ก้าวคนละก้าว – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 22 Dec 2017 04:29:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 2 ล้านข้อความ-Engagements 100 ล้านครั้ง กระแสความปัง พี่ตูน-โครงการ ‘ก้าวคนละก้าว’ https://positioningmag.com/1151293 Fri, 22 Dec 2017 02:43:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151293 ต้องย้อนกลับมาดูกลยุทธ์ในการทำการตลาดออนไลน์ ว่าเดินมาถูกทางหรือไม่ การจะเกิด “ไวรัล” แคมเปญได้นั้นจะอาศัยเพียงแค่ ‘ปัง’ ในวันที่ปล่อยแคมเปญไม่ได้ ต้องคำนึงถึง Sentiment ของกระแสที่จะเกิดขึ้นด้วย หากเป็นเรื่องดี ๆ ก็จะได้แรงชาวโซเชียลช่วยกระพือให้กับแบรนด์ได้มากขึ้น และการใช้ Influencer ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้แคมเปญนั้น ๆ ประสบความสำเร็จได้

ในวันที่บทความนี้ออกไปคาดว่า “พี่ตูน” คงวิ่งจนใกล้ถึงจุดหมายปลายทางเต็มทีแล้ว (ในขณะที่ยอดเงินบริจาคนั้นได้ทะลุเป้าหมายไปเรียบร้อยแล้ว) ก่อนที่พี่ตูนจะวิ่งจนถึงแม่สาย เรามาลองมาดูกันก่อนหน่อยดีกว่า ว่าที่ผ่านมาชาวโซเชียลมีปฏิกิริยาอย่างไรกับแคมเปญนี้กันบ้าง

บริษัท THOTH ZOCIAL ได้ทำการเก็บข้อมูลการพูดถึงโครงการ ก้าวคนละก้าว ในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน จนถึง วันที่ 10 ธันวาคม 2560 (ซึ่งยอดบริจาคนั้นทะลุ 700 ล้านบาทตั้งแต่ช่วงวันที่ 9 ธันวาคม) โดยชาวโซเชียลได้มีการพูดถึงโครงการนี้ทั้งหมด “มากกว่า 2 ล้านข้อความ” และได้รับค่า “Engagements มากกว่า 100 ล้านครั้ง”

Top Engagement Content

Facebook

  • Reaction : > 224K
  • Comment : > 10K
  • Share : > 86K

Twitter

  • Like : > 11K
  • Retweets : > 96K

Instagram

  • Like : > 480K
  • Comments : > 500

Word Clouds

มีคนดูพี่ตูนวิ่งผ่าน Live มากแค่ไหน?

ในช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน – 10 ธันวาคม

มีคนดู Live พี่ตูนวิ่งจากเพจก้าวคนละก้าว (นับยอดคนดูเฉพาะตอนที่ LIVE โดยไม่รวมคนดูย้อนหลัง) ทั้งหมด 3,256,643 Views เฉลี่ยประมาณ 24,000 Views ต่อ Live และได้รับ Engagement บน Live ทั้งหมด 8,132,227 ครั้ง

โดยยอด View สูงสุดคือจำนวน 74,400 Views โดยเกิดขึ้นบน Live ในวันที่ 3 ธันวาคม ช่วงสามทุ่มครึ่งที่พี่ตูนวิ่งในโซนกรุงเทพฯ นั่นเอง

โดยช่วงเวลาที่คนนิยมเข้าไปดู Live ก็จะเป็นคลิปที่ถูก Live ในช่วงเย็น ๆ ของทุกวัน หรือสาย ๆ ของวันจันทร์และอังคาร

หากดู ‘โพสต์ทั้งหมด’ บนเพจ “ก้าว” พบว่าอัตราการ Engagement ในรูปแบบต่าง ๆ มีแนวโน้มแตกต่างกันเล็กน้อย โดยที่ค่า Reactions และ Comment นั้นมีค่าเฉลี่ยค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ Share มีแนวโน้มที่ค่อย ๆ ลดลง ซึ่งอาจหมายถึงคนยังคงให้ความสนใจและติดตามเหมือนเดิม แต่ด้วยแคมเปญดำเนินมาระยะเวลาหนึ่งการแชร์เพื่อประกาศตัวตนหรือช่วยกระจายจึงค่อย ๆ ลดลง

