ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 24 Jun 2019 04:51:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 AI ในงาน Marketing! https://positioningmag.com/1235760 Mon, 24 Jun 2019 04:43:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1235760

เคยหนีแฟนหรือหนีภรรยาเที่ยวมั้ยครับ? ว่ากันว่า ผู้หญิงมีสัญชาตญาณอะไรบางอย่าง ในการจับการหนีเที่ยวของผู้ชายเป็นอย่างมาก หรือเธอจะมีเซ็นเซอร์จับอุณภูมิมีจมูกจับกลิ่นพิเศษมีกุมารทองคอยติดตาม? อันนี้ก็ไม่ทราบได้จริงๆ  แต่ผมเชื่อว่าเธอต้องมีการประมวลผลในเรื่องนี้  เหนือล้ำกว่า AI แน่ๆ!

เป็นที่ทราบกันทั่วไป ในขณะนี้  ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI มีวิวัฒนาการ พัฒนาอย่างก้าวกระโดดมากๆ ในกิจกรรมบางอย่าง  AI ในยุคนี้ มีขีดความสามารถพัฒนาเหนือมนุษย์ไปแล้ว  เช่น  การเล่นโก๊ะ, เล่นหมากรุก, เล่นเกมส์  ฯลฯ

หลายคนสงสัย แล้ว AI มันทำงานอย่างไร ทำไมมันถึงฉลาดเช่นนี้?  วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังแบบง่ายๆ  “สไตล์โซวบักท้ง”ให้ฟังครับ

ขอยกตัวอย่าง  เคส ของการพัฒนา AI สำหรับการวิเคราะห์อาการโรคตา ของ Google ครับ
Google ทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยหวังยกระดับ สนับสนุนวงการการจักษุแพทย์ขึ้นไปอีกขั้น  (หรือสนับสนุนให้จักษุแพทย์ ตกงานก็ไม่ทราบได้)

ขั้นแรก Google ทำการรวบรวมภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ตา ผู้ป่วยทั้งหมดขึ้นมาก่อน นับเป็นจำนวนหลายล้านรูป  เสร็จแล้วก็ค่อยๆ ทำการติดป้ายรูปทีละรูป ว่ารูปตาแต่ละรูปนั้น ป่วยเป็นโรคอะไร

ไม่เพียงแค่นั้น ในแต่ละรูปนั้นนอกจากจะมีการระบุว่าเป็นโรคตาอะไรแล้ว  ยังมีการเรตระดับอีกด้วยว่า มีอาการป่วยสาหัสในระดับใด  โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ  เริ่มตั้งแต่ 1 ป่วยไม่มาก  จนไปถึง 5 ป่วยขั้นวิกฤติ

พอทำการติดป้ายรูปทั้งหมดเสร็จ  ก็จัดการนำ Data ทั้งหมดที่มี  ใส่ลงไปในคอมพิวเตอร์  ปล่อยให้ AI  มันเรียนรู้หาความสัมพันธ์ของรูปถ่ายกับป้ายชื่อ ที่เราจัดทำขึ้น 

ถึงตรงนี้ขอข้ามขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึมอันซับซ้อนของ AI ไป เพื่อความเรียบง่าย แต่เอาเป็นว่าจากข้อมูลรูปถ่ายและป้ายชื่อ ที่เราพยายามคีย์ลงไปในคอมพิวเตอร์  เจ้า AI มันสามารถหาความสัมพันธ์ ผูกออกมาเป็นสูตรสมการแบบอัตโนมัติ  โดยอาจจะดูอาการป่วยด้วยสีของตาขาว, สีของตาดำ, ขอบตา, ขนตาเส้นที่ 18 ด้านบน  ฯลฯ  หลายๆอย่างประกอบกันเข้า

พอเจ้า AI ได้สูตรสมการปุ๊บ ทีนี้พอเรานำรูปถ่ายรูปใหม่ ให้เจ้า AI พิจารณาดู  AI ก็สามารถบอกได้ทันทีว่า รูปถ่ายใบนี้ ป่วยเป็นโรคตาอะไร  สาหัสในระดับไหน

ดังนั้น ถ้าจะว่ากันด้วย process ของการสร้าง AI ก็จะมีแค่ 3 ขั้น
1.รวบรวมดาต้า พร้อมติดป้ายข้อมูล
2.คีย์เข้าคอมพิวเตอร์ ปล่อยให้ AI  เรียนรู้
3. AI สร้างสมการ ในการจับคู่ดาต้า กับป้ายข้อมูล ที่เราจัดทำขึ้น

น่าจะพอเข้าใจขั้นตอนในการพัฒนา AI แบบง่ายๆกันแล้วใช่มั้ยครับ?

