กลยุทธ์เจาะลูกค้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 29 Apr 2020 14:20:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 พลิกกลยุทธ์หารายได้ จัด “เซตพร้อมทำ DIY” ให้ลูกค้าทำเอง ปลุกความเป็นเชฟช่วงกักตัว https://positioningmag.com/1276028 Wed, 29 Apr 2020 13:04:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276028 ในยามที่ต้องใช้ชีวิตภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ นอกจากจะปลุกสายครีเอทในตัวคุณในเเอปฯ ยอดฮิตอย่าง TikTok เเล้ว สาย Food Lover ก็ปังไม่เเพ้กัน ออกมาปลุก “ความเป็นเชฟ” ในตัวคุณด้วยการทำอาหารกินเองที่บ้าน บางคนฝีมือดีจนถึงขั้นต่อยอดทำขายออนไลน์ หารายได้เสริมช่วงนี้เลยก็มี

เเต่การทำอาหารเองที่บ้านก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ออกไปหาซื้อวัตถุดิบยามนี้ก็ยากเเสนยาก เเถมยังเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 บางเมนูต้องมีขั้นตอนการผสมที่ซับซ้อนเเละต้องมีสูตรเฉพาะถึงจะอร่อย

ปัญหาเหล่านี้ทำให้เหล่าร้านขนม “ปิ๊งไอเดีย” ออกเเพ็กเกจรวมวัตถุดิบเเบบ DIY จัดส่งเดลิเวอรี่ให้ถึงบ้าน ให้เราสามารถทำขนมเบื้อง โตเกียว เเพนเค้ก ไปจนถึงบัวลอย ได้เองเเบบง่ายๆ ใช้เวลานิดเดียวเเถมเเก้เหงาได้ด้วย

นับเป็นกลยุทธ์ “เพิ่มยอดขาย” ต่อลมหายใจธุรกิจในช่วงที่ร้านยังให้บริการหน้าร้านไม่ได้ จัด “เซตพร้อมทำ” ตอบโจทย์ Pain Point ของลูกค้าได้ดียิ่ง ในช่วงเวลาที่ผู้คนต้องกักตัวอยู่ในบ้าน ใครที่ทำธุรกิจเเนวๆ นี้อยู่อาจจะลองนำไอเดียไปประยุกต์ใช้ได้

ขนมเบื้องเเยกร่าง

เริ่มต้นด้วยการมาลองทำ “ขนมเบื้อง” ด้วยตนเอง กับร้าน ขนมเบื้อง BBC ป้าจี๊ดเจ้าเก่า เป็นเจ้าดังที่มีชื่อเสียงมานาน นับเป็นร้านขนมเบื้องแยกเครื่องร้านแรกๆ ที่เดินเกมตลาดเเนวนี้ โดยจัดทำขายเป็นเซตพร้อมทำ ทั้งเครื่องเเละไส้ต่างๆ ให้ลูกค้าได้เลือกตามใจชอบ

ขนมเบื้อง BBC ป้าจี๊ดเจ้าเก่า

อีกเจ้าน่าสนใจไม่เเพ้กันคือ ขนมเบื้อง D.I.Y byeatsii มีให้เลือกทั้งไส้หวานและเค็ม ภายใน 1 เซต มีวัตถุดิบ 3 กล่อง คือ แป้ง-ครีม-ไส้ ชูจุดเด่นประกอบกินกินเองได้ง่ายๆ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายร้านที่ปรับตัวมาขาย “ขนมเบื้องเเยกร่าง” ทางออนไลน์ ค้นหาได้ตามเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

ขนมเบื้อง D.I.Y byeatsii

สานฝันวัยเด็ก ทำ “ขนมโตเกียว” กินเอง

ตอนเด็กๆ ใครอยากทำขนมโตเกียวเองบ้าง ช่วงนี้เเหละคือโอกาส เพราะเริ่มมีบริการเซตขนมโตเกียว DIY ส่งเดลิเวอรี่ให้ไปทำเองที่บ้านได้เเล้ว วัตถุดิบมีให้ครบเครื่องทั้งไส้ครีม ไส้กรอก หมูสับเเถมไข่นกกระทา ลองไปหาส่องดูได้ที่ร้าน Foodmania.th  

เซ็ตทำขนมโตเกียวของร้าน Foodmania.th

 

