ล่าสุด ควอลคอมม์ (Qualcomm) บริษัทชิปชั้นนำของสหรัฐฯ ได้ประกาศการเข้าซื้อกิจการ MovianAI ซึ่งเป็นหน่วยงานทีมวิจัยและพัฒนา AI ของบริษัท VinAI ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Vingroup หนึ่งในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีการเปิดเผยถึงมูลค่าของดีลดังกล่าว
“การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในการอุทิศทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการวิจัยและพัฒนา เพื่อวางตำแหน่งให้เราเป็นพลังขับเคลื่อนเบื้องหลังนวัตกรรม AI รุ่นต่อไป” Jilei Hou รองประธานอาวุโสฝ่ายวิศวกรรม บริษัท Qualcomm Technologies, Inc. กล่าว
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ Qualcomm ซื้อทีม MovianAI ก็เพราะบริษัทต้องการ บุคลากรคุณภาพ เนื่องจาก Qualcomm จะผู้ก่อตั้ง VinAI คือ Dr. Bui Hai Hung ซึ่งเคยอยู่ในทีม Google DeepMind มาก่อน นอกจากนี้ ทีม VinAI ได้พัฒนาโมเดล AI แบบโอเพนซอร์สหลายตัว และได้พัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยลดความต้องการข้อมูลฝึกสอน AI ทำให้การพัฒนาง่ายขึ้น
สำหรับบริษัท Qualcomm ถือเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปชั้นนำของโลก อาทิ ชิป Snapdragon นอกจากนี้ ยังเป็นซัพพลายเออร์ชิปสมาร์ทโฟนรายใหญ่ โดยที่ผ่านมา Qualcomm ได้เปิดบริษัทชิปได้เปิดศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) ที่กรุงฮานอยในปี 2020 ซึ่งถือเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งแรกของบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย โดยศูนย์วิจัยดังกล่าวจะมุ่งเน้นในด้านเทคโนโลยีไร้สาย (4G, 5G) และ IoT
ทั้งนี้ ธุรกิจของ VinAI เน้นทำระบบ AI สำหรับใช้งานในรถยนต์เป็นหลัก ซึ่งใช้สนับสนุนธุรกิจรถยนต์ VinFast ในเครือ Vingroup และไม่ใช่แค่ทีม MovianA ที่ถูกซื้อ แต่ก่อนหน้านี้ Vingroup ก็เพิ่งขายบริษัทในด้าน AI ชื่อว่า VinBrain ให้กับ Nvidia ในช่วงปลายปี 2024
]]>สำนักงานอุตสาหกรรมและความปลอดภัยของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า สหรัฐฯ ได้เพิ่มรายชื่อองค์กรจำนวน 80 ราย เข้าไปในรายการ บัญชีดำ หรือ entity list ที่ห้ามบริษัทของสหรัฐฯ ส่งสินค้าให้กับองค์กรที่อยู่ในรายชื่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล เนื่องจากมองว่า บริษัทดังกล่าวกระทำการที่ขัดต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ โดยจำนวน 50 รายชื่อ เป็นบริษัทจีน ที่เหลืออยู่ในไต้หวัน อิหร่าน ปากีสถาน แอฟริกาใต้ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
“เราจะไม่ยอมให้ศัตรูใช้เทคโนโลยีของสหรัฐฯ ไปเสริมเขี้ยวเล็บกองทัพ และก่อภัยคุกคามต่อชีวิตชาวอเมริกัน” โฮเวิร์ด ลุตนิก รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ กล่าว