ในเคสของ AI  เล่นโก๊ะ เล่นหมากรุก ก็เช่นกัน เราก็แค่คีย์รูปแบบการเล่นหลายๆ แบบเข้าใปในคอมพิวเตอร์  (ว่ากันว่าหลายร้อยล้านรูปแบบ)  พร้อมกับติดป้ายบอกมันว่า เล่นแบบนี้จะแพ้ เล่นแบบนี้จะชนะ   ท้ายสุดเจ้า AI ก็จะได้สมการสุดล้ำ แม่นยำจนมนุษย์ไม่สามารถเอาชนะได้

ทีนี้คำถามก็คงจะถามกลับกันมาว่า เราจะใช้ AI ในการทำการตลาดได้อย่างไร?

ที่จริงเราสามารถเอา AI มาใช้ประโยชน์ในงานการตลาดได้หลายรูปแบบครับ  แต่เบสิคที่สุด คือ ทำการหาว่าใครคือ ลูกค้าที่จะมาซื้อสินค้าของเรา?

สมมติว่าเรามี  Data ของคนกลุ่มหนึ่งใน CRM ของเราอยู่แล้ว โดยปกติ เรามักจะเก็บข้อมูลประเภท  ชื่อ นามสกุล  ที่อยู่  เบอร์โทร  อีเมล์  หรือ ประวัติการสั่งซื้อ กันเป็นเสียส่วนใหญ่  ซึ่งเอาจริงๆ  ถ้าเรามีข้อมูลเพียงแค่นี้   แล้วมานั่งติดป้ายว่า คนไหนคือลูกค้า คนไหนไม่ใช่ลูกค้า  ก็ออกจะดูจะเป็นเรื่องยากสำหรับ AI  อยู่เหมือนกันครับ  ที่จะหาความสัมพันธ์ สร้างสมการได้ว่า คนไหนคือลูกค้า  คนไหนไม่ใช่ลูกค้า

แต่ถ้าข้อมูลของเรา มีความละเอียดเพียงพอ เช่น  รายชื่อนี้เคยคลิกเข้ามาดูเว็บไซต์หรือไม่?  อ่านบทความอะไรในเว็บไซต์?  เคยเข้ามา Facebook ของเราหรือไม่? กดไลค์ content อะไร?  เคยคลิกดูแบนเนอร์โฆษณาของเราหรือไม่?  ฯลฯ ถ้าเป็นแบบนี้   AI ก็น่าจะพอสร้างสมการได้ใช่มั้ยครับ ว่าใครมีโอกาสที่จะมาเป็นลูกค้าของเราบ้าง

กล่าวโดยสรุปก็คือ  AI จะเริ่มมีประโยชน์กับการทำการตลาดมากๆ  ถ้าเรามีฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และ มีความละเอียดเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในลักษณะของเชิงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายของเรา

ต่อให้  AI  มีความฉลาดล้ำเพียงใด  แต่ทว่าเรามีข้อมูลไม่มากพอ ไม่ละเอียดพอ   AI  ก็ใบ้รับประทานเหมือนกัน  แล้ววันนี้องค์กรของคุณมีความพร้อมในการจัดเก็บ Data เพื่อเริ่มนำ AI มาใช้ในการทำการตลาดหรือยัง?

ว่าแล้วก็ต้องขอไปศึกษา การอัลกอริทึม ของภรรยาก่อนแป๊บ หนีเที่ยวทีไร ทำไมจับได้ทุกครั้ง
งานนี้ต้องแอบไปสลับป้าย!!

]]>
1235760
มาร์เก็ตติ้งแปลงร่าง! https://positioningmag.com/1233594 Sun, 09 Jun 2019 23:05:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1233594

ในต่างประเทศมีการพูดกันมาสักระยะหนึ่งแล้วครับว่า ในเวลาไม่ช้า ศัพท์คำว่า Digital Marketing จะหายไป บริการดิจิทัลเอเยนซี ก็จะค่อยๆ หายไป!

