#พีชแพท – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 23 Aug 2019 03:25:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชำแหละกรณีศึกษา Potato Corner ขี่กระแส #พีชแพท ขยี้ปมปั้นแบรนด์ปัง!! https://positioningmag.com/1243516 Thu, 22 Aug 2019 12:52:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243516 เป็นอีกกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นพลังโซเชียลหนุนแบรนด์แจ้งเกิด วันนี้เชื่อว่าชาวโซเชียลรู้จักร้าน Potato Corner ธุรกิจของพีช พชร จิราธิวัฒน์” เป็นอย่างดี หลังออกมายอมรับว่าเลิกรากับนางเอกแพทริเซีย กู๊ดทำให้หลายคนขอเลือกข้างปลอบใจหนุ่มพีช แห่อุดหนุนธุรกิจเฟรนช์ฟรายปรุงรส Potato Corner คิวยาว Sold Out ทุกสาขาในกรุงเทพฯ วานนี้ (21 ..)

สำรวจคิวร้าน Potato Corner วันนี้ (22 ส.ค.) หลายสาขาในกรุงเทพฯ คอนเฟิร์มคิวยังแน่น เพราะกระแส #พีชแพท ยังมี Story ต่อ หลัง “แพทริเซีย กู๊ด” ยอมรับว่าเลิกกันจริง ยิ่งมีปมบุคคลที่ 3 กระแสยิ่งยาวออกไป ร้าน Potato Corner ยิ่งเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาด้านแบรนด์และผู้แต่งหนังสือ “อัจฉริยะการตลาด” อธิบายกรณีกระแสโซเชียลแห่ซื้อเฟรนช์ฟราย ร้าน Potato Corner ของ “พีช พชร จิราธิวัฒน์ ทายาทเซ็นทรัล ว่า เป็นการแสดงพลังของชาวโซเชียล ที่พยายามให้กำลังใจสนับสนุน “พีช” และเป็นการแสดงให้เห็นว่าเลือกข้างไหน

ไม่ใช่แค่ให้กำลังใจคนคนหนึ่งเท่านั้น แต่สิ่งที่จับต้องได้ง่ายที่สุดของกรณีนี้ คือ แบรนด์ Potato Corner กลายเป็นตัวแทนของบุคคลคนหนึ่ง ซึ่งที่จริงจะหยิบแบรนด์อื่นที่เกี่ยวข้องกับ “พีช” มาแสดงออกก็ได้ เช่น ธุรกิจในกลุ่มเซ็นทรัล แต่ Potato Corner ถือว่าชัดเจน เพราะ “พีช” เป็นเจ้าของ เป็นสินค้าที่ซื้อง่ายขายคล่อง ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ชื่นชอบพีช

แต่เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่ผลกระทบกับอีกฝ่าย (แพทริเซีย) รวมทั้งมีปมเรื่องมือที่ 3 จึงไม่ใช่เพียงการให้กำลังใจ แต่เป็นการแสดงความเห็นและการแสดงออกแบบเลือกข้าง กระแสเรื่องนี้จึงถูกพูดถึงในหลายมุมและยังยืดเยื้อต่อไป

แบรนด์เก่งขี่กระแสเล่นทุกช่วง

ในมุมของแบรนด์ Potato Corner ที่เล่นกับกระแส “พีชแพท” ถือว่าทำได้ดี คือ เก็บทุกเม็ด ตั้งแต่ “ก่อน ระหว่างและหลัง” ที่ผ่านมาแบรนด์ที่ต้องการเล่นกับกระแสโซเชียล มักมีคำถามว่า จะหยิบช่วงจังหวะไหนมาเล่นดี คำตอบของเคสนี้ คือ ทำทุกช่วงตั้งแต่ “ก่อน ระหว่างและหลัง”

ภาพจากเฟซบุ๊ก Potato Corner Thailand

เริ่มทำ “ก่อน” กระแสคือ ตั้งแต่มีประเด็นของ “พีชแพท” ก่อนที่ “พีช” จะออกมาเคลียร์ คนส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยกับ Potato Corner และไม่รู้ว่าใครเป็นเจ้าของเพจ Potato Corner ก็เริ่มสร้างคอนเทนต์ “ให้กำลังใจนาย” ถือเป็นการกระพือไฟ โหมกระแสที่ถูกจุดให้แรงขึ้น

