กลุ่มบริษัท ซีดีจี ผู้นำด้านการให้บริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจรแก่องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ประกาศความพร้อมให้การสนับสนุนภาครัฐเร่งเดินหน้าสานต่อโครงการพัฒนาฐานข้อมูลของประเทศและบูรณาการข้อมูลในด้านต่างๆ ของแต่ละหน่วยงานผ่านระบบสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มศักยภาพประเทศให้พร้อมรับการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ภายหลังเปิด เออีซี ในปีหน้า โดยกลุ่มบริษัทฯ เตรียมนำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศสู่ภาครัฐในหลายโครงการ คาดภายหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่ มูลค่าธุรกิจโครงการภาครัฐในประเทศจะเพิ่มขึ้น 50% ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า พร้อมเร่งเดินหน้าขยายธุรกิจในประเทศกลุ่ม เออีซี ให้มีสัดส่วน 15% ของรายได้รวมภายในปี 2561
นายนาถ ลิ่วเจริญ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท ซีดีจี กล่าวว่า “ในส่วนแผนการปฏิรูปประเทศไทยที่กำลังดำเนินอยู่และมีความรุดหน้าเป็นลำดับ ทางกลุ่มบริษัท ซีดีจี พร้อมนำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศครบวงจรแก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อสนับสนุนศักยภาพการแข่งขันให้ประเทศไทยให้พร้อมรับ เออีซี ผ่านการให้บริการ 3 ส่วน คือ 1.การบูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานระดับกระทรวง ทบวง กรม 2. การยกระดับระบบการทำงาน back office และ core application ของหน่วยงาน และ 3. การยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐแก่ประชาชน เนื่องจากกลุ่มบริษัทฯ มองว่าภายหลังเปิด เออีซี ปีหน้า ประเทศไทยจะเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและท้าทายเป็นอย่างมากใน 4 ด้าน คือ ด้านสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยของประชาชน, ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ-ภาคธุรกิจ, ด้านสังคม และด้านการบริหารจัดการทรัพยากรประเทศ ซึ่งกลุ่มบริษัทได้ปรับแนวรุกธุรกิจตามความท้าทายดังกล่าว เนื่องจากเล็งเห็นว่าการที่ภาครัฐมีระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลระดับประเทศที่ดีเพื่อเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงจะมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาความได้เปรียบในการแข่งขันของไทยในเวทีอาเซียน”
โดยความท้าทายอันดับ หนึ่ง ในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยของประชาชนนั้น ล่าสุด กลุ่มบริษัท ซีดีจี ได้ให้การสนับสนุนโครงการจัดทำข้อมูลขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ณ ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ของกรมการปกครอง โดยนำระบบและซอฟทแวร์ไปเสริม อีกทั้งช่วยดูแลบริหารจัดการดำเนินงานโครงการ โดยกลุ่มบริษัทฯ มองว่าการไหลบ่าเข้ามาของแรงงานต่างชาติจะเพิ่มความท้าทายให้แก่ภาครัฐในการดูแลสิทธิเสรีภาพและความปลอดภัยให้แก่ประชาชน เนื่องจากเมื่อมีจำนวนประชากรมากขึ้น การควบคุมอาชญากรรมและอัตราการแพร่กระจายในกรณีที่เกิดโรคระบาดจะเป็นไปได้ยากขึ้นซึ่งหากมีการผนวกใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS – Geographic Information System) เข้ามาจะยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามการย้ายถิ่นฐานของประชาชนรวมถึงแรงงานต่างชาติ และทำให้การควบคุมในกรณีฉุกเฉินเป็นไปได้ง่ายขึ้น กลุ่มบริษัทฯ จึงมีแผนนำเสนอระบบดังกล่าวต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอนาคตอันใกล้