สำนักข่าวที่โพสต์ข่าวนี้มากที่สุด

โครงการก้าวคนละก้าวของพี่ตูนมีสำนักข่าวพูดถึงบนออนไลน์ทั้งหมด 3,722 ข่าว โดยสำนักข่าวที่พูดถึงโครงการมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

  1. Bangkokbiznews.com 480 ข่าว
  2. Thairath.co.th 353 ข่าว
  3. Today.line.me 349 ข่าว
  4. Khaosod.co.th 250 ข่าว
  5. News.kapook.com 237 ข่าว

ดูเหมือนพี่ตูนและโครงการก้าวคนละก้าว ได้สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ที่สุดบนโลกโซเชียลมีเดีย ด้วยจำนวนการพูดถึงและ Engagement ที่ท่วมท้น เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นได้อย่างจริงจังว่าคนหนึ่งคนทำอะไรได้บ้าง และโซเชียลมีเดียนั้นมอบพลังให้คนธรรมดาได้มากมายแค่ไหนหากใช้มันอย่างถูกวิธี ทำให้นักการตลาดต้องย้อนกลับมาดูกลยุทธ์ในการทำการตลาดออนไลน์ ว่าเดินมาถูกทางหรือไม่ การจะเกิด “ไวรัล” แคมเปญได้นั้นจะอาศัยเพียงแค่ ‘ปัง’ ในวันที่ปล่อยแคมเปญไม่ได้ ต้องคำนึงถึง Sentiment ของกระแสที่จะเกิดขึ้นด้วย หากเป็นเรื่องดี ๆ ก็จะได้แรงชาวโซเชียลช่วยกระพือให้กับแบรนด์ได้มากขึ้น และการใช้ Influencer ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้แคมเปญนั้น ๆ ประสบความสำเร็จได้

ที่มา : บริษัท THOTH ZOCIAL

]]>
1151293
จาก “พี่เบิร์ด” ถึง “พี่ตูน Phenomenon” ฟีเวอร์ Real Marketing เท่านั้นถึงจะเอาอยู่ https://positioningmag.com/1147684 Wed, 22 Nov 2017 22:55:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1147684 นาทีนี้ ใครไม่พูดถึง “พี่ตูน บอดี้สแลม” อาทิวราห์ คงมาลัย ต้องถือว่า ตกยุค เชยสะบัด แน่นอน เพราะนอกจากพี่เขาจะทำดีเพื่อส่วนรวม ขันอาสาวิ่ง 2,191 กิโลเมตร (กม.) จากเบตงถึงเชียงราย ในโครงการ “ก้าวคนละก้าว” ระดมเงิน 700 ล้านบาท ช่วย 11 โรงพยาบาล

“พี่ตูน” ยังเป็นกรณีศึกษาที่นักการตลาดต้องหยิบยกมาเปรียบเทียบกับการสร้างแบรนด์ เพราะนี่คือปรากฏการณ์ (Phenomenon) ที่ทำให้ “คนรัก” ได้อย่างแท้จริง ซึ่งแบรนด์ต้องการแบบนั้น “ให้ผู้บริโภครัก” (Brand Love)

สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์

“สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์” นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย บอกว่า พี่ตูนPhenomenonเกิดขึ้น เป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับนักการตลาดที่ไม่ต้องใช้เงินเยอะ แต่ใช้ “ความจริงใจ” บนเส้นทางที่เขาทำตั้งอยู่บนความจริง เปรียบเสมือนReal Marketingที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้ ไม่มีเบื้องหลัง แม้มีใครออกมาแสดงความเห็นในเชิงลบ ก็ไม่สนใจ ไม่ฟัง ที่สำคัญ กลับมีคนออกมาเถียงแทนและ “ปกป้อง” ด้วยซ้ำ

สิ่งที่พี่ตูนทำ ไม่เพียงเกิดจากส่วนตัวเอง (Individual) แต่เป็นการขยายผลกระทบในวงกว้างต่อสังคม (Social) ทำให้เกิดการดึงดูดความสนใจจากประชาชน การถามหาบนโลกออนไลน์ และเกาะติดตามเรื่องราวพี่ตูน ถ้าเป็นสินค้า นี่จะนำไปสู่ “การซื้อมาใช้งาน” หากใช้แล้วประทับใจ จะกลายเป็นผู้บริโภคที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ (Loyal Customer) ซึ่งจาก Individual to Social เป็น 1 ใน “เทรนด์” สำคัญของการทำตลาดในยุคดิจิทัลด้วย