ในที่นี่ ไม่ใช่ว่าคนจะเลิกทำ Digital Marketing นะครับ แต่ทว่าการทำ Digital Marketing มันกลายเป็นเรื่องปกติและธรรมดาเสียจนกระทั่งไม่มีความจำเป็นจะต้องแยกเป็น Online – Offline Marketing อีกต่อไป

นักการตลาดยุคใหม่ ต้องเรียนรู้เรื่องการทำการตลาดแบบผสมผสาน ทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ ซึ่งจะฟิวชั่นผสมกัน แปลงร่างออกมาเป็นวิชาใหม่ ที่เรียกเท่ๆ ว่า Modern Marketing in Digital World!

คำถามถามว่าแล้วการแปลงร่างครั้งนี้ การทำงานของนักการตลาดอย่างพวกเรา มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง?

ศาสตราจารย์ Mohan Sawhney ของมหาวิทยาลัย Kellogg ได้สรุปออกมา 5 สิ่ง ที่เรานักการตลาดยุคใหม่จะต้องปรับเปลี่ยนกัน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ

1. เปลี่ยนการทำการตลาดแบบตู๊มแตก เป็นการตลาดที่เน้นความผูกพัน

จากเดิมทีนักการตลาดส่วนใหญ่จะเน้นการทำการตลาดที่สร้างความตื่นเต้น ฮือฮา เรียกแขกให้คนเห็นเยอะๆ หรือเน้นไอเดียสดใหม่ สร้างความน่าสนใจให้แก่ผู้พบเห็น

แต่เนื่องจากยุคนี้สมัยนี้ โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ สิ่งที่น่าสนใจมันเยอะแยะเต็มไปหมด ทั้ง New feed จากเพื่อน จากดารา จาก blogger ที่เราชื่นชอบ จากเพจมากมายที่เราไปกดไลค์ จาก VDO ที่เราไป Subscribe ฯลฯ จึงเป็นเรื่องยากยิ่ง ที่แบรนด์จะสอดแทรกความสนใจจากผู้บริโภคได้

ดังนั้นการตลาดยุคใหม่ จึงเน้นไปที่ความผูกพันแทน ตอดทีละน้อยๆ แต่ตอดกันนานๆ ถ้าลูกค้ารู้สึกดี เดี๋ยวก็หันมาซื้อสินค้าเราเอง 

การตลาดแบบเน้นความผูกพัน อาจจะเป็นการสร้าง content ที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า (ไม่เน้นขายของ), การสร้าง community ให้ลูกค้ามีโอกาสมีปฏิสัมพันธ์กันเอง, การสร้างแรงบันดาลใจ, การให้คำปรึกษา ฯลฯ

2. เปลี่ยนการเก็บข้อมูลลูกค้า จากข้อมูลซื้อขาย เป็นข้อมูลพฤติกรรม

ปัจจุบันนี้ คิดว่าบริษัทใหญ่ๆ น่าจะมีระบบ CRM กันหมดแล้ว (ถ้าใครยังไม่มี ก็ตัวใครตัวมันครับท่าน) แต่ทว่าระบบ CRM ที่มีกันส่วนใหญ่นั้น มักจะเก็บข้อมูลกันในรูปแบบที่เรียกว่า Transaction Data กล่าวคือ ต้องมีการทำธุรกรรมเกิดขึ้นกับทางแบรนด์ หรือ ทางบริษัทเท่านั้น ถึงจะมีการจัดเก็บดาต้าเกิดขึ้น

แต่ว่าในโลกของการตลาดยุคใหม่นั้น จะมีการจัดเก็บดาต้าในระดับพฤติกรรม เช่น ลูกค้าคนนี้เข้าเว็บไซต์เราหรือไม่? ถ้าเข้าเค้าคลิกดูคอนเทนต์อะไร? เข้าดู Social Media หรือเปล่า? ไลค์อะไรบ้าง? เข้าไปในเว็บ E-commerce หรือเปล่า? คลิกดูสินค้าอะไรบ้าง? คลิกดูตอนกี่โมง? ฯลฯ

เรียกได้ว่าเก็บละเอียดทุกเม็ด ทุกพฤติกรรม แล้วนำขึ้นระบบที่เราเรียกกันว่า Data Management Platform หรือ Big Data ที่เราๆ ชอบเรียกกัน เพื่อจะนำพฤติกรรมทั้งหลายไปวิเคราะห์ และทำการตลาดให้ได้แม่นยำที่สุด