ความท้าทายอันดับสอง คือ ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ-ภาคธุรกิจ ซึ่งจากการที่กลุ่มบริษัท ซีดีจี ได้เริ่มเข้าไปให้บริการ ‘สารบัญอิเลคทรอนิกส์’ ในรูปแบบการให้บริการซอฟท์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ท ที่เรียกว่า Software-as-a-Service โดยใช้เทคโนโลยี Cloud Computing แก่หน่วยงานภาครัฐบางหน่วยงาน ทำให้กลุ่มบริษัทฯ เล็งเห็นความเป็นไปได้ที่ระบบดังกล่าวจะมาช่วยสนับสนุนการให้บริการนักลงทุนต่างชาติที่จะมาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งปกติต้องขอใบอนุญาตผ่านหลายหน่วยงานและใช้เวลานาน โดยมองว่าหากมีระบบสารสนเทศที่มาสนับสนุนการส่งต่อข้อมูล(Transaction) ตรงนี้ และมีการบูรณาการของฐานข้อมูล หลาย ๆ หน่วยงานเข้าด้วยกัน จะช่วยลดขั้นตอนเอกสารที่ยุ่งยาก ลดต้นทุนด้านเอกสาร เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของข้าราชการ และสร้างความโปร่งใสให้ระบบ อีกทั้งจะช่วยจูงในนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น
ในส่วนอื่นๆ อาทิ ด้านสังคม และด้านการบริหารจัดการทรัพยากรประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการสาธารณูปโภค อาทิ การบริหารจัดการน้ำ ไฟฟ้า พื้นที่อยู่อาศัย หรือแม้แต่ทรัพยากรป่าไม้ ก็จะมีความท้าทายมากขึ้น เพราะเมื่อมีประชากรย้ายถิ่นฐานเข้ามามากขึ้น ก็ย่อมมีความต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดีและฐานข้อมูลที่แม่นยำ ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทฯ มีประสบการณ์เข้าไปให้บริการในหลายโครงการที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการแผนที่สารสนเทศเพื่อบริหารจัดการภัยพิบัติ โครงการพัฒนาสารสนเทศระบบไฟฟ้าทางภูมิศาสตร์ โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย และโครงการแก้ไขปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท ซีดีจี เชื่อมั่นว่ารัฐบาลที่ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่นี้ จะรีบดำเนินการผลักดันโครงการต่างๆ ที่มีการดำเนินการมาแล้วบางส่วนให้รุดหน้า พร้อมผลักดันให้เกิดโครงการพัฒนาใหม่ๆ มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันขอประเทศไทย ซึ่งกลุ่มบริษัทฯ เอง ก็พร้อมเข้าไปสนับสนุน โดยภายหลังเปิด เออีซี กลุ่มบริษัท ซีดีจี คาดว่ามูลค่าธุรกิจโครงการภาครัฐในประเทศน่าจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 50% ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า
“หากไม่นับประเทศที่มีระบบไอซีทีที่เจริญก้าวหน้าไปมากแล้วอย่าง สิงค์โปร์ ประเทศคู่แข่งที่น่าจับตาของประเทศไทยที่น่าจะดึงความสนใจจากนักลงทุนได้มากในกลุ่ม เออีซี ก็คือ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ความพร้อมของระบบสารสนเทศเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันของประเทศได้” นายนาถ กล่าว “อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิก เออีซี ที่กำลังพัฒนา อาทิเวียดนาม พม่า ลาว กัมพูชา ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีของเราในการเข้าไปช่วยพัฒนาโครงสร้างต่างๆ พื้นฐานทางด้านไอทีเนื่องจากเรามีประสบการณ์ยาวนาน”
ที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลากว่า 46 ปี กลุ่มบริษัท ซีดีจี ได้เข้าไปให้บริการด้านสารสนเทศแก่หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในประเทศ พร้อมจัดตั้งสำนักงานสาขาในประเทศเวียดนาม ตลอดจนเข้าร่วมทุนกับบริษัทในประเทศอินโดนีเซีย และกำลังจะเปิดสำนักงานในประเทศพม่าอีกด้วย ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท ซีดีจี ได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มรายได้จากตลาดอาเซียนประมาณ 15% ให้ได้ภายในปี 2561
พาดหัวข่าวต่างประเทศหลายเหตุการณ์ที่แสดงถึงการถูกจารกรรมความลับและข้อมูล ซึ่งล้วนแต่สร้างความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศอย่างร้ายแรง เนื่องจากเป้าหมายที่มุ่งโจมตี คือ ความมั่นคงปลอดภัยระดับชาติ การฉวยประโยชน์จากความได้เปรียบทางเทคโนโลยี อาศัยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ บัตรเครดิตเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่มักจะถูกแฮกบ่อยครั้ง เพราะเกี่ยวข้องกับเม็ดเงินมหาศาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งอุดช่องโหว่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเร่งปรับตัวเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น แต่จะดีกว่าหรือไม่ หากสามารถป้องกันภัยร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่จะถูกรุกราน (อีกครั้ง)
