รอบแรกนี้ กรมการขนส่งทางบกเปิดประมูลทั้งหมด 84 ป้าย เป็นทะเบียนรถชื่อมงคล เลขสวย และชื่อคน มีผู้สนใจลงทะเบียนวางเงินประมูล 595 ราย
จากการประมูลป้ายทะเบียนพิเศษมี 5 อันดับป้ายทะเบียนลักษณะพิเศษที่ทำราคาประมูลสูงสุด เม.ย. 2565 ดังนี้
และยังมีป้ายอื่นๆ ที่น่าสนใจ ทำราคาสูงหลักล้าน เช่น “รวย 1” เคาะที่ 8.06 ล้านบาท “เฮง 8888” เคาะที่ 7.05 ล้านบาท “เลิศ 9999” เคาะที่ 4.77 ล้านบาท “ทะเล 1” เคาะที่ 4.5 ล้านบาท “ปราชญ์ 1” เคาะที่ 2.82 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม การประมูลครั้งนี้ยังไม่ใช่ทะเบียนที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ (ปี 2546-2565) ทะเบียนที่แพงที่สุดที่เคยเกิดขึ้น ได้แก่ อันดับ 1 “8กก 8888” ราคา 28.1 ล้านบาท (ปี 2563) อันดับ 2 “1กก 1111” ราคา 25 ล้านบาท (ปี 2557) อันดับ 3 “รวย 9999” ราคา 18.5 ล้านบาท (ปี 2565)
(*หมายเหตุ: เนื่องจากระบบขัดข้อง ทำให้ยังมีป้ายทะเบียนพิเศษ 19 หมายเลขที่เลื่อนจัดประมูลเป็นวันที่ 22 เม.ย. 65)
ขณะนี้กรมการขนส่งทางบกได้รับเงินประมูลสะสมแล้ว 282 ล้านบาทในรอบนี้ และจะนำไปเพิ่มรายได้ให้แก่กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.)
ที่มา: จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
]]>วันนี้ (12 ต.ค. 64) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เเถลงว่า คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติกรอบวงเงิน 166.94 ล้านบาทในโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่มีอายุเกิน 65 ปี ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด
กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ขับรถแท็กซี่ 12,918 ราย และผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง 3,776 ราย คาดว่าจะจ่ายเงินรอบแรกได้วันที่ 8-12 พ.ย. และรอบ 2 ในวันที่ 22-26 พ.ย. 64
ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด สนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นระยะเวลา 2 เดือน เดือนละ 5,000 บาท รวมทั้งหมดเป็น 10,000 บาท (กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, พระนครศรีอยุธยา, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา และสงขลา)
ในพื้นที่ 16 จังหวัดสีแดงเข้มที่ประกาศเพิ่มเติม สนับสนุนเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นระยะเวลา 1 เดือน เป็น 5,000 บาท (กาญจนบุรี, ตาก, นครนายก, นครราชสีมา, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สมุทรสงคราม, สระบุรี, สุพรรณบุรี และอ่างทอง)
สำหรับ ‘วิธีการลงทะเบียน’ ร่วมโครงการนั้น กรมการขนส่งทางบก จะเปิดให้มีการลงทะเบียนตามหลักเกณฑ์ของโครงการ และดำเนินการ ‘ตรวจสอบข้อมูล’ ผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ (วินมอเตอร์ไซค์) ที่มีอายุเกิน 65 ปี จากฐานข้อมูลใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ และใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
ส่วนกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่เช่า ที่ไม่สามารถตรวจสอบพื้นที่ให้บริการได้ จะต้องทำการตรวจสอบ ‘ยืนยันตัวตน’ ก่อน เช่น ให้นิติบุคคลรถเช่า/สหกรณ์แท็กซี่เป็นผู้รับรอง เป็นต้น
]]>
กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศผลผู้ชนะการประกวดแผนการจัดระบบรถรับ-ส่งนักเรียนต้นแบบมอบรางวัลมูลค่ารวมกว่า 600,000 บาท เผยความสำเร็จของโครงการ และต่อยอดขยายผลให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
