ย้อนไปเมื่อ 12 ปีก่อน ที่สหรัฐฯ ได้มีการกำหนดภาษีการนำเข้าพลังงานแสงอาทิตย์จากจีน ทำให้ทุนจีนได้หันมาใช้ประเทศในอาเซียน เป็นฐานการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จนเมื่อปีที่แล้ว ทางกลุ่ม American Alliance for Solar Manufacturing Trade Committee ก็ได้ออกมาฟ้องร้อง ผู้ผลิตแผงโซลาร์รายใหญ่ของจีนที่มีโรงงานในมาเลเซีย กัมพูชา ไทย และเวียดนาม ว่าได้ ส่งออกแผงโซลาร์ในราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจีน ทำให้สินค้าอเมริกันไม่สามารถแข่งขันได้
หลังจากที่ได้ข้องสรุปคดี ส่งผลให้เจ้าหน้าที่การค้าสหรัฐฯ ได้กำหนดอัตราภาษีสูงสำหรับการนำเข้า อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ จาก 4 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และ ไทย
โดยภาษีที่ขึ้นจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริษัทและประเทศ โดย มาเลเซีย โดนน้อยสุดที่ 34.4% ส่วนอัตราภาษีทั่วประเทศของ ไทย ถูกตั้งไว้ที่ 375.2% ด้าน เวียดนาม ถูกตั้งไว้ที่ 395.9% สุดท้าย กัมพูชา หนักสุดที่ 3,521% เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตไม่ให้ความร่วมมือกับการสอบสวนของสหรัฐฯ
“นี่เป็นผลลัพธ์ที่ดีมาก เรามั่นใจว่ามาตรการนี้จะจัดการกับการค้าที่ไม่เป็นธรรมของบริษัทจีนในทั้ง 4 ประเทศนี้ ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ของสหรัฐฯ มานานเกินไปแล้ว” ทิม ไบรท์บิลล์ ทนายความของกลุ่มผู้ผลิตในสหรัฐฯ กล่าว
จากข้อมูลของ บลูมเบิร์ก ระบุว่า ในปีที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์จาก 4 ประเทศที่ต้องเสียภาษีใหม่ของสหรัฐฯ มีมูลค่าอยู่ที่ 12,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 428,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 77% ของการนำเข้าโมดูลทั้งหมด
ดังนั้น กลุ่มการค้า Solar Energy Industries Association (SEIA) คาดว่า ภาษีใหม่นี้อาจจะสร้างความเสียหายต่อผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ของสหรัฐฯ เพราะจะทำให้ราคาเซลล์นำเข้าที่นำมาประกอบเป็นแผงโดยโรงงานในอเมริกาสูงขึ้น ซึ่งโรงงานเหล่านี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นตั้งแต่การให้เงินอุดหนุนสำหรับการผลิตพลังงานสะอาดในปี 2022
]]>หลังจากที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ ระงับการขึ้นภาษีครั้งใหญ่ ในหลาย ๆ ประเทศไปเป็นเวลา 90 วัน ยกเว้น จีน ที่เพิ่มภาษีเป็น 145% ซึ่งก็มีรายงานว่า ทรัมป์กำลังวางแผนใช้การเจรจาเรื่องภาษีเพื่อกดดันให้พันธมิตรของสหรัฐฯ จำกัดการทำธุรกิจกับจีน
โดย กระทรวงพาณิชย์จีน ได้ออกแถลงการณ์ถึงสถานการณ์ดังกล่าว โดยวิจารณ์การกระทำดังกล่าวของสหรัฐฯ เป็นการ ใช้ภาษีในทางที่ผิด และ รังแกฝ่ายเดียว ในขณะที่จีนเต็มใจจะร่วมมือกับทุกฝ่าย และปกป้องความเป็นธรรมและความยุติธรรมระหว่างประเทศ
“จีนคัดค้านอย่างหนัก ต่อการที่ฝ่ายใดก็ตาม ทำข้อตกลงโดยแลกกับผลประโยชน์ของจีน หากเกิดกรณีเช่นนี้ จีนจะไม่ยอมรับและจะใช้มาตรการตอบโต้อย่างเด็ดขาด” กระทรวงพาณิชย์จีน กล่าว
นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์จีน ยังได้เตือนถึง ความเสี่ยง ที่การค้าระหว่างประเทซจะกลับไปสู่ กฎแห่งป่า (Law of jungle) หรือ ผู้ที่แข็งแรงกว่าเท่านั้นที่เป็นผู้อยู่รอด และในท้ายที่สุดทุกประเทศจะกลายเป็นเหยื่อ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนได้เยือนเวียดนาม มาเลเซีย และกัมพูชา โดยสี จิ้นผิง ได้เรียกร้องให้มีความพยายามร่วมกันในการ ต่อต้านภาษี และการรังแกฝ่ายเดียวของสหรัฐฯ โดยที่ผ่านมา จีนได้เพิ่มการค้ากับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปัจจุบันถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนในระดับภูมิภาค ส่วนสหรัฐฯ ยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนในระดับประเทศ
ที่ผ่านมา จีนได้ตอบโต้การขึ้นภาษีสหรัฐฯ ด้วยการเก็บภาษี 125% สำหรับสินค้านำเข้าจากอเมริกา อีกทั้งยังได้ จำกัดการส่งออกแร่ธาตุสำคัญ และขึ้นบัญชีดำบริษัทสหรัฐฯ หลายราย แต่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดเล็ก เพื่อจำกัดความสามารถในการทำงานร่วมกับบริษัทจีน
ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ไม่คาดว่าสหรัฐฯ และจีนจะบรรลุข้อตกลงในเร็ว ๆ นี้ แม้ว่าทรัมป์กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่าเขาคาดว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในอีก 3-4 สัปดาห์ข้างหน้า
]]>ข้อมูลจาก โรงพยาบาลสุขภาพจิต BMHH ได้เปิดเผย 6 สัญญาณ ที่บอกว่าความคาดหวังกำลังกลายเป็นแรงกดดัน ดังนี้
DHgate.com ถูกก่อตั้งขึ้นโดย Diane Wang (ไดแอน หวัง) ที่ถือเป็นหนึ่งในผู้หญิงคนแรก ๆ ของจีนที่ทำงานระดับสูงในบริษัทไอทีข้ามชาติ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft และ Cisco นอกจากนี้ เธอยังเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกวงการอีคอมเมิร์ซจีน โดยได้ก่อตั้งเว็บไซต์ Joyo.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซยุคแรกของจีน
ต่อมาในปี 2004 Joyo.com ก็ได้ถูก Amazon เข้าซื้อกิจการ และหลังจากขาย Joyo ไป ไดแอนก็ได้ก่อตั้ง DHgate โดย DH ย่อมาจากชื่อเมือง Dunhuang (ตุนหวง) ซึ่งถือเป็นเมืองสำคัญในเส้นทางสายไหม ที่จีนใช้ทำการค้ากับตะวันตก ส่วน Gate หมายถึง ประตู ดังนั้น DHgate จึงเปรียบเสมือน ประตูการค้ายุคใหม่ที่เชื่อมจีนสู่โลก ตามวิสัยทัศน์ของเธอที่ต้องการเชื่อม ผู้ผลิตจีน เข้ากับ ตลาดต่างประเทศ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล
ด้วยความสำเร็จดังกล่าว ทำให้ไดแอน หวัง เคยได้รับการขนานนามว่าเป็น แจ็ค หม่า เวอร์ชั่นผู้หญิง เลยทีเดียว
แม้ว่า DHgate จะเน้นขายของแบบ B2B (Business to Business) เป็นหลัก แต่ก็มีผู้ซื้อทั่วไป (B2C) ใช้บริการจำนวนมาก เนื่องจากสินค้ามีราคาถูก และมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า, รองเท้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, สินค้า OEM ฯลฯ นอกจากนี้ แพลตฟอร์มยังใช้ระบบ Escrow คือ ผู้ซื้อจ่ายเงินให้ DHgate ก่อน เมื่อผู้ซื้อได้รับสินค้า ทางแพลตฟอร์มถึงจะโอนเงินให้ผู้ขายหลัง เพื่อป้องกันการโกง
ปัจจุบัน DHgate มีผู้ขายมากกว่า 2.3 ล้านราย โดยมีการผลิตสินค้าออกสู่แพลตฟอร์มกว่า 30 ล้านชิ้นต่อปี ใน 26 หมวดหมู่ และมีผู้ใช้มากกว่า 40 ล้านราย จากกว่า 220 ประเทศทั่วโลก โดยมีคลังสินค้าต่างประเทศมากกว่า 10 แห่ง และมีเส้นทางโลจิสติกส์กว่า 100 เส้นทาง
จากสงครามการค้าของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ขึ้นภาษีสินค้าจากจีน 145% ได้กลายเป็นการจุดกระแสให้นักช้อปชาวอเมริกันเริ่มมองหาแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เพราะกลัวว่าแพลตฟอร์มเดิม ๆ ที่ใช้ จะปรับราคาสินค้า ไม่ว่าจะเป็น TikTok Shop หรือ Temu และหวยก็มาออกที่ DHgate เนื่องจากกำลังเป็นไวรัลใน TikTok สหรัฐฯ
เนื่องจากมีบรรดา อินฟลูเอนเซอร์ และเจ้าของผู้ผลิตสินค้า ได้ออกมาแฉเบื้องหลังสินค้าแบรนด์เนมว่าจริง ๆ แล้ว สินค้าเหล่านั้นถูกผลิตในจีนเกือบทั้งหมด และถ้าอยากได้ของคุณภาพแบรนด์เนม ในราคาถูกกว่า สามารถหาได้จากจีน ซึ่งก็คือ DHgate
“จีนเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ลักชูรี่ที่ส่งให้อเมริกา ประเทศในยุโรปทั้งหมด อย่างกระเป๋า 1 ใบ จีนทำไปแล้ว 80% ที่เหลือส่งไปประเทศต่าง ๆ เช่น อิตาลี เพื่อแสตมป์โลโก้ ทำกล่อง เพื่อให้เหมือนกับว่าผลิตในอิตาลี” ข้อความจากผู้ใช้ TikTok ในชื่อ doctortangmow อ้าง
จากคลิปไวรัลดังกล่าว ส่งผลให้ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน DHgate จากที่อยู่ อันดับ 200 ก็ขึ้นมาเป็นแอปฯ ฟรีที่มียอดดาวน์โหลดมาก อันดับ 2 บน App Store เป็นรองแค่ ChatGPT ตามข้อมูลจาก Sensor Tower
จากวิดีโอไวรัลใน TikTok ที่ได้ จุดเประเด็นให้แบรนด์เนมหรู จนก่อให้เกิดคําถามเกี่ยวกับ มูลค่าที่แท้จริง ของสินค้าจากแบรนด์เนมที่แสดงให้เห็นว่า ไม่คุ้มค่า จากผู้ใช้ที่ชื่อว่า Valbulosity ซึ่งวิดีโอได้รับยอดวิวมากกว่า 6 ล้านครั้งและ 600,000 ไลก์
เพราะผู้ซื้อสามารถเป็นเจ้าของ ของก๊อบแบรนด์เนม ในราคาถูกแสนถูก อาทิ กระเป๋าสตางค์ที่คล้ายกับ Louis Vuitton Pochette ที่มีราคา 1,490 ดอลลาร์หรือราว 50,000 บาท ถูกขายในราคาเพียง 3.24 ดอลลาร์หรือราว 100 บาท และสามารถขายได้มากกว่า 100 ชิ้น
หรือจะเป็นกระเป๋า Goyard ในราคาประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐ (640 บาท) เมื่อเทียบกับของแท้ที่ราคาเกิน 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ (136,000 บาท) หรือกางเกงโยคะ Lululemon ที่ปกติขายในราคา 98 ดอลลาร์หรือราว 3,200 บาท ก็หาซื้อได้ในราคาเพียง 13 ดอลลาร์สหรัฐ (430 บาท) ซึ่งขายไปมากกว่า 10,000 ชิ้น ตามข้อมูลจากแอปฯ
