กันตนาแอนนิเมชั่น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 27 Mar 2008 00:00:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เดลล์ มอบเครื่องเวิร์กสเตชั่น Precision 490 ให้โรงเรียนกันตนา https://positioningmag.com/40097 Thu, 27 Mar 2008 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=40097

ในภาพ: นายอโณทัย เวทยากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (กลาง) ร่วมสนับสนุนวงการแอนิเมชั่นในไทย โดยมอบเครื่องเวิร์กสเตชั่น Precision 490 จำนวน 4 เครื่องให้กับบริษัท กันตนา เอ็ดดูเทนเมนท์ (อินเตอร์เนชั่นแนล) จำกัด โดยมีนายจาฤก กัลย์จาฤก ประธานคณะกรรมการ (ซ้าย) และ นางปนัดดา ธนสถิตย์ ประธาน บริษัทกันตนา เอ็ดดูเทนเมนท์ (อินเตอร์เนชั่นแนล) จำกัด เป็นผู้รับมอบ โดยเวิร์กสเตชั่น ดังกล่าวจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนหลักสูตร Entertainment Media ด้านการสร้างแอนิแมชั่น ที่ทางกันตนาเปิดสอนร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

]]>
40097
เอไอเอส ฟิวเจอร์ เวิลด์ ต้อนรับ “ก้านกล้วย” และ “ชบาแก้ว” https://positioningmag.com/29329 Tue, 20 Jun 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=29329

เมื่อเร็วๆนี้ เอไอเอส ฟิวเจอร์ เวิลด์ นำโดยนายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานธุรกิจบริการสื่อสารไร้สาย เอไอเอส (ซ้าย) และนาย ปรัธนา ลีลพนัง ผู้จัดการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ และฟิวเจอร์แล็ป (ขวา) ได้ให้การต้อนรับ “ก้านกล้วย”และ “ชบาแก้ว” 2 ตัวการ์ตูนตัวเอกจากภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น “ก้านกล้วย” ณ เอไอเอส ฟิวเจอร์ เวิลด์ ชั้น 4 สยามพารากอน โดยเอไอเอส ได้ร่วมกับ กันตนา แอนิเมชั่น นำเบื้องหลังการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่น ก้านกล้วย พร้อมเทคนิคและขั้นตอนการทำงานของทีมผู้สร้างตลอดถึงแนวคิดการสร้างตัวการ์ตูนมาเปิดเผยสู่สาธารณชน และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าชมฟรี ณ โรงภาพยนตร์ 360 องศา ที่เอไอเอส ฟิวเจอร์ เวิลด์ ชั้น 4 สยามพารากอน ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 25 มิถุนายน นี้

]]>
29329
เส้นทาง Thai Design in Animation & File https://positioningmag.com/8341 Sun, 05 Feb 2006 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=8341

ในยุคที่แอนิเมชั่น (Animation) กำลังเฟื่องฟู ด้วยเหตุที่มีการประยุกต์เทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมหนังและโฆษณาได้เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ช่วยลดต้นทุนการสร้างหนังฟอร์มยักษ์ระดับฮอลลีวู้ด หรือเติมอรรถรสให้หนังโฆษณามีสีสันเกินจริงได้ จากการใช้ซอฟต์แวร์แพ็กเกจร่วมกับคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่อง

ความมหัศจรรย์นี้ส่งผลให้คนไทยหันมาสนใจงาน Animation หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซอฟต์แวร์ในกระบวนการผลิตกว่า 80% และ Animation กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในตลาดมัลติมีเดีย ทั้งในงานโฆษณา ภาพยนตร์ และเกมที่กำลังสร้างสีสันให้ตลาดโลกอย่างรวดเร็ว

จนสามารถสร้างมูลค่าให้ตลาดซอฟต์แวร์สูงกว่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี แต่ทุกวันนี้ตลาดยังขาดแคลนบุคลากรด้านซอฟต์แวร์ เพื่อเข้าไปรองรับการเติบโตของตลาดอีกมาก…แล้วคนไทยจะมีโอกาสเข้าไปเป็นหนึ่งในมันสมองของตลาดนี้ได้อย่างไร?

