กลุ่มบริษัทสามารถ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 13 Nov 2017 03:49:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลุ่มสามารถ แจงปิดฉากถาวร สปอนเซอร์สนามฟุตบอล “ไอโมบาย” เหลือเพียงสปอนเซอร์เสื้อทีมบอล https://positioningmag.com/1146199 Fri, 10 Nov 2017 11:48:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1146199 เป็นเวลาประมาณหกปีที่ชื่อของ ไอโมบาย เป็นคำเรียกติดปากของทั้งคนบุรีรัมย์ และแฟนฟุตบอลที่มาเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล ว่า ไอโมบาย สเตเดียม สนามฟุตบอลประจำทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด หรือที่มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ธันเดอร์ คาสเซิล สเตเดียม (Thunder Castle Stadium) แต่ในวันนี้ ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนชื่อสนามเป็นครั้งแรก เพราะการปิดตัวของธุรกิจมือถือสัญชาติไทยที่เคยมียอดขายรวมแล้วเกือบ 40 ล้านเครื่องอย่างไอโมบาย ของกลุ่มบริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น

วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ได้ยุติการเป็นสปอนเซอร์สนามฟุตบอลบุรีรัมย์อย่างเป็นทางการแล้ว เนื่องจากบริษัทได้ยกเลิกกิจการมือถือแบรนด์ไอโมบายไปเมื่อเร็วๆ นี้ แต่ยังเป็นสปอนเซอร์หลักให้ทีมฟุตบอลปราสาทสายฟ้า โดยเปลี่ยนจากโลโก้ไอโมบาย มาใช้ชื่อ “สามารถ แทน

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กลุ่มสามารถได้แถลงข่าวยุติการผลิตและจำหน่ายโทรศัพท์ไอโมบาย ที่วางขายมาตั้งแต่ปี 2546 ในนามบริษัท สามารถ ไอโมบาย หลังจากรองรับการเปลี่ยนแปลงจากการแข่งขันในตลาดมือถือที่รุนแรงมากขึ้นไม่ไหว ทำให้บริษัทต้องประสบภาวะขาดทุน จนต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัทสามารถ ดิจิทัล

“เราเข้าไปเป็นสปอนเซอร์สนามแห่งนี้ เพราะเราต้องการสร้างแบรนด์ไอโมบายของเราให้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ในฐานะแบรนด์ใหม่ของไทย ซึ่งถือว่าเราประสบความสำเร็จมาก แต่เมื่อเราปิดตัวธุรกิจและแบรนด์นี้ลงไป เราจึงต้องถอนตัวออกมา เพื่อเปิดทางให้รายใหม่เข้ามา” วัฒน์ชัยกล่าว

ตัวเลขของค่าใช้จ่ายในการเป็นสปอนเซอร์สนามแห่งนี้ แม้ไม่ได้มีการเปิดผยให้เป็นที่รับรู้ แต่ก็รู้กันในวงการว่า ในราคามาตรฐาน การสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่อปีจะตกที่ประมาณ 40 ล้านบาท แต่อาจจะมีส่วนลด หรือแพ็กเกจที่ตกลงกับเจ้าของสนามฟุตบอล คือสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด หรือชื่อเล่นว่า ทีมปราสาทสายฟ้า ในขณะที่ราคาการเป็นสปอนเซอร์ทีมฟุตบอล จะอยู่ในเรทที่ประมาณรายละ 10-20 ล้านบาทต่อปี โดยจะได้มีโลโก้ติดที่เสื้อนักกีฬา

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า สปอนเซอร์รายใหม่ของสนามฟุตบอลแห่งนี้ คาดว่าจะเป็น เบียร์ช้าง ของกลุ่มเจริญ สิริวัฒนภัคดี ที่ปัจจุบันเป็นสปอนเซอร์สนามแข่งรถมูลค่ากว่าสองพันล้าน ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต หรือ บุรีรัมย์ อินเตอร์เนชันแนล เซอร์กิต (Buriram International Circuit ) สนามกีฬาอีกแห่งที่อยู่ติดกันของเนวินเช่นกัน