ที่น่าสนใจคือ มีบริษัทในเครือของ Inspur ผู้ให้บริการด้านคลาวด์คอมพิวติงและบิ๊กดาตารายใหญ่ของจีนที่ถูกขึ้นบัญชีดำไปตั้งแต่ปี 2023 จำนวน 6 ราย ได้ถูกแบนในครั้งนี้ ในข้อหาว่า มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ให้กับกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน
เนื่องจาก 1 ใน 6 บริษัทย่อยของ Inspur ตั้งอยู่ในไต้หวัน ทำให้ อเล็กซ์ คาปรี อาจารย์อาวุโสแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มองว่า สหรัฐฯ เริ่มมุ่งเป้าไปที่ ประเทศที่สาม ที่ทำหน้าที่เป็น คนกลาง ให้กับจีน
“บริษัทจีนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเชิงยุทธศาสตร์ โดยผ่านบุคคลภายนอกบางราย ซึ่งนี่เป็นอีกช่องโหว่ที่ทำให้บริษัทจีนเข้าถึงเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ได้แม้จะมีข้อจำกัดก็ตาม” อเล็กซ์ คาปรี กล่าว
หลังจากที่มีการประกาศรายชื่อ entity list ด้าน กระทรวงพาณิชย์ของจีน ออกมาประณามอย่างรุนแรงว่า “สหรัฐฯ ควรหยุดสรุปเอาเองถึงความมั่นคงของชาติ” นอกจากนี้ ยังเปิดเผยอีกว่า มีหน่วยงานของจีน หลายสิบแห่ง กำลัง ตกเป็นเป้าหมาย ในการถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา AI ขั้นสูง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ และชิป AI ประสิทธิภาพสูงสำหรับใช้ในการทหาร
สำหรับการขึ้นบัญชีดำของสหรัฐฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดกั้นจีนในการพัฒนาชิป AI ขั้นสูง ควอนตัมเทคโนโลยี รวมไปถึงการพัฒนา AI ขั้นสูง รวมถึงการขัดขวางโครงการพัฒนาขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิกของจีนด้วย
ทั้งนี้ การขึ้น entity list ไม่ใช่แค่ประเด็นเดียวที่สร้างความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่ยังมีมาตรการ ขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน โดยล่าสุด รถยนต์ที่นำเข้าจากจีนจะถูกขึ้นภาษี 25%
]]>BYD ค่ายรถอีวียักษ์ใหญ่ของจีน เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ 7.77 แสนล้านหยวน หรือ 1.07 แสนล้านดอลลาร์ โดยยอดขายเพิ่มขึ้น +29% คิดเป็นยอดส่งมอบรถทั้งหมด 4.27 ล้านคัน ในขณะที่ Tesla คู่แข่งคนสำคัญทำรายได้ 9.77 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็นยอดส่งมอบรถทั้งหมด 1.79 ล้านคัน ลดลง -1.1%
ในปีนี้ ยอดส่งออกของ BYD ก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2025 BYD ส่งออกรถไปแล้ว 133,361 คัน เติบโต +124% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ด้านของ Tesla กำลังเจอปัญหาในหลายตลาด ไม่ว่าจะเป็น จีน ที่ยอดขายในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงมากกว่า -50% อีกตลาดก็คือ ยุโรป ที่ส่วนแบ่งการตลาดของ Tesla ในช่วง 2 เดือนแรกลดลงเหลือ 7.7% จาก 18.4% ในปี 2024
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ยอดขายของ Tesla กำลังดิ่งลงเหวเป็นผลมาจาก พฤติกรรมของมัสก์ ที่กำลังส่งผลกระทบความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ นับตั้งแต่ที่เขาขึ้นมาเป็น ที่ปรึกษาของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และเป็นผู้ดูแลกระทรวงประสิทธิภาพรัฐบาล นอกจากนี้ มัสก์มักจะแสดงความเห็นแทรกแซงเกี่ยวกับ การเมืองในต่างประเทศ
