กลุ่มคอนติเนนทอล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Sep 2009 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คอนติเนนทอล ไทร์ส ปักธงในตลาดไทย https://positioningmag.com/49324 Mon, 21 Sep 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=49324

คอนติเนนทอล ไทร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดสำนักงานอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เพื่อการให้บริการที่ดียิ่งขึ้นแก่ลูกค้าชาวไทย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดยางรถยนต์

กรุงเทพ 15 กันยายน 2552: คอนติเนนทอล ไทร์ส เปิดตัวสำนักงานอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ในวันที่ 15 กันยายน 2552 การเปิดสำนักงานของบริษัท คอนติเนนทอล ไทร์ส (ประเทศไทย) จำกัด นี้แสดงถึงความมุ่งมั่นและความพร้อมที่จะรุกตลาดยางรถยนต์ในไทยอย่างเต็มรูปแบบด้วยความมั่นใจในศักยภาพที่จะขยายธุรกิจและกระตุ้นการเติบโตของตลาด และยังนับเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของการสร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจยางรถยนต์ของบริษัทในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค

“ในฐานะผู้ผลิตยางยานยนต์ขนาดใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก และผู้นำของการสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมรรถนะสูงที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม พร้อมคุณภาพและความปลอดภัยสูง ถึงเวลาแล้วที่ คอนติเนนทอล ไทร์ส จะขยายเข้าสู่ประเทศไทยและใช้ไทยเป็นฐานที่แข็งแกร่งอีกแห่งหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่าไทยคือศูนย์กลางและฐานผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ที่สำคัญในภูมิภาค” มร. เบนวา เอช เฮนรี รองประธานฝ่ายขายและการตลาด หน่วยธุรกิจยางทดแทน ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว

“สำนักงานในประเทศไทยจะช่วยให้เราเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของลูกค้าได้ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว คอนติเนนทอลจะดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดทุกด้านที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การใช้ผลจากการศึกษาวิเคราะห์เชิงลึกความต้องการของลูกค้า รวมถึงการทดสอบการขับขี่ยาง คอนติเนนทอลบนท้องถนน ทำให้ให้มั่นใจว่ายางรถยนต์ของคอนติเนนทอลตอบสนองและเหมาะสมต่อทุกสภาวะการขับขี่และทุกสภาพถนนในประเทศไทย ในขณะเดียวกันเราจะใช้กิจกรรมการตลาดแบบบูรณาการเพื่อเสริมความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีกให้กับแบรนด์สัญชาติเยอรมันนี้ และในปีหน้า คอนติเนนทอลยังเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2553 ที่จะขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้” นาย วิโรจน์ วชิรเดชกุล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท คอนติเนนทอล ไทร์ส (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายเพิ่มเติม

แบรนด์คอนติเนนทอล เป็นที่รู้จักในตลาดยางรถยนต์ในประเทศไทยมานานหลายปี ครอบคลุมตลาดธุรกิจยางทดแทนสำหรับตลาดทั่วไปและรถยนต์ส่วนบุคคลสัญชาติยุโรป รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อและรถกระบะ บริษัท คอนติเนนทอล ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์รุ่นต่างๆ ซึ่งสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าและสามารถแข่งขันได้ในตลาดเป็นอย่างดี ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลัก ในกลุ่มยางรถยนต์โดยสารส่วนบุคคล และรถสปอร์ต 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ยางรุ่น ComfortContact1, SportContact1, ContiPremiumContact2, ContiSportContact2 และ ContiSportContact3 ยางรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ยางรุ่น ContiCrossContact UHP, ContiCrossContact AT, ContiCrossContact LX, ContitracSUV และ Conti4x4SportContact ยางสำหรับรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2ผลิตภัณฑ์ Vanco 8 และ Vanco 2 รวมถึงยางรถบรรทุกรุ่น HSR2,HDR2, HTR, HSC1 และ HSU1 ทั้งนี้ กล่าวได้ว่า คอนติเนนทอลเป็นหนึ่งในผู้นำด้านการผลิตยางทดแทนระดับภูมิภาคเอเชียที่มุ่งมั่นในการสร้างความเติบโตให้ตลาด

“การเปิดสำนักงานของบริษัท คอนติเนนทอล ไทร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญของคอนติเนนทอลและความผูกมัดของบริษัทในตลาดยางรถยนต์ ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับระบบการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า การจัดกิจกรรมและแคมเปญทางการตลาดที่เข้มข้นขึ้น ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายที่มั่นคง ทั้งหมดนี้เป็นการตอกย้ำชื่อเสียงของยางรถยนต์คอนติเนนทอลเป็นอย่างดี ที่ทุกอย่างที่บริษัทมอบให้กับผู้บริโภค คือ การขับขี่ที่ปลอดภัย สะดวกสบาย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเทคโนโลยีสูง เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพเยี่ยมสำหรับประเทศไทยและภูมิภาค” มร.ปีเตอร์ ฮอฟแมน ผู้อำนวยการการตลาด หน่วยธุรกิจยางทดแทนประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวสรุป

กลุ่มคอนติเนนทอล คอร์ปอเรชั่น เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งมอบชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำลำดับต้นๆ ของโลก มียอดขายในปี 2551 มากกว่า 24 พันล้านยูโร หรือประมาณ 1.08 ล้านล้านบาท (1,080 พันล้านบาท) ในฐานะที่กลุ่มคอนติเนนทอล เป็นผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบเบรก ระบบและชิ้นส่วนสำหรับระบบส่งกำลังและแชสซี หน้าปัดรถยนต์ อุปกรณ์เพิ่มความบันเทิงในรถยนต์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ ยางรถยนต์และยางสังเคราะห์ เป็นต้น กลุ่มคอนติเนนทอล มุ่งมั่นพัฒนาระบบและส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่สูงสุด อีกทั้งร่วมกันปกป้องสภาพแวดล้อมของโลกด้วย นอกจากนี้ คอนติเนนทอล ยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็งในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารที่ใช้ในยานยนต์ ปัจจุบัน กลุ่มคอนติเนนทอล คอร์ปอเรชั่น มีพนักงานประมาณ 130,000 คน ในสำนักงานกว่า 190 แห่งใน 35 ประเทศทั่วโลก

]]>
49324
ออโต้เมคันนิกา ยกย่องให้ สายพานไทม์มิ่งใหม่ คอนติ กรีน รันเนอร์ เป็นยอดผลิตภัณฑ์ที่ดีกับสิ่งแวดล้อม https://positioningmag.com/46181 Tue, 17 Feb 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46181

สายพานไทม์มิ่ง คอนติ กรีน รันเนอร์ ของคอนติเนนทอล ได้รับยกย่องให้เป็น 1 ใน 25 ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม ในงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวกับรถยนต์ ออโต้เมคันนิกา (Automechanika)

สายพานไทม์มิ่ง คอนติ กรีน รันเนอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และได้รับการบรรจุชื่อผลิตภัณฑ์นี้ลงในพจนานุกรมสิ่งแวดล้อม (Green Dictionary) ของ ออโต้เมคันนิกา ซึ่งเป็นคู่มือแนะนำให้ผู้มาร่วมงานแสดงสินค้าสามารถติดต่อกับผู้ผลิตที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้

คอนติ กรีน รันเนอร์ สามารถนำไปใช้แทนสายพานไทม์มิ่งที่เป็นโซ่แบบเดิม สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 3 กรัม ต่อการขับเคลื่อน 1 กิโลเมตร ช่วยให้การทำงานของแกนลูกเบี้ยว และเพลาข้อเหวี่ยง สอดประสานกันเป็นอย่างดี ทำให้ลดแรงเสียดทานได้ถึง 30 % เมื่อเทียบกับการใช้สายพานโซ่แบบเดิม ช่วยลดการเผาไหม้ของน้ำมันถึง 0.2 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร ซึ่งส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 3 กรัม ต่อ 1 กิโลเมตร

“เมื่อคำนึงถึงมาตรฐานสูงสุดของอียูซึ่งกำหนดให้ลดลง 120 กรัม นับว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่น้อย” มร.เฮอร์มานน์ ชัทเทอร์ หัวหน้างานพัฒนาระบบสายพาน สายงานกลุ่มส่งกำลัง ธุรกิจคอนติเทค กล่าว พร้อมทั้งเสริมว่า “ขณะนี้ตลาดผลิตรถยนต์ยุโรปได้นำพัฒนาการนี้มาใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก เชื่อว่าในยุคหน้าของอุตสาหกรรมยานยนต์ ผู้ผลิตจะหันมาใช้สายพานไทม์มิ่งแบบใหม่ที่เป็นเข็มขัดแทนที่แบบโซ่มากขึ้น”

ข้อดีอีกข้อของ คอนติ กรีน รันเนอร์ คือ สามารถลดเสียง หรือส่งเสียงที่เบากว่าสายพานแบบโซ่ขณะขับเคลื่อน เนื่องจากส่วนที่สัมผัสกับโลหะจะเป็นยางแทนที่จะเป็นเหล็กเหมือนสายโซ่ ทำให้เสียงเบาลง ประกอบกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีพูเล่ย์รูปวงรี ทำให้สายพานใหม่มีหน้ากว้างลดลงกว่าสายพานแบบทั่วไปถึง 30% และยังทำให้การขับขี่มีความซับซ้อนน้อยลง

คอนติ กรีน รันเนอร์ ได้ผ่านการทดสอบมากกว่า 240, 000 กิโลเมตรในยานยนต์ประเภทต่างๆ และแสดงให้เห็นว่ามีความทนทานตลอดอายุของเครื่องยนต์ “ความได้เปรียบของสายพานแบบโซ่ที่เคยมีนั้นหมดไปแล้ว ตรงกันข้ามสายพานแบบใหม่นี้มีความจูงใจมากกว่า” ชัทเทอร์กล่าว สายพานรุ่นพิเศษที่ทนต่อการชุ่มน้ำมัน สามารถนำมาใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำมันเป็นการทดแทนการขับเคลื่อนด้วยสายโซ่ได้อย่างชาญฉลาด