โครงการ ‘Network Security Contest’ จึงเกิดขึ้นเพื่อมุ่งปลูกฝังให้เยาวชนเรียนรู้ เท่าทันภัยคุกคาม และสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการปกป้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
“ เรานำนิสิต นักศึกษาที่สนใจเรื่อง Network Security จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ มาเรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ถูกต้องเหมาะสม ขณะเดียวกันเราปลูกฝังการทำงานร่วมกันเป็นทีมในการค้นหาจุดอ่อนของระบบเครือข่าย และร่วมกันค้นหาวิธีป้องกันการแฮกระบบ โดยฝึกฝนผ่านรูปแบบของข้อสอบ และการปฏิบัติในระบบจำลอง “ ไพบูลย์ ชีวินศิริวัฒน์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด (TCS) ในฐานะผู้ร่วมก่อตั้งโครงการฯ เปิดเผย
โดยความร่วมมือของผู้ใหญ่ใจดี 2 ฝ่าย ทั้ง TCS และสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ควงแขนกระชับแน่นจัด Network Security Contest อย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี เชื่อมั่นว่า นิสิตนักศึกษาเหล่านี้คือ พลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ โครงการดังกล่าวจะช่วยจุดประกายให้สังคมไทยพัฒนาความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัย ท่าม กลางความรุนแรงของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทวีคูณขึ้น แม้จะไม่มีสาขาวิชาด้านระบบเครือข่าย (Network) และระบบรักษาความปลอดภัย (Security) โดยตรง แต่ศักยภาพด้าน Network Security ที่แฝงอยู่ในตัวเยาวชนเหล่านี้ไม่ได้เป็นรองความสามารถด้านอื่นเลย เพียงแต่ขาดโอกาสในการฝึกฝน เก็บเกี่ยวประสบการณ์นอกเหนือ จากตำราเรียน
พุทธิกร วรวุฒิวัฒน์ , สุพรรณ ฟ้ายง และ ณัฐวุฒิ กุลนิรันดร สามหนุ่มเดอะวินเนอร์รุ่นล่าสุด จากทีม SecueByte จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยเคล็ดลับความสำเร็จจากการคว้าแชมป์ในการแข่งขันครั้งนี้อยู่ที่ การเตรียมตัวที่ดี โดยการขอคำปรึกษาจากอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัย การสอบถามจากรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์เข้าร่วมการแข่งขันเมื่อปีที่แล้ว การค้นคว้าหาข้อมูลและเครื่องมือต่างๆ (Tools) มาใช้ประโยชน์ จากเว็บ ศึกษาข้อกฏหมายจากพรบ.คอมพิวเตอร์ ตลอดจนการทำแลปจำลองสถานการณ์จริง
“ทุกวันนี้ เรามีมือถือ มี Google เราอยากได้ข้อมูลอะไรเมื่อไหร่ เราก็โทร เราก็ Search หา แต่ว่าการแข่งขันในครั้งนี้ เราต้องอยู่ในสภาพออฟไลน์ตลอดเวลา ไม่สามารถหาข้อมูลได้ ทำให้เราได้รู้ว่าการเตรียมตัวที่ดีนั้นจริงๆ แล้วมันต้องเตรียมอะไรมาบ้าง เพราะว่าเมื่อเราเข้าห้องสอบแล้วเราก็ทำอะไรไม่ได้อีกแล้ว”
ทีม SecueByte ยังสะท้อนความคิดเห็นในตอนท้ายว่า “ ภายในมหาวิทยาลัยมีการเรียนการสอนวิชา Secure Network เหมือนกัน แต่ว่าไม่มีแลป ซึ่งผมอยากให้มี เพื่อให้นิสิตทุกคนได้ศึกษา ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะทำให้เข้าใจได้ว่าชื่อย่อต่างๆในอินเตอร์เน็ตจริงๆ แล้วคืออะไร ”
ผศ.วิชาญ เลิศวิภาตระกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา(Uninet) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กล่าวย้ำถึงความสำคัญของการเรียนรู้ในภาคปฏิบัติว่า การที่เด็กได้มีโอกาสศึกษาหลักสูตร Network ในภาคปฏิบัติ สามารถส่งเสริมภาคทฤษฎีและช่วยให้นิสิตนักศึกษาทุกคนรู้ในเรื่องการเรียนมากขึ้น ซึ่งโครงการ Network Security Contest เป็นเหมือนเอกลักษณ์ของหลักสูตร Network อย่างหนึ่งไปแล้วด้วยรูปแบบของเนื้อหาเทคโนโลยีที่ยังไม่เคยมีหน่วยงานไหนจัดงานในลักษณะนี้มาก่อน