อีกประเด็นที่น่าจับตาคือ BYD อาจจะทิ้งห่าง Tesla ได้มากกว่านี้หรือไม่ ทั้งในแง่ยอดขายและเทคโนโลยี โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว BYD ได้เปิดตัว ระบบชาร์จเร็วพิเศษ ที่ชาร์จเพียง 5 นาที วิ่งได้ 400 กิโลเมตร แซงหน้าเทคโนโลยีการชาร์จของ Tesla Superchargers ของ Tesla ใช้เวลา 15 นาทีในการชาร์จและให้ระยะ 320 กิโลเมตร
นอกจากนี้ BYD ได้เปิดตัวระบบ God’s Eye ช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูงเมื่อเดือนที่แล้ว แถมยังให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ซึ่งนักวิเคราะห์ มองว่า การอัปเกรดฟรีของระบบผู้ช่วยขับรถอัจฉริยะ ยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อ Tesla และผู้ผลิตรถอีวีสัญชาติจีนรายอื่น ๆ ในทางตรงกันข้าม บริการ Full Self-Driving (FSD) ของ Tesla ต้องจ่ายค่าสมัครสมาชิกรายเดือนที่ 99 ดอลลาร์ หรือการชําระเงินครั้งเดียว 8,000 ดอลลาร์ ทำให้ Tesla อาจต้องยอมลดราคา
]]>รามา ยูเลียนา (Rahma Yuliana) คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวชาวอินโดนีเซียผู้ดำเนินธุรกิจออนไลน์ เล่าผ่านสำนักข่าวเอพี ว่ามักพาลูกสาวไปทานของหวานหลังเลิกเรียนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ร้าน Mixue ด้วยชานมบราวน์ชูการ์ที่ราคาเพียง 1.10 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 40 บาท) ซึ่งต่ำกว่าเครื่องดื่มที่คล้ายกันของร้านแบรนด์ชาไต้หวันคู่แข่งประมาณหนึ่งในสาม ส่วนไอศกรีมมีราคาเพียง 50 เซนต์ (17 บาท) จ่ายน้อยกว่าแมคโดนัลด์อย่างเห็นได้ชัด
การเข้าถึงผู้บริโภคแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ที่อินโดนีเซียหรือประเทศไทย แต่ Mixue Group สามารถทำได้ทั่วอาเซียน นำไปสู่การผงาดของแบรนด์ “Mixue Bingcheng” ทำให้ล่าสุดหุ้นของ Mixue ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากราคา IPO นับตั้งแต่เริ่มซื้อขายที่ฮ่องกงเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2025
ชื่อแบรนด์ “Mixue Bingcheng” ในภาษาจีนมีความหมายว่า “เมืองน้ำแข็งน้ำผึ้งหิมะ” ซึ่งตรงกับเมนูของร้านที่ตอบโจทย์ความชอบในรสหวานชื่นใจของผู้บริโภคทั่วภูมิภาค ทั้งไอศกรีม กาแฟ และชานมไข่มุกในราคาที่จับต้องได้
ข้อมูล ณ เดือนกันยายน Mixue Group มีร้านมากกว่า 45,000 สาขาที่จำหน่ายชา ไอศกรีม และกาแฟ Lucky Cup สถิตินี้มากกว่าจำนวนร้านของสตาร์บัคส์และแมคโดนัลด์ โดยรายงานของนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมประมาณว่าราว 40,000 สาขานั้นอยู่ในประเทศจีน
เมื่อจำนวนร้านมากขึ้น Mixue ย่อมทำกำไรได้มากขึ้น เนื่องจากบริษัทเป็นแฟรนไชส์ที่บริษัทจัดหาวัตถุดิบสำหรับเครื่องดื่มต่างๆ เช่น Creamy Mango Boba, Mango Oats Jasmine Tea และ Coconut Jelly Milk Tea ซึ่งเป็นผลให้ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ส่งให้หุ้นของ Mixue มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจากราคา IPO