3. เปลี่ยนการทำการตลาดแบบพิถีพิถันใช้เวลานาน เป็นการตลาดแบบเร็วแต่เน้นจำนวนรอบ

ในอดีตแคมเปญการตลาดแคมเปญหนึ่ง อาจจะกินเวลาถึง 3 – 6 เดือนในการทำ แต่ทว่าในโลกยุคปัจจุบัน consumer เปลี่ยนเร็วมาก แถมลืมเร็ว ลืมง่ายอีกต่างหาก

ดังนั้นการทำแคมเปญจึงต้องเร็วกว่าในอดีตขึ้นหลายเท่า โดยปกติแล้วไม่ควรจะเกิน 3 – 4 สัปดาห์ ดังนั้นความพิธีพิถันจึงต้องลดลงอย่างช่วยไม่ได้ แต่ก็จะทดแทนด้วยการทำแคมเปญจำนวนเยอะขึ้นแทน

ในข้อนี้เราอาจจะประยุกต์วิธีการทำงานของพวก Start Up มาใช้ คือ ไม่ต้องกลัวที่จะทำแคมเปญล้มเหลว เพราะยิ่งล้มเหลวเร็ว ก็ยิ่งเรียนรู้เร็ว เก็บเอาประสบการณ์มาพัฒนาในแคมเปญต่อไป

4. เปลี่ยนโครงสร้างองค์กรแบบเน้นตามหน้าที่ มาเป็นโครงสร้างองค์กรที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ในอดีต โครงสร้างองค์กรของบรรดาแบรนด์ มักจะแบ่งตามหน้าที่ อาทิ แผนกขาย, แผนก PR, แผนกดูแลลูกค้า, แผนกแบรนดิ้ง ฯลฯ หรือบางองค์กรที่ใหญ่มากๆ ก็มักจะแบ่งโครงสร้างองค์กรตาม ผลิตภัณฑ์ที่มี

แต่ในโลกยุคปัจจุบัน การแบ่งโครงสร้างเช่นนี้ อาจจะไม่สะดวกกับการทำงาน เพราะเวลาลูกค้ามีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ หรือกับองค์กร ลูกค้าไม่เคยสนใจหรอกครับว่าเค้ากำลังคุยกับแผนกใด ส่วนใดอยู่ ดังนั้นทุกๆ แผนกที่กล่าวมา ควรจะต้องผสานรวมกันเป็นหนึ่งเพื่อทำงานร่วมกันในการตอบสนองลูกค้าให้ดีที่สุด

Chief Marketing Officer อาจจะเป็นตำแหน่งที่หายไป เปลี่ยนไปเป็นตำแหน่ง Chief Client Officer แทน

5. เปลี่ยนเทคโนโลยีหรือแพลตฟอร์มที่แยกกันอยู่ ให้มารวมกัน ณ ที่เดียว

ปัจจุบันแพลตฟอร์มทางด้านการตลาดต่างๆ มักจะอยู่แยกกันอย่างอิสระ เช่น เว็บไซต์อยู่ที่หนึ่ง, Mobile Application อยู่อีกที่หนึ่ง, Social Media อยู่อีกที่หนึ่ง, Social Listening อยู่อีกที่หนึ่ง, E-commerce ก็อยู่อีกที่หนึ่ง ฯลฯ ต้องดูแลจัดการ ดูดาต้าสลับไปสลับมาน่าเวียนหัว

ในอนาคตอันใกล้ แพลตฟอร์มทั้งหมดที่ผมเอ่ยมา จะมีการรวมศูนย์เข้าด้วยกัน โดยเฉพาะในส่วนของดาต้า เพื่อประโยชน์ในการทำ Data Analysis ทำให้สามารถดูแลจัดการลูกค้าได้โดยง่าย

นั่นคือทั้งหมด 5 สิ่งที่พวกเรานักการตลาดหัวใจวัยรุ่น ต้องปรับเปลี่ยนกันโดยไว อยากให้ลองหันกลับมาเช็กกันดูครับ ว่าองค์กรที่เราสิงสถิตอยู่นั้น มีการปรับเปลี่ยนทั้ง 5 สิ่งนี้ไปแล้ว มากน้อยเพียงใด

สำหรับองค์กรในไทย บอกเลยครับว่า ถ้าได้มีการปรับเปลี่ยนไปแล้วสัก 1ข้อ …องค์กรพี่ ก็เรียกว่าล้ำแล้วครับ!!

