กล้องถ่ายรูป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 28 Aug 2024 13:22:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อีเวนต์-ท่องเที่ยวฟื้น ดันตลาด ‘กล้อง’ โตตาม ‘แคนนอน’ พร้อมส่ง 2 รุ่นเรือธงใหม่ หวังเพิ่มแชร์เป็น 40% https://positioningmag.com/1487812 Wed, 28 Aug 2024 13:15:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1487812 นับตั้งแต่ตลาด กล้องถ่ายภาพ ที่หดตัวหนักสุดในช่วงที่ COVID-19 ระบาด แต่หลังจากการระบาดคลี่คลาย ตลาดก็เริ่มกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง โดยผู้นำในตลาดอย่าง CANON ก็ไม่ปล่อยให้โอกาสหลุดมือ พร้อมออกสินค้าใหม่ราคาหลักแสนลุยตลาดช่วงโค้งสุดท้ายถึง 2 รุ่น

กล้องฟื้นตามตลาดอีเวนต์

เนตรนรินทร์ จันทร์จรัสสุข ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์อิมเมจจิ้งอินฟอร์เมชั่น บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด คาดการณ์ว่า ภาพรวมตลาดกล้องปี 2024 ในด้านจำนวนยูนิตจะเติบโต +15% รวม 90,000 ตัว ในแง่ของมูลค่าคาดว่าจะเติบโต +25% แตะ 3,000 ล้านบาท โดยปัจจัยหลัก ๆ คือ การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี ที่ถูกแทนที่โดยกล้อง Mirrorless ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของตลาดทั้งหมด หรือประมาณ 60,000 ตัว ขณะที่กล้องคอมแพคมีสัดส่วนอยู่ที่ 5% ส่วนกล้อง DSLR เหลือสัดส่วนเพียง 5%

อีกปัจจัยที่สร้างการเติบโตให้ตลาดคือ การกลับมาของ งานอีเวนต์ ต่าง ๆ ทำให้กลุ่ม มืออาชีพ เริ่มอัปเกรดกล้องเพื่อใช้ต่อยอดในการทำงาน รวมถึงการเติบโตของเหล่า ครีเอเตอร์ และ ภาคการท่องเที่ยว ที่ให้มีการเติบโตในกลุ่มของลูกค้าใหม่ ๆ ด้วยเช่นกัน

“ตอนนี้กล้อง Mirrorless กำลังมาแทนที่ DSLR เพราะดีกว่าทั้งคุณภาพ น้ำหนัก ความสะดวก เพราะเป็นตัวที่ยังพัฒนาเทคโนโลยีไปได้ในอนาคต ส่วนคอมแพคยูนิตทรง แต่มูลค่ายังไปได้ เพราะตลาดครีเอเตอร์”

ฮิโรชิ โยโกตะ ประธานบริษัทและประธานกรรมการบริหาร และ นางสาวเนตรนรินทร์ จันทร์จรัสสุข ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์อิมเมจจิ้งอินฟอร์เมชั่น บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด

วางเป้าเพิ่มแชร์เป็น 40%

ปัจจุบัน ตลาดกล้องผู้เล่นหลักในตลาดประมาณ 4 แบรนด์ โดย 2 ใน 4 แบรนด์ยอดตกเล็กน้อย ขณะที่แคนนอนยังสามารถเติบโตได้ 10% ในปีที่ผ่านมา และยังคงครองตำแหน่ง เบอร์ 1 ในตลาดด้วยส่วนแบ่ง 35% โดยปีนี้ บริษัทตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งเป็น 40% โดยได้เปิดตัวกล้อง 2 รุ่น ล่าสุด ได้แก่ EOS R1 และ EOS R5 Mark II เพื่อจับกลุ่มช่างภาพมืออาชีพ 

“ตอนนี้การแข่งขันจะเน้นไปที่ตลาด Mirrorless Full Frame เริ่มเห็นว่าลูกค้าจะเริ่มขยับไปใช้รุ่นที่ดีกว่า โดยตอนนี้รุ่นที่ขายดีที่สุดของเราคือ R6 Mark II ราคา 82,000 บาท”

แคนนอนมั่นใจโตได้ทุกกลุ่ม

ที่ผ่านมา การเติบโตของแคนนอนมาจากทุกเซกเมนต์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ (Beginer) กลุ่มมืออาชีพ และกลุ่มที่ ย้ายค่าย โดย เนตรนรินทร์ มองว่า มาจากแคนนอนมีกลุ่มสินค้าทั้งหมด 14 รุ่น สามารถตอบสนองทุกกลุ่มลูกค้าตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมืออาชีพ และด้วยฟีเจอร์ของกล้องใหม่ ๆ ที่ออกมาตอบโจทย์การใช้งาน ทำให้ได้กลุ่มลูกค้าที่ย้ายค่ายมาด้วย รวมถึงพาร์ทเนอร์ที่แข็งแรง

“ความยากของตลาดกล้องคือ ความลอยัลตี้สูง เพราะต้องใช้แต่ Ecosystem ของแบรนด์นั้น ๆ ดังนั้น ถ้าเราทำให้เขาเปลี่ยนแบรนด์ได้ถือว่าประสบความสำเร็จมาก ซึ่งเราเชื่อว่าที่เขาย้ายเพราะคุณภาพสินค้า บางคนอาจติดเรื่องราคา แต่เรามองว่ามันเป็นเรื่องที่แก้ได้”

ย้ำ ไม่ขายแข่งกับดีลเลอร์

เนตรนรินทร์ ย้ำว่า แคนนอนไม่ขายของแข่งกับดีลเลอร์ ดังนั้น ช่องทางการขายของแบรนด์จะมาจากพาร์ทเนอร์ดีลเลอร์เป็นหลัก และการให้โปรโมชั่นจะเท่ากันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการของแต่ละร้านเอง 

“เราต้องทำให้พาร์ทเนอร์ขายของดีขึ้น ไม่ได้ไปขายแข่ง อย่างช่องทางออนไลน์เขาก็ขายกันเอง แต่จะไปขายถูกกว่าราคาหน้าร้านหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละร้านจะบริหารจัดการอย่างไร แต่เราเห็นว่าหลายร้านทำยอดได้ดีมากเมื่อถึงช่วงแคมเปญอีคอมเมิร์ซ”

