Digital – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 10 Dec 2024 04:22:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Solar D’ ผุด ‘หุ่นยนต์’ ติดตั้ง ‘โซลาร์เซลล์’ ชูจุดเด่นเร็วขึ้น 10 เท่า ชิงความได้เปรียบชิงชัยตลาด 4 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1502663 Tue, 10 Dec 2024 04:22:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1502663 เชื่อว่าจากราคาค่าไฟที่แพงขึ้น หลายเลยเริ่มมองหาพลังงานทางเลือก และ โซลาร์เซลล์ ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยปัจจุบัน ไทยมีอัตราการใช้พลังงานทางเลือกเพียง 7% เท่านั้น แปลว่าตลาดยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก

ไทยใช้พลังงานสะอาดแค่ 7%

รัฐบาลไทยมีการตั้งเป้าการใช้ พลังงานสะอาด เป็นสัดส่วน 60% ภายในปี 2040 ขณะที่ปัจจุบัน การใช้พลังงานสะอาดไทยมีสัดส่วนเพียง 7% หรือราว 10,000 เมกะวัตต์ เท่านั้น ซึ่งแปลว่ายังมี โอกาสเติบโตอีกมากสำหรับพลังงานสะอาด

สำหรับตลาด พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ สัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซลาร์ ดี คอร์ปอเรชัน จำกัด หรือ Solar D ประเมินว่า ประเทศไทยมีการใช้โซลาร์เซลล์ปีละ 1,000-2,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาทต่อปี โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีอัตราเติบโตเกือบ 100% และปัจจุบัน ตลาดยังเติบโตขึ้นต่อเนื่อง

“ในวันที่ราคาพลังงานสูงขึ้น ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมมองหาการลดต้นทุนพลังงาน เพื่อการเติบโตระยะยาว และหลายบริษัทมีนโยบายลดการปล่อยคาร์บอนด้วย” สัมฤทธิ์ กล่าว

เข้าถึงง่าย เพราะต้นทุนลดลงเกือบ 80% 

โดย สัมฤทธิ์ เล่าว่า การเติบโตของตลาดโซลาร์เซลล์ส่วนหนึ่งมาจากเทรนด์การใช้พลังงานสะอาด และอีกปัจจัยก็คือ ต้นทุนระบบที่ต่ำลง โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ต้นทุนลดลงในระดับ 70-80% ทำให้การลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ตลาดมีการแข่งขันด้าน ราคา ทำให้ผู้เล่นแต่ละรายหาทาง ลดต้นทุน โดยเฉพาะด้าน การติดตั้ง ที่เป็น pain point ของทุกคนในอุตสาหกรรมนี้ 

เช่นเดียวกับ Soler D ที่ลงทุนไปกว่า 100 ล้านบาทตลอด 4 ปีเพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ Light Speed version 1.0 ที่ช่วยลดเวลาการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ถึง 10 เท่า จาก 60 วัน เหลือ 6 วัน ซึ่งจะช่วยให้บริษัทสามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น ช่วยลดรักษาต้นทุน และลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งการติดตั้งที่ เร็วขึ้น 1 เดือน จะช่วยให้ประหยัดไฟเพิ่มขึ้นประมาณ 6 แสนบาท 

“ตลาดโซลาร์เซลล์มันก็คืองานก่อสร้าง ดังนั้น ก็จะเน้นที่การคุมต้นทุน ซึ่งเราถือเป็นผู้เล่นที่ทำครบวงจร โดยในตลาดอาจมีไม่น้อย แต่บริษัทที่ทำจริงจังเหมือนเรามีแค่หลักสิบราย”

คาดปีหน้าโกยรายได้แตะ 2,000 ล้าน

ปัจจุบัน Solar D มีรายได้จาก 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ได้แก่ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ (Solar Cell Installation), อีวี ชาร์จเจอร์ (EV charger) และอุปกรณ์กักเก็บพลังงานอย่าง Tesla Powerwall นอกจากนี้ และยังมีธุรกิจภายใต้สัญญาเพื่อซื้อขายไฟฟ้ากับบริษัทเอกชนในระยะยาว

โดยในปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ประมาณ 1,000 ล้านบาท  เติบโตขึ้น 10 เท่า เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อน ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตเป็น 1,400 ล้านบาท และในปีหน้ามั่นใจว่ารายได้จะแตะที่ 2,000 ล้านบาท โดยบริษัทจะเน้นจับลูกค้าอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงงาน เป็นต้น 

ปีหน้าเข้าตลาด

นอกจากทำรายได้แตะ 2,000 ล้านบาท อีกเป้าหมายของบริษัทก็คือ เข้าตลาดหลักทรัพย์ โดย สัมฤทธิ์ อธิบายว่า เพราะ ไม่อยากแค่ขายพลังงาน เนื่องจากตลาดพลังงานสะอาดมีขนาดใหญ่ และมีเรื่องให้ทำอีกมาก และมองว่าพลังงานสะอาดจะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาสังคมไทยได้ด้วย เช่น การผลิตไฟที่เกินกว่าที่ใช้หมด ก็สามารถนำมาขายได้ สร้างรายได้ใหม่ ๆ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม แม้พลังงานโซลาร์เซลล์จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพราะต้นทุนที่ถูกลง แต่หากนับเฉพาะ การใช้โซลาร์เซลล์ในบ้าน ยังเข้าถึงได้ยาก เนื่องจากมีเรื่องทางเทคนิค และต้องติดตั้งระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งต้นทุนสูง ดังนั้น บริษัทจึงต้องเร่งการเปลี่ยนผ่านนี้ เร่งการเปลี่ยนผ่านพลังานแสงอาทิตย์ไปสู่เมนสตรีม

“เราต้องการเข้าไปจัดการและเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องพลังงานสะอาด จนนำไปสู่การมี well being ที่ดีขึ้นของคนไทยในอนาคต ดังนั้น มันไม่ใช่แค่ทำให้ค่าไฟถูกลง แต่โซลาร์เซลล์จะเข้าไปแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ของสังคม เพราะตอนนี้คนไทยไม่มีตัวเลือก พลังงานไฟฟ้าไทยยังเป็น Centralization” สัมฤทธิ์ ทิ้งท้าย

]]>
1502663
เจาะลึกภารกิจการขยายโครงข่าย ‘ภาคเหนือ’ ของ ‘เอไอเอส’ พื้นที่สุดหินที่เจอภัยพิบัติเกือบครบทุกรูปแบบ https://positioningmag.com/1502445 Tue, 10 Dec 2024 04:14:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1502445 เชื่อว่าคนไทยไม่มีทางลืมเหตุการณ์น้ำท่วมภาคเหนือช่วงกลางปี เพราะถือเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในรอบ 50 ปี แต่ที่หลายคนไม่รู้ก็คือ ภาคเหนือ คือภูมิภาคที่เจอภัยพิบัติเกือบทุกรูปแบบ ยกเว้นแค่ สึนามิ และนี่คือความท้าทายอย่างยิ่งของ เอไอเอส ที่จะการันตีการเข้าถึงสัญญาณ 

ความสำคัญของภาคเหนือ

ประชากรไทยมีทั้งหมดกว่า 66 ล้านคน เฉพาะภาคเหนือมีประชากรกว่า 11 ล้านคน แต่อย่างที่หลายคนรู้ว่าภาคเหนือเป็นอีกภูมิภาคที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ โดยเฉพาะ เชียงใหม่ ที่ติดอันดับ 4 เมืองน่าเที่ยวของโลก โดยตลอด 9 เดือนแรกที่ผ่านมา เชียงใหม่มีจำนวนนักท่องเที่ยว 8 ล้านคน 

นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายของชนเผ่าต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไม่เพียงเท่านี้ ภาคเหนือยังเป็นภูมิภาคที่มี Digital Nomad และ Migrant Worker รวมกว่า 3 แสนราย ดังนั้น ลูกค้าของ เอไอเอส (AIS) จึงไม่ใช่แค่คนในพื้นที่เท่านั้น

ภูมิศาสตร์ ชาเลนจ์สำคัญ

อย่างไรก็ตาม ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่ 78% เป็น ทิวเขา ทำเป็นข้อจำกัดในการยิงสัญญาณเป็นทางตรง นอกจากนี้ ภาคเหนือยังเป็นภูมิภาคที่ต้องเจอกับ ภัยพิบัติเกือบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า, พายุฝน, น้ำท่วม และแผ่นดินไหว รวมถึงยังมี พลังงานไม่เสถียร เนื่องจากบางพื้นที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง ด้วยอุปสรรคต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้การวางโครงข่ายจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS เล่าให้ฟังว่า เอไอเอสต้องผสมผสานระบบการกระจายสัญญาณและคลื่นไมโครเวฟ ด้วย Super Cell LINK จำนวน 1,600 สถานี เพื่อเชื่อมโยงจากจุดต่อจุด ทั้งจากพื้นที่ราบและพื้นที่หลังทิวเขา มาสู่พื้นที่ร่องเขาด้านล่าง ทำให้ภาคเหนือ เป็นภูมิภาคที่ใช้คลื่นไมโครเวฟมากที่สุด

และด้วยปัญหาด้านพลังงาน ทำให้เสาสัญาณในพื้นที่ภาคเหนือกว่า 1,700 แห่ง จากทั้งหมด 7,500 แห่ง ใช้พลังงานธรรมชาติอย่างโซลาร์เซล กังหันลม และไฮโดรเจน เพื่อแก้ปัญหา โดยรวมแล้ว ปัจจุบันเอไอเอสมีสถานีฐานกว่า 40,000 แห่ง ทั่วประเทศ และกว่า 13,000 แห่ง ใช้พลังงานธรรมชาติ

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS

น้ำท่วมกลางปี กับภารกิจยื้อสัญญาณ

ช่วงน้ำท่วมใหญ่ภาคเหนือเมื่อกลางปีที่ผ่านมา หนึ่งในจุดที่ได้รับผลกระทบหนักก็คือ ตำบลกื้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ถือเป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ เนื่องจากมี ปางช้างมากสุดในไทย  รวมช้างกว่า 418 เชือก โดยในช่วงก่อนการระบาดของ COVID-19 พื้นที่ดังกล่าวสามารถสร้างรายได้กว่า 1 ล้านบาท/วัน ปัจจุบัน มีรายได้เฉลี่ย 6-8 แสนบาท/วัน

เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ ทำให้เอไอเอสได้ปูพรมสัญญาณ 5G ทั้งหมด แต่จากเหตุภัยพิบัติน้ำท่วมที่ผ่านมา พื้นที่ปางช้างได้รับผลกระทบมาก เพราะฝนตกตลอดเวลา ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่ระบบสื่อสารจะล่ม ซึ่งการติดต่อสื่อสารกับภายนอกคือสิ่งสำคัญมาก เพราะต้องใช้เพื่อ ขอความช่วยเหลือ

“น้ำมาตอนตี 4 ซึ่งเราไม่ทันตั้งตัว อย่างแรกที่ต้องทำคือ ติดต่อกับการไฟฟ้าเพื่อตัดไฟ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟช็อต ดังนั้น การสื่อสารสำคัญมาก” อาทยา หยู่เย็น หัวหน้างานปฏิบัติการภูมิภาค-ภาคเหนือ AIS เล่า

ดังนั้น สิ่งที่เอไอเอสต้องทำคือ นำแบตเตอรี่สำรองมาเปลี่ยน ซึ่งมีความหนักมากกว่า 10 กิโลกรัม ทำให้ต้องใช้รถแม็คโคร ขนแบตเตอร์รี่ขึ้นไปเพื่อไปเพิ่มบรรจุไฟฟ้า ซึ่งแบตฯ 1 ลูกใช้ได้เพียง 3 ชั่วโมง ดังนั้น การจัดการระบบคือ ใช้สัญญาณเพื่อการ สื่อสารเท่านั้น เพื่อยื้อระยะเวลาแบตเตอรี่ให้ใช้ได้นานที่สุด นอกจากนี้ เอไอเอสจะมีรถดาวเทียมปักหลักอยู่เกือบครึ่งเดือน เพื่อเป็นตัวช่วย

“น้ำแรงมาก เราเอารถเข้าไม่ได้ ดังนั้น ต้องใช้รถตักขนแบตเตอรี่เข้ามาเปลี่ยน โชคดีที่เสาสัญญาณสูง 3 เมตร และสายไฟเบอร์ไม่ขาด แต่ที่เรากังวลคือ การใช้งานยิ่งเยอะ ยิ่งกินแบตฯ”

ไม่ใช่แค่การสื่อสาร แต่เปลี่ยนวิถีชีวิต

ปัจจุบัน โครงข่ายสื่อสารของเอไอเอสภาคเหนือมีความพร้อมในการตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าทุกกลุ่ม ซึ่งมีความครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ อาทิ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา, อุทยานแห่งชาติแม่ปิง, ห้วยกุ๊บกั๊บ, ทุ่งเกี๊ยะ, บ้านป่าข้าวหลาม, และดอยม่อนล้าน

รวมถึงในพื้นที่ห่างไกลอย่างชายแดน โดยทำงานร่วมกับ GULF และ สวพส. ในโครงการ Green Energy Green Network For Thais พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและโครงข่ายดิจิทัลในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนทั้งการเรียนการสอน, วิถีชีวิตโดยช่วยสร้างาน สร้างอาชีพ รวมถึงการแพทย์ทางไกล

“เราก็เป็นผู้โพรไวด์ทั้งระบบสื่อสารและไฟฟ้า ดังนั้น นอกจากเรื่องสื่อสารมันไม่ใช่แค่โทรได้ แต่การสื่อสารเข้าถึงมันเปลี่ยนการใช้ชีวิต ทำให้เขาเข้าถึงอะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น การศึกษา ดังนั้น การสื่อสารมันไม่ใช่เเค่เรื่องการสื่อสาร แต่มันเปลี่ยนเเปลงวิถีชุมชน” กิตติ งามเจตนรมย์ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี AIS ทิ้งท้าย

]]>
1502445
สรุปสถิติ-เทรนด์น่าสนใจจาก #FacebookIRL https://positioningmag.com/1501451 Fri, 29 Nov 2024 12:30:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1501451 FacebookIRL หรือ Facebook In Real Life เป็นโครงการระดับโลกของ Meta เพื่อตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อผู้คนจำนวนหลายพันล้านทั่วโลก ซึ่งถูกจัดขึ้นใน 4 ประเทศทั่วโลก และ ‘ประเทศไทย’ เป็น 1 ใน 3 ประเทศนอกสหรัฐอเมริกาที่มีการจัดงานนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของบ้านเราต่อ Meta

 

ภายในงานได้มีการแชร์สถิติสำคัญ และเทรนด์น่าสนใจหลายอย่าง รวมถึงอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่กำลังจะเปิดตัวในไทยเร็ว ๆ นี้ ยกตัวอย่าง Meta AI เวอร์ชั่นภาษาไทยที่จะเปิดตัวภายในสัปดาห์หน้า พร้อมเผยถึงเทคนิคในการสร้าง Engagement บน Facebook

 

สถิติน่าสนใจ

 

– Meta มีผู้ใช้จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมแล้ว 3.29 พันล้านคน เพิ่มขึ้น 5% ทุกปี โดยเป็นผู้ใช้ Facebook มากกว่า 2 พันล้านคน