เนวินสร้างสนามกีฬาฟุตบอลแห่งนี้เมื่อปี 2555 ด้วยงบลงทุนกว่า 500 ล้าน เบื้องต้นมีความจุ 24,000 ที่นั่ง แต่ได้เพิ่มความจุ ปัจจุบันจุได้ 32,600 ที่นั่ง นับเป็นสนามฟุตบอลที่ได้มาตรฐานในระดับสากล ถูกบันทึกลงกินเนสบุ๊คว่าเป็นสนามฟุตบอลในระดับฟีฟ่า ที่ใช้เวลาก่อสร้างน้อยที่สุดในโลกคือ 256 วัน ปัจจุบันสนามแห่งนี้นอกจากใช้เป็นที่แข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีผู้ชมเข้ามาซื้อตั๋วเข้าชมสนาม เหมือนสนามฟุตบอลใหญ่ๆ ในต่างประเทศอีกด้วย อีกทั้งเสื้อทีมฟุตบอลบุรีรัมย์ ยังเป็นเสื้อทีมฟุตบอลที่ขายที่ดีสุดทีมหนึ่งในประเทศไทย

สำหรับธุรกิจไอโมบายนั้น ได้เข้าไปเป็นสปอนเซอร์สนามฟุตบอลในช่วงที่บริษัทขยายแบรนด์ ในปี 2555 เป็นช่วงขาขึ้นของตลาดมือถือ เป็นแบรนด์ของคนไทยที่ต่อกรกับแบรนด์ต่างประเทศ เช่น โนเกีย ซีเมนส์ ได้ในขณะนั้น มียอดขายมากกว่าล้านเครื่องต่อปี เช่นปีในปี 2550 ที่ไอโมบายเคยเคลมว่ามีส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับสองรองจากโนเกีย การเข้าไปเป็นสปอนเซอร์สนามฟุตบอลจึงเป็นการต่อยอดขยายตลาดให้กับแบรนด์ได้อย่างทั่วถึงในวงกว้าง

ปี 2556 เรียกได้ว่าเป็นช่วงพีคของไอโมบาย ที่ทำยอดขายมือถือสูงถึง  3.8 ล้านเครื่อง โดย 1.7 ล้านเครื่องเป็นเครื่องสมาร์ทโฟน มีกำไรสูงสุดอยู่ที่ 807 ล้านบาท จากรายได้รวมที่ 10,300 ล้านบาท โดยในปี  2557 ก็ยังคงเติบโตมีรายได้12,494 ล้านบาท แต่กำไรตกลงอยู่ที่ 710 ล้านบาท

แต่ในช่วงหลัง เมื่อผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เอไอเอส ดีแทค ทรู หันมาทำตลาดมือถือเฮาส์แบรนด์” ของตัวเอง ในราคาต่ำ ซึ่งเป็นตลาดเดียวกับไอโมบาย ที่ต้องเข้าสู่ขาลง ในปี 2559 รายได้หล่นลงเหลือ 3,461 ล้านบาท ขาดทุน 720 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ขาดทุนอีก 679 ล้านบาท

จนในที่สุดต้องยุติธุรกิขายมือถือ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ จากบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) เป็น บริษัท สามารถ ดิจิตอล จำกัด หันไปทำดิจิทัล เน็ตเวิร์ค ในการทำ ดิจิทัล ทรังค์ เรดิโอให้กับ กสท โทรคมนาคม, ดิจิทัล คอนเทนต์,  IoT และธุรกิจกีฬา ในนาม iSport  เลิกการทำแบรนด์มือถือไอโมบาย และกิจการให้บริการมือถือเอ็มวีเอ็นโอ ทั้งชื่อไอโมบายและโอเพ่นทั้งหมด.

]]>
1146199
“กลุ่มสามารถ” ฉายภาพชัดธุรกิจพลังงาน สร้างรายได้แสนล้านในอีก 5 ปี https://positioningmag.com/59179 Mon, 19 Jan 2015 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=59179

บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น, บมจ.สามารถเทลคอม, บมจ.สามารถไอ-โมบาย และบมจ.วันทูวันคอนแทคส์ 4 บริษัทจดทะเบียนภายใต้กลุ่มบริษัทสามารถ ได้ร่วมกันแถลงข่าว ทิศทางและเป้าหมายธุรกิจในปี 2558 ซึ่งเป็นวาระครบรอบปีที่ 60 และเป็นปีแห่งการก้าวสู่ทศวรรษที่ 7 ของกลุ่มฯ โดยใช้ Year Theme ว่า “Enter the New Era…Empower the Future หรือ การก้าวสู่ทศวรรษที่ 7…เพิ่มพลังสู่อนาคต” โดยตั้งเป้ารายได้รวมในปี 2558 จำนวน 30,000 ล้านบาท พร้อมประกาศแผนชัดเจนในการขยายธุรกิจด้าน Utilities & Transportations ครอบคลุมเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน การเดินทางและระบบสาธารณูปโภค เสริมรากฐานธุรกิจในอนาคตให้แข็งแกร่ง คาดรายได้ทะลุแสนล้านในปี 2563