ภัยคุกคามจากการแทรกซึมและทำลายทางคอมพิวเตอร์ โดยอาศัยช่องว่างของระบบรักษาความปลอดภัยยังคงเกิดขึ้นได้เสมอ TCS จึงตอกย้ำบทบาทการเป็นตัวกลางคอยกระตุ้นและจุดประกายให้หน่วยงานการ ศึกษาต่างๆ พัฒนาความสามารถของนิสิตนักศึกษาในด้านเน็ตเวิร์ค และซีเคียวริตี้ โครงการ ‘Network Security Contest 2009’ ปีที่ 4 กำลังจะเปิดฉากขึ้นครั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้กับนิสิต นักศึกษา ทุกสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศอย่างทั่วถึง ได้จัดให้มีศูนย์สอบอยู่ 5 ศูนย์ ทั่วประเทศ โดยผู้สมัครสามารถเลือกศูนย์สอบได้ตามที่จัดไว้ได้แก่
ภาคเหนือ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ภาคใต้ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, ภาคตะวันออก ที่มหาวิทยาลัยบูรพา, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และภาคกลางที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สำหรับใครที่สนใจ เตรียมลับสมองมาประลองการสร้างกำแพงให้หนาแน่น พร้อมรวบรวมสมาชิกให้ครบทีมละ 3 คน ไม่จำกัดคณะและภาควิชา สมัครมาได้ที่แผนกการตลาด บริษัท เดอะ คอมมูนิเคชั่น โซลูชั่น จำกัด หรือ Email: [email protected] ตั้งแต่วันนี้ ถึง 10 ตุลาคม 2552 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02-685-9436,9437
เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้นำในการให้บริการ ICT แบบครบวงจร โดยคุณนาถ ลิ่วเจริญ ( ที่ 2 : จากซ้าย ) ประธานกรรมการบริหาร พร้อมด้วยคุณสุภาวดี พันธุมวนิช ( ที่ 3 : จากซ้าย ) กรรมการบริหาร ให้เกียรติมอบทุนสนับสนุน “ โครงการฝึกอบรมการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น มจธ. ครั้งที่ 21 ” ให้กับนายชนชาญ เอราวัณ (ที่ 3 : จากขวา) ประธานโครงการฯ ซึ่งโครงการฯนี้ จัดขึ้นโดยนักศึกษาชั้นปี ที่ 1 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ ที่มีความสนใจและต้องการที่จะพัฒนาทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างถูกวิธี ซึ่งได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีนี้เป็นปีที่ 21 โดยได้ทำพิธีมอบ ณ ชั้น 20 อาคารซีดีจีเฮ้าส์
จากภาพ :ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหัวบึง ซึ่งเป็นโรงเรียน ที่ 35 ของโครงการคอมพิวเตอร์มือสอง 40 ปี ซีดีจี 40 ห้องคอมพ์ฯ รับมอบ ณ อาคารซีดีจีเฮ้าส์
เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้นำในการให้บริการ ICT แบบครบวงจร พร้อมด้วยกลุ่มบริษัทจีเอเบิล และ บริษัท อ๊อฟติมัสซอฟต์ จำกัด ร่วมจัดโครงการ “โครงการห้องคอมพ์ฯมือสอง แด่น้องผู้ห่างไกล : 40 ปี ซีดีจี 40 ห้องคอมพ์ฯ ” มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 7 เพื่อตอบแทนสังคม สนับสนุนและส่งเสริม ให้นักเรียนได้ศึกษา เรียนรู้ ปฏิบัติ สัมผัส เครื่องคอมพิวเตอร์ เรียนรู้การใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานเบื้องต้น ใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาเล่าเรียนหรือสืบค้นข้อมูลจากโลกอินเตอร์เน็ต ให้กับโรงเรียนที่ห่างไกล ขาดแคลนอุปกรณ์ รวมถึงขาดงบประมาณในการจัดซื้อจัดหา ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ
ในปีนี้วาระครบรอบ 40 ปี กลุ่มบริษัทซีดีจี ได้จัดโครงการ ภายใต้ชื่อ “ 40 ปี ซีดีจี 40 ห้องคอมพ์ฯ ” โดยได้บริจาคให้กับโรงเรียนทั้งสิ้น จำนวน 40 โรงเรียน โดยมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ ใหม่ จำนวน 60 เครื่อง & เครื่องคอมพิวเตอร์ มือสอง จำนวน 145 เครื่อง พร้อมติดตั้งระบบ Network จำนวน 273 จุด ชุดอุปกรณ์การศึกษาและของขวัญ จำนวนกว่า 5,000 ชุด และได้ทำกิจกรรมสนุกสนานเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ โครงการฯเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
ซีดีจี เสริมสร้างสังคม จัดกิจกรรม CSRร่วมเฉลิมฉลองโอกาสครอบรอบ 40 ปี ภายใต้โครงการ ห้องคอมพ์ฯมือสอง แด่น้องผู้ห่างไกล “40 ปี ซีดีจี 40 ห้องคอมพ์” ด้วยการจัดเปิดตัวโครงการฯ
กลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้นำในการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร มีเจตนารมณ์ที่จะสนับสนุนการศึกษาของเยาวชน ซึ่งนับเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ จึงได้สร้างสรรค์โครงการ ห้องคอมพ์ฯมือสอง แด่น้องผู้ห่างไกล “40 ปี ซีดีจี 40 ห้องคอมพ์” ขึ้น เพื่อมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือสอง พร้อมทั้งอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใหม่บางส่วน ให้กับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 44 โรงเรียน ทั่วประเทศ โดยคณะผู้บริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี จะร่วมในฑิธีดังกล่าวและทำการมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้กับโรงเรียนต่างๆ ในวันพุธที่ 29 ตุลาคม 2551 นี้ ณ อาคาร ซีดีจี เฮ้าส์
ทั้งนี้โครงการ ห้องคอมพ์ฯมือสองแด่น้องผู้ห่างไกล นี้ เป็นโครงการที่กลุ่มบริษัทซีดีจีดำเนินโครงการมาเป็นปีที่ 6 แล้ว และในปี 2551 นี้ เป็นปีที่กลุ่มบริษัทซีดีจีครบรอบ 40 ปี ของการเป็นผู้นำในการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจรในประเทศไทย จึงได้ใช้กิจกรรม Corporate Social Responsibility : CSR นี้ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวด้วย
กำหนดการ
Event : Grand Opening Ceremony และพิธีมอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในโครงการห้องคอมพ์ฯมือสอง แด่น้องผู้ห่างไกล “40 ปี ซีดีจี 40 ห้องคอมพ์”
Date : วันพุธที่ 29 ตุลาคม 2551
Time : 09.00 – 12.00 น.
Venue : ห้องประชุม ชั้น 18 อาคาร ซีดีจี เฮ้าส์ , กรุงเทพฯ
เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มบริษัทซีดีจี ได้จัดงาน ” 4 ทศวรรษแห่งความสำเร็จ “ เพื่อเฉลิมฉลองในวาระพิเศษที่กลุ่มบริษัทซีดีจี มีอายุครบรอบ 40 ปี ในปี 2551 โดยได้เชิญคู่ค้าชั้นนำ ของวงการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้าร่วมงานมากมาย อาทิ IBM, HP, SUN, Microsoft, สถาบันการเงินการธนาคารชั้นนำ และบริษัทคู่ค้าอื่นๆ อีกมากมาย ภายใต้ concept การจัดงาน Welcome to My Home คือ CDG บ้านที่แสนอบอุ่นที่มีรอยยิ้ม มิตรภาพ ความผูกผันฉัตรพี่น้อง ที่เกื้อกูลทางการค้าในทำธุรกิจร่วมกัน
ภายในงานได้เชิญศิลปินชั้นนำของไทย อาทิ คุณสาวิตรี โรจนพฤกษ์ เซเลบฯ ร่วมเป็น MCคุณเสาวนิตย์ นวพันธ์ และสถาบันสอนเต้นรำมาร่วมให้ความบันเทิง ช่วงค่ำได้จัดกิจกรรมพิเศษ “A lifetime of Loving , Caring, Sharing”คือ การคัดสรร เมนูอาหารเด็ด เพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายแพทย์วิวัฒน์ จงหมายลักษณ์ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท มาให้ความรู้ในการ
ตรวจสุขภาพด้วยศาสตร์แผนไทยและศาสตร์แผนจีนโบราณร่วมสมัยคือองค์รวมในการดูแลสุขภาพกายและการดูแลสุขภาพตามธาตุเจ้าเรือน และอาหารที่เหมาะสม ณ The Residence โรงแรม Grand Hyatt Erawa
กลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้นำในการให้บริการ ICT แบบครบวงจรในประเทศไทย ได้จัดโครงการ Young CDG Writer Awards ครั้งที่ 3 ขึ้น โดยจัดให้มีการประกวดเรียงความเยาวชน ทั้งระดับมัธยมศึกษา และ อุดมศึกษา ภายใต้หัวข้อ “อุ้มโลกให้หายร้อน” เพื่อกระตุ้นให้เยาวชนตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับประเด็นการลดภาวะโลกร้อน โดยมี คุณไมตรี ลิมปิชาติ อดีตนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย (ที่ 2 จากซ้าย) และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการใช้ภาษาไทยและนักวิชาการทางด้านเทคโนโลยีฯ ร่วมประชุมวางหลักเกณฑ์ในการตัดสินผลงาน เมื่อเร็วๆนี้ ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์
ซีดีจี ยักษ์ใหญ่ไอซีทีไทย ประกาศความภูมิใจ ใน 4 ทศวรรษแห่งความสำเร็จ ด้วยปัจจัยเกื้อหนุนเพียบ พร้อมเดินหน้าหนุน e-Government มั่นใจโครงการไอซีทีภาครัฐก่อประโยชน์มหาศาลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