เช้าวันนี้ (18 ก.ย.51) ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร นายรณยุทธ ตั้งรวมทรัพย์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ฝ่ายวิชาการ ประธานในพิธีมอบรางวัล ได้เปิดเผยถึงการจัดการประกวดแผนการจัดระบบรถรับ-ส่งนักเรียนว่า มีผู้เกี่ยวข้องกับรถรับ-ส่งนักเรียนทุกกลุ่มเป้าหมายส่งแผนฯ เข้าร่วมประกวดรวมทั้งสิ้น 127 แผน คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินแผนการจัดระบบรถรับ-ส่งนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมการขนส่งทางบกและสื่อมวลชน ได้ยึดหลักเกณฑ์การตัดสินแผนฯ โดยเน้นความปลอดภัยของนักเรียนและประสิทธิภาพของการบริหารจัดการแผนฯ ที่มีคุณภาพ เป็นที่พึงพอใจของผู้ปกครองและนักเรียนเป็นเกณฑ์สำคัญ โดยมีแผนการจัดระบบรถรับ-ส่งนักเรียนต้นแบบที่ได้รับรางวัลรวม 12 รางวัล มีมูลค่าเงินรางวัลรวมทั้งสิ้น 630,000 บาท ดังนี้
ประเภทที่1 แผนการจัดระบบรถรับ-ส่งนักเรียนที่ดำเนินการแล้ว
ประเภทสถาบันการศึกษา
• โรงเรียนเอกชน ได้แก่ โรงเรียนทรงวิทยาเทพารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับรางวัลเป็นเงิน 100,000 บาท พร้อมโล่ที่ระลึก
• โรงเรียนรัฐบาล ได้แก่ โรงเรียนท่านครญาณวโรภาศอุทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรางวัลเป็นเงิน 70,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร และ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 กรุงเทพมหานคร ได้รับรางวัลเป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
ประเภทบุคคล/นิติบุคคลผู้ดำเนินการรถรับ-ส่งนักเรียน (ผู้ประกอบการขนส่ง)
• รางวัลชนะเลิศ นายวราวุฒิ ศุภาสร(ชมรมรถตู้ในเครือโรงเรียนสารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่) กรุงเทพมหานคร ได้รับรางวัลเป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมโล่ที่ระลึก
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 นายณรงค์ อยู่พ่วง จังหวัดพิษณุโลก ได้รับรางวัลเป็นเงิน 30,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 บริษัท ไอดีไดร์ฟเวอร์ จำกัด จังหวัดขอนแก่น ได้รับรางวัลเป็นเงิน 15,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
ประเภทองค์กรส่วนท้องถิ่น/ชุมชน
• รางวัลชนะเลิศ ชมรมรถรับ-ส่งนักเรียน จังหวัดเชียงราย ได้รับรางวัลเป็นเงิน 100,000 บาท พร้อมโล่ที่ระลึก
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เทศบาลศรีพนมมาศ จ.อุตรดิตถ์ ได้รับรางวัลเป็นเงิน 70,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
• รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ชมรมรถโรงเรียนปลวกแดงพิทยาคม จังหวัดระยอง ได้รับรางวัลเป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
ประเภทที่ 2 แผนการจัดระบบรถรับ-ส่งนักเรียนที่ยังมิได้เริ่มดำเนินการ (ทุกกลุ่มเป้าหมาย)
• รางวัลชนะเลิศ นายพูลสวัสดิ์ จันทร์ไท กรุงเทพมหานคร ได้รับรางวัลเป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมโล่ที่ระลึก
• รองชนะเลิศอันดับที่ 1 นายประกอบ ตันมูล จังหวัดนครพนม ได้รับรางวัลเป็นเงิน 30,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
• รองชนะเลิศอันดับที่ 2 นางรสริน สำอางค์ จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับรางวัลเป็นเงิน 15,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร
“แผนฯ ที่ชนะการประกวดดังกล่าวจะเป็นต้นแบบให้กรมการขนส่งทางบกนำไปขยายผลโดยรณรงค์ส่งเสริมให้โรงเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับรถรับ-ส่งนักเรียนทั่วประเทศนำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการรถรับ-ส่งนักเรียนในปี 2552 เพื่อให้มีระบบการบริหารจัดการที่ดี มีคุณภาพ ได้มาตรฐานด้านความปลอดภัยและการบริการเป็นที่พึงพอใจของผู้ปกครองและนักเรียน คุ้มค่าทางเศรษฐกิจและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมต่อไป” นายรณยุทธฯ กล่าวในท้ายที่สุด