สำหรับในประเทศไทย Facebook มีผู้ใช้งานมากกว่า 60 ล้านคนต่อเดือน เพิ่มขึ้น 5%จากปีก่อน และมีผู้ใช้งาน Messenger กว่า 56 ล้านคนต่อเดือน

– บน Facebook มี Group มากกว่า 43 ล้านกลุ่ม และ 25 ล้านกลุ่มเป็นสาธารณะ ซึ่งในแต่ละเดือนมีผู้ใช้กว่า 1.8 ล้านคนมีส่วนร่วมในกลุ่ม

– Facebook มีผู้ใช้งานใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่ม Young Adult หรือคนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 19-29 ปี

คนรุ่นใหม่ใช้เวลา 60% เพื่อดูวิดีโอบน Facebook และ 50% ดู Reels

 

เทรนด์ที่มาแรง บน Facebook

 

– พฤติกรรมการใช้ Facebook ของกลุ่ม Gen Z เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมใช้เพื่อเชื่อมต่อกับผู้คน ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น Expand & Explore ซึ่งถือเป็นเทรนด์ใหม่ของกลุ่มนี้ โดยจะเน้นสำรวจความสนใจและค้นหาสิ่งใหม่ ๆ รวมถึงใช้ขยายคอมมูนิตี้ และคอนเน็กชันของตัวเอง

– Reel มาแรง และคนรุ่นใหม่เกินครึ่งจะดู Reels เป็นหลัก ที่สำคัญจะดูทุกวัน

– ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่จะแชร์วิดีโอในสาธารณะ แต่ตอนนี้พวกเขาจะแชร์เฉพาะตัวเองหรือกลุ่มเฉพาะ ทำให้เทรนด์ Private Sharing เติบโตขึ้นถึง 100% เมื่อเทียบกับปีก่อน

– 4 ฟีเจอร์บน Facebook ที่คนรุ่นใหม่นิยมใช้ ได้แก่ Market Place, Group, Event และ Messenger

ไฮไลต์ของ Meta AI มีอะไรบ้าง

 

– Meta ได้ลงทุนเงินกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับเรื่อง AI เพื่อจะเป็นเบอร์ 1 ของโลกทางด้านนี้

– ตอนนี้มีผู้ใช้งาน Meta AI อยู่ประมาณ 500 ล้านคน

– บน Facebook มีผู้ใช้ราว 15 ล้านคน ใช้ Generative AI สำหรับทำคอนเทนต์และโฆษณา

Meta AI เวอร์ชั่นภาษาไทยกำลังจะเปิดตัวในสัปดาห์หน้า

– Meta AI จะมีฟีเจอร์ใหม่เพื่อช่วยให้ Admin สามารถบริหารจัดการคอมเมนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือและฟีเจอร์อื่น ๆ อาทิ Imagine yourself ที่ AI จะช่วย Gen ภาพตามที่ต้องการ และ AI Comment Summary สำหรับช่วยสรุปเนื้อหา และไฮไลต์คอนเทนต์หลักในโพสต์ เป็นต้น

 

อัปเดตเทรนด์ Creator สร้างรายได้น่าสนใจ

 

ทาง Facebook เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีครีเอเตอร์กว่า 4 ล้านคนที่สร้างรายได้บน Facebookโดยระหว่างปี 2023 จนถึงปี 2024 Facebook ได้จ่ายเงินค่าตอบแทนให้ครีเอเตอร์ที่ทำคอนเทนต์ไปแล้วกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวส่วนมากเป็นคอนเทนต์ Reels ที่เติบโตสูงถึง 80%

นอกจากนี้ Facebook ยังได้แนะนำครีเอเตอร์ที่ต้องการปั้นช่องและสร้างรายได้ว่า ให้เปิด Professional Mode เพื่อให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือและข้อมูลอินไซต์ต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของคอนเทนต์แต่ละตัว รวมไปถึงการสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มด้วยรูปแบบต่าง ๆ

ขณะเดียวกัน Facebook ยืนยันว่า สนับสนุนครีเอเตอร์ที่โพสต์คอนเทนต์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น บทความ ภาพ วิดีโอ และวิดีโอสั้น ซึ่งประสิทธิภาพของคอนเทนต์ขึ้นอยู่กับความน่าสนใจ และการทำได้อย่างตรงจุด ไม่ได้เกี่ยวกับรูปแบบของการโพสต์

ยกตัวอย่างที่มีครีเอเตอร์หลายครีเอเตอร์ โดยเฉพาะสื่อ นิยมโพสต์คอนเทนต์ในรูปแบบสเตตัส เพราะเชื่อว่า เอนเกจจะดีกว่ารูปแบบบทความ ถือเป็นความเชื่อที่ไม่ตรงกับความจริง

 

 

]]>
1501451
‘Huawei’ เปิดตัว Mate 70 เรือธงรุ่นแรกที่ใช้ระบบปฏิบัติการ ‘HarmonyOS NEXT’ เต็มรูปแบบ พร้อมประกาศเลิกใช้ Android อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2569 https://positioningmag.com/1500893 Tue, 26 Nov 2024 13:40:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1500893 หลังกลับมาสู่ตลาดสมาร์ทโฟนจีนด้วย Huawei Mate 60 เรือธงรุ่นแรกที่รองรับ 5G แถมใช้ชิปขนาด 7 นาโนเมตรของตัวเอง และปีนี้ Huawei ได้เปิดตัวเรือธงรุ่นใหม่ Mate 70 ซีรีส์ ที่ทำงานบน HarmonyOS NEXT ระบบปฏิบัติการมือถือที่พัฒนาขึ้นเองเต็มรูปแบบรุ่นแรกของบริษัท

หัวเว่ย (Huawei) ได้เปิดตัวซีรีส์ Mate 70 สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุดที่เป็นรุ่นต่อจาก Mate 60 ซึ่งถือเป็นรุ่นที่ส่งแรงกระเพิ่มในตลาดจีนอย่างมาก รวมถึงยังตอกกลับ สหรัฐฯ ที่จำกัดการเข้าถึงชิป ด้วยการเป็นรุ่นแรกที่รองรับ 5G ด้วยชิปขนาด 7 นาโนเมตรที่พัฒนาเองในประเทศ 

และอย่างที่หลายคนรู้ว่าหัวเว่ย ถูกแบนจากการทำธุรกิจกับบริษัทสหรัฐฯ ทำให้หัวเว่ยไม่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการ Android ของ Google ตั้งแต่ปี 2019 ทําให้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีนต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ของตัวเองซึ่งก็คือ HarmonyOS

อย่างไรก็ตาม ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS เวอร์ชันแรก ๆ ของบริษัทสร้างขึ้นยังคงรองรับระบบปฏิบัติการ Android อยู่ แต่ Huawei Mate 70 ซีรีส์นี้ จะทํางานบน HarmonyOS NEXT ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการมือถือที่พัฒนาขึ้นเองเต็มรูปแบบตัวแรกของบริษัท 

โดยหัวเว่ยตั้งเป้าจะเลิกใช้ระบบปฏิบัติการ Android อย่างสมบูรณ์ภายในปี 2569 และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หัวเว่ยจะอัปเกรดซอฟต์แวร์ให้สินค้ารุ่นเก่าบางรุ่นให้ใช้ระบบปฏิบัติการ HarmonyOS NEXT ใหม่นี้ ซึ่งการที่หัวเว่ยจะเลิกพึ่งพาระบบปฏิบัติการ Android ถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสหรัฐฯ

สำหรับ Mate 70 ซีรีส์ จะมีหน่วยประมวลผลที่ได้รับการยกระดับ ซึ่งดำเนินการด้วยระบบปฏิบัติการ HarmonyOS Next ของหัวเว่ยเอง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขึ้น 40% เมื่อเทียบกับรุ่นก่อน โดย Mate 70 ซีรีส์จะมีทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่

