กลุ่มเซ็นทรัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 10 Apr 2024 13:40:11 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลุ่มเซ็นทรัลชวนร่วมกันลงมือทำ ผ่านแคมเปญ “THAMsformation ทำเพื่อเปลี่ยน สู่ความยั่งยืน” ภายใต้โครงการ “เซ็นทรัล ทำ” https://positioningmag.com/1469763 Wed, 10 Apr 2024 09:42:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469763 ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ตลอด 77 ปีของกลุ่มเซ็นทรัลในการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการสร้างคุณค่าร่วมกับทุกภาคส่วนให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทํา” – ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ กลุ่มเซ็นทรัลจึงมุ่งมั่นเดินหน้าสร้างการพัฒนาสังคมในมิติต่างๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในวงกว้างอย่างต่อเนื่องและมองถึงผลลัพธ์ระยะยาว เพื่อให้เกิดความสมดุลกับมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างยั่งยืน

โดยมุ่งลดช่องว่างแห่งความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิต พัฒนาการศึกษา สร้างความมั่นคงและมั่งคั่งให้เศรษฐกิจชุมชน ตลอดจนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการขับเคลื่อนแบบองค์รวมให้เติบโตเข้มแข็งไปด้วยกัน ด้วยการเชิญชวนทุกคนมาร่วมกันลงมือทำผ่านแคมเปญใหม่ “THAMsformation ทำเพื่อเปลี่ยน สู่ความยั่งยืน” พร้อมเดินหน้า 6 กลยุทธ์ขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า

“นับเป็นเวลากว่า 7 ปีแล้วที่กลุ่มเซ็นทรัล ได้ริเริ่มโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” – ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ โครงการขับเคลื่อนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มเซ็นทรัล ด้วยเจตนารมณ์ที่จะสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Values – CSV) ระหว่างธุรกิจ สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียให้เติบโตไปพร้อมกันอย่างยั่งยืนผ่านพลังของการ “ร่วมกันลงมือทำ” เพื่อส่งมอบคุณค่าในเชิงบวกอย่างเป็นรูปธรรมต่อทุกภาคส่วน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs -Sustainable Development Goals) ซึ่งเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาโลกขององค์การสหประชาชาติ โดยนับตั้งแต่ก้าวแรก

วันแรกของการดำเนินโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” กลุ่มเซ็นทรัลไม่หยุดนิ่งที่จะทุ่มเทและใส่ใจอย่างรอบด้าน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านค้าปลีกและบริการด้วยการลงพื้นที่ปฏิบัติจริง เรียนรู้และร่วมกันแก้ปัญหากับชุมชน พัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับสินค้าชุมชนให้มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนสนับสนุนช่องทางการจำหน่าย ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนและยังสามารถส่งต่อองค์ความรู้ไปยังชุมชนใกล้เคียงผ่านศูนย์การเรียนรู้ ต่อยอดสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน นอกจากนี้ยั่งมุ่งสร้างความเท่าเทียมด้วยการลดช่องว่างแห่งความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งมอบโอกาสทางอาชีพและส่งเสริมการศึกษาให้กับเยาวชนและครู ตลอดจนการใส่ใจต่อสภาพแวดล้อมมุ่งสร้างโลกสีเขียว เป็นต้น

จากวันนั้นถึงวันนี้ผลของพลังแห่งการร่วมกันลงมือทำอย่างตั้งใจจริงได้ก่อเกิดเป็นผลิตผลและผลิตภาพที่สร้างคุณประโยชน์ตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนสะท้อนจากภาพความสำเร็จบางส่วนของโครงการ “เซ็นทรัล ทำ”            ที่ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชน 1,700 ล้านบาทต่อปี สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนกว่า 150,000 ราย สร้างงานและสนับสนุนอาชีพคนพิการ 1,011 คนมุ่งสู่ Net Zero ด้วยการลดปริมาณขยะสู่หลุมฝังกลบกว่า 20,830 ตัน, ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา 170 แห่ง ซึ่งสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้กว่า 114,200 เมกะวัตต์-ชั่วโมง และอื่นๆ เป็นต้น

สำหรับในปี 2567 “เซ็นทรัล ทำ” วางกลยุทธ์หลักเพื่อเป็นโรดแมปหรือแนวทางสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นยิ่งขึ้นกว่าเดิม ผ่าน “6 กลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน” ดำเนินงานโดยมุ่งเน้นการลดความเหลื่อมล้ำ ให้โอกาสทุกคนในสังคม รักษาสิ่งแวดล้อม พัฒนาด้านการศึกษาสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้และต่อยอดสู่การท่องเที่ยวชุมชนยั่งยืน พร้อมไฮไลต์โครงการ ดังนี้

1. Community – พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน

มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพส่งเสริมสินค้าให้มีเอกลักษณ์เป็นที่ต้องการของตลาดสนับสนุนด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์และดีไซน์ต่างๆ รวมทั้งมอบช่องทางการจำหน่ายผ่านโมเดิร์นเทรดทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์พัฒนายกระดับสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ต่อยอดการท่องเที่ยวยั่งยืนในเชิงเกษตรอินทรีย์และเชิงวัฒนธรรมในบริเวณโดยรอบของชุมชน นำไปสู่การสร้างรายได้ที่มั่นคงส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับกลุ่มเกษตรกรและชุมชนต่างๆ อย่างยั่งยืนโดยในปี 2566 ได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 44 จังหวัด สร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้ชุมชนต่างๆ กว่า 150,000 ราย สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชน ผ่านการรับซื้อหรือสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายไปแล้วกว่า 1,700 ล้านบาท

โครงการเด่นด้านพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่

1) ชุมชนเกษตรอินทรีย์วิถีชีวิตยั่งยืนแม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่

นับแต่ปี 2560 ที่เซ็นทรัล ทำ ร่วมกับ มูลนิธิสายใยแผ่นดิน ดำเนินโครงการวิถีชีวิตยั่งยืนแม่ทา บนพื้นที่ 9 ไร่ สนับสนุนโครงการด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อส่งเสริมเกษตรกรรุ่นใหม่ขับเคลื่อนการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ผลิตแหล่งอาหารที่ปลอดภัยกลับคืนสู่สังคมโดยให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาผลผลิต การรับซื้อ การสร้างแบรนด์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และช่องทางการจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดทำให้ชุมชนมีรายได้อย่างมั่นคง และยังสามารถแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนใกล้เคียงได้ นอกจากนี้ยังให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตและจัดจำหน่าย ผ่านการก่อสร้างอาคารคัดบรรจุผัก, รถขนส่งห้องเย็นสำหรับขนส่งผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ

ปัจจุบันชุมชนแม่ทาได้ขยายผลการดำเนินงานสู่ การจัดทำโฮมสเตย์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์ให้กับนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจทั่วไป โดยมีกิจกรรมเชิงวิถีเกษตรอินทรีย์ยั่งยืนมากมาย เช่น การเก็บไข่ไก่อารมณ์ดี, การลิ้มลองอาหารพื้นบ้าน, การทำขนมปัง โดยดำเนินการเสร็จแล้วจำนวน 1 หลัง และเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวแล้ว ทั้งนี้ในอนาคตมีแผนที่จะร่วมกับ ททท. จัดทำแพ็กเกจ One Day Trip อีกด้วย การดำเนินโครงการแม่ทาออร์แกนิกสามารถช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชนในปี 66 มากกว่า 8.4 ล้านบาท โดยมีชุมชนเข้าร่วมกว่า 110 ราย โดยในส่วนของการท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม 1,500 คนต่อปี สร้างรายได้จากการเข้าอบรมและท่องเที่ยวกว่า 3.8 แสนบาท

2) ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี จ.ตรัง 

กลุ่มเซ็นทรัลสนับสนุนก่อสร้าง “พิพิธภัณฑ์ผ้าทอนาหมื่นศรี” เพื่อสืบสานวัฒนธรรมผ้าทอมือโบราณอายุกว่า 200 ปี ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ให้เลือนหายตามกาลเวลา ต่อมาถูกยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับผ้าทอนาหมื่นศรีให้คนทั่วไปได้รู้จัก อบรมให้ลูกหลานชาวนาหมื่นศรีและนักเรียนโรงเรียนนบ้านควนสวรรค์ให้เป็นมัคคุเทศก์ในพิพิธภัณฑ์ รวมทั้งพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม ด้วยการจัดทำเส้นทางจักรยานท่องเที่ยวในตำบลนาหมื่นศรีให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจท่ามกลางความงดงามตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังสนับสนุนการก่อสร้างร้านค้าวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรีอีกด้วย

ทั้งนี้ในปี 2566 สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 9.2 ล้านบาท ครอบคลุมสมาชิก 155 ครัวเรือน ปัจจุบัน “ศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอนาหมื่นศรี” นับเป็นต้นแบบศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์เชิงวัฒนธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวและผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาเยี่ยมชมและซื้อสินค้ากว่า 21,000 คนต่อปี

3) ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาผลผลิตการเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านเทพพนา- สวนเทพพนา จ.ชัยภูมิ

ความโดดเด่นของสวนเทพพนา ซึ่งเป็น 1 ใน 7 ผู้ปลูกอะโวคาโดสายพันธุ์แฮสส์ในไทย โดยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนดี ช่วยลดปริมาณการปลูกพืชเชิงเดี่ยว อีกทั้งยังดำเนินการทำเกษตรแบบอัจฉริยะ (Smart Farming) เช่น การทำปุ๋ยหมักระบบเติมอากาศ การจัดการน้ำใต้ดิน แท็งก์น้ำพลังงานโซลาร์เซลล์ นอกจากนี้ยังมีการเพาะต้นกล้าอะโวคาโด และเปิดอบรมให้กับผู้ที่สนใจปลูกอะโวคาโด ส่งผลให้เซ็นทรัล ทำ ตระหนักถึงศักยภาพดังกล่าว จึงให้การสนับสนุนด้านการจัดจำหน่ายผลผลิตส่งเข้า Tops และจริงใจ Farmer’s Market สนับสนุนการก่อสร้างอาคารศูนย์เรียนรู้เพื่อให้เป็นต้นแบบด้านการทำเกษตรอัจฉริยะในภาคอีสาน เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้การปลูกอะโวคาโด และเป็นศูนย์กลางรวบรวมผลผลิตอื่นๆ เช่น เสาวรส ทุเรียน โอโซน แมคคาเดเมีย จากชุมชนใกล้เคียงเพื่อส่งขายให้กับธุรกิจในเครือกลุ่มเซ็นทรัล

ในปี 2566 ศูนย์การเรียนรู้บ้านเทพพนา มีจำนวนสมาชิก 500 ครัวเรือน สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 41 ล้านบาท โดยมีนักท่องเที่ยวและผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาเยี่ยมชมและซื้อสินค้าเป็นจำนวนกว่า 10,000 คนต่อปี จำนวนผู้เข้าอบรมการปลูกอะโวคาโด 3,000 คนต่อปี และเพิ่มพื้นที่สีเขียว 3,000  ไร่

4) ศูนย์การเรียนรู้การทำฟาร์ม เมล่อน Smile Melon จ.อยุธยา

จากการปลูกเมล่อนเป็นอาชีพเสริมระหว่างการทำนา ซึ่งมีราคาผลผลิตตกต่ำ นำไปสู่การสร้างอาชีพหลักให้กับชุมชน โดยมีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนเมล่อนหมู่ใหญ่ร่วมใจพัฒนา จนกลายเป็นแหล่งผลิตเมล่อนแบบครบวงจร เริ่มมีการส่งผลผลิตจำหน่ายที่ Tops แต่ยังขาดปัจจัยการผลิตที่สำคัญ กลุ่มเซ็นทรัลจึงได้เข้าไปสนับสนุนปัจจัยการผลิตในรูปแบบต่างๆ เช่น โรงเรือนเพาะปลูก อาคารคัดแยกผลผลิต เพื่อให้สามารถปลูกเมล่อนได้อย่างหมุนเวียน ผลผลิตมีคุณภาพได้มาตรฐานโมเดิร์นเทรด ขยายผลสู่การรับซื้อผลผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมยกระดับ ศูนย์การเรียนรู้การทำฟาร์ม เมล่อน Smile Melon ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเพื่อก่อให้เกิดการกระจายรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง

ในภาพรวมของปี 2566 กิจกรรมภายใต้ศูนย์การเรียนรู้ฯ ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 30 ครัวเรือน สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 15.2 ล้านบาท มีนักท่องเที่ยวและผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมาเยี่ยมชมและซื้อสินค้าเป็นจำนวนกว่า 7,200 คนต่อปี

5) จริงใจฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต หรือตลาดจริงใจ

พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรในท้องถิ่นได้นำพืชผักปลอดภัย และสินค้าขึ้นชื่อของชุมชนมาวางจำหน่ายในพื้นที่ของ กลุ่มเซ็นทรัล เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีโอกาสได้พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนำไปปรับปรุงพัฒนาสินค้า นอกจากนี้การนำสินค้าภายในพื้นที่มาจำหน่ายยังทำให้คนในชุมชนได้บริโภคอาหารและสินค้าที่สดใหม่  คุณภาพดี และปลอดภัยจากสารเคมี เพิ่มโอกาสในการจำหน่าย สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร และสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับชุมชน โดยในปัจจุบันจริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต มีทั้งหมด 33 สาขา ใน 29 จังหวัด ตั้งอยู่ในพื้นที่ของจริงใจ มาร์เก็ต จ.เชียงใหม่ 1 สาขา และในพื้นที่ศูนย์การค้าของกลุ่มเซ็นทรัลในจังหวัดต่างๆ อีก 32 สาขา โดยในปี 2566 สามารถสร้างรายได้กว่า 231 ล้านบาท ให้กับเกษตรกรกว่า 10,200 ครัวเรือน

6) good goods (กุ๊ด กุ๊ดส์)