ทำบัวลอย-เเต่งหน้าเค้ก กิจกรรมครอบครัวยามกักตัว

Chef lab bkk เจาะลูกค้าสายครอบครัว ด้วยการส่ง “เซตทำขนม” ไปสร้างกิจกรรมสนุกๆ ในบ้าน คลายเครียดคลายเบื่อได้เป็นอย่างดี โดยมีให้เลือก 3 ชุดได้เเก่ เซตขนมโตเกียว DIY ตามมาด้วยเซต DIY Royal icing cookies  และเซ็ต DIY Cupcake ได้เป็นเชฟกันจริงๆ ก็คราวนี้

เซ็ตทำขนมจาก Chef lab bkk

เอาใจคนอยากลอง “เเต่งหน้าเค้ก” ด้วยตนเองกับร้าน Little Baker เพิ่มไอเดียสร้างสรรค์ พร้อมอุปกรณ์เเละวัตถุดิบให้ครบ ตอบโจทย์คนอยากหางานอดิเรกใหม่

เซ็ตเเต่งหน้าเค้ก ด้วยตนเอง จาก Little Baker

บัวลอยก็มา ช่วงนี้ใครท้อใจว่าอยากกินเเล้วทำเองยาก Cafe Cococano มองเห็นโอกาส ออกเเพ็กเกจ “บัวลอย DIY” มีให้เลือกทั้งไอติมบัวลอยฝอยทองไข่หวาน เเละบัวลอยน้ำกะทิไข่หวาน จัดส่งให้ถึงบ้าน

คนถามหา “เเป้งเเพนเค้ก” 

After You เป็นเเบรนด์ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหนัก เมื่อร้านที่เคยมีคนต่อคิวรอเกือบ 1 ชั่วโมง ตอนนี้ต้องปิดให้บริการชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ ดังนั้น After You จึงต้องวางกลยุทธ์ใหม่ด้วยการรุกขายเดลิเวอรี่เเละเเพ็กเกจ Take Home โดยเเป้งเเพนเค้กของ After You เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่คนถามหามากขึ้นในช่วงนี้ หลังเปิดตัวตั้งเเต่ช่วงกลางปี 2019 เเละกลับมาบูมอีกในช่วงกักตัว นอกจากนี้ยังมีเมนู “คากิโกริ” ที่ลูกค้าสามารถสั่งไปประกอบร่างได้เอง

Pancake Mix ของ After You

ทาสชาไข่มุก ได้ปั้น “ไข่มุก” กินเอง

สำหรับคนที่เป็นแฟนของเมนูชาไข่มุก ยามเก็บตัวอยู่อาจจะมีช่องทางการซื้อทางเดลิเวอรี่ ซึ่งแต่ละแบรนด์ต่างอัดโปรโมชั่นแถมมากมาย เพื่อกระตุ้นการซื้อของผู้บริโภค

แต่ตอนนี้แม้แต่ไข่มุกก็สามารถปั้นเองแบบ DIY ได้ โดยแบรนด์ Bearhouse ได้ออกเซ็ตแป้งทำไข่มุก ให้ลูกค้าได้ปั้น และทำไข่มุกเองที่บ้าน

การตลาดเเนวใหม่นี้ทำให้สินค้าน่าสนใจขึ้นมาไม่น้อย เมื่อ COVID-19 ได้สั่นสะเทือนธุรกิจร้านอาหาร ในอีกมุมก็ทำให้ร้านเกิดช่องทางการขายใหม่ๆ เปิดประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้า เเละเเม้ว่าจะผ่านพ้นโรคระบาดไปแล้ว เเต่ “เซตพร้อมทำ DIY” เเบบนี้ก็น่าจะขายต่อไปได้อีกยาว

 

]]>
1276028
“ดาต้า” กลยุทธ์เจาะลูกค้า ตัดสินธุรกิจ “แพ้-ชนะ” https://positioningmag.com/1220142 Sun, 17 Mar 2019 23:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1220142 ในยุคดิจิทัล “คู่แข่ง” ธุรกิจมาจากทุกทิศทางและสนามการแข่งขันในโลกออนไลน์เปิดกว้างสำหรับทุกราย ไม่ว่าจะเป็นเอสเอ็มอี แบรนด์เล็ก หรือโกลบอลแบรนด์ วันนี้ใครเข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วกว่า แม่นยำกว่า จึงเป็น “ผู้ชนะ” และหากต้องอยู่ในฝั่ง “ผู้แพ้” อาจไม่มีที่ยืน 