  • Mate 70 (เริ่มต้น 5,499 หยวน หรือราว 26,300 บาท)
  • Mate 70 Pro (เริ่มต้น 6,499 หยวน หรือประมาณ 31,000 บาท)
  • Mate 70 Pro+ (เริ่มต้น 8499 หยวน หรือประมาณ 40,700 บาท)

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเปิดตัว Mate X6 สมาร์ทโฟนจอพับ ราคาเริ่มต้นที่ 12,999 หยวน หรือราว 62,159 บาท

โดยหลังจากเปิดให้จอง Mate 70 ซีรีส์ ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา สามารถทำยอดจองได้ถึง 3 ล้านเครื่อง อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงยอดจองเท่านั้น ไม่ใช่ยอดขาย ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา หัวเว่ยอยู่ อันดับ 3 ตามหลัง Apple ที่อยู่อันดับ 2 ด้วยส่วนแบ่งการตลาด 15.3% โดยการจัดส่งสมาร์ทโฟนของหัวเว่ยเพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามข้อมูล IDC

Source

]]>
1500893
สำรวจเทรนด์ Social Media Marketing ปี 2025 สิ่งที่แบรนด์ต้องรู้มีอะไรบ้าง? https://positioningmag.com/1499277 Fri, 15 Nov 2024 06:53:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1499277 Social Media ถือเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่แบรนด์ต่าง ๆ ให้ความสำคัญ บทความนี้จึงอยากจะมาอัปเดตเทรนด์ Social Media Marketing ปี 2025 เพื่อให้นักการตลาดและแบรนด์เตรียมความพร้อมในการวางกลยุทธ์พิชิตใจลูกค้าและสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจแบบไม่ตกขบวน ก่อนจะก้าวเข้าสู่ปี 2025 ซึ่งเป็นอีกปีที่เต็มไปด้วยความท้าทายมากมาย   

อยากที่ทราบกันว่า โลกของ Social Media เองก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากใครสามารถจับกระแส หรือ  เทรนด์ได้ก่อนอย่างแม่นยำ นั่นหมายถึงโอกาสทางการตลาดที่เพิ่มขึ้น แล้วในปี 2025 ทิศทางและแนวโน้มของ Social Media Marketing จะเป็นอย่างไร มีอะไรน่าสนใจบ้าง

AI อาวุธที่ต้อง (นำมา) ใช้

ช่วงปีที่ผ่านมาคำว่า AI อาจเป็นคำฮิตที่เราได้ยินกันบ่อย แต่ในปี 2025 AI จะถูกนำมาใช้มากขึ้นในแวดวงต่าง ๆ รวมถึงการทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย โดย AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสร้างคอนเทนต์และช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของโซเชียลมีเดียให้ดีขึ้น ด้วยการเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูล, สร้างเนื้อหา และแม้แต่ตั้งโพสต์อัตโนมัติให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้นักการตลาดมีเวลาสำหรับการคิดสร้างสรรค์และวางกลยุทธ์มากขึ้นแทนที่จะต้องเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับการจัดการกับงานซ้ำๆ

ความสำคัญของ AI กับ Social Media Marketing ยังสะท้อนได้จากการประกาศทุ่มการลงทุนด้าน AI ของ Meta เจ้าของแพลตฟอร์ม Facebook, Instagram และ WhatsApp เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มให้ดีเหนือคู่แข่ง ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่แบรนต้องติดตามการเปลี่ยนแปลงและนำมาผสมผสานให้เข้ากับกลยุทธ์โซเชียล มีเดียของตัวเอง

Short Video ยังไม่ไปไหน

ในปี 2025 Short  Video หรือวิดีโอสั้นยังคงเป็นเนื้อหาที่ได้รับความนิยมและครองส่วนแบ่งการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น TikTok, Instagram, Reels และ YouTube แต่ประเด็นที่น่าสนใจมากไปกว่านั้น คือ ผู้คนจะไม่ได้แค่เลื่อนดูเนื้อหาเฉยๆ แต่กำลังพยายามเชื่อมต่อกับแบรนด์ หากแบรนด์นั้นสามารถบอกเล่าเรื่องราวได้น่าสนใจในเวลาที่รวดเร็ว

สำหรับวีดีโอสั้นที่สามารถดึงดูดสายตาและเข้าถึงผู้ชมได้อย่างรวดเร็ว ต้องบอกเล่าเรื่องราวหรือส่งสารที่เป็น Call Value ภายในไม่เกิน 30 วินาที นั่นเพราะว่าปัจจุบันช่วงความสนใจโดยเฉลี่ยของผู้ใช้โซเชียลมีเดียกำลังลดลง โดยแบรนด์ต้องนำเสนอเนื้อหาที่เน้นย้ำถึงคาแรกเตอร์และคุณค่าของแบรนด์ได้ตรงประเด็น มีความสมจริง

นอกจากนี้ ในปี 2025 แบรนด์ที่ได้รับชัยชนะจะไม่ใช่แค่แบรนด์ที่ทุ่มงบ เพื่อให้มีเสียงดังที่สุดในการสื่อสารเท่านั้น เนื่องจากการทำการตลาดผ่านวิดีโอสั้นให้ประสบความสำเร็จ กุญแจสำคัญยังขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการโพสต์ด้วย เพราะการโพสต์เป็นประจำจะเป็นการสร้างการรับรู้และช่วยให้แบรนด์อยู่ในใจของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

AR ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นกระแสหลัก

เทรนด์ที่เราจะเห็นต่อมาของ Social Media Marketing ในปีหน้า ก็คือ Augmented Reality หรือ AR จะไม่ใช่แนวคิดที่ล้ำยุคอีกต่อไป แต่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโซเชียลมีเดีย ที่จะเปลี่ยนวิธีการโต้ตอบระหว่างผู้บริโภคกับแบรนด์และสร้างประสบการณ์ลองสินค้าแบบสมจริง เพื่อช่วยลดความลังเลใจจากการช้อปปิ้งออนไลน์ได้เป็นอย่างดี

สำหรับแบรนด์ที่ต้องการนำ AR มาใช้ประโยชน์ในการทำมาร์เก็ตติ้ง สามารถเริ่มต้นง่าย ๆ เช่น หากเป็นผู้นำแบรนด์ความงาม อาจลองพิจารณาใช้ฟิลเตอร์ที่ให้ผู้ใช้สามารถลองเครื่องสำอางได้เสมือนจริง หรือหากอยู่ในธุรกิจค้าปลีกหรืออีคอมเมิร์ซ อาจใช้ AR มาผสมผสานรวมกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มรายใหญ่ อาทิ Instagram และ Snapchat ที่มีการนำเสนอเครื่องมือนี้อยู่แล้วก็ได้ แต่ขอให้เริ่มและลงมือนำมาใช้เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้าและสร้างโอกาสในการเติบโตของแบรนด์

ความถูกต้องตามจริงเป็นสิ่งสำคัญ

ผู้คนเบื่อหน่ายกับโฆษณาที่ดูดีเกินจริง เพราะฉะนั้น ในปี 2025 การนำเสนอคอนเทนต์ที่ถูกต้องตามจริงจึงสำคัญมาก ๆ และเนื้อหาที่สร้างโดย UGC (User Generated Content) หรือ คอนเทนต์ที่ผู้บริโภคหรือลูกค้ากลุ่มเป้าหมายผลิตขึ้นมาเอง ด้วยการพูดถึงแบรนด์ที่ประทับใจหรือให้ความสนใจโดยแบรนด์ไม่ต้องเสียเงินจ้างแม้แต่บาทเดียว จะยังคงเป็นหนึ่งในวิธีที่สร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ได้อย่างทรงพลังที่สุด