กำลังซื้อหดไม่กระทบ

เนตรนรินทร์ ทิ้งท้ายว่า แม้ภาพรวมเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่ตลาดกล้องยังเติบโตได้ เพราะต้องยอมรับว่าบางคน ใช้กล้องประกอบอาชีพ ดังนั้น งานอีเวนต์ที่กลับมาคึกคัก การท่องเที่ยวที่ฟื้นกลับมา หรือการเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้กล้องจึงถูกซื้อไปใช้งาน ขณะเดียวกันแคนนอนเองก็ทำการตลาดผ่านการท่องเที่ยว โดยร่วมกับททท. นอกจากนี้ ยังได้เป็นสปอนเซอร์ให้กับทีม Bangkok United ในไทยลีก

“อย่างกล้อง  EOS R1 ตัว Flagship ราคา 235,900 บาท ก็มียอดจองเกิน 100 ตัว ส่วน EOS R5 Mark II ราคา 147,900 บาท ก็มียอดจองเกิน 200 ตัว แสดงให้เห็นว่ากำลังซื้อไม่มีผลกับสินค้ากลุ่มนี้”

สำหรับกล้อง EOS R1 ราคา 235,900 บาท เป็นกล้องเรือธงระดับมาสเตอร์สำหรับมืออาชีพ โดยมีจุดเด่นทั้งความเร็วและฟีเจอร์ครบครัน ทั้งความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่อง ความเร็วในการโฟกัส รวมถึงความเร็วในการถ่ายโอนไฟล์ ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าระดับมืออาชีพที่เน้นเรื่องความรวดเร็วในการทำงานเป็นหลัก เช่น การถ่ายการแข่งขันกีฬา ชีวิตสัตว์ป่า รวมถึงงานข่าว

ส่วน EOS R5 Mark II ราคา 147,900 บาท กล้องมิเรอร์เลสไฮบริด ที่มีความโด่นเด่นในเรื่องความละเอียด แบบ High Resolution ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว พร้อมฟังก์ชันด้านวิดีโอ เพื่อให้เป็นที่สุดของ VDO performance รองรับกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการผลงานคุณภาพสูง โดยเฉพาะกลุ่มงานเวดดิ้ง งานผลิตวิดีโอเชิงพาณิชย์ คอนเทนต์ครีเอเตอร์ ไปจนถึงช่างภาพอาชีพทุกสาย

]]>
1487812
ตลาดกล้องยังไม่ตาย! ‘แคนนอน’ ชี้ ‘ครีเอเตอร์’ คือน่านน้ำใหม่ พร้อมวางเป้าเติบโต 20% https://positioningmag.com/1425989 Mon, 03 Apr 2023 06:12:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425989 ย้อนกลับไปปี 2019 ก่อนที่โลกจะเจอกับการระบาดของ COVID-19 ตลาด กล้อง มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 6,500 ล้านบาท มียอดขายประมาณ 230,000 เครื่อง แต่ในปี 2022 ที่ผ่านมา มูลค่าของตลาดก็ลดลงเหลือเพียง 3,000 ล้านบาท มียอดขายประมาณ 95,000 เครื่องเท่านั้น แต่ แคนนอน (Canon) ก็ยังเชื่อว่า ตลาดยังไม่ตาย และน่านน้ำใหม่ก็คือ ครีเอเตอร์

ตลาดยังไม่ตายแต่ไม่โต

ตลาดกล้อง ถือเป็นอีกตลาดที่ถือเป็นช่วงขาลงอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่การมาของสมาร์ทโฟนที่ประสิทธิภาพของกล้องนับวันจะดีมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อภาคการท่องเที่ยว ที่ถือเป็นอีกปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนตลาดยังหายไปนับตั้งแต่ที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่มูลค่าตลาดกล้องจะหายไปเกินครึ่ง อย่างไรก็ตาม เนตรนรินทร์ จันทร์จรัสสุข ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์คอนซูมเมอร์อิมเมจจิ้งอินฟอร์เมชั่น บริษัท แคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด เชื่อว่า ตลาดคงไม่ตกต่ำไปกว่านี้แล้ว

โดยสิ่งที่ช่วยพยุงตลาดในตอนนี้ก็คือ กล้อง Full Frame โดยในปีที่ผ่านมาเป็นกลุ่มเดียวที่ยังเติบโตได้ถึง 11% ขณะที่ปี 2023 ทาง GFK คาดว่าจะเติบโตได้ประมาณ 6% นอกจากนี้ การท่องเที่ยวที่กลับมาเติบโตก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ตลาดยังคงประคองตัวได้ เพราะกล้องเป็นสินค้าแรก ๆ ที่คนอยากอัปเกรดเมื่อจะไปท่องเที่ยว

“ตลาดมันลดมานานจนถึงจุดที่มันนิ่งเเล้ว อย่างกล้องคอมแพคก็ถูกแทนที่โดยมือถือ ส่วนกล้อง DSLR คนก็อัปเกรดไปใช้ Full Frame ทำให้มูลค่าตลาดตกน้อยกว่าจำนวน เพราะมีราคาสูงกว่า แต่แม้ตลาด Full Frame ยังเติบโตได้ แต่คงจะโคเวอร์ตลาดไม่ได้ทั้งหมด ดังนั้น ตลาดกล้องปีนี้เราคาดว่าตลาดยังทรงตัว”

ครีเอเตอร์ น่านน้ำใหม่ของตลาด

ด้วยการเติบโตของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะเห็นว่ามี อินฟลูเอนเซอร์ หรือ ครีเอเตอร์ หน้าใหม่เกิดขึ้นมาทุกวัน ซึ่งแคนนอนมองว่าครีเอเตอร์เป็น บลูโอเชี่ยน ของตลาดกล้อง ซึ่งแคนนอนก็ต้องการจะเจาะกลุ่มครีเอเตอร์ที่ต้องการ อัปเกรดจากสมาร์ทโฟนมาใช้งานกล้อง เพราะถึงแม้ว่าการใช้สมาร์ทโฟนจะสะดวกแต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง

โดย เนตรนรินทร์ มองว่า เห็นเทรนด์การเติบโตของครีเอเตอร์ตั้งแต่ก่อนโควิด ที่คนไทยเปลี่ยนจากแค่ถ่ายรูปมาเป็นถ่ายคลิป จนนำไปสู่การแชร์และเกิดเป็นการสร้างรายได้