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า ในยุคดิจิทัลการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของธุรกิจที่เห็นได้ชัดเจน เกิดจากการนำเทคโนโลยีข้ามาใช้งาน ทั้งการพัฒนาสินค้า กลยุทธ์การตลาด การเข้าถึงผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถและประสิทธิภาพการทำรายได้และกำไรของธุรกิจอย่างชัดเจน

ศิวัตร เชาวรียวงษ์

เดิมการทำธุรกิจของ ร้านค้าออฟไลน์ ประสิทธิภาพการขายจะต้องอาศัยความเก่งของพนักงาน ในการจดจำลูกค้าและสินค้า ทักษะที่เก่งมากขึ้นอีกขั้น ก็อาจรู้ว่าลูกค้าคนไหน ชอบสไตล์ไหน ความเก่งของพนักงานขายเกิดขึ้นจากการสะสมความรู้ข้อมูลและประสบการณ์ ดังนั้นร้านที่มีพนักงานขายเก่ง ก็จะมียอดขายมากขึ้น

แต่ในยุคดิจิทัลการซื้อขายสินค้าเปลี่ยนสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ทักษะการขายมาจากเทคโนโลยีที่มีการวิเคราะห์ “ดาต้า” ซึ่งเรียนรู้จากพฤติกรรมและความสนใจของผู้บริโภค ความสามารถของเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซ คือจำลูกค้าได้ แม้คลิกเข้ามาเพียงครั้งเดียว อีกทั้งยังจดจำสินค้าได้ทุกไอเท็ม

“เรียกว่าเทคโนโลยีสามารถรู้จักลูกค้าเป็นล้านคน รู้จักสินค้าเป็นแสนเป็นล้านไอเท็ม ที่สำคัญรู้ว่าแพทเทิร์นการดูและซื้อสินค้าของลูกค้า จึงเลือกแสดงสินค้าที่ตรงกับความชอบได้อย่างแม่นยำ”

Cr.pixabay

ขณะที่การจัดโปรโมชั่นของร้านค้าออฟไลน์ ทุกคนจะเห็นสินค้าและโปรโมชั่นเดียวกันหมด แต่อีคอมเมิร์ซสามารถจัดโปรโมชั่นได้แบบรายบุคคลตามความสนใจ จากการใช้ดาต้ามาวิเคราะห์ ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความสามารถในการดูแลลูกค้า ทำให้ผู้ประกอบการเหลือเพียงต้นทุนผลิตสินค้าและเทคโนโลยีที่เข้าถึงลูกค้า ที่เหลือคือกำไร ดังนั้นใครทำได้เก่งกว่า หรือบริหารงบประมาณได้ดีกว่าก็จะมี “กำไร” มากกว่า

“ในยุคที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและดาต้า คนชนะก็จะยิ่งชนะมากขึ้น คนแพ้ก็จะแพ้หนักขึ้น ช่องว่างระหว่างผู้ชนะกับผู้แพ้จะยิ่งห่างขึ้นเรื่อยๆ และหากอยู่ในฝั่งผู้แพ้แล้ว จะไม่แพ้แบบนิดหน่อย แต่จะแพ้แบบหมดรูปถึงขั้นปิดกิจการ”  

สูตรลับแพ้-ชนะที่ “ดาต้า”  

Cr.pixabay

ในยุคนี้ “ดาต้าและเทคโนโลยี” ทำให้เกิด “สูตรสำเร็จ” หรือ “สูตรลับ” ที่ทำให้ธุรกิจสามารถชนะกันได้แบบขาดลอย เพราะคนที่มีดาต้าจำนวนมาก หากพบว่ามีลูกค้าอยู่เซ็กเมนต์หนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มมีจำนวนมากพอในการทำตลาด แต่คู่แข่งมองไม่เห็น เพราะมี “ดาต้า” ไม่เท่ากัน

คนที่มีดาต้ามากกว่า จึงเข้าใจสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ นำเสนอกลยุทธ์เจาะลูกค้าได้แม่นยำ และทำให้ขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น มีกำไรมากขึ้น ท้ายที่สุดก็จะมีเงินมาทำการตลาดได้มากกว่าคู่แข่ง การใช้เทคโนโลยีในยุคนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมาก เพราะเทคโนโลยีถูกลงและบางเครื่องมือเปิดให้ใช้ฟรี