ข้อมูลของบริษัทวิจัย Momentum Works ที่มีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ ชี้ว่า ณ เดือนธันวาคม 2025 แบรนด์อาหารและเครื่องดื่มจากจีนได้เปิดสาขากว่า 6,100 แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอินเดียและเวียดนามมีสัดส่วนประมาณ 2 ใน 3 ขณะที่สิงคโปร์และมาเลเซียมีแบรนด์จีนหลากหลายกว่า เนื่องจากมีประชากรที่พูดภาษาจีนเป็นจำนวนมาก โดยนอกจาก Mixue แล้ว ยังมีแบรนด์ดาวรุ่งอื่นๆ เช่น Haidilao ยักษ์ใหญ่เมนูหม้อไฟ, ร้านอาหาร Fish With You ที่เสิร์ฟปลากับผักดอง, และแบรนด์เครื่องดื่มชื่อดังอย่าง Luckin Coffee, Heytea และ Chagee
ประเด็นนี้ เจียงกัน หลี่ (Jianggan Li) ซีอีโอของ Momentum Works กล่าวว่า ธุรกิจจีนกำลังมองหาการเติบโตใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังจากเผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาดบ้านเกิด ซึ่งในอีกด้าน การขยายตัวของผู้ค้าปลีกอาหารและเครื่องดื่มได้สร้างการรับรู้ ว่าจีนมีสินค้าที่มากกว่าเพียงอิเล็กทรอนิกส์ราคาถูก แถมบริษัทเหล่านี้ยังมีความพร้อมสูง ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเชี่ยวชาญในการตลาดออนไลน์
หลี่กล่าวอีกว่าแบรนด์ยักษ์ใหญ่จากตะวันตกบางครั้งใช้เวลานานในการหาพันธมิตรท้องถิ่นและพัฒนาแผนระยะยาว ในขณะที่บริษัทอาหารและเครื่องดื่มจากจีน “มีความใจร้อนมากกว่า”
สำหรับกรุงเทพฯ สำนักข่าวเอพีพบว่ามีผู้ประกอบการที่คืนทุนภายใน 6 เดือนถึง 1 ปี (ไม่รวมการค้ำประกันสัญญาเช่า) จากการเปิดร้าน Mixue เกิน 10 สาขาโดยยอมรับว่า ร้านในห้างสรรพสินค้าใช้เวลานานในการคืนทุนเนื่องจากเงินมัดจำค่าเช่าที่สูง ต่างจากร้านในสถานที่อื่นซึ่งคืนทุนเร็วกว่า
ซียา ฮั่น (Siya Han) ผู้ประกอบการชาวจีนในกรุงเทพฯ ระบุว่าได้ลงทุนกว่า 1.37 ล้านดอลลาร์ในร้าน Mixue จำนวน 12 สาขา และร้านอื่นๆ อีกประมาณ 10 แห่งเพื่อจำหน่ายอาหารกลุ่มซุปเผ็ด ปลากับผักดอง และสเต๊กไก่ทอดในช่วงเวลาประมาณ 6 ปี โดยบอกว่าการเปิดร้านอาหารจีนอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไปนั้น จะไม่มีทางอยู่รอดได้
ฝั่งกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซีย “หลิว หลิวจุน” (Liu Liujun) รองประธานเครือร้าน Fish With You ที่เสิร์ฟปลากับผักดองแบบจีน เป็นนักธุรกิจอีกรายที่เล็งเห็นโอกาสในตลาดที่มีประชากรเชื้อสายจีนจำนวนมากและเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในฐานะผู้ดูแลการขยายธุรกิจไปต่างประเทศของบริษัทในภูมิภาคนี้ หลิวชี้ว่าการลงทุน 235,000 ดอลลาร์กับแบรนด์ใน 1 สาขาที่มาเลเซียนั้นมีบางกรณีที่ได้คืนทุนในเวลา 9 เดือน ผลจากความนิยมที่มีลูกค้าต่อแถวยาวเกือบทุกวัน
วิคตอเรีย โควาลัน (Victoria Kovalan) หนึ่งในลูกค้าที่ติดใจแบรนด์จีนกล่าวว่า แบรนด์จีนหน้าใหม่เปิดโอกาสให้ได้ลองอาหารใหม่ได้ง่ายขึ้น การเปิดประสบการณ์รสชาติใหม่ ทำให้เกิดความนิยมในหม้อไฟเสฉวนที่ขึ้นชื่อเรื่องรสเผ็ด ขณะที่เหงียน ทู ฮว่าย (Nguyen Thu Hoài) นักศึกษาชาวเวียดนามในฮานอย เล่าว่าแม้จะสงสัยเกี่ยวกับแบรนด์จีนอย่าง Mixue ในช่วงแรก แต่ก็ได้กลายเป็นลูกค้าประจำ เพราะประทับใจกับราคาที่จับต้องได้และคุณภาพที่ดีกว่าที่คาดไว้