“แน่นอนว่ากล้องมือถือมันสะดวก แต่ลูกค้าที่ซื้อกล้องเพราะฟีเจอร์มันตอบโจทย์สิ่งที่มือถือไม่มี โดยเราเชื่อว่ามีไม่น้อยกว่า 30% ของครีเอเตอร์ที่ใช้สมาร์ทโฟนทำคอนเทนต์เป็นหลัก และสำหรับคนที่เริ่มสร้างรายได้จากคอนเทนต์ได้ เขาก็อยากจะอัปเกรดอุปกรณ์เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ เพิ่มคุณภาพของคอนเทนต์”

ส่งกล้อง 2 รุ่นใหม่จับตลาดเอนทรี่-มิดไฮ

ล่าสุด แคนนอนได้เปิดตัวกล้อง 2 รุ่น ได้แก่ EOS R8 และ EOS R50 สำหรับจับกลุ่มครีเอเตอร์ พร้อมออกแคมเปญ You ‘R Creator ใช้งบการตลาดที่ 50 ล้านบาท

โดย EOS R8 เป็นกล้อง Mirrorless Full Frame เน้นการใช้งานมืออาชีพ บันทึกวิดีโอคุณ 4K 60P ได้แบบไม่ครอป มีฟังก์ชัน Auto Focus detect only ช่วยให้ภาพวิดีโอดูเนียนตา โฟกัสไม่หลุดแม้เดินเข้า-ออกจากเฟรมภาพ โดยราคากล้องเปล่าอยู่ที่ 56,590 บาท และพร้อมเลนส์ RF24-50mm f/4.5-6.3 IS STM ที่ 64,790 บาท

ส่วน EOS R50 จะจับตลาดครีเอเตอร์กลุ่มเริ่มต้นที่อยากอัปเกรดจากการใช้สมาร์ทโฟนถ่ายคอนเทนต์มาเป็นกล้อง เหมาะสำหรับทำ Live Streaming Blogger และ Vlogger โดยสามารถเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเพื่อไลฟ์ได้โดยไม่ต้องลงแอปพลิเคชัน, ใช้ทัชสกรีนหาจุดโฟกัส เป็นต้น โดยราคาจะเริ่มต้นที่ 28,990 บาท มีสีขาวและดำ

“ราคาสินค้าที่ขายดีจะอยู่ประมาณ 30,000-90,000 บาท ดังนั้น ตัวเริ่มต้นราคาประมาณ 2 หมื่นไม่เกิน 3 หมื่น เรามองว่าเป็นราคาที่ลูกค้ามีกำลังจ่ายได้”

วางยอดขายโต 20%

สำหรับยอดขายทั้ง 2 รุ่นใหม่ แคนนอนวางไว้ที่ 6,000 เครื่อง พร้อมวางเป้ายอดขายทั้งปี เติบโต 20% ปัจจุบัน รายได้จากกล้องคิดเป็นประมาณ 25% ของรายได้รวม หรือราว 800 ล้านบาท

“เราจะไม่ทำสงครามราคา เพราะมองว่าไม่ยั่งยืน อย่างในตลาดตอนนี่้เทียบคู่แข่งเราไม่ได้ถูกกว่า แต่มั่นใจว่าคุ้มค่าการจ่าย โดยรุ่น EOS R50 เราต้องการจะไปแทนที่การใช้สมาร์ทโฟน เพราะเรามองว่ามันยังมีข้อจำกัด เราเลยทำฟีเจอร์ที่แทนที่ข้อจำกัดของการใช้กล้องสมาร์ทโฟน ส่วน EOS R8 จะมาเพื่อรักษาความแข็งแรงของกลุ่ม Full Frame” เนตรนรินทร์ ทิ้งท้าย

]]>
1425989
Nikon ปิดฉาก Made in Japan ย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมาประเทศไทยปีหน้า https://positioningmag.com/1336194 Wed, 09 Jun 2021 14:43:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336194 Nikon (นิคอน) ผู้ผลิตกล้องถ่ายรูปรายสำคัญของญี่ปุ่น ประกาศยุติการผลิตในญี่ปุ่นเดือนมีนาคม ปีหน้า โดยจะย้ายการผลิตมายังไทย เนื่องจากตลาดกล้องถ่ายรูปลดลงอย่างมากเพราะผู้คนส่วนใหญ่ใช้สมาร์ทโฟน

Nikon ทยอยลดการผลิตกล้องถ่ายรูปเลนส์เดี่ยว หรือ SLR มาอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้เหลือโรงงานเพียงแห่งเดียวที่เมืองเซนได จังหวัดมิยางิ ทางบริษัทประกาศว่าโรงงานแห่งนี้จะยุติการผลิตลงในเดือนมีนาคม 2565 ปิดฉากการผลิตในญี่ปุ่นที่ยาวนานกว่า 70 ปี

โรงงานในญี่ปุ่นผลิตกล้องโปรรุ่น D6 เป็นหลัก หลังจากยุติการการผลิตแล้วโรงงานจะไม่ปิดตัว แต่จะผลิตชิ้นส่วนของกล้องและเลนส์โดยใช้หุ่นยนต์อัตโนมัติเป็นหลัก

Nikon ผลิตกล้องถ่ายรูปออกจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปี 2491 และก้าวขึ้นเป็นผู้นำในวงการกล้อง แต่หลังจากผู้คนหันมาใช้สมาร์ทโฟนที่มีกล้องคุณภาพสูงเพื่อบันทึกความทรงจำกันมากขึ้น ตลาดกล้องก็ซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 ยอดการผลิตกล้องทุกยี่ห้อเหลือเพียงแค่ 8,740,000 ชิ้น ลดลงมากถึง 75% เมื่อเทียบกับ 15 ปีก่อน

ในปีที่ผ่านมา Nikon เผชิญการขาดทุนมากเป็นประวัติการณ์กว่า 34,400 ล้านเยน จนต้องตัดสินใจปิดโรงงานผลิตเลนส์ที่จังหวัดยามากาตะ และฟูกูชิมะ

Source

]]>
1336194
ถอดสูตรมัดใจลูกค้าในแบบ ‘Leica’ ที่ไม่ใช่แค่ของ ‘สะสม’ แต่ต้องเป็น ‘ไลฟ์สไตล์’ https://positioningmag.com/1323179 Fri, 12 Mar 2021 07:32:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323179 ในปีที่ผ่านมาตลาด ‘กล้องถ่ายภาพ’ เป็นอีกตลาดที่โดนพิษของ COVID-19 เล่นงานอย่างหนัก โดยฉุดตลาดดิ่งถึง -43% เนื่องจาก ตลาดกล้องเป็นตลาดที่ต้องอาศัยอุตสาหกรรม ‘ท่องเที่ยว’ และ ‘งานอีเวนต์’ แต่ลองไปดูฝั่งแบรนด์กล้องลักชัวรีอย่าง ‘Leica (ไลก้า)’ กันบ้าง ว่า COVID-19 ส่งผลกระทบอะไรกับแบรนด์ได้บ้าง