น้องโซวบักท้ง ขอยกนิ้วโป้งให้เลย!

]]>
1233594
วิธีลดอาการปวดตับ ในการทำ Content Marketing https://positioningmag.com/1231517 Mon, 27 May 2019 00:55:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1231517

ถ้าผมถามว่า มีวิธีการทำการตลาดอะไรบ้างในโลกดิจิทัล ที่ได้ผลดี มีประสิทธิภาพบ้าง? ผมเชื่อว่า ต้องมีคนตอบว่า “Content Marketing” แน่ๆ

“แบรนด์” เกือบจะทุกแบรนด์ในไทยขณะนี้ แทบจะต้องมีช่องทางการทำ Content เป็นของตัวเอง อย่างน้อยสัก 1 ช่องทาง อาจจะเป็น Website, Facebook , IG , Line , Twitter ก็ว่ากันไป บางแบรนด์ทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อสิ่งนี้ ระดับหลายแสนจนไปถึงหลักล้านบาทต่อเดือนก็มี

แต่เอาเข้าจริงๆ แบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการทำ Content Marketing แบบจริงๆ จังๆ กลับมีจำนวนน้อยนิดแทบจะนับได้ ผลลัพธ์ที่กลับมาส่วนใหญ่ค่อนข้างจะน่าเศร้า คือ ไม่สามารถวัดได้อย่างชัดเจนเท่าไรนัก ว่างบประมาณที่ทุ่มทุนลงไปนั้น มันย้อนกลับมาเป็น Business ได้สักเท่าไหร่ อาจจะใช้ยอด Reach หรือยอด Like เป็นเครื่องมือปลอบใจตัวเอง ว่าที่เราลงทุนทำ Content ไปนั้น มันก็มีอะไรกลับมาบ้างน่ะ (โว้ย)

ว่ากันแบบไม่หลอกตัวเอง การทำ Content Marketing ให้ประสบความสำเร็จนั้นยากมากๆ ถึงจะใช้เงินเยอะ ก็ใช่ว่าจะแก้ปัญหาได้ สืบเนื่องจากเราอยู่ในยุคที่เรียกได้ว่า “Content ท่วม” คือ มี Content ให้เสพเยอะแยะไปหมด

ไล่ตั้งแต่ Content จากเพื่อนผ่านทาง Social Network, Content จากดาราที่ชื่นชอบ, Content จาก Blogger ที่ติดตาม, Content ข่าวต่างๆ  อาทิเช่น  ข่าวดารา ข่าวการเมือง ข่าวกีฬา พ่วงด้วย เพจต่างๆ อีกมากมายจิปาถะ

ดังนั้นการที่แบรนด์จะทำ Content ที่เจ๋งเป้ง โดดเด่นเหนือ Content ต่างๆ ที่เอ่ยมา ดูเหมือนว่ามันจะโอกาสเพียงน้อยนิด

คำถามคือ แล้วเราจะคว้าโอกาสอันน้อยนิดอันนี้ได้อย่างไร ? ครับ ….วันนี้ “โซวบักท้ง” มีเคล็ดลับดีๆ มาเปิดเผย

อย่างแรกเลย อยากให้เปลี่ยนวิธีการคิด จากการทำ Content เพื่อให้คนเห็นเยอะๆ คนไลค์มากๆ มาเป็น “การทำ Content ที่เป็นประโยชน์” แทน ว่ากันว่า การจะลงมือเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง สิ่งแรกที่จะต้องเปลี่ยนก็คือ “วิธีการคิด นี่แหละ ตราบใดถ้าเรายังยึดติดกับการทำ Content ให้คนเห็นเยอะ คนไลค์มากๆ มันจะทำให้เราทำ Content ที่ดี มีประโยชน์จริงๆ ได้ยาก

Content ที่ดี อาจจะมีไลค์ มีแชร์มาก แต่ Content ที่มีไลค์ มีแชร์มากๆ อาจจะไม่ใช่ Content ที่ดี

ถ้าเรายึดติดกับการทำ Content เพื่อให้คนเห็นมากๆ มี Like เยอะๆ ท้ายสุดอาจจะไปลงเอยด้วยการโพสต์รูปหมารูปแมว รูปผู้หญิงเซ็กซี่ เรื่องโจ๊กขำขัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแบรนด์ของเราเลย   