ดังนั้นแบรนด์ จึงควรสร้างแคมเปญเชิญชวนให้ผู้บริโภคเข้ามาแบ่งปันเรื่องราวของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการให้ติดแฮชแท็กบน TikTok หรือไฮไลต์การรีวิวบน Instagram ด้วยการกระตุ้นให้ลูกค้าแบ่งปันประสบการณ์ของตนเองเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ได้รับจากแบรนด์ ซึ่งไม่เพียงจะเป็นการสร้างคอมมูนิตี้เท่านั้น แต่ยังเพิ่มการพิสูจน์ทางสังคมที่โฆษณาใดๆ ไม่สามารถเลียนแบบได้

Micro Influencer มาแรง

ในอดีตการใช้ Influencer ในการทำมาร์เก็ตติ้ง แบรนด์ส่วนใหญ่มักจะให้ความสำคัญที่จะร่วมมือกับ Influencer ที่มีผู้ติดตามหลายล้านคน แต่สำหรับปี 2025 การทำมาร์เก็ตติ้งผ่านรูปแบบนี้ แบรนด์จะหันมาโฟกัสกับ Micro Influencer หรือ Influencer ที่มีผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดียประมาณ 10,000 – 100,000 คน

ทำไมแบรนด์ถึงให้ความสำคัญกับ Micro Influencer ? นั่นเพราะว่า เป็นกลุ่มที่มียอด Engagement ค่อนข้างสูง และผู้บริโภคมีแนวโน้มเชื่อในรีวิวของ Influencer กลุ่มนี้จากความน่าเชื่อถือ ดูเรียล และดูจริงใจ ซึ่งจะส่งดีต่อแบรนด์

อย่างไรก็ตาม นอกจากเทรนด์ข้างต้นแล้ว สิ่งที่นักการตลาดและแบรนด์ต้องตระหนักถึงให้มากในปี 2025 กับการทำ Social Media Marketing ก็คือ การวางแผนให้เตรียมพร้อมรับมือเมื่อเกิดวิกฤตต่าง ๆ จากโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น ความผิดพลาดในการประชาสัมพันธ์ การละเมิดข้อมูล หรือโพสต์ที่สร้างความขัดแย้ง

เพราะด้วยการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วของโซเชียลมีเดีย สามารถสร้างและทำลายชื่อเสียงของแบรนด์ได้ภายในเวลาไม่กี่นาที ฉะนั้น เมื่อเกิดความผิดพลาด หรือเหตุการณ์ไม่คาดคิด จึงจำเป็นต้องมีแผนบริหารจัดการวิกฤตของโซเชียลมีเดียให้ชัดเจน ซึ่งเป็นอีกสิ่งสำคัญของ Social Media Marketing

ที่มา : Forbes, Medium

]]>
1499277
สหรัฐฯ สั่ง ‘TSMC’ ห้ามส่งชิปขั้นสูงให้ ‘จีน’ หวังสกัดการพัฒนา AI https://positioningmag.com/1498278 Mon, 11 Nov 2024 04:25:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498278 สหรัฐอเมริกา ยังคงเดินหน้าแบนหัวเว่ย โดยไม่ใช่แค่คุมเข้มการส่งออก ชิป หรือ เซมิคอนดักเตอร์ ของบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ เพราะหลังจากที่มีการพบว่า หัวเว่ย ได้ใช้ชิปจาก TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปสัญชาติไต้หวัน ทำให้สหรัฐฯ ได้ขอให้เลิกจัดส่งชิปขั้นสูงไปยังจีน

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ขอให้ TSMC หรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำของโลก หยุดส่งชิปขนาด 7 นาโนเมตร หรือมากกว่า ซึ่งเป็นชิปขั้นสูงที่มีไว้สําหรับขับเคลื่อน AI และหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ไปยังประเทศจีน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 11 พ.ย. นี้

โดยก่อนหน้านี้ ทาง Tech Insights บริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีได้แยกชิ้นส่วนสินค้าของ หัวเว่ย (Huawei) ที่เผยให้เห็นชิปของ TSMC อยู่ภายใน ซึ่งถือเป็นการ ละเมิดการควบคุมการส่งออก เพราะหัวเว่ยถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ ส่งผลให้ทาง TSMC ต้องหยุดจัดส่งชิปให้กับบริษัท Sophgo เนื่องจากคาดว่าเป็นบริษัทที่ส่งต่อชิปให้ทางหัวเว่ย

จากเหตุการณ์ดังกล่าวนำมาสู่การปราบปรามครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายในจีน และจะช่วยให้สหรัฐฯ ประเมินว่าบริษัทอื่น ๆ กําลังเปลี่ยนเส้นทางชิปสําหรับ AI ไปยังหัวเว่ยหรือไม่ 

ที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ร่างกฎใหม่เกี่ยวกับการส่งออกอุปกรณ์ทําชิปจากต่างประเทศ และวางแผนที่จะเพิ่มบริษัทจีนประมาณ 120 แห่ง ในรายชื่อนิติบุคคลที่จํากัดของกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงโรงงานผลิตชิป ผู้ผลิตเครื่องมือ และบริษัทที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ร่างดังกล่าวยังไม่ถูกบังคับใช้

ทั้งนี้ จากรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ผ่านมาของ TSMC แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีรายได้จากชิปขนาด 7 นาโนเมตรหรือชิปขั้นสูงถึง 69% จากรายได้ทั้งหมด 

Source

]]>
1498278
จับตา ‘ซัมซุง’ เข้าสังเวียนชิปเอไอ หลังถูก SK Hynix คู่แข่งร่วมชาติปาดหน้า จนมูลค่าบริษัทร่วง 4 ล้านล้านบาท https://positioningmag.com/1498217 Fri, 08 Nov 2024 14:01:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498217
ในวันที่แอปพลิเคชัน AI เช่น ChatGPT ของ OpenAI ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จําเป็นในการฝึกโมเดลขนาดใหญ่ก็เติบโตขึ้นตาม ซึ่งหนึ่งในหัวใจหลักของโครงสร้างพื้นฐานก็คือ หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ซึ่งนั่นทำให้ Nvidia บริษัทผู้ผลิต GPU ชั้นนำของโลกกลายเป็นผู้เล่นเบอร์ 1 ในตลาด และกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดในโลก เนื่องจาก GPU ของ Nvidia ได้กลายเป็นมาตรฐานที่ใช้โดยยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสําหรับการฝึกอบรม AI

อย่างไรก็ตาม ส่วนสําคัญของสถาปัตยกรรมเซมิคอนดักเตอร์นั้นคือ หน่วยความจําแบนด์วิดท์สูง หรือ HBM ซึ่งก่อนที่ AI จะเติบโตตลาด HBM นั้นมีขนาดค่อนข้างเล็ก และนั่นคือจุดที่ ซัมซุง (Samsung) พลาดไป เพราะบริษัทไม่ได้มุ่งเน้นที่จะพัฒนาในส่วนนี้ เนื่องจากมีความซับซ้อนและลงทุนสูง แถมตลาดยังเล็ก

อย่างไรก็ตาม SK Hynix มองเห็นโอกาสนี้ บริษัทเปิดตัวชิป HBM ซึ่งชิปดังกล่าวได้รับการอนุมัติให้ใช้ในสถาปัตยกรรม Nvidia ส่งผลให้บริษัท SK Hynix จึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Nvidia

ด้วยเหตุนี้เองทำให้ซัมซุงต้องพ่ายให้กับ SK Hynix จนทำให้บริษัทสูญเสียมูลค่าตลาดไปถึง 126,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 4 ล้านล้านบาท เพราะแม้ว่าซัมซุงจะมีธุรกิจหลากหลาย และรายได้หลักจะมาจากธุรกิจอย่างสมาร์ทโฟนกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ธุรกิจชิปเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้ดีที่สุด ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ผลประกอบการของซัมซุงจะลดลง จนทำให้บริษัทต้องยอมออกมาขอโทษบรรดานักลงทุน ในขณะที่ SK Hynix กลับสามารถทำกำไรสูงเป็นประวัติศาสตร์ในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ซัมซุงกำลังเร่งผลิต HBM ในชื่อ HBM3E โดยในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ยอดขาย HBM ของซัมซุงเติบโตกว่า 70% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 และซัมซุงได้เปิดเผยว่ากำลังพัฒนา HBM4 ซึ่งเป็นรุ่นถัดไป โดยคาดว่าจะสามารถผลิตจำนวนมากได้ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2025

