กรุ๊ปเอ็ม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 29 Jan 2021 01:21:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 GroupM แนะ 6 แนวทาง นักการตลาดฝ่าวิกฤต COVID-19 รอบใหม่ https://positioningmag.com/1315869 Thu, 28 Jan 2021 14:50:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315869 จากช่วงกลางเดือนธันวาคม 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในหลายจังหวัด แม้รอบนี้จะยังไม่ถูกล็อกดาวน์ และหยุดกิจกรรมต่างๆ ทางเศรษฐกิจ แต่ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไทยในวงกว้าง แม้จะมีบทเรียนมาแล้วจากปี 2563 แต่แบรนด์และนักการตลาดยังจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ รวมถึงวางแผนที่ต้องปรับตามสถานการณ์อย่างเหมาะสมจากความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นใหม่ในปีนี้

กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย (GroupM) กลุ่มเอเยนซี่ผู้เชี่ยวชาญทางด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อในเครือ ดับบลิวพีพี (WPP) จับมือกับเอเยนซี่ในเครือได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ ได้ทำการสรุปคำแนะนำสำคัญดังนี้

1. เร่งขยายช่องทางจัดจำหน่ายออนไลน์ให้เหมาะสมกับธุรกิจ

บทเรียนจากปีที่แล้ว ผู้บริโภคไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงกังวลเรื่องความปลอดภัยจึงหันไปพึ่งพาการซื้อของออนไลน์แทน โดยพบว่าในช่วงการแพร่ระบาดนั้น ผู้บริโภคกว่า 89% ใช้เวลาไปกับการการซื้อของออนไลน์มากขึ้น (GroupM Consumer Eyes) อีกทั้งเพื่อความอยู่รอด หลายอุตสาหกรรมต่างปรับตัวสร้างช่องทางจำหน่ายบนตลาดออนไลน์ของตัวเอง ส่งผลให้อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในภาพรวมปี 2020 สูงขึ้นถึง 35% (FOCAL 2020 – eCommerce Outlooks)

การกลับมาของ COVID-19 ระลอกใหม่นี้ ผู้บริโภคไทยมีความคุ้นเคยกับการซื้อของผ่านทางออนไลน์อยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสสำหรับแบรนด์ ที่เคยสร้างอีโคซิสเท็มในการจำหน่ายทางออนไลน์ให้ตัวเองไปแล้วได้ลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อต่อยอดการสร้างโอกาสในการขายอย่างมีประสิทธิภาพในสถานการณ์นี้

ซึ่งตอนนี้นักการตลาดไม่ควรมองแค่แพลตฟอร์มการขายเดียว แต่ยังต้องเข้าถึงแพลตฟอร์มใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ลักษณะการขายของที่เหมาะสมกับสินค้าของตัวเอง รวมถึงหาพาร์ตเนอร์ที่สามารถขยายช่องทางการเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ได้ เพิ่มเติมจากแต่เดิมที่อาจใช้เว็บไซต์ และการขายผ่านทาง Online Marketplace ไปยังช่องทางอื่นๆ เช่น Social Commerce การร่วมมือกับ Influencer เพื่อสร้างยอดขาย ตลอดจนการมองหาช่องทางใหม่ๆ หรือแอปพลิเคชันใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคใช้ในการจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้า เฉพาะหมวดหมู่

2. เพิ่มการลงทุนในช่องทางที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างจำเพาะเจาะจง

ในวันนี้คอนเทนต์ที่ผู้บริโภคติดตามไม่ได้จำกัดแค่ทางสื่อโซเชียลหรือเว็บไซต์ และผู้บริโภคมีพฤติกรรมการข้ามไปมาระหว่างแพลตฟอร์มมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น การวางแผนซื้อสื่อทีละแพลตฟอร์มด้วยวิธีเดิม ไม่สามารถตอบสนองการเข้าถึงผู้บริโภคและสร้างความน่าสนใจได้อย่างทันเวลา

ต่อจากนี้แบรนด์และนักการตลาดต้องสามารถเข้าถึง Touchpoint ต่างๆ ได้ตลอดเวลา และสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อให้การลงทุนทางการตลาดมีประสิทธิภาพสูงสุด อย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีอย่าง Programmatic ที่มี AI วิเคราะห์ข้อมูลและยิงโฆษณาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเดียวกันในแพลตฟอร์มที่ต่างกัน ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าและคุ้มค่ากว่าการลงทุนแบบแยกทีละแพลตฟอร์ม

3. เตรียมตัวสู้การแข่งขันในยุค Data Driven

ธุรกิจต่างๆ มีบทเรียนจากการแพร่ระบาดครั้งที่แล้ว และหันไปพึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันอย่างดุเดือดเพื่อแยกลูกค้ากันในแต่ละแพลตฟอร์ม พื้นฐานของการตลาดแบบ Data Driven ที่แข่งกันว่าใครใช้ Data เก่งกว่ากัน และไม่ได้จำกัดอยู่ที่การยิงโฆษณา แต่เป็นการทำ Promotion การใช้ Performance Marketing และการทำ Personalisation รวมไปถึงการทำ CRM ที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างโอกาสเพิ่มยอดขาย