ร้านจำหน่ายสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นดีไซน์ร่วมสมัยแบรนด์ “good goods” (กุ๊ด กุ๊ดส์) ผลิตโดยวิสาหกิจเพื่อสังคม  “เซ็นทรัล ทำ” ภายใต้กลุ่มเซ็นทรัล ริเริ่มเมื่อปี 2561 เพื่อสืบสานมรดกวัฒนธรรม ยกระดับสินค้าไทยให้ทันสมัย ด้วยการส่งมอบองค์ความรู้แก่ชุมชนให้สามารถพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และการออกแบบให้มีความร่วมสมัยโดยให้การสนับสนุนดีไซเนอร์ให้คำแนะนำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยกำไรที่ได้จากการจำหน่ายสินค้าทั้งหมดจะถูกนำกลับไปพัฒนาชุมชนต่อไป นอกเหนือจากการอนุรักษ์สินค้าท้องถิ่นแล้ว เซ็นทรัล ทำ ยังมุ่งส่งเสริมศักยภาพกลุ่มเปราะบางหรือผู้ที่ต้องการสนับสนุนเป็นพิเศษ เช่น คนพิการในการพัฒนาทักษะด้านการผลิตสินค้า ผ่านการดำเนินโครงการตะกร้าสาน ผู้พิการ ซึ่งร่วมมือกับสมาคมรวมใจคนพิการ จ.อุดรธานี เพื่อนำมาจำหน่ายภายใต้แบรนด์ good goods โดยระหว่างปี 2562-2566 สามารถสร้างอาชีพให้ผู้พิการและเครือข่ายกว่า 200 คน สร้างรายได้ให้คนพิการในสมาคมผ่านการรับซื้อสินค้าเพื่อมาจำหน่ายในร้าน good goods คิดเป็นมูลค่าเชิงเศรษฐกิจกว่า 12 ล้านบาท

ปัจจุบันร้าน good goods  มีจำนวน 3 สาขา ได้แก่ คอนเซ็ปต์สโตร์ สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 1 โซน Hug Thai , สาขาโครงการจริงใจ มาร์เก็ต จ.เชียงใหม่ และสาขาที่ 3 ใหม่ล่าสุด สาขาเซ็นทรัลภูเก็ต ฟอลเรสต้า ชั้น G โซน Hug Thai นอกจากนี้ยังมีในส่วนของเคาท์เตอร์ good goods ที่เซ็นทรัล ชิดลม ชั้น 7 และ เซ็นทรัล ป่าตอง ชั้น B1 และช่องทางออนไลน์ผ่าน Line :@aboutgoodgoods อีกด้วย โดยใน ปี 2566 สามารถสร้างรายได้กว่า 200 ล้านบาท จากการรับซื้อสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 39 ชุมชน

2. Inclusion – การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม

มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาสโอกาสในการพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาให้กับเยาวชนผ่านการสร้างศูนย์การเรียนรู้ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบ Project – Based Learning ที่เน้นลงมือปฏิบัติด้วยประสบการณ์จริง ต่อ ยอดสู่การประกอบอาชีพในอนาคต รวมทั้งช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในด้านต่างๆ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

โครงการเด่นด้านการลดความเหลื่อมล้ำ ได้แก่

1) โครงการยกระดับการศึกษาโรงเรียนบ้านตากแดด จ.พังงา 

มุ่งพัฒนาโรงเรียนบ้านตากแดดให้เป็น “ศูนย์การเรียนรู้ข้าวไร่ดอกข่า” ด้วยการสนับสนุนการนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาพื้นที่ของโรงเรียนเพื่อการเพาะปลูกข้าวไร่ดอกข่าขยายผลสู่ชุมชนทำให้เกิดการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนข้าวไร่ดอกข่า ทำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะด้านเกษตรกรรมให้กับนักเรียน โดยเซ็นทรัล ทำ ยังร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม สนับสนุนเครื่องซีลข้าวสูญญากาศและช่องทางการจำหน่าย ส่งผลให้จากศูนย์การเรียนรู้ในห้องเรียนสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายข้าวไร่ดอกข่ากลับคืนสู่โรงเรียน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายภายในโรงเรียน เช่น ค่าอาหารกลางวัน ฯลฯ ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ยังสนับสนุนการปรับปรุงสถานศึกษาในโครงการ ICAP ด้วยการออกแบบห้องเรียนและหลักสูตรให้มีสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย สร้างสมาธิ และความรับผิดชอบ และการจัดตั้งมุมคัดแยกขยะเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนอีกด้วย ปัจจุบันโรงเรียนบ้านตากแดดมี นักเรียนเพิ่มขึ้นจาก 47 คนในปี 2559เป็น 85 คนในปี 2566 ส่งผลให้โรงเรียนบ้านตากแดดเป็น โรงเรียนต้นแบบการเรียนรู้ของชุมชน ที่มีหน่วยงานเข้ามาศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทุกปี

3. Talent – พัฒนาศักยภาพที่เป็นเลิศของบุคลากร

มุ่งดูแลและพัฒนาบุคลากรขององค์กร ด้วยการส่งมอบความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานแก่บุคลากรทุกระดับให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกิจกรรมและหลักสูตรอบรมต่างๆ ที่เน้นถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน ตลอดจนสร้างความเคารพในคุณค่าของความแตกต่างหลากหลายในองค์กรให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคตามหลักสิทธิมนุษยชน

โครงการเด่นด้านพัฒนาศักยภาพที่เป็นเลิศของบุคลากร ได้แก่

1) การพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต มุ่งให้พนักงานพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคโลกดิจิทัลโดยให้ความรู้แก่พนักงานทุกระดับ ผ่านการพัฒนา 9 หลักสูตรในกลุ่ม Digital Literacy, Data Analytics & Tools และ Agility เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาทักษะเฉพาะทาง

2) พัฒนาทักษะการปฏิบัติงาน พัฒนาทักษะทั้ง hard skill และ soft skill ด้วยการออกแบบเส้นทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพนักงาน (Training Roadmap) กว่า 50 เส้นทาง และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสายงานกว่า 200 หลักสูตร ครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจหลัก

3) การส่งเสริมสร้างสุขภาวะและการดูแลพนักงาน

ส่งเสริมสุขภาพที่ดีทั้งกายและจิตใจ ปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้คุณค่าของความหลากหลายและเสมอภาคด้วยแนวคิด DEI (Diversity หลากหลาย – Equity เท่าเทียม – Inclusion เปิดรับความแตกต่าง) ผ่านการจัดกิจกรรมขององค์กร เช่น กิจกรรมส่งเสริมบทบาทและความสำเร็จของผู้บริหารหญิง สะท้อนความเท่าเทียมทางเพศ อีกทั้งส่งเสริมการจ้างงานการจ้างงานผู้สูงอายุในตำแหน่งบริการลูกค้าหน้าร้าน รวมทั้งการจ้างงานคนพิการ เช่น ศูนย์ Contact Center ของไทวัสดุและเพาเวอร์บาย, พนักงานในเครือโรงแรมเซ็นทาราและร้านค้าในเครือเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป รวม 327 คน เป็นต้น

4. Circularity – ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน 

ส่งเสริมและรณรงค์ให้ทุกคนร่วมมือกันรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน ด้วยความมุ่งมั่นของธุรกิจในเครือในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีความรับผิดชอบ รวมทั้งสร้างความตระหนักถึงการร่วมมือกันรักษ์โลกและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

โครงการเด่นด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่

1) โครงการจัดการอาหารส่วนเกิน (Food Surplus Management) เพื่อลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งตั้งแต่ต้นทาง เริ่มตั้งแต่การวางแผนการใช้วัตถุดิบการจัดการอาหารที่เหลือจากการจำหน่าย แบ่งเป็นอาหารที่ยังรับประทานได้ส่งต่อให้กับกลุ่มเปราะบาง โดยร่วมมือกับมูลนิธิ SOS , Yindii เป็นต้น โดยในปี 66 บริจาคอาหารส่วนเกินไปกว่า 2,681,476 มื้อ ลดปริมาณขยะลงสู่หลุมฝังกลบ 641 ตัน และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ได้ถึง 1,486 ตันคาร์บอน นอกจากนี้ อาหารส่วนเกินที่ไม่สามารถรับประทานได้ จะถูกนำไปแปรรูปขยะอาหารเป็นปุ๋ยอินทรีย์และก๊าซชีวภาพ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ต่อไป

2) โครงการบริหารจัดการขยะพลาสติก (Plastic Waste Management) มุ่งเน้นการลดขยะพลาสติกผ่าน 3 แนวทาง 1. การลดพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือ single-use plastic ในห้างสรรพสินค้าและร้านค้าในกลุ่มเซ็นทรัล โดยในปี 2566 สามารถลดจำนวนถุงพลาสติกที่ส่งมอบให้ลูกค้า ซึ่งจะกลายเป็นขยะกว่า 187,758 ใบ ทำให้ลดปริมาณขยะพลาสติกได้กว่า 15 ตัน 2. เพิ่มการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินงานของหน่วยธุรกิจ เช่น โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราได้ยกเลิกการใช้หลอดพลาสติก,เปลี่ยนถุงพลาสติกเป็นถุงผ้าสำหรับบริการส่งซัก , เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของใช้ในห้องน้ำเป็นขวดที่สามารถรีฟิลได้ 3. การส่งเสริมกระบวนการรีไซเคิล กลุ่มเซ็นทรัล จัดเก็บขยะขวดพลาสติก PET เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (upcycled) ในปี 66 ได้ถึง 1,020,009 ขวด แบ่งเป็นดำเนินงานโดยเซ็นทรัล รีเทล จัดเก็บขยะขวดพลาสติก PET จากพื้นที่ธุรกิจ 492,009 ขวด และโครงการขวดเปล่าไม่สูญเปล่าดำเนินการโดย เซ็นทรัล ทำ รวบรวมขวดเปล่าได้ 528,000 ขวด เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า เช่น กระเป๋า เสื้อกั๊ก หรือผ้าห่ม จำหน่ายภายใต้แบรนด์ good goods หรือส่งมอบให้กับผู้ประสบภัย นอกจากนี้เซ็นทรัลพัฒนายังได้ดำเนินโครงการ Journey to Zero คัดแยกขยะรีไซเคิลทุกประเภท เช่น พลาสติก กระดาษ อะลูมิเนียม โลหะ ขวดแก้ว ได้กว่า 10,585 ตัน คิดเป็น 13% ของขยะทั้งหมด และโรงแรมในเครือเซ็นทารากว่า 37 แห่ง ยังได้ดำเนินโครงการ Plastics Only, Please (P-O-P) ถังขยะรูปทรงปลาทะเล เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าไม่ทิ้งขยะพลาสติกลงในทะเล โดยสามารถนำขยะพลาสติกไปรีไซเคิลได้ทั้งหมด 1.7 ตัน ในปี 66

5. Climate – การฟื้นฟูสภาพอากาศ

เดินหน้าเส้นทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593โดยส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาด (Renewable Energy) ของธุรกิจในกลุ่ม รวมทั้งการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานและผู้บริหารในองค์กรคู่ค้า ลูกค้า พันธมิตร โดยคำนึงถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โครงการเด่นด้านการฟื้นฟูสภาพอากาศ ได้แก่

1) โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนผ่าน Solar Rooftops 

ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ กว่า 170 แห่ง ในพื้นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพัฒนา , ห้างเซ็นทรัล โรบินสัน และไทวัสดุ ในเครือเซ็นทรัล รีเทล , โรงแรมในเครือเซ็นทาราและโรงงานภายในเครือเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้เองได้ทั้งหมด 114,200 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ต่อปี นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งสถานีชาร์จรถไฟฟ้า กว่า 1,356 สถานี ภายในพื้นที่ของหน่วยธุรกิจเซ็นทรัล รีเทล, เซ็นทรัลพัฒนา, โรงแรมในเครือเซ็นทารา อีกด้วย

2) โครงการส่งเสริมลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงจากระบบขนส่งสินค้า

เพื่ออากาศที่ดีของคนไทยโดยไทวัสดุมีการนำรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า หรือ Electric Truck ซึ่งมีสมรรถนะโดดเด่นเทียบเท่ารถบรรทุกน้ำมันดีเซล เข้ามาใช้ในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อขนส่งสินค้าระหว่างร้านค้าในเครือไทวัสดุโดยมีแผนจะขยายเส้นทางเดินรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกในอนาคต เช่นเดียวกับท็อปส์ ที่มีการใช้รถขนส่งพลังงานไฟฟ้านำร่องใช้ขนส่งกระจายสินค้าของร้านท็อปส์ เดลี่ ในพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ ทั้งนี้ปัจจุบันไทวัสดุและท็อปส์ มีจำนวนรถขนส่งขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 22 คัน สามารถช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงกว่า 180,000 ลิตร

6. Nature – การอนุรักษ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 

มุ่งอนุรักษ์และฟื้นฟูความอุดสมบูรณ์ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน นำไปสู่ความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) และเป็นแนวทางในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการดำเนินโครงการด้านการเพิ่มและอนุรักษ์พื้นที่สีเขียว อาทิ ด้านเกษตรกรรมยั่งยืนด้วยการส่งเสริมวิถีการทำเกษตรที่มีคุณค่าทั้งทางเศรษฐกิจทำให้เกษตรชุมชนได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยไม่ลดทอนหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริมการปลูกป่าเพื่อฟื้นคืนผืนป่า การปลูกต้นไม้และการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ดี เพื่อการอนุรักษ์ดิน น้ำ อากาศและสิ่งมีชีวิต

โครงการเด่นด้านการปกป้องธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่

1) โครงการฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว โดยธุรกิจในเครือกลุ่มเซ็นทรัลให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่อง เพื่อ ดูดซับคาร์บอนบรรเทาภาวะโลกร้อนซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจ สังคม และชุมชน โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการร่วมฟื้นฟูป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียว เช่น การผนึกกำลังกับกรุงเทพมหานคร, กรมป่าไม้ ในการลงพื้นที่ปลูกป่าในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งการแจกจ่ายต้นไม้ให้กับประชาชนนำกลับไปปลูกยังบ้านพักอาศัยของตนเอง เป็นต้น ส่งผลให้ในปี 2566 สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูป่าได้กว่า 9,411 ไร่ ลดคาร์บอนได้ 7,456 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ทั้งนี้ในปี 67 มีแผนดำเนินโครงการ Community Climate Action (CCA) ฟื้นฟูพื้นที่สีเขียว 50,000 ไร่ ใน 6 จังหวัด เป็นต้น

ทั้งนี้ “เซ็นทรัล ทำ” ยังได้เปิดตัววิดีโอโฆษณาชุดใหม่ “แค่ทำสักครั้ง” สอดรับกับ แคมเปญ “THAMsformation ทำเพื่อเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน” สะท้อนเรื่องราวคุณค่าของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ไม่ใช่เพียงแค่คิด แต่เกิดจากความกล้าที่จะเริ่มต้นลงมือทำและทำอย่างต่อเนื่อง ผ่านการบอกเล่าโครงการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนบางส่วนของ “เซ็นทรัล ทำ” ที่ประสบความสำเร็จและเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน คลิกเพื่อรับชมวีดีโอโฆษณา “แค่ทำสักครั้ง”

