05:48:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1148397 บทความโดย : ดร.กุลเดช สินธวณรงค์

เผลอแป๊ปเดียวเราก็เข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปีอีกแล้วนะครับ บางท่านคงรู้สึกเหมือนกับว่ายังไม่ทันทำอะไรเลยก็จะหมดไปอีกปีแล้ว วันนี้ผมจึงอยากเขียนเรื่องอะไรเบาๆ เตือนใจตัวเองและผู้อ่านว่าปีหน้าโซเชียลแพลตฟอร์มที่ปัจจุบันพัฒนาตัวเองจะกลายเป็นกลไกที่สำคัญในเรื่องของการค้าขายนั้น ทั้งทางตรงและทางอ้อมจะมีทิศทางเป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแวดวงของบ้านเราครับ

เริ่มจาก เฟซบุ๊ก” ที่มีอัตรา conversion rate สูงสุดในการเทิร์นทราฟฟิกทุกรูปแบบจากแพลตฟอร์มตัวเองเข้าสู่การค้าขายยังคงมาแรงเหมือนเดิม เหตุผลหนึ่งคือการที่โซเชียลแพลตฟอร์มนี้รวมถึงแพลตฟอร์มอื่นๆ สามารถขยายฐานผู้ใช้งานและเพิ่ม engagement ให้มีวงกว้างขึ้นในกลุ่มผู้มีอายุ 50-64 ปี ได้ถึง 72% ตอนนี้ใช้เฟซบุ๊กหรือโซเชียลแพลตฟอร์มอื่นแล้ว เมื่อเทียบกับ 88% ของกลุ่มอายุ 18-29 ปี ถือเป็นตัวเลขที่หายใจรดต้นคือกันทีเดียว

อย่าลืมนะครับ โซเชียลคอมเมิร์ซ ไม่ได้หมายความว่าต้องเกิด transaction บนแพลตฟอร์มอย่างเดียว แต่เป็นตัวแปรที่สร้าง conversion จริงในการตัดสินใจซื้อที่นำพาไปสู่แพลตฟอร์มของเจ้าของสินค้าอื่นก็ได้ 80-85% ของคนที่ตัดสินใจซื้อของบอกว่าโซเชียลคอมเมิร์สมีผลต่อการสร้างสิ่งเร้าทั้งแบบเหตุผลและอารมณ์ให้ซื้อพอๆ กัน

จะสังเกตว่าฟีเจอร์ของเฟซบุ๊กแนว F-Commerce ที่สร้างให้ยูสเซอร์มีหน้าร้านของตัวเองซึ่งออกมาตั้งแต่ปี 2011 นั้น ถึงแม้จะไม่ค่อยได้ผลมากนัก แต่ก็ถือว่าทั้งเฟสบุ๊กแพลตฟอร์มกระตุ้นการขายด้วยฟีเจอร์อื่นได้ดี เช่น ฟซบุ๊กไลฟ์ โชว์สินค้าที่จะซื้อจะขายในทุกสถานที่กันสดๆ ซื้อขายหรือประมูลกันสดๆ เดี๋ยวนั้นเลย และสามารถโอนเงินแลกเปลี่ยนหลักฐานการซื้อขายทางช่องทางอื่นกันได้ทันที เรียกว่าคนไทยประยุกต์เก่งที่สุดเหนือขอบเขตกฎหมายและสรรพพากรที่จะตามทันจริงๆ (ฮา)

มองกันในแง่อื่นบ้าง เหตุผลหลักที่น่าจะทำให้โซเชียลคอมเมิร์ซ” มีอนาคตสดใสคือ Augmented Reality (AR) ซึ่งเทคโนโลยีสามารถทำให้ผู้ซื้อผู้ขายได้เห็นสินค้าหรือบริการแบบเสมือนจริงมากขึ้น ปัจจุบัน iPhone X ได้ใส่ chip พลังสูง (บางตัวผลิตโดย Samsung) เพื่อรองรับแอป AR หนักๆ ได้ อีกหลายค่ายของแอนดรอนด์ก็ตามมาติดๆ อีกไม่นาน Instagram จะสามารถเซลฟี่ผ่าน AR กับเพื่อนหรือเซเลบแบบไม่ต้องอยู่ด้วยกันจริงได้ (ผ่านฟิลเตอร์ที่สร้างขึ้นมา) ลองคิดดูเล่นๆ ว่าตลาด product endorsement จะโตขึ้นอีกขนาดไหน

ตอนนี้ Instagram stories ฟีเจอร์ตัวท็อปมาแรง ที่ถึงจะไปเลียนแบบค่ายอื่นมา แต่ก็ฮอตขึ้นทุกวัน (อย่างรวดเร็ว) เราสามารถถ่ายทอดสด ได้แชตได้คอนเมนต์ ได้โชว์กันทันที แถมมีฟีเจอร์ที่ทำให้วิดีโอหรือภาพสวยงามตามท้องเรื่องเหมือนกับการผลิตหนังแบบมืออาชีพ ขอบอกว่าเจ้านี้มาแรงมากครับ ไอจีในไทยตอนนี้อัตราการใช้งานรายเดือนสูงสุดก็แซงหน้าหลายแพลตฟอร์มไปไกลแล้ว คนเดี๋ยวนี้ชอบอะไรที่สั้น ง่าย แล้วตัดสินใจเองครับ

ปีหน้าจะเป็นปีที่บรรดาเน็ตไอดอลหรืออินฟลูเอนเซอร์จะเหนื่อยนิด เพราะเทคโนโลยีจะใช้ยากขึ้น (ถ้าจะให้ตรงกลุ่ม) บรรดาเอเจนซี่เก่งๆ จะไม่ได้มองแค่มูลค่าของการโพสต์ แต่จะต้องให้ความสำคัญกับความสามารถและรูปแบบในการใช้งานหลากรูปแบบของเจ้าตัวให้ถูกต้องด้วย แปลง่ายๆ คือ ถ้าเน็ตไอดอลหรืออินฟลูเอนเซอร์อยากได้รายได้มากขึ้น (ซึ่งมูลค่าตลาดมากขึ้นแน่นอน) ก็ต้องมีการแข่งขันกันสูง ทั้งตัวเอง (เลเวลอัพตัวเองให้แตกต่าง) และกับคนอื่น (ซึ่งแต่ละคนก็ขยันสร้างตัวเองเป็นไอดอลกันทั้งนั้น)

ทิศทางอนาคตของโซเชียลคอมเมิร์ซ หนีไม่พ้นที่จะกลับมาแรงขึ้นชัดเจนขึ้นในเรื่อง Live streaming จากทุกค่าย เพราะคนเชื่อว่าคอนเทนต์ที่สดคือคอนเทนต์ที่น่าเสพ เมื่อมีการเสพ นักการตลาดก็เชื่อว่าโอกาสจะซื้อมีสูงขึ้น ท่านไหนที่ยังไม่เคยลองฟีเจอร์นี้ทั้งตัวเดิมๆ บน YouTube หรือ FB live ตอนนี้ของใหม่ดีกว่ามาแล้วนะครับทั้ง FB Space และ Instagram LIVE อย่างที่เล่าให้ฟัง ก็ลองลงมาดูและพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดเรื่องการเตรียมคอนเทนต์แบบไลฟ์สดที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นชินกัน (ซึ่งแตกต่างจากการทำคอนเทนต์การตลาดต่างประเทศมาก)

สุดท้าย ไม่ว่าปีหน้าจะเป็นอย่างไร โซเชียลคอมเมิร์ซ ก็คงไม่สามารถขาดหลักการดำเนินเรื่องที่สำคัญเหมือนเดิมได้ ซึ่งก็คือการเชื่อมต่อทั่วทั้งระบบ ซึ่งทำให้เข้าถึง ดูซ้ำ เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นไม่ว่าเวลาของคอนเทนต์จะผ่านไปแค่ไหนครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ.

]]>
1148397
ทำไมธุรกิจ StartUp ส่วนใหญ่ไปไม่ถึงฝั่ง? https://positioningmag.com/1137618 Mon, 28 Aug 2017 00:55:39 +0000 http://positioningmag.com/?p=1137618 บทความโดย : ดร.กุลเดช สินธวณรงค์

วันก่อนได้มีโอกาสอ่านนโนบายสนับสนุนการเปิดเสรีเรื่องวีซ่าเข้าประเทศไทยของรัฐ เนื้อหาส่วนหนึ่งก็คือการให้โอกาสชาวต่างชาติเข้ามาดำเนินการธุรกิจสตาร์ทอัพได้สะดวกง่ายขึ้นมาก ส่วนหนึ่งผมก็เห็นด้วยเพราะเป็นการเปิดรับแนวคิด knowledge sharing อย่างเต็มที่ในโลกยุคไร้พรมแดน อีกมุมหนึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าจะทำได้ดีมากน้อยเพียงใด ตอนนี้เราพูดเรื่องสตาร์ทอัพกันเกร่อพอๆ กับการพูดเรื่อง 4.0 ส่วนใหญ่คนมักจะมองสตาร์ทอัพจากมุมที่ดีทันสมัย ทำให้สวยดูดีก็มีฮิปฮิตติดลมบน วันนี้เรามาลองดูกันนะครับว่าทำไมบางธุรกิจสตาร์ทอัพถึงไปไม่สุดหรือไม่ได้ประสบความสำเร็จ

สตาร์ทอัพในประเทศไทย เกิดขึ้นจากแนวคิดหรือไอเดียเจ๋งๆ ของคนคนเดียวหรือการรวมกลุ่มกันของคนไม่กี่คน ธุรกิจสตาร์ทอัพของเราเริ่มมาแรงแค่ 3-4 ปีที่แล้ว และที่เห็นประสบความสำเร็จทางภาพลักษณ์ก็มักจะมาจากคนไทยทำกันเองมากกว่าคนต่างชาติเข้ามาทำ ประเด็นคือ ตั้งแต่ยุคที่ความเร็วของอินเทอร์เน็ตครองเมือง ทำให้เกิดการเติบโตของสตาร์ทอัพสูง แต่เกิดมากก็แท้งมากเช่นกัน สตาร์ทอัพที่อยู่รอดจริงมีเห็นอยู่ไม่กี่ราย ไม่น่าจะถึง 5% ที่ยังประสบความสำเร็จและไปต่อได้ หลังจาก 3 ปีแรกทั้งจากการขาดผู้สนับสนุนเงินทุนที่แน่นอนว่าต้องเลือกลงเงินกับสตาร์ทอัพที่ตอบโจทย์เฉพาะทางกับธุรกิจเขาเองมากกว่าอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสาร มือถือ หรือมีเดีย หรืออีกเหตุผลคือ ไอเดียแรกเริ่มของธุรกิจสตาร์ทอัพพอเอาเข้าจริงไปไม่รอดเมื่อลงสู่ตลาด (คิดเก่งกับทำตลาดเก่ง มันไม่เหมือนกันครับ) สตาร์ทอัพยุคใหม่หลายชิ้นมักจะทำกันในรูปแบบที่วนไปเวียนมาไม่มีอะไรที่มีลักษณะ innovative เป็นกิจกรรมนอกกรอบแต่ไม่ค่อยตอบโจทย์ พูดง่ายๆ คือเราเริ่มจะมอง business model ที่มีคนคิดแล้วทั้งของคนไทยและคนต่างชาติ แล้วนำความสำเร็จ (รูป) มาต่อยอด มากกว่าการสร้าง original idea เช่นการพัฒนาแท็กซี่ไทยบนพื้นฐานแนวคิดบางส่วนแบบ Grab หรือ Uber หรือสารพัดแอพ อ่านหนังสือที่ในที่สุดก็จำกัดเฉพาะกลุ่มเพราะตีโจทย์เรื่องวัฒนธรรมการอ่านหนังสือของคนไทยจากการมองการอ่านแบบฝรั่ง