ส่วนการวัดผลลัพธ์ของการกระทำหรือ KPI เปรีบเทียบในการทำตลาด คือ “ตัวเงินบริจาค” แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือการที่ตูนลงมือทำ มิตินี้สำหรับการตลาดคือBrand Executeเพื่อปลุกกระแสการมีจิตสำนึกบางอย่างให้เกิดขึ้นทั่วประเทศ

“เมื่อ Brand Execute กระแสจะมาเอง นี่คือ Real Marketing”

กรณีศึกษาดังกล่าว ยังสะท้อนให้เห็นว่า ยุคนี้แบรนด์จะมาทำการตลาดโดยใช้ “กิมมิก” เพื่อเรียกกระแสให้เกิดขึ้น สุดท้ายผู้บริโภคก็จะรู้ทันว่าแบรนด์ต้องการอะไร ดังนั้น การทำตลาดและสร้างแบรนด์ จึงไม่ควรตั้งต้นจาก “กระแส”

ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ที่สร้างกระแสในลักษณะดังกล่าว ระดับโลกยกให้ iPhone VS Samsungเพราะกลายเป็นแบรนด์ที่มี “สาวก” ทั่วโลก และหากแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งถูกพาดพิงในเชิงลบ สาวกเหล่านั้นจะออกมา “โต้ตอบ” แก้ตัวแทน เพื่อปกป้องแบรนด์ที่รักทันที

นอกจากนี้ มี “พี่เบิร์ดPhenomenon” มาแล้ว เวลานี้มีพี่ตูนPhenomenon ซึ่งบุคคลเหล่านี้ขยับตัวเมื่อไหร่ จะสร้างความน่าสนใจให้กับ “ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย” ได้ทันที

สร้างให้เกิดส่วนร่วมและแชร์ต่อคีย์พอยนต์สำคัญ

ดั่งใจถวิล อนันตชัย

ดั่งใจถวิล อนันตชัย COO, MD INTAGE THAILAND มองว่า “ปรากฏการณ์ตูน” สะท้อนให้เห็นถึงความเป็น “เรียลแบรนด์” ที่สามารถสร้างอิมแพกต์กับผู้บริโภค ผ่าน Passion และ Purpose หรือการวางเป้าหมายชัดเจนเพื่อให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์และเกิดการแชร์ต่อ

กรณีของตูนนั้น ได้กระตุ้นให้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ ด้วยการบริจาคเงิน หรือให้ออกกำลังกาย ดูแลตัวเอง เพื่อลดภาระของหมอและโรงพยาบาล เพื่อที่จะได้ไปช่วยผู้ป่วยที่จำเป็นจริงๆ สามารถตอบสนองความต้องการให้คนรู้สึกดีกับตัวเอง ว่าได้มีส่วนร่วมในการบริจาค หรือวิ่ง เมื่อรู้สึกดีก็จะเกิดการแชร์ต่อ

ถ้าสังเกตให้ดี ตูนใช้สื่อ “ดิจิทัล” น้อยมาก ให้ความสำคัญในเรื่องของ “สาร” เป็นหลัก โดยใช้ดิจิทัลเป็นเพียงหนึ่งในช่องทางในการสื่อสารเท่านั้น สะท้อนให้แบรนด์ยุคนี้ ไม่ควรให้น้ำหนักกับ ”สื่อ” มากกว่า “สาร” ที่ส่งไปยังผู้บริโภค

การวัดผลความสำเร็จของแคมเปญการตลาดก็เช่นกัน ถ้าเป็นอดีต ต้องวัดกันที่ยอดขาย แต่ยุคนี้ต้องวัดกันที่สามารถทำให้เกิดแรงกระทบหรือ Influence ต่อผู้บริโภคเกิดการตอบรับได้อย่างไร ซึ่งกรณีของตูน นั้นสามารถวัดได้ทั้งยอดบริจาคที่เป็นตัวเงิน และการตอบรับจากคนทั่วไปที่เข้ามามีส่วนร่วม