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงผลการดำเนินธุรกิจในปี 2557 โดยสรุปว่าทุกสายธุรกิจเดินหน้าไปได้ด้วยดี แม้จะได้รับผลกระทบบ้างจากการชลอโครงการภาครัฐ แต่สายธุรกิจ ICT Solutions ก็สามารถได้งานเพิ่มจำนวนกว่า 60 โครงการ มูลค่ารวมเกือบ 7,000 ล้านบาท ด้านสายธุรกิจ Mobile Multimedia ก็ประสบความสำเร็จจากยอดจำหน่าย Smart Phone ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างโดดเด่นและต่อเนื่อง โดยมียอดจำหน่ายในปี 57 ทั้งสิ้น 4.2 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 14 เปอร์เซนต์ ยิ่งไปกว่านั้น ในปีที่ผ่านมา บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ หนึ่งในบริษัทลูก ซึ่งประกอบธุรกิจให้บริการ Call Center ครบวงจร ก็ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมขยายฐานธุรกิจสู่ต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการเปิดสาขาแรกที่ประเทศกัมพูชา นอกจากนี้ สายธุรกิจ U-Trans ยังประสบความสำเร็จในการเซ็นสัญญาโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจราจรทางอากาศกับกรมการบินพลเรือน ของประเทศสหภาพพม่า มูลค่า 3.92 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 120 ล้านบาท รวมทั้งได้เซ็นสัญญากับ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย เพื่อติดตั้งระบบอุปกรณ์บริการการจราจรทางอากาศของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่า 465 ล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้น เทด้าซึ่งเป็นบริษัทย่อยในกลุ่มนี้ ก็ประสบความสำเร็จในการเซ็นสัญญาโครงการใหม่ๆ กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมมูลค่า 1,200 ล้านบาท สรุปแล้วกลุ่ม U-Trans ได้งานใหม่เพิ่มเติมในปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่าถึง 1,800 ล้านบาท

สำหรับปี 2558 นอกจากกลุ่มบริษัทสามารถจะเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจปัจจุบันเพื่อต่อยอดรายได้แล้ว ปี 58 จะเป็นปีแห่งการลงทุนครั้งสำคัญและสูงสุดนับจากการก่อตั้ง โดยมีแผนจะขยายการลงทุนในธุรกิจ Utilities & Transportations อย่างชัดเจน ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้รวมในปี 2558 จำนวน 30,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่า 20 เปอร์เซนต์ ด้วยปัจจัยหนุนที่เสริมความมั่นใจหลายๆ ด้าน เช่น การผลักดันเศรษฐกิจผ่านนโยบาย Digital Economy ของภาครัฐ, การเข้าสู่ AEC อย่างเต็มรูปแบบ, การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ CLMV รวมทั้งประเทศไทย ตลอดจนแนวโน้มการขยายเครือข่ายการสื่อสารจาก 3G สู่ 4G รวมถึงการขยายเครือข่ายดิจิตอลทีวีที่ครอบคลุมและกว้างขวาง โดยรายได้รวม 30,000 ล้านบาท จะมาจากสาย ICT Solutions 10,000 ล้านบาท Mobile Multi-media 13,000 ล้านบาท U-Trans และ Related Businesses รวมกันอีก 7,000 ล้านบาท ยิ่งไปกว่านั้น ยังคาดการณ์ว่ากำไรของกลุ่ม ICT และ SIM จะทะลุสถิติสูงสุดอีกครั้งในปีนี้

สายธุรกิจ ICT Solutions นำโดย บมจ. สามารถเทลคอม ปัจจุบันมีงานในมือแล้ว 7,200 ล้านบาท โดยในปีที่ผ่านมา ได้ลงนามในสัญญาให้บริการระบบตรวจบัตรโดยสารขึ้นเครื่องกับท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย มูลค่า 2,279 ล้านบาท และยังได้งานเพิ่มอื่นๆ อีกจำนวน 60 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 7,000 ล้านบาท สำหรับปี 2558 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้ 10,000 ล้านบาท เติบโตขึ้นกว่า 40 เปอร์เซนต์ โดยนอกเหนือจากงานโครงการซึ่งอยู่ในแผนที่จะเข้าประมูลในปี 58 รวมมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาทแล้ว ยังมีปัจจัยหนุนจากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจตามมาอีกมาก อาทิ การขยายโครงข่ายการสื่อสาร, การส่งเสริมธุรกิจ e-Commerce ตลอดจนการพัฒนา e-Government Services เป็นต้น และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับโอกาสทางธุรกิจดังกล่าว บริษัทฯ จึงได้กำหนดโครงสร้างธุรกิจใหม่ ประกอบด้วย 1. โซลูชั่นโครงสร้างเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคม Network Infrastructure Solutions 2. โซลูชั่นเทคโนโลยีประยุกต์ Enhanced Technology Solutions และ 3. แอปพลิเคชั่นสนับสนุนการประกอบธุรกิจ Business Applications ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯ ยังได้วางเป้าหมายในการขยายฐานลูกค้าสู่ภาคธุรกิจเอกชนมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยความเชี่ยวชาญทางด้าน ICT ที่ครบวงจร