สิ่งสำคัญของแบรนด์และนักการตลาดคือการหาพาร์ตเนอร์ที่มีความสามารถในการช่วยแปลง Data ให้กลายเป็นความรู้ที่สามารถสร้างข้อได้เปรียบในการวางแผนกลยุทธ์การขาย เพราะสามารถเลือกทำกลยุทธ์ได้หลายแบบ ทั้งในเรื่องของ ราคา การจัด Promotion การหาลูกค้าเพิ่มจากแพตลฟอร์มใหม่ อีกทั้งแบรนด์ใหญ่ ๆ ยังสามารถสร้างข้อได้เปรียบจากการใช้สื่อที่มี Outcome Guaranteed

4. ต้องไม่หยุดสร้าง Brand Awareness

แม้การแข่งเรื่องโปรโมชัน ราคา จะรุนแรงขึ้น แต่แบรนด์ใหญ่ต้องไม่ลดการลงทุนสื่อเพื่อสร้างการจดจำ ซึ่งเป็นโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเพิ่มความมั่นใจและเชื่อใจในระยะยาว อีกทั้งเป็นการลดโอกาสในการถูกคู่แข่งแย่งผู้บริโภคไปในการแข่งขันเรื่องราคา และโปรโมชันที่เข้มข้นขึ้น

สำหรับแบรนด์หน้าใหม่ ช่วงนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะการเข้าถึงผู้บริโภคที่อยู่บ้านและมีเวลารับสื่อมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อ Offline อย่างโทรทัศน์ หรือการเลือกใช้ Influencer Marketing เพื่อสร้างการจดจำ รวมถึงมีโอกาสสร้างยอดขายมากขึ้นตามไปด้วย

Beautiful asian woman blogger is showing how to make up and use cosmetics. In front of the camera to recording vlog video live streaming at home.Business online influencer on social media concept.

5. ตามติดสถานการณ์ แบบ Realtime จากภาครัฐ

เมื่อเทียบกับการแพร่ระบาดในระลอกแรก มาตราการต่างๆ จากภาครัฐในเวลานี้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าเดิม รวมถึงพื้นฐานความเข้าใจต่อการใช้เทคโนโลยีของผู้บริโภคก็เพิ่มสูงขึ้นจากปีที่แล้ว และพร้อมเข้ารวมกับมาตรการช่วยเหลือของรัฐอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่น เราชนะ หรือ คนละครึ่ง ที่ผู้บริโภคเข้าถึงการใช้สิทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับมาตรการอื่นๆ ในปี 2563

นักการตลาดต้องทำงานแบบ Agile ที่ต้องมีความรวดเร็ว และปรับตัวให้เข้าถึงโอกาสที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

6. เตรียมแผนไว้รองรับเหตุกาณ์ไม่คาดฝันเสมอ

ต้องมีแผนสำรองในการรับมือกับสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ โดยจำเป็นมีแผน 2 3 หรือ 4 เผื่อไว้ ทีมงานต้องมีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ รวมถึงทำงานร่วมกันเพื่อให้แผนสำรองที่เตรียมไว้สามารถทำงานได้ทันทีเมื่อจำเป็น ซึ่งจะทำให้จัดการกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่าการมีแผนเดียวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นรายครั้งไป

]]>
1315869
รันวงการช้อปปิ้ง! GroupM x Shopee ครั้งแรกในไทย ให้เอเยนซี่บริหารสื่อในอีคอมเมิร์ซได้ https://positioningmag.com/1297303 Wed, 16 Sep 2020 08:00:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297303 กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย ประกาศผนึกกำลังเป็นพันธมิตรกับ ช้อปปี้ กางแผนสนับสนุนให้แบรนด์สามารถเร่งการเติบโตบนช่องทางอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งการจับมือกันครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่กรุ๊ปเอ็ม และเอเยนซี่ในเครือได้แก่ มายด์แชร์ มีเดียคอม เวฟเมคเกอร์ และ เอ็มซิกส์ จะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงและบริหารจัดการพื้นที่โฆษณาบน Shopee Affiliate Marketing Solutions เพื่อขยายโอกาสในการสื่อสารผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรสื่อชั้นนำกว่า 2,000 ราย

โดยความร่วมมือในครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้แบรนด์และนักการตลาดสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ และเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์แบบครบวงจรบน Shopee Marketing Solutions ขยายขีดความสามารถในการทำแคมเปญทางการตลาดบนอีคอมเมิร์ซได้

นอกจากนี้สิทธิประโยชน์ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องมือ Shopee Ads ที่แบรนด์ภายใต้การดูแลของ กรุ๊ปเอ็ม จะสามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพยิ่งขึ้น เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายผ่านการทำ Targeting และวางแผน Search Marketing บนแพลตฟอร์มของช้อปปี้ ซึ่งจะช่วยขยายขีดความสามารถในการทำแคมเปญทางการตลาดบนอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ศิวกร สิริวงศ์ภาณุพงศ์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ช้อปปี้ (ประเทศไทย) กล่าวว่า

“รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ ‘กรุ๊ปเอ็ม’ มีเดียเอเยนซี่ชั้นนำในประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้แบรนด์พันธมิตรบนแพลตฟอร์มของช้อปปี้สามารถพัฒนากลยุทธ์การตลาดในเชิงลึกบนพฤติกรรมของผู้ใช้งานบนอีคอมเมิร์ซ ร่วมกับบริการที่ครบวงจรจากมืออาชีพอย่าง กรุ๊ปเอ็ม เพื่อพัฒนากลยุทธ์และกิจกรรมด้านการสื่อสารการตลาดให้ดียิ่งขึ้น ที่ทั้งสามารถส่งมอบความคุ้มค่า สร้างการเติบโตด้ายยอดขาย ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเหล่าผู้ใช้งานบนช่องทางออนไลน์ได้อย่างยั่งยืน”

