ประเด็นน่าสนใจธุรกิจติดอันดับดาวรุ่งเป็นครั้งแรก ได้แก่ ‘ธุรกิจแอลกอฮอล์’ ในอันดับ 4, ธุรกิจให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม เช่น แม่บ้าน ในอันดับ 6 รวมถึง ‘ธุรกิจคลินิกกายภาพ’ และ ‘ธุรกิจให้บริการสถานีชาร์จรถ EV’ ในอันดับ 7 สำหรับ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง ปี 2568 ทั้งหมด ประกอบด้วย
1.ธุรกิจการแพทย์และความงาม/ธุรกิจ Cloud Service/ธุรกิจ Cyber Security – ธุรกิจนี้เติบโตและโดดเด่นตามเทรนด์โลก รวมถึงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค
2.ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์/Social Media/YouTuber/Influencer – เป็นธุรกิจที่มีการเติบโตน่าสนใจความต้องการและดีมานด์ของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ถือเป็นธุรกิจนี้ถือว่า มีคู่แข่งเพิ่มขึ้นมากด้วยเช่นกัน
3.ธุรกิจ Soft Power ไทย โดยเฉพาะซีรีส์ หนัง โฆษณา และสื่อออนไลน์ – เทรนด์การเติบโตก็มาจากความต้องการของตลาดที่สูงขึ้น และมีการขยายไปวงกว้างค่อนข้างมาก แม้ต้นทุนในการผลิตจะยังคงสูงก็ตาม
4.ธุรกิจคอนเสิร์ต อีเวนต์/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์/ธุรกิจความเชื่อ (สายมู, หมอดู, ฮวงจุ้ย) – ในส่วนของ ‘ธุรกิจคอนเสิร์ตและอีเวนต์’ มีผลมาจากภาครัฐและเอกชนมีการจัดงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ขณะที่ ‘ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์’ มาจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีความโดดเด่นทั้งด้านยอดขาย และกำไร
ส่วน ‘ธุรกิจความเชื่อ’ เป็นธุรกิจที่อยู่ในกระแส ปัจจัยหนึ่งมาจากมี Influencer หรือผู้มีชื่อเสียงด้านนี้ สร้างความน่าเชื่อถือสร้างประสบการณ์ร่วมด้านอารมณ์กับลูกค้า บวกกับความไม่สนใจของสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ ฯลฯ ส่งผลให้คนหาที่ ‘พึ่งทางใจ’ กันมากขึ้น ทำให้ธุรกิจความเชื่อมีโอกาสเติบโตต่อไป
5.ธุรกิจเงินด่วน/โรงรับจำนำ/ประกันภัยและประกันชีวิต – โดดเด่นตามความต้องการที่มีสูงขึ้น อย่างธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต มีการเติบโตทั้งยอดขายและกำไร ยกตัวอย่างบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มีกำไรสุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ 6-7% ต่อเนื่อง
6.ธุรกิจให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม เช่น แม่บ้าน ฯลฯ/ธุรกิจผับ บาร์ คาราโอเกะ – ‘ธุรกิจให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม’ เช่น แม่บ้าน บริการซ่อมต่าง ๆ ฯลฯ เป็นไปตามเทรนด์การใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกสบายและรวดเร็ว ส่วน ‘ธุรกิจผับ บาร์ คาราโอเกะ’ ที่เป็นดาวรุ่งก็มาจากดีมานด์ที่สูงขึ้นนั่นเอง