กลุ่มคอนติเนนทอล คอร์ปอเรชั่น เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งมอบชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำลำดับต้นๆ ของโลก และคาดว่ายอดขายในปี 2551 นี้จะมากกว่า 26.4 พันล้านยูโร หรือประมาณ 1.32 ล้านล้านบาท (1,320 พันล้านบาท) ในฐานะที่กลุ่มคอนติเนนทอล เป็นผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบเบรก ระบบและชิ้นส่วนสำหรับระบบส่งกำลังและแชสซี หน้าปัดรถยนต์ อุปกรณ์เพิ่มความบันเทิงในรถยนต์ ระบบอิเลคทรอนิกส์ในยานยนต์ ยางรถยนต์และยางสังเคราะห์ เป็นต้น

กลุ่มคอนติเนนทอล มุ่งมั่นพัฒนาระบบและส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่สูงสุด อีกทั้งร่วมกันปกป้องสภาพแวดล้อมของโลกด้วย นอกจากนี้ คอนติเนนทอลยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็งในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารที่ใช้ในยานยนต์ ปัจจุบันกลุ่มคอนติเนนทอล คอร์ปอเรชั่น มีพนักงานกว่า 150,000 คน ในสำนักงานกว่า 200 แห่งใน 36 ประเทศทั่วโลก

]]>
46181
คอนติเนนทอล สร้างคันเร่งซึ่งตอบสนองผู้ขับขี่ด้วยระบบสั่นเป็นครั้งแรก https://positioningmag.com/46182 Tue, 17 Feb 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=46182

คอนติเนนทอลนำ Accelerator Force Feedback Pedal (AFFP) คันเร่งที่ตอบสนองผู้ขับขี่ด้วยระบบสั่นเข้าสู่ตลาดเป็นครั้งแรก ตั้งเป้าในการช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

ส่วนธุรกิจแชสซีและความปลอดภัย ของคอนติเนนทอล เปิดตัว Accelerator Force Feedback Pedal (AFFP) คันเร่งที่ตอบสนองผู้ขับขี่ด้วยระบบสั่นเป็นครั้งแรกในตลาดโลก โดยได้มีการติดตั้งคันเร่งที่ตอบสนองผู้ขับขี่ด้วยระบบสั่นในรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก AFFP จะสามารถเตือนเมื่อผู้ขับอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายด้วยการสั่น และออกแรงดันที่ตัวคันเร่ง ซึ่งจะทำให้ผู้ขับขี่ถอนเท้าออกจากคันเร่งเพื่อพร้อมเบรก

เทคโนโลยีนี้พัฒนามาจาก ContiGuard ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัย และลดอุบัติเหตุบนท้องถนนของคอนติเนนทอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบัติเหตุอันเกิดจากการชนกันทางด้านท้ายของรถยนต์ ด้วยเทคโนโลยีที่ปราดเปรื่องของ AFFP นี้ จะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถขับขี่ได้ด้วยความเร็วที่สม่ำเสมอ และประหยัดน้ำมัน ทั้งยังช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะเดียวกันด้วย

AFFP ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ขับขี่
คำถามที่สำคัญที่สุดระหว่างผู้ขับขี่ และยานพาหนะ คือ ทำอย่างไรจึงจะเตือนผู้ขับขี่ในสถานการณ์ที่อันตราย และทำให้เขาได้ตระหนักถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น นายเบิร์นด์ เกบฮาร์ท หัวหน้าส่วนธุรกิจแชสซีอิเลคทรอนิกส์ของคอนติเนนทอลกล่าวว่า “ปัญหาเบื้องต้นที่มักจะพบคือ ผู้ขับขี่มักจะถูกเบนความสนใจไปยังสิ่งอื่น อาจเป็นเพราะกำลังติดสายหรือคุยกับเพื่อนร่วมทาง ซึ่งระบบเตือนด้วยการเห็นหรือส่งเสียงจะไม่ค่อยได้ผล” แต่ระบบ AFFP ซึ่งเป็นคันเร่งอัจฉริยะจะสามารถสื่อสารได้โดยตรงกับผู้ขับขี่ด้วยการสั่น ให้ผู้ขับขี่ทราบถึงอันตรายได้ผ่านทางเท้าของผู้ขับขี่ และทำให้ตระหนักถึงเหตุการณ์ หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด และสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วยวิธีที่เหมาะสม

คอนติเนนทอลยังได้นำระบบเตือนภัยด้วยเซ็นเซอร์มาประยุกต์ใช้ในกรณีอื่นด้วย ยกตัวอย่าง เช่น ระบบเตือนภัยผู้ขับขี่ขับออกนอกเส้นทางโดยการส่งสัญญาณสั่นไปที่พวงมาลัย เพื่อไม่ให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนเลนแบบเฉียดฉิว ในขณะที่รถข้างหลังกำลังจะแซงขึ้นอย่างรวดเร็ว AFFP จะสั่นเตือนเมื่อ ACC หรือระบบเตือนภัยผู้ขับขี่ออกนอกเส้นทางส่งสัญญาณเตือนมาว่ามีรถข้างหลังแล่นเข้ามาใกล้รถคันหน้าจนเกินไป ในภาวการณ์ที่เสี่ยงอันตรายเช่นนี้ระบบจะเพิ่มแรงดันที่คันเร่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ขับขี่ยังสามารถควบคุมรถและสามารถเร่งเครื่องหากมีความจำเป็นเกิดขึ้นตามสภาวะบนท้องถนน