การขยายตัวของแบรนด์อาหารและเครื่องดื่มจากจีนยังเป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มที่กว้างขึ้น โดยสินค้าจากจีนไม่ได้ถูกมองว่าเป็นเพียงสินค้าราคาถูกอีกต่อไป แต่มีคุณค่าที่แท้จริง จุดนี้ศาสตราจารย์ก็อรดอน แมทธิวส์ (Gordon Mathews) จากภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง เชื่อว่าการขยายตัวนี้จะมีผลเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของจีนได้
แมทธิวส์ทิ้งท้ายว่าหากย้อนนึกถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากการขยายตัวทั่วโลกของแมคโดนัลด์ เวลานั้นเขาเคยไปเยี่ยมชมสาขาแรกในกวางโจว ศูนย์กลางเศรษฐกิจทางตอนใต้ของจีนในช่วงทศวรรษ 1990 ที่ซึ่งพนักงานคนหนึ่งถึงกับเอ่ยปากว่า “ผมอยากไปอเมริกา” ดังนั้นหากแบรนด์อาหารจีนระเบิดความนิยมไปทั่วโลก จีนก็อาจมีอิทธิพลแบบนั้นได้ ซึ่งโลกธุรกิจจะยังคงต้องรอดูอย่างใกล้ชิดต่อไป
ที่มา: AP, Designtaxi
]]>กระทรวงการคลังของจีน เปิดเผยว่างบประมาณกลางปี 2025 จะจัดสรรเงิน 398,120 ล้านหยวน (55,000 ล้านดอลลาร์) สำหรับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเพิ่มขึ้น 10% จากปี 2024 การจัดสรรดังกล่าวถือเป็นรายการงบประมาณที่ใหญ่เป็นอันดับสาม รองจากการป้องกันประเทศ และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้
การเพิ่มงบขึ้น 10% แสดงให้เห็นว่าจีนต้องการเร่งการวิจัยและพัฒนาภายในประเทศภายในปีนี้ เพื่อเร่งแผนการพึ่งพาตนเองในภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์ และแม้ว่างบประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์จะไม่ช่วยให้ประเทศก้าวกระโดด แต่จะช่วยในโครงการที่มีอยู่ โดยเฉพาะในสาขาต่าง ๆ เช่น เซมิคอนดัก เตอร์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) การสำรวจอวกาศ และการคำนวณเชิงควอนตัม
ทั้งนี้ จีนวางเป้าที่จะประกาศความสำเร็จและชัยชนะใน้านการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมขั้นสูง เช่น AI, เซมิคอนดักเตอร์, พลังงานสะอาด, Bio Technology ทั้งหมดมีฐานสำคัญที่การพัฒนาเทคโนโลยี 6G ภายในปี 2030 ส่งผลให้รัฐบาลมักจะลงทุนเงินในโครงการที่อาจไม่คุ้มทุนเป็นเวลาหลายปี เพื่อจะทำให้จีนมีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลกในอุตสาหกรรมหลักเหล่านี้ภายไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแข่งขันที่ยังคงดำเนินอยู่ของจีนกับสหรัฐอเมริกา
]]>บีวายดี (BYD) เปิดเผยว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แบรนด์มียอดขายทั่วโลก 322,846 คัน เพิ่มขึ้น +8.9% จากเดือนมกราคม โดยมียอด ส่งออก ที่ 67,025 คัน เติบโต +187.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อรวมกับยอดเดือนมกราคม BYD ได้ส่งออกรถยนต์ไปแล้ว 133,361 คัน ในปี 2025 เติบโต +124% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