สายธุรกิจ Mobile Multi-media นำโดยบมจ. สามารถ ไอ-โมบาย ตั้งเป้ารายได้ปี 2015 จำนวน 13,000 ล้านบาท เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 58 บริษัทฯ จะเน้นกลยุทธ์ Partnership Marketing ในการขยายตลาดผ่านเครือข่ายพันธมิตร อาทิ สโมสรฟุตบอลชั้นนำ บริษัทผู้ให้บริการมือถือไม่ว่าจะเป็น AIS, DTAC, True ตลอดจนพันธมิตรทางด้านสื่ออย่าง Siam Sports เป็นต้น โดยจะมีการพัฒนาสินค้าและพ่วงบริการ Content ในรูปแบบเจาะกลุ่ม หรือ Segmentation ทั้งนี้ คาดว่านอกเหนือจากยอดจำหน่ายมือถือที่จะเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังจะก่อให้เกิดรายได้ประจำจากค่าบริการ Content อย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยบริษัทฯมีแผนที่จะเปิดตัวมือถือไอ-โมบาย Smart Phone จำนวน 25 รุ่น ซึ่งมีคุณสมบัติโดดเด่น เช่น การถ่ายภาพคมชัดและรองรับดิจิตอลทีวี บริษัทฯ มั่นใจว่าจะสร้างสถิติยอดจำหน่ายทะลุ 5.5 ล้านเครื่อง เพื่อก้าวขึ้นเป็นแบรนด์มือถือที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในประเทศ และจะทุบสถิติกำไรสูงสุดอีกครั้งในปี 58

สายธุรกิจ U-Trans เป็นสายธุรกิจใหม่ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างรากฐานการเติบโตที่ยั่งยืน ให้กับกลุ่มสามารถ ครอบคลุมบริการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค อาทิ ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ ระบบจัดการยานพาหนะเพื่อการขนส่งและการเดินทาง ตลอดจนธุรกิจด้านพลังงาน ทั้งในรูปแบบ Conventional และ Alternative Energy หรือพลังงานทางเลือก โดยสายธุรกิจ Utilities & Transportations หรือ U-Trans จะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท SAMART U-Trans ซึ่งประกอบด้วยบริษัทลูกคือ Cambodia Air Traffic Services, Kampot Power Plant และ Teda บริษัทผู้เชี่ยวชาญในการวางเครือข่ายสายส่งไฟฟ้า ซึ่งล่าสุดได้เซ็นสัญญากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในการปรับปรุงสถานีไฟฟ้าสุราษฎร์ธานีมูลค่า 483 ล้านบาท จะเห็นว่าสายธุรกิจ U-Trans เป็นการรวมบริษัทในเครือสามารถที่สั่งสมความชำนาญและประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณูปโภคและงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างรอบด้านไว้ด้วยกัน ปัจจุบัน U-Trans คือแหล่งรายได้ประจำที่สำคัญของกลุ่มสามารถ และในปี 2558 จะเป็นปีแห่งการลงทุนครั้งสำคัญและสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของ “สามารถ” ในธุรกิจพลังงาน โดยมีกำหนดจะประกาศเกี่ยวกับแผนการลงทุนอย่างชัดเจนในไตรมาสแรกปีนี้

ปัจจุบันกลุ่มบริษัทสามารถ ประกอบด้วย 4 สายธุรกิจ ได้แก่ สายธุรกิจ ICT Solutions สายธุรกิจ Mobile – Multimedia . สายธุรกิจ Technology Related Businesses สายธุรกิจ Utilities & Transportations และมี 4 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย บมจ. สามารถคอร์ปอเรชั่น , บมจ. สามารถเทลคอม , บมจ. สามารถ ไอโมบายและบมจ.วันทูวัน คอนแทคส์

 

]]>
59179