นิคคลาส สตอลเบิร์ก ประธานกรรมการบริหาร กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) กล่าวว่า

“กรุ๊ปเอ็ม ในฐานะผู้นำตลาดด้านการวางแผนกลยุทธ์การสื่อสารโฆษณา มีเป้าหมายในการขยายความเติบโตทางธุรกิจให้กับลูกค้าผ่านการใช้เทคโนโลยี และข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันความท้าทายของธุรกิจคือการชิงความได้เปรียบในการเข้าถึงผู้บริโภคและปิดการขายให้ได้เร็วที่สุด การร่วมเป็นพันธมิตรกับแพตลฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ครบวงจรอย่าง ช้อปปี้ จะช่วยเสริมศักยภาพและความแข็งแกร่งในการทำการตลาดออนไลน์ รวมถึงเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนให้กับลูกค้าของ กรุ๊ปเอ็ม ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านฐานข้อมูล และสื่อพันธมิตรที่มีในทุกหมวดหมู่สินค้า”

สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในปี 2562 ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่ามีมูลค่าการตลาดอยู่ที่ราว 163,300 ล้านบาท และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยหันมาจับจ่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

จึงทำให้มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทยในปี 2563 มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นราว 35% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา หรือราว 220,000 ล้านบาท

ความน่าสนใจของการจับมือร่วมกันครั้งนี้ก็คือ การใช้ดาต้า และพฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภคอย่างมหาศาล เพราะในตอนนี้การช้อปปิ้งออนไลน์ไม่ได้จำกัดแค่สินค้าแฟชั่นอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ

การเก็บพฤติกรรมต่างๆ นั้น ยิ่งทำให้เอเยนซี่ และแบรนด์เข้าใจพฤติกรรมลูกค้าดียิ่งขึ้น สามารถยิงแคมเปญการตลาด ส่งโปรโมชันได้แบบ Personalize มากขึ้นเช่นกัน เป็นอีกหนึ่งมิติที่น่าจับตามองไม่น้อย

]]>
1297303
วิเคราะห์ทางรอดอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และ IT ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1280188 Fri, 29 May 2020 05:10:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1280188 ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เวฟเมคเกอร์ (สำนักงานใหญ่ – ลอนดอน) ได้ทำการวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ของกลุ่มธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในระดับโลกผ่านบทความ Week In Review ทั้งนี้ เวฟเมคเกอร์ (ประเทศไทย) ได้จับมือกับ กรุ๊ปเอ็ม ร่วมกันศึกษาต่อและยอดการวิเคราะห์นี้ในบริบทของประเทศไทย

ตลาดทั่วโลกลดลง 30%

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เศรษฐกิจของโลกถดถอยลงไปมาก การดำเนินการทางธุรกิจของบริษัททั้งเล็กและใหญ่ในหลายๆ ประเทศมีการหยุดชะงัก เนื่องจากมาตรการในการควบคุมโรคระบาดของแต่ละประเทศที่เพิ่มความรัดกุม และเป็นสาเหตุที่ทำให้สายงานด้านการผลิตไม่สามารถที่จะนำเข้าชิ้นส่วนและเปิดโรงงานการผลิตได้อย่างปกติ

มีการคาดการณ์ว่าในช่วงครึ่งปีแรก ความสามารถในการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอย่างสมาร์ทโฟนทั่วโลกจะลดลงไปถึง 30% ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคที่มีความระมัดระวังในเรื่องของการใช้จ่ายที่มากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงที่มาจากอุปสงค์ และอุปทานข้างต้นนี้มีผลโดยตรงต่อการวางแผนในอนาคตของแบรนด์และนักการตลาด โดย เวฟเมคเกอร์ ได้ทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคในระดับโลกในช่วงการแพร่ระบาดของสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะเน้นไปในเรื่องของใช้ส่วนตัว อย่างโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ณัฐดนัย ตระการวัฒนวงศ์ เจ้าหน้าที่แผนกพัฒนาและการตลาดของ กรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) ได้รวบรวมข้อมูลและทำการสรุปผลสำรวจของ เวฟเมคเกอร์ ในบริบทของโลกออกมาได้เป็น 3 ส่วน คือ ด้านธุรกิจ ด้านผู้บริโภค และด้านแบรนด์ ดังนี้

ด้านธุรกิจ

การเลื่อนการจัดการแข่งขันของสปอร์ตอีเวนต์ หรือกีฬาต่างๆ ซึ่งรวมถึงมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างโอลิมปิก ที่มีการโฆษณา และสื่อสารว่าจะมาพร้อมการถ่ายทอดสดด้วยความละเอียดขั้นสูงในระบบ 8K โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้ในช่วงนี้ เนื่องจากผู้บริโภคขาดปัจจัยดึงดูดในการอัพเกรดสินค้าประเภทโทรทัศน์ หรือทีวีภายในบ้านขึ้นเป็นสินค้ารุ่นใหม่