นักลงทุนที่เขาจะมาลงเงินกับธุรกิจสตาร์ทอัพมองผลกำไรเป็นหลักนะครับ สิ่งที่เขาคิดคือได้อะไรกลับมา (return) ได้มาเมื่อไหร่ (rate of return) และที่สำคัญ เขาจะจากไปอย่างไร (exit strategy) หรือถ้าอะไรไปได้ดี ก็คิดถึงอนาคตต่อยอดที่เป็นไปได้ร่วมกัน (diversification) ทั้งหมดนี้ นักธุรกิจสตาร์ทอัพไม่ควรปล่อยให้เขาคิดเอง แต่ควรคิดล่วงหน้าแล้วนำเสนอในลักษณะการทำ due diligence หรือการประเมินมูลค่าและทิศทางธุรกิจ แทนที่จะรอให้เขามาประเมินเรา ใครก็ทราบว่าธุรกิจสตาร์ทอัพส่วนใหญ่มีแต่ไอเดียดีแต่ไม่มีทุน อยากให้เขาหนุนเราก็ควรเลือกเขา อย่าให้เขามาเลือกเราด้านเดียว

ที่ผ่านมาเราอยากจะเปิดหรือสนับสนุนสตาร์ทอัพกันเยอะ แต่ปี 2016 ประเทศไทยได้ Global Innovation Index อันดับแค่ 52 (จาก 128) ตัวเลขนี้เขาวัดจากการสนับสนุน economic ecology เพื่อผลลัพธ์ทางนวัตกรรม และการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อันดับที่ได้ยังต่ำพอสมควร แปลว่ายังต้องทำอะไรอีกเยอะ หลักๆ คือทั้งระบบต้องหนุนกันตั้งการศึกษา ธุรกิจ หน่วยงานรัฐ และตัวเราเอง

Facebook หรือ Google ทุกวันนี้กลายเป็น platform สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ ตอนนี้มันกลายเป็นระบบนิเวศของการทำงานไปแล้ว แต่การสร้าง (หรือมีแนวคิด) single gateway ผมคิดว่าไม่ได้แค่จำกัดการเข้าถึงหรือการเกิดของธุรกิจใหม่หรอกครับ แต่คือการทำแท้งโอกาสการเติบโตของทั้งระบบเศรษฐกิจเลย

ธุรกิจสตาร์ทอัพต้องเพิ่งความสามารถทางไอทีของคนเป็นสำคัญ แต่ผมบอกได้เลย ส่วนใหญ่เราไปโยนงานให้กับคนจบไอทีโดยตรงมาทำหน้าที่นี้ทั้งหมด ทั้งที่เจ้าของไอเดียต้องสามารถบรรเลงไอเดียตัวเองเบื้องต้นผ่านภูมิทัศน์ของเทคโนโลยีได้ดีกว่าคนทำไอทีสายตรงด้วยซ้ำ ไม่ว่าการเขียนเว็บซึ่งสมัยนี้ทำได้เองง่ายมาก ประหยัดเวลา เวลาซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ารองจากไอเดียสำหรับธุรกิจในยุคนี้

วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของการซื้อหรือของการบริการภาคธุรกิจเราก็ควรกำหนดให้ชัด ว่าจะขายของหรือบริการในภาคส่วนไหน eBay ในเมืองไทย (หรือแม้แต่ Amazon) ก็พลาดให้ Aliexpress มาแล้วเพราะเรื่องความเข้าใจในวัฒธนรรมการซื้อ การกำหนดราคาและการสื่อสารกับผู้ขาย รวมทั้งระบบวิธีการได้มาซึ่งสินค้า คนไทยชอบอะไรง่ายๆเวลาซื้อของ ที่ระดับราคาหนึ่ง แต่คนไทยตัดสินใจจะซื้อจริงยากครับ ตัวเลขการซื้อออนไลน์ที่สูงขึ้นไม่ได้หมายความว่าสตาร์ทอัพได้ไปกินส่วนแบ่งกับเขาด้วยสักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ที่ได้ไปก็เป็น C2C ทั้งนั้น รีเทลเจ้าใหญ่ที่โดดลงมาเล่นเท่าที่ดูไม่มีอะไรใหม่นอกจากเกาะกระแสไป (มีเพราะออนไลน์เพราะต้องมี ไม่มีไม่ได้ ทั้งที่เงินลงทุนสูงมากสำหรับองค์กรใหญ่ แต่นั่นคงไม่ใช่ประเด็นสำหรับคนมีทุน)

เราจะเริ่มเห็นการรวมตัวกันทางธุรกิจของกลุ่มสตาร์ทอัพจากทั้งไทยและเทศ (merger) ส่วนหนึ่งแน่นอนคือการซื้อโอกาสและ know-how ของตลาด แต่อีกส่วนหนึ่งคือมันไปต่อไม่ไหวถ้ายังเชื่อมันใน original idea ของเราเองแบบไม่ปรับตัว ก็ไปไม่รอด สองปีที่ผ่านมาเราเห็นการเกิด co-working space กันเยอะ แต่บางทีก็น่าคิดนะครับ ว่า co-working space แต่ละที่มี business model ที่นำเสนอผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างไร และที่สำคัญคาดว่าจะคืนทุนเมื่อไหร่ หรือถ้าคุณเป็น venture capitalist หรือ angle investor (ที่ไม่ใช่ตัวคุณเอง พ่อแม่ญาติพี่น้อง) คำถามคือ คุณจะเอาเงินมาลงทุนในธุรกิจนี้อีกหรือไม่? ถ้ายังไม่แน่ใจในคำตอบ ไม่ว่าสตาร์ทอัพนี้หรือสตาร์ทอัพอื่นที่มีไอเดียดีแค่ไหน ทิศทางที่จะไปมันคงไม่ได้ง่ายเหมือนนโยบายของรัฐที่มีคนกำหนดครับ

ขอให้ทุกท่านโชคดีนะครับ

pic_profile

Profile
กุลเดช สินธวณรงค์
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จาร์เค็น จำกัด

ด้วยประสบการณ์ทำงานในการเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทดีไซน์มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานการพัฒนาด้านความรู้ของบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาดและองค์ความรู้เพื่อทำให้บริษัทเติบโตและก้าวไปข้างหน้า การเป็นวิศวกร, นักออกแบบ, ครีเอทีฟ และเจ้าของกิจการจากการสั่งสมการทำงานที่มีความแตกต่างกันทั้งในสายอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

]]>
1137618
ตั้งราคาสินค้าออนไลน์ยังไง..ให้ขายดี https://positioningmag.com/1136380 Wed, 16 Aug 2017 23:55:30 +0000 http://positioningmag.com/?p=1136380 เรื่องโดย : ดร.กุลเดช

ในยุคสมัยที่ใครๆ ก็ขายของออนไลน์ได้ง่ายนิดเดียว ทำให้ความเป็นพ่อค้าแม่ค้าในพวกเราแต่ละคนออกมาโชว์พลังกันล้นท่วมเฟซบุ๊กและไอจีเต็มไปหมด เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในการจับจ่าย สร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าและบริการ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้การแข่งขันสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวครับ ในตลาด e-commerce และ s-commerce นั้น เมื่อมีสินค้าที่เหมือนกันหรือมีลักษณะคล้ายกัน ผู้บริโภคจะเปรียบเทียบราคาได้ไม่ยาก ผู้ซื้อจะใช้เวลาตรงนี้ค้นหาสินค้าได้ในหลายแพลตฟอร์ม แล้วตัดสินใจซื้อ กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในชั่วเวลาไม่กี่นาที ที่สุดแล้ว เมื่อสินค้ายี่ห้อเดียวกัน หรืออาจจะคนละยี่ห้อ ทำจากโรงงานเดียวกัน หรือลักษณะของสินค้าตอบโจทย์ผู้ซื้อเหมือนกัน ตัวแปรที่ทำให้เราตัดสินใช้ซื้อ ที่สุดแล้วก็คือ ‘ราคา’ ครับ

ผลทางจิตใจ (psychological effect) ที่เกี่ยวข้องกับราคาระหว่างการเปรียบเทียบในช่วงเวลาสั้นๆ ที่เรากดมือถืออยู่นั้นมีทั้งความซับซ้อนและความเรียบง่ายตรงไปตรงมาในคราวเดียวกัน (อ้างอิงจาก-Professor Itamar Simonson, Stanford Business School) นักการตลาดและนักวิชาการ UptalDholakiaจาก Rice University ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของการตั้งราคาสินค้าออนไลน์แล้วสรุปว่า ความเสี่ยงในการขายของนี้ ไม่ได้เกิดจากการตั้งราคาตามกลไกตลาดพียงอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ขายขาดการคำนึงถึงพฤติกรรมที่แตกต่างของผู้บริโภคชาวเน็ตด้วย เรามาดูกันนะครับว่าเทคนิคการตั้งราคาปั่นตัวเลขง่ายๆ ของร้านค้าออนไลน์รูปแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง

อย่างแรกคือ ‘อย่าไปตั้งราคาต่ำกว่าคู่แข่ง’ ให้กำหนดราคาสูงไว้ก่อนเล็กน้อย เพราะเวลาผู้ซื้อเปรียบเทียบอะไร ในใจเขาจะตั้งธงไว้ก่อนแล้วว่าซื้อของออนไลน์ต้องถูกกว่าสิ เมื่อเราลงมาอยู่ ณ จุดนี้แล้ว ควรทำราคาที่แสดงถึงความพรีเมี่ยมของสินค้าและบริการไว้ก่อน ใช้เทคนิคเพิ่มคุณค่าให้การขายของคุณโดยการเสนอการรับประกัน นโยบาย การเปลี่ยนการรับคืนมาทดแทน

อย่างที่สอง ‘การรุกเร้าให้ซื้อเร็ว’ เทคนิคนี้ใช้ได้เสมอครับ เช่น การระบุจำนวนตัวเลขสินค้าที่ใกล้หมด stock แล้ว หรือการแถมสินค้าอื่นเข้าไปในช่วงเวลาที่เรากำหนดพร้อมตัวเลขที่ผู้ซื้อจะได้ประโยชน์จากการตัดสินใจซื้อ ของแถมไม่ว่าจะมีมูลค่าหรือมีประโยชน์เกี่ยวข้องตรงกับผู้ซื้อหรือไม่ก็ตาม มันส่งผลต่อจิตใจทั้งนั้นครับ เช่นขายมือถือแต่แถมร่ม ฟังดูเหมือนไม่น่าจะไปกันได้ แต่กลับมีผลต่อจิตใจมากพอดู โดยเฉพาะผู้ซื้อชาวไทย สิ่งสำคัญในการใช้กลยุทธ์นี้ คือเราต้องใส่ความตัวเลขแสดงความคุ้มค่าเพิ่มขึ้นให้ผู้ซื้อดู อย่าแถมเฉยๆ โดยไม่บอกข้อมูลครับ

ต่อมาคือ ‘การเล่นกับตัวเลข’ กลยุทธ์นี้เราจะทำการตั้งราคาโดยให้ลบหนึ่งออกเสมอ เช่นแทนที่จะขาย 100 บาท ก็ลงมาขายที่ 99 บาทต่อชิ้น เทคนิคอันนี้ใครๆ ก็รู้ครับ แต่ที่ควรจะทราบเพิ่มเติมก็คือ ตัวเลขที่เราจะตั้งนั้น ควรจะอยู่ตรงกลางระหว่างราคาของคู่แข่ง ไม่ถูก หรือแพงกว่าคนอื่น ที่สำคัญคือ ให้แยกตัวเลขออกจากค่าส่งและภาษีเสมอ (เอาไปไว้หน้าอื่น) อย่าให้ไปปรากฏอยู่หน้าแรกที่มีภาพสินค้าประกอบ หรือให้เอามารวมภายหลัง และตัวเลขราคาสินค้าต้องชัดเจน แต่ให้สัดส่วนเล็กกว่าภาพ (ควรมี composition ตัวเลขต่อสินค้าประมาณ 1:100 -150 แล้วแต่การจัดวางกราฟิกของลักษณะสินค้า)