JPMorgan Chase มองว่า ที่แบรนด์ไม่แสดงสัญญาณว่าจะชะลอการขยายตัวภายในประเทศและระหว่างประเทศ แม้ว่ารถอีวีจากจีนจะถูกทั้งสหรัฐฯ, แคนาดา และยุโรป ขึ้นภาษี เป็นเพราะโรงงานประกอบรถยนต์ของ BYD ในบราซิล ฮังการี อินโดนีเซีย และไทยใกล้จะแล้วเสร็จ ทำให้ BYD เตรียมเพิ่มกำลังผลิต อีกทั้งการเปิดตัวระบบขับรถอัตโนมัติ คาดว่าในปีนี้ BYD จะสามารถส่งมอบรถอีวีได้ถึง 6.5 ล้านคัน ทั่วโลก
สำหรับภาพรวมตลาดอีวีทั่วโลกในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นเป็น 1.2 ล้านคัน เติบโตขึ้น +50% โดยการเติบโตหลัก ๆ มาจากตลาด จีน ที่เติบโตถึง +76% ส่วนตลาด ยุโรป โตขึ้น +20% ในช่วง 2 เดือนแรก ในขณะที่การส่งมอบใน อเมริกาเหนือ อยู่เท่าเดิมที่ 300,000 คัน
ที่น่าสนใจคือ เทรนด์ของ BEV หรือ รถยนต์ไฟฟ้า 100% ในตลาดจีนกลับมาเติบโต หลังจากปีที่ผ่านมารถ ไฮบริด เติบโตอย่างมาก เนื่องจากบรรดาค่ายรถต่างก็เปิดตัวรถรุ่นใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด โดยยอดขาย BEV เพิ่มขึ้น +46% ส่วนยอดขายปลั๊กอินไฮบริดเพิ่มขึ้น +22%
“การเติบโตส่วนใหญ่ของรถอีวียังคงมาจากจีน แต่ที่น่าสนใจคือ การฟื้นฟูยอดขายของรถไฟฟ้า 100% ไฟในปีนี้ หลังจากที่ปี 2024 เป็นปีแห่งไฮบริด” ชาร์ลส์ เลสเตอร์ ผู้จัดการข้อมูลของ Rho Motion กล่าว
ที่น่าเป็นห่วงคือ เทสลา (Tesla) ที่ค่อย ๆ เสียส่วนแบ่งตลาดในตลาดจีน โดยยอดขายในเดือนกุมภาพันธ์ลดลงมากกว่า -50% เหลือ 30,688 คัน ซึ่งลดลงมากกว่าเดือนมกราคม ที่ลดลง 49.2%
]]>ล่าสุด คณะกรรมการด้านการศึกษาของกรุงปักกิ่ง ประกาศให้เพิ่มเนื้อหาการเรียนเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ ให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา อย่างน้อย 8 ชั่วโมง/สัปดาห์ โดยหลักสูตรดังกล่าวโรงเรียนสามารถแยกสอนเป็นวิชาใหม่ หรือจะรวมเข้ากับวิชาที่มี เช่น วิชาเทคโนโลยี หรือวิทยาศาสตร์
ทั้งนี้ หลักสูตร AI จะเริ่มสอนในภาคการศึกษาฤดูใบไม้ร่วง ที่จะเปิดในเดือนกันยายนนี้ โดยจะเริ่มสอนในโรงเรียนในเมืองหลวงก่อน นอกจากนี้ ทางกระทรวงศึกษาธิการของจีนเตรียมออกแนวทางต้นแบบของการเรียนการศึกษาด้าน AI ภายในปีนี้
ที่ผ่านมา จีนมีความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้ริเริ่ม AI มาอย่างยาวนาน แต่เพิ่งจะได้รับความสนใจในระดับโลกจากการมาของ DeepSeek สตาร์ทอัพด้าน AI ของจีน ที่เปิดตัวโมเดล GenAI ที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่สหรัฐฯ ในขณะที่ใช้เงินลงทุนน้อยกว่ามาก
]]>เนื่องจาก โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ประกาศว่า เขาวางแผนที่จะเก็บภาษีพิเศษจากการนําเข้าสินค้าทุกชนิดจากจีนเป็น 20% ซึ่งนั่นกำลังจะส่งผลกระทบต่อ ราคาของเล่น ในตลาดสหรัฐฯ เพราะ เกือบ 80% ของของเล่นที่ขายในสหรัฐฯ มาจากจีน ตามรายงานของ The Toy Association