ผลการวิเคราะห์จาก GSMA โดยสังเกตจากการที่บริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือเลื่อนการเปิดตัวโทรศัพท์รุ่นใหม่ที่รองรับระบบ 5G ออกไป ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ 5G ต้องเลื่อนเวลาการออกสู่ตลาดและมีผลทำให้ราคาของสินค้าอาจจะต้องถูกปรับลง ทำให้มีการคาดการณ์ว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะปรับการวางแผนการเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่

ด้านผู้บริโภค

ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 แพลตฟอร์มดิจิทัลได้แทบจะกลายเป็นหนทางเดียวที่ผู้บริโภคทั่วโลกจะสามารถทำงาน ได้รับความรู้ และความบันเทิง ในเวลาที่ถูกกักตัวอยู่กับบ้าน ส่งผลให้เส้นกั้นระหว่างความเชื่อและความเคยชินในเรื่องของ “ความเป็นที่ทำงาน” และ “การอยู่บ้าน” ค่อย ๆ แคบลง

จากข้อมูลของ BBC พบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประเภทของใช้ส่วนตัวอย่างคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน เป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้นจากการทำงานจากบ้าน แต่ว่าในสถานการณ์แบบนี้ผู้บริโภคยังมีความลังเลในการซื้อ

เนื่องจากความกลัวที่จะได้รับผลกระทบทางด้านการเงินทำให้ผู้บริโภคในประเทศต่างๆ (32% ในสหรัฐอเมริกา, 35% ในทวีปยุโรป และ 44% ในทวีปเอเชียแปซิฟิก) มีพฤติกรรมการวางแผนการใช้เงินที่รัดกุมมากขึ้น

ทั้งนี้พบว่านอกจากผู้บริโภคจะสามารถที่จะรอจนกว่าที่จะเจอโปรโมชั่นจากทางแบรนด์ที่ถูกใจแล้วผู้บริโภคยังหันมาให้ความสนใจกับสินค้าประเภท Wearable Device มากขึ้น เพราะสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่จะมีสุขภาพที่ดีผ่านการวัดค่า หรือจดจำข้อมูลเกี่ยวกับตนเองได้

ด้านแบรนด์

บริษัทยักษ์ใหญ่ในด้านเทคโนโลยีต่างพากันยื่นมือนำความรู้ รวมถึงความสามารถทางด้านเทคโนโลยี (และสิ่งของ) เข้ามาช่วยเหลือบุคคลากรทางการแพทย์และหน่วยงานของรัฐ โดยเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเหลือนั้นมีทั้งด้านการช่วยในการติดตาม ค้นหา หรือกระจายข่าวสารเกี่ยวกับไวรัส COVID-19 และเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถป้องกันตัวเองการติดเชื้ออีกด้วย

นอกจากนี้แบรนด์ยังสามารถปรับกลยุทธ์ในการโฆษณาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ใช้ชีวิตต่างจากเดิม รวมไปถึงการนำเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อ ตัวอย่างเช่น แบรนด์ผู้จำหน่ายอุปกรณ์เกมต่างๆ ที่พากันลงทุนเพิ่มในการสื่อสารเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ตัวเองเพื่อเพิ่มความสนใจและกระตุ้นความอยากซื้อ

เพราะว่าในช่วงนี้ผู้บริโภคในหลาย ๆ ประเทศมีเวลาที่จะอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้แบรนด์สามารถนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกหรือกิจกรรมสันทนาการให้กับผู้บริโภคเพื่อใช้ในช่วงเวลาที่ยังไม่สามารถออกไปข้างนอกได้อย่างเต็มที่

เครื่องใช้ไฟฟ้ายังโตในอีคอมเมิร์ซ

สำหรับในบริบทของประเทศไทย อธิราช หุตะสิงห์ ผู้อำนวยการแผนกนวัตกรรมและเทคโนโลยี เวฟเมคเกอร์ (ประเทศไทย) เผยว่าถึงคนไทยจะมีความกังวลในเรื่องการวางแผนค่าใช้จ่ายมากขึ้นในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา แต่ข้อมูลจากหน่วยงานด้านอีคอมเมิร์ซของเวฟเมคเกอร์และกรุ๊ปเอ็มกลับพบว่า “อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยกลับมีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 150%”

Female Runner Looking At Her Mobile And Smart Watch Heart Rate Monitor

แม้ว่ายอดขายสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่เคยเป็นสินค้ายอดนิยม 3 อันดับแรกบนอีคอมเมิร์ซจะตกอันดับลงไปเนื่องจากความตื่นตัวของผู้บริโภคที่เปลี่ยนมาให้ความสนใจกับสินค้าประเภทสุขภาพ และการป้องกันตัวจากการติดเชื้อไวรัส

แต่ข้อมูลของกรุ๊ปเอ็มที่ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มพาร์ตเนอร์อย่างใกล้ชิดทำให้เรายังสามารถสรุปได้ว่ายอดขายบนอีคอมเมิร์ซสำหรับสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยยังคงมีการเติบโตขึ้นซึ่งต่างจากบริบทในภาพรวมของโลก