สำหรับสินค้าที่ราคาสูง เช่นการตั้งราคาสำหรับกล้องถ่ายรูปตัวนึง 35,000 ในเว็บ A กับ 36,567 ในเว็บ B  นักการตลาดพบว่าผู้ซื้อจะมีแนวโน้ม ‘สงสัยและเชื่อว่า’ ราคาสูงกว่าที่แลดูชัดเจนของเว็บ B น่าจะสมบูรณ์ ครบถ้วนกว่า และใช้เวลาศึกษาจากเว็บ B ก่อนมากกว่า และถ้าทุกอย่างลงตัว เขาจะซื้อเลย

ส่วนสินค้าที่ราคาต่ำกว่าสินค้าตัวอื่นใน category เดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ให้หลบไว้ทางด้านซ้ายมือของหน้าจอเสมอ เพราะคนส่วนใหญ่ถนัดขวาจุดสนใจจึงจะอยู่ที่มุมซ้ายก่อน สินค้าราคาต่ำซื้อง่ายขายคล่องอยู่แล้ว ถึงจะวางหลบนิดหน่อยให้พื้นที่ภาพกับสินค้าราคาพรีเมียมตัวอื่นสินค้าราคาถูกนั้นก็ยังสามารถขายได้ไม่ยาก เทคนิคนี้ใช้ได้กับทั้งในไอจีและเฟซบุ๊กนะครับ เพียงแต่ว่า อย่าไปโพสต์ราคารัวๆ ปนกับพรรณนาเนื้อหาสาระต่างๆ มากเกินไป ทำแบบนั้นจะกลายเป็นว่าเราทำให้คนเบื่อจนไม่อยากดูต่อ

ทีนี้มาในเรื่องของ ‘สี’ สำหรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นผู้ชาย สีที่มีผลต่อซื้อหรือสนใจสินค้าออนไลน์ คือ สีแดงครับ เพราะผู้ชายเวลาอยู่หน้าจอช้อปปิ้งมักจะตัดสินใจผิวเผินกว่าผู้หญิง จุดสนใจของผู้ซื้อที่เป็นผู้ชายจะถูกดึงดูดได้ด้วยพลังของสี ตัวเลขราคาให้เน้นใช้สีแดงหรือชมพูเป็นหลัก เพราะเป็นสีที่มีความเป็นผู้หญิง (feminine) สามารถดูดผู้ชายโดยธรรมชาติ ทีนี้สำหรับสาวนักช้อปในโลกออนไลน์ สิ่งที่เหมือนกันของสาวนักช้อปคือ สมอง และการตัดสินใจครับ ผู้หญิงมีสัญชาตญาณสูงในเรื่องความละเอียดอ่อนและการเอาใจใส่ ควรใช้สีที่ทำให้เธอคิดน้อยลงนิด รู้สึกเบาสบายผ่อนคลายในการเลือกซื้อ (เพราะเธอคิดเยอะมากอยู่แล้ว) เช่นสีขาว สี pastel ที่สื่อถึงความเรียบง่าย ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงสีที่เร้าอารมณ์ซื้อให้แรงจัดแบบสีเหลือง หรือสีโทนลึกลับซ่อนเงื่อน (ถึงจะเท่) ว่าด้วยเรื่องสีนี่ เราคุยกันได้ไม่จบครับ

การตั้งราคาหรือกำหนดตัวเลข เราควรมีส่วนลดครับ แต่ต้องเป็น ‘ส่วนลดที่มีตรรกกะภายใน’ เช่นล้างสต๊อก หรือของหมด ไม่ใช่ว่านึกจะทำการลดก็ลด กลยุทธ์การลดราคาโดยใช้เงื่อนไขเป็นเดือนพิเศษ เพื่อคนรักหรืออะไรแบบนั้นใช้ได้กับสินค้ารีเทล แต่มักจะไม่ได้ผลกับสินค้าในโลกออกไลน์ ซึ่งจะตัดสินใจซื้อกันที่ impulse ตัวเลขส่วนลด (ถ้ามี) ควรอยู่ ‘ด้านขวา’ ของตัวเลขราคาปรกติ ที่สำคัญ ควรทำอินโฟกราฟิกชัดหรือเขียนลงไปในเพจให้ชัดเจนว่า ถ้าเราจัดแพ็กเกจจะสามารถทำให้ผู้ซื้อประหยัดไปได้เท่าไหร่ (ในกรณีที่ใช้การเขียน ควรโพสต์แยกกับบอลลูน หรือโพสต์ขายของหลัก จากประสบการณ์ จะได้ผลมากกว่า เพราะไม่งั้นจะกลายเป็นเอะอะก็ลดราคากันทั้งปีทั้งชาติ)

การตั้งตัวเลขส่วนลดนี้ จะมีความแตกต่างจากการตั้งตัวเลขราคาปรกติครับ ให้ใช้ตัวเลขธรรมดา ไม่ใช่ลบหนึ่ง เช่น ราคากระเป๋าปรกติตั้ง 999 บาท ส่วนลดต้องลงมาเป็น 850 หรือ 870 บาท หรือสามารถใส่เปอร์เซ็นต์การลดไปก็ได้ถ้าไม่ดูเลอะเทอะเกินไป เพราะสมองผู้ซื้อจะเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่างเสมอ ถ้าผู้ซื้อรู้สึกไม่แตกต่างก็ไม่มีประโยชน์ที่จะลดราคาให้ เพราะเราก็กลายเป็นอีกแค่หนึ่งทางเลือกในการซื้อเหมือนเจ้าอื่นๆ

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าเฟซบุ๊กหรือไอจี เทคนิคเหล่านี้ทำได้หมดแล้วครับ ทั้งสี อีโมติคอน การจัดหน้า การเขียน เว้นวรรค ทุกย่างอยู่ที่เรากำหนดกลยุทธ์เองเพื่อฉีกหนีจากคู่แข่ง เพราะในที่สุดแล้ว ไม่ว่าท่านจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ ผู้ที่แข็งแกร่งและแตกต่างที่สุดก็คือผู้ที่จะอยู่รอดได้จากตลาดออนไลน์ ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

pic_profile

Profile
กุลเดช สินธวณรงค์
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จาร์เค็น จำกัด

ด้วยประสบการณ์ทำงานในการเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทดีไซน์มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานการพัฒนาด้านความรู้ของบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาดและองค์ความรู้เพื่อทำให้บริษัทเติบโตและก้าวไปข้างหน้า การเป็นวิศวกร, นักออกแบบ, ครีเอทีฟ และเจ้าของกิจการจากการสั่งสมการทำงานที่มีความแตกต่างกันทั้งในสายอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

]]>
1136380
มุมมืดของโซเชียลเซเลบ https://positioningmag.com/1128619 Thu, 08 Jun 2017 14:55:07 +0000 http://positioningmag.com/?p=1128619 เรื่องโดย : ดร.กุลเดช

เรื่องของคดีที่กำลังดังผมคงขอไม่กล่าวถึงนะครับ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเราทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของโลกโซเชียลที่จะสร้างหรือทำลายสังคมจริงไม่มากก็น้อย ไม่ว่าท่านที่เล่นหรือเป็นส่วนหนึ่งของโลกโซเชียลหรือไม่ เพราะถ้าคนที่ไม่ได้เล่นก็อาจจะไม่เข้าใจจริงๆ ว่าหน้าที่หรือฟังก์ชันของสื่อออนไลน์มันมีความหมายของมันอย่างไร หรือมันแพร่บริบทไปไกลถึงไหนแล้ว ไม่ต่างจากกฏหมายที่ต้องตีความ หรือความพยายาม (ในการสื่อสาร) ที่ต้องการความเข้าใจหรอกครับ

ผู้คนส่วนใหญ่หรือแม้แต่นักการตลาดเข้าใจว่า การกระตุ้นให้เกิดความเชื่อ ต่อเนื่องไปยังพฤติกรรม หรือการกระทำต่างๆ ในที่นี้ขอยกเรื่องการไปโทษทั้งหมดว่าสื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลเป็นตัวก่อให้เกิดอาชญากรรม ซึ่งเป็นผลมาจาก การอวด การอ่าน หรือการเห็นภาพหรือวิดีโอจากสื่อออนไลน์ จริงๆแล้วไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกซะทีเดียว ทราบกันดีอยู่ว่าในต่างประเทศอาชญกรรมและการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นสูงกว่า 1400% ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ในต่างประเทศมีผลมาจากสื่อโซเชียล (The Times, The Guardians, The New York Times) ซึ่งหลักๆ ก็มาจากการสร้างตัวอย่างหรือแบบอย่าง วิธีการ หรือที่ในเมืองไทยที่เราเรียกว่าสร้าง “เซเลบ” หรือ “เน็ตไอดอล” แล้วเมื่อสร้างแล้วก็มาเลียนแบบกันเอง พฤติกรรมการเลียนแบบไม่แตกต่างจากเหตุผลความเชื่อและการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อ (ความคิด บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่การล้างแค้น)

อย่างไรก็ดี กรณีของโซเชียลเหมือนเหรียญที่มีสองด้านเสมอ โซเชียลมีเดียช่วยในการลดอาชญกรรมทั้งที่ต้นเหตุและปลายเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการส่งต่อข้อความเตือนโจรผู้ร้ายที่เคยเกิดคดีความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือการโปรโมตโครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ (ในทางอ้อมคือการกำราบโจรที่กำลังอ่านข่าวนั้นอยู่) หรือการส่งต่อภาพหรือคลิปการจับกุม หรืออุบัตติเหตุที่ลด ละ เลี่ยงได้ตามท้องถนน หรือแม้แต่การที่ตำรวจหรือผู้ใช้กฎหมายจะใช้ข้อมูลจาก Social Listening เป็นส่วนหนึ่งของการปรึกษา พิจารณาตัดสินใจ ติดตามประเมินผล หรือแม้แต่การติดตามผู้ก่ออาชญกรรมตรงๆ จากมือถือหรือข้อมูลในโซเชียล สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่ผู้คนในโลกโซเชียลไม่ค่อยพูดถึง แต่เลือกที่จะส่งต่อความบันเทิงจากการเลือกเสพเองของประเด็น จะไม่ได้มีนัยสำคัญกับอาชญกรรมเรื่องนั้น

นักการตลาดมีประสบการณ์ในการเปลี่ยนสสารทางการตลาดเหล่านั้นให้เป็นมวลสารทางการค้ามาเยอะ นักการตลาดที่ดีคงไม่เลือกสร้างเซเลบจากสสารที่ละเอียดอ่อนหรือสุ่มเสี่ยงทั้งสองด้านในลักษณะนี้ เช่นที่เราเห็นในกรณีของขอทานอินเตอร์ หรือเคมเปญออนไลน์ที่ให้เปลี่ยนรูปภาพเก๋ๆ เพื่อรับเงินบริจาคจากเจ้าของโครงการแฮชแท็กนั้นๆ ผ่านค่าเอเจนซี่ตามยอดมูลค่า