COVID-19 ดันดีมานด์ แต่ซัพพลายไม่เอื้อ

หลายคนคงจะคุ้นชื่อของแบรนด์ ‘Leica (ไลก้า)’ กล้องถ่ายภาพระดับไฮเอนด์ที่มีประวัติยาวนานกว่า 100 ปีอย่างแน่นอน เพราะด้วยนวัตกรรมด้านการถ่ายภาพที่โดดเด่น และการผลิตที่ทำด้วยมือทุกขั้นตอนทำให้ไลก้ากลายเป็นสินค้าระดับลักชัวรีที่มีราคาสูงตั้งแต่หลักแสนถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว โดยในประเทศไทยนั้น บริษัท เอลิส ไพรเวต จำกัด ถือเป็นตัวแทนรายเดียว ซึ่งเริ่มทำตลาดตั้งแต่ปี 2016

ในปี 2017 ไลก้าประเทศไทยทำรายได้ 147 ล้านบาท จากนั้นก็สามารถสร้างการเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง โดยปี 2018 ทำรายได้ 152 ล้านบาท ปี 2019 มีรายได้ 167 ล้านบาท แต่มาในปี 2020 ที่เจอพิษ COVID-19 ทำให้รายได้ลดเหลือ 138 ล้านบาท

ดนัย สรไกรกิติกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอลิส ไพรเวต จำกัด

อย่างไรก็ตาม ดนัย สรไกรกิติกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอลิส ไพรเวต จำกัด ได้ระบุถึงสาเหตุที่รายได้ลดลงว่า ไม่ใช่เพราะคนไม่ซื้อ แต่เพราะของไม่พอขาย เนื่องจากประเทศผู้ผลิต ทั้ง โปรตุเกส และ เยอรมนี มีมาตรการล็อกดาวน์ รวมถึงจำกัดเวลาทำงาน ทำให้ซัพพลายมีจำกัด ลูกค้าเองต้องรอสินค้านาน 4-5 เดือน อีกทั้ง ยังไม่มีสินค้า ‘Limited Edition’ เข้ามากระตุ้นยอดขาย จากปกติต้องมีปีละประมาณ 1-2 รุ่น

COVID-19 ไม่ได้ส่งผลต่อตลาดลักชัวรี เรายังเห็นดีมานด์ยังมีเต็ม 100% แต่ของไม่พอขาย อย่างช่วงล็อกดาวน์ทำให้คนมีเวลามากขึ้น ก็หางานอดิเรกใหม่และเริ่มจับจ่ายมากขึ้นโดยเฉพาะปลายไตรมาส 2 แต่เพราะซัพพลายไม่พร้อม ยอดเลยตก กลายเป็นว่าวันนี้เรากลัวว่าลูกค้าจะเดินมาซื้อ เพราะเราไม่มีสินค้าให้”

เปลี่ยนจากของสะสมให้ใช้งานจริง

ในช่วง 5 ปีก่อน กล้องไลก้ามักจะถูกซื้อไป ‘สะสม’ มากกว่าใช้งานจริง เนื่องจากราคาขึ้นตลอดอย่างน้อย 3-5% ทุกปี ส่วนสินค้าลิมิเต็ดที่ราคาจะสูงกว่าสินค้าทั่วไปประมาณ 10% แต่สามารถนำมาทำกำไรได้สูงกว่ามาก ดังนั้น โจทย์ของไลก้าในไทยคือ ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมให้นำไปใช้งานไม่ใช่เเค่สะสม เพื่อขยายฐานลูกค้าให้ต่ำกว่า 45 ปี โดยเริ่มจากเปิด ไลก้า บูติค ที่ เกษรพลาซ่า ซึ่งจะเน้นให้คำแนะนำมากกว่า ‘ขาย’ นอกจากนี้ ยังทำกิจกรรมเวิร์กช็อป เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้านำกล้องมาใช้งาน โดยเมื่อรู้สึกว่า ‘สนุก’ ก็จะเกิดเป็นไลฟ์สไตล์

5 ปีก่อน เพอร์เซปชั่นของลูกค้าไลก้ามักซื้อมาสะสม ซื้อมาไม่ใช้ แต่เราเปลี่ยนให้เขารู้สึกสนุกกันมัน โดยเดินหน้าสร้างคอมมูนิตี้ มีการสร้างเวิร์กช็อป สร้างอคาเดมีสอนถ่ายภาพ มี kol เข้ามาแชร์ และร้านเราต้องไม่ใช่ร้านหรูที่หยิ่งใส่ แต่อยากให้ลองให้จับ ซึ่งตอนนี้ Instagram เพจไลก้าจากที่มีผู้ติดตาม 100 คน แต่ตอนนี้มีกว่า 40,000 คน”

ปัจจุบัน กลุ่มลูกค้าเดิมอายุ 40 ปีขึ้นไปก็ยังคงอยู่ แต่ได้ฐานกลุ่มลูกค้าเจนเนอเรชั่นใหม่ อายุตั้งแต่ 18 ปี ถึง 30 ปี โดยฐานลูกค้าในปี 2020 นั้น กลุ่มอายุ 40 ปีขึ้นไปมีสัดส่วน 38%, อายุ 31-40 ปี 47%, อายุ 23-30 ปี 14% และต่ำกว่า 22 ปี 1% โดยลูกค้ากว่า 50% ถ่ายภาพเป็นงานอดิเรก ขณะที่จำนวนเลนส์เฉลี่ยที่ 5-6 ตัวต่อคน

Gen Y เป็นฐานลูกค้าที่กว้างที่สุดเพราะเขาต้องการครีเอตคอนเทนต์ตัวเองบนโซเชียลมีเดีย และแม้วันนี้จะไม่มีเงินซื้อ แต่ถ้าวันหนึ่งมีเงินเป้าหมายสูงสุดก็คือ ไลก้า”