ในอนาคต การติดตั้งระบบคันเร่งที่สื่อสารกับผู้ขับขี่หรือ AFFP จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ในหลายๆสถานการณ์ โดยเฉพาะในสภาวะซึ่งอาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดรถเสียตรงจุดที่ผู้ขับขี่ไม่สามารถมองเห็นได้ และเมื่อระบบนี้รายงานเข้ามาผ่านระบบสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรถที่อยู่ใกล้เคียง (Car-2-Car) AFFP ก็จะตอบสนอง และในทำนองเดียวกันเมื่อผู้ขับขี่พยายามฝืนไม่ให้เกิดอาการหลับใน ระบบเซ็นเซอร์ก็จะส่งสัญญาณเตือน “ระบบเตือนภัยด้วยคันเร่งสั่นนี้นับเป็นหนึ่งในการสื่อสารระหว่างคนกับเครื่องจักรชั้นเยี่ยม ซึ่งช่วยให้การขับขี่ปลอดภัยยิ่งขึ้น” นายเกบฮาร์ท กล่าวเสริม

การตอบสนองที่ฉับไวโดยคันเร่งระบบสั่นใช้เวลาเพียง 0.1 วินาที ในการทำงาน
จุดเด่นของกลไกอยู่ที่ตัวมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งเชื่อมตรงไปยังตัวคันเร่ง AFFP โดยทำงานเพียงลำพังตัวเดียว ในระยะเวลาที่สั้นเพียงชั่วพริบตา โดยใช้เวลาในการตอบสนองเพียงแค่ 0.1 วินาทีเท่านั้น

ระบบดังกล่าวสามารถนำมาติดตั้งได้ในยานพาหนะทุกชนิด เหมาะทั้งสำหรับคันเร่งแนวนอนและแนวตั้ง ซึ่งหมายความว่า ระบบ AFFP นี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งกับรถตู้ขนาดเล็ก และรถกระบะ เพราะเมื่อรถยนต์อยู่ใกล้กันเกินไปหรือผู้ขับขี่เหนื่อยล้าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุของทั้งรถตู้ และรถบรรทุก

การจราจรที่ไม่ติดขัด ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง และช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แม้ในช่วงเวลาที่การจราจรหนาแน่น คันเร่งระบบสั่น AFFP ยังช่วยประคับประคองให้ผู้ขับขี่รักษาระยะห่างที่ดีในอัตราความเร็วเฉลี่ยคงที่ ระบบจะประมวลผลโดยอาศัยข้อมูลจากเรดาร์ หรือ ระบบเซ็นเซอร์ด้วยกล้องที่คอยจับความเคลื่อนไหวของการจราจร และส่งสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ด้วยแรงต้านเบาๆให้รู้ว่าไม่ควรเร็วกว่านี้หรือเคลื่อนเข้าไปใกล้กว่านี้ ผลลัพธ์ของการติดตั้งระบบดังกล่าว จะเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้ขับขี่ ให้รักษาระดับความเร็วและระยะทางที่เหมาะสม ทำให้ผู้ขับขี่ลดความเครียดและลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้ในท้ายที่สุด พร้อมทั้งช่วยประหยัดน้ำมัน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย

เกือบหนึ่งในสองของอุบัติเหตุ เกิดขึ้นจากการชนท้าย
จากสถิติพบว่า รถโดยสารส่วนใหญ่มักเกิดอุบัติเหตุจากการชนท้ายรถกัน:
• ในสหรัฐอเมริกา 20% (แหล่งที่มา: NHTSA, National Highway Traffic Safety Administration)
• ในยุโรป (โดยเฉพาะในประเทศเยอรมนี): 44% (แหล่งที่มา: Federal Highway Research Institute (BASt)
• ในประเทศญี่ปุ่น: 57% (Institute For Traffic Accident Research and Data Analysis (ITARDA)

อุบัติเหตุเหล่านี้ ส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากปัจจัยทางตัวบุคคลเป็นหลัก ใน 85% จากกรณีต่าง ๆ ความผิดพลาดโดยส่วนใหญ่ ล้วนสืบเนื่องมาจากผู้ขับขี่ทั้งสิ้น โดยสามารถจำแนกออกเป็น 3 สาเหตุสำคัญ ๆ คือ
• การขับขี่โดยใช้ความเร็วที่ไม่เหมาะสม
• ระยะห่างระหว่างรถทั้งสองคันที่ไม่เพียงพอ
• ปราศจากความระมัดระวัง

ระบบคันเร่งซึ่งตอบสนองผู้ขับขี่ด้วยระบบสั่น AFFP นี้ นับเป็นตัวช่วยที่ทำให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุที่ร้ายแรงบนท้องถนนในโลกถนนลดลงได้กว่าครึ่ง