โดย อธิราช ยังได้ขยายความถึงภาพรวมของอีคอมเมิร์ซในไทยเพิ่มเติมว่า

“ในยุคที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ผู้บริโภคชาวไทยมีการเข้าถึงข้อมูลบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้น นั่นหมายถึงจำนวนของผู้ที่สามารถเข้าถึงสื่อโฆษณาที่มากขึ้น แต่ในทางกลับกันสังเกตได้ว่าจำนวนโฆษณากลับทำไม่เยอะขึ้นตามจำนวนคนดู จึงเป็นเหตุให้ต้นทุนในการลงโฆษณา (CPM) ลดลง และเป็นผลดีต่อแบรนด์ที่ต้องการเข้าหาผู้บริโภคในช่วงนี้”

อีกหนึ่งเทรนด์สำคัญที่สามารถช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าหาผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นก็คือการสร้างออนไลน์คอนเทนต์ผ่านสื่อบุคคล (Influencer) ที่แบรนด์เลือก เนื่องจาก Influencer ถือเป็นทั้งสื่อและคนที่สามารถสร้างความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคได้โดยตรง ยิ่งแบรนด์สามารถใช้ Influencer ในการสร้างคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์จากผู้บริโภคโดยปรับไปตามสถานการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นได้ดีเท่าไหร่ก็ยิ่งจะทำให้คอนเทนต์นั้นถูกแชร์และกระจายออกไปได้ง่ายขึ้นและเป็นโอกาสในการสร้างความต้องการ (Demand) ในการซื้อสินค้าได้

สุดท้ายนี้ไม่ว่าการระบาดของไวรัส COVID-19 จะหมดลงเมื่อใด สิ่งที่นักการตลาดจะต้องคำนึงถึงก็คือการเตรียมตัวที่จะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ด้านรูปแบบการดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่แนะนำว่าทุกคนต้องเร่งปรับตัว ปรับทัศนคติ รวมไปถึงการปรับแผนกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้าและสร้างประสิทธิภาพ (และประสิทธิผล) ในการการทำธุรกิจให้มากที่สุด โดยทั้งนี้นักการตลาดจะต้องไม่ลืมเรื่องของการสนับสนุนการทำงานร่วมกับสังคมที่สามารถต่อยอดโอกาสทางธุรกิจในอนาคตอีกด้วย

]]>
1280188
เปิด 3 ผลกระทบ 3 แนวทางปฏิบัติ ที่ “นักการตลาด” ต้องรับมืออยู่ร่วมกับ COVID-19 https://positioningmag.com/1268958 Thu, 19 Mar 2020 14:13:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1268958 ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 กลายเป็นเหตุการณ์ที่ทรงอิทธิพลต่อทั่วทั้งโลก โดยมีผลกระทบโดยตรงต่อทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ ทั้งในด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค สภาพสังคมโดยรวม รวมถึงเศรษฐกิจ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สุดสำหรับเวลานี้สำหรับบุคลากรในแวดวงการตลาดและการสื่อสาร

GroupM กลุ่มเอเยนซี่ด้านบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อระดับโลกในเครือ WPP ได้ทำการสรุปผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นและนำมาวิเคราะห์เป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับนักการตลาด นักโฆษณา รวมถึงเจ้าของสื่อที่ต้องเร่งปรับแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภค และการปรับตัวของสภาพสังคมในด้านต่างๆ ที่กำลังตามมาในอนาคตอันใกล้ เพื่อป้องกันธุรกิจให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

แนวโน้มทางเศรษฐกิจ และผลกระทบจากการระบาด

ผลการวิจัยล่าสุดจากธนาคารออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ (ANZ Research) พบว่า จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เกิดความผันผวนของค่าเงินบาทมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 โดยเงินบาทมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่ภาคเศรษฐกิจ ตัวเลขการนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทยกับตลาดการค้าหลักอย่างประเทศจีน มีอัตราลดลงอย่างมีนัยสำคัญนับตั้งแต่ช่วงต้นปี นอกจากนี้ แม้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกรวมถึงประเทศไทยยังมีความไม่แน่นอนสูงมาก จากเดิมที่มีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจถูกคาดการณ์ไว้ ว่าจะเติบโต 3% ตลอดทั้งปี

แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันมีแนวโน้มจะลดลงอย่างมากในไตรมาสที่ 1 แต่อาจจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจลดลงเหลือเพียง 1% ทั้งนี้ทุกธุรกิจยังคงต้องจับตาดูแนวโน้มการระบาดและมาตรการรับมืออย่างใกล้ชิดในระยะยาว

ผลกระทบต่อผู้บริโภค ตลาด และธุรกิจสื่อ

นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา สถานที่ทำงาน สถานศึกษา ร้านค้า รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เสี่ยง และได้รับผลกระทบได้เริ่มมีการปิดทำการชั่วคราว สำหรับภาคประชาชนหรือผู้บริโภคการเดินทางด้วยการโดยสารสาธารณะ รวมถึงการไปในสถานที่แออัดกลายเป็นสิ่งที่ต้องพึงระวังมากกว่าเดิม

โดยพบว่าเทรนด์การค้นหาคำ หรือข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ไวรัส COVID-19 และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น หน้ากากอนามัย ไวรัส มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยสูงกว่าช่วงที่ประเทศไทยมีปัญหาฝุ่น PM2.5 อยู่หลายเท่าตัว

ที่น่าสนใจคือคำว่า โควิด (COVID) กลายเป็นเทรนด์ที่ขึ้นสูงที่สุดในช่วงกลางเดือนมีนาคม ทั้งที่เพิ่งได้รับการเรียกในสื่อต่างๆ แทนคำว่าไวรัสโคโรนามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์