ด้านมืดของอาชญกรรมก็เกิดเยอะจากโลกโซเชียล ไม่ว่จะเป็นข้อความเร้าอารมณ์เพื่อสร้างความเกลียดชัง ตัวอย่างการกลั่นแกล้ง บางคนก็เป็นเซเลบไปเลยก็มี จากความเย่อหยิ่งที่มีกลุ่มคนเห็นด้วย เราจะเห็นว่าถึงแม้เซเลบแบบนี้จะมีภาพลักษณ์ที่ไม่ปรารถนาในคนกลุ่มหนึ่ง แต่โลกเบี้ยวๆ ใบนี้มันแคบ มันย่อมมีคนกลุ่มหนึ่งที่นักการตลาดมองว่าใช่ คิดว่าชอบ และสามารถนำเสนอภาพลักษณ์เหล่านี้ของเค้าให้กับสินค้าหรือแบรนด์เล็กแบรนด์ใหญ่ได้เสมอ เมื่อถึงเวลาของภาพลักษณ์นั้นของมันเอง ใครจะไปรู้ว่าวันนึง เราอาจจะเห็นอาชญากรที่ทำผิดร้ายแรงออกมาร้องเพลงได้อีก หรือเป็นพิธีกรรายการทีวีออนไลน์ประเภทข่าวอาชญกรรมได้ (แถมคนอาจจะชอบซะงั้น)

ผมเคยได้ยินหลายคนพูดว่า

โลกโซเชียลมันโหดร้าย อย่าไปยุ่งกับมันเลย ผมกลับคิดแบบบ้านๆ ว่า ไม่ยุ่ง แต่ควรทำความรู้จักกับมันให้ดี แล้วเก็บมันไว้ข้างตัวเราดีกว่า เพราะถึงยังไง เราก็หนีมันไม่พ้น ไม่ว่าวันนึงมันจะเปลี่ยนตัวเองไปเป็นรูปแบบไหนครับ

pic_profile

Profile
กุลเดช สินธวณรงค์
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จาร์เค็น จำกัด

ด้วยประสบการณ์ทำงานในการเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทดีไซน์มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานการพัฒนาด้านความรู้ของบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาดและองค์ความรู้เพื่อทำให้บริษัทเติบโตและก้าวไปข้างหน้า การเป็นวิศวกร, นักออกแบบ, ครีเอทีฟ และเจ้าของกิจการจากการสั่งสมการทำงานที่มีความแตกต่างกันทั้งในสายอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

]]>
1128619
ขายของออนไลน์..เตรียมจ่ายภาษี https://positioningmag.com/1126411 Mon, 22 May 2017 15:37:25 +0000 http://positioningmag.com/?p=1126411 บทความโดย : ดร.กุลเดช สินธวณรงค์

เรื่องธรรมดาครับ มีรายได้ก็ต้องมีจ่ายภาษี เป็นที่ทราบกับแล้วนะครับว่ากระทรวงการคลังจะปรับโครงสร้างภาษีออนไลน์ เช่นเดียวกับที่หลายประเทศเริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยจะเริ่มเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% กับกลุ่มเว็บไซต์ ดิจิตอลเอเจนซี่ หรือโซเชียลแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่มีรายได้จากโฆษณาก่อน คำถามคือแล้วพ่อค้าแม่ค้าโซเชียลมีเดียที่มีรายได้จากการขายตรงหรือการโฆษณาล่ะ แนวโน้มจะเป็นอย่างไร

แนวโน้มและแนวทางของการวางโครงสร้างการเก็บภาษีออนไลน์ระดับคอนซูมเมอร์ทั่วโลกก็เป็นไปในทิศทางคล้ายๆ กันครับ คือจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ดูที่เจตนาการรีวิวหรือโปรโมตสินค้า การที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ รวมถึง Bloggers หรือ Influencers พูดถึงเรื่องราวทางตรงหรือทางอ้อมของสินค้าบ่อยและตรงเป้า (จงใจ) ขนาดไหน และดูประกอบที่มูลค่าของสินค้าที่ท่านพูดถึงสูงเกินระวางที่กำหนดไว้ต่อครั้งและรวมยอดต่อปีจำนวนเท่าไหร่หรือไม่ ที่สุดแล้วท่านจำเป็นต้องนำรายได้เหล่านั้นมาแสดงภาษีรายได้ส่วนบุคคลประจำปีอีกด้วยครับ เพราะเมื่อบริษัทที่จ้างท่านทำการรีวิวสินค้าต้องนำใบเสร็จมาหักภาษีเหมือนกัน ชื่อท่านก็ไม่ได้ไปไหน ก็วนเวียนอยู่ที่สรรพากรนั่นแหละครับ

มีคำถามว่า ถ้าการแบ่งลักษณะการเก็บภาษีรายได้เป็นแบบนี้ แต่มีแนวโน้มว่าสามารถแจ้งหรือแสดงตัวว่าท่านมีรายได้จากงานประจำอื่นอยู่แล้ว ก็อยากมาขายของออนไลน์เล่นๆ เป็นงานนอกงานเสริมน่ะ ต้องเสียภาษีด้วยอีกหรือ ส่วนตัวผมคิดว่า แนวโน้มคือต้องเสียครับ แต่อยู่ที่ว่าท่านจะแสดงตนว่าได้รับรายได้แบบไหน อย่างไร จำนวนไม่เกินเท่าไหร่ เท่านั้น เท่าที่ทราบมาตอนนี้โครงสร้างกำหนดไว้ตั้งแต่ การโพสต์ การอัพเดตนิวส์ฟีด ทั้งไอจีและในเฟซบุ๊ก ซึ่งถ้าเป็นบัญชีส่วนตัวยังไงก็โดนแน่ๆ

สังเกตว่าเฟซบุ๊กได้พยายามหาทางเลี่ยงให้บริษัทเป็นคนรับผิดชอบแทนพนักงานโดยการเปิดรวบบัญชีธุรกิจที่ดูแลเพจทั้งหมดนานแล้ว ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงให้พนักงานเรื่องภาษี อย่างไรก็ดี พนักงานที่ทำหน้าที่เป็นออนไลน์แอดมินก็ควรศึกษาดูอีกครั้งว่าได้พ้นความเสี่ยงอันนั้นแล้วหรือยัง โดยดูได้จากสัญญาจ้างที่ทำกับบริษัทในฐานะผู้โฆษณา ถ้าสัญญาไม่ได้ระบุไว้ก็ควรจะรีบไปดูนะครับ ภาษีมันเรียกย้อนหลังกันได้เสมอ

มีคำถามอีกว่า เอ๊ะ!!! แล้วถ้าเราจะบอกว่าของที่เราโพสต์ (เนียนๆ) นั้นมันไม่มีราคาล่ะ จะรอดตัวหรือไม่ อันนี้ไม่ยากครับ ท่านก็ต้องพิสูจน์ดูเองว่า ณ ขณะที่ท่านโพสต์ สินค้า หรือบริการ มีราคาตลาดที่เทียบเคียงได้ หรือมูลค่าที่สามารถประเมินและเปิดเผยในที่สาธารณะหรือยัง ถ้ามีก็มีแนวโน้มว่าต้องเสียภาษี หรือถ้า Blogger จะบอกว่า ก็เค้าให้ของมาดูมาลองใช้จะโพสต์หรือไม่ก็ได้เพราะไม่ได้รับตังค์ค่าจ้างนะ (แหม๋) ผมว่าเรื่องภาษีเค้าดูที่ราคาของสินค้าที่ได้รับครับ จะรับมาฟรีหรือไม่สินค้าหรือบริการก็มีราคาในตัวของมัน ถ้าท่านโพสต์แปลว่าท่านจงใจ ถ้าสินค้าไม่เกินระวางที่กำหนดก็รอดตัวไป

นอกจากนี้ถ้าเราคิดเองมโนเองว่า โอ๊ย ซื้อขายกันในอินบ็อกซ์ไม่มีใครรู้หรอก ขายเสร็จก็ลบทิ้ง ใครจะไปรู้ อยากบอกทุกท่านว่าอย่าประมาทเลยครับ ตอนนี้เพจซื้อขายของก็ต้องบอกราคากันชัดๆ ที่คอมเมนต์ในฟีดแล้ว จะมากั๊กเหมือนแต่ก่อนก็ไม่ได้ สมัยก่อนร้านก๋วยเตี๋ยวดังยังเคยโดนนั่งนับชามก๋วยเตี๋ยวมาแล้ว (ก็คิดว่ากินเสร็จก็ล้างชามเหมือนกัน ใครจะรู้) นับประสาอะไรกับเพจดังหรือดาราขายเครื่องสำอางสุดฮอตลือลั่นสนั่นเมือง ส่วนตัวผมคิดว่ายอดขายมันประเมินง่ายกว่าไปนั่งนับชามก๋วยเตี๋ยวนะครับ

สุดท้ายแล้ว ผมว่าคงไม่พ้นต้องเสียภาษีกันถ้วนหน้า จะออกมาในรูปแบบไหนในระดับคอนซูเมอร์เท่านั้นเอง ผมมองว่าทางที่ดีควรจะทำการวางแผนภาษีให้เป็นเรื่องเป็นราวดีกว่า เพราะออนไลน์โซเชียลตอนนี้มันคือจุดหมุนของโลก มีรายได้ก็จ่ายภาษีไป ดีกว่า (โดนทีหลัง รวมค่าปรับเงินเพิ่ม) นะครับ

pic_profile

Profile
กุลเดช สินธวณรงค์
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จาร์เค็น จำกัด

ด้วยประสบการณ์ทำงานในการเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทดีไซน์มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานการพัฒนาด้านความรู้ของบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาดและองค์ความรู้เพื่อทำให้บริษัทเติบโตและก้าวไปข้างหน้า การเป็นวิศวกร, นักออกแบบ, ครีเอทีฟ และเจ้าของกิจการจากการสั่งสมการทำงานที่มีความแตกต่างกันทั้งในสายอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

]]>
1126411
เราควรใช้โซเชียลมีเดียตัวไหน ขายของอะไรดีที่สุด? https://positioningmag.com/1122079 Mon, 10 Apr 2017 22:55:09 +0000 http://positioningmag.com/?p=1122079 เชื่อว่าสตาร์ทอัพหรือพ่อค้าแม่ค้าไอจีหลายท่านคงมีคิดเหมือนกันว่าสินค้าที่เราจะขายมันเหมาะกับโซเชียลมีเดียตัวไหนมากที่สุด เดี๋ยวนี้คนไทยใช้เฟซบุ๊กเยอะครับ แต่ไม่ได้หมายความว่าเอะอะเจออะไรในเฟซแล้วก็จะซื้อ คนไทยใช้ไลน์กันแหลกลาญ แต่เอามาดูทีวีและทำงานหรือแชตเล่นหรือทำงานซะมากกว่า อีกอย่างที่ลืมไม่ได้คือประสบการณ์การซื้อของยังสำคัญมากกับการตัดสินใจซื้อ รูปแบบของการนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ใกล้เคียงกับความจริง และสามารถนำเสนอให้เหมาะกับโซเชียลแพลตฟอร์มแต่ละแบบจริง ก็ยังแตกต่างกันออกไป แถมแต่ละแพลตฟอร์มยังเปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลา การทำให้รูปแบบของ traffic ในการเข้าเยี่ยมชมสินค้าเปลี่ยนออกมาเป็น conversion rate ที่สูงจึงแปรตามกับรูปแบบการพัฒนาของแพลตฟอร์มนั้นๆด้วย

ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเฟซบุ๊กคือจุดเริ่มต้นของการ lead ไปยังแอปพลิเคชั่น หรือเว็บต่างๆ เพื่อปิดการขาย traffic ส่วนใหญ่ (กว่า 90%) โดยเฉพาะในไทยมาจากเฟซบุ๊กทั้งนั้น ตามมาติดๆ คือไลน์ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าตัว lead traffic คือคำตอบสุดท้าย หรือเป็นตัวปิดการขายด้วยตัวมันเองสำหรับการทำธุรกิจแบบ B2B

ขณะนี้ VDO content มีส่วนมากในการตัดสินใจซื้อสำหรับสินค้าและบริการที่อยู่ในหมวด ซื้อด้วย ‘เหตุผล’ มากกว่าซื้อด้วย ‘อารมณ์’ ครับ กูเกิลและยูทูบที่จริงค่อนข้างมีบทบาทสำคัญและสร้าง conversion rate ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ยังตามหลังเฟซบุ๊กอยู่ห่างโข เนื่องจากคอนเทนต์ของเฟซบุ๊กและไอจีสนับสนุนวิดีโอมากขึ้น ทำให้เฟซบุ๊กแทบจะกลืนและมีอิทธิพลต่อการตัดสินกับการซื้อสินค้าในกลุ่มของ เสื้อผ้า สินค้าแฟชั่น ของกิน ของจุกจิก และของมือสองแทบทั้งหมด (ไม่ต้องคิดเยอะเวลาซื้อ) เรียกว่าอะไรที่ซื้อง่ายขายคล่องกลุ่มนี้แทบจะเหมาไปหมด แต่ส่วนของธุรกิจภาคบริการต่างๆ เช่น เสริมความงาม อินทีเรีย สถาปัตยกรรม แต่งบ้านทำสวน ออกแบบดีไซน์ ความงามที่มีแบรนด์เป็นเรื่องเป็นราว เฟซบุ๊กถือว่าเป็นช่องทางสนับสนุนการตัดสินใจที่รองๆ ลงมา และแนวโน้มจะลดลงมาเรื่อยๆ เพราะคอนเทนต์ในเฟซไม่ใช่จุดตัดสินใจที่จะซื้อหรือไม่ซื้อ เท่ากับสินค้าซื้อง่ายขายคล่องที่มีรายละเอียดไม่เยอะแบบกลุ่มแรก (แต่เร้าใจกว่า)

กลุ่มโซเชียลแพลตฟอร์มที่โตสูงขึ้นเรื่อยๆ พวก pinterest หรือ vimeo และ youtube สำหรับการนำเสนองาน หาเรฟเฟอเรนซ์ให้ลูกค้าในการเสนองานออกแบบ โดยเฉพาะของสะสม เฟอร์นิเจอร์ ของโบราณหายาก รถยนต์ มอเตอไซค์ แนะนำให้ไปทิ้งน้ำหนักที่กลุ่มนี้ครับ ด้วยลักษณะการนำเสนอภาพ ความต่อเนื่อง การปักหมุดพินบอร์ดต่างๆ ทำให้เราเชื่อมต่อเรื่องราวหรือสตอรี่ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากของสินค้าประเภทดังกล่าว (ไม่ว่าจะติดแบรนด์หรือไม่) อีกกลุ่มหนึ่งคือพวก gadget และไอที และธุรกิจบริการต่างๆ ตอนนี้มีคนทำรีวิว โฆษณาตรงๆ และอ้อมๆ เยอะมากทาง youtube เป็นหลัก เพราะช่องทางนี้ชัดเจน ดูบ่อย มีการสนับสนุนบนแพลตฟอร์มให้ศึกษาเปรียบเทียบง่ายสินค้าแบบเดียวกันกับหลายชาแนล และที่สำคัญ ไม่ค่อยมีเมนต์ที่ไม่สร้างสรรค์ หรือกวนใจแบบที่มีทางเฟซบุ๊ก ที่บางครั้งคนมักจะใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล (จนบางทีคนซื้อสับสน)

คอนซูเมอร์ทั่วไปใครๆ ก็มีเฟซบุ๊ก แต่การที่เขาจะซื้อสินค้าอะไร ตรรกะในการตัดสินใจมันคนละเรื่อง จุดนี้ของโลกโซเชียล การสร้าง royalty ทำได้ยาก (มาก) เพราะคอนเทนต์มันเยอะจัด แบรนด์และสินค้ามีหลากหลาย แถมคอนซูมเอร์ก็ฉลาดใช้ฉลาดเลือก ฉลาดเสพ ฉลาดบล็อก คอนเทนต์ที่ไม่สำคัญหรือไร้สาระ (กับเขา) และเซฟคอนเทนต์ที่ตัวเองอยากจะกลับมาดู การพัฒนาคอนเทนต์แบบไม่ดูถูกคนอ่านคนดูจึงสำคัญพอๆ กับการเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะกับสินค้าหรือบริการที่ตัวเองจะขายครับ และที่สำคัญ ธุรกิจของท่านไม่จำเป็นต้องมีมันไปซะทุกแพลตฟอร์ม เพราะไม่ได้มีประโยชน์อะไร แถมค่าใช้จ่ายทางดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งเดี๋ยวนี้ไม่ใช่ว่าถูก แถมคนทำเป็นและดูแลกันจริงจังแบบ 24/7 ก็ไม่ใช่จะหากันง่ายๆ

ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

pic_profile

Profile
กุลเดช สินธวณรงค์
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จาร์เค็น จำกัด

ด้วยประสบการณ์ทำงานในการเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทดีไซน์มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานการพัฒนาด้านความรู้ของบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาดและองค์ความรู้เพื่อทำให้บริษัทเติบโตและก้าวไปข้างหน้า การเป็นวิศวกร, นักออกแบบ, ครีเอทีฟ และเจ้าของกิจการจากการสั่งสมการทำงานที่มีความแตกต่างกันทั้งในสายอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

]]>
1122079
ตลาดแฟชั่นออนไลน์ในประเทศญี่ปุ่น https://positioningmag.com/1114731 Thu, 26 Jan 2017 22:55:57 +0000 http://positioningmag.com/?p=1114731 ตลาดแฟชั่นออนไลน์ในญี่ปุ่นพัฒนามาไกลและยาวนานกว่าเรามากครับ ในปีที่ผ่านมาตลาดค้าปลีกออนไลน์ในญี่ปุ่นโดยรวมเริ่มเห็นสัญญาณอิ่มตัว หรือจะเรียกว่าเติบโตด้วยอัตราถดถอยก็ได้ (ตลาดรวมเพิ่มขึ้น 4.7% ในปี 2015-2016) เหตุผลหลักอย่างหนึ่งก็เพราะแบรนด์ต่างๆ โดยเฉพาะแฟชั่น เครื่องสำอาง และ consumer electronics หลายแบรนด์ลงมาทำ e-commerce เอง retailer platform เจ้าใหญ่อย่างที่อยู่นอกญี่ปุ่นจากเอเชียหรืออเมริกาที่พยายามจะเจาะตลาดญี่ปุ่น เริ่มเลือกเบนเข็มมาที่ไทย ฮ่องกง  มาเลเซีย และไต้หวัน ถ้าแบรนด์แฟชั่นไทยจะเลือก platform ออนไลน์ คงต้องเลือกดูว่าใครคือเจ้าตลาด และใครที่กำลังมาแรง หรือใครที่มีลูกเล่นที่เหมาะกับแบรนด์ไทยของเรา

ตลาดค้าปลีกออนไลน์ในญี่ปุ่นยังโตขึ้นเรื่อยๆ แต่มีผู้เล่นหลักประมาณสิบกว่าราย หนึ่งในนั้นคือ Rakuten ซึ่งถือเป็น portal ที่เป็นเจ้าตลาดและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจก่อนการซื้อของคนญี่ปุ่น (เกินกว่า 70% ของคนญี่ปุ่นที่ซื้อของออนไลน์จะลองเข้าตรวจสอบสินค้าที่ตัวเองกำลังจะซื้อจาก web หรือ application ที่เกี่ยวข้องของเจ้าตลาดรายนี้ก่อนตัดสินใจ ขณะที่ Yahoo! Japan และ ZOZOTOWN ซึ่งเป็น shopping network ที่ใหญ่ที่สุดเจ้าหนึ่งก็ยังแข็งแกร่งมากด้านการทำตลาดค้าปลีกที่ควบคู่กับตลาด e-commerce แบบ multi-channel การที่แบรนด์แฟชั่นต้องการเจาะตลาดญี่ปุ่นหรือวางแฟนจะมาลงออนไลน์เองจึงอาจจะต้องการลงทุน infra-structure มหาศาลเพื่อเอาชนะผู้เล่นหลักในตลาดเหล่านี้

ช่องว่างของการแจ้งของแบรนด์แฟชั่นไทยที่คิดจะโกออนไลน์ในตลาดญี่ปุ่นควรจะศึกษาและทำการบ้าน 1. วัฒนธรรมการซื้อของของคนญี่ปุ่น 2. ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการซื้อ 3. ทางเลือกและช่องว่างในการทำตลาด คนญี่ปุ่นโดยธรรมชาติจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าแฟชั่นกลุ่มคุณภาพสูงหรือภาพลักษณ์ที่ดูดีเพราะ 1. มารยาทและความสุภาพของพนักงาน 2. ความเข้าใจในตัวสินค้าและการให้ความรู้กับสินค้าตัวนั้นจากพนักงาน ถ้าเปรียบเทียบเป็นกรณีศึกษาเรื่องพฤติกรรมการซื้อที่ใกล้เคียงกัน ลองดูสินค้าประเภทอาหารจากในอังกฤษครับ สินค้าประเภทนี้ขายดีมากผ่านช่องทางออนไลน์ในอังกฤษและหลายประเทศในยุโรป ขณะที่อีกฟากหนึ่งของโลก แม่บ้านญี่ปุ่นกว่า 70% บอกว่าจะไม่ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตผ่านช่องทางออนไลน์อย่างแน่นอน เพราะไม่เชื่อและไม่ได้สัมผัสคำว่าคุณภาพของอาหารจากช่องทางนี้ (Business Retailer Inc, Japan) หรือแม้แต่ retailer ที่มียอดออนไลน์สูงขึ้นทุกปี (ถึงแม้จะไม่สูงมากเมื่อเทียบกับยอดขายทั้งหมด) อย่างแบรนด์แฟชั่นยูนิโคล่ที่ก็ยังพยายามดันตัวเองบนพื้นฐานความคิดดังกล่าว (ลองดูการออกแบบเว็บ การนำเสนอสินค้าในเว็บของแบรนด์นี้ดูครับ)

การตลาดออนไลน์ต่างจากการตลาดขายของหน้าร้าน ภาพ คือตัวแทนของคุณภาพนะครับ เพราะฉะนั้นสิ่งที่นำเสนอจะต้องได้รับการสนอง (fulfilment) และตอบรับรวดเร็ว ถูกต้อง ตรงต่อเวลา (logistics) ตอนนี้ platform ที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ Rakuten ที่เข้ามารุกตลาดญี่ปุ่นหนักมากคือ Amazon ซึ่งเขาให้ความสำคัญมากกับตลาดแฟชั่นในญี่ปุ่นมาก กลยุทธ์ที่ใช้แบบที่ portal ใหญ่จากอเมริการายนี้ไม่ค่อยใช้คือ “Loyalty”