techcrunch / bloomberg / scmp
]]>คุณเคยใช้ Kahoot! หรือไม่? หากเคย ภาพแรกในใจของคุณคืออะไร? หลายคนคงนึกถึงเกม Quiz สนุก ๆ ที่อาจารย์นำมาใช้ในห้องเรียนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนตื่นตัว แต่ Kahoot! ไม่ได้ต้องการให้คนจดจำแบบนั้น แม้ว่า Kahoot! จะใช้เกมมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ก็ตาม
“ตอนนี้เราก้าวข้ามสิ่งนั้นไปไกลแล้ว เรากลายเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ก้าวหน้าและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น AI โดยเป้าหมายของเราคือช่วยให้ครูผู้สอนนำเวลาไปทุ่มเทให้กับนักเรียน แทนที่จะเสียเวลาไปกับงานที่เทคโนโลยีทำแทนได้” อาเธอร์รัม อธิบาย
ดังนั้น การก้าวออกจากภาพจำที่ว่า Kahoot! เป็นเพียงแค่เกม ถือเป็นภารกิจที่สำคัญของ Kahoot! “เพราะตลอด 12 ปีที่ผ่านมา เราได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มากมายที่ช่วยสร้างสื่อการเรียนการสอน ไม่ใช่แค่เครื่องมือสร้างแบบทดสอบหรือเกมอีกต่อไป”
ในปีที่ผ่านมา ไทยมีจำนวนผู้ใช้ Kahoot! ถึง 20 ล้านคน และมีการจัดเซสชั่นมากกว่า 2 ล้านเซสชั่น ซึ่งตัวเลขเหล่านี้บ่งบอกถึงศักยภาพอันมหาศาลของตลาดไทย นี่จึงเป็นเหตุผลที่ Kahoot! ตัดสินใจเปิดตัว Kahoot! เวอร์ชั่นภาษาไทย โดยไทยถือเป็น ประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ Kahoot! มีเวอร์ชั่นภาษาท้องถิ่นให้ใช้ ตามด้วยประเทศเวียดนาม
“ต้องยอมรับว่า ภาษาอังกฤษเป็นอุปสรรคสำหรับหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้น การปรับเป็นภาษาท้องถิ่นจะช่วยให้การใช้งานเติบโตอย่างก้าวกระโดด และเราเชื่อมั่นว่าไทยจะเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพสูงสุดของเรา”
นอกจากการเปิดตัวภาษาไทยแล้ว Kahoot! ยังร่วมมือกับพันธมิตรด้านเนื้อหาในไทยหลายแห่ง เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่เข้าใจง่ายและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
“เราได้ไปเยี่ยมโรงเรียน มหาวิทยาลัย และพูดคุยกับครูผู้สอนโดยตรง สิ่งที่น่าประทับใจคือมีครูอาจารย์หลายคนที่รักและชื่นชอบ Kahoot! มาก บางคนถึงกับอาสามาเป็นตัวแทน Kahoot! เพื่อช่วยเผยแพร่และเชื่อมต่อกับผู้ใช้คนอื่น ๆ นี่คือสิ่งที่ทำให้เรายืนยันได้ว่า Kahoot! ให้ความสำคัญกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก”
เมื่อถามถึงความกังวลเรื่องอัตราการเกิดที่ต่ำลงทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแพลตฟอร์มการศึกษา อาเธอร์รัม มองว่า “ตราบใดที่เรายังมีชีวิตอยู่ในฐานะมนุษย์ การเรียนรู้ก็ไม่มีวันสิ้นสุด” เขากล่าว “โลกทุกวันนี้มีความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา และต่อให้อัตราการเกิดจะลดลง ผมไม่เชื่อว่าประชากรโลกที่สนใจในด้านการศึกษาจะหายไป”
ปัจจุบันลูกค้าของ Kahoot! แบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน ครึ่งหนึ่งคือสถานศึกษา อีกครึ่งเป็นองค์กรธุรกิจ โดยตลาดองค์กรกำลังเติบโตในอัตราที่สูงกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโอกาสของ Kahoot! ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป
“ทุกองค์กรต้องการพัฒนาพนักงานให้มีทักษะที่ทันสมัย โดยเฉพาะในยุค AI ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว” เขากล่าว “และนี่คือโอกาสอันยิ่งใหญ่ของเรา”
เมื่อถามถึงเคล็ดลับความสำเร็จของ Kahoot! อาเธอร์รัมเผยว่า องค์ประกอบแรกคือ ทุกคนในองค์กรต้องรู้จักแพลตฟอร์มของตัวเองอย่างลึกซึ้ง และเห็นภาพรวมว่า แต่ละคนมีส่วนช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างไร
แต่สิ่งที่เขาเน้นย้ำมากที่สุดคือ การสื่อสารและความโปร่งใส “ทุกครั้งที่ทีมทำงาน จะต้องแชร์ข้อมูลให้เพื่อนร่วมงานฟังเสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาในต่างประเทศ” เขาอธิบาย “เราต้องแชร์องค์ความรู้ แชร์ฟีดแบ็กจากลูกค้า เพื่อให้ทั้งองค์กรเห็นภาพเดียวกัน”
“การทำงานของเราไม่ใช่แบบ Silo หรือแยกส่วน เราเน้นการ Work Cross Function และมีระบบการทำงานร่วมกันที่โปร่งใสมาก เพื่อนำฟีดแบ็กจากการทำงานหรือจากลูกค้ามาปรับปรุงผลิตภัณฑ์และข้อเสนอ นี่คือหัวใจสำคัญอันดับหนึ่งของการบริหารองค์กรที่ประสบความสำเร็จ” อาเธอร์รัม ย้ำ