ไม่เน้นขยายสาขาเยอะ เพราะของไม่พอ

แต่เพราะหน้าร้านเดิมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้บริษัทตัดสินใจเปิดไลก้า บูติคแห่งใหม่ที่ ‘เอ็มโพเรียม’ เพื่อกระจายการบริการ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทไม่ได้วางแผนว่าจะขยายสาขาจำนวนมากเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ แต่จะเปิดเพื่อเน้นให้บริการและสร้างประสบการณ์มากกว่า เพราะมองว่าแค่มีสินค้าให้พอขายยังยาก ดังนั้น ถ้าขยายเพิ่มอีกสาขาแล้วต้องหารสินค้ากันอาจไม่เป็นผลดีนัก

“ที่เราเลือกเอ็มโพเรียมเพราะอยู่ใกล้แหล่งพักอาศัยของคอร์คัสตอมเมอร์ อีกทั้งยังไม่วุ่นวายมาก ซึ่งเราอยากให้ลูกค้ามาใช้เวลาที่ร้านมาพูดคุยแลกเปลี่ยนนาน ๆ ไม่ต้องรีบร้อนกลับ ซึ่งตอนนี้แบรนด์ลักชัวรีเปลี่ยนความคิดหมด ไม่เน้นเปิดเยอะเพื่อเข้าถึงคน แต่เปิดน้อยเน้นให้ประสบการณ์ลูกค้าเต็มที่”

ในส่วนของช่องทางออนไลน์ปัจจุบันขายผ่าน ‘Line Official: @leicath’ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการให้ข้อมูลมากกว่า เพราะลูกค้าบางคนแค่มาสอบถามราคา แต่สุดท้ายก็จะไปหน้าร้านเพื่อลองจับลองใช้ก่อน ส่วนการเปิดเว็บไซต์ของไลก้าก็มีแผนจะทำแต่ก็จะเน้นการให้ข้อมูลมากกว่าขาย เพราะสินค้าราคาสูง ดังนั้นอาจจะเน้นซื้อขายอุปกรณ์เสริมมากกว่า

มั่นใจโต 30% เพราะดีมานด์อั้น

แม้ยอดขายในปี 2020 จะลดลง แต่บริษัทเชื่อมั่นว่าในปี 2021 จะสามารถเติบโตได้ 30% ทำรายได้รวม 180 ล้านบาท เนื่องจากดีมานด์ที่อั้นตั้งแต่ปี 2020 รวมถึงซัพพลายที่เริ่มฟื้นตัว อีกทั้งลูกค้าไปต่างประเทศไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องซื้อที่ประเทศไทย ซึ่งน่าจะทดแทนส่วนของ ‘นักท่องเที่ยวต่างชาติ’ ที่มีสัดส่วนประมาณ 20% ของลูกค้าทั้งหมด

“ยอมรับว่าลูกค้าไลก้า 40% ซื้อจากต่างประเทศ แต่ที่ซื้อเพราะไม่ใช่ว่าราคาถูกกว่า เพราะเราปรับราคาทุกไตรมาสเพื่อให้เท่ากันทุกประเทศ แต่อาจเป็นสิทธิด้านภาษีที่อาจจะแลกคืนได้ ราคาก็อาจจะลดลงมาราว 10% แต่ตอนนี้เดินทางไปไหนไม่ได้ ก็ต้องซื้อที่ไทย”

ทั้งนี้ จากรายได้ 180 ล้านบาทคาดว่าสัดส่วนยอดขาย 80% จะเป็นสินค้าธรรมดา โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นกล้อง 50% เลนส์ 40% และ 10% เป็นอุปกรณ์เสริม โดยรุ่นขายดี ได้แก่ Leica Q2 ราคา 178,200 บาท, Leica M10R ราคา 280,000 บาท และ Leica SL2 ราคา 213,900 บาท

ส่วนยอดขายอีก 20% เป็นสินค้าลิมิเต็ด โดยสินค้าลิมิเต็ดตัวตัวแรกของปีคือ ‘Leica Q2 Special Edition Daniel Craig x Greg Williams’ ผลิตในจำนวนจำกัดเพียง 750 ตัวในโลก ราคา 221,400 บาท ซึ่งในไทยคาดว่าจะได้มาประมาณ 22 ตัว จากที่สั่งไป 90 ตัว ซึ่งถือว่าได้มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะไทยถือเป็นเบอร์ 1 ที่มียอดขายสูงสุดในภูมิภาค

“แม้ภาพรวมตลาดกล้องทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากพิษ COVID-19 แต่สำหรับไลก้า เราไม่ได้มองใครเป็นคู่แข่งเลย เพราะเราไม่ได้อยู่ในตลาดแมส ไม่ได้แข่งกันในเรื่องของสเปก หรือฟังก์ชัน แต่เป็นนิชมาร์เก็ตของกลุ่มคนที่มีความชอบ และมีกำลังซื้อค่อนข้างสูง”

ภาพจาก Facebook Leica

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่สุดของไลก้าคือ cycle ของลูกค้าใหม่ที่ไม่ใช่ฮาร์ดคอร์แฟนที่จะหายไป ดังนั้น ต้องทำตลาดทุก ๆ 3 ปี และโจทย์สำคัญของเราตลอดมาคือ ไม่ต้องการซื้อไปเพื่อวางไว้เฉย ๆ อยากให้คนซื้อไปแล้วได้ถ่าย เราต้องกระตุ้นให้คนซื้อไปแล้วใช้ สนุกกับการถ่ายรูปไม่ใช่แค่ซื้อไปเก็บ

]]>
1323179
Nikon ประกาศเลิกผลิตกล้องในญี่ปุ่น เตรียมย้ายฐานมาไทย 100% หวังลดต้นทุน https://positioningmag.com/1311664 Wed, 23 Dec 2020 05:20:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311664 หลังจากริเริ่มผลิตกล้องถ่ายภาพที่ญี่ปุ่นกว่า 70 ปี ผู้ผลิตกล้องนิคอน (Nikon) กำลังย้ายฐานการผลิตจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยแบบ 100% หวังลดต้นทุน โดยรุ่นใหญ่ Nikon D6 จะถูกย้ายสายพานภายในสิ้นปี 2564


การย้ายฐานการผลิตของ Nikon ได้รับความสนใจไม่น้อย เพราะสิ่งที่ช่วยให้ตากล้องเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กับคู่แข่งเพื่อทำความเข้าใจความแตกต่างของราคากล้องก็คือฐานการผลิต แต่ข้อมูลล่าสุดจากสำนักข่าว Asahi ของญี่ปุ่นยืนยันว่า Nikon จะยุติการผลิตกล้องในญี่ปุ่น และจะย้ายมาที่ประเทศไทยเพื่อลดต้นทุนให้สินค้าแข่งขันได้