7.ธุรกิจคลินิกกายภาพ/ธุรกิจให้บริการสถานีชาร์จรถ EV/ธุรกิจสัตว์เลี้ยง – ธุรกิจเหล่านี้เริ่มมีการเติบโตอย่างโดดเด่นในช่วงปลายปี 2567 และปีหน้าเองมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดย ‘ธุรกิจกายภาพ’ จะเป็นการแตกแขนงจากธุรกิจทางการแพทย์และความงาม มี 2 รูปแบบ คือ คลินิกที่เปิดโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์มาทำกายภาพ และเปิดโดยนักกายภาพ เพื่อมารักษาอาการ เช่น ออฟฟิศซินโดรม เป็นต้น
ขณะที่ ‘ธุรกิจให้บริการสถานีชาร์จรถ EV’ เนื่องจากมีผู้เล่นในตลาดมากขึ้น และความนิยมของรถ EV เพิ่มขึ้น ทำให้เห็นทิศทางการขยายตัวของรถ EV อย่างเห็นได้ชัด เช่นเดียวกับ ‘ธุรกิจสัตว์เลี้ยง’ เป็นการตอบสนองเทรนด์คนรักสัตว์ และรับสัตว์เลี้ยงเป็นลูกหลานที่มาแรงมาก ณ ตอนนี้
8.ธุรกิจโทรคมนาคม/Fintech/ตู้หยอดเหรียญ/ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง – ทั้งหมดเป็นธุรกิจที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของคนที่ต้องการความสะดวกสบายและประหยัดเวลามากขึ้น ส่วน ‘ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่อง’ เห็นชัดว่า รอบปีที่ผ่านมาเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในไทยสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องมีอัตราการขยายตัวได้ แม้จะมีปัจจัยบั่นทอนอยู่บ้าง แต่ปีหน้าเชื่อว่า ภาครัฐต้องขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อให้จำนวนนักท่องเที่ยวเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
9.ธุรกิจเดลิเวอรี่/ทนายความ-ตรวจสอบบัญชี/สตรีทฟู้ดส์/ตลาดนัดกลางคืน/อาหาร-เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ – ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ ที่น่าสนใจ คือ ธุรกิจสตรีทฟู้ดส์และตลาดกลางคืน ซึ่งมีการเติบโตน่าสนใจ และตลาดนัดกลางคืน ถือเป็นธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งในการสนับสนุน Soft Power ของไทย
10.ธุรกิจพลังงานทดแทน/โรงพยาบาล คลินิกเกี่ยวกับสัตว์
ส่วน 10 ธุรกิจดาวร่วง ปี 2568 ได้แก่
1.ธุรกิจจำหน่ายและให้เช่า CD หรือ VDO – เป็นธุรกิจที่ตกลงมาอย่างชัดเจน และมีการล้มหายตายจากไปเรื่อย ๆ ตามพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไป
2.ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่มีแพลตฟอร์ม ออนไลน์ – เนื่องจากยุคปัจจุบันเป็นโลกของออนไลน์ สัดส่วนของสิ่งพิมพ์ลดลง ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการธุรกิจสิ่งพิมพ์จะมีการทำแพลตฟอร์มออนไลน์ควบคู่กันไป หากไม่มีจะเริ่มหายไปจาก