ช่วง “ระหว่าง” ที่เกิดกระแส คือ หลังจากที่ “พีช” ให้สัมภาษณ์ว่า “เลิก” กับแพทแล้ว เป็นช่วงพีคที่ชาวโซเชียลเห็นใจและต้องการแสดงออกถึงการเลือกข้างและสนับสนุน “พีช” ด้วยการซื้อ Potato Corner คราวนี้แบรนด์ก็ทำโปรโมชั่นร่วมกับเซอร์วิส “ฟู้ด เดลิเวอรี่” ต่างๆ และยิงโปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1

ปิดท้าย “หลัง” กระแสกับการโพสต์ Sold Out ขายเกลี้ยงทุกสาขาในกรุงเทพฯ เพื่อคอนเฟิร์มกระแสการสนับสนุนบอสพีช ถือเป็นการที่แบรนด์เล่นกับกระแสทุกช่วงของเหตุการณ์ ไม่ใช่เล่นจังหวะใดจังหวะหนึ่งเท่านั้น

ภาพจากเฟซบุ๊ก Potato Corner Thailand

พฤติกรรมเกาะกระแสแห่ทำตามกัน

ขึ้นชื่อว่าโซเชียล ปกติมาเร็วไปเร็ว แต่ถามว่ากระแส “พีชแพท” จะจบเร็วไหม ต้องบอกว่า พลังโซเชียลเป็นเรื่องเดาได้ยาก เพราะกระแสแห่ซื้อ Potato Corner วันนี้ส่วนหนึ่งมาจากกลุ่มที่ต้องการให้กำลังใจ “พีช” ที่ต่อเนื่องจากโลกโซเชียล

แต่อีกส่วนมาจากกระแสแห่ “ทำตามกัน” แบบว่าเห็นคนอื่นทำก็ทำบ้าง เห็นคนอื่นมีก็มีบ้าง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเสมอกับโลกโซเชียล เพราะไม่อยากตกกระแส

วันนี้ถือว่า Potato Corner สร้าง Brand Awareness ได้เป็นอย่างดี หลังจากนี้ต้องต่อยอดจากการรับรู้ไปสู่การเป็น “แฟนคลับ”ของแบรนด์

ถามว่ากระแส “พีชแพท” ที่จะสร้างแรงหนุนให้กับ Potato Corner จะอยู่ได้อีกนานไหม ต้องดูที่ Story หลังจากนี้ หากมีการโยงไปที่บุคคลอื่นๆ อีก กระแสก็ยังคงอยู่ แรงสนับสนุนก็ยังไปต่อได้ จากกระแสแห่ทำตามกัน

เกาะกระแสได้ต้องหลุดให้เป็น

สิ่งที่สำคัญ หากแบรนด์ต้องการเล่นกับกระแส ต้อง “เล่นเป็น เกาะเป็น และหลุดเป็น” กรณีหากมีปมที่เห็นว่าอาจเกิดปัญหากับกระแสที่เล่น แบรนด์ก็ต้องหลุดจากสถานการณ์ให้เป็น เช่น หากกระแสตีกลับมาที่ “พีช” และหากเป็น การกระทำที่ผิด จากแบรนด์ที่ให้กำลังใจบอส ก็ต้องต่อว่าบอสและขอโทษแทนบอสให้เป็นด้วยเช่นกัน หากแสดงออกแบบนี้ จะทำให้คนเห็นแบรนด์เป็นแบรนด์ ไม่ได้อิงกับตัวบุคคล

ข้อควรระหว่างของ “ทุกแบรนด์” คือ ไม่ควรขายด้วยตัวบุคคล หรือ นำแบรนด์ไปผูกติดกับตัวบุคคล เพราะ “คน” มีอารมณ์หลากหลาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ควบคุมบุคคลไม่ได้ แต่สามารถเล่นเกาะกระแสสั้นๆ ได้ เพราะท้ายที่สุดแล้วการตัดสินใจซื้อสินค้าคือเรื่องของ “แบรนด์และผลิตภัณฑ์” และการจัดจำหน่าย