โดย Greg Ahearn ประธานและซีอีโอของ The Toy Association คาดว่า ราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 15 – 20% สําหรับเกม ตุ๊กตา รถของเล่น และของเล่นอื่น ๆ โดยขณะนี้ ผู้ผลิตของเล่นจํานวนมากกําลัง เจรจาราคาใหม่ กับร้านค้าปลีก และกำลังพิจารณาถึงการ ลดต้นทุน ได้อย่างไรบ้าง เพราะช่วงราคาที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ ยินดีจ่ายปัจจุบันอยู่ที่ระหว่าง 4.99 – 19.99 ดอลลาร์ (ราว 170 – 670 บาท) ทําให้มีช่องว่างเพียงเล็กน้อยในการขึ้นราคา
ขณะที่บริษัทของเล่นบางแห่งกําลังมองหาวิธีที่จะหลีกเลี่ยงการขึ้นราคา โดยการ ย้ายฐานการผลิต อาทิ Steve Rad ซีอีโอของผู้ผลิตของเล่น Abacus Brands Inc. กล่าวว่า บริษัทเขา กําลังพิจารณาเปลี่ยนไปใช้โรงงานในประเทศต่าง ๆ เช่น กัมพูชาหรือเวียดนาม
แต่ต้องยอมรับว่า ทั้ง 2 ประเทศยังไม่มีทักษะในระดับเดียวกันกับผู้ผลิตในจีน ดังนั้น เป็นไปได้ว่าอาจหยิบสินค้าบางชนิดกลับมาผลิตในสหรัฐฯ รวมถึงอาจจะ ตัดฟังก์ชัน บางอย่างของของเล่น เพื่อลดต้นทุน รวมถึงการ เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์
ด้าน Jay Foreman ซีอีโอของ Basic Fun เจ้าของคาแรกเตอร์ Tonka และ Care Bears กล่าวว่า เขาพยายามที่จะโน้มน้าวให้ผู้ค้าปลีกแบ่งช่วยแก้ปัญหาต้นทุนจากภาษี เพื่อจะไม่ผลักภาระไปที่ผู้บริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์ของเล่นเกือบทั้งหมดของ Basic Fun ผลิตในประเทศจีน ยกเว้น K’Nex ซึ่งเป็นชุดก่อสร้างที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ ธุรกิจของเล่นขนาดเล็ก คิดเป็นสัดส่วน 96% ของอุตสาหกรรมของเล่นในอเมริกาเป็นธุรกิจขนาดเล็ก
]]>โดยในปีที่ผ่านมา ยอดขาย มังงะ ในญี่ปุ่นคาดว่าจะสูงถึง 7 แสนล้านเยน (ราว 158,000 ล้านบาท) เติบโตขึ้น +1.5% เมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งถือเป็นการเติบโต 5 ปีติดต่อกัน โดยมังงะยอดนิยมในปีที่ผ่านมา ได้แก่ “Jujutsu Kaisen”, “My Hero Academia” และ “Oshi no Ko”
ที่น่าสนใจคือ การเติบโตของตลาดมังงะมาจากยอดขาย ดิจิทัล หรือ อีบุ๊ก (E-Book) ซึ่งสวนทางกับ หนังสือเล่ม โดยในปีที่ผ่านมา ยอดขายรูปแบบดิจิทัลมีมูลค่า 5.122 แสนล้านเยน เพิ่มขึ้น +6% คิดเป็นสัดส่วน 72.7% จากปีก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปี 2019
ในขณะที่ยอดขายมังงะในแบบรูปเล่มแม้จะเติบโตในช่วงที่ COVID-19 ระบาด แต่หลังจากนั้นก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยยอดขายมังงะแบบเล่มมีมูลค่าอยู่ที่ 1.921 แสนล้านเยน ลดลง -8.8% จากปีก่อนหน้า
ทั้งนี้ ยอดขายมังงะคิดเป็น 44.8% ของตลาดสิ่งพิมพ์ของประเทศ ซึ่งตลาดเติบโตขึ้น +1.3%
]]>แม้ว่าข้อตกลงจะยุติลง แต่ทั้งสองบริษัทก็ไม่ใช่ว่าจะมองหน้ากันไม่ติด โดยทั้งคู่ยังยังคงมีความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างกัน โดยจะมุ่งเน้นไปที่ เทคโนโลยียานยนต์อัจฉริยะ และ รถยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งสองบริษัท เพราะต้องอยู่รอดให้ได้ท่ามกลางการแข่งขันของยานยนต์ยุคใหม่