“เซ็นทรัล ทำ” เชื่อว่าการเดินหน้ายุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดจากร่วมมือร่วมใจกันลงมือทำ       บูรณาการและขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเจริญเติบโตรอบด้านในทุกมิติ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ โดยหวังผลลัพธ์เชิงบวกสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในระยะยาว เพื่อส่งมอบอนาคตที่มีคุณภาพให้กับสังคม ประเทศชาติ และคนรุ่นหลังต่อไป

]]>
1469763
เอไอเอส x กลุ่มเซ็นทรัล สานภารกิจความยั่งยืน ปั้นโมเดลการจัดการขยะแบบครบวงจร https://positioningmag.com/1454593 Wed, 06 Dec 2023 08:46:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1454593 เอไอเอส ร่วมกับ กลุ่มเซ็นทรัล เดินหน้าสานพันธกิจ ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อม สร้างโมเดลด้านการจัดการขยะทุกประเภทให้ถูกวิธีด้วยการร่วมมือกันของ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ เร่งการเปลี่ยนแปลงผ่านการสร้างความร่วมมือส่งเสริมทุกภาคส่วนให้เกิดการจัดการขยะแบบ 100 % เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมที่เริ่มต้นได้ง่ายๆ จากตัวเรา

ทั้งนี้การยกทีมผู้บริหารลงพื้นที่ ณ หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ที่เกาะชินโชกุประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นการซึมซับแนวคิด Zero Waste และกระบวนการจัดการขยะที่ทรงประสิทธิภาพและต่อเนื่องอย่างการแยกขยะมากถึง 45 ประเภท ผ่านหลักการพื้นฐานที่ทุกคนทำได้โดยการลดขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) จนกลายเป็นเมืองต้นแบบปลอดขยะระดับโลกพร้อมนำมาต่อยอดการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า

“นโยบายหลักของเรา นอกจากสร้างมาตรฐานของสินค้า บริการ นวัตกรรม และการดูแลลูกค้าอย่างเป็นเลิศแล้ว ยังมีภารกิจในการดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม สนับสนุนสู่ Sustainable Nation โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม ใน 2 แกนหลัก คือ 1) ลดผลกระทบผ่านกระบวนการดำเนินธุรกิจ 2) ลดและรีไซเคิลของเสียจากการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมให้คนไทยร่วมกำจัด E-Waste อย่างถูกวิธี เพราะการมาถึงของ Digital ส่งผลให้เกิดขยะ E-Waste มากขึ้น จนกลายเป็นปัญหาระดับโลก เช่นกรณีมูลค่าขยะ E-Waste ที่ถูกเผาทำลายมีมากถึง 57,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กลับมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธีและรีไซเคิลได้เพียง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ปริมาณที่สูญหายในระหว่างทางนั้นมีอยู่มหาศาลและสามารถส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมหากกำจัดอย่างไม่ถูกต้อง”

“จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนภารกิจคนไทยไร้ e-waste ในปี 2562 เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่ปี 2563 รณรงค์และเป็นช่องทางรับทิ้ง E-Waste ได้สะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น ผ่านศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัลที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ 37 สาขาทั่วประเทศ รวมถึงร้าน Power Buy ผู้นำธุรกิจค้าปลีกศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าไอที มือถือ แกดเจ็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร รวม 40 สาขาทั่วประเทศ และผ่าน Application E-Waste Plus ที่เพิ่มเติมเข้ามา อันเป็นการร่วมเสริมพลังกับ 190 องค์กร ขับเคลื่อน HUB of e-waste ศูนย์กลางการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะแห่งแรกของไทย ที่มีทั้งความรู้ เครือข่ายที่มาช่วยกันแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ การขยายจุดรับทิ้งให้ครอบคลุม การบริการด้านการขนส่ง และการรีไซเคิลสู่กระบวนการ Zero e-waste to landfill ได้ในท้ายที่สุด”

พิชัย  จิราธิวัฒน์  กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า

การจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากตัวเราเองที่ต้องทำทุกวันและต่อเนื่องจนเป็นนิสัย และเราเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะสำเร็จได้ต้องร่วมมือกันทำจากทุกภาคส่วน จึงเป็นที่มาของการผนึกกำลังกันระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล และ เอไอเอส ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมาอย่างยาวนาน การร่วมมือกันครั้งนี้เป็นการสานต่อจากโครงการ การทิ้งขยะ E-Waste อย่างถูกวิธี ซึ่งทางกลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นสานต่อเจตนารมณ์ที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านโครงการ “เซ็นทรัล ทำ – ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ” โครงการเพื่อความยั่งยืนดำเนินการโดยกลุ่มเซ็นทรัลผ่าน 6 แนวทางการขับเคลื่อนเพื่อความยั่งยืน

  1. ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน สร้างอาชีพ และบรรเทาสาธารณภัย (Community & Social Contribution)
  2. ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคในการเข้าถึงโอกาส อย่างเท่าเทียม (Inclusion) การศึกษา (Education)
  3. พัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (Human Capital Development)
  4. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนและการบริหารจัดการขยะมูลฝอย (Circular Economy & Waste Management)
  5. ลดการสูญเสียอาหารในกระบวนการผลิตและลดปริมาณขยะอาหาร (Food Loss & Food Waste Reduction)
  6. ฟื้นฟูสภาพอากาศ ลดมลภาวะ และผลักดันการใช้พลังงานหมุนเวียน (Climate Action)ทำให้เรามีส่วนสำคัญในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินธุรกิจขององค์กร และขับเคลื่อนการลดการสร้างขยะให้เป็นศูนย์ผ่านแคมเปญ Journey to Zero เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ในปี 2050 เพื่อสร้างคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมที่ครอบคลุมทุกมิติ เป็นรีเทลแห่งแรกของไทยที่จะพัฒนาให้เป็นศูนย์ต้นแบบในด้านการจัดการขยะทั่วประเทศ เราพร้อมที่จะเร่งปรับและเปลี่ยนเพื่อโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน

การเดินหน้าภารกิจศึกษาแนวคิด และกระบวนการจัดการขยะในครั้งนี้ ทั้ง 2 บริษัทเห็นพ้องตรงกันว่า เราจะร่วมมือกันทำ ร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน ที่อยากเห็นประเทศไทยมีโมเดลต้นแบบในการ คัด แยก ทิ้งขยะ ได้อย่างถูกที่และถูกวิธีและยังเป็นการลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาอีกมากมาย พร้อมสร้างพฤติกรรมการใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นถัดไป

กรณีศึกษา Kamikatsu Zero Waste เมืองคามิคัตสึ

คามิคัตสึ เป็นเมืองในจังหวัดโทคุชิมะ ที่ตั้งอยู่บนเกาะชิโกกุทางตะวันตกของประเทศญี่ปุ่น มีประชากรเพียง 1,401  คน หรือ 734 ครัวเรือน (ตัวเลข ณ วันที่ 1 ต.ค. 2023) โดยมีสัดส่วนเป็นผู้สูงอายุ เป็น 52.25%

เมืองคามิคัตสึ มีพื้นที่ขนาด 109.63 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ป่าไม้ 88% และ 80% เป็นป่าปลูก) มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 100-700 เมตร

โดยที่เมืองคามิคัตสึ เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงโด่งดังเรื่องปลอดขยะ และการจัดการขยะอันดับต้นๆ ของโลก และเป็นต้นแบบการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน จนกลายเป็นหนึ่งในสถานที่เรียนรู้ของคนที่รักสิ่งแวดล้อม เริ่มทำโครงการ Zero Waste ตั้งแต่ปี 2003 มีการแยกขยะอย่างจริงจัง ส่งไปรีไซเคิล หรือรียูสได้

ในปี 2020 สามารถทำให้ขยะเป็นศูนย์ได้ราว 80% โดยมีกระบวนการเอาไปรียูส รีไซเคิล ส่วนอีก 19% ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ต้องนำไปฝังกลบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มหนังยางรัดแกง รองเท้า ของที่แยกชิ้นส่วนไม่ได้ และขยะอันตราย เช่น ผ้าอ้อม หน้ากากอนามัย ทิชชู และขยะปนเปื้อนต่างๆ

Zero waste หรือขยะเป็นศูนย์ หมายถึง การกำจัดของเสียและขยะ แต่สำหรับเมืองคามิคัตสึไม่เพียงหมายถึงการจัดการขยะเท่านั้น แต่ยังหมายถึงวิธีคิดที่จะไม่สร้างขยะตั้งแต่เริ่มแรก

ประวัติศาสตร์ของ เมืองคามิคัตสึ

1974       โรงบำบัดดินส่วนเกินฮิบิกาทานิถูกใช้เป็นโรงบำบัดขยะชั่วคราว

1991       มีการให้เงินอุดหนุนสำหรับซื้อถังหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 3,100 เยน) จนถึงปี 1999

1994       จัดทำแผนเมืองรีไซเคิลคามิคัตสึ

1995       มีการอุดหนุนการซื้อเครื่องกำจัดขยะไฟฟ้า (Gomi nice) สำหรับครัวเรือน (โดยคนในชุมชนจ่ายเพียง 10,000 เยน)

1996       ปิดโรงบำบัดขยะฮิบิกาทานิบางส่วน (ยกเลิกในส่วนการฝังกลบขยะที่เผาไม่ได้และขยะขนาดใหญ่)

1997       เปิดสถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิ และเริ่มการคัดแยกขยะออกเป็น 9 ประเภท

1998       ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก 2 แห่ง และปิดสถานที่เผาขยะฮิบิกาทานิ (เผาขยะกลางแจ้ง)

2001       ปิดเตาเผาขยะขนาดเล็ก เริ่มจัดระบบการคัดแยกเป็น 33 หมวดหมู่ (หลังจากปีนี้ไม่นานก็ได้เพิ่มเป็น 35 หมวดหมู่) ที่สถานีกำจัดขยะฮิบิกาทานิซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน

2003       ออกปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste)

2005       เปิดตัวองค์กรไม่แสวงหากำไร (NPO) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ขยะเป็นศูนย์ ชื่อ Zero Waste Academy

2006       เปิดศูนย์ส่งเสริมการซื้อสินค้าใช้ซ้ำ Kurukuru Shop

2007       เปิดร้านรีเมค Kurukuru Kobo แหล่งรวบรวมสินค้ารีไซเคิล

2008       เริ่มมีการให้เช่าอุปกรณ์บนโต๊ะอาหารที่ใช้แล้วนำไปใช้ซ้ำ

2013       เริ่มแคมเปญสะสมคะแนน Chiritsumo (เป็นคะแนนที่ได้จากจากการคัดแยกกระดาษต่างๆ ฯลฯ และดัดแปลงเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน)

2016       เปลี่ยนจำนวนหมวดหมู่การคัดแยกขยะอย่างเป็นทางการ จาก 34 ประเภทเป็น 13 ประเภท และ 45 หมวดหมู่สามารถทำยอดรีไซเคิลขยะได้ในอัตราสูงกว่า 80% เป็นครั้งแรก

2017       ริเริ่มการให้การรับรองขยะเป็นศูนย์เริ่มการทดสอบการขายขยะตามน้ำหนักเริ่มนำเสนอเซ็ตผ้าอ้อมที่ทำจากผ้า

2018       เริ่มรณรงค์งดใช้ถุงพลาสติก

2020       ก่อสร้างศูนย์ Kamikatsu-cho Zero Waste Center เพื่อช่วยกำจัดขยะเมืองคามิคัตสึให้เป็นศูนย์เสร็จสมบูรณ์

ปฏิญญาขยะเป็นศูนย์ของเมืองคามิคัตสึ

17 ปีหลังจากออกปฏิญญา Zero Waste ในปี 2003 คนในชุมชนทุกคนได้ร่วมกันลดขยะในเมืองคามิคัตสึและได้พิสูจน์ตนเองด้วยสถิติรีไซเคิลขยะได้ในอัตรามากกว่า 80% ซึ่งความท้าทายในการร่วมกันกำจัดขยะของหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งนี้ได้ดึงดูดความสนใจจากคนทั่วโลก และได้ปูทางเมืองแห่งนี้ไปสู่สังคมที่ยั่งยืนโดยเมืองคามิคัตสึมีเป้าหมายในการพัฒนาเมืองให้มีความงามทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นสถานที่ที่ทำให้ทุกคนมีความสุข และสามารถเติมเต็มความฝันของพวกเขาได้ และในฐานะผู้บุกเบิกเรื่องขยะเป็นศูนย์ เมืองคามิคัตสึก็ได้ประกาศนโยบายขยะเป็นศูนย์อีกครั้ง ผ่านเป้าหมายหลัก “การคิดถึงอนาคตของสิ่งแวดล้อมเพื่อลูกหลาน ภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล และส่งเสริมผู้อื่นให้ร่วมลงมือ” โดยตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายภายในปี 2030

เมืองคามิคัตสึดำเนินโครงการริเริ่มการรีไซเคิลอย่างทั่วถึงเพื่อบรรลุสังคมขยะเป็นศูนย์ โดยสื่อสารปรัชญาและความคิดริเริ่มขยะเป็นศูนย์ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มเปอร์เซ็นต์คนที่มีความคิดไปในแนวเดียวกันในสังคม

]]>
1454593
ตามไปดูบรรยากาศเฟสทีฟที่ห้างหรู 5 แห่งในยุโรปของ “กลุ่มเซ็นทรัล” https://positioningmag.com/1410919 Fri, 02 Dec 2022 04:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1410919 ใกล้เข้าสู่เทศกาลคริสต์มาส และปีใหม่ เป็นเทศกาลใหญ่ที่ทุกคนรอคอย เรียกว่าเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของปีเลยทีเดียว และขึ้นชื่อว่าเป็นช่วงเฟสทีฟแบบนี้ สถานที่ที่ขึ้นชื่อคงหนีไม่พ้นโซนยุโรปเป็นแน่ เลยขอพาไปส่องบรรยากาศช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่ากันที่ห้างหรูทั้ง 4 แห่งของกลุ่มเซ็นทรัลที่ยุโรป ปีนี้มีการตกแต่งกันอย่างจัดเต็ม