ถ้าจะผมให้ตอบว่าแฟชั่นแบบ apparel หรือ ready wear ของไทยจะประสบความสำเร็จได้อย่างไรในตลาดญี่ปุ่น คงตอบยากครับ แต่หนทางน่าจะมองเห็นบ้าง เรื่องแรก คือ ต้องทำให้คนญี่ปุ่น เห็น และ เชื่อถือ ถึง “คุณ” และ “ภาพ” ของสินค้า (you + image = decision mix) การที่เราคิดถึง you หรือ “คุณ” คนที่กำลังจะซื้อของคือเข้าใจว่าผู้หญิงญี่ปุ่นกลุ่มวัยทำงานหรือหลังวัยทำงาน หรือกลุ่มอาชีพอิสระหลังแต่งงาน ถึงแม้จะมีกำลังซื้อพอสมควร แต่คนญี่ปุ่นกลุ่มนี้ก็ยังให้ความสำคัญเรื่องความรู้สึก คุณภาพที่ต้องสัมผัสได้ ซึ่งแบรนด์ไทยต้องทำให้เห็นด้วยภาพ ไม่ใช่แค่การระบุวัสดุที่ผลิต และต้องชัดเจนเรื่องบริบทของสิ่งที่ผลิตที่สะท้อนถึงตัวตนของแบรนด์ เช่นผ้าสำลีที่เรียบง่ายจากการผลิตที่ไร้รอยต่อระหว่างชาวไร่กับโรงงาน วิธีการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีหรือใช้น้อยที่สุด หรือการออกแบบโดยดีไซเนอร์ที่เข้าใจวิถีญี่ปุ่น วิถีปัจเจกแบบคนญี่ปุ่น

ตลาดออนไลน์ในญี่ปุ่นของแบรนด์ไทยอาจไม่จำเป็นต้องไปแตะที่ความเป็นไทย (Thainess) มากจนเกินไปนัก เพราะในแง่ปริมาณและการรับรู้เรื่องแบรนด์ เราไม่มีอะไรไปสู้เค้าได้ แบรนด์ equity ของเราส่วนใหญ่ไม่ได้บ่งบอกอะไรตรงนี้ ควรเน้นที่ความเป็นสากลในประเด็นของความเชื่อมั่นใน 1.การส่งสินค้าที่มีการเลือกใช้บริษัท logistics ที่ตรงเวลา (คนญี่ปุ่นพร้อมจ่ายเพิ่ม หรือมีทางเลือกให้จ่ายเพิ่ม) 2. Packaging ที่เห็นครั้งแรกโดยไม่ต้องเปิดกล่องก็เหมือนใน “ภาพ” ที่สร้างเอาไว้ 3.ความสะดวกในการจ่ายเงินค่าสินค้า สิ่งหนึ่งที่เกิดบ่อยมากกับคนญี่ปุ่นคือ ถ้าเขาเปิด web แล้ว ศึกษาสินค้าแล้ว ตัดสินใจซื้อสินค้าแล้ว ไม่เจอวิธีจ่ายเงิน เขาจะไม่กลับมาที่ web หรือ product นั้นอีกเลย (ข้อมูลจาก “Consumer Insiders” McKinsey Consulting, Tokyo) มุมมองของคุณญี่ปุ่นในประเด็นนี้ไม่ได้เกี่ยวกับความสะดวก แต่มันกระทบความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ ทางเลือกในการจ่ายเงินของคนญี่ปุ่นมีไม่กี่ช่องทาง ถึงแม้บัตรเครดิตจะเป็นช่องทางหลัก (60%) ที่ใช้ซื้อสินค้าออนไลน์ในญี่ปุ่น (ตัวเลขถือว่าไม่มาก เมื่อเทียบกับการซื้อออนไลน์ในตลาดอื่นในโลก ที่ใช้บัตรเครดิตหรือเดบิตเกือบทั้งหมด) แต่อยากให้มองช่องทางอื่นที่มีนัยสำหรับตลาดญี่ปุ่น คือ Cash-on-delivery ซึ่งต้องผูกบัญชีกับ Yamato หรือ Sagawa ซึ่งเหมือน DHL / FedEx ของคนญี่ปุ่น กลุ่มแม่บ้านชอบมากครับ หรือช่องทาง Bank Transfer อันนี้ก็สะดวก เพราะคนญี่ปุ่นชอบใช้เงินสดมากกว่าบัตรเครดิต หรือ Convenience Store แบบเซเว่น ที่ญี่ปุ่นมีทั้ง Watson และ 7/11 อันนี้มีประเด็นต่างจากคนไทยเล็กน้อย คือคนญี่ปุ่นมีเวลา 6 วันหลังจากซื้อแล้ว ค่อยไปจ่ายเงินสดที่ร้านสะดวกซื้อ

การตีความเรื่อง loyalty ก็อยากให้แบรนด์ไทยมองในบริบทที่แตกต่างจากบริษัทอเมริกัน ความภักดีในสินค้า ไม่จำเป็นว่าคือการสร้างแบรนด์หรือสร้างกลไลการตลาดให้มีการ “การกลับมาซื้อ หรือ ซื้อซ้ำ” แต่น่าจะบอกให้เห็นจากการออกแบบ และการสื่อสารที่ส่งออกไปมากกว่า เช่นเปิดโอกาสให้คนญี่ปุ่นหรือลูกค้าติดตามหรือ follow เรื่องราวของแบรนด์หรือที่มาที่ไป หรือแม้แต่ขั้นตอนการออกแบบที่น่าสนใจ (ธรรมชาติของคนญี่ปุ่นคือการเข้าถึงรายละเอียด ไม่ว่าการท่องเที่ยว หรือการซื้อสินค้า คนญี่ปุ่นจะตั้งใจ สนใจบันทึกเรื่องราวเพื่อให้เข้าลึก รู้ถึงที่มาที่ไปของแบรนด์ได้)

สำหรับกลุ่มคนญี่ปุ่นอายุ 50 ปีขึ้นไปรู้สึกว่าตัวเองยังไม่แก่เท่าอายุ โดยเฉพาะกลุ่มสตรี รู้สึกว่าตัวเองอายุ 8 ปีต่ำกว่าอายุจริง (งานวิจัยจาก Akita International University 2014) คนญี่ปุ่นในกลุ่มอายุดังกล่าวเกินกว่า 80% ทั้งหญิงและชาย ยังคิดถึงอายุของตัวเองและความสุขในช่วงวัยยี่สิบกว่าๆ มากที่สุด และรู้สึกพลาดสิ่งบางสิ่งในชีวิตไปแต่เรียกกลับมาไม่ได้ เพราะฉะนั้น การเปิดโอกาสให้สตรีญี่ปุ่นได้ “Feel” อีกครั้งถึงสิ่งที่ฝัน กำลังฝัน หรือเคยฝัน ผ่านแบรนด์ เช่นโดยอับโหลดภาพของตัวเองหรือ object ที่มี connection กับตัวเอง ระลึกถึงบางสิ่งของตัวเอง ก็เป็นสิ่งที่ทำได้สำหรับการสร้าง Loyalty ที่มาจากอินเนอร์ ไม่ใช่ในรูปแบบของคูปอง และหรือของแถม

ตลาดออนไลน์มาเร็วไปเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงสูง ใครจะไปคาดว่าวันนี้กลุ่มผู้หญิงญี่ปุ่นที่กลับมาทำงานหลังแต่งงานเป็นกลุ่มคอนซูเมอร์ใหม่ที่น่าสนใจ ใครจะเชื่อว่าวัฒนธรรม J-pop โดนตลาดเกาหลีแซงไปได้ในไม่กี่ปีโดยกระแสวัฒนธรรมที่เพิ่งสร้างใหม่ที่ทันสมัยและเท่กว่าเดิมแถมมีช่องว่างให้คนเดิมตาม เอาเป็นแบบอย่างแบบไม่บังคับมากเกินไป แค่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาบอกไปก็ไม่มีใครเชื่อว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะตลาดที่อนุรักษ์นิยมญี่ปุ่น

ขอให้แบรนด์แฟชั่นไทยทุกแบรนด์โชคดี เฮงๆ รับตรุษจีน กับตลาดออนไลน์ของญี่ปุ่นครับ

pic_profile

Profile
กุลเดช สินธวณรงค์
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จาร์เค็น จำกัด

ด้วยประสบการณ์ทำงานในการเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทดีไซน์มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานการพัฒนาด้านความรู้ของบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาดและองค์ความรู้เพื่อทำให้บริษัทเติบโตและก้าวไปข้างหน้า การเป็นวิศวกร, นักออกแบบ, ครีเอทีฟ และเจ้าของกิจการจากการสั่งสมการทำงานที่มีความแตกต่างกันทั้งในสายอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

]]>
1114731
หลอกให้อยากแล้วจากไป Ephemeral Marketing https://positioningmag.com/1109210 Sun, 27 Nov 2016 23:50:29 +0000 http://positioningmag.com/?p=1109210 บทความโดย : ดร.กุลเดช สินธวณรงค์

สมัยก่อนตอนที่เฟซบุ๊กดังขึ้นมาช่วงแรก ปัจจัยหนึ่งที่ดึงความสนใจให้คนที่ไม่รู้จักเข้ามาใช้แอปหรือโปรแกรมตัวนี้คือเกมส์ครับ ตั้งแต่คนยังไม่รู้ว่าเฟซบุ๊กคืออะไร เราก็เข้าไปแข่งกันเก็บผักกันก่อนแล้ว เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหก ตอนนี้เฟซบุ๊กติดกับดักความสำเร็จตัวเองหลายเรื่องในระดับ user engagement ถึงแม้จะพยายามแก้ไขและเชื่อมต่อกับความต้องการไปพร้อมกับ platform อื่น แต่คนกลุ่มหนึ่งก็เบื่อเฟซบุ๊กไปแล้ว ทั้งประเด็นเรื่องคอนเทนต์ที่ออกมาในลักษณะยัดเยียดเกิน หรือการจัด feed ที่อำนวยความสะดวกให้ธุรกิจมากกว่าสังคมของกลุ่มเพื่อน รวมถึงความเป็นส่วนตัวที่น้อยลงมาก ถึงแม้เฟซบุ๊กจะย้ำนักย้ำหนาว่าผู้ใช้งานคือผู้ที่สำคัญที่สุด และความส่วนตัวของผู้ใช้งานถือเป็นเรื่องที่เฟซบุ๊กให้ความสำคัญมาก แต่สุดท้ายแล้วเงินที่หล่อเลี้ยงเค้ามันก็ยังมาจากธุรกิจที่ลงโฆษณากับเขา ไม่ใช่มาจากคอนซูเมอร์ครับ ไม่ต้องอธิบายให้ยาก เมื่อเราเองยังรู้สึกได้ว่าเรื่องบางเรื่องมันก็ย้อนแย้งในตัวมันเอง เช่น เฟซบุ๊กไม่เห็นจะมี tutorial feature ที่สอนเราเลยว่าตั้งค่า privacy ยังไง บ่อยเหมือนกับที่เขาสอนเรา (แกมบังคับ) ทุกครั้งที่อัพเดตว่าจะเชื่อมต่อยังไงได้ง่ายขึ้น (ยิ่งเชื่อมต่อง่ายแปลว่าความเป็นส่วนตัวลดลงโดยปริยาย)

หลายคนทราบดีว่า วัยรุ่นในอเมริกาใช้เฟซบุ๊กน้อยลงเรื่อยๆ บางคนเลิกไปเลย ส่วนฝั่งไทยรุ่นใหญ่ที่ใช้มานานก็เริ่มใช้เขาน้อยลงเหมือนกัน หรือเลือกใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ตอนนี้ social app ประเภท ephemeral ที่โชว์และแชร์แบบสั้น กระชับ เร็ว จบง่าย ที่มี feature ที่กำหนดการแชร์เป็นเฉพาะกลุ่มมาแรงได้ระยะหนึ่งแล้ว ตั้งแต่ Snapchat ถึง Instagram ที่เพิ่งอัพเดตตัวเองเพื่อสร้าง feature ที่กำหนดระยะเวลาได้ว่าสั้นยาวแค่ไหน และส่งถึงใครเท่านั้น (Live Video & Ephemeral Messages) ซึ่งตัวเฟซบุ๊กเองก็ออกมาสู้โดยการเปิดการอัพเดตโพสต์แบบระบุเพื่อนมาสักพัก ตอนนี้เริ่มมีการกำหนดการตั้งค่าได้เพื่อให้การอัพเดตอยู่บน feed แค่ไม่เกิน 24 ชม.เท่านั้น ทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อให้ผู้ใช้งานมีเวลากับตัวเองมากขึ้น สร้างช่องทางความสนุกมากขึ้น จากคอนซูเมอร์ กลับเป็น playsumer เหมือนครั้งหนึ่งที่โซเชียลแอปหลายตัวเคยเป็น