การควบรวมที่ไม่เกิดขึ้น สำหรับ ฮอนด้า (Honda) ค่ายรถเบอร์ 2 ของญี่ปุ่น อาจไม่ได้น่าเป็นห่วงมาก เพราะ กำไรของบริษัทยังเติบโต โดยกําไรจากการดําเนินงานในไตรมาส 3 อยู่ที่ 3.97 แสนล้านเยน เพิ่มขึ้น +5% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากยอดขายรถยนต์ที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ และเงินเยนที่อ่อนค่า
โดยบริษัทยังคงคาดการณ์กําไรจากการดําเนินงานทั้งปีที่ 1.42 ล้านล้านเยน ในขณะที่แก้ไขแนวโน้มยอดขายทั่วโลกเป็น 3.75 ล้านคันจาก 3.8 ล้านคันที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยส่วนใหญ่สะท้อนถึงการลดลงในญี่ปุ่น
ที่น่าเป็นห่วงคือ นิสสัน (Nissan) โดยนักวิเคราะห์บางคนคาดการณ์ว่า บริษัทอาจเผชิญกับการ ล้มละลาย ในปี 2026 เพราะ กําไร ของนิสสันใน 6 เดือนหลัง (สิ้นสุดในเดือนกันยายน) ลดลง 94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023
ด้วยเหตุนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2024 นิสสันได้ปรับลดคาดการณ์ผลกำไรจากการดำเนินงานลง 70% สู่ระดับ 1.5 แสนล้านเยน (3.3 หมื่นล้านบาท) จากเดิมที่คาดการณ์ไว้จะแตะ 5 แสนล้านเยน และทำให้บริษัทต้องประกาศ ลดกําลังการผลิตลง 20% ส่งผลให้มีการ เลิกจ้างพนักงาน 9,000 คน
นอกจากนี้ บริษัทยังใช้เงินสดไปมากถึง 4.48 แสนล้านเยน (ประมาณ 99,880 ล้านบาท) ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ทำให้บริษัทต้องประกาศขายหุ้นมิตซูบิชิ ที่บริษัทถือครองอยู่ประมาณ 1 ใน 3 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 6.9 หมื่นล้านเยน ในขณะนั้น
นอกจากผลประกอบการที่ไม่สู้ดีนัก บริษัทยังเผชิญกับ หนี้สิน โดยมีหนี้สินระยะสั้นที่ต้องชำระภายใน 1 ปี รวมประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.4 หมื่นล้านบาท) แต่ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 5.6 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2026 (ราว 1.9 แสนล้านบาท)
ไม่ใช่แค่ปัญหาทางการเงินที่นิสสันต้องเผชิญ แต่ยังมีปัญหาที่ค่ายผู้ผลิตรถยนต์รุ่นเก่าส่วนใหญ่ เผชิญก็คือ ต้นทุนการวิจัยและพัฒนา จํานวนมากในการเปลี่ยนจากการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
อีกทั้งยังเจอความกดดันจากตลาด สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดหลักของนิสสัน เพราะแม้ว่า ประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ จะระงับการขึ้นอัตราภาษีสําหรับรถยนต์ที่นําเข้าจากเม็กซิโก ซึ่งถือเป็นฐานการผลิตและตลาดที่สําคัญสําหรับนิสสัน แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนอยู่
ก็คงต้องจับตาดูอนาคตของนิสสันกันต่อไป ว่าจะเป็นเช่นไรหลังดีลกับฮอนด้าล่ม เพราะมีอีกหลายบริษัทที่สนใจจะลงทุนกับนิสสัน อาทิ Foxconn บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่สุดของโลกสัญชาติไต้หวัน ที่กำลังจะพิจารณาเข้าถือหุ้นในนิสสัน ในขณะที่อนาคตของผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นรายนี้แขวนอยู่บนเส้นด้าย
]]>