ในเอกสารเผยแพร่ระบุว่าในที่สุด Nikon ก็ตัดสินใจยุติการผลิตตัวกล้องในประเทศที่ดำเนินต่อเนื่องมากว่า 70 ปีจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมา การผลิตตัวกล้องได้ดำเนินการที่บริษัท “เซนได นิคอน” (Sendai Nikon) ในจังหวัดมิยางิ คู่ไปกับบริษัท “นิคอนไทยแลนด์” (Nikon Thailand) ในประเทศไทย

เบื้องต้นสายพานการผลิต Nikon Z6 และ Nikon Z7 ซึ่งเป็นกล้องมิเรอร์เลสถูกย้ายไปแล้วตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน และ Nikon D6 ที่เป็นกล้อง DSLR จะถูกย้ายภายในสิ้นปี 2564

อย่างไรก็ตาม โรงงานของนิคอนในเซนได จังหวัดมิยางิ จะยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลิตกล้องในอนาคต แต่คำถามที่ยังต้องรอดูคือการย้ายการผลิตกล้องจากญี่ปุ่นมาไทยจะส่งผลกระทบต่อตลาดกล้องมือสองหรือไม่ ซึ่งยังต้องใช้เวลาในการติดตามความเคลื่อนไหวต่อไป

ปัจจุบัน สินค้าที่โดดเด่นของนิคอนคือกล้องมิเรอร์เลส Nikon Z7 และ Z6 ที่สามารถบันทึกวิดีโอคุณภาพสูง ขณะที่ D6 ยังเป็นกล้องในฝันของตากล้องหลายคนที่ชื่นชอบการปรับแต่งสไตล์มืออาชีพ

Source

]]>
1311664
ทริปล่ม คนไม่เที่ยว! ฉุดตลาด ‘กล้อง’ ติดลบ 43% หนักสุดในรอบ 3 ปี https://positioningmag.com/1305939 Fri, 13 Nov 2020 12:50:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305939 ถือเป็นอีกตลาดที่ถูกเทคโนโลยีเข้ามาดิสรัปต์เนื่องจากการมาของ ‘สมาร์ทโฟน’ ที่พัฒนากล้องมาดีจนผู้บริโภคไม่ได้ต้องการซื้อกล้องมาใช้งาน ส่งผลให้ตลาด ‘กล้องถ่ายรูป’ ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนมีผู้เล่นบางรายหายไปจากตลาดแล้ว อาทิ ‘โอลิมปัส’ ที่เพิ่งขายธุรกิจกล้องถ่ายภาพให้กับ Japan Industrial Partners (JIP) ไปเมื่อปีที่ผ่านมา

COVID-19 ฉุดตลาดกล้องติดลบ 43%

แม้ว่าตลาดกล้องถ่ายภาพจะติดลบมาต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562 แต่พอมาเจอ COVID-19 ยิ่งหนัก โดย วีระ เฉลียวปิยะสกุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นิคอน เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ตลาดกล้องเป็นตลาดที่ต้องอาศัยอุตสาหกรรม ‘ท่องเที่ยว’ ดังนั้น เมื่อ COVID-19 ทำให้คนเดินทางท่องเที่ยวรวมถึงไม่สามารถจัดงาน ‘อีเวนต์’ ต่าง ๆ ได้ ยิ่งเป็นฝันร้ายของตลาดกล้องถ่ายภาพ

วิธีการตัดสินใจซื้อหรืออัพเกรดขึ้นอยู่กับทริปท่องเที่ยวที่จะไป นี่เป็นพฤติกรรมชัดเจนที่ส่งผลกับวงการกล้อง แต่พอเที่ยวไม่ได้ และงานไม่มี ก็หมดความจำเป็นในการซื้อกล้อง ยิ่งส่งผลให้เป็นปีที่ยากของอุตสาหกรรมกล้องถ่ายภาพ”

วีระ เฉลียวปิยะสกุล ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท นิคอน เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

จากตลาดในปี 2562 ที่มีมูลค่า 4,104 ล้านบาท แต่มาปี 2563 คาดว่าจะเหลือเพียง 2,294 ล้านบาท หายไป 43% ส่วนจำนวนกล้องลดจาก 1.24 แสนตัว เหลือ 6.53 หมื่นตัว และสำหรับในปีหน้า 2564 คาดว่ามูลค่าตลาดจะติดลบอีก 25% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปี 2563 นี้ยังไม่ใช่ ‘จุดต่ำสุด’

“เราถามตัวเองตลอดว่าจุดที่มันจะทรงตัวคือตอนไหน เพราะจากยอดขายปีละหลักล้านเครื่องตอนนี้เหลือหลักหมื่น แต่เราเชื่อว่าในปี 2565 ตลาดกล้องจะเริ่มกลับมาดีขึ้นและจะเป็นจุดทรงตัวของตลาด มันจะไม่มีทางต่ำไปกว่านี้อีกแล้ว”

ทางรอดอยู่ที่ ‘Full Frame’

โดยส่วนแบ่งการตลาดของกล้องในปัจจุบัน แบ่งเป็น กล้อง DSLR 26% และ Mirrorless 74% โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นประเภทกล้อง ‘Full Frame’ ถึง 43.3% และอาจเติบโตเป็น 50% ในอนาคตเนื่องจากยังเห็นแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่เป็นมืออาชีพซื้อ แต่ปัจจุบันผู้บริโภคทั่วไปที่เริ่มซื้อกล้องหรือต้องการจะอัพเกรดกล้อง 70-80% มองหากล้อง Full Frame แถมลูกค้ากลุ่มนี้ยังมีการครอบครองเลนส์เฉลี่ยที่ประมาณ 3 ตัว ดังนั้น Nikon ในฐานะ ‘เบอร์ 1’ ของตลาด Full Frame ที่มีส่วนแบ่งตลาดที่ 42.4% จะต้องรักษาตำแหน่งให้ได้

โดยล่าสุด Nikon เปิดตัวกล้อง Full Frame รุ่นใหม่ ถึง 2 รุ่น คือ NIKON Z6 II และ NIKON Z7 II ที่มีจุดเด่นด้านการถ่าย ‘วิดีโอ’ ซึ่งถือเป็นเทรนด์ของความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้ที่ให้ความสำคัญทั้งการถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอเท่า ๆ กัน ซึ่งในส่วนของการถ่ายวิดีโอนั้น Nikon ยอมรับว่าเป็นจุดอ่อนของแบรนด์มาโดยตลอด เพราะไม่ค่อยได้สื่อสารจนภาพจำลูกค้านึกถึงแต่ภาพนิ่ง