แม้ว่าซัมซุงจะมี HBM3E ในตลาด แต่ยังถือว่าตามหลังคู่แข่งอย่าง SK Hynix อยู่ ดังนั้น ถ้าซัมซุงจะกลับมาสู่ตลาด HBM ในตอนนี้อาจต้องรอ Nvidia คัดเลือก ซึ่งในปัจจุบันซัมซุงยังไม่เสร็จสิ้นการตรวจสอบนี้ และถ้าซัมซุงได้ไฟเขียวจาก Nvidia ก็จะทำให้ซัมซุงกลับสู่การเติบโตและแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นกับ SK Hynix โดยทางซัมซุง

โดยทางซัมซุง เปิดเผยว่า บริษัทมีความก้าวหน้าเกี่ยวในกระบวนการคัดเลือกของ Nvidia ว่า เสร็จสิ้นขั้นตอนสําคัญในกระบวนการคัดเลือก และคาดว่าจะเริ่มขยายยอดขายในไตรมาส 4 ในขณะที่นักวิเคราะห์เชื่อว่า ด้วยความแข็งแกร่งของซัมซุงในการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนความสามารถในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของบริษัท อาจจะช่วยให้บริษัทตามทัน SK Hynix ได้

]]>
1498217
Kintone ชูโซลูชันการทำงานแบบ No-code เครื่องมือผลักดัน SMBs ไทย สู่องค์กรดิจิทัลยุคใหม่ ตั้งเป้าผู้ใช้งาน 5,000 บริษัท ภายใน 3 ปี https://positioningmag.com/1497090 Fri, 01 Nov 2024 10:53:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1497090 Kintone (ประเทศไทย) บริษัทในเครือของ Cybozu ผู้ให้บริการกรุ๊ปแวร์สำหรับธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการศึกษาตลาดดิจิทัลโซลูชันในประเทศไทยมากว่า 4 ปี และได้ค้นพบ Pain Point จึงสร้างโซลูชันพื้นที่การทำงานรูปแบบ DIY ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างหรือปรับแต่งได้เองแบครบวงจร โดยไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญด้านไอที และไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรม (no-coding) ให้ยุ่งยาก ช่วยตอบโจทย์การทำงานของผู้คนในส่วนต่าง ขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนโฉมออฟฟิศรูปแบบเดิม สู่องค์กรดิจิทัลแบบ Do-It-Yourself (DIY) ส่งเสริมองค์กรไทยให้สามารถนำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อการเติบโต ลดระยะเวลาการทำงาน เพิ่มยอดขาย และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในระดับประเทศและระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Kintone ได้ออกแบบระบบการทำงานที่มุ่งเน้นในเรื่องความปลอดภัย (Security) ของข้อมูลลูกค้าเป็นหลัก พร้อมชูในเรื่องความยืดหยุ่น (Flexible) ของโซลูชันการทำงาน ที่มี Template ให้เลือกหลากหลาย สามารถตอบโจทย์การทำงานได้ทุกรูปแบบในองค์กร เช่น ฝ่ายบุคคล ฝ่ายขาย หรือฝ่ายจัดซื้อ และอื่น ทำหน้าที่เป็นระบบศูนย์กลาง มุ่งเน้นการแบ่งปันฐานข้อมูล ช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน ลดเวลาการทำงาน เพิ่มยอดขาย รวมถึงเสริมประสิทธิภาพให้องค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) ของไทย

นายน้ำยา วายุภาพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Kintone (Thailand) เปิดเผยว่าตามข้อมูลของ Deloitte (ดีลอยท์) ประเทศไทย พบว่า องค์กรส่วนใหญ่เร่งที่จะปรับรูปแบบองค์กรสู่องค์กรดิจิทัล ในปี 2021 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในระยะแรกๆ แต่ก็ยังมีบางองค์กรไม่ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงประสิทธิภาพทางธุรกิจ เนื่องจากขาดประสบการณ์และการดําเนินการล่าช้า ต่อมาในปี 2022-2023 องค์กรต่างๆ เริ่มมีการปรับตัวเชิงกลยุทธ์และเลือกใช้แนวทางที่เหมาะกับองค์กรของตนมากขึ้น โดยอัตราความสําเร็จในการปรับตัวสู่องค์กรดิจิทัลก็ดีขึ้นเช่นกัน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจึงอยู่ในระดับปานกลางตลอดปี 2023 ที่สำคัญคือ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจ ทรงพลังมากที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยประชากรกว่า 80% สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และเป็นบริษัทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) มากกว่า 99% ซึ่งบริษัทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต่างให้ความสนใจในการลงทุนเปลี่ยนโฉมสู่ออฟฟิศดิจิทัลมากถึง 43% แต่ก็ยังคงมีอุปสรรคในการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้

SMBs ต้องระมัดระวังเรื่องต้นทุน แต่โซลูชันดิจิทัลยังช่วยได้

ขณะที่ตลาดเทคโนโลยีโลกมีโซลูชันการทำงานให้เลือกใช้มากมาย แต่เจ้าของธุรกิจชาวไทยจำนวนมากยังคงกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและการบำรุงรักษาระบบใหม่ที่มีความซับซ้อน ส่งผลให้บริษัทธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) ส่วนใหญ่ ไม่ได้มีการจ้างบุคลากรไอทีที่มีความสามารถในตลาด และมีความต้องการสูงในประเทศได้ อีกทั้ง เมื่อพิจารณาถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ก็ยังมีความกังวลหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการนำโซลูชันซอฟต์แวร์มาใช้ ซึ่งอาจถูกออกแบบให้มีราคาย่อมเยาในช่วงเริ่มต้น แต่ค่าสมาชิกในระยะยาวอาจมีการปรับเพิ่มมากขึ้น ทำให้องค์กรต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น องค์กรควรประเมินค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ พร้อมทั้งพิจารณาถึงความคุ้มค่า และการประหยัดต้นทุนในระยะยาว รวมถึงสำรวจทางเลือกอื่นๆ ให้เหมาะสมกับองค์กรก่อนตัดสินใจเลือกซื้อโซลูชันซอฟต์แวร์ 

จากสถานการณ์ดังกล่าว Kintone ผู้สร้างดิจิทัลโซลูชันการทำงานแบบ DIY เป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาเปลี่ยนโฉมวงการธุรกิจไทย สร้างระบบใหม่ให้สามารถใช้งานควบคู่กับระบบเดิม ผลักดันให้องค์กรในไทยสามารถทำ Digital Transformation ขับเคลื่อนองค์กรไปได้ไกลยิ่งขึ้น โดยตอบสนองได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน ผ่านการสร้างแอปพลิเคชันที่สามารถจัดการกระบวนการทำงานด้วยตนเองได้แบบครบวงจรแบบ all-in-one พร้อมออกแบบ Workflow ในองค์กรได้แบบไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรม (no-coding) ให้ยุ่งยาก และเชื่อมต่อทุกระบบผ่าน Cloud Service ทำให้พนักงานที่อยู่ที่สำนักงาน บ้าน หรือที่ออกไปพบปะลูกค้า สามารถเข้าถึงระบบการทำงานได้อย่างง่ายดาย ขณะเดียวกัน Kintone ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของหลายฟังก์ชั่นธุรกิจในองค์กร เช่น ฝ่ายบุคคล, ฝ่ายขาย, ฝ่ายผลิต, ฝ่ายจัดซื้อ, ฝ่าย IT, ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์, ฝ่ายวางแผนองค์กร และอื่นๆ ทำหน้าที่เป็นระบบศูนย์กลาง ช่วยลดต้นทุนในการดำเนินงาน ลดเวลาการทำงาน เพิ่มยอดขาย รวมถึงเสริมประสิทธิภาพให้องค์กร ไม่ว่าจะเป็นเอกสารกองโต ไฟล์งานที่กระจัดกระจาย การประสานงานที่ล่าช้าและซ้ำซ้อน ช่วยลดความเสี่ยงข้อมูลหาย โดย Kintone จะช่วยเพิ่มความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และรับมือกับคู่แข่งได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประสบความสำเร็จในเศรษฐกิจยุคใหม่ 