นายนาถ ลิ่วเจริญ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี ผู้นำในการให้บริการ ICT แบบครบวงจร กล่าวถึง ความสำเร็จของการเป็นผู้นำอุตสาหกรรม ICT ในประเทศไทย ตลอด 40 ปีที่ผ่านมาว่า ในวันนี้กลุ่มบริษัทซีดีจี นับเป็นองค์กรที่เรียกได้ว่า “Maturity Organization” โดยองค์กรที่มีวุฒิภาวะ หมายถึง เป็นองค์กรที่มีความพร้อมทั้งฐานข้อมูลความรู้ (Knowledge-Based ) ที่แข็งแกร่ง พร้อมทั้งบุคลากร (Peopleware) ที่มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในการบริหารโครงการขนาดใหญ่ และมี Team work ที่ดี ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเหล่านี้ ถือเป็นจุดแข็งของกลุ่มบริษัทซีดีจี สามารถนำพาให้องค์กรลูกค้าประสบผลสำเร็จได้เป็นอย่างดี ส่งผลลัพธ์ ให้กับองค์กรของลูกค้า ใน 3 ประการ ดังนี้คือ
• ประสิทธิภาพ (Efficiency)
• ประสิทธิผล (Effectiveness)
• เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness )
ซีดีจีภูมิใจในส่วนร่วมแห่งความสำเร็จของโครงการ ICT ภาครัฐ
ในช่วง 4 ทศวรรษ ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทซีดีจีประสบความสำเร็จในโครงการ ICT ภาครัฐขนาดใหญ่หลายโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นโครงการที่สำคัญต่อการให้บริการประชาชน อาทิ โครงการจัดทำระบบการให้บริการประชาชนทางด้านการทะเบียนและบัตรด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการดังกล่าวนี้ ได้รับรางวัล Computer World Smith Sonian Awards ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2532 ในฐานะที่เป็นผู้นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาปรับใช้งานจนประสบความสำเร็จอย่างสูง และเกิด-ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม , โครงการให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนแบบจุดเดียว
เบ็ดเสร็จ ( One Stop Service ) ของกรุงเทพมหานคร, โครงการให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมพื้นที่ 1,077 สำนักทะเบียน , โครงการให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชน ณ สำนักงานเทศบาลต่างๆทั่วประเทศ, โครงการให้บริการด้านทะเบียนราษฎรและบัตรประจำตัวประชาชนแบบ Smart Card ของกรมการปกครอง
โครงการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ,โครงการติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมอุปกรณ์และระบบสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ , โครงการระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักปลัดกระทรวงคมนาคม , โครงการระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการบริการแบบออนไลน์ ของกรมการขนส่งทางบก, โครงการระบบประมวลผลสำหรับด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ , โครงการพัฒนาระบบคดีแพ่งและระบบคลังข้อมูล ของกรมบังคับคดี
โครงการจัดทำระบบแผนที่และข้อสนเทศระบบจำหน่ายไฟฟ้า (GIS/AM/FM) ของการไฟฟ้านครหลวง , โครงการจัดทำแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนงานทำแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสี, โครงการสำรวจและปรับปรุงข้อมูลด้านกายภาพเพื่อการวางผังเมือง ของกรมโยธาธิการและผังเมือง, โครงการนำร่องจัดทำระบบค้นคืนข้อมูลที่ดิน เพื่อบริการประชาชนจังหวัดสุพรรณบุรี (E-Land) ของจังหวัดสุพรรณบุรี , โครงการจัดทำแผนที่ และระบบจัดการสาธารณูปโภค (GIS/AM/FM) ของการประปานครหลวง , ระบบบริการ GIS แบบ online ของการไฟฟ้านครหลวง โดยมีการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อนำไปให้บริการผ่านทาง Internet ได้แก่ ระบบแผนที่ออนไลน์ ระบบค้นหาตำแหน่งสถานที่ ระบบค้นหาเส้นทางการเดินทาง และระบบการติดตามรถยนต์
กลุ่มบริษัทซีดีจี ประสบผลสำเร็จอย่างสูงในการรุกสู่ตลาดผู้บริโภค(Consumer) อย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยมีการจำหน่ายเครื่องนำทางรถยนต์ด้วยดาวเทียม (GPS) ภาษาไทย GARMIN รุ่นต่างๆ ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ GPS ของ GARMIN ที่เป็นเครื่องนำทางรถยนต์ เป็นที่นิยมอย่างมาก และ GPS นับว่าได้รับการยอมรับมากที่สุดจากผู้บริโภคชาวไทยในขณะนี้