เมื่อมองไปข้างหน้า อาเธอร์รัมเชื่อว่า Kahoot! จะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูง “ผมมองเห็นอนาคตที่สดใสของการศึกษาในยุคดิจิทัล และ Kahoot! พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนั้น” เขากล่าวทิ้งท้าย
]]>ที่ผ่านมา บาร์บีคิวพลาซ่าจะมีแคมเปญใหญ่ที่หลายคนรอคอย ก็คือ รีฟีล เพราะจัดปีละ 2 ครั้ง และแต่ละครั้งช่วยเพิ่มยอดขายเป็นเท่าตัว แน่นอนว่าแคมเปญรีฟีลก็คือ บุฟเฟต์ ตามที่หลายคนเข้าใจ แต่มันมีเหตุผลว่าทำไมบาร์บีคิวพลาซ่าถึงเลือกใช้คำว่ารีฟีล โดย รัฐ ตระกูลไทย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานการตลาด บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด เล่าว่า คำว่ารีฟีล ไม่ใช่แค่อยากสร้างความแตกต่าง แต่เป็นเพราะที่ร้านมี เซอร์วิส ให้บริการ
อย่างไรก็ตาม เพราะผู้บริโภคตอนนี้เขามองหา ความธรรมดาแต่พิเศษ ดังนั้น บาร์บีคิวพลาซ่าจึงพยายามทำให้ทุกอย่างมันง่าย ทำให้ปีนี้บาร์บีคิวพลาซ่าเลือกจะเปลี่ยนชื่อแคมเปญจากรีฟีลเป็น GON BUFFET เพื่อให้ ง่ายต่อการสื่อสาร และ จ่ายราคาเดียว ไม่มีบวกเพิ่ม จากเดิมอาจจะต้องบวกเพิ่มค่าน้ำ หรือข้าวเพิ่ม
เพราะภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้บริโภคต้องระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้น บาร์บีคิวพลาซ่ายังคงการันตีว่าจะมีแคมเปญเกี่ยวกับ Value for money เช่น บุฟเฟต์ปีละ 2 ครั้ง แคมเปญ 3 แถม 3 หรือชุดอิ่มฟินิตี้เติมหมูเติมข้าวไม่อั้น ที่ทำมาเกิน 5 ปี และประสบความสำเร็จมาโดยตลอด แต่จากนี้จะเพิ่มวัตถุดิบอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลาย และความคุ้มค่า ไม่ใช่แค่หมูไม่อั้น
“ไม่ใช่แค่ร้านอาหาร แต่ทุกแบรนด์การันตีเรื่องแวร์ลูฟอร์มันนี่ หลายแบรนด์ลดราคา บางแบรนด์ยอมมีต้นทุนสูงขึ้น แต่ไม่ลดราคา เราเองก็เช่นกัน และตอนนี้ต้องมีตัวเลือกอื่น แม้จะมีต้นทุนที่สูงขึ้นก็ตาม”
เพราะแต่ละโลเคชั่นกลุ่มลูกค้าต่างกัน บางพื้นที่กลุ่มลูกค้าเป็นนักเรียน-นักศึกษา ดังนั้น บาร์บีคิวพลาซ่าจึงทำ Local store marketing โดยบางสาขาจะมีโปรฯ สำหรับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม รวมถึงการออกแบบ New Store Models ให้เหมาะกับคนในพื้นที่นั้น ๆ เช่น บางสาขามีเคาน์เตอร์ให้เซอร์วิสตัวเอง, บางสาขาปิดตี 5 เป็นต้น
ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้บาร์บีคิวพลาซ่าสามารถทำ Local store marketing ได้ก็คือ พลัง CRM ที่ทำให้มีข้อมูลลูกค้า ที่ปัจจุบัน Gon Member มีกว่า 3 ล้านราย เติบโตขึ้น 13% ทำให้บาร์บีคิวพลาซ่าพร้อมที่จะทำ Local store marketing และ Personalize Marketing ที่จะส่ง Personal Promotion ผ่านไลน์
ซึ่ง Gon Member ยังต้องสร้างการเติบโตต่อเนื่อง แต่ต้องโตอย่างมีคุณภาพ ปัจจุบัน Member จะใช้จ่ายประมาณ 1,100 บาท ซึ่งสูงกว่าลูกค้าทั่วไป 10-15% และมีความถี่ที่ 2 เดือนครึ่ง/ครั้ง
“คนมีความต้องการหลากหลายขึ้น เมื่อก่อนออกแคมเปญเดียวใช้เหมือนกันหมด แต่ตอนนี้ต้อง Many to Many ทำหลาย ๆ สิ่งเพื่อหลาย ๆ คน อย่างสาขาที่นวมินทร์ซิตี้ อเวนิว เราปิดตี 5 เพราะเราเห็นไลฟ์สไตล์คนแถวนั้น เราเลยลองทดสอบดู ซึ่งมันทำให้เราเรียนรู้ จนขยายสาขาที่ปิดตี 5 ไปเป็น 4 สาขา”
ในวันที่ผู้บริโภคมีความ Royalty (ความภักดี) กับแบรนด์ลดลง ดังนั้น การสร้างแบรนด์จนเกิด Brand Love จึงสำคัญ และสิ่งที่บาร์บีคิวพลาซ่าสร้างมาตลอดก็คือ บาร์บีก้อน มาสคอตที่อยู่คู่แบรนด์มาแล้ว 20 ปี โดยในช่วง 10 ปีแรกยังเป็นเพียง สัญลักษณ์ แต่ในช่วง 10 ปีหลัง บาร์บีก้อนกลายเป็น เอนเตอร์เทนเนอร์ ที่แบรนด์ใช้สื่อสารกับลูกค้า และปัจจุบัน บาร์บีก่อนกลายเป็น คน
“ทุกวันนี้คนมี Royalty ลดลง ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นความท้าทาย แต่เพราะเราไม่ได้ทำแค่โปรดักส์ หรือใช้กลยุทธ์ลดราคา เราหยอดกระปุกสร้างแบรนด์มาตลอด และตอนนี้มันคือเวลาเก็บเกี่ยว ดังนั้น ที่เราประสบความสำเร็จได้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Brand Love และเราแสดงให้เขาเห็นว่าเขายังเชื่อมั่นกับแบรนด์ได้”
โดยการทำ Character Marketing จากนี้ จะมีการเพิ่มคาแรกเตอร์ใหม่ ๆ ได้แก่ คามะจัง และ น้องกะหล่ำ รวมถึงการจัดทำสื่อใหม่ ๆ เช่น หนังสือ เพื่อช่วยให้เด็ก ๆ ได้เติบโตมากับแบรนด์ หรือการ คอลแลบ กับแบรนด์อื่น ๆ เพื่อขยายโอกาสในการพบเจอกับแบรนด์ เช่น เลย์, ยาดมมังกรทอง เป็นต้น