ค้นหาเส้นทางสู่ Animation Designer ได้จากเวที “Thai Design in Animation & Film” หนึ่งในหัวข้อสัมมนาที่ได้รับความสนใจสูงในงาน Thailand Animation & Multimedia 2006 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

“ก้านกล้วย” บทพิสูจน์ Thai Animation

นับว่า “ก้านกล้วย” เป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวชิ้นแรกของไทยที่ใช้ Computer Graphic ในการผลิตงานทั้งหมด โดยบริษัท กันตนา แอนิแมชั่น จำกัดทุ่มทุนสร้างกว่า 100 ล้านบาท เพื่อให้ได้ภาพยนตร์การ์ตูนย้อนประวัติศาสตร์เรื่องยาวที่มีกำหนดออกฉายในเดือนมีนาคม 2549 นี้ หลังจากเคยนำร่องเสนอการ์ตูนแอนิเมชั่น “สุดสาคร” ผ่านจอแก้วไปก่อนหน้านี้

คมพิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แอนิเมชั่น “ก้านกล้วย” อธิบายว่า เหตุผลที่ “ก้านกล้วย” ตั้งใช้เวลาและทุนการผลิตมากเกินที่กำหนดไว้ เนื่องจากงานภาพยนตร์ Animation ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับนักพัฒนาคนไทย รวมทั้งทีมพัฒนาของกันตนาฯ

ในช่วงกำหนดแผนการผลิต ใช้การคาดคะเน เพราะยังไม่เคยมีใครผลิตงาน Animation เป็นภาพยนตร์เรื่องยาวขนาดนี้ออกมาก่อน ส่งผลให้ต้องใช้เวลาในการศึกษา และยืดเวลากระบวนการผลิตออกไป

“ช่วงแรกเราเตรียมงบไว้เพียง 40-50 ล้านบาท และคิดว่าน่าจะใช้เวลาผลิตไม่เกินปีครึ่ง แต่พอลงมือทำจริง เป็นไปไม่ได้ เพราะงาน Animation ต้องใช้ซอฟต์แวร์ในกระบวนการผลิต ทั้งงานออกแบบ ดีไซน์คาแร็กเตอร์ แล้วนำสิ่งที่ได้มาสร้างเป็นเรื่องราว จึงต้องใช้เวลาเกือบ 3 ปี”

นั่นเป็นสิ่งที่ทีมนักพัฒนาคนไทยค้นพบ และต้องทำการบ้านหนักขึ้น ด้วยการศึกษาข้อมูล แผนงาน กระบวนการผลิตจากภาพยนตร์การ์ตูนในต่างประเทศ ซึ่งได้ข้อสรุปว่างาน Animation ในระดับภาพยนตร์ต้องใช้เวลา และต้นทุนสูง โดยเฉพาะต้นทุนเทคโนโลยีและบุคลากร

“งาน Wall Disney 1 ก็ต้องใช้เวลาเกือบ 5 ปี หรือบางแห่งก็ 3 ปี แต่เขาใช้ทุนมากกว่าเราเกือบ 3 เท่า”
ดังนั้นกันตนาฯ จึงดึงทีม Animation Design ที่มีประสบการณ์ในต่างชาติเข้ามาสอนงานคนไทย เพื่อวางโครงสร้างงาน “ก้านกล้วย” ในเบื้องต้น กลายเป็นโอกาสดีให้ทีมกันตนาฯ ได้เรียนรู้ และนำเทคนิคมาประยุกต์ใช้ในสไตล์ไทยๆ ได้ง่ายขึ้น ก่อนจะเดินหน้าผลิตงานที่เหลือเกือบ 80% ให้จบ

ตรงนี้สร้างความท้าทายให้ทีมผลิต “ก้านกล้วย” ไม่น้อย เพราะเป็นงานชิ้นสร้าง Profile พิสูจน์ฝืมืองาน Animation ให้ได้คุณภาพไม่ด้อยไปกว่านานาชาติ เพื่อสร้างโอกาสและเป็นใบเบิกทาง Thai Animation ก้าวไปสู่ตลาดระดับโลก จึงไม่ง่ายนักที่มือใหม่หัดขับอย่างงาน “ก้านกล้วย” จะผ่านฉลุยเป็นที่รู้จักในตลาดอย่างรวดเร็ว

แต่หากไม่มีจุดเริ่มต้นอนาคต Thai Animation อาจจะเป็นเพียงหนึ่งจินตนาการที่ถูกบรรจุไว้ในประวัติศาสตร์ไทยเท่านั้น

ชูจุดขายเอกลักษณ์ไทย

“โอกาสที่หนังไทยจะไปตีตลาดต่างประเทศได้นั้น ต้องสื่อเอกลักษณ์ความเป็นไทยออกมาได้ชัดเจน เพื่อสร้างความต่างในตลาด ตัวเอย่างเช่น “นางนาค” และ “บางระจัน” ที่เคยสร้างชื่อในตลาดระดับโลกมาแล้ว”