นอกจากนี้ แบรนด์ในอดีตมักจะหา “จุดขายที่สร้างความแตกต่าง” ทำให้แบรนด์ส่วนใหญ่จึงพยายาม “ขายของ” มากเกินไป จนลืมนึกถึงความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในการเข้าถึงผู้บริโภคยุคนี้ ที่มองหาแบรนด์ที่จะตอบสนองความคาดหวัง ดังนั้นสิ่งที่แบรนด์ยุคนี้ต้องหาให้เจอ คือ สิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง  ตูน นั้นแม้จะเป็นนักร้อง แต่เขาไม่ได้ขายเสียงเพลง ด้วยการจัดคอนเสิร์ต เพราะมองว่าเข้าถึงคนแค่บางกลุ่ม และมีค่าใช้จ่ายสูง แต่สิ่งที่เขานำเสนอ คือ การคาดหวังของคนที่ต้องการช่วยเหลือโรงพยาบาล

แบรนด์ต้องคอยตรวจสอบด้วยว่า ถ้าไม่มีแบรนด์ของเราอยู่แล้วลูกค้าจะคิดถึง ถามหาหรือไม่ ถ้าแชร์ เพอเพิสแบรนด์  ต้องถามลูกค้าว่า ถ้าแบรนด์เราไม่อยู่ เขาจะคิดถึงเรามั้ย…กรณีพี่ตูน ถือเป็นปรากฏการณ์คนที่สองของประเทศไทย ที่ทุกคนจะนึกถึงทุกวัน

ถ้าไม่เรียนรู้จาก “ตูน” จะเสียโอกาส

 ปรากฏการณ์ตูน ไม่ใช่แค่วิ่ง และรับเงินบริจาค เพื่อบรรลุเป้าหมายช่วยโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังให้บทเรียน และสะท้อนสิ่งที่คนไทยและผู้บริโภคไทยเป็นอยู่ และกำลังเป็นไป หากใครไม่เรียนรู้ จะเสียโอกาสมาก

ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ภาพจากมูลนิธิมั่นพัฒนา

ดร.ศิริกุล เลากัยกุล ผู้อำนวยการโครงการ Sustainable Brands ประจำประเทศไทย และที่ปรึกษาและวางกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ มองว่า ปรากฏการณ์ตูน สะท้อนความคิด และความเป็นไปของสังคมในหลายมิติ คือ คนมองหาโอกาสในการทำความดี สังคมต้องการผู้นำที่จริงใจ และทุกคนเป็นโลคอลฮีโร่ได้

คนมองหาโอกาสในการทำความดี เมื่อมีคนสร้างโอกาส ความมีส่วนร่วมก็มีมากขึ้น ไม่ได้หมายถึงต้องวิ่งเหมือนตูน หรือวิ่งไปกับตูน แต่แค่ร่วมบริจาค ก็รู้สึกว่ามีส่วนร่วมได้ทำความดี เหมือนได้อยู่ในขบวนการทำความดีกับตูนด้วย

สังคมต้องการผู้นำที่จริงใจ ทุกสังคมต้องการคนมาเป็นต้นแบบ เพราะคนเรามีความกล้า และความขยันไม่เหมือนกัน เมื่อมีคนนำได้ก็จะทำตามได้ง่าย เมื่อเป็นผู้นำที่พาสังคมร่วมกันทำความดีก็จะเป็นคนที่ได้รับการยอมรับชื่นชม

ดาราร่วมแทกทีมวิ่งไปกับตูน

นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่คนตัวเล็ก ๆ องค์กรเล็ก ๆ หากจะทำอะไรดี ๆ ไม่ต้องรอให้รัฐบาล หรือบริษัทใหญ่เริ่มก่อน ทำได้เองเลย และก็ไม่ต้องกลัวว่าจะทำแค่ลำพัง เพราะในที่สุดจะมีคนร่วมขบวนด้วย เพราะพลังของสื่อโดยเฉพาะโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน

แต่แน่นอนว่า ต้องมีการวางแผน เพราะการวิ่งระยะเวลาถึง 55 วัน ระยะทางกว่า 2,191 กม. จากเบตง ยะลา ถึง แม่สาย เชียงราย ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. – 25 ธ.ค. ด้วยเป้าหมายเงินบริจาค 700 ล้านบาท โดยผ่านไปประมาณ 20 วัน มีคนร่วมในเส้นทางจำนวนมาก ต้องมีการจัดการที่ดี และมีผู้สนับสนุน ไม่เช่นนั้นทำไม่ได้ ถือเป็นเรื่องปกติ ในการทำโครงการใหญ่ขนาดนี้

5 พลังสังคมจุดติดปรากฏการณ์ตูน

ปรากฏการณ์ตูนเกิดขึ้นได้เพราะพลังสังคม (Social Power) พร้อมกับมีส่วนร่วมช่วยเหลือ ซึ่งการจะมีส่วนร่วมเกิดขึ้นได้ เมื่อรู้สึกว่าเห็นปัญหาเหมือน ๆ กัน คนไทยทุกคนไปโรงพยาบาล และรับรู้ถึงความขาดแคลน นี่คือปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคม (Social Impact) ที่เป็นประเด็นที่ทุกคนอยากให้มีการแก้ไข และทำให้ดีขึ้น

ที่สำคัญยังต้องการเปิดให้สังคมมีส่วนร่วม (Social Engagement) ภาพที่เห็นง่าย ๆ ตรงไปตรงมา คือ การที่ตูนวิ่ง และมีการทักทายคนที่มารอ ยกมือไหว้ หอมเด็ก ๆ กอดแฟน ๆ ร่วมร้องเพลงกับเด็ก ๆ ไม่ได้มีการ์ดมากันมากจนเกินไป ดูติดดิน ทำให้คนรู้สึกว่าเข้าถึงง่าย จับต้องได้

ภาพเหล่านี้ ถูกถ่ายทอดทั้งสื่อเดิมอย่างทีวี คนดูเป็นผู้ใหญ่ รวมทั้งทางโซเชียลมีเดียที่คนรุ่นใหม่ใช้ คนในประเทศได้เห็น คนต่างประเทศก็เห็น ทุกคนพูดคุยเรื่องตูนกันได้หมด

ปรากฏการณ์นี้ยังมีพลังของคนที่สนับสนุนตูน (Social Advocacy) เกิดขึ้นจำนวนมาก อย่างที่เห็น การขอความร่วมมือกันเองของประชาชนว่าอย่าทำอย่างนั้น อย่างนี้กับตูน เช่น เรื่องเซลฟี่ การรวมตัวกันถ่ายภาพหมู่ การเป็นปากเสียง ชี้แจงแทนให้เมื่อมีข้อมูลไม่ถูกต้องเผยแพร่ การเตือนกันเรื่องการถูกหลอกลวงบริจาค

ภาพจากเพจ ก้าวคนละก้าว

หลักการจริงใจ ทำต่อเนื่อง

การจุดติดนี้มีพื้นฐานที่สำคัญคือ “ความจริงใจ” ที่ไม่ได้สร้างได้เพียงข้ามคืน เพราะตูนมีมุมของความใส่ใจสังคม และเคยทำโครงการก้าวคนละก้าวครั้งแรกมาแล้ว เมื่อโครงการก้าวคนละก้าวครั้งที่สองนี้เกิดขึ้น จึงสานต่อได้ง่าย

ดร.ศิริกุล บอกว่า นี่คือหลักของการทำอย่างต่อเนื่อง เหมือนแบรนด์ถ้าจะทำให้คนยอมรับ ก็ต้องดีตั้งแต่ต้น ไม่ใช่การสร้างภาพเป็นคนดี เพราะสังคมต้องการความจริงใจ ไม่ว่าจากทั้งคน หรือสินค้าบริการ

เมื่อทำแล้วต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย ยิ่งในยุคปัจจุบันการทำง่ายขึ้น เพราะมีโซเชียลมีเดีย และแต่ละองค์กรสามารถมีสื่อของตัวเองเพื่อสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ข้อระวังคือหากทำไม่ต่อเนื่อง จะทำให้คนสงสัย และที่สุดจะมีผลเสียต่อแบรนด์

ส่วนแบรนด์ไหนที่คิดว่าจะเข้ามาฉวยโอกาสกับปรากฏการณ์ตูนนั้น ดร.ศิริกุลเตือนว่า ถ้าใครฉวยโอกาสตอนนี้ จะไม่เหลืออะไร ต้องดูกาลเทศะ ใครจะเข้ามาเกาะแสให้หยุดคิด และควรไปคิดว่าจะทำอะไรที่ดีกับสังคมได้บ้างดีกว่า แต่ก็เชื่อว่าไม่มีใครกล้าเข้ามาฉวยโอกาสในเวลานี้

ดร.ศิริกุล สรุปว่า ปรากฏการณ์นี้ ถ้าใครไม่เรียนรู้จากตูน จะถือว่าเสียโอกาสมาก.