มนต์เสน่ห์และกลิ่นอายแห่งการเฉลิมฉลองของคริสต์มาส และปีใหม่ในยุโรปถูกแต่งแต้มด้วยสีสันของความสนุกสนานรอคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลก นอกจากจะได้สัมผัสความงดงามผ่านแสงไฟระยิบระยับที่ประดับทั่วเมืองแล้ว “ห้างสรรพสินค้าหรู” ใจกลางเมืองสำคัญของแต่ละประเทศ เป็นแลนด์มาร์กยอดนิยมในการฉลองความสุขไปด้วยกัน

เริ่มด้วย ห้างเซลฟริดเจส (Selfridges) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ, ห้างรีนาเชนเต (Rinascente) กรุงมิลาน และกรุงโรม ประเทศอิตาลี, ห้างคาเดเว (KaDeWe) กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และ ห้างอิลลุม (ILLUM) กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งทั้ง 5 ห้างหรูระดับโลกดังกล่าวล้วนมีอายุเกินกว่าหนึ่งศตวรรษ และอยู่ภายใต้การบริหารของ “กลุ่มเซ็นทรัล” ที่เป็นเจ้าของห้างแฟลกชิปหรู

ห้างหรูแต่ละแห่งได้ เนรมิตบรรยากาศแห่งความรื่นเริงนับถอยหลังสู่เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เพื่อสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวทั่วโลก จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

ห้างอิลลุม (Illum) กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

ห้างหรูอันดับ 1 ใจกลางเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น สวรรค์แห่งการช้อปปิ้งที่ดีที่สุดในภูมิภาคสแกนดิเนเวีย ชวนดื่มด่ำโมเมนต์คริสต์มาสในธีม ONE of a KIND ด้วยการจับมือกับแบรนด์ดัง Prada เนรมิตบรรยากาศห้างสรรพสินค้าให้เป็น Silver Sparkling Glitter Color เปล่งประกายระยิบระยับวับวาวหลากเฉดสีเสมือนอยู่ในดินแดนดิสโก้ปาร์ตี้อันสนุกสนาน

นอกจากนี้ยังเตรียมความอิ่มอร่อยกับอรรถรสของอาหารทะเลสุดพิเศษจากร้าน Skagen สไตล์โมเดิร์นเดนิชพร้อมดื่มด่ำกับวิวเมืองอันงดงามบน Rooftop Terrace ชั้น 4 ของห้าง หรือเลือกซื้อของขวัญสุดพิเศษให้คนที่คุณรักใน Illum Christmas Catalogue 2022 อาทิ กระเป๋าดีไซน์เก๋ จาก PRADA, LOEWE,CELINE, เครื่องประดับและนาฬิกาสวยหรูจาก BVLGARI และอื่นๆ อีกมากมาย

ห้างเซลฟริดเจส (Selfridges) กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ห้างเซลฟริดเจส (Selfridges) จุดหมายปลายทางแห่งการช้อปปิ้งอันดับ 1 ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกต้องมาเยือน ตั้งอยู่บนถนนออกซ์ฟอร์ด ใจกลางกรุงลอนดอน ซึ่งได้รับการโหวตให้เป็นห้างสรรพสินค้าที่ดีที่สุดในโลก (Best Department Store in the World) จากงาน Global Department Store Summits 4 ปีซ้อน

เฉลิมฉลองคริสต์มาสด้วยการเนรมิตวินโดว์ ดิสเพลย์ (Window Display) ภายใต้ธีม ‘Season’s Feastings’ นำเสนอช่วงเวลาสุดพิเศษของการรับประทานอาหารอย่างอบอุ่นระหว่างครอบครัวในช่วงคริสต์มาส โดยหนึ่งในไฮไลต์ คือ ดิสโก้บอลในรูปแบบขนมพุดดิ้ง (disco ball pudding) นอกจากนี้ยังมีการเปิดตัว คริสต์มาสช้อป (Christmas Shop) อันยิ่งใหญ่ บริเวณชั้น 4 จำหน่ายสินค้าของประดับตกแต่งคริสต์มาสกว่า 1,200 รายการ ซึ่งเป็นสินค้าสุดเอ็กซ์คลูซีฟรวมทั้งของขวัญชิ้นพิเศษที่ไม่ซ้ำใคร เฉพาะที่ห้างเซลฟริดเจส เท่านั้น หรือลองแวะเข้าไปช้อปกันได้ที่ selfridges.com

ห้างสรรพสินค้าคาเดเว (KaDeWe) กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี

ห้างคาเดเว (KaDeWe) กรุงเบอร์ลิน เป็นห้างที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศเยอรมนี เตรียมสร้างความตื่นตาตื่นใจฉลองเทศกาลแห่งความสุขโดยความร่วมมือกับ Dior แบรนด์ลักชัวรี่ระดับโลกออกแบบตกแต่ง Window Display สุดตระการตาให้เปรียบดั่งโลกแห่งเวทมนต์ที่ส่องประกายเรืองรอง ถ่ายทอดคอลเลกชันอันน่าหลงใหลเพื่อสุภาพสตรีพร้อมนำเสนอคอลเลกชัน Cruise 2023 ที่มีเครื่องประดับและสินค้าแฟชั่นหลากหลายในรูปแบบ Pop Up Store บนพื้นที่กว่า 270 ตร.ม. รวมทั้งยังได้คัดสรรแฟชั่นแบรนด์สำหรับฉลองปาร์ตี้ไว้อย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็น Dior, Louis Vuitton, Givenchy, Versace และแบรนด์ชั้นนำอื่นๆ อีกมาก

Dior Christmas Pop up Store and windows at KaDeWe in Berlin, German – Photo ©Kristen Pelou

เชิญแวะชมบรรยากาศห้างสรรพสินค้าคาเดเว (KaDeWe) ภายใต้ธีม Merry Moments ให้ทุกคนสามารถเก็บภาพในมุมต่างๆ ดุจย่างกรายไปใน ลูกแก้วที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ (Snow Globe) รวมทั้งคริสต์มาสมาร์เก็ต รวบรวมสินค้ากลิ่นอายแห่งการเฉลิมฉลอง ทั้งของประดับ ขนม และอาหารนานาชนิด ให้เลือกช้อปอย่างเต็มอิ่ม

ห้างรีนาเชนเต (Rinascente) กรุงมิลาน และ กรุงโรม ประเทศอิตาลี

ห้างรีนาเชนเต (Rinascente) กรุงมิลาน และ กรุงโรม เป็นห้างสรรพสินค้าอันดับ 1 ในประเทศอิตาลี ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเป็นที่นิยมของเหล่านักท่องเที่ยว โดยเมื่อถึงเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง ทุกคนต่างไม่พลาดมาเช็กอินและถ่ายรูปลงในโซเชียลมีเดียเพื่ออวดความงดงามของแสงไฟระยิบระยับนับพันดวงที่ถูกรังสรรค์อย่างตื่นตาตื่นใจ

โดยปีนี้จะถูกจัดขึ้นในธีม Believe in Wonder มหัศจรรย์แห่งความรื่นเริงและสนุกสนานทั่วทั้งห้างสรรพสินค้า ที่ทุกย่างก้าวจะเสมือนอยู่ในดินแดนที่เต็มไปด้วยความสุข โดยหนึ่งในไฮไลต์ของ รีนาเชนเต กรุงมิลาน คือ ชั้นรูฟท็อปของห้างซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านอาหารอิตาเลียนสไตล์โมเดิร์น Obicà Mozzarella Bar และ Maio Restaurant ทุกคนสามารถดื่มด่ำทัศนียภาพแบบ 360 องศาของมหาวิหารดูโอโม่ (Duomo di Milano) แลนด์มาร์กอันโดดเด่นแห่งเมืองมิลาน เช่นเดียวกันกับรูฟท็อปของ รีนาเชนเต กรุงโรม ที่สามารถชื่นชมพระอาทิตย์ตกดินแบบพาโนรามา ที่ร้านอาหาร Madeiterraneo และบาร์ Up Sunset Bar ของเชฟระดับมิชลินสตาร์

สำหรับใครกำลังมองหาของขวัญสักชิ้นที่รีนาเชนเตก็มีให้เลือกครบครันทั้งสินค้าแฟชั่นจากแบรนด์ Louis Vuitton, Gucci, Fendi, Bottega Veneta, Dolce Gabbana, Tod’s, Valentino, Versace, Salvatore Ferragamo หรือเครื่องประดับ สินค้าตกแต่ง และอาหาร อาทิ กล่องดนตรีสุดคลาสิกจากแบรนด์ LEMAX, ตุ๊กตานัทแครกเกอร์แกะสลักจากไม้ขาวที่มีความเชื่อว่าจะนำความโชคดีมาสู่ผู้รับ, ชูการ์ แอนด์ สไปซ์ (บ้านและตุ๊กตาขนมปังขิง) และสินค้าที่ได้รับการคัดสรรมาเป็นพิเศษสำหรับเทศกาลนี้ โดยสามารถเลือกซื้อได้ทั้งหน้าร้านหรือออนไลน์เพียงแอดไลน์ @RinascenteOnDemand แล้วทักแชทชอปกันได้เลยง่ายๆ

นอกจากทุกคนจะได้ดื่มด่ำความงดงามจากการรังสรรค์ห้างสรรพสินค้าทั้ง 5 ห้างหรูข้างต้นแล้ว ทุกครั้งที่ลูกค้าคนไทยที่เป็นสมาชิกเดอะวัน ช้อปปิ้งที่ ห้างรีนาเชนเต (Rinascente) ทุกสาขา, ห้างคาเดเว (KaDeWe) จะได้รับ คะแนนสะสมเดอะวัน ทุก 1 ยูโร เท่ากับ 1 คะแนน และห้างอิลลุม (Illum) ทุก 7.5 โครนเดนมาร์ก เท่ากับ 1 คะแนน, ส่วนลด 10% สำหรับสินค้าร่วมรายการ เพียงแสดง The 1 APP รวมถึงเครดิตเงินคืนสูงสุด 15% เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน ที่ร่วมรายการ (ระยะเวลาถึง 31 ธ.ค. 66) และให้บริการ fast track สำหรับการคืนภาษี (Tax Refund), บริการห่อของขวัญ และบริการส่งของถึงโรงแรมที่พัก (เฉพาะสมาชิกเดอะวัน เอ็กซ์คลูซีฟ) อีกด้วย

]]>
1410919
“บุษบา จิราธิวัฒน์” แม่ทัพหญิงผู้ผลักดันภารกิจเพื่อสังคม “สตรี เด็ก ชุมชน” แห่งกลุ่มเซ็นทรัล https://positioningmag.com/1401023 Wed, 21 Sep 2022 09:34:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401023 “บุษบา จิราธิวัฒน์” หนึ่งในผู้บริหารผู้ผลักดันโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ของกลุ่มเซ็นทรัล ภายใต้ “เซ็นทรัล ทำ” โดยเน้นที่ 3 มิติใหญ่ ด้านสตรี เด็ก และชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

บุษบาเคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหาระดับสูงฝ่ายจัดซื้อของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และเซน โดยที่ในปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายสื่อสารองค์กร กลุ่มเซ็นทรัล มีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการเพื่อสังคมต่างๆ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจควบคู่กับความยั่งยืน

แพชชั่นของบุษบาเน้นที่ 3 มิติใหญ่ๆ เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสตรี เด็ก และชุมชน ภายใต้โครงการเพื่อสังคมหลักของกลุ่มเซ็นทรัล

เซ็นทรัล ทำ (CENTRAL THAM) เป็นโครงการเพื่อสังคมหลักของกลุ่มเซ็นทรัลที่ชวนทุกคนร่วมมือกัน ทำ ภายใต้แนวคิด Creating Shared Values (การสร้างคุณค่าร่วม) เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงานและสังคมอย่างยั่งยืน

5 โครงการเด่นในมิติ 3 ด้าน ได้แก่ สตรี เด็ก ชุมชน ภายใต้ “เซ็นทรัล ทำ”

1. ดันสินค้าชุมชน

SME ไทยในปัจจุบัน มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี มีสินค้าส่งออกเดือน มิ.ย. 65 เพิ่มขึ้น 37.7% โดยอันดับ 1 คือ ผลไม้ รองลงมา คือ อัญมณีและเครื่องประดับ SME มีจำนวนมากขึ้นและยังต้องการช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ต้องการเวทีสำหรับการจัดแสดงและเผยแพร่สินค้าของไทยให้เป็นที่รู้จัก ซึ่งปัจจุบันยังมีไม่มากนัก

กลุ่มเซ็นทรัล สนับสนุนพื้นที่ในการจำหน่าย และจัดแสดงสินค้าไทย สนับสนุนผลิตภัณฑ์ ยกระดับแบรนด์ไทยออกสู่ตลาดโลก ตั้งแต่ ปี 2557 กลุ่มเซ็นทรัล ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ค้าปลีกสู่ชุมชน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ จนเป็นสินค้าคุณภาพ และนำมาจำหน่ายในร้านค้าในเครือกลุ่มเซ็นทรัล ภายใต้โครงการสินค้าชุมชน

ได้ต่อยอดความช่วยเหลือด้วยการเปิด ท็อปส์ ท้องถิ่น ดำเนินงานโดยเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม และวิสาหกิจขนาดเล็ก สมัครเพื่อนำเสนอสินค้าในหมวดอาหาร และเครื่องดื่มที่มีความโดดเด่น ผ่าน www.topstongtin.com โดยสินค้าที่ได้รับคัดเลือกจะได้วางจำหน่ายในร้านค้าเครือเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ในรูปแบบออมนิแชแนล โดยท็อปส์จะทำหน้าที่เสมือนพาร์ตเนอร์ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ เพื่อยกระดับสินค้าให้ไปไกลระดับประเทศ

รวมไปถึงเปิดตัวจริงใจ ฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต แหล่งรวมผัก ผลไม้ปลอดภัย ปลอดสารพิษ และของดีประจำจังหวัด จากเกษตรกรท้องถิ่น ปัจจุบันมี 32 สาขา ทั่วประเทศ ตั้งเป้าสร้างรายได้ให้เกษตรกรชุมชนไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท

2. โครงการ Women Cancer 

ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าในปี 2563 ผู้หญิงไทยป่วยด้วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ 18,000 คนต่อปี มีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมราว 4,800 คน ตก 13 คนต่อวัน สถิติจากองค์กรอนามัยโลก พบว่าปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั่วโลกประมาณ 2.3 ล้านคน เสียชีวิตราว 685,000 คนต่อปี พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค ทั้งการกิน ความเครียด การพักผ่อน การออกกำลังกาย