จุดเด่นของ Kintone คือ การนำ SaaS (Software as a Service) เข้ามาปรับใช้กับธุรกิจของ Kintone เป็นการให้บริการในด้านซอฟต์แวร์รูปแบบหนึ่ง ผ่านระบบ Cloud ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็สามารถเข้าใช้งานได้หลายซอฟต์แวร์ เช่น E-mail, Dropbox, Canva รวมถึงซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมที่ต้องใช้งานในรูปแบบออฟไลน์ ก็มีการพัฒนามาใช้ในรูปแบบ SaaS แทน เช่น Microsoft Office 365 ที่เปลี่ยนมาเป็น Google Docs, Google Sheets, Google Slides เป็นต้น เป็นการช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับโลกดิจิทัล และนำข้อมูลมาสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งซอฟต์แวร์ SaaS ก็มีความยืดหยุ่น เพราะสามารถเปลี่ยนแพ็คเกจการสมัครสมาชิกให้ขยายไปพร้อมกับธุรกิจที่กำลังเติบโตได้ ตามความต้องการ โดย ซอฟต์แวร์ SaaS ของ Kintone มีระบบรองรับการสำรองข้อมูล และการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง ซึ่งบริการดังกล่าว ลูกค้าจ่ายค่าบริการเพียงแค่ค่าการสมัคร สำหรับผู้ล็อกอินเข้ามาใช้งาน เบื้องต้น 1 บริษัทที่ต้องการให้พนักงานเข้าใช้งาน 5 คน เฉลี่ยต่อเดือนจ่ายเพียงประมาณ 4,000 บาทเท่านั้น

ระบบ DIY ไม่ใช่การพึ่งพาตัวเองทั้งหมด

แม้โซลูชันการทำงานแบบ DIY ของ Kintone จะถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งระบบเองได้ 100% แต่ไม่ได้หมายความว่าความรับผิดชอบทั้งหมดจะอยู่ที่ผู้ใช้งาน 100% เนื่องจาก Kintone มีทีมงานซัพพอร์ตสำหรับผู้ใช้งานคนไทยด้วยภาษาไทย พร้อมให้การสนับสนุนที่ครอบคลุมทั้งการติดตั้ง การออกแบบรูปแบบการทำงาน รวมถึงการให้ความช่วยเหลือจากทีมให้ความรู้ด้านดิจิทัลตลอดเวลา ซึ่งทีมงานทุกคนมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและพลวัตในองค์กร ทำให้มั่นใจได้ว่าจะให้คำแนะนำผู้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจและพนักงานมีความรู้ด้านดิจิทัลที่จำเป็น โดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพทั้งหมดของเทคโนโลยี DIY 

ทั้งหมดถือเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญ ในการเร่งการปฏิรูปองค์กรดิจิทัลในประเทศไทย ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ กระบวนการทำงาน และการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) จำเป็นต้องมีโซลูชันที่คำนึงถึงราคา ที่สามารถเข้าถึงได้ และความสามารถในการแก้ไขปัญหา เพื่อลดช่องว่างทางด้านทักษะดิจิทัลของคนในองค์กร การนำโซลูชัน DIY มาใช้มากขึ้น ประเทศไทยจะสามารถสร้างสภาพแวดล้อมดิจิทัลที่ครอบคลุมมากขึ้น ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางสามารถเติบโตในเศรษฐกิจยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืน

โอกาสการเติบโตของ Kintone ยังมีอีกมาก เนื่องจากปัจจุบัน Kintone มีลูกค้าในประเทศไทยประมาณ 300-400 บริษัท จากทั้งหมด 1,200 บริษัท ในกลุ่มประเทศ SEA (South East Asia) ซึ่งเราเห็นจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น จากบริษัทไทยที่กำลังมองหาระบบ ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งทางบริษัท เน้นอยู่ 3 กลุ่มธุรกิจด้วยกัน คือ เซอร์วิส เทรดดิ้ง, แมนูแฟกเจอริ่ง รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ก็สามารถใช้โซลูชันของทาง Kintone ได้ ทั้งนี้ Kintone ตั้งเป้าที่จะเข้าถึงลูกค้า 5,000 บริษัท ในกลุ่มประเทศ SEA ให้ได้ภายในระยะเวลา 3 ปีนายน้ำยา กล่าวทิ้งท้าย

]]>
1497090
มองอนาคต ‘Tesla’ ภายในปี 2029 รายได้หลักจะไม่ได้มาจากการขาย ‘รถอีวี’ แต่เป็น ‘ซอฟต์แวร์’ https://positioningmag.com/1495845 Mon, 28 Oct 2024 07:59:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495845 แม้ภาพในปัจจุบันของ เทสลา (Tesla) ที่คนภายนอกมองจะเป็นบริษัทผู้ผลิตรถอีวี แต่ในมุมของนักลงทุน มองว่าอีกไม่กี่ปี รายได้หลักของบริษัทจะไม่ได้มาจากการขายรถ แต่เป็น ซอฟต์แวร์เอไอการขับขี่อัตโนมัติ

แม้ปัจจุบันรายได้ประมาณ 79% ของ Tesla มาจากการขายรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) แต่ Ark Investment Management ที่ลงทุนในหุ้นของ Tesla กลับประเมินว่า ภายในปี 2029 สัดส่วนรายได้ 86% ของ Tesla จะมาจากด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่จากการขายรถอีวี ซึ่งก็คือ ซอฟต์แวร์ระบบการขับขี่อัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Full Self-Driving: FSD) ของบริษัท

โดย Cathie Wood หัวหน้าของ Ark Investment Management มองว่า ยอดขายรถอีวีของ Tela กำลังชะลอตัว โดยในปี 2023 มียอดจัดส่ง 1.8 ล้านคัน แต่ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2024 กลับมียอดจัดส่งเพียง 1.29 ล้านคัน ซึ่งลดลง 2.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เปิดตัวรุ่น Model S ในปี 2011 แม้ว่าบริษัทจะลดราคาลงอย่างมาก เพื่อกระตุ้นตลาดแล้วก็ตาม

โดย Wood มองว่า ความต้องการในตลาดรถอีวีกําลังลดลง เนื่องจากท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ยากลําบาก ทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะรัดเข็มขัด อีกทั้งยังคงเลือกใช้รถยนต์สันดาปที่มีราคาถูกกว่า และมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานน้อยกว่า 

นอกจากนี้ Tesla ยังต้องเจอกับการแข่งขันที่รุนแรงจาก ค่ายรถจีน ที่มีราคาถูกกว่า แม้ว่า Elon Musk ซีอีโอของ Tesla มีแผนจะสร้างรุ่นราคาประหยัดมาสู้ก็ตาม โดยคาดว่าจะเข้าสู่การผลิตในปี 2025 และขายในราคา 25,000 ดอลลาร์ แต่สุดท้ายแล้ว Musk ก็สั่งพับโครงการนี้ไป พร้อมกับประกาศว่า อนาคตของบริษัทอยู่ที่ ยานพาหนะอัตโนมัติ แทน 