Content ที่ดีมีประโยชน์ คือ Content ที่ให้คุณค่าบางอย่างกับผู้ดู ผู้อ่าน โดยอยู่ในกรอบของแบรนด์ หรือสินค้าของเรา อาจจะเป็น Content ที่ให้ข้อมูลที่ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าของเรา, Content ที่ให้แรงบรรดาลใจแก่ผู้อ่าน, Content ที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต, Content ที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้เข้ามามีส่วนร่วม และได้รับการยอมรับในสังคมเล็กๆ ของเรา  ฯลฯ

อย่างที่สอง แบบตามมาติดๆ คือ ให้พยายามทำ content โดยใส่ความเป็นมนุษย์ลงไปด้วย อย่าทำตัวเป็นแบรนด์แข็งทื่อ พูดจาภาษาโฆษณา หรือภาษาแบรนด์คุยกับ consumer แต่ให้พูดคุยกับ consumer ดังเช่นมนุษย์เราๆ คุยกันนี่แหละ ให้พยายามหา Tone & Voice ที่ถูกต้องของแบรนด์เรา เราจะเป็นหนุ่มขี้เล่น แสนกวน, กูรูแสนรู้ ชอบแชร์เรื่องราว, สาวเปรี้ยวแฟชั่น, ช่างเจรจา ฯลฯ ก็ว่ากันไป   

เลิกคิดเลยครับว่าเราคือธุรกิจ B2C , B2B ที่ต้องดูทางการ แต่ให้คิดว่านี่คือความสัมพันธ์แบบ  Human to Human ลูกค้าไม่ได้อยากคุยกับแบรนด์ไร้ชีวิต แต่อยากคุยกับคนเป็นๆ ที่อยู่ในแบรนด์ของเราต่างหาก!

สุดท้ายที่อยากฝากไว้คือ การทำ Content โดยการมองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

ในโลกดิจิทัล เป็นเรื่องน่าแปลกเหมือนกัน ยิ่งแบรนด์พูดถึงตัวเองมากเท่าไหร่ ยิ่งมีคนสนใจน้อยลงเท่านั้น ดังนั้นแทนที่เราจะทำ content ที่พูดแต่ตัวเอง ให้เราทำ content ให้น่าสนใจโดยใช้มองในมุมของลูกค้าแทน

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ สมมติว่าเรากำลัง content ของ “เพจเนย” ยี่ห้อหนึ่ง แทนที่เราจะทำ content เพื่อบอกว่า เนยของเราดียังไง? ทำมาจากอะไร? ขายดีขนาดไหน? เราควรจะมองมุมกลับในมุมของลูกค้า ซึ่งเรารู้อยู่แล้วว่าลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อเนยของเราไปเพื่อทำขนมเบเกอรี่ ดังนั้นแทนที่จะทำ content เพื่อบรรยายสรรพคุณของเนย Content ที่เราทำ ก็ควรจะออกไปทางการแนะนำสูตรทำขนมเบเกอรี่มากกว่า

หลักการทำ content โดยการมองลูกค้าเป็นศูนย์กลางนั้น โดยง่ายก็คือ การตั้งคำถามกับทุกๆ content ที่ทำว่า  “content นี้  คนอ่าน หรือ คนดูจะได้อะไร?”

สรุปรวบตึง เทคนิคการทำ content สไตล์โซวบักท้งมีเพียง 3 ข้อเท่านั้น นั่นก็คือ เป็นประโยชน์, เป็นมนุษย์ และ มองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง

หวังว่าเทคนิคเล็กๆ เหล่านี้จะให้การทำ content ของทุกๆ คน มีโอกาสแย่งซีนข่าวการเมืองอันร้อนแรงในช่วงนี้ไปได้นะครับ

อะแฮ่ม … ก็บอกแล้ว ว่ายาก!

]]>
1231517
สงครามแห่งการนำส่งความอร่อย https://positioningmag.com/1229087 Thu, 09 May 2019 23:05:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1229087

โอยร้อนเหลือเกินขี้เกียจออกข้างนอกไปหาอะไรกินจัง หาของกินผ่านแอป แล้วให้มาส่งที่บ้านดีกว่า

ว่าแล้วก็คว้ามือถือคู่ใจ เปิดแอปกวาดสายตามองหาของอร่อย ก่อนจะกด Check Out เหลือบไปราคาค่าจัดส่ง ถึงกับต้องขยี้ตา ค่าส่ง 10 บาท! 