สิ่งที่น่าสนใจคือ นักการตลาดจะใช้ประโยชน์อย่างไรจากตรงนี้ ไม่นานมานี้ เราต้องมากังวลว่าถ้าเราไป hangout กับเพื่อน check-in ในบาร์เกร๋ๆ แต่ต้องมานั่งกังวลว่าตอนเช้าจะลืมลบโพสต์นั้นแล้วเจ้านายจะมาเห็น เมื่อเรามี Snapchat ที่สร้าง LIVE คอนเทนต์ที่สั้นไม่เกิน 10 วินาที แชร์ออกไป แล้วก็ลบตัวเองได้ แลดูมันฟินกว่ากันเยอะนะครับ ทั้ง WeChat และ LINE ก็เริ่มทำแบบนี้มาแล้ว เช่น ephemeral feature

ที่เน้นการส่งข้อความที่ encrypted และลบตัวมันเองได้ แอปอีกหลายตัวก็มี features ให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนหน้าตัวเอง เติมหนวด เล่น cosplay แต่งตัวใหม่ โชว์แป๊บนึงแล้วก็ลบออก เฟซบุ๊กเองก็มีออกตัวเรื่อง temporary profile มาบ้าง ถึงแม้จะดูเรียบง่ายมาก

คงน่าตื่นเต้นดีนะครับ ถ้านักการตลาดจะเลือกใช้การนำเสนอสินค้าลักษณะแชร์แล้วลบ (หลอกให้อยากแล้วจากไป) หรืออยากเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการตลาดสำหรับคนขี้เบื่อ สามารถประยุกต์ใช้อะไรที่คล้ายกับ teaser สำหรับสินค้าใหม่ หรือแม้แต่คอนเทนต์มูลค่าสูงที่ต้องกำหนดเวลาเคล็ด (ไม่ลับ) การชิงโชค โปรโมชั่น ผลการประกวด การเรียนการสอน การทำ training ที่แจ๋วคือนักการตลาดที่เก่งจะทราบว่า คอนเทนต์แบบนี้ยิ่งเพิ่มมูลค่า เพราะเห็นแล้ว (หรือพลาดนัด เลยไม่ได้เห็น) เอามาดูอีกครั้งซ้ำไม่ได้ ต้องรอรอบหน้า เป็นการสร้าง expectation เลี้ยงกระแสได้ไปเรื่อยๆ อีกด้วย ก็ลุ้นๆ เร้าๆ กันไปครับ คอนเทนต์ลักษณะนี้ค่าครีเอทีฟก็ต่ำ ค่าผลิตก็ต่ำ ทำเองได้ แถมถ้าคอนเทนต์ก็ยังเป็น LIVE ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่คอนซูเมอร์โหยหามากกว่าคอนเทนต์แบบอื่นก็คงยิ่งน่าสนใจครับ

ทุกวันนี้คนจะจมน้ำตายเพราะข้อมูลอยู่แล้ว อะไรที่แชร์มามันเยอะไปหมดจนบางคนไม่อยากจะแตะโซเชียล การทำให้ข้อมูลมันสั้น กระชับขึ้น อาจจะเป็นทางออกของโซเชียลมาร์เก็ตติ้งผ่านแนวคิดไอเดียแรกเริ่มที่โซเชียลจุดติดกระแสการใช้งาน คือหยิบยื่นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจริงๆ ซึ่งก็คือ ถ้าเราใช้แล้วสามารถสนุกอยู่กับมันได้ ก็คงอยากใช้ต่อไปเรื่อยๆ ครับ

pic_profile

Profile
กุลเดช สินธวณรงค์
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จาร์เค็น จำกัด

ด้วยประสบการณ์ทำงานในการเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทดีไซน์มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานการพัฒนาด้านความรู้ของบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาดและองค์ความรู้เพื่อทำให้บริษัทเติบโตและก้าวไปข้างหน้า การเป็นวิศวกร, นักออกแบบ, ครีเอทีฟ และเจ้าของกิจการจากการสั่งสมการทำงานที่มีความแตกต่างกันทั้งในสายอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

]]>
1109210
คลินตัน-ทรัมป์ ธุรกิจสร้างสรรค์-นวัตกรรมจะเลือกใคร? https://positioningmag.com/1107565 Mon, 07 Nov 2016 00:55:43 +0000 http://positioningmag.com/?p=1107565 บทความโดย : ดร.กุลเดช สินธวณรงค์

เรามาหยุดพักจากมุมมองเครียดๆหนักๆทางการเมืองของการเลือกตั้งประธานธิบดีสหรัฐที่กำลังสู่เข้าโค้งสุดท้ายแล้วที่กำลังดราม่าสาดโคลนกันอย่างหนัก ไม่ต่างจากการเมืองรูปแบบเดิมของหลายประเทศดีกว่าครับ ยังมีอีกมุมหนึ่งที่ผมคิดว่าแวดวงธุรกิจดีไซน์ ธุรกิจเทค-สตาร์ตอัพน่าจะลองศึกษาวิธีคิดจากนโยบายของนักการเมืองที่มีชื่อเสียงทั้งสองท่านนี้ ก็เพื่อว่าเราอาจะใช้ได้เป็นสวนหนึ่งของชีพจรคิดความคิดเพื่อการเดินหน้าเอาตัวรอดจากสภาพเศรษฐกิจที่หนักหน่วงขึ้นทุกวัน

สำหรับคลินตัน ไม่แปลกใจเลยที่หลายค่ายของธุรกิจเทคโนโลยีใหญ่เล็กไม่ว่าจะเป็น Alphabet, Microsoft, Apple, หรือแม้แต่ Facebook พากันทุ่มเงินบริจาคกันให้ใช้อย่างเต็มที่ในแคมเปญการหาเสียงครั้งนี้

ส่วนทางฝั่งทรัมป์ นอกจากแทบจะไม่ได้สตางค์จากเงินบริจาคจากคนกลุ่มนี้แล้ว CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ ทั้งเทค-สตาร์ตอัพ และบริษัทที่เกี่ยวข้องธุรกิจออกแบบ ดิจิตอล นวัตกรรมสร้างสรรค์ทั้งหลายในอเมริกาจำนวน 140 บริษัท นำโดย CEO ของทวิตเตอร์พากันรวมตัวกันออกจดหมายเปิดผนึก วิจารณ์กันตรงไปตรงมาว่าคุณทรัมป์นี่นะ ถ้าได้รับเลือกเข้ามา ถึงขนาดจะเป็นหายนะแห่งการเติบโตของธุรกิจเหล่านี้ทีเดียว

ทีนี้เรามาดูกันว่า เพราะอะไรคนในวงการถึงคิดแบบนั้น?

1_kinton_truam

ฝั่งคลินตันมีนโยบายที่ชัดเจนที่แสดงความถึงในวงการดีไซน์ยุค 4.0 นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการสนับสนุนที่ชัดเจนและโดนใจคนอเมริกันอีกต่างหาก คลินตันเข้าใจว่าปัจจัยที่สำคัญเบอร์หนึ่งของกลุ่มสาร์ตอัพคือ ‘แหล่งทุน’ ครับ สำหรับกลุ่มธุรกิจออกแบบ ดิจิตอล นวัตกรรมสร้างสรรค์ ต้นทุนที่สำคัญที่สุดคือ ‘ต้นทุนทางความคิด’ คลินตันจั่วหัวตอนหาเสียงไว้เลยว่า รัฐบาลมีพันธะที่ต้องสนับสนุนคนกลุ่มนี้โดยไม่เจาะจงเพียงแค่คนที่เก่งอยู่แล้วหรือได้แสดงความสามารถออกมาแล้วว่าต้องช่วยตัวเองได้ทางธุรกิจ เพราะคนดังกล่าวที่เก่งอยู่แล้วมีนักลงทุนหรือแหล่งทุนให้ความสนใจจะลงทุนด้วยแน่นอน คลินตันมองไปที่ดาวดวงใหม่ที่ยังไม่เกิด เธอเข้าใจว่าคนเก่ง (talent) เป็นสิ่งที่ต้องค้นหา ค้นพบ และให้โอกาสต่อเนื่อง ไม่จำเป็นว่าเค้าต้องพิสูจน์ตัวเองก่อน (เหมือนธนาคารที่ก่อนจะให้กู้ต้องทำธุรกิจมาให้ประสบความสำเร็จมาซักพักแถมหลังจากนั้นยังต้องเอาหลักทรัพย์มารับประกันเงินกู้อีก) นอกจากนี้คลินตันยังมองไปที่การพัฒนาคนที่เริ่มจากการศึกษา โดยการเสนอเงินจากรัฐจำนวนมหาศาลในลักษณะเงินกู้โดยตรงให้กับเด็กรุ่นใหม่ เน้นที่ผู้หญิง และเด็กด้อยโอกาสทางสังคมในอเมริกาแต่มีความสามารถ ทั้งนี้เพื่อผลิตคนให้ตรงกลุ่ม แนวคิดนี้ยังต่อเนื่องไปถึงการทำธุรกิจที่ตัวเองของเด็กกลุ่มนี้หลังเรียนจบมาจากสิ่งที่ตัวเองเรียนอีกอย่างน้อย 3 ปี นอกจากนั้น คลินตันยังสนับสนุนเสรีภาพในการใช้โครงสร้างพื้นฐานของบรอดแบนด์และ cloud ร่วมกันอย่างชัดเจน คือเรียกว่าไม่ว่าคุณจะเป็น tech service operator เจ้าไหน ผู้ใช้งานหรือคอนซูเมอร์ทุกคนก็สามารถยืม ซื้อ หรือเข้าถึงความเร็วในการส่งข้อมูลได้เหมือนกัน ฟังแล้วอยากให้เมืองไทยผ่อนคลายระบบการแบ่งชิงคลื่นความถี่หรือโครงสร้างพื้นฐานของเดต้าเหมือนกันนะครับ ผมมองว่าโครงสร้างพื้นฐานนี่แหละเป็นการหนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมทางตรงไปพร้อมกันทั้งระบบ นักพัฒนาและธุรกิจรุ่นใหม่จะเกิดขึ้นอีกเยอะก็เพราะทำงานง่าย สะดวก รวดเร็ว เพราะราคาการเข้าถึงข้อมูลจะถูกลง ถึงแม้เรื่องนี้แม้แต่ในอเมริกาเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ จากกรณีของกูเกิลที่ทะเลาะกับ AT&T ในการแย่งสิทธิของโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวเนื่องจากความซับซ้อนของกฏหมาย แต่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี มองไกล เป็นการมองเรื่องของการสื่อสารการค้าไร้พรมแดนแบบเข้าใจโลกที่กำลังเปลี่ยนไปของทางฝั่งคลินตันครับ