]]>
1147684
เปิดใจผู้บริหารแกรมมี่ “ตูน” บุคลากรที่มีคุณค่า ไม่ใช่สินค้า! ยอมทิ้งรายได้ 30 ล้าน เทียบไม่ได้กับสิ่งที่ได้รับกลับมา https://positioningmag.com/1147463 Tue, 21 Nov 2017 08:10:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1147463 ผู้บริหารแกรมมี่ยกตูน บอดี้สแลมเป็นบุคลากรที่มีคุณค่า ไม่ใช่สินค้า เป็นมืออาชีพมากกว่าคำว่าศิลปิน ถึงจะสูญเสียมูลค่าเรื่องตัวเลข แต่สิ่งที่ได้รับกลับมามีค่ามหาศาล ไม่จัดคอนเสิร์ตเพราะคุณค่าทางจิตใจต่างกัน

ยอมเสียรายได้ครั้งยิ่งใหญ่เลยทีเดียว สำหรับต้นสังกัด ตูน บอดี้สแลมอาทิวราห์ คงมาลัย กรณีที่นักร้องดังเบรกงานเพื่อโครงการก้าวคนละก้าว ทิ้งเงินกว่า 30 ล้านเพื่อระดมทุนช่วยเหลือ 11 โรงพยาบาล

นิค วิเชียร ฤกษ์ไพศาล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการผลิตและโปรโมชั่นเพลงบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด มหาชน ยอมรับต้นสังกัดสนับสนุน และสิ่งที่ได้กลับมามีมูลค่ามากกว่าเรื่องตัวเลข

“โดยปกติ วงบอดี้สแลมจะรับงานประมาณ 15-20 งาน ไม่เกิน 20 งานต่อเดือน การที่ตูนไปทำกิจกรรมก้าวคนละก้าว ไม่รับงาน 3 เดือน ก็ถือว่าเยอะอยู่ แต่ตูนเขามองว่าโครงการนี้มันเป็นสิ่งที่เขาตั้งใจ เขาอยากที่จะทำ และเป็นการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งตรงนี้เพื่อนๆ และทีมงานในวงก็เห็นด้วย  

ส่วนของค่ายจีนี่ฯ ที่ทำงานปกติก็ทำไป เราจัดสรรคนเข้าช่วยสนับสนุนในเรื่องต่างๆ ให้กับตูน ส่วน รายได้เสียไปเยอะ แต่มองว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่ มันเป็นรายได้ที่หาได้ต่อไปในอนาคต ผมไม่แน่ใจว่าค่าตัวของวงเขาเท่าไหร่ เรียกว่าหลายแสนต่อครั้ง (เห็นว่าประมาณ 450,000-500,000บาท?) อันนี้ก็ต้องไปประเมินเอาเอง

ย้ำเสียมูลค่าเรื่องตัวเลข แต่สิ่งที่ได้กลับมามหาศาล

เรามองว่าสิ่งที่ตูนทำมันได้คุณค่ามาก เราอาจจะสูญเสียมูลค่าเรื่องของตัวเลขไป แต่คุณค่าที่ได้กลับมา ลองคิดนะว่าเราต้องใช้มูลค่าแค่ไหนที่ได้คุณค่าแบบนี้กลับมา มันเป็นมูลค่าที่มหาศาลเลยนะ ที่จะสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมแบบนี้ การที่ตูนทำแบบนี้ ในทางกลับกันเขาได้สร้างประโยชน์ให้กับชื่อของวง และตัวค่ายเองก็ได้อานิสงส์ไปด้วย ทางบริษัทแกรมมี่ฯ เองก็ได้ส่วนร่วมไปโดยปริยาย 