แม้หลังการระบาดของ COVID-19 การเติบโตของ เดลิเวอรี่ จะไม่พุ่งกระฉูด แต่ก็ยังเติบโตได้ โดยปีที่ผ่านมา ส่วนเดลิเวอรี่ของบาร์บีคิวพลาซ่าสามารถเติบโตได้ 20% โดยมีไฮไลต์เป็นการ ยืมเตา ดังนั้น เดลิเวอรี่ยังคงต้องทำต่อไปโดยจะเพิ่มเมนูอย่าง ก้อนสตรีทฟู้ด ในครึ่งปีหลัง จากเดิมที่มีเมนูพร้อมทานอยู่แล้ว
“เดลิเวอรี่มันยังเป็นโอกาส เพราะคนยังมีความขี้เกียจ ยังมีเวลาน้อย”
อีกโอกาสที่มองเห็นก็คือ กินเดี่ยว ในยุคนี้บางคนอาจมองว่าการกินปิ้งย่างก็กินคนเดียวได้ ไม่จำเป็นต้องมากับเพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก ซึ่งบาร์บีคิวพลาซ่ามีสัดส่วนลูกค้ากลุ่มนี้ประมาณ 5-10% ซึ่งบาร์บีคิวพลาซ่ากำลังหาจุดสมดุลให้ระหว่างคนที่มาทานเป็นกลุ่ม และทานคนเดียว เช่น อาจทำ ไพรเวทโซน
“ตอนนี้ทุกสโตร์มีชุดอิ่มเดี่ยว แม้สัดส่วนลูกค้าจะยังน้อยอยู่ก็ตาม แต่เราเห็นว่ามันน่าจะโตได้อีก ความท้าทายตอนนี้คือ ทำอย่างไรให้เขาทานและยังได้บรรยากาศร้านอยู่ เราไม่อยากทำเป็นโซนบาร์ เพราะบรรยากาศมันไม่ใช่ เขามาเพราะอยากกินในร้าน อยากได้บรรยากาศ”
สุดท้าย สิ่งที่บาร์บีคิวพลาซ่าย้ำมาตลอดก็คือ ทำมื้อนี้ให้ดีที่สุด แต่จากนี้เปลี่ยนใหม่เป็น ทำทุกมื้อให้ดีที่สุด เพื่อสื่อสารว่า จะดีขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น บาร์บีคิวพลาซ่าจะ เสริมสร้างประสบการณ์ธรรมดาให้พิเศษมากขึ้น คือทำเรื่องธรรมดาให้พิเศษโดย การันตีคุณภาพโปรดักส์ และเซอร์วิส
โดยทางทีม มีการทำหลังบ้านเพื่อให้ ลดขั้นตอนการทำงานของพนักงาน และมีกิจกรรม ฮีลใจพนักงาน เช่น วาเลนไทน์ที่ผ่านมาก็จัดกิจกรรมติดสติกเกอร์หัวใจให้ดาวแก่พนักงานระหว่างเซอร์วิส เพื่อเป็นกําลังใจให้กับพนักงาน
“เรื่องนี้เป็นโจทย์แรกของเราในปีนี้ เพราะถ้าพนักงานมีความสุข เขาก็จะบริการลูกค้าได้ดีขึ้น ดังนั้น เราจึงพยายามหาทางแบ่งเบาด้วยการลดความยุ่งยากของงาน”
ปัจจุบัน บาร์บีคิวพลาซ่ามีสาขารวมทั้งหมด 157 สาขา แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 101 สาขา ต่างจังหวัด 56 สาขา โดยในปีนี้ตั้งเป้าขยายเพิ่ม 10 สาขา ซึ่งจะใช้งบลงทุนประมาณ 6-8 ล้านบาท/สาขา และกำลังเริ่มมองพื้นที่ต่างจังหวัดที่ไม่ใช่หัวเมืองใหญ่
“เรายังขยายสาขาอยู่ทั้งในกรุงเทพฯ เมืองหลักและเมืองรอง แต่เพราะเทรนด์เปลี่ยนไปเราก็ต้องปรับตัว เช่น พื้นที่เริ่มเล็กลง เราก็ต้องปรับไซส์ตาม และตอนนี้เรากำลังมองหาพื้นที่เมืองรอง เพราะกำลังซื้อก็ไม่ได้น้อยกว่าคนกรุงเทพฯ”
ในปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้าย แม้ว่าจะเหนื่อยเพราะมีคู่แข่งรายใหม่ ๆ แต่บาร์บีคิวพลาซ่าสามารถเติบโตได้ +6% มีรายได้ 3,800 ล้านบาท และปีนี้ บาร์บีคิวพลาซ่าตั้งเป้าเติบโตอย่างน้อย 6-7% เทียบเท่ากับตลาดปิ้งย่างที่มีมูลค่ากว่า 9,000 ล้านบาท
]]>การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและสังคม ถือเป็น 1 ใน 5 เมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกต้องเผชิญ เพราะภายในปี 2040 จำนวนประชากร Gen X จะค่อย ๆ หายไป และเจนเนอเรชั่นที่จะทวีความสำคัญก็คือ Gen Z เพราะนอกจากจำนวนแล้ว Spending Power อาจจะ เทียบเท่า หรือ มากกว่า Gen Y
โดยคาดว่าภายในปี 2034 มูลค่าการ Spending ของ Gen Z ทั่วโลกจะมีมูลค่า 8.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงที่สุด (Gen Y Spending 8.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อเทียบกับทุก ๆ เจนเนอเรชั่น เพราะถือว่าเป็นเจนที่เติบโตมาโดยการ ถูกสปอยล์ ระดับหนึ่ง เพราะเป็นลูกของ Gen X
“สิ่งที่เกิดกับ Gen Z ไม่ใช่ว่าเขาใช้จ่ายเองเท่านั้น แต่บางทีเขาก็เป็น คนที่มีผลต่อการใช้จ่าย ซึ่งก็คือคน Gen X ที่เป็นพ่อ-แม่ ดังนั้น Gen Z เขาเป็นได้ทั้ง Shopper, Influencers และ Consumers” ดร.ดั่งใจถวิล อนันตชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จํากัด กล่าว
New Economy ที่เกิดจาก Gen Z ในไทย สามารถนิยามได้ว่าเป็น S Economy ได้แก่
“ที่เห็นได้ชัดเลยว่า Gen Z มาเปลี่ยน Economy ก็คือ สัตว์เลี้ยง จะเห็นว่าเดี๋ยวนี้คอนโด หรือห้างฯ จะเป็นแบบ Pet friendly มากขึ้น”
หากพูดถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ดูเหมือนประเทศ กัมพูชา จะได้รับผลกระทบหนักที่สุด เนื่องจากถูกเรียกเก็บภาษีใน อัตราสูงสุด ที่ 49% ตามมาด้วย