ปรัชญา ปิ่นแก้ว ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง “องค์บาก” และ “ต้มยำกุ้ง” อธิบายว่า ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องไม่ได้ขายเอกลักษณ์ไทยทื่อๆ แต่เลือกสื่อเฉพาะวัฒนธรรมไทยที่น่าสนใจ และมั่นใจว่าขายได้เลือกหยิบนำเสนอให้โดนใจตลาด อาทิ บรรยากาศเรือนไทยริมน้ำที่ปัจจุบันคนไทยเองแทบจะลืมไปแล้ว การแต่งกาย ทรงผมก็ควรเน้นความสมจริง เช่นเดียวกับการสร้างฉากหรือเลือกสร้างบรรยากาศให้ได้อารมณ์เดียวกัน

ในความเป็นจริงอาจจะไม่สามารถหาฉากได้จริง จึงต้องนำเทคโนโลยีซอฟต์แวร์หรือเทคนิคด้าน Graphic Design เข้ามาช่วย เพื่อสร้างความสมจริงให้กับภาพยนตร์ โดยเฉพาะฉากย้อนยุคในเรื่อง “นางนาค” และ “บางระจัน” ต้องใส่ใจกับรายละเอียดให้สมจริง จึงต้องรีเสิร์ช และข้อมูลที่อ้างอิงมากขึ้น เพราะฉาก 90% ในหนังประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่

“ที่ผ่านมาหนังไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเยอะ ชนิดก๊อบปี้ได้แม้กระทั่งรอยยิ้ม จนไม่รู้สึกแตกต่าง สังเกตหนังไทยที่ขายได้ก็เน้นเอกลักษณ์ไทย อาทิ องค์บาก ที่เราเลือก Shop เอกลักษณ์ไทยขึ้นมาขาย รวมกับงานดีไซน์ ทั้งฉาก แสง สี และการแต่งกาย แม้กระทั่งท่าแม่ไม้มวยไทยยังต้องเลือกเฉพาะท่าที่ไม่คล้ายมวยกังฟู เพื่อให้ได้เอกลักษณ์ไทยที่แตกต่างจริงๆ”

แต่ “เอกลักษณ์ไทย” ก็ไม่จำเป็นต้องยึดฟอร์มเดียวกับอดีตเสมอไป เพราะงานดีไซน์เป็นศิลปะที่ต้องพัฒนาขึ้นใหม่ได้ แต่ต้องไม่ทิ้งความเป็นเอกลักษณ์ไทย หรือเรียกว่างานใหม่ว่า “ไทยประยุกต์” ก็ได้

ปรัชญา มองว่า ตรงนี้จะสร้างโอกาสให้หนังไทยสามารถเข้าไปตีตลาดต่างประเทศได้ เพราะคนไทยเลือกขายความแตกต่าง

ขณะเดียวกันบุคลากร Production Designer หรือ Animation Designer จะต้องเรียนรู้ประสบการณ์ให้หลากหลาย เพื่อฝึกฝนตัวเองให้มีคุณภาพ และพร้อมจะปรับเปลี่ยน หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ตามที่ตลาดต้องการ อาทิ Production Design ในงานโฆษณา เกม หรือสร้างฉากในภาพยนตร์ฟอร์มเล็กก่อน เพื่อปูทางสู่งานชิ้นโบแดงในอนาคต

Production Design คนไทยสร้างได้

“อาชีพ Production Design เกิดขึ้นในวงการโฆษณา และแพร่หลายไปสู่งานพรีเซนเตชั่นรูปแบบต่างๆรวมทั้งถูกนำมาใช้ในวงการภาพยนตร์ไทยไม่นานนัก เริ่มทดลองครั้งแรกในเรื่อง 2499-อันธพาลครองเมือง และนางนาค ก่อนจะแพร่หลายไปสู่เรื่องอื่นๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตที่ใช้เม็ดเงินสูง และยังสร้างฉากได้เกินจริง”

เอก เอี่ยมชื่น Production Designer ภาพยนตร์เรื่อง “ฟ้าทะลายโจร” อธิบาย

พร้อมให้มองว่าเชิงธุรกิจว่า งานดีไซน์ในรูปแบบไทยๆ ไม่ได้มีอยู่จริง เพราะเทคนิคการใช้เทคโนโลยี และออกแบบได้เรียนรู้มาจากต่างประเทศทั้งนั้น ตั้งแต่ในอดีตที่รับวัฒนธรรมการออกแบบจากอินเดียหรือจีนจนถึงปัจจุบันที่รับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาอย่างเต็มที่เกือบ 100%

เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะสร้างงาน Thai Design ให้แตกต่างต้องมี Thai Style หรือใส่จิตวิญญาณของความเป็นไทยลงไปในงานทุกชิ้น เพื่อสร้างเสน่ห์ให้งาน อาทิ ฉากคนกินหมาก หรือตำน้ำพริก ก็สามารถสื่อได้ความเป็นไทยได้ แม้จะไม่มีบรรยากาศกลางทุ่งนาหรือชนบท