“กล้องเราถ่ายวิดีโอได้มานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้สื่อสาร เพราะเรามีจุดแข็งที่ภาพนิ่งโดยเฉพาะ Full Frame ดังนั้น คู่แข่งจึงเน้นสื่อสารด้านวิดีโอแทน ซึ่งนั่นทำให้เราพลาด”

เน้นทำตลาดผ่าน ‘ออนไลน์’ เพื่อเข้าถึง ‘เด็ก’

อีกหนึ่งจุดอ่อนของ Nikon ก็คือ ฐานผู้ใช้ที่เป็น ‘ผู้ใหญ่’ เสียเยอะ โดยปัจจุบันกลุ่มลูกค้ามีอายุเฉลี่ยที่ 30 ปีต้น ๆ แม้ลดลงจากเดิมที่มีอายุเฉลี่ย 40-45 ปี แต่ฐานลูกค้าคู่แข่งเฉลี่ยที่อายุ 25 ปีเป็นหลัก ซึ่งจุดนี่ถือเป็นอีกจุดที่ Nikon มองว่าอาจเป็นปัญหาในระยะยาว ดังนั้น Nikon จึงพยายามสื่อสารไปที่คนรุ่นใหม่มากขึ้น โดยดึงอินฟูลเอนเซอร์เด็ก ๆ เข้ามาเป็นกระบอกเสียง และมีทีมนิคอนยูสทีมเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเด็ก ๆ

“นี่เป็นสิ่งที่เรากังวลมาก เพราะอายุเยอะขึ้นมีคนออกจากตลาดมากกว่าที่เราหาลูกค้าใหม่ ถ้าเป็นแบบนี้อีก 3-5 ปีเราจะลำบากมาก”

ประกอบกับหน้าร้านส่วนใหญ่ถูกปิดไปช่วงล็อกดาวน์ ทำให้หันไปโฟกัสการขายผ่านออนไลน์แทน ขณะที่ปีนี้งาน ‘Photo Fair’ ซึ่งถือเป็นงานใหญ่ที่ช่วยสร้างยอดขายก็ไม่ได้จัด ดังนั้น จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด Nikon จึงต้องปรับตัว โดยปีนี้ได้ ยกเลิกโฆษณาในสื่อออฟไลน์ทั้งหมด ไปลงออนไลน์แทน เนื่องจากเร็วกว่า เปลี่ยนแปลงได้ง่าย นำเสนอได้หลายแบบ และไปโฟกัสที่คนรุ่นใหม่ และโปรโมชันต่าง ๆ จะทุ่มไปที่แคมเปญ 11.11 และ 12.12

“ด้วยสถานการณ์ การประท้วงที่อาจทำให้เดินทางไม่สะดวก รวมถึงต่างจังหวัดที่ไม่มีร้านกล้องอยู่ ขณะที่งบการตลาดจาก 200 ล้านบาท แต่ปีนี้เราใช้ไม่ถึง 30 ล้านบาทเพราะต้องระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้น ออนไลน์จึงเป็นทางที่เราไปเต็มรูปแบบเพราะตัวเลือกเราถูกบีบมา ดังนั้นเชื่อว่าอนาคตสัดส่วนยอดขายออนไลน์ปีนี้จะอยู่ที่ 21% จากปีที่ผ่านมามีเพียง 9.2% และปีหน้ามีโอกาสถึง 30-40%

สุดท้าย เป้าหมายปีนี้ของ Nikon คือ ต้องพยายามติดลบให้น้อยกว่าตลาด โดยต้องไม่เกิน 30% ซึ่งในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีจะเป็นตัวชี้วัดสิ่งที่เราทำ

]]>
1305939
ยุคใหม่ของ Kodak เปลี่ยนเเนวจาก “ฟิล์ม” มุ่งสู่ธุรกิจผลิต “ยารักษาโรค” รายใหญ่ของสหรัฐฯ https://positioningmag.com/1289844 Wed, 29 Jul 2020 09:21:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289844 บริษัทเก่าเเก่ที่เคยรุ่งเรืองด้านการผลิตฟิล์มกล้องถ่ายรูปอย่าง Eastman Kodak กำลังจะก้าวสู่ยุคใหม่ หันมาผลิต “สารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม” ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการผลิตยารักษาโรค มีความต้องการของตลาดสูงจากวิกฤต COVID-19

โดยบริษัทเพิ่งได้รับอนุมัติเงินกู้มูลค่ากว่า 765 ล้านเหรียญ (ราว 2.4 หมื่นล้านบาท) จากรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้

ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ต้องพึ่งพาการนำเข้าส่วนประกอบของการผลิตยาจากต่างชาติจำนวนมาก โดยเฉพาะจาก “จีน” และ “อินเดียเมื่อเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ทำให้เหล่าผู้ผลิตต้องจำกัดการส่งออกสารเหล่านี้ซึ่งทำให้สหรัฐฯ ต้องเสี่ยงที่จะขาดเเคลนยา

เเละแม้สารประกอบในการผลิตยาสามัญทั่วโลกจะถูกใช้โดยชาวอเมริกันถึง 40% แต่มีแค่ราว 10% เท่านั้นที่ผลิตในสหรัฐฯ

นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการไม่ต้องพึ่งพายาจากต่างประเทศ Peter Navarro ที่ปรึกษาด้านการค้าประจำทำเนียบขาว ให้สัมภาษณ์กับ Fox Business

Kodak ได้ทำสัญญาร่วมกับ สถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (DFC) ว่าจะรับหน้าที่ผลิตสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรม ซึ่งจะใช้ในกระบวนการผลิตยาที่ไม่ใช่ชีววัตถุ (non-biological) ยาที่ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (non-antibacterial) และยาสามัญ สูงสุดถึง 25% ของปริมาณความต้องการในอเมริกา ซึ่งจะทำให้ Kodak กลายเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยาชั้นนำของประเทศเลยทีเดียว

โดยจะมีการขยายโรงงานที่นครนิวยอร์กและรัฐมินนิโซตา เพื่อเป็นฐานการผลิตสารสำคัญของตัวยาที่สำคัญ เเละคาดว่าจะเพิ่มการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมได้ถึง 1,500 ตำแหน่ง