3.ธุรกิจคนกลางผลิตและจำหน่ายที่เก็บข้อมูล เช่น CD DVD Thumb Drive ฯลฯ – เป็นธุรกิจที่ต้องเผชิญการดิสรัปต์จากเทคโนโลยีเช่นเดียวกับธุรกิจสิ่งพิมพ์ โดยปัจจุบันผู้คนจะจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในรูปแบบของ Cloud Service ทำให้ธุรกิจ ธุรกิจคนกลางผลิตและจำหน่ายที่เก็บข้อมูล เช่น CD DVD Thumb Drive ฯลฯ เริ่มลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด และปีหน้าเองเรื่อง AI จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจเหล่านี้เริ่มหายไปจากตลาด
4.ธุรกิจบริการส่งหนังสือพิมพ์ – เป็นไปตามการเติบโตของธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ลดลง
5.ธุรกิจผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม – แนวโน้มของธุรกิจนี้จะเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากได้กำไรมากกว่า ทำให้ธุรกิจผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายในประเทศปรับตัวลดลง
6.ธุรกิจถ่ายเอกสาร – สอดคล้องกับแนวโน้มของพฤติกรรมคนจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่จะดูเอกสารผ่านออนไลน์หรือมือถือมากขึ้น
7.ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ไม้ดั้งเดิม ไม่มีการออกแบบดีไซน์ – หากผู้ประกอบการยังคงดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดิม ไม่มีดีไซน์ จะหายไปจากตลาดที่ปัจจุบันการสร้างสรรค์และดีไซน์มีความสำคัญ
8.ธุรกิจรถยนต์มือ 2 – รอบปีที่ผ่านมาจะเห็นบริษัทรถยนต์มือสองหรือเต็นท์ขายรถยนต์มือสองปิดกิจการไปค่อนข้างเยอะ เนื่องจากราคารถยนต์มือหนึ่งทั้งระบบสันดาปและรถ EV มีราคาถูกลง ซึ่งเมื่อเทียบกับรถยนต์มือสองมีราคาแตกต่างไม่มากนัก ทำให้คนหันไปซื้อรถยนต์มือหนึ่งมากขึ้น
9.ธุรกิจขายเครื่องเล่นเกม – การเป็นดาวร่วงของธุรกิจนี้ มาจากการดิสรัปต์และการเติบโตของธุรกิจเกมออนไลน์
10.ธุรกิจผลิตกระดาษ/ธุรกิจโชห่วย – แม้จะมีการใช้กระดาษอยู่ แต่ ‘ธุรกิจผลิตกระดาษ’ ก็ไม่โดดเด่นเหมือนในอดีต และการดำเนินธุรกิจไม่สามารถทำกำไรอย่างที่ผ่านมา ส่วน ‘ธุรกิจโชห่วย’ ได้รับผลกระทบจากการรุกตลาดอย่างหนักของร้านสะดวกซื้อรายใหญ่ บวกกับพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงชัดเจน โดยต้องการความสะดวกสบายและความครบครันมากขึ้นนั่นเอง
ส่วนธุรกิจที่เคยโดดเด่น เป็นดาวรุ่งในปี 2567 แต่ในปี 2568 ไม่ได้ติดอันดับ ได้แก่ ธุรกิจ E-Sport Game, ธุรกิจยานยนต์, ธุรกิจอสังหาฯ และก่อสร้าง, ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
]]>
นอกจากความสะดวกสบายแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นหรือไม่ที่เป็นแรงส่งให้ตลาดกาแฟ RTD มีการเติบโตร้อนแรงเช่นนี้?
จากข้อมูลของ Tetra Pak Compass 2023 ได้รายงานถึงปริมาณการบริโภคกาแฟ RTD ของทั่วโลกในปี 2020-2023 อยู่ที่ประมาณ 7,600 ล้านลิตร มีการเติบโต 3.3% เมื่อเทียบกับปีก่อน และจากการบริโภคทั้งหมดเป็นการบริโภคอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ APAC ถึง 75%
ตลาดกาแฟในไทยน่าสนใจแค่ไหน ?