โครงการนี้ได้ช่วยเหลือผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการรักษาหรือตรวจวินิจฉัย ตั้งแต่ปี 2548 โดยเฉพาะกลุ่มมะเร็งในสตรี ระดมทุนจัดซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ให้กับหน่วยงานที่ต้องการ, ปรับปรุง-ก่อสร้างอาคาร และร่วมคืนความมั่นใจให้ผู้ป่วยที่รักษาด้วยเคมีบำบัด ด้วยการเชิญชวนบริจาคเส้นผมเพื่อผลิตวิกผม

ที่ผ่านมาได้ส่งมอบเครื่องมือ-อุปกรณ์ทางการแพทย์และปรับปรุงอาคาร มอบให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ สถาบันมะเร็งเต้านมแห่งชาติ 5 ปี, มูลนิธิศูนย์มะเร็งเต้านม เฉลิมพระเกียรติฯ โครงการบ้านพิงพัก 4 ปี, มูลนิธิถันยรักษ์ฯ 2 ปี ระดมเงินช่วยเหลือไปแล้ว 36 ล้านบาท ตั้งเป้าปี 2565 ระดมทุนเพิ่มอีก 2 ล้าน รวมเป็นเงิน 38 ล้านบาท ต่อยอดแนวคิดสู่การเปิด Healthiful, Tops Green จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ทั้งของกิน ของใช้

3. โครงการ CENTRAL GROUP Mini Marathon

งานวิ่งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง กลุ่มเซ็นทรัล กรุงเทพมหานคร, สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และกองทัพบก เป็นธุรกิจค้าปลีกคนแรกที่ริเริ่มกิจกรรมวิ่งมินิมาราธอนการกุศล ตั้งแต่ปี 2550 อีกทั้งยังเป็นงานวิ่งใจกลางเมืองที่ใหญ่ที่สุด และเป็นรายการวิ่งที่นักวิ่งให้ความสนใจใช้เป็นสนามซ้อมเพื่อพัฒนาไปสู่ฮาล์ฟมาราธอน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่หน้าลานเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

ที่ผ่านมาได้โปรแกรมวิ่งการกุศลที่จัดมาอย่างยาวนานถึง 14 ปี มียอดจำหน่ายบัตรวิ่งสะสมมากกว่า 1 แสนใบ รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย สมทบทุนเพื่อการกุศลมากกว่า 10 ล้านบาท เตรียมขยายการจัดงานในจังหวัดต่างๆ ให้เป็นโปรแกรมวิ่งซิกเนเจอร์ที่นักวิ่งรอคอย

4. โครงการศูนย์พึ่งได้ รพ.ตำรวจ 

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เผยว่าปี 64 มี ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว 1,492 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 81% ซึ่งมักไม่ดำเนินคดี สูงถึง 78% เป็นการทำร้ายร่างกาย มากที่สุดถึง 64.5% รองลงมาคือ จิตใจ 31.4% และเรื่องเพศ 3.6%

กลุ่มเซ็นทรัลได้ส่งมอบ “ศูนย์พึ่งได้ โรงพยาบาลตำรวจ” ศูนย์บริการแบบครบวงจรที่ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทั้งจากครอบครัวและสังคม โดยมอบเงินสนับสนุน จำนวน 5.8 ล้านบาท

ที่ศูนย์นี้ให้บริการตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจชันสูตร, งานชันสูตรผู้ป่วยคดี, การตรวจร่างกาย การเก็บหลักฐานและวัตถุพยาน, การบำบัดฟื้นฟูทางจิตใจ และสังคมจากพยาบาล, นักสังคมสงเคราะห์, นักจิตวิทยา, แพทย์นิติเวช และคุ้มครองสวัสดิภาพ เพื่อให้ผู้เสียหายได้รับความปลอดภัย เพื่อให้สามารถกลับมามีกำลังใจที่เข้มแข็ง และใช้ชีวิตได้

ในแต่ละปีมีผู้ร้องเรียนผ่านศูนย์พึ่งได้ฯ ในแต่ละปีกว่า 800 คน ผ่านช่องทางโทรศัพท์ 02-252-1175 และ Facebook : Because We Care

5. โครงการ Million Gifts Million Smiles 

จากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการสูญเสียสมาชิกในครอบครัว กระทบต่อ เศรษฐกิจ การศึกษา สังคม รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจ ในปี 2564 เยาวชนถูกหลุดออกจากระบบการศึกษาหลังเปิดเทอมใหม่แล้วกว่า 10%

กลุ่มเซ็นทรัล และกองทัพบก สานต่อโครงการ Million Gifts Million Smiles ปีที่ 13 โดยการส่งมอบความรักความห่วงใย ผ่านของขวัญจากคนไทยทั้งประเทศ เพื่อมอบให้เด็ก และเยาวชนเพื่อสร้างรอยยิ้มกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนใต้ เป็นการส่งมอบกำลังใจและปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการให้สู่เยาวชน

ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา มีของขวัญส่งถึงน้องๆ ในจังหวัดชายแดนใต้รวมกว่า 2.2 ล้านชิ้น มีเป้าหมายจำนวนทุนการศึกษาระดับมัธยมต้น ต่อเนื่อง 6 ปี ปีละ 240 ทุน (ตั้งแต่ปี 2564 – 2569)

]]>
1401023
กลุ่มเซ็นทรัล ปิดดีลเข้าซื้อกิจการกลุ่มเซลฟริดเจส ฮุบห้างหรู 18 แห่ง 3 ประเทศในยุโรป https://positioningmag.com/1396819 Thu, 18 Aug 2022 13:49:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396819 กลุ่มเซ็นทรัล และซิกน่า ปิดดีลเข้าซื้อกิจการของกลุ่มเซลฟริดเจส (Selfridges Group) จากตระกูลเวสตัน อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว หลังประกาศลงนามในสัญญาเพื่อเข้าซื้อกิจการเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2564

โดยการลงทุนในครั้งนี้จะทำให้กลุ่มเซ็นทรัลก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรี่ระดับโลก ครอบคลุม 8 ประเทศในทวีปยุโรป และแฟลกชิปสโตร์บนทำเลที่ดีที่สุดของเมืองต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้างสรรพสินค้าเซลฟริดเจส (Selfridges) บนถนนออกซ์ฟอร์ดใจกลางกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางแห่งการช้อปปิ้งอันดับ 1 ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกจะต้องมาเยือน

กลุ่มเซลฟริดเจส ประกอบไปด้วยห้างสรรพสินค้ารวมทั้งหมด 18 แห่ง ภายใต้ 4 แบรนด์ ใน 3 ประเทศ ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า เซลฟริดเจส ในประเทศอังกฤษ, ห้างสรรพสินค้า บราวน์ โธมัส (Brown Thomas) และ อาร์นอตส์ (Arnotts) ในประเทศไอร์แลนด์ และห้างสรรพสินค้า ดี แบนคอร์ฟ (de Bijenkorf) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และยังเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ มีลูกค้ากว่า 30 ล้านคนต่อเดือน และมีการจัดส่งสินค้าไปยังกว่า 130 ประเทศทั่วโลก

กิจการของกลุ่มเซลฟริดเจสจะถูกนำเข้ามารวมและเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลและซิกน่าในยุโรป ที่ปัจจุบันมีห้างสรรพสินค้าลักชัวรี่ทั้งหมดถึง 22 แห่ง ซึ่งประกอบไปด้วย ห้างสรรพสินค้าที่ดำเนินธุรกิจภายใต้กลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ รีนาเชนเต ในประเทศอิตาลี และ อิลลุม ในประเทศเดนมาร์ก

Arnotts

และห้างสรรพสินค้าที่ดำเนินธุรกิจภายใต้ความร่วมมือระหว่างกลุ่มเซ็นทรัล และ ซิกน่า ได้แก่ คาเดเว, โอเบอร์โพลลิงเกอร์ และ อัลสแตร์เฮาส์ ในประเทศเยอรมนี, โกลบุส ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และยังมีโปรเจกต์ใหม่ที่จะสร้างแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้อีก 2 แห่ง ในเมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี และในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

สเตฟาโน่ เดลลา วาลเล่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้าลักชัวรี่ของเซ็นทรัลและซิกน่าในยุโรป จะขยายบทบาทและรับช่วงต่อการนำทัพกลุ่มเซลฟริดเจสจาก แอนน์ พิชเชอร์ กรรมการผู้จัดการของกลุ่มเซลฟริดเจส ซึ่งจะยังคงดำรงตำแหน่งในทีมบริหารของบริษัทจนถึงปลายปีนี้ เพื่อดูแลการถ่ายทอดและส่งต่อธุรกิจอย่างราบรื่นไปยังทีมบริหารใหม่

ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล และ ดีเทอร์ เบอร์นิงเฮาส์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มซิกน่า จะดำรงตำแหน่งเป็นประธานร่วมของกลุ่มเซลฟริดเจส

เส้นทางกลุ่มเซ็นทรัล ซื้อกิจการห้างฯ ยุโรป

  • ปี 2554 เริ่มขยายธุรกิจไปยุโรปจากการเข้าซื้อกิจการห้างรีนาเชนเต ประเทศอิตาลี
  • ปี 2556 เข้าซื้อกิจการห้างอิลลุม ประเทศเดนมาร์ก
  • ปี 2558 เข้าซื้อกิจการห้างกลุ่มคาเดเว ประเทศเยอรมนี ด้วยการร่วมทุนกับซิกน่า
  • ปี 2563 เข้าซื้อกิจการห้างโกลบุส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยการร่วมทุนกับซิกน่า

ยังมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ในยุโรป การลงทุนทั้งหมดนี้ทำให้ยุโรปเป็นตลาดหลัก และตลาดสำคัญของกลุ่มเซ็นทรัล โดยมีผู้บริหารระดับสูงประจำอยู่หลายแห่งในทวีปยุโรป รวมทั้งที่กรุงลอนดอน

สำหรับซิกน่าเป็นบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และรีเทลชั้นนำของยุโรป โดยบริษัทดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มานานกว่า 20 ปี และยังเป็นผู้นำด้านรีเทลออมนิชาแนลในหลายประเทศของยุโรป

de Bijenkorf

ธุรกิจรีเทลของซิกน่าประกอบกิจการค้าปลีกหลายประเภทผ่าน Signa Retail Selection ในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีพนักงานในสังกัดรวมกว่า 36,000 คน ธุรกิจรีเทลมียอดขายรวม 8 พันล้านยูโร (ในปี 2564/65) โดยหนึ่งในสี่ของรายได้มาจากการขายผ่านช่องทางออนไลน์ บริษัทมีฐานลูกค้าสมาชิก (Loyalty Program) กว่า 15 ล้านคน แบรนด์ชั้นนำภายใต้การบริหารของซิกน่า ประกอบด้วย กลุ่มคาเดเว โกลบุส และซิกน่าสปอร์ตยูไนเต็ด

ซิกน่าเป็นผู้ลงทุนพัฒนาและบริหารสินทรัพย์อันดับต้น ๆ ในยุโรปภายใต้ Signa Real Estate โดยบริษัทมุ่งเน้นการลงทุนในประเทศออสเตรีย เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี กรุงลอนดอน และนครนิวยอร์ก บริษัทลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน รีเทล และโรงแรม โดยบริษัทมีมูลค่าสินทรัพย์รวมทั้งสิ้นกว่า 3 หมื่นล้านยูโร

เกี่ยวกับกลุ่มเซลฟริดเจส

กลุ่มเซลฟริดเจส เป็นกลุ่มธุรกิจห้างสรรพสินค้าที่ประกอบไปด้วย 4 แบรนด์ดัง ได้แก่ อาร์นอตส์ (Arnotts) และ บราวน์ โธมัส (Brown Thomas) ประเทศไอร์แลนด์ , ดี แบนคอร์ฟ (de Bijenkorf) ประเทศเนเธอร์แลนด์, เซลฟริดเจส (Selfridges) ประเทศอังกฤษ

แต่ละแบรนด์ของกลุ่มเซลฟริดเจสมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และได้มีการผสานความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ของกลุ่มเซลฟริดเจส ทำให้ทุกห้างสรรพสินค้าได้มอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจและแปลกใหม่ต่อลูกค้า รวมถึงต่อยอดผ่านช่องทางดิจิทัล ซึ่งส่งผลให้ทั้งกลุ่มได้มียอดขายสินค้าออนไลน์จากลูกค้าทั่วโลก กลุ่มเซลฟริดเจสเป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืน โดยมีการเปิดตัวแคมเปญ Pacific Ocean, Project Earth (2554, 2563), Resellfridges และ Circular Room ซึ่งถือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ในเรื่องของความยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจรีเทล

Brown Thomas

เซลฟริดเจส

ห้างเซลฟริดเจสได้ถูกก่อตั้งขึ้นโดย แฮร์รี่ กอร์ดอน เซลฟริดจ์ส (Harry Gordon Selfridge) ผู้ซึ่งเปลี่ยนแปลงวงการรีเทลเมื่อเขาเปิดร้านครั้งแรกบนถนนออกซ์ฟอร์ด ในปี 2452 ปัจจุบันเซลฟริดเจสได้ขยายสาขาไปที่เมืองแมนเชสเตอร์ และเมืองเบอร์มิ่งแฮม

เซลฟริดเจสเป็นแบรนด์ที่เปลี่ยนแปลงวงการรีเทลด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในร้านค้าและกับคู่ค้าที่เป็นแบรนด์ลักชัวรี่ อาทิ การร่วมมือกับดิออร์ (Dior) ในการจัดงานที่ร้านดาดฟ้า Alto, โรงภาพยนตร์เซลฟริดเจส และการช่วยเปิดตัวแบรนด์ใหม่ต่างๆ อาทิ Charlotte Tilbury และ Pangaia

บราวน์ โธมัส และ อาร์นอตส์

ในปี 2392 บราวน์ โธมัส ห้างสรรพสินค้าสัญชาติไอริช ได้ถูกก่อตั้งขึ้นบนถนนกราฟตัน (Grafton) ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของถนนช้อปปิ้งในเมืองหลวงของประเทศไอร์แลนด์ บราวน์ โธมัส และ อาร์นอตส์เป็นธุรกิจค้าปลีกลักชัวรี่ชั้นนำของประเทศ ซึ่งมีสินค้าหลากหลายทั้ง ดีไซเนอร์แบรนด์ เครื่องแต่งกายสำหรับสุภาพบุรุษ สุภาพสตรี เครื่องสำอาง และสินค้าตกแต่งบ้าน นอกจากนี้ในปี 2565 ห้างจะมีการเปิดตัวสาขาใหม่ บราวน์ โธมัส ดันดรัม ในเมืองดับลิน (Brown Thomas Dundrum) ซึ่งสร้างความรอคอยให้กับลูกค้าเป็นอย่างมาก