Kodak เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นมาตั้งเเต่ปี 1888 มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ราว 114.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เเต่ผลประกอบการไม่สู้ดีนักในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลังธุรกิจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล เเละสมาร์ทโฟนที่เข้ามามีบทบาทแทนที่กล้องและฟิล์ม โดยการหันทิศทางธุรกิจเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตยาครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญที่บริษัทจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง 

 

ที่มา : Reuters , AFP , DFC

]]> 1289844 อาชีพมาแรง! “ยูทูบเบอร์-บล็อกเกอร์” Sony สบโอกาสจัดทัพกล้องสู้ศึกมือถือ https://positioningmag.com/1243638 Fri, 23 Aug 2019 07:55:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1243638 โลกออนไลน์วันนี้ ได้สร้างโอกาสและอาชีพใหม่ๆ ในสายคอนเทนต์ ยูทูบเบอร์บล็อกเกอร์กลายเป็นอาชีพที่คนรุ่นใหม่สนใจ ใฝ่ฝันเป็นคนดังโซเชียล หากปั้นคลิปปัง ยอดวิวหลักล้าน ก็สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำไม่แพ้งานประจำเช่นกัน เทรนด์นี้ช่วยผลักดันตลาดกล้องอุปกรณ์คู่ใจยูทูบเบอร์โตตาม

ลีลนา เพียรพิริยะ ผู้จัดการอาวุโส แผนกการตลาดผลิตภัณฑ์ดิจิตอล อิมเมจจิ้ง บริษัท โซนี่ ไทย จำกัด กล่าวว่าหากดูภาพรวมตลาดกล้องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาติดลบ 20% แต่ในกลุ่มกล้องพรีเมี่ยม ระดับโปรเฟสชันนอลยังเติบโตได้ดี เพราะกลุ่มนี้มีกำลังซื้อ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจ โซนี่ เติบโตมากกว่าตลาด แม้จะต่ำกว่าปีก่อน

กลยุทธ์ที่นำมาใช้คือเสนอสินค้าระดับบนโดยเฉพาะ กล้องมิลเรอร์เลส ที่เป็นผู้เปิดตลาดเซ็กเม้นท์นี้มากว่า 5 – 6 ปี และเป็นผู้นำมาโดยตลอด และเป็นตลาดที่เติบโตมากที่สุดมีส่วน 30% ของตลาดกล้องทั้งหมด ทำให้เกือบทุกแบรนด์เข้ามาเล่นในตลาดนี้ ล่าสุดปีนี้มีเข้ามอีก 2 – 3 แบรนด์ ครึ่งปีหลังการแข่งขันน่าจะรุนแรงขึ้น

ส่งกล้องเลนส์รุ่นใหม่สู้ศึกมือถือ

ช่วงครึ่งปีหลัง โซนี่ เปิดตัวกล้องรุ่นใหม่ รุ่น เลนส์ 3 ตัว และอุปกรณ์เสริม ทำให้มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพครอบคลุมทุกการใช้งานทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งระดับโปรเฟสชันนอล ในการถ่ายภาพกลางแจ้ง สตูดิโอ เวดดิ้ง แฟชั่น

รวมถึงกลุ่มยูทูบเบอร์และบล็อกเกอร์ อาชีพที่กำลังมาแรง เป็นกลุ่มที่ต้องการสร้างวิดีโอ คอนเทนต์ให้ได้ภาพสวยคมชัด ซึ่งเป็นการทำงานที่เหนือกว่า มือถือราคาแพง และถือเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่โซนี่ จะเข้าไปทำตลาดมากขึ้นในปีนี้

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พบว่ามีการสมัครใช้งาน ยูทูบ ยูสเซอร์เพิ่มขึ้นกว่า 70 – 80% กลุ่มนี้ต้องการสร้างวิดีโอที่มีคุณภาพเพื่อเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่จะเข้าไปทำการตลาด รวมถึงกลุ่มบล็อกเกอร์ ที่ต้องการนำเสนอคลิปวิดีโอที่คมชัด ซึ่งมือถือไม่สามารถทำได้ แต่กล้องโซนี่ทำได้ ด้วยกล้องพรีเมี่ยมคอมแพค RX100 VII ด้วยราคาเริ่มต้น 17,900 บาท

สินค้ารุ่นใหม่ที่นำมาทำตลาดครึ่งปีหลัง ในกลุ่มดิจิตอล อิมเมจจิ้ง ได้แก่ กล้องอัลฟ่าฟูลเฟรมมิเรอร์เลส รุ่น a7R IV ราคา 114,990 บาท (บอดี้), กล้องพรีเมียมคอมแพ็คท์ RX100 VII ราคา 38,990 บาทเลนส์ รุ่น FE 35mm F1.8 ราคา 22,990 บาทเลนส์ GM รุ่น FE 600mn F4 GM OSS ราคา 459,990 บาทเลนส์ รุ่น FE 200 – 600mm F5.6 – 6.3 G OSS ราคา 69,990บาท และอุปกรณ์เสริมอย่างกริปรุ่นใหม่ VG – C4EM พร้อมแบตเตอรี่ NP – FW50 และ ECM – B1M Shotgun Microphone เป็นต้น โดยมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพครอบคลุมทุกการใช้งาน ทุกกลุ่มเป้าหมาย

ชูกลยุทธ์ KOL ทำตลาด

ในส่วนของการทำตลาดนั้น จะใช้ช่องทางออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ KOL หรือกลุ่มคนที่ใช้งานกล้องจริงเพื่อช่วยเผยแพร่ รวมถึงการใช้อินฟลูเอนเซอร์นำเสนอสินค้า ซึ่งแต่ละปีบริษัทใช้งบการตลาดในส่วนของออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทุกปี แต่ยังเป็นส่วนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับออนกราวด์ และสื่อหลักที่ยังคงใช้ประกอบกัน

จากแผนการนำเสนอสินค้าใหม่ในครึ่งปีหลังนี้ มั่นใจรายได้เติบโตอย่างน้อย 1 หลัก หรือเติบโตมากกว่าตลาด ซึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ดิจิตอล อิมเมจจิ้ง เป็นกลุ่มที่ทำรายได้ให้บริษัทอยู่ในอันดับ 2 รองจากทีวี ส่วนอันดับ 3 คือ เกมส์ และ อันดับ 4 คือ เครื่องเสียง.

source

]]>
1243638