นั่นเพราะจริงๆ แล้วฉากด้านหลังสร้างขึ้นมาได้ เอก ยกตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง “นางนาค” ที่ฉากส่วนใหญ่สร้างขึ้นแทรกกับฉากจริง ตั้งแต่ฉากต้นมะพร้าวริมคลอง ความเก่าของเรือนไทย หรือผักตบชวาในน้ำ เพื่อให้งานรู้สึกมีชีวิต และไม่ผู้ชมจับได้ว่าได้สร้างฉากขึ้นมาใหม่

“หนังแนวย้อนยุคหรือประวัติศาสตร์ไม่จำเป็นต้องสมจริงเสมอไป เสน่ห์มันตรงเราสามารถนำสิ่งที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้กับอะไรก็ได้ เพื่อให้รู้สึกลงตัวและเหมาะสม เช่น บางครั้งผมนำกระป๋องเปล่ามาใส่ต้นใหม่ แล้วหาฉากหรือดินมากลบ เพื่อให้ฉากนั้นดูเป็นธรรมชาติก็ได้”

โฆษณาขุมทรัพย์งาน Production

นอกจากนี้ ปรัชญา ปิ่นแก้ว ยอมรับว่า ขณะนี้งาน Production Design ในภาพยนตร์ไทยยังมีการใช้น้อยมาก เพราะยังไม่มีภาพยนตร์เรื่องไหนกล้าลงทุนกับการใช้เทคนิคพิเศษฟอร์มใหญ่ๆ ได้มากพอ แตกต่างจากตลาดต่างประเทศ เพราะต้องใช้ต้นทุนสูงและคนไทยยังมั่นใจว่าทำออกมาแล้วจะขายได้

ส่งผลให้งาน Production Design ในไทยถูกนำมาใช้ในธุรกิจโฆษณาเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นหนังโฆษณาฟอร์มเล็กที่ใช้ต้นทุนไม่สูง สะดวก และมีกระบวนการทำงานที่สั้น จึงเป็นที่นิยมมากกว่า

“จริงๆ แล้วงาน Production Design เป็นที่รู้จักในตลาดโฆษณามานานแล้ว แต่ไม่ค่อยมีคนหยิบยกขึ้นมาพูด อาจจะเป็นเพราะเป็นงานเบื้องหลังมากกว่า แต่เมื่อนโยบายของประเทศสนับสนุนงานด้าน Animation Design งาน Production ก็เป็นส่วนหนึ่ง และสร้างเม็ดเงินให้นักพัฒนาไทยได้จริง”

พร้อมยอมรับว่าบุคลกรด้าน Production Design ในไทยมีคุณภาพ และมีฝีมือเทียบเท่าต่างประเทศ สังเกตจากปริมาณคนไทยจำนวนมากที่ถูกดึงตัวไปทำงานในต่างประเทศ เพราะ Thai Design มีความคิดสร้างสรรค์ และสร้างานได้ละเอียดกว่าต่างชาติ

Animation แบรนด์ไทยขายได้

ริชาร์ด จาคอบส์ (Richard Jacobs) Offroad Picture บริษัท Circle of Confusion, สหรัฐอเมริกา ให้หลักคิด 2 ประการ คือ งานภาพยนตร์ไทย หรืองาน Thai Animation ที่ต้องการผลิตเพื่อส่งออกนั้น จะต้องเป็นงานคุณภาพที่คิดว่าดีที่สุด เพื่อสร้างโอกาสแข่งขันในเชิงพาณิชย์ได้ และบวกกับความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคนิคพิเศษของคนไทยที่น่าจะสร้างโอกาสในตลาดระดับโลกได้

อาทิ ภาพยตร์เรื่อง “องค์บาก” และ “ต้มยำกุ้ง” ก็ได้สร้างความฮือฮาไม่น้อย สังเกตได้จากนักแสดงนำ “จา-พนม ยีรัมภ์” ก็กลายเป็นขวัญใจคนอเมริกันได้เช่นกัน

แต่ในเบื้องต้น Animation Design ในประเทศไทย ควรมุ่งไปสู่การรับจ้างผลิตงานจากตลาดใหญ่อย่างอเมริกา หรือประเทศที่มีตลาดใหญ่ๆ อาทิ เกาหลี และญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้เทคนิค และแนวคิดการทำตลาด และนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับแนวคิดของคนไทย ซึ่งจะช่วยให้พัฒนาฝีมือได้เร็วขึ้น

โดยเฉพาะงานด้านโฆษณาผ่านสื่อ TV (โทรทัศน์) เพราะเป็นสื่อที่มีความถี่ปรากฏแก่สายตาผู้ชมได้บ่อย และเครือข่าย Animation ผ่าน TV กำลังจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องนำเสนอเทคนิคใหม่ๆ เพื่อสร้างสีสันให้งานกว่า 80% มีคุณภาพและหลากหลาย แตกต่างจากงานดีไซน์ด้าน Cartoon เพียงเดียว

เพราะนั่นจะช่วยลดความเสียงในการทำงาน และสร้างโอกาสในการหารายได้ จากตลาดใหม่ๆ ได้มากขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าตลาดโฆษณาจะยาก และแข่งขันสูง ซึ่งนั่นก็เป็นโอกาสให้สามารถคิดงานใหม่ๆ ด้าน TV Animationได้มีคุณภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ตลาด Game Online ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ และมีความเป็นไปได้สูง เพราะปัจจุบันงานคุณภาพส่วนใหญ่มาจากตลาดเอเชีย อาทิ เกาหลี และญี่ปุ่น ซึ่งคนไทยควรจะเข้าไปเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพชิ้นงานให้ตรงใจตลาดได้

]]>
8341
คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้นำหนัง “ก้านกล้วย” https://positioningmag.com/7094 Thu, 10 Feb 2005 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=7094

“ซน” คือ การ์ตูนซีรี่ส์เรื่องแรกที่กันตนาตั้งใจทำออกมาในแนวแอนิเมชั่น เพื่อพัฒนาประสบการณ์การทำงานเป็นทีม วิธีการเล่าเรื่อง และสร้างความมั่นใจให้กับทีมงานก่อนที่จะมาทำหนังใหญ่ ซึ่ง “ก้านกล้วย” จะเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องยาวเรื่องแรกของกันตนา โดยมี คมภิญญ์ เข็มกำเนิด เป็นผู้ถือหางเสือ

คมภิญญ์ เป็นหนึ่งในคนไทยไม่มากนัก ที่เคยได้ไปร่ำเรียน และทำงานกับสตูดิโอระดับโลกอย่างดิสนีย์มาแล้ว ก่อนที่จะมาร่วมบุกเบิกส่วนงานแอนิเมชั่นให้กับกันตนา

งานหลักของคมภิญญ์ ในขณะนี้ คือ การกำกับภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย ที่ต้องดูแลตั้งแต่ pre production, เขียน scrip, ทำ story board, อัดเสียง ดูแลแอนิเมชั่น โดยตัวเขาจะลงไปทำเองในส่วนของเนื้อเรื่อง, เขียนบท, เขียนสคริป, เขียน story board, ดูแลตัดต่อ ทำ pre production ทั้งหมด แต่ในส่วน animation ได้ใช้ทีมงานที่เคยทำเรื่อง ซน มาก่อนเข้ามาทำงานร่วมกัน ซึ่งเขาจะต้องเป็นผู้กำหนดทิศทางว่าจะให้เรื่องดำเนินไปในแนวทางไหน ให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน

“ที่มันเจ๋งมากก็คือ ตัวละครที่ดูแข็งๆ พอมันเริ่มมีชีวิต เรารู้สึกว่ามันเหนือการควบคุม เมื่อเริ่มดูว่ามันมีชีวิตของมันได้ ก็จะเริ่มมีกำลังใจ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ไปถึงจุดนั้นซะทีเดียว”

การทำหนังใหญ่ในแบบแอนิเมชั่นต้องใช้เวลานานถึง 4-5 ปี จึงต้องใช้ความอดทนมากกว่าการทำหนังโฆษณา หรือหนังฟิล์ม ซึ่งแน่นอนว่าผู้กำกับที่รับบทเป็นผู้ชี้ทิศทางให้ทีมงานดำเนินเรื่องไปในแนวเดียวกันจะต้องใช้ความสามารถในการดึงลักษณะพิเศษของทีมงานแต่ละคนออกมา เพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุด

ประสบการณ์ที่ได้ทำงานร่วมกับทีม Disney ในอเมริกา การสังเกตดูเพื่อนว่าสามารถดึงจุดเด่นของตัวเองออกมาได้อย่างไร ซึ่งการทำงานเป็นทีม อย่างแรกที่ต้องมีคือ ศรัทธา ใครสักคนอาจจะเป็นผู้นำในกลุ่ม มีฝีมือโดดเด่น แล้วอาศัยตรงนั้นเป็นแรงผลัก ให้ค้นหาตัวเอง รู้จักตัวเองมากขึ้น เพื่อดึงส่วนที่ดีที่สุดของตัวเองขึ้นมาได้เข้ามามีส่วนช่วยในการทำงานของเขา

ด้วยความที่ชอบอ่านหนังสือและดูภาพยนตร์ จึงเป็นความใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็กว่าอยากทำหนัง อยากเขียนหนังสือ แต่ด้วยความที่เป็นคนเขียนหนังสือยังไม่เก่ง จึงใช้การเล่าเรื่องผ่านภาพแทน บวกกับในช่วงที่เรียนจบจาก ม.ศิลปากร คอมพิวเตอร์ กราฟิกได้เริ่มเข้ามาในเมืองไทยพอดี จึงได้มีโอกาสสานต่อความฝันด้วยการเล่าเรื่องผ่าน Computer Graphic ทดลองทำไปเรื่อยๆ จนได้มีโอกาสทำงานที่ใกล้ความฝันมากขึ้นเรื่อยๆ

“ตอนที่เลือกทำงานแอนิเมชั่น ก็ไม่ได้คิดว่าจะมีรายได้หรือเปล่า แต่ goal หลักๆ คือ ต้องการที่จะทำงานตรงนี้ ในช่วงที่ตัดสินใจไปเรียนต่อที่ CAL Arts ก็ไม่ได้คิดว่าเรียนมาแล้วจะทำให้มีรายได้หรือไม่ ตอนนั้นไปเพื่ออยากรู้ อยากไปเรียน ซึ่งในช่วงนั้นได้ทำงานมาแล้ว 5 ปี ด้าน computer graphic และ animation จึงได้นำเงินที่สะสมมาทั้งหมด กับเงินทุนจากทางบ้านทุ่มลงไปเพื่อเรียนต่อโดยที่ไม่รู้ว่ากลับมาจะมีงานทำหรือไม่ แต่ผมเชื่อว่าถ้าเราได้ทำอะไรอย่างที่ใจรัก มันจะมีความสุขกับมัน งานก็เริ่มดีขึ้น โอกาสก็เริ่มเข้ามาหา”

งานแอนิเมชั่นเป็นงานที่ทั้งยาก แพง ต้องใช้ความอดทนสูง ใช้เวลานาน คนที่จะมาทำอาชีพนี้จึงต้องรักงานหนัก ต้องมีความรักในสื่อตัวนี้ จากนั้นต้องลงมือทำ อย่าคิดฝันหวานอย่างเดียว เพราะงานจะไม่เกิด และต้องมีความเพียรสุดๆ เปิดความคิดให้กว้างพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา และต้องเป็นนักสังเกต ซึ่งธรรมชาติถือได้ว่าเป็นแม่แบบของงาน animation เมื่อได้ศึกษาก็เอามาถ่ายทอด ทำให้มันเรียบง่ายขึ้น แล้วต้องขยายให้มันเกิดจริง เกินธรรมชาติ คนดูถึงจะสามารถรับข่าวสาร สิ่งที่ต้องการสื่อออกไปได้

นอกจากการสอนที่กันตนา คมภิญญ์ยังเป็นที่ปรึกษาของนักศึกษาปริญญาตรีของ ม.กรุงเทพ, ม. รังสิต และมีบรรยายที่ ม.ศิลปากร ซึ่งเขาเชื่อว่า การสอน เป็นเรื่องจำเป็นอย่างหนึ่งของคนทำงาน ทุกคนควรจะต้องได้สอน เพราะส่วนหนึ่งของการสอนจะต้องมีการเตรียมตัว นั่นทำให้ได้ไปทบทวนความรู้ของตัวเองที่กระจัดกระจายไป เริ่มมาจัดระบบความรู้ของตัวเองให้มีขั้นตอน การสอนทำให้ทำงานได้อย่างเป็นระบบ ระเบียบมากขึ้น ทั้งในแง่ของความคิด และการทำงาน

“ภาพรวมของอุตสาหกรรมนี้ ขึ้นอยู่กับปากท้องของประชาชน ซึ่งธุรกิจนี้น่าจะอยู่ที่ภาวะทางสังคมค่อนข้างสูง อัตรารายได้ที่ได้รับ ในแง่ของคนทำงานแอนิเมชั่น ก็ต้องการที่จะทำงานให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ก็หวังว่าจะมีน้ำเลี้ยงเพียงพอที่จะทำให้เราเติบใหญ่ขึ้นไปได้ ซึ่งคนไทยถือว่ามีจินตนาการที่ล้นเหลือ มีทักษะด้านฝีมือสูง ซึ่งความสามารถด้าน creative แต่ละคนมีความสามารถเฉพาะพิเศษที่แตกต่างกันไป”

เป้าหมายในงาน animation ของคมภิญญ์ คือต้องการให้งานที่ออกมามีช่วงชีวิตยาวนานที่สุด เหมือนซินเดอเรล่า ที่ช่วงชีวิตนานกว่า 50 ปี ซึ่งก้านกล้วย เป็นหนึ่งในผลงานที่พยายามทำงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด และแสดงศักยภาพให้ชาวต่างชาติเห็นว่าฝีมือคนไทยก็ไม่ได้น้อยหน้าใครเช่นกัน

Profile

Name : คมภิญญ์ เข็มกำเนิด
Born : 17 กันยายน 2508
Education :
1995-1998 Bachelor of Fine Arts, Character Animation, California Institute of the Arts
1991 Experimental Film Workshop, National Film Archive, Thailand
1985-1989 Bachelor of Fine Arts, Visual Communication Design, Silpakorn University, Thailand
Career Highlights :
2002-Present Creative Director, Kantana Animation Co.,Ltd
2000-2002 Character Animator, Blue Sky Studios, Feature animated film “Ice Age”
1998-1999 In-between Animator, Walt Disney Feature Animation, Feature animated film “Atlantis” and “Tarzan”
1998 Creator, independent animated film Hide, go Seek
1997 Creator, independent animated film School of Fish
1997 Character Animator, Thrillionair Productions
1996 Creator, independent animated film Itch
1990-1995 Character Animator, The Studio Corp., Thailand
Family : สถานะโสด เป็นบุตรคนที่ 2 ในพี่น้อง 3 คน

]]>
7094
Multimedia & Digital Art Schools https://positioningmag.com/6801 Mon, 22 Nov 2004 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=6801

ด้วยความสำเร็จของภาพยนตร์แอนิเมชั่นหลายๆ เรื่อง เช่น Finding Nemo, Sherk ไปจนถึงอุตสาหกรรมเกมออนไลน์ และเกมบนมือถือ คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าปัจจุบันการออกแบบมัลติมีเดีย เป็นงานที่กำลังได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการอย่างมาก

แม้กระทั่งในบ้านเราเอง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ก็เพิ่งก่อตั้งศูนย์กลางการเรียนรู้ไอซีทีแห่งชาติขึ้น บนชั้น 6 เซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการผลิตบุคลากรด้านไอที ตามเป้าหมายให้ไทยเป็นฮับของธุรกิจมัลติมีเดียของภูมิภาค โดยมีหลักสูตรครอบคลุมทั้งด้าน Animation & Graphics, Web Programming & Script, Hardware & Network Professional, และ Technology Management โดยได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่าง Sun และ Imagimax

รวมทั้ง British Council ที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้งและบริหารศูนย์ฯ และจัดคอร์สมาเสริมทัพด้านการเตรียมพร้อมทักษะภาษาอังกฤษ เนื่องจากหลายหลักสูตรของศูนย์ฯนั้น เชิญผู้บรรยายมาจากต่างประเทศ และใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน

James Shipton ผู้อำนวยการฝ่าย English Language Services, British Council เล่าให้เราฟังว่า หลังจากได้เข้ามาเป็นที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งศูนย์นี้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ศูนย์ฯ พร้อมเปิดให้บริการเมื่อปลายเดือนตุลาคม โดยเปิดรับบุคคลทั่วไปที่สนใจ ผู้ที่ทำงานในสายงานไอทีหรือแอนิเมชั่นอยู่แล้ว และนักเรียนนักศึกษา ซึ่งจะได้รับประกาศนียบัตรที่เป็นใบเบิกทางสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพได้เป็นอย่างดี และเป้าหมายของศูนย์ฯ คือการผลิตบุคลากรด้านไอทีที่สามารถออกไปทำงานได้ในระดับสากล

ศูนย์ฯ ได้เตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้รองรับผู้เข้าอบรม 200 เครื่อง คอร์สกราฟิกเบื้องต้นเปิดสอนการออกแบบด้วย Photoshop, AutoCAD 3D, Lightwave, Studio Max, และ MAYA ส่วนคอร์สที่บริติช เคาน์ซิล รับผิดชอบด้านภาษาอังกฤษสำหรับผู้ปฏิบัติงานไอทีนั้น มีผู้เข้ารับการอบรมรุ่นบุกเบิกเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาสื่อและโปรแกรมเพื่อการศึกษา จากกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 20 คน เข้ามารับการอบรม Intensive Course 5 วัน มีเสียงตอบรับว่าเป็นโปรแกรมที่ได้ผลและช่วยให้เข้าใจการทำงานได้ดีขึ้นมาก

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่สนใจคอร์สฝึกอบรมระยะสั้นด้านมัลติมีเดียนั้น นอกจากที่ศูนย์กลางการเรียนรู้ไอซีทีแห่งชาติแล้ว ยังมีสถาบันเอกชนอีกหลายแห่งที่เปิดสอนอยู่ในขณะนี้ อาทิ กันตนา แอนิเมชั่น สคูล ที่เน้นหลักสูตรคอมพิวเตอร์กราฟิกแอนิเมชั่นโดยเฉพาะ มีทั้งคอร์สพื้นฐาน 3D, 2D ไปจนถึงขั้นสูง เช่น การออกแบบ และการสร้างสตอรี่บอร์ด ส่วนอีกสถาบันคือ SAE Bangkok ก็มีคอร์ส Diploma in Audio Engineering, Diploma in Multimedia Production, Diploma in Digital Film Production และ Certificate in Basic Maya (CMA)

สำหรับนักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อและมีวุฒิการศึกษาด้านนี้โดยเฉพาะ ล่าสุดจากงานเปิดบ้านของวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แนะนำหลักสูตรปริญญาตรีศิลปบัณฑิตสาขาวิชามัลติมีเดียดีไซน์ ซึ่งเป็นการจับมือกับสถาบันศิลปะและการออกแบบเบอร์มิงแฮม (BIAD) มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลอิงแลนด์ (UCE) ประเทศอังกฤษ ซึ่งผู้เรียนจะได้วุฒิ BA (Hons.) Animation and Moving Image และ BFA Multimedia Design ของ BIAD ด้วยการเรียนที่ ม.ศิลปากร ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเดินทางไปเรียนที่อังกฤษมาก

อาจารย์ วัฒนพันธุ์ ครุฑะเสน ผู้อำนวยการหลักสูตร บอกถึงความเป็นมาของการเปิดหลักสูตรนานาชาติด้านมัลติมีเดียดีไซน์ว่า เป็นไปตามความต้องการบุคลากรของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และการออกแบบ ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว และแนวโน้มความนิยมเรียนด้านนี้ ประกอบกับ ม.ศิลปากร มีชื่อเสียงด้านศิลปะอยู่แล้ว ส่วน BIAD ก็เป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และต้องการขยายตลาดมายังนักศึกษาทางเอเชียด้วย จึงเกิดความร่วมมือในการเปิดหลักสูตรขึ้น เพื่อผลิตบัณฑิตออกไปทำงานด้าน website, interactive media, video and sound production, game design, post production หรือ special effects และเริ่มเปิดสอนในปีนี้เป็นรุ่นแรก

หลักสูตรนี้เปิดรับนักศึกษาประมาณปีละ 60 คนเท่านั้น เนื่องจากการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ จึงกำหนดคุณสมบัติให้ต้องมีคะแนน TOEFL ไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน (paper-based test) หรือ IELTS 6.0 หรือสำหรับคนที่ไม่มีผลสอบดังกล่าวต้องเข้าทดสอบภาษาอังกฤษด้วยข้อสอบของมหาวิทยาลัยก่อน จึงจะสามารถเข้าสัมภาษณ์รอบแรกได้ ก่อนที่จะเข้าทดสอบดรออิ้งและการออกแบบ จากนั้นต้องสอบสัมภาษณ์อีกครั้ง

นอกเหนือจากที่มหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว หลักสูตรด้านมัลติมีเดียที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ยังมีอีกหลายแห่ง (ดูในตาราง) ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสที่เปิดกว้างอย่างมาก ในการเข้าสู่แวดวงการทำงานด้านมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Multimedia Engineer, Visualize and Sound Engineer, Computer Graphics & Multimedia Designer, Digital Content Developer, Mobile Application Developer, Game Developer ไปจนถึงแวดวงคนทำหนังที่นับวันเทคโนโลยีถูกดึงเข้ามาใช้ในงานโพรดักชั่นมากขึ้น

เว็บไซต์ของสถาบัน
1. หลักสูตรนานาชาติด้านมัลติมีเดียดีไซน์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากรhttp://www.suic.su.ac.th/program_md.php?lang=th

2. หลักสูตรวิศวกรรมระบบมัลติมีเดียและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://eng.bu.ac.th/multi/multi.html

3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ – มัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีhttp://www.kmutt.ac.th/organization/Education/Computer/TBachelorAbout.html

4. หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ตส์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมhttp://www.spu.ac.th/arc_tect/dga/index.html

5. ศูนย์กลางการเรียนรู้ไอซีทีแห่งชาติ
http://www.sipa.or.th/ict/blue.html

6. กันตนา แอนิเมชั่น สคูล
http://www.kantana.com/animationschool/main.htm

7. SAE Bangkok
http://www.saethailand.com/thai/index.html

]]>
6801