แม้ว่า กัมพูชา จะเป็นประเทศที่ถูกขึ้นภาษีสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่การตอบสนองนั้นค่อนข้างจะนิ่ง แม้ว่าภาษีดังกล่าวอาจมีผลต่อการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าไปยังสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นสินค้าที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน มาเนต ได้ข้อความเสนอที่จะ “เจรจากับฝ่ายบริหารโดยเร็วที่สุด” พร้อมกับยื่นขอเสนอ ลดภาษีสินค้า 19 รายการ ทันที จากสูงสุด 35% เหลือ 5%”
หลังจากที่มีการประกาศขึ้นภาษี เวียดนาม นับเป็นประเทศแรกของภูมิภาคที่ตอบสนอง โดยได้ต่อสายตรงถึง ทรัมป์ ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน โดย โต เลิม หัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ได้ขอให้ทรัมป์ เลื่อนการบังคับใช้ภาษีออกไป 45 วัน และเสนอที่จะ ยกเลิกภาษีของประเทศทั้งหมด
และเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รองนายกรัฐมนตรี บุย ทาน เซิน ได้พบกับเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ มาร์ค แนปเปอร์ ในฮานอย และขอให้ทรัมป์เลื่อนการบังคับใช้ภาษีอีกครั้ง ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากัน รองนายกรัฐมนตรี โฮ ดึก ฟอก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในสหรัฐฯ บอกกับบริษัทต่าง ๆ เมื่อวันศุกร์ว่า เวียดนามกำลังขอให้ เลื่อนออกไป 1-3 เดือน มีรายงานด้วยว่า เวียดนามกำลังจะสรุปข้อตกลงเรื่องการซื้อเครื่องบินโบอิ้งโดยสายการบินของเวียดนาม
ยุทธศาสตร์ของไทยในการลดผลกระทบจากภาษี จะ เพิ่มการนำเข้าสินค้าและเพิ่มการลงทุนของสหรัฐฯ อาทิ พลังงาน เครื่องบิน และสินค้าเกษตรของอเมริกาเพิ่มขึ้น แม้ว่าประเทศยังไม่ได้ เสนอที่จะลดภาษี ก็ตาม โดย นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ย้ำว่า “ไทยไม่ได้เป็นเพียงผู้ส่งออก แต่ยังเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ สามารถพึ่งพาได้ในระยะยาว”
ขณะที่ ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่ปรึกษาคณะทำงานนโยบายการค้าสหรัฐฯ ระบุว่า ไทยจะเน้น เดินสายกลาง โดยเขาจะไม่รีบร้อนไปหาสหรัฐฯ แต่ก็จะไม่นิ่งเฉย หรือตอบโต้เหมือนจีน โดยจะพยายามหาวิธีว่าจะ อยู่ร่วมกับรัฐบาลทรัมป์ชุดใหม่
นอกจากนี้ รัฐมนตรีการคลัง พิชัย ชุณหวชิร จะออกเดินทางไปสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้เพื่อเจรจากับ “ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขณะที่ กรมการค้าต่างประเทศของไทย เน้นย้ำว่า จะเพิ่มการเฝ้าระวังการส่งออกไปยังสหรัฐฯ หลังมี สินค้าจากต่างประเทศที่แอบอ้างว่าเป็นสินค้าที่มาจากไทย
อินโดนีเซีย เป็นอีกประเทศที่กระทบ โดยหลังจากการประกาศขึ้นภาษีของทรัมป์เมื่อวันที่ 2 เมษายน ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซียลดลง 9.6% และส่งให้ค่าเงินรูเปียะอ่อนค่าลงไปถึง 16,898 รูเปียะต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่ อ่อนค่าที่สุดเป็นประวัติการณ์ ของสกุลเงินนี้
ประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต ได้ประกาศว่า รัฐบาลของเขาจะส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปเจรจา ขอลดหย่อนภาษี ที่วอชิงตัน พร้อมกับระบุว่า รัฐบาลกำลัง สำรวจทางเลือกในหลาย ๆ ทาง แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้
ด้านมาเลเซีย นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ซึ่งเป็นรัฐมนตรีการคลังด้วย ได้จวกทรัมป์ว่า “เป็นการปฏิเสธหลักการการค้าเสรีที่ไม่เลือกปฏิบัติ คาดเดาได้ และเปิดกว้าง” ขององค์การการค้าโลก อีกทั้งยัง กล่าวว่า รัฐบาลของเขา จะไม่เก็บภาษีตอบโต้
และในฐานะ ประธานอาเซียน ได้เรียกร้องขอให้ประเทศสมาชิกร่วมกันต่อสู้กับความท้าทายที่เกิด โดยขอให้พึ่งพาตัวเองมากขึ้น และร่วมมือกันภายในมากขึ้น เพราะมั่นใจว่า ในแง่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ กลุ่มอาเซียนอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าสหรัฐฯ
แม้ว่าสิงคโปร์จะถูกขึ้นภาษีน้อยที่สุด แต่ ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ก็มองว่า น่าผิดหวังอย่างยิ่งและไม่ใช่สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อกัน พร้อมกับ ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจแห่งชาติ รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนว่า มาตรการภาษีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอย่างเลี่ยงไม่ได้ และจะส่งผลต่อการส่งออกของสิงคโปร์
นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อภาคบริการ เช่น การเงินและการประกันภัย และจะทำให้โอกาสในการทำงานลดน้อยลง หากเกิดการย้ายฐานการผลิตกลับสหรัฐฯ
จะเห็นว่าการตอบสนองส่วนใหญ่จะเป็นการ วางกลยุทธ์แบบสองด้าน ทั้งการยอมตามข้อเรียกร้องของทรัมป์ในระยะสั้น เช่น การลดภาษีของตนเอง และคำมั่นที่จะเพิ่มการนำเข้าสินค้าบางอย่างจากสหรัฐฯ แต่ ไม่มีประเทศไหนที่จะตอบโต้โดยการ ขึ้นภาษี อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร แม้ว่าล่าสุด จะมีการชะลอขึ้นภาษีไปอีก 90 วันก็ตาม แต่ที่แน่ ๆ ภาพของรัฐบาลสหรัฐฯ ในฐานะพันธมิตรทางเศรษฐกิจ กลายเป็นประเทศที่คาดเดาไม่ได้ไปแล้ว
]]>จุดเริ่มต้นของ เซ็น กรุ๊ป (Zen Group) เริ่มโดย สุทธิเดช จิราธิวัฒน์ ที่ควักเงินส่วนตัวบุกเบิกตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นในปี 2534 ก่อนจะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในปี 2561 จนถึงปัจจุบัน เครือเซ็น กรุ๊ปก็มีอายุ 34 ปี มีร้านอาหาร ในเครือรวมแล้ว 10 แบรนด์ โดยแบ่งเป็น อาหารญี่ปุ่น และ อาหารไทย อีกทั้งยังได้ จอมขวัญ และ สรรคนนท์ จิราธิวัฒน์ มาเป็นผู้สานต่อเครือเซ็น กรุ๊ปแบบเต็มตัว
สำหรับแบรนด์ร้านอาหารในเครือฯ 10 แบรนด์ ได้แก่ Zen (เซ็น), AKA (อากะ), TETSU (เท็ตซึ), Din’s (ดินส์), Sushi Cyu & Carnival (ซูชิ ชู แอนด์ คาร์นิวัล), ตำมั่ว (Tummour), เดอ ตำมั่ว (De Tummour), ลาวญวน (LaoYuan), เขียง (Khiang) รวมแล้วมีทั้งหมด 317 สาขา โดยแบ่งเป็นลงทุนเอง 177 สาขา แฟรนไชส์ 140 สาขา ซึ่งในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์คิดเป็นรายได้ประมาณ 10% ส่วนธุรกิจร้านอาหารเป็นสัดส่วนใหญ่สุดที่ 70%
ส่วนรายได้อีก 20% ที่เหลือมาจาก ธุรกิจ Manufacturing ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทได้เข้าไปร่วมลงทุนใน 2 บริษัท ได้แก่
ซึ่งในธุรกิจ Manufacturing ถือเป็น ดาวเด่น ของเซ็น กรุ๊ป เพราะไม่เพียงแค่ช่วยให้เครือฯ มั่นใจได้ว่าจะมีวัตถุดิบคุณภาพที่เพียงพอต่อความต้องการของร้านอาหารในเครือ แต่ยังสร้างยอดขายได้อีกด้วย โดยยอดขายทั้ง 2 บริษัท ในปี 2567 สามารถเติบโตได้กว่า 34%
โดยในปีนี้ บริษัท คิง มารีน ฟู้ดส์ จำกัด จะเปิด โรงงาน ในเดือนเมษายนนี้ ซึ่งจะใช้ตัดแต่งวัตถุดิบให้เหมาะกับการใช้งาน ซึ่งบริษัทมีแผนจะเจาะกลุ่มร้านอาหาร โรงแรม สายการบิน ในส่วนของ บริษัท เซ็น แอนด์ โกสุม อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด จะเริ่มผลิตสินค้าใหม่ ๆ
ที่ผ่านมา เซ็น กรุ๊ป ออกโปรดักส์รีเทลมาต่อเนื่อง ขายทั้งแบบ B2C และ B2B แต่ส่วนใหญ่จะเป็นในกลุ่ม Ready to cook เช่น น้ำปลาร้า และน้ำพริกที่ออกมาตามซีซั่น แต่ล่าสุด เครือได้จับมือกับ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) โดยจะวางจำหน่าย ส้มตำพร้อมทาน แบรนด์ตำมั่ว โดยจะวางจำหน่ายใน แม็คโคร และ โลตัส ออกมาแล้ว 2 สูตร คือ ส้มตำไทย และส้มตำปลาร้า
โดยภายในปีนี้ ทางบริษัทจะมีสินค้าใหม่ ๆ ออกมา เฉลี่ยเดือนละ 1 แบรนด์ แต่จะเริ่มจากแบรนด์อาหารไทยก่อน ไม่ว่าจะเป็นตำมั่ว, เขียง, และ ลาวญวน เพื่อสร้างรายได้ใหม่ ๆ และช่วยให้แบรนด์ใกล้ชิดกับลูกค้ายิ่งขึ้น เพราะไม่จำเป็นต้องไปที่ร้าน ก็สามารถพบเจอกับแบรนด์ได้
“เรายังไม่ได้วางเป้าว่าจะทำยอดขายเท่าไหร่ เพราะนี่เป็นการทดลองก่อน ดังนั้น เราเลยขอลองขายแค่ในแม็คโคร และ โลตัส ยังไม่เข้าเซเว่น อีเลฟเว่น”
ในส่วนของการ ขยายสาขา ปีนี้วางไว้ทั้งหมด 24 สาขา แบ่งเป็นในประเทศไทย และต่างประเทศ อย่างละครึ่ง โดยในต่างประเทศจะเน้น เปิดแฟรนไชส์ร้านอาหารไทย เน้นไปที่ กลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ลาว มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งทั้ง 3 ประเทศอยู่ใกล้ไทย ทำให้ดูแลบริหารจัดการได้ง่าย อีกทั้งยังมีความชื่นชอบและรู้จักอาหารไทย และเมื่อพิจารณาจากจำนวนประชากร ทำให้เห็นโอกาสเติบโตในระยะยาว
ปัจจุบัน เซ็น กรุ๊ปมีสาขาอยู่ต่างประเทศทั้งหมด 14 สาขา โดยเป็นแฟรนไชส์ทั้งหมด ได้แก่