จากสถานการณ์นี้เป็นเหตุให้มีผู้บริโภคเลือกที่จะจำกัดตัวเองให้อยู่ในบริเวณบ้านมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้จำนวนการติดตามสถานข่าวสารผ่านทางช่องทางสื่อทั้งทางออนไลน์และทีวีสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ ละคร และข่าวบนสื่อทีวี รวมถึงเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อที่เน้นไปที่การซื้อของออนไลน์มากขึ้น

จากผลการรวมรวมข้อมูลในภาพรวมของธุรกิจสื่อโลกของกรุ๊ปเอ็มผ่านบริษัทในเครือในหลายๆ ประเทศ พบกว่าการใช้เงินบนสื่อของธุรกิจทั่วโลกมีแนวโน้มลดลงในหลายประเภทสินค้า โดยบรรดาธุรกิจรายใหญ่ยังคงมีการใช้เงินบนสื่อเพื่อมุ่งหวังสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ในระยะยาว

การตื่นตัวของผู้บริโภค และธุรกิจบนอีคอมเมิร์ซ

นอกจากยอดการค้นหา และยอดการค้าปลีกสินค้าประเภทสุขอนามัยที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว พบว่ายอดค้าปลีกบนออนไลน์มาร์เกตเพลสหลักอย่าง ‘ลาซาด้า’ มีการเติบโตขึ้นกว่า 50% ตลอดทั้งไตรมาส และยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นต่อเนื่องจากการที่ออนไลน์มาร์เกตเพลส รวมถึงร้านค้าปลีกรายย่อยบนระบบออนไลน์พร้อมใจกันออกแคมเปญกระตุ้นยอดขายเพื่อรับโอกาสทางการค้า

โดยผู้ค้าที่ต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบการผลิตจากประเทศกลุ่มเสี่ยงอย่างเช่นประเทศจีน ได้เริ่มมีการวางแผนสำรองกำลังการผลิตรวมถึงสต็อกสินค้าผลิตหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย

ในส่วนของผู้บริโภค พบว่าสำหรับสินค้าบางประเภทที่ไม่ได้รับความนิยมในการซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงแบรนด์ที่เน้นขายในช่องทางหน้าร้านเป็นหลักอย่างเช่นบริการร้านอาหาร จะเห็นได้ว่าผู้จำหน่ายได้เริ่มมีการปรับตัวรวมถึงปรับช่องทางการขายเพื่อรับมือกับสถานการณ์

อย่างไรก็ตาม ยอดค้าปลีกผ่านอีคอมเมิร์ซคิดเป็นราว 2-3% ของยอดค้าปลีกทั้งประเทศ ดังนั้น หากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมีแนวโน้มถดถอยลง ทุกธุรกิจจะต้องวางแผนรับมือต่อผลกระทบถึงแม้ยอดขายผ่านอีคอมเมิร์ซจะเติบโตขึ้น

แนวทางปฏิบัติสำหรับนักการตลาด

  1. ศึกษาการปรับตัวจากจีน

ในระยะยาวนักโฆษณา และการตลาดสามารถใช้กรณีศึกษาจากประเทศจีนที่สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ได้เริ่มมีความคลี่คลายในการวางแผน และปรับตัว ในขณะเดียวกันในระยะสั้นก็ยังสามารถศึกษาการรับมือต่างๆ จากประเทศที่กำลังประสบภาวะการระบาดอย่างร้ายแรงอย่าง เช่น อิตาลี เพื่อเป็นแนวทางในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง

  1. มองหาช่องทางอื่น เพื่อเพิ่มมูลค่า

แบรนด์ นักการตลาด และนักโฆษณาควรมองหาช่องทางที่จะเพิ่มมูลค่าของการบริการ รวมถึงการสร้างความมั่นใจ เชื่อถือ และความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคและสังคม เนื่องจากสถานการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาปกติ นี่จึงเป็นโอกาสที่จะทำให้แบรนด์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมและอยู่ในใจของผู้บริโภค

  1. ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด

นักโฆษณา และการตลาดมีหน้าที่ต้องติดตามสถานการณ์ของการระบาด และพฤติกรรมของผู้บริโภครวมไปถึงการเสพสื่ออย่างใกล้ชิดอย่างใกล้ชิดแบบวันต่อวัน เพื่อให้แบรนด์ได้มีโอกาสในการปรับแผนกลยุทธ์ทางการตลาดและการขาย ทั้งนี้รวมถึงแนวทางเพื่อการวางแผนการสื่อสาร และการออกแบบชิ้นงานโฆษณาที่ต้องอิงกระแสหรือเหตุการณ์สำคัญของปี เช่น มหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กำลังจะเกิดขึ้น แบรนด์ควรมีแผนสำรองในกรณีที่มีการปรับหรือเปลี่ยนเงื่อนไขการจัดงานจากผลกระทบของไวรัส COVID-19

สุดท้ายนี้ นี่คือโอกาสสำคัญของการอีคอมเมิร์ซ และสินค้าประเภทที่มีบริการจัดส่งถึงบ้าน ด้วยแรงหนุนของพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงพฤติกรรมที่ผู้คนนิยมใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากขึ้น