2_kinton_truam

มาทางด้านทรัมป์กันบ้าง มองไปมองมาผม(และเชื่อว่าหลายท่าน)คิดว่านโยบายเรื่องทำนองนี้ไม่มีอะไรชัดเจนครับ ทุกอย่างถอดออกมาจากคำว่า ‘อเมริกาต้องมาก่อน’ การที่ทรัมป์ออกมากีดกัน (และจะกำจัด) ผู้อพยพในอเมริกาเป็นการขัดหลักความเท่าเทียมกันทางความคิดและความสามารถอย่างน่าตกใจ Pierre Omidyar  ผู้ก่อตั้ง ebay บอกว่า ‘ทรัมป์คงลืมไปว่า อเมริกามาได้ทุกวันนี้เพราะเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด พลังความสามารถ การให้โอกาสคน’ การที่ทรัมป์บอกชัดเจนว่าจะปฏิรูปนโยบายภาษีเพื่อคนรวย ถึงแม้จะมีการลดภาษีอื่นของธุรกิจแทบทุกระดับรองลงมาด้วย การหั่นภาษีแบบนี้คือแนวคิดมองแบบด้านเดียว การลดภาษีมองกว้างๆอาจจะสามารถทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้จากการดึงดูดให้คนเข้ามาทำงานทำธุรกิจมากขึ้นในระยะสั้น แต่รายได้หลังภาษีที่สูงขึ้นจากการลดภาษีก็ลดความต้องการในการออกมาทำธุรกิจได้ด้วยเหมือนกันเพราะทำให้คนขี้เกียจมากขึ้นเนื่องจากเหลือเงินใช้เยอะแล้ว  แนวคิดนี้นอกจากแสดงถึงความไม่เข้าใจหลักพื้นฐานของความสำเร็จของอุตสาหกรรมงานออกแบบและนวัตกรรมที่แทบจะกระเสือกกระสนเพื่อความอยู่รอดได้ยากมากในทุกวันนี้ ทรัมป์ยังประกาศเปิดสงครามการค้ากับจีนและเม็กซิโก เป็นการทำให้ตลาดนวัตกรรตบิดเบี้ยว เพราะลดการส่งออกและการค้าการแลกเปลี่ยนนวัตกรรมระหว่างประเทศ และที่สุดแล้วคนเก่งในอเมริกาก็จะเริ่มทยอยออกจากวงการ ทำให้การสร้างงานใหม่ สิ่งใหม่ นวัตกรรมประดิษฐใหม่ลดลง Eric Schmidt ผู้บริหารสูงสุดของกูเกิลบอกว่า ‘ถ้าทรัมมป์มา ยุคที่ 3 ของอินเตอร์เนตที่ถูกขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)คงเป็นแค่ความฝันที่ต้องมองกันอีกไกล นอกจากอเมริกาคงไม่ได้เห็นปรากฏการณ์และนวัตกรรมใหม่แล้ว ยังอาจถึงจุดจบของธุรกิจเทคและสาร์ตอัพที่ส่งผลไปทั่วโลก’

อีกไม่กี่วันนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนอเมริกันล่ะครับ ว่าจะกำหนดทิศทางของประเทศตัวเองให้เดินไปทางไหน ในโลกยุคใหม่ที่เคลื่อนไหวทีไรก็มองเห็นได้จากธุรกิจดีไซน์ เทคโนโลยี และสาร์ตอัพครับ

pic_profile

Profile
กุลเดช สินธวณรงค์
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จาร์เค็น จำกัด

ด้วยประสบการณ์ทำงานในการเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทดีไซน์มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานการพัฒนาด้านความรู้ของบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาดและองค์ความรู้เพื่อทำให้บริษัทเติบโตและก้าวไปข้างหน้า การเป็นวิศวกร, นักออกแบบ, ครีเอทีฟ และเจ้าของกิจการจากการสั่งสมการทำงานที่มีความแตกต่างกันทั้งในสายอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

]]>
1107565
การตลาดออนไลน์บนโลกที่ไม่มีโซเชียล https://positioningmag.com/1107106 Tue, 01 Nov 2016 00:55:28 +0000 http://positioningmag.com/?p=1107106 บทความโดย : ดร.กุลเดช สินธวณรงค์

เรารู้จักโซเชียลเน็ตเวิรค์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เองครับ ผมยังจำได้นั่งเล่นเฟสบุ๊กครั้งแรกเพราะเพื่อนบอกให้ลองดูสิ เอาไว้หาเพื่อนเก่าสมัยเรียนได้ เล่นเกมส์ก็ได้ ตั้งแต่นั้นมารู้สึกว่าเฟสบุ๊กและโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นสิ่งที่ยากที่จะไม่ยุ่งกับมันในชีวิตประจำวัน และตัวโซเชียลแพล๊ตฟอร์มเองก็พัฒนาตัวมันเองให้น่าสนใจขึ้นมาเรื่อย และในที่สุด นักการตลาดก็หาหนทางและมีวิธีการใช้ประโยชน์จากแพล๊ตฟอร์มเหล่านี้ได้สารพัด จากครั้งหนึ่งที่เราไม่รู้จักมัน มาถึงวันหนึ่งที่ขาดมันไม่ได้ วันนี้หลายคนเริ่มเบื่อ ใช้มันน้อยลง และบางคนก็เลิกใช้ตัดขาดโซเชียลแพล๊ตฟอร์มทั้งหลายไปเลย

เหตุผลที่อธิบายได้ไม่ยากคือ มีคอนซูเมอร์ส่วนหนึ่งตั้งข้อสงสัยว่าทำไมเราต้องเที่ยวบอกใครต่อใครว่าเรากำลังคิดอะไรอยู่ หรือทำไมเราต้องให้ความคิดของคนอื่นมามีอิทธิพลกับความคิดเราขณะที่เรากำลังนั่งอ่านคอมเม้นของเพื่อนหรือแบรนด์ที่เรากำลังศึกษาอยู่ อัลกอรึทึ่มของโซเชียลเน็ตเวิรคสมัยนี้เร้าและรุมให้คนแสดงความเห็นมากขึ้น เช่น ถ้ามีคนเขียนว่าใช้สินค้าชินนี้แล้วดี ถ้าเผอิญบางคนรู้สึกว่ามันไม่จริงทั้งหมด เพราะประสบการณ์ที่เคยใช้มันแตกต่าง ถ้าไม่พูดอะไรออกไปบ้าง มันคงไม่แฟร์มั้งเอ๊ะ…คนจะพากันเห็นแต่ด้านเดียวของแบรนด์หรือสินค้าชิ้นนั้นหรือเปล่า สาระที่เกิดขึ้นจึงเบามาก เพราะมีแต่การสนทนา โต้ตอบ การแสดง การถกเถียง เป็นสาระที่เราบางทีก็หาข้อสรุปไม่ได้ จนหลายครั้งนำไปสู่ความเบื่อหน่าย จากที่แต่ก่อนการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คคือการหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจซื้อ ปัจจุบันอาจจะไม่ใช่ เพราะมันไม่มีการเรียนรู้ตรง เพราะมันไม่มีที่มาที่ไปของแหล่งข้อมูลจริง หรือพิสูจน์ได้ไม่ง่ายว่าสิ่งที่เราเห็น ไม่ว่าเราโพสต์เอง หรือเพื่อนโพสต์ เพราะเราไม่แน่ใจได้เลยว่าข้อมูลมันตกผลึกแล้วหรือยัง หรือมันเป็นแค่ประสบการณ์แบบทางผ่าน ซึ่งไม่ต่างจากการพูดเรื่องอะไรลอยๆขึ้นมาเรื่องหนึ่ง

จุดสมดุลของการตลาดออนไลน์คือการเติมช่องว่างของกระแส (feed) กับข้อเท็จจริง (facts) ครับ ถึงคนไม่ใช้โซเชียลแต่เค้าก็ยังอยู่บนโลกออนไลน์ การอ่านกระแส (feed) ไม่ได้ทำให้คนเชื่อทันทีเหมือนแต่ก่อนแต่กลับทำให้คนทำการบ้านเยอะขึ้นเพื่อตัดสินใจว่าจะเลือกแบรนด์นั้นหรือไม่ ซึ่งกระบวนการนี้คือการหาข้อเท็จจริง (facts) ทีนี้ข้อเท็จจริงนี้มาจากไหน ก็มาจาก traffic ที่ต่อเนื่องจากโซเชียลแพล๊ตฟอร์มนั่นแหละครับ จะเห็นว่าทั้งเฟสบุ๊ก ไอจี ไลน์ หรือ LinkedIn ให้ความสำคัญกับ traffic ที่เข้าออกจากโซเชียลแพล๊ตฟอร์มระหว่างกันและระหว่างthird party สูงมาก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความเข้มข้นให้ข้อมูลมันเหนือกว่า เสมือนว่าเรากำลังอยู่ในโลกของความจริงมากกว่าโลกของโซเชียล

สมัยนี้คนต้องการสื่อสารกันโดยตรงมากขึ้น คอนซูเมอร์ส่วนหนึ่งเลือกใช้สื่อที่จำเป็นและตอบโจทย์กับวิถีชีวิตและการทำงานของตัวเองเท่านั้น จะเห็นว่าแอปพวก mobile messaging เช่น LINE WeChatหรือ whatsappมีอัตราการเติมโตสูงมากกว่า 100%ทุกปี แต่ไม่ได้หมายความว่า secondary app ที่ติดมากับแอปเหล่านั้นที่มีโฆษณาได้จะฮิตตามกันไปด้วย  สิ่งที่นักการตลาดน่าจะสนใจคือ traffic lead จากโซเชียลแฟล๊ตฟอร์ม ไม่ใช่แค่โฆษณาใน กระแส (feed)ครับ ตอนนี้รูปแบบมีให้เลือกหลายอย่างว่า landing lead จะสามารถบอกสาระ หรือข้อเท็จจริงของแบรนด์ได้ยังไง เช่นการทำ network แบบเปิด (open-ended) ของ eBay หรือ Uber ที่เป็นการแชร์ประสบการณ์ของแบรนด์ผ่านการสร้างสังคมในลักษณะ interactive community ของแบรนด์เอง เพราะที่สุดแล้วคอนซูเมอร์ไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้โซเชียลยุคนี้มองหาเหตุผล มากกว่าความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์แบบผิวเผินบนโซเชียลแฟล๊ตฟอร์มทั่วไป

สุดท้ายแล้ว ก็คือการหา Landing Content ที่มีสาระแบบจัดจบครับ รูปแบบต้องน่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะเป็นการทำ e-book หรือ rich-contented ประเภทวิดีโอ ซึ่งแน่นอน ต้องทำให้เข้าใจง่าย เข้าถึงได้ ไม่ยัดเยียด ไม่ครอบงำ และที่สำคัญที่สุด ต้องตอบโจทย์ คลายข้อสงสัยของคอนซูเมอร์ ที่ traffic lead จากโซเชียลแฟล๊ตฟอร์มทิ้งเอาไว้แต่ต้นครับ

เวทีการตลาดออนไลน์สมัยใหม่ไม่มีที่ยืนให้กับคนคิดน้อยครับ

pic_profile

Profile
กุลเดช สินธวณรงค์
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท จาร์เค็น จำกัด

ด้วยประสบการณ์ทำงานในการเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ในบริษัทดีไซน์มากว่า 15 ปี ซึ่งเป็นการผสมผสานการพัฒนาด้านความรู้ของบริษัท และเป็นแรงบันดาลใจในการใช้ประสบการณ์ด้านความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานกับกลยุทธ์ทางการตลาดและองค์ความรู้เพื่อทำให้บริษัทเติบโตและก้าวไปข้างหน้า การเป็นวิศวกร, นักออกแบบ, ครีเอทีฟ และเจ้าของกิจการจากการสั่งสมการทำงานที่มีความแตกต่างกันทั้งในสายอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

]]>
1107106