โอ้! แม่เจ้า นี่ถ้าผมจะนั่งสามล้อไปนั่งทานที่ร้านเอง ยังไงๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงกว่านี้แน่ๆ 

ทำไมราคาค่าส่งมันถูกขนาดนี้หว่า? เรื่องนี้สืบไม่ยาก ถามไถ่จากพี่มอเตอร์ไซค์ที่มาส่งอาหารก็สิ้นเรื่อง ในเวลาไม่นานนัก พี่วินหน้าชะแล่ม ก็นำก๋วยเตี๋ยวมาส่งให้ถึงหน้าบ้าน 

พี่ๆ ค่าส่งมันแค่ 10 บาทเอง แบบนี้มันจะคุ้มค่าน้ำมันพี่หรือครับ??”

จริงๆ ผมได้ 80 บาท ทางบริษัทเจ้าของแอปเค้าออกให้ … พี่วินตอบกลับมา

สืบสาวราวเรื่อง ตามประสาคนช่างเผือก พอจะรู้ว่าพี่วินแกวิ่งส่งอาหารทั้งวัน วันนึงได้ประมาณ 1,500-2,500 บาท บางทีก็มีทิปงามๆ แถมด้วย ถือว่ารายได้ไม่เลวเลยทีเดียว ทำเอา โซวบักท้ง” ถึงกับไขว้เขว

หรือเราจะหาเงินค่าขนมเพิ่มเติมจากที่เมียให้รายวัน โดยการขับมอเตอไซค์วิ่งส่งอาหารดีหว่า??”

ภาพจากเฟซบุ๊ก Get

ผมลองนั่งกดแอปเจ้าอื่นๆ ที่อยู่ในสังเวียน “Food Delivery” หลายๆ เจ้าดู  เพื่อเช็กราคาค่าส่ง

โดยรวมแล้ว คงต้องสรุปว่าตลาด “Food Delivery” ในไทยในขณะนี้ อยู่ในสเตจที่เรียกว่าเลือดเดือด” 

เข้าสู่สงครามด้านราคาอย่างแท้จริง! แข่งกันขาดทุนอย่างบ้าระห่ำ!

อารมณ์เหมือนเอามีดเสียบกัน แล้วแข่งกันว่าใครเลือดจะหมดก่อนกัน ใครเลือดหมดก่อนแพ้!

จริงๆ เรื่องสงครามราคานี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับวงการ E-commerce บ้านเราครับ ที่ต่างคนต่างพากันขายของขาดทุน

ครั้งหนึ่ง ผมเคยซื้อโคมไฟราคา 800 บาท โดยที่ป้ายราคายังติดอยู่เลยว่า 1,100 บาท! ประทับใจโซวบักท้งมากๆ 

หลายคนคงจะงงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจแนวนี้หว่า? มันบ้ารึเปล่าถึงแข่งกันขาดทุนเยี่ยงนี้

สำหรับวงการ E-commerce  มันมีเหตุผลของมันอยู่ครับ โดยเฉพาะเฟสเริ่มต้น ตอนที่ตั้ง system กันใหม่ๆ เพราะค่าใช้จ่ายหลักๆ ของบริษัท E-commerce ใหญ่ๆ คือ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งครับ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นอุปสรรคในการทำ E-commerce มากๆ 

พวกเราเองก็น่าจะเคยมีประสบการณ์ คืออยากจะซื้อของออนไลน์แต่พอเจอค่าส่งแพงก็เลยเปลี่ยนใจไม่ซื้อซะงั้น

บรรดาเจ้าของธุรกิจ E-commerce ก็เลยต้องพยายามสร้างลดต้นทุนของการขนส่งลง โดยการยอมลดราคาสินค้าลง เพื่อให้เกิดจำนวนการสั่งซื้อที่มากขึ้น พอมีจำนวนสั่งซื้อมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการขนส่งก็จะถูกลงโดยอัตโนมัติ