]]>
1268958
ยุคบิ๊กดาต้าเป็นสิ่งจำเป็น! เทรนด์โซเชียลต้องเกาะติด ปั้นคอนเทนต์ “เรียลไทม์” เข้าถึงผู้บริโภค https://positioningmag.com/1244193 Tue, 27 Aug 2019 23:08:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244193 ในยุคที่ผู้บริโภคเข้าถึงถึงอินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 80% ของประชากรไทย ใช้เวลากับสื่อโซเชียลมีเดียวันละกว่า 3 ชั่วโมง การวิเคราะห์ดาต้าจากโลกออนไลน์กลายเป็นอาวุธสำคัญที่ทำให้นักการตลาดและแบรนด์สามารถหาลูกค้ากลุ่มที่ใช่เจอและท้ายที่สุดนำมาซึ่งยอดขาย

ในเสวนา Big Data อาวุธทรงพลัง ยุค Digital Disruption ที่จัดโดย Business Today ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย ให้มุมมองว่าในยุคที่สื่อดิจิทัลเข้ามามีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตและการเสพสื่อ วันนี้ “ดาต้า” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักการตลาดและแบรนด์ต้องนำมาใช้ประโยชน์ ทั้งดาต้าที่มาจากองค์กรธุรกิจและจากพันธมิตรองค์กรต่างๆ

“เดิมหากต้องการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค ก็คงต้องทำวิจัย แต่วันนี้ ดาต้าทำให้เห็นพฤติกรรมจริงโดยไม่ต้องถามข้อมูล การได้ข้อมูลที่แม่นยำ ก็คือการเข้าใจผู้บริโภคว่าต้องการอะไร และทำสิ่งนั้นไปตอบสนองความต้องการ”

ในอดีตการจัดเก็บดาต้าและวิเคราะห์ข้อมูล อาจมีต้นทุนสูงแต่วันนี้เทคโนโลยีทำให้การใช้ประโยชน์จากดาต้ามีต้นทุนต่ำลง การประมวลผลข้อมูลทำได้มีประสิทธิภาพจากแมชชีนเลิร์นนิ่ง

ช่วง 5 ที่ผ่านมาภาคธุรกิจขับเคลื่อนผ่านเรื่อง Data driven marketing มากขึ้น องค์กรที่ใช้ดาต้าในการตัดสินใจ จะได้เปรียบและนำหน้าคนอื่นไปได้ไกล เพราะดาต้าทำให้เข้าถึงเซ็กเมนต์ผู้บริโภคใหม่ๆ ที่สามารถสร้างยอดขายจากกลุ่มนี้ได้ ส่วนคนที่ไม่ใช้ดาต้าจะไม่มีทางหากลุ่มนี้เจอ นั่นจึงทำให้ช่องว่างระหว่างคนที่ใช้ดาต้าและไม่ใช้ห่างออกไปเรื่อยๆ เพราะวันนี้ใครเจอเซ็กเมนต์ลูกค้าใหม่ก่อน ก็จะสร้างฐานลูกค้าและสร้างรายได้นำคนอื่นๆ

จึงบอกได้แต่เพียงว่า “วันนี้ดาต้าเป็นเรื่องที่ยิ่งกว่าจำเป็นต้องใช้”

ศิวัตร เชาวรียวงษ์

เกาะเทรนด์โซเชียลปั้นคอนเทนท์เรียลไทม์

กล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บรัษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล กล่าวว่า ปัจจุบันคนไทยใช้สื่อโซเชียลด้วยปริมาณที่มากขึ้นทุกปี แต่ละวันจะมีข้อมูลที่ผู้ใช้สร้างขึ้นกว่า 20 ล้านข้อความ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 19% ถือเป็นดาต้าสาธารณะที่สามารถดูเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค และนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้ประโยชน์หากต้องการสื่อสารกับผู้บริโภคกลุ่มต่างๆ

เทรนด์โซเชียล มีเดียเปลี่ยนทุกวันและเปลี่ยนเร็ว เพื่อให้นักการตลาด สื่อและคนทั่วไป เกาะติดเทรนด์โซเชียลที่กำลังอยู่ในความสนใจในแต่ละวัน “ไวซ์ไซท์” จึงเปิดให้ใช้งาน trend.wisesight.com ฟรี เพื่อให้ทุกคนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโลกโซเชียล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวที่ถูกพูดถึงบน Facebook, Twitter, Instagram, YouTube, Pantip, ฟอรัม, บล็อก รวมถึงข่าวต่างๆ ที่กำลังเป็นกระแสบนโลกโซเชียลกันแบบเรียลไทม์

กล้า ตั้งสุวรรณ

การรู้ข้อมูลเทรนด์โซเชียลที่กำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป จะทำให้ทั้งนักการตลาด แบรนด์ และสื่อ สามารถสร้างคอนเทนต์และทำ “เรียลไทม์ มาร์เก็ตติ้ง” ได้ตรงความสนใจผู้บริโภค

ข้อมูลของเทรนด์โซเชียล พบว่าคอนเทนต์ที่อยู่ในความสนใจของผู้บริโภคปีนี้ ข่าวการเมืองและข่าวบันเทิง โดยเฉพาะข่าวการเมืองติดเทรนด์มาตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง

]]>
1244193
กรุ๊ปเอ็ม ควบรวม MEC – Maxus เปิดเป็นเอเยนซี่ใหม่ WAVEMAKER https://positioningmag.com/1138953 Thu, 07 Sep 2017 15:45:32 +0000 http://positioningmag.com/?p=1138953 นับเป็นอีกหนึ่งในความเคลื่อนไหวของเอเยนซี่ข้ามชาติรายใหญ่ “กรุ๊ปเอ็ม” ได้เปิด บริษัท WAVEMAKER (เวฟเมคเกอร์) เอเยนซี่แบรนด์ใหม่ล่าสุด ที่เกิดจากการผนึกกำลังทางธุรกิจของสองมีเดียเอเยนซี่ระดับโลก MEC และ Maxus เข้าไว้ด้วยกัน

เพื่อนำเอาความชำนาญของ 2 บริษัทด้านมีเดีย คอนเทนต์ เทคโนโลยี เครื่องมือ วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และยังเป็นที่มาของชื่อแบรนด์ WAVEMAKER มาจากชื่อของสองบริษัทต้นสังกัด คือ ดับบลิวพีพี (WPP) และกรุ๊ปเอ็ม (GroupM)

ทิม แคสทรี่ Global CEO ของ MEC และ WAVEMAKER กล่าวว่า “จุดประสงค์ของการยุบรวมบริษัทครั้งนี้ เพื่อช่วยให้ลูกค้าและนักการตลาดสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานและสามารถต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ” นำเอาความชำนาญของทีมงาน ข้อมูลการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึกและเครื่องมือจาก [m]PLATFORM ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับโลกที่มีเฉพาะกรุ๊ปเอ็มในการเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้ WAVEMAKER กลายเป็นเอเยนซี่ที่ทุกคนจับตามอง

เคลลี่ คลาร์ก Global CEO ของกรุ๊ปเอ็ม กล่าวเสริมว่า WAVEMAKER จะเป็นเอเยนซี่ขนาดใหญ่ระดับพันล้านเหรียญ ที่สร้างความตื่นตัวให้แก่อุตสาหกรรมโฆษณา ภายใต้การบริหารงานของคุณทิมและบุคลากรของ WAVEMAKER จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มรูปแบบทั้งด้านข้อมูลและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ จากกรุ๊ปเอ็ม

การรวมตัวกันอย่างเป็นทางการของ WAVEMAKER จะเกิดขึ้นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 โดยบริษัทฯ จะมีจำนวนพนักงานมากกว่า 8,500 คนใน 90 ประเทศ และมีลูกค้ารายใหญ่ระดับโลกได้แก่ ลอรีอัล แมริออทคอลเกต-ปาล์มโอลีฟ และพาราเม้าท์

เกี่ยวกับกรุ๊ปเอ็ม

กรุ๊ปเอ็ม คือกลุ่มบริษัทบริหารจัดการการลงทุนด้านสื่อชั้นแนวหน้าระดับโลก โดยเป็นบริษัทแม่ของมีเดียเอเยนซี่ในเครือ ดับบลิวพีพี ได้แก่ มายแชร์ เอ็มอีซีมีเดีย คอมแม็กซัสเอสเซนส์และเอ็มซิกส์ รวมทั้งเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มจัดการและวางแผนสื่อดิจิทัล Xaxis ซึ่งแต่ละรายต่างมีการดำเนินงานอยู่ทั่วโลก และยังทำงานร่วมกับกันตาร์ ซึ่งเป็นกลุ่มบริหารจัดการการลงทุนด้านข้อมูลของดับบลิวพีพีอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งรายได้ของกรุ๊ปเอ็มและกันตาร์รวมกันนั้นคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของรายได้ของดับบลิวพีพีที่มีมากกว่าสองหมื่นล้านเหรียญ

]]>
1138953
กรุ๊ปเอ็ม ควบรวมเอเจนซี่ในเครือ MEC และ Maxus เป็น NewCo ตั้ง “คริสติน่า วชรเนตร” เป็นแม่ทัพ https://positioningmag.com/1131300 Fri, 30 Jun 2017 12:23:03 +0000 http://positioningmag.com/?p=1131300 เรียกว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองในวงการเอเจนซี่ เมื่อ MEC และ Maxus เอเจนซี่ภายใต้เครือกรุ๊ปเอ็ม (ประเทศไทย) ได้ควบรวมเป็น “NewCo” พร้อมปรับทัพประกาศแต่งตั้งคริสติน่า วชรเนตร” ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริหาร NewCo โดยการแต่งตั้งนี้จะมีผลในเดือนมกราคม พ.. 2561

คริสติน่า วชรเนตร เป็นแม่ทัพของ Maxus ตั้งแต่ปี พ.. 2554 ถึง 2557 และดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริหารของ MEC ตั้งแต่ปี .. 2558 คริสติน่า มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการ แบรนด์มากกว่า 21 ปี เช่น คอลเกต, ลอรีอัล, ยูนิลีเวอร์เป๊ปซี่, แอมเวย์, ฟอร์ด, มาสด้าธนาคารทหารไทย, ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป, นกสกู๊ต และเมืองไทยประกันชีวิต

การที่ MEC และ Maxus ได้รวมตัวกันเป็น “NewCo” มีเป้าหมายในการรวบรวมบุคลากรที่มีความสามารถในด้านต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้บริการการวางแผนเทคโนโลยี และการสื่อสารแบบครบวงจรให้กับลูกค้า เพื่อสร้างเอเจนซี่ระดับแนวหน้าของโลก 

]]>
1131300