ดี แบนคอร์ฟ

ดี แบนคอร์ฟ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2413 ดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้าชั้นนำในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยเป็นห้างที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างกว้างขวาง และมีการพัฒนาต่อยอดกิจการหลายส่วน จนได้รับการยอมรับในระดับประเทศว่าเป็นผู้นำในด้านธุรกิจลักชัวรี่รีเทลออมนิชาแนลที่นำเสนอสินค้าแบรนด์หรูผ่านห้างสรรพสินค้าทั้งหมด 7 สาขาทั่วประเทศ

]]>
1396819
กลุ่มเซ็นทรัล เปิด “โก! ว้าว” บุกตลาดสินค้าเบ็ดเตล็ด ราคาเริ่มต้น 5 บาท https://positioningmag.com/1353821 Tue, 28 Sep 2021 14:01:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353821 กลุ่มเซ็นทรัลบุกตลาดสินค้าเบ็ดเตล็ด เปิดร้าน “โก! ว้าว” จำหน่ายสินค้าของใช้กว่า 14,000 ชิ้น ในราคาเริ่มต้น 5 บาท สู้ศึกค้าปลีกข้ามชาติ และร้านทุกอย่าง 20 บาท ประเดิมเซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ

บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด ธุรกิจค้าปลีกวัสดุก่อสร้างในกลุ่มเซ็นทรัล ได้เปิดร้านจำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ชื่อว่า “โก! ว้าว” (Go! Wow) จำหน่ายสินค้าของใช้ ทั้งเครื่องครัว เครื่องเขียน ของเล่น ทำความสะอาด ทำสวน ประดับยนต์ ไฟฟ้า ไอที กว่า 14,000 ชิ้น ในราคาเริ่มต้น 5 บาท

โดยได้เปิดสาขาแรกที่ชั้น 3 เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา และจะขยายเป็น 6 สาขา เช่น โรบินสันไลฟ์สไตล์ สุพรรณบุรี, โรบินสันไลฟ์สไตล์ บ่อวิน จ.ชลบุรี, เซ็นทรัลพลาซา บางนา, บ้านแอนด์บียอนด์ ราชพฤกษ์ จ.นนทบุรี และ บ้านแอนด์บียอนด์ ขอนแก่น เป็นต้น

สำหรับผู้ใช้แอปพลิเคชัน The 1 ในเมนู “The 1 มิชชั่น” ซื้อสินค้า 1 ครั้ง รับคะแนนเดอะวัน 50 คะแนน ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 2564

การก้าวเข้าสู่ธุรกิจสินค้าเบ็ดเตล็ดของกลุ่มเซ็นทรัล สืบเนื่องมาจากร้านสินค้าเบ็ดเตล็ดข้ามชาติตีตลาดในไทย เช่น ร้านไดโซะ ของบริษัท ไดโซ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีจุดขายสินค้าราคาเริ่มต้นที่ 60 บาท และมิสเตอร์. ดี.ไอ.วาย. ของบริษัท มิสเตอร์. ดี.ไอ.วาย. เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด สัญชาติมาเลเซีย ที่มีสาขา 376 สาขา

โดยกลยุทธ์ในการบริหารจัดการธุรกิจร้านสินค้าเบ็ดเตล็ด คือ การสั่งผลิตสินค้าจากแหล่งผลิตทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น จีน ในปริมาณที่สูงมาก เพื่อให้ได้ต้นทุนการผลิตสินค้าในราคาต่อหน่วยที่ถูกลง พร้อมกับเร่งขยายสาขาเพื่อกระจายสินค้าให้ถึงมือลูกค้าโดยเร็วที่สุด และให้เป็นที่จดจำแก่ลูกค้าว่า เมื่อมาที่ร้านนี้จะต้องได้สินค้าในราคาที่ถูกที่สุด

Source

]]>
1353821
เปิดจดหมาย “กลุ่มเซ็นทรัล” ตอบนายกฯ อัดงบ 550 ล้าน กระตุ้นเศรษฐกิจศูนย์การค้าในเครือ https://positioningmag.com/1276801 Tue, 05 May 2020 04:41:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276801 กลุ่มเซ็นทรัลตอบรับนโยบายรัฐบาลภายหลังได้รับจดหมายจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยทุกธุรกิจในเครือยินดีให้การสนับสนุน ชูแนวทางฟื้นฟูสังคม และเศรษฐกิจทั้ง 3 มิติ ได้แก่ การสร้างอาชีพเสริมรายได้ การลดค่าครองชีพ และการส่งเสริมสุขภาพ

ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า

“สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและเป็นวิกฤตที่ทั่วโลกต้องเผชิญ ครอบครัวจิราธิวัฒน์ และกลุ่มเซ็นทรัลได้ตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญต่อความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการปรับแนวทางการแก้ปัญหา เข้ากับแผนของความรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมบูรณาการให้เกิดความยั่งยืน เริ่มตั้งแต่มาตรการช่วยเหลือพนักงานในเครือกว่า 74,000 ราย โดยคงสถานะการจ้าง และการมอบประกันภัยโควิด-19 ให้กับทุกคน รวมถึงได้มีการริเริ่มโครงการต่าง ๆ ภายในปี 2563 โดยมุ่งไปที่กระบวนการ ภายใต้ความต้องการพื้นฐานทั้ง 3 ส่วน อันได้แก่

1. มาตรการสร้างอาชีพ เสริมรายได้

  • กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นและสร้างรายได้ โดยการให้พื้นที่ขาย 90,000 ตร.ม. ใน 100 ศูนย์การค้าใน 44 จังหวัด และผ่านช่องทางออนไลน์ มูลค่ารวมกว่า 550 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจในเครือของเซ็นทรัล อาทิ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า โรบินสันพลาซ่า ท็อปส์พลาซ่า และ ไทวัสดุ ให้พื้นที่ฟรี เพื่อสนับสนุนให้ชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการขนาดเล็ก กว่า 16,000 รายใน 44 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ได้เข้ามาขายสินค้า เป็นเวลา 3-6 เดือน คาดว่าจะเกิดการหมุนเวียนในเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้เกษตรกร และผู้ค้ารายย่อย กว่า 3,500 ล้านบาท ในปี 2563 นอกจากนี้ยังจัดช่องทางการขายออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ ท็อปส์ออนไลน์ JD central เซ็นทรัลออนไลน์ และโรบินสันออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น อีกทั้งยังสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มยอดขาย
  • อนุมัติวงเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อรับซื้อสินค้าโดยตรงจากเกษตรกร และชุมชน เป็นการรับซื้อสินค้าโดยตรงจากเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน สินค้าเกษตร โอทอป เอสเอ็มอี นำมาจำหน่ายในศูนย์การค้า และซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วประเทศ สนับสนุนให้ชุมชนและเกษตรกรมีรายได้ 25,000 ครัวเรือน ใน 42 จังหวัด
  • สร้างอาชีพแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น รวมถึงการช่วยเหลือคนพิการให้มีอาชีพ ใช้ งบประมาณ 150 ล้านบาท

โครงการ เซ็นทรัล ทำ เป็นโครงการด้านความรับผิดชอบสังคม ของกลุ่มเซ็นทรัล ที่ได้ดำเนินการแล้วและยังคงทำต่อเนื่อง เร่งขยายวงกว้างเพื่อสร้างอาชีพ อาทิ การให้ความรู้ในด้านการเกษตร พัฒนาผลิตภัณฑ์ การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยการสนับสนุนการสร้างอาชีพให้คนพิการ พัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และอื่น ๆ ซึ่งสนับสนุนเกษตรกร ชุมชน คนพิการ นักเรียน รวมกว่า 30,000 ครัวเรือน ใน 50 จังหวัด

  • สร้างแพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์ (Crowdfunding Platform) ให้คนที่ต้องการเริ่มธุรกิจใหม่แต่ยังขาดเงินทุน รวมถึงสนับสนุนนักเรียน โรงเรียน โรงพยาบาล และงานวิจัย ตั้งเป้าการระดมทุนกว่า 100 ล้านบาท

2. มาตรการลดค่าครองชีพ

  • ลดและตรึงราคา สินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นกว่า 3,000 รายการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยซูเปอร์มาร์เก็ต ในกลุ่มเซ็นทรัล ร่วมโครงการกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และผู้ผลิตสินค้าในการลดราคา 5-68% ในท็อปส์ทุกสาขาทั่วประเทศ ตลอดปี 2563 และการตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคอีกกว่า 23,000 รายการ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม โดยจะไม่มีการขึ้นราคาในช่วง 90 วัน
  • ลดราคาอาหาร 20% ในศูนย์อาหาร 87 แห่ง ใน 43 จังหวัด โดยจัดให้มีอาหารราคาพิเศษ เริ่มต้นที่ 19 บาท ที่เซ็นทรัลฟู้ดคอร์ท 33 แห่ง โรบินสันฟู้ดคอร์ท 24 แห่ง และ ท็อปส์ฟู้ดคอร์ท 30 แห่ง
CentralPlaza RM2

3. มาตรการส่งเสริมสุขภาพ

  • สร้างมาตรฐานใหม่เพื่อเป็นแผนแม่บทในการทำธุรกิจให้ปลอดภัยเพื่อป้องกันการระบาดโดยใช้มาตรการ สะอาด ปลอดภัย ในศูนย์การค้าและผู้เช่าทุกราย ทุกตารางเมตร โดยกลุ่มเซ็นทรัลได้จัดทำมาตรการเชิงรุกในการสร้างมาตรฐานสุขอนามัยใน 5 ด้าน 75 มาตรการ เพื่อถือปฏิบัติสำหรับทุกธุรกิจในศูนย์การค้าเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัส
  • งบประมาณรวมกว่า 40 ล้านบาท ในการสนับสนุนเงินและอุปกรณ์ทางการแพทย์ มอบให้กับ 30 โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อบุคลากรทางการแพทย์รับมือกับโรคโควิด-19 ผ่านทางแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมอีก 15 ล้านบาท สำหรับการจัดทำห้องปลอดเชื้อ ให้โรงพยาบาล และมอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนที่เดือดร้อน
]]>
1276801
ช้อปต่อเนื่อง! กลุ่มเซ็นทรัล เข้าซื้อกิจการห้างหรู Globus ในสวิส มูลค่า 3.1 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1263137 Tue, 04 Feb 2020 06:03:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263137 กลุ่มเซ็นทรัลร่วมกับซิกน่า เข้าซื้อกิจการ “โกลบัส” (Globus) เชนห้างสรรพสินค้าสุดหรูในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จำนวนทั้งหมด 8 แห่งที่ตั้งอยู่ในสุดยอดโลเคชั่นตามเมืองต่างๆ จากบริษัท Migros-Genossenschafts-Bund (MGB) โดยมีสัดส่วนการร่วมทุน 50 : 50  

การเข้าซื้อกิจการ Globus ในครั้งนี้ ถือเป็นการร่วมทุนครั้งใหม่ของกลุ่มเซ็นทรัลและซิกน่า ที่เป็นเจ้าของร่วมในกิจการกลุ่มคาเดเว (KaDeWe Group) ธุรกิจห้างสรรพสินค้าในประเทศเยอรมนี และกำลังพัฒนาโครงการห้างสรรพสินค้าใหม่ร่วมกันในเมืองดึสเซิลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี และกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

นอกจากนี้กลุ่มเซ็นทรัลยังเป็นเจ้าของห้างสรรพสินค้ารีนาเชนเตอีก 9 แห่ง ในประเทศอิตาลี และห้างสรรพสินค้าอิลลุม ในประเทศเดนมาร์ก การร่วมทุนครั้งนี้จึงถือเป็นการขยายอาณาจักรค้าปลีกของกลุ่มเซ็นทรัล ให้ครอบคลุมทวีปยุโรป ถึง 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี, ออสเตรีย, อิตาลี, เดนมาร์ก และสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมทั้งทำให้กลุ่มเซ็นทรัลและซิกน่าขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่ครอบครอง และบริหารงานธุรกิจห้างสรรพสินค้าหรูในยุโรป

ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเซ็นทรัล เผยว่า

“เรามีความยินดีที่จะประกาศอย่างเป็นทางการเรื่องการเข้าซื้อกิจการ ห้างสรรพสินค้าโกลบัส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการร่วมทุนในสัดส่วน 50:50 ระหว่างกลุ่มเซ็นทรัลและกลุ่มซิกน่า พันธมิตรของเราในการบริหารงานห้างคาเดเว และเวียนนา ข้อตกลงทางธุรกิจในครั้งนี้มีมูลค่าสูงกว่า 1 พันล้านฟรังก์สวิส หรือราวๆ 31,900 ล้านบาท ซึ่งรวมไปถึงการเข้าซื้ออสังหาริมทรัพย์ชั้นนำต่างๆ ของสวิตเซอร์แลนด์ และโรงแรมอีกหนึ่งแห่ง”

ทศกล่าวเสริมว่า ตั้งแต่การซื้อกิจการรีนาเชนเต ประเทศอิตาลี เมื่อปี 2011 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลในยุโรป กระทั่งวันนี้ธุรกิจของเรามีรายได้เติบโตจาก 200 ล้านยูโร และคาดว่าจะก้าวกระโดดแตะ 2,000 ล้านยูโรในปีนี้

โดยปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลบริหารธุรกิจใน 5 ประเทศ 19 เมืองในยุโรป รวมถึงอีก 2 เมือง คือ ดึสเซิลดอร์ฟ และเวียนนา ที่โครงการอยู่ในระหว่างการพัฒนา เรามีห้างสรรพสินค้าที่เป็นแฟลกชิปสโตร์ทั้งหมด 8 แห่ง ทำให้      กลุ่มเซ็นทรัลเป็นหนึ่งในผู้นำค้าปลีกระดับลักชัวรี่ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป”

เป็นแบรนด์สวิสที่แข็งแกร่ง

กลุ่มเซ็นทรัลและซิกน่า ในฐานะเจ้าของใหม่ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโกลบัสให้เป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้าหรูชั้นนำในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยจะเร่งปรับภาพลักษณ์ และจุดขายของห้างให้มีความทันสมัย พร้อมต่อยอดการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ประจำชาติ อันเป็นจุดเด่นของห้างโกลบัส