พูดแบบนี้อาจจะงงๆ อธิบายง่ายๆ ถ้าผมต้องวิ่งรถส่งของจากประตูน้ำไปลาดพร้าว โดยมีของที่ต้องส่งทั้งหมด 10 ชิ้น เทียบกับการวิ่งรถในเส้นทางเดียวกันจากประตูน้ำไปลาดพร้าว แต่มีของต้องส่ง 100 ชิ้น 

แน่นอนครับ พอหารค่าขนส่งลงบนจำนวนสินค้า รถที่วิ่งส่งของ 100 ชิ้น  ย่อมจะมีค่าขนส่งถูกกว่ารถที่ขนของ 10 ชิ้นในเส้นทางเดียวกัน

นั่นก็เลยเป็นหนึ่งในเหตุผลครับ ที่บรรดาบริษัท E-commerce ยักษ์ใหญ่พยายามขายสินค้าราคาถูกๆ ถึงขั้นขายขาดทุน

ไม่นับเหตุผลอื่นๆ อย่างเช่น ต้องการเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจผู้ซื้อ, ต้องการดาต้า เพื่อใช้ในการต่อยอดธุรกิจในอนาคต ฯลฯ

ภาพจาก : facebook.com/linemanth/

แต่พอหันกลับมามองธุรกิจ Food Delivery แล้ว ถ้าจะบอกว่าที่ธุรกิจเหล่านี้ยอมขาดทุน ก็เพราะว่า ต้องการจะลดค่าขนส่งลง ก็คงจะไม่ใช่ เพราะดูๆ แล้ว บรรดา Food Delivery ทั้งหลาย ไม่ได้พยายามที่สร้างระบบขนส่งของตัวเอง แต่ทำระบบขนส่งผ่านพี่วินมอเตอร์ไซค์เสียเป็นส่วนใหญ่ แถมลักษณะของการวิ่งส่งของกินนั้น ดูจะเป็นการวิ่งเป็นรอบๆ เที่ยวต่อเที่ยวมากกว่า (ไม่ใช่วิ่งเส้นทางเดียว ส่งของกินได้หลายบ้าน )

ดังนั้นกลยุทธ์ในการขายขาดทุนนั้น สาเหตุเบื้องหลัง น่าจะมาการต้องการขยายเน็ตเวิร์กของบรรดาพี่วินมอเตอร์ไซค์มากกว่า   

แน่นอนครับ หนึ่งใน Key Success ของธุรกิจ Food Delivery น่าจะเป็น ความเร็ว ในการส่ง

ถ้าอยากจะส่งของกินให้ถึงผู้ส่งเร็วๆ ก็จะต้องมีเน็ตเวิร์กของพี่วินมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก ซึ่งถ้าต้องการจะมีเน็ตเวิร์กของพี่วินมอเตอร์ไซค์จำนวนมาก ก็ต้องมีออเดอร์จำนวนมาก ก็เลยยอมขายขาดทุนกันไป เพื่อเพิ่มจำนวนออเดอร์ให้เยอะที่สุด

ภาพจากเฟซบุ๊ก Line man

ผมลองกดดูแอป “Line Man” ที่ดูเหมือนเป็นเจ้าตลาด Food Delivery อันดับหนึ่งในขณะนี้ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีโปรโมชั่นค่าส่ง 10 บาท เหมือนกับแอปอื่นๆ 

เป็นไปได้ว่า “Line Man” อาจจะมองว่า ตัวเองมีเน็ตเวิร์กของพี่วินมอเตอร์ไซค์ที่แข็งแรงอยู่แล้ว 

หรือไม่ก็อาจจะมองว่าความเร็วในการส่ง ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญสูงสุดในธุรกิจนี้ แต่หากว่าเป็น ตัวเลือก ของร้านอาหาร ซึ่ง Line Man ที่เป็น Partner กับทางแอปรีวิวร้านอาหาร วงใน ทำให้มีตัวเลือกของร้านอาหารในแอปจำนวนมากที่สุด 

แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม ผมเชื่อว่างานนี้ “Line Man” คงจะยืนอยู่บนแท่นอันดับหนึ่งชนิดขาสั่นแน่นอน

สงครามยังคงดำเนินต่อไป ใครจะเป็นผู้ชนะคงต้องจับตาดูกันต่อไป  พร้อมๆ กับพุงที่ค่อยๆ ยื่นเพิ่มขึ้นในทุกๆ วัน ของพวกเราแห่งการนำส่งความอร่อย.

]]>
1229087