กลุ่มคอนติเนนทอล คอร์ปอเรชั่น เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งมอบชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำลำดับต้นๆ ของโลก และคาดว่ายอดขายในปี 2551 นี้จะมากกว่า 26.4 พันล้านยูโร หรือประมาณ 1.32 ล้านล้านบาท (1,320 พันล้านบาท) ในฐานะที่กลุ่มคอนติเนนทอล เป็นผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบเบรก ระบบและชิ้นส่วนสำหรับระบบส่งกำลังและแชสซี หน้าปัดรถยนต์ อุปกรณ์เพิ่มความบันเทิงในรถยนต์ ระบบอิเลคทรอนิกส์ในยานยนต์ ยางรถยนต์และยางสังเคราะห์ เป็นต้น กลุ่มคอนติเนนทอล มุ่งมั่นพัฒนาระบบและส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่สูงสุด อีกทั้งร่วมกันปกป้องสภาพแวดล้อมของโลกด้วย นอกจากนี้ คอนติเนนทอล ยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็งในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารที่ใช้ในยานยนต์ ปัจจุบัน กลุ่มคอนติเนนทอล คอร์ปอเรชั่น มีพนักงานประมาณ 150,000 คน ในสำนักงานกว่า 200 แห่งใน 36 ประเทศทั่วโลก

]]>
46182
คอนติเนนตอล ลงทุนกว่า 3 ล้านยูโร สร้างโรงงานใหม่ที่นูเร็มเบิร์ก https://positioningmag.com/45604 Mon, 12 Jan 2009 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=45604

คอนติเนนตอล ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ของโลก คือคนแรกที่เริ่มธุรกิจ ลิเทียมไอออน แบตเตอรี่ ซึ่งใช้สำหรับรถยนต์ไฮบริด โดยส่วนธุรกิจเพาเวอร์เทรนของคอนติเนนตอลได้ลงทุนมากกว่า 3 ล้านยูโรสร้างโรงงานใหม่ที่ นูเร็มเบิร์ก เพื่อผลิตลิเทียม ไอออน แบตเตอรี่โดยเฉพาะ “การลงทุนครั้งนี้ตอกย้ำให้เห็นว่าคอนติเนนตอลทำตามที่ได้ให้วาจาไว้ว่าจะพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ยอดเยี่ยมเพื่อการประหยัดพลังงาน สำหรับรถประหยัดพลังงานในอนาคต ที่สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย” ดร.คาร์ล โธมัส นอยแมน ประธานเจ้าหน้าบริหารและหัวหน้าส่วนธุรกิจเพาเวอร์เทรนของคอนติเนนตอลกล่าว

แบตเตอรี่รุ่นนี้สามารถจุพลังงานไฟฟ้าได้สูง
เมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่ที่ใช้กันในเครื่องยนต์ไฮบริดในปัจจุบัน (นิกเกิล – เมทเทิล ไฮไดร์ด) ลิเทียม แบตเตอรี่ นวัตกรรมใหม่ในการประหยัดพลังงาน สามารถเก็บไฟฟ้าได้มากกว่าอย่างเห็นได้ชัด แบตเตอรี่ที่คอนติเนนตอลผลิตขึ้นนี้มีน้ำหนักประมาณ 25 กิโลกรัม และต้องการปริมาตรในการกักเก็บพลังงานถึง 13 ลิตร ซึ่งทำให้มอเตอร์สามารถเผาไหม้ได้ถึง 19 กิโลวัตต์ ช่วยให้ประหยัดพลังงานขณะเร่งเครื่องหรือติดเครื่อง และแบตเตอรี่จะทำการชาร์จไฟเข้าเมื่อเวลาที่แตะเบรกหรือเบาเครื่อง หรือเมื่อล้อฟรีหมุนไปข้างหน้าเมื่อติดไฟแดง การที่ไฟชาร์จเมื่อแตะเบรกเป็นไปได้ก็ด้วยการควบคุมของเพาเวอร์อิเลคโทรนิกส์ เช่นเดียวกับปุ่มสตาร์ทหรือหยุดอิเลคโทรนิกส์ที่ทำให้รถยนต์ดับเครื่องโดยอัตโนมัติเมื่อล้อหยุดหมุน และเมื่อเคลื่อนที่ใหม่สวิทช์ก็จะติดโดยอัตโนมัติ การ recuperate จะเป็นส่วนหนึ่งของระบบไฮบริดโมดูล่าซึ่งรวมเอาเทคโนโลยีไฮบริดทั้งหมดว่าไว้ในชุดเดียว

ลิเทียม ไออนแบตเตอรี่ ที่ผลิตในนูเร็มเบิร์ก รวมทั้งเทคโนโลยีไฮบริดจะถูกนำไปติดตั้งเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถเมอร์ซิเดส เบนซ์ รุ่นใหม่ S400 Blue HYBRID และจะเริ่มออกสู่ตลาดในปี 2552 รถยนต์ขับเคลื่อนซีดานสุดหรูสมรรถนะ 6 สูบ จะกินน้ำมันซูเปอร์เพียง 7.9 ลิตร ต่อ 100 กิโลเมตร และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา 190 กรัม ต่อกิโลเมตร

ต้องการความปลอดภัยอย่างยิ่งยวด รวมทั้งการประกอบที่ใช้วิศวกรรมขั้นสูง
การจะใช้เทคโนโลยี ลิเทียม ไอออน ในยานยนต์นับว่าเป็นเรื่องท้าทายไม่น้อย “เพราะต้องมีความปลอดภัยขณะใช้และต้องวางใจได้ตลอดอายุการขับขี่ของรถยนต์คันนั้นตามที่ผู้ผลิตกำหนดมาซึ่งก็คือสิบปีเป็นอย่างน้อย” จอร์ค โกรเทนดอร์ส หัวหน้าแผนกยานยนต์ไฮบริดและไฟฟ้า ในส่วนธุรกิจเพาเวอร์เทรน กล่าว

แบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออนใหม่นี้มีระบบการจัดการที่คอยตรวจสอบการทำงานของแบตเตอรี่เพื่อให้มันอยู่ในสภาพการใช้งานเต็มที่ กลไกอิเลกโทรนิกส์จะเปรียบเทียบสภาพแบตเตอรี่โดยรวม อุณหภูมิ และพลังงานที่กักเก็บไว้กับอายุของแบตเตอรี่ วงจรควบคุมเซลล์ (Cell Supervision Circuit CSC) จะคอยตรวจสอบเซลล์แต่ละเซลล์และควบคุมให้มันทำงานเต็มที่ ประหยัดพลังงาน และป้องกันพลังงานที่เก็บสะสมอยู่ไม่ให้มีความร้อนสูงจนเกินไป โดย CSC จะควบคุมระบบการทำงานส่วนต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีและคงทน CSC ยังช่วยรักษาความสมดุลของการเติมแบตเตอรี่ การันตีได้10 ปี หรือ 160,000 – 240,000 กิโลเมตร ได้มีการนำแบตเตอรี่ที่ผลิตเมื่อปีที่แล้วมาทดลองทำให้เก่าและใช้งานมามาก เพื่อจะดูว่าเมื่อมันใช้งานไปนานปีมันจะเป็นอย่างไร

นอกเหนือจากด้านความปลอดภัยที่กล่าวมาแล้ว การประกอบแบตเตอรี่เข้าด้วยกันยังเป็นความท้าทายอีกด้วย การที่กระแสไฟฟ้าไม่ได้วิ่งผ่านสายเคเบิ้ลแต่วิ่งไปตามรางทองแดง จึงทำให้ต้องมีกระบวนการประกอบและเชื่อมต่อรางทองแดงเหล่านี้เป็นพิเศษ ต้องใช้แรง (resistance) ในการเชื่อมที่ใช้ไฟถึง16000 แอมป์จึงจะเชื่อมรางทองแดงเพื่อให้กระแสไฟวิ่งผ่านรอยต่อของรางได้ โดยไม่สูญเสียกระแสไฟไป แบตเตอรี่ลิเทียม ไอออนถูกผนึกอย่างแน่นหนาในกล่องสเตนเลสที่เชื่อมปิดด้วยแสงเลเซอร์

แบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออน ยังมีความท้าทายเมื่อเวลากำจัดทิ้งหลังใช้แล้ว และนำไปรีไซเคิลได้ ด้วยความใส่ใจและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม คอยคำนึงถึงการกำจัดของเสียต่าง ๆ คอนติเนนตอลได้ทำงานร่วมกับบริษัทกำจัดของเสีย โดยพัฒนาแนวคิดรีไซเคิลใหม่ๆ ที่ทำให้ 50 % ของตัวลิเทียมแบตเตอรี่สามารถนำไปสู่กระบวนการรีไซเคิลได้

ขีดความสามารถในการผลิต 15, 000 ชิ้น
คอนติเนนตอล เริ่มการผลิตลิเทียม ไอออนแบตเตอรี่เมื่อปลายปีที่แล้ว ที่กรุงเบอร์ลิน หลังจากนั้น 12 เดือน อุปกรณ์ต่างๆ ได้ถูกตระเตรียมและเก็บไว้ที่โรงงานนูเร็มเบิร์ก ด้วยการลงทุนประมาณ 3.3 ล้านยูโร สร้างงานให้คน 23 ตำแหน่งงานในส่วนการผลิตและส่วนที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละปีสามารถผลิต ลิเทียมแบตเตอรี่ 15000 ชิ้น ในเนื้อที่ 300 ตารางเมตรซึ่งจะสามารถขยายได้เท่าตัวเมื่อมีการแจ้งล่วงหน้า

กลุ่มคอนติเนนตอล คอร์ปอเรชั่น เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและส่งมอบชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำลำดับต้นๆ ของโลก และคาดว่ายอดขายในปี 2551 นี้จะมากกว่า 26.4 พันล้านยูโร หรือประมาณ 1.32 ล้านล้านบาท (1,320 พันล้านบาท) ในฐานะที่กลุ่มคอนติเนนตอล เป็นผู้จัดหาผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบเบรก ระบบและชิ้นส่วนสำหรับระบบส่งกำลังและแชสซี หน้าปัดรถยนต์ อุปกรณ์เพิ่มความบันเทิงในรถยนต์ ระบบอิเลคโทรนิกส์ในยานยนต์ ยางรถยนต์และยางสังเคราะห์ เป็นต้น กลุ่มคอนติเนนตอล มุ่งมั่นพัฒนาระบบและส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่สูงสุด อีกทั้งร่วมกันปกป้องสภาพแวดล้อมของโลกด้วย นอกจากนี้ คอนติ –
เนนตอล ยังเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่เข้มแข็งในการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารที่ใช้ในยานยนต์ ปัจจุบัน กลุ่มคอนติเนนตอล คอร์ปอเรชั่น มีพนักงานประมาณ 150,000 คน ในสำนักงานกว่า 200 แห่งใน 36 ประเทศทั่วโลก

]]>
45604
คอนติเนนตอล เอจี เผยผลสำรวจทั่วโลก ยานยนต์ไฮบริดและยานยนต์ใช้ไฟฟ้ามาแรง https://positioningmag.com/45271 Tue, 16 Dec 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=45271

เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทวิจัย ทีเอ็นเอส/อินฟราเทสท์ โดยการสนับสนุนของคอนติเนนตอล เอจี ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิ้นส่วนของโลก ได้สำรวจความคิดเห็นของกลุ่มนักขับขี่รถยนต์ 8,000 คนทั่วโลกในตลาดยานยนต์ที่สำคัญ 8 ประเทศ (ประเทศละ 1000 คน) ได้แก่ ประเทศจีน เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา โดยการสำรวจจะเน้นถึงการรับรู้ข้อมูลและความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อการขับขี่เครื่องยนต์ไฮบริด พฤติกรรมการขับขี่ และความคิดเห็นที่มีต่อยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า

จากการสำรวจ พบว่ารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและรถยนต์ระบบไฮบริดได้รับการยอมรับในหมู่นักขับขี่ทั่วโลก โดย 36 เปอร์เซ็นต์ ของกลุ่มตัวอย่างเต็มใจซื้อรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฮบริด ที่น่าทึ่งก็คือ 45.8 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มตัวอย่างมีความสนใจซื้อรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ทั้งนี้แรงจูงใจมาจากสองเหตุผลหลักคือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและราคาน้ำมันที่สูงขึ้น

“แนวโน้มที่ค้นพบมีความสำคัญสำหรับ คอนติเนนตอล เอจี ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และเป็นเจ้าของเทคโนโลยียานยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม” ดร คาร์ล โทมัส นิวแมน กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ คอนติเนนตอล เอจี กล่าว

ทั้งนี้ผลสำรวจชี้ชัดว่า ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นผลักดันให้ผู้ขับขี่ 45 เปอร์เซ็นต์เปลี่ยนพฤติกรรมมาหาวิธีขับขี่ที่ประหยัดน้ำมัน โดยกลุ่มผู้ขับขี่ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนพฤติกรรมมากที่สุดที่ 62.6 เปอร์เซ็นต์ ชาวเยอรมัน 55.2 เปอร์เซ็นต์ และชาวอเมริกัน 42.8% ขณะที่ชาวอังกฤษและจีนเป็นข้อยกเว้น โดย 60% ไม่มีการเปลี่ยนพฤติกรรมเลยแม้จะต้องเผชิญกับสถานการณ์น้ำมันแพงก็ตาม

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า การรับรู้เรื่องระบบขับเคลื่อนทางเลือกนั้นแตกต่างกันมากทั่วโลก โดยหนึ่งในห้าของผู้ขับขี่จะคิดถึงการขับขี่ด้วยระบบไฮบริด ซึ่งหมายถึงการใช้พลังงานร่วมของน้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าเป็นอย่างแรก ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นรู้จักระบบนี้ดีที่สุด จำนวน 46.9 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่คนอังกฤษต้องติดตามข่าวสารเรื่องนี้มากที่สุดเพราะมีเพียง 3.9 เปอร์เซ็นต์ที่ทราบเรื่องไฮบริด เช่นเดียวกับผู้ขับขี่ชาวอเมริกันที่รู้เรื่องไฮบริดน้อยเช่นกัน ที่ 6.6 เปอร์เซ็นต์

ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภครับรู้เรื่องรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าล้วนๆ เป็นที่สองรองจากไฮบริด ในภาพรวมมีเพียง 16.8 เปอร์เซ็นต์ โดยคนออสเตรียนรับรู้เรื่องรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 33.3 เปอร์เซ็นต์ และคนฝรั่งเศส 31.7 เปอร์เซ็นต์ โดยที่คนทั้งสองชาติเอ่ยถึงรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่ารถยนต์ไฮบริด และเมื่อถามถึงรถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน ทั้งสองชาตินึกถึงรถยนต์ดีเซล (14.1 เปอร์เซ็นต์) และรถยนต์ใช้แก๊สธรรมชาติ (11.4%) ขณะที่เป็นที่น่าสังเกตว่า มีคนจีนที่ไม่ทราบเรื่องการขับขี่ที่ประหยัดพลังงานเลยถึง 81.7 เปอร์เซ็นต์

ดร. นิวแมน กล่าวถึงข้อได้เปรียบของรถยนต์ไฮบริดเมื่อเทียบกับการขับรถยนต์แบบเดิมว่า ผู้ขับขี่ในเมืองหรือขับขี่ระยะทางสั้นๆ จะสามารถลดความสิ้นเปลืองด้านเชื้อเพลิงได้มากกว่าถึง 25 เปอร์เซ็นต์หากใช้รถยนต์ไฮบริด และยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย โดยรถยนต์ไฮบริดน่าจะมีอนาคตมากในอเมริกา ซึ่งผู้ขับขี่สองในสามคนขับขี่ในเมืองและในระยะทางสั้นๆ

ผู้บริโภคในการสำรวจถึง 36 เปอร์เซ็นต์ สนใจและมีความต้องการซื้อรถยนต์ไฮบริดแน่นอน ผู้บริโภคจีนในบริเวณเมืองชายฝั่งทะเลที่มีการเติบโตสูงแสดงความกระตือรือร้นเป็นอย่างมาก หลังจากที่ได้รับคำอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ โดยกว่าครึ่ง (53.8 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ขับขี่คนจีนต่างนึกถึงภาพที่ตัวเองเป็นเจ้าของรถไฮบริดสักคัน ขณะที่มีเพียง 27.4 เปอร์เซ็นต์หรือน้อยกว่าหนึ่งในสามในเยอรมนีที่ได้เตรียมตัวเตรียมใจเป็นเจ้าของรถไฮบริด

อย่างไรก็ดีหากรัฐบาลออกมาตรการด้านภาษีมาสนับสนุนผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ก็จะสนใจซื้อรถไฮบริด ทั้งนี้กว่าครึ่งของผู้ถูกสำรวจ (64.2%) บอกว่าจะพิจารณาซื้อรถไฮบริด โดยพบว่ามาตรการภาษีเป็นสิ่งกระตุ้นการตัดสินใจมากจนถึงมากที่สุดในเยอรมนี (66.6%) ออสเตรีย (67.6%) และอังกฤษ (69.6%)

อย่างไรก็ดี กว่าครึ่งของผู้ขับขี่ทั่วโลก (58.1%) ยังคงบอกว่าการขับขี่รถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อรถมากกว่ารถยนต์ธรรมดา ผู้ขับขี่ 50.8 เปอร์เซ็นต์ไม่พร้อมที่จะจ่ายมากขึ้นสำหรับซื้อรถไฮบริด ส่วนอีกครึ่งหนึ่งอยากจ่ายเพิ่มเพียง 2,781 ยูโรเพื่อจะได้เป็นเจ้าของรถที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“หน้าที่ของเราคือ การชี้ให้ผู้ขับขี่รถยนต์เห็นว่าการใช้รถพลังงานทดแทนจะได้ประโยชน์อย่างไร และย้ำให้เห็นถึงประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ขับขี่และสิ่งแวดล้อม” ดร.นิวแมน กล่าว

การสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ราคาคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจซื้อรถไฮบริดของผู้ตอบแบบสำรวจถึง 63.5 เปอร์เซ็นต์ โดยในญี่ปุ่น 8 ใน 10 คน (82.6 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ขับขี่ระบุว่า ประเด็นราคาคือสิ่งสำคัญที่สุดในการตัดสินใจ สำหรับผู้บริโภคในยุโรปส่วนใหญ่ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมสำคัญเป็นอันดับสอง ตรงกันข้ามกับผู้บริโภคในเอเชีย อเมริกา และอังกฤษ ที่ไม่เห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากบางคนซึ่งเป็นข้อยกเว้น

ดร.นิวแมน อธิบายเพิ่มเติมว่า “การตัดสินใจไม่ควรขึ้นอยู่กับเงินที่ต้องจ่ายเมื้อซื้อรถเท่านั้น แต่ควรจะเป็นการมองในระยะยาวมากกว่า เพราะการใช้รถไฮบริดจะทำให้ผู้ขับขี่ประหยัดอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะผู้ขับขี่ที่อยู่ในเมือง”

สำหรับคำถามที่ว่าอะไรในการขับขี่รถไฮบริดที่น่าสนใจมากที่สุด ผู้ขับขี่ตอบว่าเรื่องการประหยัดน้ำมันของยานยนต์ไฮบริดจะเป็นประเด็นหลักในการตัดสินใจ โดย 37.9 เปอร์เซ็นต์จะสนใจรถไฮบริดที่กินน้ำมันน้อยและสามารถเร่งเครื่องได้ดีเท่าหรือดีกว่ารถยนต์แบบเดิม โดยผู้ขับขี่ส่วนใหญ่คาดหมายว่าการซื้อรถไฮบริดจะคุ้มทุนภายใน 3 ปี

การพัฒนาด้าน ลิเธียม ไอออน แบตเตอรี่ที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคอนติเนนตอลมีส่วนร่วมในการพัฒนานี้ ได้นำไปสู่ความสนใจยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่มีมากขึ้น โดยเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ขับขี่ (45.8 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่าจะ “ซื้อแน่นอน” “น่าจะซื้อแน่” และ”คงจะซื้อ” รถที่ออกแบบเพื่อการขับขี่ในเมืองที่แล่นด้วยไฟฟ้าจากแบตเตอรี่และไม่ปล่อยมลพิษใดๆ

ดร.นิวแมน ประกาศว่า คอนติเนนตอลจะจัดพิมพ์ข้อมูลสำหรับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ และยินดีมอบให้แก่ลูกค้าที่สนใจ

]]>
45271