“เราทำการบ้านมาแล้ว อย่างมาเลเซียมีนักท่องเที่ยวมาไทยมาเป็นอันดับ 2 เขารู้จักไทยเป็นอย่างดี โดยเราทดลองเปิดร้านไป 3 สาขา ผลตอบรับก็ดี ส่วนในฟิลิปปินส์ อาหารไทยเป็นประเภทอาหารที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ”
ในส่วนของการขยายสาขาในไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10-20 สาขา ดังนั้น ที่คาดว่าจะเปิด 12 สาขาปีนี้จึงไม่ได้เยอะมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะขยายตามศูนย์การค้าที่เปิดใหม่ ซึ่งปีนี้มีน้อย ทำให้เน้นไปที่การ รีเฟรช รีโนเวต เพื่อสร้างความตื่นเต้น และเน้นไปที่การพัฒนาอาหาร โดยทั้งการเปิดสาขาใหม่กับรีโนเวต คาดว่าจะใช้งบลงทุนรวมกันประมาณ 100 ล้านบาท
“เราเปิดสาขาใหม่ ๆ ไปก่อนหน้านี้ค่อนข้างเยอะ ทำให้ปีนี้เราเน้นไปที่การ Revamp & Renovate เน้นพัฒนาเมนูอาหารใหม่ ๆ ให้ผู้บริโภคนึกถึงเราในทุกมื้ออาหาร ซึ่งเราเรียนรู้ที่จะอยู่ทุกสภาพเศรษฐกิจ เรารู้จักหวะว่าควรขยายธุรกิจในช่วงไหนเป็นพิเศษ ดังนั้น บางเรื่องเราจะทำตัวช้าลง บางอย่างอาจติดสปีด ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เราก็ต้องคอยดูว่าจะไปในทิศทางไหน ดีที่เรามีแอสเซตที่ดีอยู่เเล้ว จึงเน้นไปที่การรีเฟรช รีโนเวต ให้เราตื่นเต้นในตลาด เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งได้”
ในส่วนของการเพิ่ม แบรนด์ใหม่ ยังไม่มีแผน เพราะเซ็น กรุ๊ปจะ ไม่เล่นเกมแฟชั่น เน้นการเติบโตที่ยั่งยืน โดยทั้ง 10 แบรนด์ที่มีอยู่ในมือ ต่างก็อยู่ในตลาดที่ใหญ่ที่สุด คือ อาหารไทย (มูลค่า 3 แสนล้านบาท) และ อาหารญี่ปุ่น (มูลค่าตลาด 3 หมื่นล้านบาท) ส่วนแบรนด์ใหม่ ๆ ที่เข้ามา ระยะแรกลูกค้าอาจไปลอง แต่ถ้าไม่ดี ก็ไม่มีการไปซ้ำ ดังนั้น ส่วนใหญ่จะมาแล้วก็ไป ทำให้ผู้เล่นในตลาดร้านอาหารมีเปลี่ยนหน้าไม่ถึง 5%
“ธุรกิจหลักที่ปิดเยอะสุดคือ ก่อสร้าง และร้านอาหาร ซึ่งเราก็เห็นว่ามีคนที่เข้ามาใหม่ แล้วก็ปิดตัวไปเพราะอยู่ไม่ได้ โดยเฉพาะทุนจีน เหมือนกับการจุดพลุ มาแล้วไป”
สำหรับปีนี้ เซ็น กรุ๊ป ตั้งเป้าหมายการเติบโตไว้ที่ +10% หรือมีรายได้ 4,500 ล้านบาท โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวม 4,092 ล้านบาท เติบโต +3% โดยแบรนด์ร้านอาหารที่สร้างรายได้สูงสุด ได้แก่ Zen (1,146.2 ล้านบาท), AKA (942.8 ล้านบาท) และ On the Table (519.0 ล้านบาท)
]]>ล่าสุด ควอลคอมม์ (Qualcomm) บริษัทชิปชั้นนำของสหรัฐฯ ได้ประกาศการเข้าซื้อกิจการ MovianAI ซึ่งเป็นหน่วยงานทีมวิจัยและพัฒนา AI ของบริษัท VinAI ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Vingroup หนึ่งในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการเปิดเผยถึงมูลค่าของดีลดังกล่าว
“การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในการอุทิศทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการวิจัยและพัฒนา เพื่อวางตำแหน่งให้เราเป็นพลังขับเคลื่อนเบื้องหลังนวัตกรรม AI รุ่นต่อไป” Jilei Hou รองประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรม บริษัท Qualcomm Technologies, Inc. กล่าว
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ Qualcomm ซื้อทีม MovianAI ก็เพราะบริษัทต้องการ บุคลากรคุณภาพ เนื่องจาก Qualcomm จะผู้ก่อตั้ง VinAI คือ Dr. Bui Hai Hung ซึ่งเคยอยู่ในทีม Google DeepMind มาก่อน นอกจากนี้ ทีม VinAI ได้พัฒนาโมเดล AI แบบโอเพนซอร์สหลายตัว และได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยลดความต้องการข้อมูลฝึกสอน AI ทำให้การพัฒนาง่ายขึ้น
สำหรับบริษัท Qualcomm ถือเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปชั้นนำของโลก อาทิ ชิป Snapdragon นอกจากนี้ ยังเป็นซัพพลายเออร์ชิปสมาร์ทโฟนรายใหญ่ โดยที่ผ่านมา Qualcomm ได้เปิดบริษัทชิปได้เปิดศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ที่กรุงฮานอยในปี 2020 ซึ่งถือเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งแรกของบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย โดยศูนย์วิจัยดังกล่าวจะมุ่งเน้นในด้านเทคโนโลยีไร้สาย (4G, 5G) และ IoT
ทั้งนี้ ธุรกิจของ VinAI เน้นทำระบบ AI สำหรับใช้งานในรถยนต์เป็นหลัก ซึ่งใช้สนับสนุนธุรกิจรถยนต์ VinFast ในเครือ Vingroup และไม่ใช่แค่ทีม MovianA ที่ถูกซื้อ แต่ก่อนหน้านี้ Vingroup ก็เพิ่งขายบริษัทในด้าน AI ชื่อว่า VinBrain ให้กับ Nvidia ในช่วงปลายปี 2024
]]>