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯยังได้ดำเนินการโครงการระบบบริหารกำลังพล กองทัพอากาศ, ระบบคอมพิวเตอร์ตามแผนป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กองทัพอากาศ, ระบบจัดเก็บแบบทำเนียบ กองทัพอากาศ ,โครงการเช่าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) , เครื่องพิมพ์ความเร็วสูง สำหรับ Billing บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
“40 ปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่เกื้อหนุนให้กลุ่มบริษัทซีดีจีเราประสบผลสำเร็จ ที่สำคัญก็คือ เรามีบุคลากรที่มีคุณภาพ และซีดีจีเราให้ความสำคัญกับ Peopleware เป็นเรื่องแรก เพราะเราเชื่อว่าการให้บริการภายใต้คุณภาพระดับสูงนั้น ความสำคัญไม่ใช่มีเพียงฐานข้อมูลความรู้ ( Knowledge-Based ) แต่ต้องมี Peopleware ที่มีคุณภาพด้วย พร้อม Teamwork ที่ดี ดังนั้นผมสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า ซีดีจีเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เพราะเรามีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี”
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้
เพราะมี Partners ศักยภาพสูง
นอกจากนี้กลุ่มบริษัทซีดีจี ยังมี Partners ระดับ World Class และมีศูนย์บริการอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มบริษัทฯประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม
อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินธุรกิจนั้น กลุ่มบริษัทซีดีจี ไม่ได้มุ่งหวังเพียงผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่กลุ่มบริษัทฯ ได้คืนกำไรให้กับสังคมภายใต้กิจกรรมในรูปแบบของโครงการต่างๆที่เป็นความรับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility : CSR ) อาทิ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Com Camp)ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี , โครงการปันน้ำใจให้น้อง, โครงการห้องคอมพ์มือสองแด่น้องผู้ห่างไกล, โครงการ Young CDG Writer Awards , โครงการมะมาประกวดเว็บไซต์สิ่งแวดล้อมกับตาวิเศษและซีดีจีกันดีกว่า, โครงการละครสัญจร รณรงค์ให้เด็กรักการอ่าน
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี กล่าวว่า ในปี 2550 กลุ่มบริษัทฯมีรายได้ที่ 4,300 ล้านบาท และในปี 2551 นี้ ตั้งเป้าไว้ที่ 5,200 ล้านบาท
นำเสนอ Rejuvenating E-Government
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
นายนาถ ได้กล่าวถึง การปรับตัว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศว่า ในฐานะผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ICT มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะเห็นประเทศไทย ปรับตัวในหลายๆด้าน เพราะโลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา อีกทั้งสภาวะแวดล้อมโลกก็กำลังเปลี่ยนแปลงทุกขณะ จึงอยากจะให้มี
การปรับตัวในหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย อยู่ในเวทีการแข่งขันระดับสากล จะทำอย่างไรให้มีการใช้ ICT เพื่อพัฒนาประเทศและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
“ผมขอเสนอว่า รัฐบาลจะต้องมุ่งสู่ การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) และบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) การที่ผมกล่าวว่า Rejuvenating ก็เพื่อลดความซ้ำซ้อน และลดช่องว่างระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในเรื่องนี้ผมเคยเสนอมาแล้ว เมื่อหลายปีที่ผ่านมา และในวันนี้ก็ยังคงยึดมั่นในจุดยืนเดิมที่ว่า e-Government จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐ ให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ ( Efficiency ) และเกิดประสิทธิผล (Effectiveness) ต่อการพัฒนาประเทศชาติได้ในองค์รวมอย่างแน่นอน เพราะ ICTจะช่วยสร้างบรรทัดฐานในการจัดการข้อมูลสารสนเทศร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด กล่าวคือ ถ้าเรามีความพร้อมในส่วนนี้แล้ว ก็จะช่วยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสาขาอื่นๆที่สำคัญๆ ตามมาอย่างแน่นอน และในผลลัพธ์ท้ายที่สุดก็คือ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ” นายนาถกล่าวและว่า