สำหรับประเทศไทยนั้น จากรายงานดังกล่าวระบุว่า มีการบริโภคเครื่องดื่ม (ไม่รวมน้ำดื่ม) อยู่ราว 15,864 ล้านลิตร ในจำนวนนั้นเป็นการบริโภคกาแฟอยู่ในสัดส่วนที่ 11% ซึ่งตลาดกาแฟในภาพรวมมีแนวโน้มการเติบโตเฉลี่ย 3.5% ต่อปีสูงกว่าเครื่องดื่มหลายตัว ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มนมและกลุ่มน้ำผลไม้ เป็นต้น
นั่นทำให้กาแฟกลายเป็นอีกหนึ่งเซ็กเมนต์ของตลาดเครื่องดื่มที่มีการเติบโตน่าสนใจ
‘สุภนัฐ รัตนทิพ’ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในบรรดาตลาดกาแฟทั้งหมดเซ็กเมนท์ RTD เป็นตลาดน่าสนใจที่สุด เพราะแม้ปัจจุบันจะมีการบริโภคอยู่ในสัดส่วน 12% จากภาพรวมของตลาดกาแฟ แต่ในอนาคตโตแรงแน่นอน ซึ่งเหตุผลเพราะนอกจากช่องว่างทางการตลาดที่มีอยู่ ยังมาจากปัจจัยหลัก ดังต่อไปนี้
ประเด็นแรก ความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน และกลุ่ม Gen Z มีความคุ้นเคยและดื่มกาแฟมากขึ้น โดยจะมีการบริโภคอย่างน้อย 2 แก้วต่อวัน
ประเด็นที่ 2 ด้วยเทรนด์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคที่มองหาความสะดวกสบายและความรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคหันมาบริโภคสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้เพิ่มขึ้น
ประเด็นที่ 3 การมีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาในตลาด รวมถึงมีการออกรสชาติและผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นการขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น
ประเด็นที่ 4 มาจากการขยายตัวของช่องทางจัดจำหน่ายที่มากขึ้น โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ที่ส่วนใหญ่จะมีสินค้ากลุ่ม RTD วางจำหน่าย ทำให้เป็นเพิ่มโอกาสในการขยายตัวของสินค้ากลุ่มนี้ รวมถึงกาแฟ RTD
จากปัจจัยทั้งหมด ทำให้มีการประเมินว่า ในอีกสิบปีข้างหน้าตลาดกาแฟพร้อมดื่มจะมีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 9% และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากปี 2024 มีมูลค่าอยู่ที่ 26,095 ล้านบาท เพิ่มเป็น 62,033 ล้านบาท ในปี 2034 ซึ่งถือเป็นโอกาสน่าสนใจสำหรับทั้งผู้ประกอบการที่ต้องการขยายธุรกิจและผู้เล่นรายใหม่ที่มองหาช่องทางเข้าสู่ตลาดกาแฟ RTD
ทั้งนี้ ตลาดกาแฟ RTD ในบ้านเรา จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ‘กลุ่มแมส’ เป็นตลาดพื้นฐาน เช่น กาแฟดำ กาแฟใส่นม ฯลฯ ราคาอยู่ประมาณ 10 บาท กับ ‘กลุ่มพรีเมียม’ ใช้เมล็ดกาแฟพิเศษ มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ระดับราคาอยู่ที่ 30 บาทขึ้นไป ซึ่งสุภนัฐบอกว่า การทำตลาดอยากให้โฟกัสในกลุ่มพรีเมียม เพราะกำไรต่อหน่วยสูงกว่า และยังเพิ่มคุณค่าให้กับแบรนด์
โดยการทำตลาดในกลุ่มนี้ สามารถต่อยอดความได้เปรียบด้วยการ Value-added ผ่านนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับสร้างความแตกต่าง บรรจุภัณฑ์หรูหรา การตลาดแบบเฉพาะเจาะจง หรือการนำเสนอเรื่องราวของแบรนด์
รวมไปถึงพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์เป็น ‘มากกว่ากาแฟ’ ด้วยการเพิ่มคุณประโยชน์อื่นเข้าไปเพื่อตอบสนองเทรนด์สุขภาพที่มาแรง ยกตัวอย่าง ประเทศเกาหลีที่มีการใส่ High Protein เข้าไป หรือญี่ปุ่น อีกตลาดที่ใหญ่ของกาแฟ ได้มีการออกผลิตภัณฑ์ไซด์ลิตรให้บริโภคที่บ้าน และมีการทำกาแฟ Plant-based ขึ้นมา เป็นต้น
]]>“ราคา เป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจซื้อ แต่ถ้าสินค้าสามารถตอบโจทย์ความต้องการเขาได้ผู้บริโภคก็พร้อมจ่าย และต้องทำความเข้าใจลูกค้าแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน เพื่อให้รู้ว่า เราจะสู้ด้วยกลยุทธ์อะไร เพราะอย่าลืมว่า ตอนนี้ไม่มีแล้วสำหรับ One size doesn’t fit all”
โดยปี 2023 มูลค่าตลาดสูงถึง 21,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปี 2024 มีการคาดการณ์ว่าจะโตอีก 13.7% ขึ้นไปแตะ 24,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
จากความฮอตของอินฟลูฯ “วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล” (CMMU) จึงออกไกด์ไลน์ให้แบรนด์เพื่อนำไปเลือกใช้ “อินฟลูฯ” ได้อย่างเหมาะสม โดยมี 5 อย่างที่ควรทำ และ 2 อย่างที่ไม่ควรทำ ดังนี้
DO – เลือกอินฟลูฯ ที่มีบุคลิกสอดคล้องกับแบรนด์
DO – เลือกอินฟลูฯ ที่ตัวตนชัดและเป็นธรรมชาติ
DO – ให้อิสระอินฟลูฯ สร้างคอนเทนต์ในแบบตัวเอง
DO – เลือกอินฟลูฯ ที่ผู้บริโภครู้สึกเข้าถึงง่าย
DO – เลือกอินฟลูฯ ที่เป็นที่รัก
DON’T – อย่ามองแค่ตัวเลขผู้ติดตาม
DON’T – อย่าหลงตามกระแส
รายละเอียดแต่ละข้อ ติดตามได้ในอินโฟกราฟิกชุดนี้เลย
แห่งแรกคือ “อาคารอีสต์เอเชียติก” อาคารอายุ 124 ปีที่เคยเป็นที่ทำการบริษัทเดินเรือขนส่งจากยุโรป ปัจจุบันเจ้าของโครงการคือ AWC ตระกูลสิริวัฒนภักดี กำลังจะเปลี่ยนแปลงมาเป็นโรงแรม “เดอะ พลาซ่า แอทธินี โนบุ โฮเทล แอนด์ สปา แบงคอก”
อีกแห่งหนึ่งคือ “โรงภาษีร้อยชักสาม” อาคารอายุ 140 ปี อดีตศุลกสถานเก็บภาษีนำเข้าส่งออกสินค้า ปัจจุบันเจ้าของโครงการที่ได้สัมปทานคือ “แรบบิท โฮลดิ้งส์” (เครือบีทีเอส กรุ๊ป) จะเปลี่ยนอาคารมาเป็นโรงแรม “เดอะ แลงแฮม แบงคอก”
ทั้งสองอาคารจะมีการเก็บอนุรักษ์รูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมเอาไว้ ซึ่งถือเป็นงานที่ยากและต้องใช้เวลา ความประณีตในการทำงานสูงมาก
คาดว่าเราจะได้เห็นทั้ง 2 อาคารกลับมาให้บริการได้ในปี 2569
#อาคารโบราณ #รีโนเวต #ปรุงปรุงอาคาร #โบราณสถาน #อาคารเก่า #เจริญกรุง #ริมน้ำ #PositioningOnline
]]>ระบบนี้เปิดให้ลูกค้าใช้มือถือสแกน QR CODE เพื่อเข้าไป “สั่งอาหาร” ได้เอง และใช้จนจบครบวงจรด้วยการ “ชำระเงิน” เองได้ ไม่ต้องรอพนักงาน ไม่ต้องยืนต่อคิวแคชเชียร์อีกต่อไป
บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด ใช้งบลงทุนไปกว่า 30 ล้านบาท ว่าจ้างสตาร์ทอัพไทย Hato Hub พัฒนาระบบ ใช้เวลากว่า 2 ปีเพื่อพัฒนาจนพร้อมขยายไปใช้ในสาขาต่างๆ เป็นวงกว้าง
ผลที่ได้รับจาก GON ORDER-TO-PAY คืออะไรบ้าง? ติดตามได้ที่นี่
]]>ถือเป็นช่วงเซอร์ไพรส์วงการโฆษณาซึ่งปี 2567 นี้ตลาดไม่ได้เติบโตมากนัก และอยู่ในช่วงเศรษฐกิจซบเซาทำให้แบรนด์มีการประหยัดงบลงโฆษณา แต่ช่วงโอลิมปิกสามารถดึงเม็ดเงินมาได้เกินคาด
]]>