]]>
1243516
เปิดประวัติ Potato Corner จากฟิลิปปินส์สู่ไทยผ่านกระแส #พีชแพท  https://positioningmag.com/1243424 Thu, 22 Aug 2019 04:21:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243424 กระแส #พีชแพท ทำให้มีภาพคนไทยจำนวนมากไปรอต่อคิวซื้อมันฝรั่งทอด Potato Corner แบบดังข้ามวัน แต่รู้หรือไม่ว่า Potato Corner เป็นแบรนด์แฟรนไซส์ระดับโลกที่จำหน่ายเฟรนช์ฟรายปรุงรสมานานกว่า 27 ปีแล้ว วันนี้ Potato Corner มีตัวตนมากกว่า 11 ตลาดทั้งในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ปานามา ออสเตรเลีย ไทย ฮ่องกง กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม และคูเวต สถิติล่าสุดคือร้านค้าปลีกมากกว่า 800 สาขา และสาขาล่าสุดในไทยคือที่ Central Festival ในเชียงใหม่

ตัวเลข 800 สาขานี้ไม่ธรรมดาเพราะถือว่าโตก้าวกระโดดจากคีออสแรกที่ Potato Corner เปิดตัวที่ SM Megamall ช่วงตุลาคม 1992 ที่ฟิลิปปินส์ภายใต้ชื่อบริษัทต้นสังกัด Cinco Corporation

Potato Corner ใช้เวลา 14 ปีกว่าจะเปิดร้านค้าปลีกนอกบ้านเกิดได้ในปี 2006 เวลานั้น Potato Corner ข้ามน้ำข้ามทะเลไปอินโดนีเซียเพื่อนบ้าน แล้วจึงเปิดสาขาที่สหรัฐอเมริกาในปี 2012 แล้วจึงข้ามไปยังเมืองอื่นอย่างซิดนีย์ และกรุงเทพฯ

ภาพ : facebook.com/potatocornerthailand

เน้นห้างและโรงเรียน

Potato Corner ชูจุดยืนเป็นคีออสแบรนด์ในห้างสรรพสินค้า โรงเรียน และสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศ ธุรกิจประสบความสำเร็จจนทำให้ Potato Corner ได้รับรางวัล Franchise Excellence Hall of Fame Award จากสมาคมแฟรนไชส์ฟิลิปปินส์และกรมการค้าแดนตากาล็อก ทำให้ชนะรางวัลแฟรนไชส์ยอดเยี่ยมแห่งปีติดต่อกัน 3 ปีซ้อนในช่วง 2003 – 2006 ซึ่งเป็นปีที่ Potato Corner เริ่มสร้างฐานเพื่อการเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก 

ปี 2012 แบรนด์ Potato Corner ก็เริ่มเปิดสาขาแรกในสหรัฐอเมริกา แล้วจึงข้ามมาเปิดสาขาที่ออสเตรเลียในปี 2014 ถึงปี 2015 แบรนด์มันฝรั่งทอด Potato Corner เปิดสาขาที่ 500 ได้สำเร็จ และก้าวสู่หลักไมล์ 800 สาขาได้ในปี 2016 ซึ่งเป็นปีที่พีช พชร เริ่มนำเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย 

ความน่าสนใจคือ Potato Corner เป็นแบรนด์ในเครือบริษัท Philippine Franchise Association, Inc. (PFA) ซึ่งมีแบรนด์ในมือมากกว่า 20 แบรนด์ เช่น Bibingkinitan, Periwinkle, Goldilocks และ Fruit Magic โดย PFA ออกมากล่าวแล้วว่าปีนี้มองเห็นทิศทางสดใส พร้อมประเมินว่ารายได้จากอุตสาหกรรมแฟรนไซส์จะเพิ่มขึ้น 25% ในปีนี้ 2019

ภาพ ​: facebook.com/potatocornerthailand

มั่นใจปีนี้โตแรง

ต้นสังกัด Potato Corner เชื่อว่าปีนี้บริษัทจะได้แรงหนุนจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเติบโตเฉพาะในฟิลิปปินส์บ้านเกิดพุ่งกระฉูด 25% ต่อปี ต้นสังกัดคาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 3.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากที่ทำได้ 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018

บริษัทแม่ของ Potato Corner โชว์เป้าหมายว่าจะสร้างแบรนด์ให้ได้ 100 แบรนด์ภายในปี 2025 จากปัจจุบันที่มีอยู่ 20 แบรนด์ พื้นที่หลักที่มองไว้คือเอเชีย แต่ก็จะโฟกัสที่ตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ พร้อมกับมองว่า หากเจาะที่สหรัฐอเมริกาได้แล้ว ก็จะมีตลาดแคนาดาพ่วงตามมาด้วย.

]]>
1243424