ในปัจจุบัน โลกธุรกิจมีการควบรวมกิจการ (Merging & Acquisition : M&A ) มากขึ้น ในการที่กลุ่มบริษัทซีดีจีเป็นMaturity Organization นั้น ยิ่งจะต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการปรับ Business Model และรัฐบาลจะต้องลงทุนใน ICT Infrastructure ให้มากขึ้น นอกจากการลงทุนใน Infrastructure ด้านโครงสร้างพื้นฐานในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ (Mega Projects) เพราะ ICT Infras tructure จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศต่อไป
นำเสนอ Corporate Identity
Vision & Mission, Motto ใหม่
ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทซีดีจี ยังกล่าวด้วยว่า ในโอกาสครบรอบ 40 ปี ของกลุ่มบริษัทฯในปี 2551 นี้ กลุ่มบริษัทฯได้ปรับเปลี่ยน สัญลักษณ์ของบริษัท (Corporate Identity) ใหม่ เพื่อเป็นการบอกกล่าวกับสังคมว่า กลุ่มบริษัทฯมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อก้าวสู่อนาคต ลักษณะ Logo เป็น Spiral วงแหวนสามวง ซึ่งเป็นตัวอักษร C D และ G กอดเกี่ยว แต่เคลื่อนไหวอย่างมีพลัง (Dynamic) เหมือนองค์กรที่มุ่งมั่นที่จะก้าวไปข้างหน้า ไม่หยุดนิ่ง ( Move Rapidly Forward )
นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และคติพจน์ (Motto) ใหม่ ของกลุ่มบริษัทซีดีจี ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision) :
“ซีดีจีจะเป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้า ในการให้คำปรึกษา การนำเสนอโซลูชั่นส์ และบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร”
“To be customers’ first choice in ICT consulting, solutions and services”
พันธกิจ (Mission) :
“เรามีความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบโซลูชั่นส์และบริการที่ดีที่สุด โดยทีมงานมืออาชีพ ซึ่งใส่ใจในความสำเร็จของลูกค้า และจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น ด้วยผลงานของเรา
“We are committed to delivering industry-leading solutions and services by our caring professional teams. We will contribute to the betterment of society through our work”
คติพจน์ (Motto) :
“ซีดีจี ใส่ใจความสำเร็จของคุณ”
“Caring for your Success”
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท อีเอสอาร์ไอ ( ประเทศไทย ) จำกัด โดยคุณ ไกรรพ เหลืองอุทัย ( ที่ 1 จากซ้าย ) ผู้จัดการทั่วไป แถลงข่าวเปิดตัวอุปกรณ์ GPS GARMIN รุ่น nuvi 710 เป็น Top Model ที่มีคุณสมบัติเด่นคือ ใช้งานกับซอฟต์แวร์แผนที่ประเทศไทย เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด ที่มีความละเอียดแม่นยำสูงโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณกร เกียรติเฟื่องฟู ( ที่ 3 จากซ้าย ) คุณสาลินี ปันยารชุน ( ที่ 2 จากซ้าย ) คุณกฤษณพงศ์ เกียรติศักดิ์ ( ที่ 2 จาก ขวา ) ร่วมถ่ายถอดประสบการณ์เดินทางด้วย GPS โดยงานดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวนชนเป็นจำนวนมาก ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพฯ
เมื่อเร็วๆนี้ กลุ่มบริษัท ซีดีจี ผู้นำในการให้บริการ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร โดยให้บริการด้วยคุณภาพระดับสูง และกลุ่มบริษัท จีเอเบิล A Premier IT Services Provider ร่วมสนับสนุน “โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ครั้งที่ 20 มจธ. ”
ซึ่งกิจกรรมนี้จัดขึ้นโดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ทำการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ให้กับนักเรียระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ จำนวน 100 คน
จากภาพ : คุณไตรรัตน์ ใจสำราญ ( ซ้าย ) กรรมการบริหารกลุ่มบริษัท จีเอเบิล รับมอบของที่ระลึกจาก ศ.ดร.สมชาย ชูชีพสกุล (ขวา) รองอธิการบดีอาวุโสฝ่ายวิชาการ ณ หอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี