การใช้โซเชียลมีเดีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 31 May 2024 06:53:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คนต่างเจนฯ เล่นโซเชียลมีเดียต่างกัน https://positioningmag.com/1476147 Fri, 31 May 2024 06:53:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1476147 ข้อมูลจากเอเจนซี YDM Thailand แยกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่คนแต่ละเจนเนอเรชันชอบใช้งาน พบว่าแต่ละเจนฯ มีโซเชียลมีเดียยอดฮิตต่างกัน

จุดสังเกตคือยุคนี้คน Gen Z ไม่เล่น Facebook แล้ว ขณะที่คน Gen X ก็ไม่เล่น Instagram

แต่มีแพลตฟอร์มที่คนทุกเจนเนอรชันเล่นเหมือนกันคือ YouTube และ TikTok สะท้อนให้เห็นว่าคนทุกวัยชอบคอนเทนต์ที่เป็นวิดีโอเป็นหลัก

สิ่งที่แบรนด์ควรรู้ก็คือ คนไทยใช้เวลาเล่นโซเชียลมีเดียมากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน

และ 46% ของคนไทยเชื่อรีวิวสินค้าจากอินฟลูเอนเซอร์ ทำให้การเลือกโซเชียลมีเดียและอินฟลูเอนเซอร์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายจะช่วยส่งเสริมยอดขายแบรนด์ได้สูงมาก

#โซเชียลมีเดีย #GenZ #GenY #GenX #แบรนด์ #กลยุทธ์การตลาด #positioningonline

]]>
1476147
อัพเดต ! สถิติใช้ “โซเชียลมีเดีย” ทั่วโลก 2 ชั่วโมง/วัน ไม่ต่ำกว่า 7 แพลตฟอร์ม https://positioningmag.com/1147413 Tue, 21 Nov 2017 04:34:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1147413 โกลบอลเว็บอินเด็กซ์ (GlobalWebIndex) เผยรายงานพฤติกรรมผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน พบว่ามีการใช้งานมากกว่าสองชั่วโมงต่อวันบนแพลตฟอร์มอย่างน้อย 7 แพลตฟอร์ม

โดยผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจนี้มีทุกกลุ่มอายุ ใน 40 ประเทศ จำนวน 89,029 คน ซึ่งจากโพลล์พบว่า 98 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าตนเองมีแอคเคาน์โซเชียลมีเดียอย่างน้อย 1 แอคเคาน์ และโดยเฉลี่ยพวกเขามีแอคเคาน์ที่ใช้งานประจำประมาณ 7.6 แอคเคาน์เลยทีเดียว 

โดยกลุ่มที่มีแอคเคาน์มากที่สุดคือกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 16 – 34 ปี ที่มีประมาณ 8.7 แอคเคาน์ ส่วนกลุ่มที่อายุ 55 ปีขึ้นไปพบว่ามีน้อยที่สุดคือประมาณ 4.6 แอคเคาน์ต่อคน 

สำหรับภูมิภาคที่พบว่ามีการใช้งานโซเชียลมีเดียสูงที่สุดคือละตินอเมริกาที่ 8.8 แอคเคาน์ รองลงมาคือเอเชีย 8.1 แอคเคาน์ เวลาเฉลี่ยที่ใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียคือ 2 ชั่วโมง 15 นาทีต่อวัน (รวมเวลาที่ใช้บริการแชทแล้ว)

ด้านพฤติกรรมการใช้งานนั้น ปัจจุบันใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อตามติดข่าวสารต่าง ๆ และใช้เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูง อีกข้อหนึ่งคือการรับชมวิดีโอ โดย 56 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) ยอมรับว่าพวกเขาดูวิดีโอออนไลน์ 1 คลิปเป็นอย่างน้อยในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่อินสตาแกรมและสแนปแชทนั้นพบว่ามีน้อยกว่า ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์

น่าสนใจตรงที่เมื่อพูดถึงการเสิร์ชหาสินค้า รายงานดังกล่าวพบว่าในกลุ่มอายุ 16 – 24 ปีนั้น ระบุว่า ปุ่ม Buy บนโซเชียลมีเดียสามารถกระตุ้นให้เขาเกิดการซื้อได้เพียง 13 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนกลุ่มอายุอื่น ๆ ก็ยิ่งน้อยลงไปกว่านี้มากเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ จึงอาจสรุปได้ว่า การใช้งานโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคนั้นยังคงเติบโต แต่ถ้าจะใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อนั้นคงเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาอีกสักนิด

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000117399

]]>
1147413
ส่องธุรกิจ “ประกัน” ใช้โซเชียลมีเดียอย่างไรคุยกับผู้บริโภค https://positioningmag.com/1138352 Sun, 03 Sep 2017 18:55:26 +0000 http://positioningmag.com/?p=1138352 คนไทยใช้โซเชียลมีเดียสูงอย่างต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบันมีการใช้เฟซบุ๊กทะลุ 47 ล้านยูสเซอร์เข้าไปแล้ว มีการเติบโต15% หรือคิดเป็น 71% ของจำนวนประชากรไทย มีการใช้อินสตาแกรม 11 ล้านยูสเซอร์ เติบโต 41% และทวิตเตอร์ 9 ล้านยูสเซอร์ เติบโต 70%

ทำให้โซเชียลมีเดียกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของแบรนด์ในยุคนี้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค Thoth Zocial ได้ทำการเก็บข้อมูลการใช้โซเชียลมีเดียของแต่ละอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 เพื่อให้นักการตลาดปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้

ถ้าดูภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมพบว่าธุรกิจไอที และดิจิทัลแอคทีฟในโซเชียลมีเดียมากที่สุด มีการโพสต์รวม 13,158 โพสต์แต่เอ็นเกจเมนต์ไม่สูงมาก ธุรกิจที่มีเอ็นเกจเมนต์กับผู้บริโภคมากที่สุดคือสินค้า Personal Careg มีการโพสต์คอนเทนต์น้อย แต่มีค่าเฉลี่ย 341,165 เอ็นเกจ

จากภาพจะเห็นได้ว่ากลุ่มธุรกิจประกันภัย และประกันชีวิตยังมีการทำตลาดด้วยโซเชียลมีเดียน้อย ทั้งการโพสต์น้อย และเอ็นเกจเมนต์น้อย มีโอกาสที่จะใช้เครื่องมือนี้มากขึ้น ทำให้ Thoth Zocial เจาะข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจประกันแต่ละแบรนด์ว่ามีพฤติกรรมบนโซเชียลมีเดียอย่างไรบ้าง โดยมีการแบ่งกลุ่มทั้ง “ประกันชีวิต” และ “ประกันภัย”

3 แบรนด์ในกลุ่มธุรกิจประกันชีวิตที่มียอดเอ็นเกจเมนต์ในเฟซบุ๊กสูงที่สุดได้แก่ FWD, Allianz Ayudhya และ AIA ค่าเฉลี่ยเอ็นเกจเมนต์ของทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ 5,054 แบรนด์ FWD มียอดการโพสต์คอนเทนต์สูงที่สุด 375 โพสต์ และมียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุดเช่นกัน

3 แบรนด์ประกันภัยที่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุด ได้แก่ โตเกียว มารีน, ไทยวิวัฒน์ และ กรุงเทพ ประกันภัย กลุ่มประกันภัยไม่ค่อยมีการแอคทีฟมากนักบนโซเชียลมีเดีย ค่าเฉลี่ยเอ็นเกจเมนต์ของทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ 237 เอ็นเกจ แบรนด์ทิพยประกันภัยมีการโพสต์คอนเทนต์มากที่สุด 329 ครั้ง แต่มียอดเอ็นเกจเมนต์น้อย ส่วนแบรนด์โตเกียวมารีนมีการโพสต์น้อย แต่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุด

ผู้บริโภคเอ็นเกจกับแบรนด์ประกันช่วง 9 โมงมากสุด

เจาะถึงเรื่องเวลาที่ผู้บริโภคจะเอ็นเกจกับแบรนด์ประกันมากที่สุด พบว่าอยู่ในช่วง 9 โมงเช้าของทุกวัน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าแบรนด์นิยมโพสต์ในช่วงเวลานี้มากที่สุด แบรนด์สามารถคิดคอนเทนต์ หรือทำกิจกรรมกับผู้บริโภคในช่วงเวลานี้ได้

แบรนด์ประกันบนทวิตเตอร์

ช่องทางทวิตเตอร์ยังเป็นช่องทางที่มีไม่กี่แบนด์ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร 3 แบรนด์ประกันชีวิตที่มียอดเอ็นเกจเมนต์มากที่สุดบนทวิตเตอร์ได้แก่ ไทยประกันชีวิต, กรุงไทยแอกซ่า, เมืองไทยประกันชีวิต แบรนด์ไทยประกันชีวิตมียอดแอคทีฟมากที่สุดทั้งโพสต์มากที่สุด และยอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุด

3 แบรนด์ประกันชีวิตที่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุดในทวิตเตอร์ ได้แก่ โตเกียวมารีน, กรุงเทพ ประกันภัย และทิพยประกันภัย

แบรนด์ประกันบนอินสตาแกรม

ช่องทางอินสตาแกรมยังมีการใช้น้อยอยู่เช่นกัน 3 แบรนด์ประกันชีวิตที่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุด ได้แก่ FWD, ไทยประกันชีวิต และเมืองไทย ประกันชีวิต แบรนด์เมืองไทยประกันชีวิตมีการโพสต์คอนเทนต์มากที่สุด และแบรนด์ FWD มียอดเอ็นเกจเมนต์เยอะที่สุด

ส่วนแบรนด์ประกันภัยมีเพียงแค่ 2 แบรนด์ที่ทำตลาดผ่านช่องทางอินสตาแกรม ได้แก่ ทิพยประกันภัย และ MSIG

แบรนด์ประกันบนยูทิวบ์

แน่นอนว่าช่องทางยูทิวบ์คงหนีไม่พ้นเจ้าพ่อดราม่าอย่างไทยประกันชีวิตที่ครองอันดับหนึ่งมียอดเฉลี่ยคนดูยูทิวบ์มากที่สุด รองลงมาเป็น AIA และเมืองไทยประกันชีวิต

ส่วนแบรนด์ประกันภัย 3 แบรนด์ที่มียอดเอ็นเกจเมนต์มากที่สุดบนยูทิวบ์ ได้แก่ ไทยวิวัฒน์, กรุงเทพประกันภัย และทิพยประกันภัย

ธุรกิจประกันกันบนพันทิป

ในช่องทางพันทิปก็มีคนตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องราวของประกันอยู่ 647,512 กระทู้ อันดับหนึ่งที่พูดคุยกันมากที่สุดคือ ประกันภัยรถ 1,219 กระทู้ รองลงมาคือประกันสุขภาพ 911 กระทู้ ประกันภัยการเดินทาง 718 กระทู้ ประกันสินเชื่อบ้าน 360 กระทู้ และประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ แบรนด์สามารถเข้าไปพูดคุย รวมถึงให้คำแนะนำได้ แต่อย่าขายของจนเกินไปเพราะจะทำให้แบรนด์เสียหายในทันที

ใครคุยถึงเรื่องประกันกันบ้าง

เจาะลงไปถึงข้อมูลประชากรของผู้บริโภคที่สนใจด้านประกันชีวิตบนเฟซบุ๊ก พบว่าผู้ชาย 51% สนใจมากกว่าผู้หญิงที่ 49% อาจจะเป็นเพราะว่าผู้ชายมีความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพมากกว่าผู้หญิง

บนโซเชียลมีเดียผู้บริโภคพูดคุยเกี่ยวกับประกันชีวิตมากที่สุด 48.1% รองลงมาคือประกันสุขภาพ 30.7% และประกันการเดินทาง 20.7% ส่วนช่องทางที่มีการพูดคุยมากที่สุดยังคงเป็นเฟซบุ๊ก 37.1% พูดคุยในช่องคอมเมนต์ของผู้บริโภคเอง 37.5% และงานสัมมนา 37.5%

แยกตามพื้นที่ที่ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประกันมากที่สุด ตามกลุ่มธุรกิจ กลุ่มประกันชีวิต 5 จังหวัดที่มีการค้นหามากที่สุด ได้แก่ หนองบัวลำภู, ลำพูน, สมุทรปราการ, น่าน และ กทม. กลุ่มประกันสุขภาพ ได้แก่ ปทุมธานี, สมุทรปราการ, นนทบุรี, ระยอง และ กทม. ส่วนประกันอุบัติเหตุ ได้แก่ สมุทรปราการ, นนทบุรี, กทม., ชลบุรี และประทุมธานี

3 หัวข้อที่ทำการพูดถึงบนโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือ สอบถามข้อมูล 39% บริการ 17% และสนใจซื้อบริการ 10% แบรนด์ต้องเข้าไปให้ข้อมูลกับผู้บริโภคอย่างเต็มที่ เพราะตอนนี้ส่วนใหญ่มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากโซเชียลมีเดียทั้งสิ้น

เห็นไว้ว่าแบรนด์ประกันสามารถใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำตลาดได้ ตอนนี้ยังมีการใช้น้อยอยู่ก็ตาม แต่มีแนวโน้มในการเติบโตได้ ส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับธุรกิจประกันเป็นในแง่ลบ มีพนักงานขายตามตื๊อ เป็นการขายของในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แบรนด์จึงใช้โซเชียลมีเดียในการสร้างเอ็นเกจเมนต์เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น.

]]>
1138352