วิททอริโอ ราดิเช กล่าวเพิ่มเติมว่า ความรู้ และประสบการณ์จากการบริหารงานห้างสรรพสินค้ากลุ่มคาเดเว, รีนาเชนเต และอิลลุม เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาห้างโกลบัส การร่วมทุนในครั้งนี้จะเป็นการนำโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของทั้งสองบริษัท มาต่อยอดให้โกลบัสขึ้นแท่นห้างสรรพสินค้าระดับแนวหน้าที่จะส่งมอบประสบการณ์ชั้นเลิศในแบบฉบับสวิส ให้กับคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเราพร้อมอย่างยิ่งที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่องในห้างสรรพสินค้าโกลบัส เพื่อที่จะสร้างอนาคตที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในระยะยาวให้กับโกลบัส

จุดแข็งของห้างนี้คือการเป็นแบรนด์สวิสดั้งเดิมที่มีชื่อเสียง และได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในกลุ่มลูกค้าชาวสวิส การมีพนักงานที่มากประสบการณ์และความมุ่งมั่นในการทำงาน การมีลอยัลตี้โปรแกรมในรูปแบบบัตรสมาชิก รวมถึงการจำหน่ายสินค้าที่ครบครัน และหลากหลายประเภท เช่น อาหารสำเร็จรูป, สินค้าเกี่ยวกับบ้าน และความสวยความงาม ตลอดถึงการตั้งอยู่ในโลเคชั่นที่โดดเด่นและเหนือกว่า

“แม้ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกจะเป็นตลาดที่ท้าทายและแข่งขันสูง แต่การผนึกกำลังศักยภาพทางการเงินที่แข็งแกร่งของกลุ่มเซ็นทรัลและซิกน่า จะเป็นสิ่งรับประกันความมั่นคง และความสามารถในการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องให้โกลบัส ก้าวสู่การเป็นห้างสรรพสินค้าที่ครองตำแหน่งผู้นำ และครองใจลูกค้าทุกคน”

แม้การเซ็นสัญญาร่วมทุนจะเสร็จสิ้นไปแล้วแต่การครอบครองกิจการอย่างเป็นทางการจะเกิดขึ้นหลังจากได้รับการอนุมัติจากองค์กรควบคุมการแข่งขันทางการค้าในยุโรป (European competition authorities) โดยมีกำหนดที่จะได้รับการอนุมัติในช่วงกลางปี 2020 นี้

]]>
1263137
ยลโฉมจริง “ปอร์โต เดอ ภูเก็ต” 1.5 พันล้านกับกลยุทธ์รีเทลโมเดลใหม่ของ “เซ็นทรัล” https://positioningmag.com/1257058 Mon, 16 Dec 2019 04:14:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257058 เมื่อพูดถึง “ภูเก็ต” ก็ขึ้นชื่อเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกมานาน สร้างเม็ดเงินมหาศาลให้ประเทศไทย ไม่เเปลกที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่จะบุกเข้าไปทำตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ “เซ็นทรัล” ที่เข้ามาลงทุนตั้งเเต่ปี 2547 นับถึงปัจจุบันปักหมุดไปเเล้วกว่า 3 ห้าง เเละคราวนี้ก็มาถึงคิวที่ 4 ของ “ปอร์โต เดอ ภูเก็ต” (Porto de Phuket) Open Mall แห่งแรก จับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีการใช้จ่ายสูง เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเเล้วเมื่อวันที่ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา 

Positioning จะพาไปยลโฉมจริง พร้อมทิศทางโอกาสธุรกิจว่าเป็นอย่างไร ตั้งเป้าไว้เเค่ไหน มีความพิเศษอย่างไร มาดูกลุยุทธ์กลุ่มเซ็นทรัลที่กำลังเจาะเมืองภูเก็ตกัน 

ยึดทุกมุมสำคัญ “เซ็นทรัล” กระจายลงทุนภูเก็ต

ก่อนหน้านี้ เรารู้จักกับ “เซ็นทรัล เฟสติวัล ภูเก็ต” ศูนย์การค้าติดเเอร์กลางใจเมืองที่เปิดให้บริการมาตั้งเเต่ปี 2547 ต่อมาขยายพื้นที่ฝั่งตรงข้ามมาเปิด “เซ็นทรัล ภูเก็ต ฟลอเรสต้า” เจาะไลฟ์สไตล์นักท่องเที่ยวลักชัวรี่เเละคนภูเก็ตในปี 2561 โดยดึงดูดผู้เข้าชมด้วย “พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เเละ ไตรภูมิ (Tribhum) ธีมปาร์คแนวผจญภัยแฟนตาซี 3D แห่งแรกของโลก

จากนั้นด้วยการอยากจะเข้าถึงจุดหมายนักท่องเที่ยวสุดฮิตอย่าง “หาดป่าตอง” เซ็นทรัลก็ได้มีการลงทุนถึง 2 พันล้านเพื่อสร้าง “เซ็นทรัล ป่าตอง” ที่เพิ่งเปิดเป็นทางการในช่วงต้นปี 2562 ที่ผ่านมา เเข่งกับเจ้าเก่าท้องถิ่นอย่างห้าง จังซีลอน ของ บริษัท ภูเก็ตสแควร์ จำกัด

ล่าสุดกับการลองของใหม่กับ “ปอร์โต เดอ ภูเก็ต” (Porto de Phuket) ซึ่งเป็น Open Lifestyle Mall โครงการแรกของกลุ่มเซ็นทรัล ที่เเบ่งการลงทุนเป็น 2 เฟสรวมเเล้วกว่า 1.5 พันล้าน บริเวณถนนบ้านดอนเชิงทะเล ที่ห่างจากสนามบินภูเก็ตเพียง 30 นาที

เกิดคำถามว่า ห้างทั้ง 4 เเห่งของเซ็นทรัลในจังหวัดภูเก็ตจะเเย่งกลุ่มตลาดเเละรายได้กันเองหรือไม่” 

พงศ์ ศกุนตนาค กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพัฒนาธุรกิจ กลุ่มเซ็นทรัล ตอบว่า การเปิดศูนย์การค้าทั้ง 4 เเห่งของกลุ่มเซ็นทรัลจะไม่มีผลกระทบต่อรายได้ของกันเเละกันเเน่นอน เพราะมีการวิเคราะห์มาอย่างดีว่ามีกลุ่มตลาดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น คนภูเก็ตตอนบนจะไม่ลงมาภูเก็ตตอนล่าง เพราะใช้เวลาเดินทางถึง 2 ชั่วโมง ไปกลับกว่า 4 ชั่วโมง ด้วยปัญหาจราจร จึงมั่นใจว่าการสร้าง ปอร์โต เดอ ภูเก็ต ตรงนี้จะไม่กระทบลูกค้าส่วนอื่น 

“เราต้องการให้บริการกับผู้คนที่อยู่อาศัยในละเเวกนี้จริงๆ ซึ่งพื้นที่ถนนบ้านดอนเชิงทะเลที่ผ่านมาก็ยังไม่มีการลงทุนใหญ่ๆ พื้นที่ของภูเก็ตตอนบนยังไม่มีห้างรีเทลแบบเต็มรูปแบบ มีเพียงวิลล่ามาร์เก็ตที่เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตเท่านั้นด้วยจึงถือว่าเป็นโอกาสสำคัญ” 

พงศ์ ศกุนตนาค กรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพัฒนาธุรกิจ กลุ่มเซ็นทรัล

จากฐานข้อมูลจากเดอะวันการ์ด พบว่ากลุ่มลูกค้าของเซ็นทรัลมาจากทางภูเก็ตตอนบนค่อนข้างเยอะและมีการใช้จ่ายสูง จึงเลือกบุกโลเคชั่นนี้ เเละพื้นที่ปักหมุดสร้าง ปอร์โต เดอ ภูเก็ต เป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัย มีคอนโดกว่า 13,000 ยูนิต โรงแรมกว่า 17,000 ห้องเป็นตลาดบนและกลาง

ทั้งนี้ จากเดิมศูนย์การค้าต่างๆ ในเครือเซ็นทรัล จะเน้นพัฒนาในรูปแบบ “ศูนย์การค้าแบบปิด” หรือ “Close Mall” มาโดยตลอด ซึ่งจะอยู่ในความรับผิดชอบของ เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เเละสรรพสินค้าเซ็นทรัล แต่ปอร์โต เดอ ภูเก็ต เป็นโครงการแรกที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท “กลุ่มเซ็นทรัล” (Central Group)

โดย “กลุ่มเซ็นทรัล” นอกจากเป็นบริษัทแม่แล้ว ยังมีหน้าที่เป็น Project Development พัฒนาโปรเจกต์ใหม่ ปั้นโครงการทดลองให้กับบริษัทในเครือเซ็นทรัล อย่างเช่น ศูนย์การค้าท็อปส์ พลาซ่า ที่ใช้ยุทธศาสตร์ขยายไปยังจังหวัดเล็ก เป็นต้น

คาดยอดผู้ใช้เกือบหมื่นต่อวัน ไม่หวั่นเศรษฐกิจชะลอตัว 

โดยตั้งเป้ามีเงินสะพัดในโครงการ 4,500 ล้านบาท คาดการณ์ยอดผู้ใช้บริการ ปอร์โต เดอ ภูเก็ต 8,000 – 10,000 คนต่อวัน และอย่างน้อย 3 ล้านคนต่อปี 

แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าคนในพื้นที่ที่มีกำลังซื้อสูง (Local) และชาวต่างชาติที่ได้รับอนุญาตทำงานในภูเก็ตที่พักอาศัยบริเวณนี้ (Expat) รวม 65% และกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ 35% แบ่งเป็น 2 เซกเมนต์ ได้แก่ 1) นักท่องเที่ยวสไตล์ FIT (Free and Independent Traveler) เช่น จีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น, และสิงค์โปร์  เเละ 2) นักท่องเที่ยวตะวันตกที่มีกำลังซื้อสูง (Western High Spenders) เช่น ชาวรัสเซีย เยอรมัน อังกฤษ และอเมริกาซึ่งเน้นการพักผ่อนในระยะยาว 

ทั้งนี้ จังหวัดภูเก็ตถือเป็นสุดยอดจุดหมายปลายทางของโลก โดยติดอันดับที่ 14 (จาก 200 เมืองยอดนิยมทั่วโลก อ้างอิงจากผลสำรวจ Mastercard Global Destination Cities Index 2019) และมีรายได้จากการท่องเที่ยวรายจังหวัดตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม ประจำปี 2562 มากที่สุดเป็นอันดับ 1 จำนวน 3.7 แสนล้านบาท (อ้างข้อมูลจากกองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา ไม่รวมกรุงเทพฯ) โดยนักท่องเที่ยวที่มาค้างแรมภูเก็ต 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน รัสเซีย และเยอรมัน ตามลำดับ

“เรามองว่าเเม้เศรษฐกิจจะชะลอตัวในปีหน้า ก็อาจจะไม่กระทบกับปอร์โต เดอ ภูเก็ต มากนักเพราะเราเน้นกลุ่มคนพื้นที่เเละชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ที่นี่ ขณะที่ในส่วนของนักท่องเที่ยวระยะสั้นมองว่าเมื่อถึงจุดที่มีการลดลงเเล้ว ต่อไปก็จะมีการเพิ่มขึ้นมาเช่นกัน” ผู้บริหารเซ็นทรัลกล่าว 

ไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งมอลล์…อยู่ในทุกชีวิตประจำวัน 

สำหรับ “ปอร์โต เดอ ภูเก็ต” ศูนย์การค้ารูปแบบไลฟ์สไตล์ช้อปปิ้งมอลล์ โมเดลใหม่ ที่มีทั้งสโตร์แบรนด์แฟชั่น ร้านอาหารชื่อดังระดับมิชลิน สตาร์ และร้านอาหารพื้นเมืองชื่อดังจากภูเก็ตรวมถึงสปาและบิวตี้ซาลอน เเถมพาสัตว์เลี้ยงมาเดินเล่นในสวนได้ แตกต่างจากศูนย์การค้าเดิมๆ ที่เป็นพื้นที่ปิด

ตกเเต่งด้วยสไตล์ Contemporary Warehouse บนพื้นที่โครงการกว่า 40,000 ตร.ม. ให้เดินเล่นชิลๆ ใกล้ชิดต้นไม้ มีพื้นที่สีเขียว ด้วยพื้นที่สีเขียวคิดเป็น 2 ใน 3 ส่วนของโครงการตอบไลฟ์สไตล์ของนักท่องเที่ยวและชาวภูเก็ตที่ชื่นชอบการกิน ดื่ม เที่ยว และพักผ่อนกับครอบครัวและสัตว์เลี้ยง ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ที่สุดแห่งประสบการณ์การใช้ชีวิต” (The Finest Living Experience)

“เราอยากให้ปอร์โต เดอ ภูเก็ต อยู่ในทุกช่วงชีวิตประจำวันของผู้คนก็เลยมีเวลาเปิดให้บริการตั้งเเต่เช้าจนถึงดึก 8.00 – 22.00 น. ซึ่งต่อไปจะมีการทำอีเวนต์อย่างเช่น จัดเล่นโยคะตอนเช้า เเล้วไปนวดหรือสปาตอนสาย กินข้าวเที่ยงในร้านอร่อยเเละช่วงบ่ายทำเล็บ ช้อปปิ้ง ตอนเย็นพาสัตว์เลี้ยงมาเดินเล่น เเละช่วงค่ำดินเนอร์กับครอบครัว” 

โดยเพื่อให้เข้าไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ จึงเน้นในส่วนของอาหารการกิน 70% และอีก 30% จะเป็นในส่วนของความสวยความงาม ไลฟ์สไตล์ ดีไซน์ โซนสำหรับเด็กและสัตว์เลี้ยง ซึ่งตอนนี้มีร้านค้าเเล้วกว่า 50 ร้าน 

“การดีไซน์เเบบ Contemporary Warehouse เป็นพื้นที่อาคารชั้นเดียวนั้นจะช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าชมได้ทุกร้าน มีเวลาเดินนั่งอย่างสบาย ไม่เร่งรีบ มีการหยุดพักเเละเข้าชมอีกร้านได้อย่างสะดวก” 

เปิด 7 โซนเด่นของ “ปอร์โต เดอ ภูเก็ต”

  • เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ (Central Food Hall) 

สุดยอดฟู้ดสโตร์ในรูปแบบ Stand Alone ด้านนอกศูนย์การค้าแห่งแรกของเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ พบกับสินค้าหลากหลาย 8 ประเภท เนื้อสัตว์และซีฟู้ดสดสะอาดได้มาตรฐาน เบเกอรี่สูตรเฉพาะอบใหม่ทุกวัน ไวน์คุณภาพเยี่ยมเเละ Cheese Room ที่แรกในจังหวัดภูเก็ต