ปัจจุบันผู้ประกอบการที่ไม่ได้มองเรื่องการใช้เทคโนโลยีและดาต้า เมื่อสินค้าขายได้ลดลง มักสรุปเองว่ามาจากปัจจัยเศรษฐกิจถดถอย แต่ที่จริงแล้วลูกค้าอาจไปอยู่ในมือคู่แข่งแล้ว จากการใช้ดาต้าที่เข้าถึงและเสนอสินค้าได้ตรงกับความต้องการ หรือบางรายอาจเห็นถึงความสำคัญของการใช้ดาต้าและเทคโนโลยีแล้วแต่ปรับตัวไม่ทัน

ในอดีตการแพ้ชนะของธุรกิจอาจขึ้นอยู่กับการยึดครอง “พื้นที่” ในฐานะเจ้าถิ่น แต่ปัจจุบันอีคอมเมิร์ซทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการซื้อสินค้าได้หลากหลายโดยไม่มีข้อจำกัดของพื้นที่ในการเข้าถึง

วันนี้แม้แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนซื้อสินค้าหรือกับร้านค้าในพื้นที่คุ้นเคย ยังถูกบั่นทอนด้วยเทคโนโลยี เพราะการซื้อออนไลน์ไม่ต้องพบปะผู้คน

ขณะที่ระบบจ่ายเงินและการส่งสินค้าพัฒนามาต่อเนื่อง จึงไม่มีอุปสรรคในการซื้อสินค้าออนไลน์อีกต่อไป เป็นการดึงเงินออกจากกระเป๋าผู้บริโภคได้มากและบ่อยขึ้น จนทำให้การซื้อสินค้าในช่องทางอื่นๆ ลดลง

โอกาส “แบรนด์เล็ก” ชิงลูกค้า

cr.pixabay

ในโลกออนไลน์และอีคอมเมิร์ซ ได้สร้างพื้นที่ “ค้าขาย” และทำการตลาดให้กับผู้ประกอบการทุกราย ทั้งเอสเอ็มอี แบรนด์เล็ก และรายใหญ่

ปัจจุบันพบว่าบริษัทขนาดใหญ่ถูกกดดันมากขึ้น จากการเกิดขึ้นของ “แบรนด์เล็ก” ที่ค้าขายอยู่บน “โซเชียล คอมเมิร์ซ” แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมจากคนไทย แม้แบรนด์เล็กและเอสเอ็มอีไม่ได้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาดอย่างมีนัยสำคัญกับแบรนด์ใหญ่

แต่หากเป็นแบรนด์เล็กที่มีจำนวนเป็น 10,000 ราย เข้าไปดึงเงินในกระเป๋าของผู้บริโภค เมื่อรวมหลายๆ แบรนด์เล็กก็ถือเป็นสัดส่วนที่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาด ที่เดิม “โกลบอล แบรนด์” เป็นผู้ครองตลาดนี้ ต้องเรียกว่าการแข่งขันค่อยๆ โหดขึ้นเรื่อยๆ

แบรนด์หั่นงบโฆษณาทีวี

ศิวัตร เชาวรียวงษ์

สำหรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมสื่อโฆษณา ศิวัตร กล่าวว่า ที่ผ่านมาลูกค้าแบรนด์ใหญ่ ที่มีงบโฆษณาจำนวนมาก ยังไม่กล้าตัดงบโฆษณาทีวีมากนัก แต่ปี 2018 เริ่มการตัดงบโฆษณาทีวี ทั้งแบบที่ตัดทิ้งทั้งหมดในกลุ่มระดับกลาง และเริ่มตัดงบบางส่วนในกลุ่มรายใหญ่

เดิมแบรนด์ที่มีงบโฆษณาจำนวนมาก ไม่กล้าเสี่ยงที่จะเทงบประมาณไปที่ด้านใดด้านหนึ่ง เพราะหากใช้งบโฆษณาดิจิทัลอย่างเดียว เงินก็จะเหลือ หรืองบประมาณที่ใช้อยู่ในสื่อดิจิทัล ถือว่าได้ผลที่ดีแล้ว หากใช้มากขึ้นผลลัพธ์ก็ไม่แตกต่างจากเดิม จึงกระจายเงินไปใช้กับสื่ออื่นๆ

“แบรนด์ระดับกลางที่มีงบโฆษณาต่อปีไม่ถึง 50 ล้านบาท วันนี้เริ่มไม่ลงโฆษณาทีวี หรือเลือกลงทีวี ไม่กี่ครั้งต่อปี ส่วนแบรนด์ใหญ่งบโฆษณากว่า 100 ล้านบาทต่อปี เริ่มตัดงบทีวีเช่นกัน ขณะที่แบรนด์เล็กและเอสเอ็มอี ใช้งบโฆษณาและการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล 100% 

]]>
1220142