โดยบริษัทได้เปิดตัว Cybercab เมื่อต้นเดือนนี้ ซึ่งเป็นรถโรโบแท็กซี่ที่ขับขี่ด้วยตัวเองโดยไม่มีพวงมาลัยหรือคันเร่ง ซึ่ง Cybercab จะทํางานบนซอฟต์แวร์ FSD ของ Tesla ซึ่งบริษัทได้พัฒนามาหลายปีแล้ว อย่างไรก็ตาม มันยังไม่ได้รับการอนุมัติสําหรับการใช้งานในสหรัฐอเมริกา และคนขับที่เป็นมนุษย์ต้องพร้อมที่จะรับช่วงต่อตลอดเวลา แต่จากข้อมูลที่รวบรวมจากการทดสอบเบต้า เป็นไปได้ว่า Cybercab ปลอดภัยกว่ารถยนต์ทั่วไปบนท้องถนนอยู่แล้ว

ตามรายงานความปลอดภัยของยานพาหนะรายไตรมาสล่าสุดของ Tesla พบว่า เกิดอุบัติเหตุ 1 ครั้ง ทุก ๆ 7 ล้านไมล์ เมื่อเทียบกับการเกิดอุบัติเหตุทุก ๆ 7 แสนไมล์โดยเฉลี่ยในสหรัฐอเมริกา หรืออาจแปลได้ว่า FSD นั้นปลอดภัยกว่ายานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยมนุษย์ถึง 10 เท่า และตามสถิติ ซอฟต์แวร์จะยิ่งเก่งขึ้น เนื่องจากโมเดล AI ที่ใช้อ้างอิงนั้นเรียนรู้จากข้อมูลใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง 

ปัจจุบัน Tesla กําลังสร้างกลุ่มชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) 50,000 ชิ้นจาก Nvidia เพื่อฝึก FSD ต่อไป โดยบริษัทกําลังจะลงทุนมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ในโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูล AI ในปีนี้ ด้วยเหตุนี้ Musk จึงคาดหวังว่าซอฟต์แวร์จะได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานกํากับดูแลสําหรับการใช้งานรถอัตโนมัติในที่สุด และอาจจําหน่ายในเท็กซัสในปีหน้า และอาจเป็นแคลิฟอร์เนีย ดังนั้น Tesla หมายมั่นปั้นมือกับระบบ FSD มาก และคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้จาก 3 วิธี ได้แก่

  1. ขายซอฟต์แวร์ให้กับผู้ที่ซื้อรถของเทสลา
  2. การออกใบอนุญาตซอฟต์แวร์ให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นโดยมีค่าธรรมเนียม
  3. ผ่านเครือข่ายการเรียกรถที่เทสลาสร้างขึ้นเอง ซึ่งจะช่วยให้ Cybercabs สามารถขนส่งผู้โดยสารได้ตลอดเวลา (เช่น Uber ยกเว้นไม่มีคนขับโดยสิ้นเชิง)

ทั้งนี้ ธุรกิจซอฟต์แวร์มักจะมีอัตรากําไรขั้นต้น 80% หรือมากกว่า ซึ่งสูงกว่าอัตรากําไรขั้นต้นปัจจุบันของ Tesla ที่ 19.8% ในพอร์ตโฟลิโอธุรกิจฮาร์ดแวร์ในปัจจุบัน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ FSD มีโอกาสจะขึ้นมาเป็นรายได้หลักของบริษัทในอนาคต

โดยแบบจําลองทางการเงินของ Ark ชี้ให้เห็นว่า Tesla จะสร้างรายได้ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปีภายในปี 2029 โดย FSD และ Cybercab คิดเป็นสัดส่วน 63% อย่างไรก็ตาม ด้วยอัตรากําไรที่สูง Ark เชื่อว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะคิดเป็น 86% ของรายได้ที่คาดการณ์ไว้ 4.40 แสนล้านดอลลาร์ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจําหน่าย (EBITDA)

Source

]]>
1495845
มาแบบม้ามืด! ‘Vivo’ ขึ้นแท่นเบอร์ 1 ในตลาด ‘อินเดีย’ เป็นครั้งแรก แซงหน้า Xiaomi และ Samsung https://positioningmag.com/1495219 Mon, 21 Oct 2024 04:34:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495219 ตลาดสมาร์ทโฟนอินเดีย ถือเป็นอีกตลาดที่ทุกแบรนด์ให้ความสำคัญ เพราะด้วยขนาดประชากรที่ทะลุ 1,400 ล้านคน และเศรษฐกิจก็มีการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ก็มีม้ามืดขึ้นเป็นเบอร์ 1 ก็คือ วีโว่

ที่ผ่านมา ตำแหน่งผู้นำตลาดสมาร์ทโฟนอินเดียจะเบียดแย่งกัน 2 แบรนด์ ได้แก่ ซัมซุง (Samsung) และ เสียวหมี่ (Xiaomi) อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา วีโว่ (Vivo) ได้ขึ้นแซงเป็นเบอร์ 1 เป็นครั้งแรก ด้วยยอดจัดส่ง 9.1 ล้านเครื่อง เติบโต +26% ครองส่วนแบ่งตลาด 19% ตามรายงานจากบริษัทวิจัย Canalys

“การเติบโตของแบรนด์ได้รับแรงหนุนจากการขยายช่องทางการขายต่าง ๆ รวมถึงการเปิดตัวสินค้ารุ่นใหม่ในช่วงราคาที่สูงขึ้น” Sanyam Chaurasia นักวิเคราะห์อาวุโส Canalys กล่าว 

โดยอันดับ 2-5 ได้แก่

  • เสียวหมี่ มียอดจัดส่ง 7.8 ล้านเครื่อง (17%)
  • ซัมซุง มียอดจัดส่ง 7.5 ล้านเครื่อง (16%)
  • ออปโป้ (Oppo) มียอดจัดส่ง 6.3 ล้านเครื่อง (13%)
  • เรียลมี (Realme) มียอดจัดส่ง 5.3 ล้านเครื่อง (11%) 

ที่น่าสนใจคือ ออปโป้ ที่ถือเป็นแบรนด์ที่เติบโตเร็วที่สุดใน 5 อันดับแรก โดยมีการจัดส่งเพิ่มขึ้น +43%

ทั้งนี้ ตลาดสมาร์ทโฟนของอินเดียในช่วงไตรมาส 3 สามารถเติบโตได้ถึง 9% โดยมีการจัดส่งโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 47.1 ล้านเครื่อง เนื่องจากผู้ขายหลายรายเพิ่มยอดขายผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ในช่วงเทศกาลวันหยุด ขณะที่ผู้บริโภคชาวอินเดียที่ต้องการเปลี่ยนหรืออัปเกรดโทรศัพท์มือถือ ส่วนใหญ่จะต้องการรุ่นที่ แพงขึ้น เนื่องจากการเติบโตของกลุ่มสินค้าระดับกลางและระดับไฮเอนด์ รวมถึงโปรโมชั่นการนำเครื่องเก่ามาแลกซื้อเป็นส่วนลด 

ปัจจุบัน ตลาดสมาร์ทโฟนอินเดียเป็นตลาดต่างประเทศที่สําคัญสําหรับผู้ขายสมาร์ทโฟนชาวจีน ท่ามกลางการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แบรนด์จากจีนยังมีความท้าทายในเรื่องความไม่แน่นอน เนื่องจากความตึงเครียดของ 2 ประเทศ หลังจากเกิดการปะทะกันที่ชายแดนในปี 2020 ระหว่างกองกําลังจีนและอินเดีย ส่งผลให้บริษัทสมาร์ทโฟนของจีนได้กลายเป็นเป้าหมายของรัฐบาลอินเดียในข้อกล่าวหาเรื่องการหลีกเลี่ยงภาษีและการละเมิดทางการเงินอื่น ๆ

Source

]]>
1495219