  • เดอะ เฟม (The Fame – Restaurant and Café Zone)

รวบรวมร้านอาหารและคาเฟ่ชื่อดังเอาใจเหล่าฮิปสเตอร์และสายชิล ทั้งร้านสวย (SUAY) อาหารฟิวชั่น ไทย-ตะวันตก โดยเชฟกระทะเหล็ก การันดีด้วยรางวัลมิชลิน ไกด์ ร้านตู้กับข้าว อาหารใต้ชื่อดังของจังหวัดภูเก็ต

Spice House อาหารรัสเซีย จากเชฟชาวรัสเซีย ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี, จำปา ร้านอาหารออแกนิก คัดสรรเมนูการปรุงจากเชฟชื่อดังเครือเดียวกันกับ PRU ร้านอาหารระดับมิชลินสตาร์ 1 ดาวแห่งเดียวในจังหวัดภูเก็ต, Wine Connection ที่มาในรูปแบบ Flagship ที่สวยงามและทันสมัยที่สุด

พร้อมตบท้ายด้วย Lady Coco คาเฟ่สไตล์ฝรั่งเศส สำหรับคนรักช็อกโกแลต ต้องห้ามพลาด กับเมนู Intense Deep Black ช็อกโกแลตเย็นทำจากผงโกโก้ที่มีความเข้ม 72% จากประเทศเบลเยียม

  • มัลติดีไซน์ เฮ้าส์ (Multi Design House)

แหล่งรวบรวมสินค้าเพื่อตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ที่มีตั้งแต่ของแต่งบ้านจาก Indoor ถึง Outdoor ไม่ว่าจะสไตล์มินิมอลหรือสายจัดเต็ม ก็มาหาสไตล์ความเป็นคุณได้ที่นี่ พบกับเฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้านสุดวินเทจ จากแบรนด์ Soul of Asia ชมผลงานศิลปะเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จากศิลปินท้องถิ่นชื่อดังคุณสุนทร พาพาน แห่ง Napas Art Gallery

นอกจากนี้ยังมี Jim Thompson Pop Up Store แบรนด์ผ้าไหมชื่อดังกับสินค้า Men and Women Ready-To-Wear กระเป๋า และผ้าคลุมไหล่ที่นำมาใช้เป็นกระโปรงใส่เดินชายหาด แต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เเละ B2S ภายใต้คอนเซ็ปต์ Thinkspace และ Traveler’s Top Picks สินค้าแนะนำสำหรับนักท่องเที่ยว และ Supersports ที่เน้นสินค้าสไตล์ Sport Fashion มากขึ้น รวมถึงมีการทดลองวิ่งกับ Run Lab

  • เฮลตี้ เฮเว่น (Healthy Heaven)

โซนพักผ่อนกาย สบายใจกับการนวดและสปาจากธรรมชาติบำบัดเพื่อปลดปล่อยความเหนื่อยล้าที่สปาชั้นนำที่มีให้เลือกสรร เช่น Let’s Relax ที่มีสปาแกลเลอรี่แห่งแรกของโลกและในจังหวัดภูเก็ต, ร้านแว็กซ์ชื่อดัง The Strip ที่มีสาขากว่า 10 ประเทศทั่วโลก ทั้งใน New York, London, Singapore

นอกจากนี้ทางโครงการยังมีโซนเสริมความงาน จากร้านชื่อดังของภูเก็ต อย่างเช่น Devadiva และ Villa Aura

  • คิด เลิร์นนิ่ง สเปซ (Kid Learning Space)

แหล่งพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กๆต่างวัยที่จะได้เจอเพื่อนใหม่เพื่อแชร์ความสนุกสนานไปด้วยกันกับเครื่องเล่นที่ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างทักษะของเด็กๆ พร้อมเลนจักรยาน บ่อทรายขนาดใหญ่ แทรมโพลีนและชิงช้า

  • เพท เฟรนด์ลี่โซน (Pet Friendly Zone)

พื้นที่สำหรับสัตว์เลี้ยงให้ได้วิ่งเล่นและพบปะกับเพื่อนใหม่บนสนามหญ้าขนาดย่อมที่ร่มสบาย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน จาก Phuket International Pet Care (PIPC) ทั้งคลินิกรักษาสัตว์, เพ็ทช็อป, กรูมมิ่งและจุดรับ-ส่งน้องหมาน้องแมว เข้าโรงแรมที่สาขาใหญ่ เพื่อสุขภาพที่ดีและความสุขที่เพิ่มมากขึ้นของน้องหมาน้องแมว

  •  เดอะ เมอร์คาโด้ (The Mercado) – พร้อมเปิดให้บริการปี 2563

ฟู้ดเดสติเนชั่นภายใต้หลังคาใหญ่ ตกแต่งภายใต้คอนเซ็ปต์ “Tin Mining Factory” ที่จำลองบรรยากาศเหมืองแร่โบราณผสมผสานกับสถาปัตยกรรมสไตล์ ซิโน-โปรตุกิส พบกับอาหารระดับเวิลด์คลาสจากนานาชาติอย่าง ออยสเตอร์บาร์ สเต็กเนื้อชั้นดีหรือจะลองชิมขนมหวานจากประเทศต่างๆ

ส่วนที่จะเพิ่มเติมในเฟสต่อไป ยังมีอีกหลากหลายโซน เช่น โรงภาพยนตร์ , ฟิตเนส, Indoor Playground, Edutainment รวมถึง Art Home and Decorative ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2563 นี้ 

(ชมภาพเพิ่มเติม คลิกที่นี่)

 

]]>
1257058
กลุ่มเซ็นทรัลทุ่ม 20,000 ล้าน สยายปีกสู่เวียนนา – โอซากา – ตูริน https://positioningmag.com/1252159 Mon, 04 Nov 2019 05:29:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1252159 กลุ่มเซ็นทรัลยังคงเดินหน้ายุทธศาสตร์ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ทุ่มงบ 20,000 ล้านบาท เปิดบิ๊กโปรเจกต์ใน 3 เมืองท่องเที่ยวยอดนิยม เวียนนา, โอซากา และตูริน

ไม่ใช่แค่ลงทุนผุดโครงการแค่ในประเทศไทย แต่ตอนนี้ยังสยายปีกไปยังต่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดกลุ่มได้สยายปีกการลงทุนในต่างประเทศ กับ 3 โปรเจกต์ยักษ์ ใน 3 ทำเลยอดนิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เวียนนา – โอซากา – ตูริน

ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล กล่าวว่า

“กลุ่มเซ็นทรัลได้สานต่อยุทธศาสตร์ขยายการลงทุนในต่างประเทศ ตามเทรนด์การท่องเที่ยวโลก (Global Tourism Trend) ด้วยการพัฒนาโครงการแฟลกชิพที่มีศักยภาพสูงในเมืองท่องเที่ยวสำคัญต่างๆ ล่าสุดได้ลงทุนโครงการครั้งยิ่งใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ โครงการมิกซ์ยูสที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย, โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซากา ประเทศญี่ปุ่น และห้างสรรพสินค้ารีนาเชนเต เมืองตูริน โฉมใหม่ ด้วยงบลงทุนรวมกว่า 2 หมื่นล้านบาท”

1. มิกซ์ยูสโปรเจกต์สุดหรูกลางกรุงเวียนนา

โครงการขนาด 58,000 ตร.ม. ประกอบด้วยห้างสรรพสินค้าและโรงแรมสุดหรูขนาด 150-165 ห้องพัก ร้านค้า พร้อมด้วยร้านอาหารชั้นนำและสวนสาธารณะลอยฟ้า โดยให้เป็นจุดหมายใหม่แห่งการพบปะสังสรรค์ ด้วยรูปแบบที่ทันสมัยและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอันเป็นเอกลักษณ์ของเมือง

โครงการนี้ ตั้งอยู่บนทำเลศักยภาพสูงใจกลางถนนมาเรียฮิลเฟอร์ สตราเซ (MariahilferStraße) แหล่งช้อปปิ้งยอดนิยมและยังอยู่ในละแวกใกล้เคียงย่านพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของกรุงเวียนนา โดยเป็นการร่วมลงทุนระหว่างกลุ่มเซ็นทรัล และกลุ่มซิกน่า (SIGNA Group) บริษัทชั้นนำในประเทศออสเตรีย โดยมีแผนที่จะเปิดให้บริการภายในปี 2566

2. โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซากา

โรงแรมภายใต้แบรนด์เซ็นทาราแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่น ใจกลางย่านนัมบะ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเมืองโอซากาและภูมิภาคคันไซ โดยโอซากาถือเป็นจุดหมายปลายทางอันดับที่ 2 ของประเทศญี่ปุ่นที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมมามากที่สุด ด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่มีความโดดเด่น และทำเลของเมืองที่ใกล้กับเมืองเกียวโต โกเบ และนารา

โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซากา เป็นโรงแรมแฟลกชิพระดับ 5 ดาว ใจกลางเมือง เทียบเท่ากับโรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นโรงแรมหรู 34 ชั้น ขนาด 515 ห้องพัก สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงามของสวนสาธารณะนัมบะได้เต็มวิสัยทัศน์ 360 องศา ชั้นบนสุดของโรงแรมจะมีทั้งเลานจ์ และพื้นที่สำหรับจัดงานอีเวนต์และประชุมสัมมนา รวมถึงร้านอาหารชั้นดาดฟ้า และสกาย บาร์ พร้อมทัศนียภาพอันงดงามของเมืองโอซากาในแบบพาโนรามา

โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ โอซากา เป็นการร่วมทุนระหว่างโรงแรมแ ละรีสอร์ตในเครือเซ็นทารา กับสองบริษัทก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น Taisei Corporation และ Kanden Realty & Development เมื่อแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2566 เซ็นทารา แกรนด์ โอซากา จะเป็นโรงแรมแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของเมืองโอซากาอย่างแน่นอน

3. ห้างสรรพสินค้ารีนาเซนเต สาขาตูริน

กลุ่มเซ็นทรัลเห็นศักยภาพของการค้าและการท่องเที่ยวของเมืองตูริน ซึ่งเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามของประเทศอิตาลี ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์สุดคลาสสิก ด้วยงบลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาท กลุ่มเซ็นทรัลได้เข้าซื้อที่ดินอาคารเมื่อปี พ.ศ. 2560 และออกแบบพัฒนาโครงการใหม่ทั้งหมด แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มเซ็นทรัลที่ตั้งใจจะยกระดับเมืองตูริน สู่ประสบการณ์ช้อปปิ้งนำสมัย

ห้างสรรพสินค้าถูกปรับปรุงอย่างเต็มรูปแบบ และขยายพื้นที่ขายสุทธิเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว อาคารห้างได้รับการออกแบบโดย Gianmatteo Romegialli นักออกแบบชื่อดังระดับโลก ผู้ตกแต่งเปลือกอาคาร (Façade) ของห้างด้วยหินอ่อน Travertine สุดหรู และสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นให้ชั้น G ด้วยเสาขนาดใหญ่ 4 ต้น และโคมระย้า (Chandelier) สุดอลังการใจกลางห้าง โดยมีทีมดีไซเนอร์มืออาชีพที่ร่วมรับผิดชอบในโครงการนี้ด้วย ได้แก่ Paolo Luccetta, Fabio Fantolino, David Lopez และ Fanny Bauer

ความพิเศษของห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ คือ โซนเครื่องประดับโฉมใหม่ – รองเท้า กระเป๋า จิวเวลรี่ และแบรนด์ ลักชัวรี่ใหม่ๆ อาทิ Bottega Venetta, Burberry, Alexander McQueen และ Marni นอกจากนี้ยังมี ร้านอาหาร เทมาคินโฮ ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วที่สาขาโรม เสิร์ฟอาหารสไตล์ฟิวชั่นญี่ปุ่น-บราซิล พร้อมที่นั่งโซนเอาต์ดอร์สุดพิเศษ โดยในวันเปิดห้างสรรพสินค้า เคียรา อัปเปนดิโน นายกเทศมนตรีเมืองตูรินให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดห้างอย่างเป็นทางการ ร่วมกับผู้บริหารเซ็นทรัล และรีนาเชนเต พร้อมด้วยเซเลบริตี้ และลูกค้าที่มาร่วมเฉลิมฉลองอย่างคับคั่ง

การแข็งค่าของเงินบาทและอัตราภาษีนำเข้าสูง

ยุทธศาสตร์การขยายธุรกิจในต่างประเทศของกลุ่มเซ็นทรัลยังได้แรงหนุนจากค่าเงินบาทแข็ง ซึ่งช่วยให้การพัฒนาธุรกิจในต่างประเทศเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยรายได้ของธุรกิจในต่างประเทศของกลุ่มเซ็นทรัล ในปี 2561 ประกอบด้วย เวียดนาม ยุโรป และมัลดีฟส์ คิดเป็นสัดส่วนถึง 30% ของรายได้ทั้งหมดของกลุ่มเซ็นทรัล และจะเติบโตขึ้นต่อเนื่องในอีก 5 ปีข้างหน้าจากการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ที่ได้เปิดตัวไป

ถึงแม้ว่าภาพรวมของเศรษฐกิจยุโรปจะชะลอตัว แต่ธุรกิจของกลุ่มเซ็นทรัลในยุโรป ได้แก่ อิตาลี เดนมาร์ก และเยอรมนี ยังคงเห็นแววการเติบโตที่สดใส โดยมาจาก ยอดขายจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้น 12-20% จากปีที่แล้ว รวมถึงยอดใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวไทยที่ไปช้อปปิ้งตามห้างของกลุ่มเซ็นทรัลในยุโรปที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทุกแห่ง

โดยเฉพาะห้างโอเบอร์โพลลิงเกอร์ ที่นครมิวนิก และห้างรีนาเชนเต ประเทศอิตาลี ที่ ยอดขายจากนักท่องเที่ยวไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 เติบโตขึ้นอย่างน่าประทับใจถึง 30% และ 50% ตามลำดับ

การเติบโตของธุรกิจสะท้อนให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวของลูกค้าไทยยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป คนไทยนิยมไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น โดยแรงจูงใจมาจากราคาสินค้าที่ต่ำกว่าเนื่องจากไม่มีภาษีนำเข้า และเมื่อค่าเงินบาทไทยแข็งค่าขึ้นทำให้สินค้าและบริการมีราคาถูกลง

]]>
1252159