ถือว่าเป็นเรื่องราวที่ดีที่เราควรสนับสนุน ถามว่าการที่เราส่งคนภายใต้บริษัทไป ไม่ได้เป็นการหนีงาน แต่เป็นการไปรับภาระงานที่หนักขึ้น นี่คือการสร้างชื่อเสียงอย่างหนึ่ง ถ้าคิดในเชิงธุรกิจ แต่ขอบอกตรงนี้เลยว่าทั้งตูนและทางค่ายไม่เคยคิดถึงตรงจุดนี้เลย ความตั้งใจของตูนในการทำโครงการนี้ มาด้วยความบริสุทธิ์ใจของเขา ที่เขาเอาตัวเองมาทำเพื่อสังคม ซึ่งถ้าถามว่าเราสูญเสียอะไร เราไม่มีคำว่าสูญเสีย เรามีแต่ได้กับได้

แจงเหตุไม่จัดคอนเสิร์ตเพราะคุณค่าทางใจที่ได้รับกลับมาน้อยกว่า

ถ้าทำแบบนั้นคุณค่าจากความตั้งใจทำของเขามันจะเปลี่ยนไป ตอนนี้ทุกหย่อมหญ้ารู้จัก พี่ตูน เวลาตูนไปไหนต่อจากนี้เขาจะได้รับการต้อนรับมากขึ้นจากวงกว้าง แต่อย่างที่บอกสิ่งที่ตูนทำเขาทำมาจากใจของเขา เขาไม่ได้คิดว่าจะได้ผลประโยชน์อะไรกลับมา มันอาจจะง่ายกว่ากับการที่จัดคอนเสิร์ต แต่คุณค่าทางใจที่ได้กลับมา มันน้อยกว่า สิ่งที่เขาทำไม่ได้เป็นการโปรโมตให้ตัวเองดัง แต่เป็นการที่เขาเอาชีวิตของเขาเข้าไปแลก ผลที่กลับมาคือ ยิ่งให้ยิ่งได้

กเป็นบุคลากรที่มีมูลค่า ไม่เคยมองว่าเป็นสินค้า ในฐานะต้นสังกัด ไม่คิดว่าบริษัทจะต้องเสียมูลค่า

เรื่องนี้เป็นความชอบส่วนตัวของเขาเป็นสิ่งที่เราสั่งเขาไม่ได้มันเป็นความต้องการของเขาเองสิ่งที่เขาทำมันเป็นสิ่งที่ดีน่าสนับสนุนสิ่งที่เราทำคือสนับสนุนเขาถามว่ามีการทำประกันชีวิตเขามั้ยเขาคงมีอยู่แล้วไม่ต้องไปห่วงเขา

ส่วนเรื่องที่ว่าเขาคือบุคลากรที่มีมูลค่าของเรา อันนี้ก็ต้องยอมรับว่าใช่ เขาคือบุคลากรที่มูลค่า แต่เราไม่เคยมองว่าเขาคือสินค้า เราไม่ได้คิดแบบฝรั่งที่แบบว่า ศิลปิน นักฟุตบอล หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง มูลค่าของเขาทางธุรกิจจะเป็นเท่าไหร่ ยังไง แต่เรามองเขาคือคนไทยคนหนึ่งที่เสียสละตัวเอง  เราในฐานะที่เป็นต้นสังกัดเราควรยินดี ไม่ใช่มาคิดว่าเราจะเสียมูลค่าเท่าไหร่ จากเขาในเชิงธุรกิจ สิ่งที่เราคิดคือ เขาไปทำงานหนักขนาดนี้ เขาควรจะได้รับการดูแลอย่างดี และการสนับสนุนอย่างดี เราเชื่อว่าตูนเขารู้ตัวเองดี และเขาก็มองว่านี่คือโครงการส่วนตัวของเขา เขาก็ไปดิ้นรนทำของเขาส่วนหนึ่ง ไม่ได้เป็นภาระของค่ายทั้งหมด ค่ายแค่อยู่ในส่วนของการช่วยสนับสนุนเท่านั้น

เลื่อนปล่อยซิงเกิลใหม่ไปเป็นปีหน้า ยกเป็นมืออาชีพที่เหนือกว่าศิลปิน

จริงๆ จะมีเพลงปล่อยในช่วงนี้ แต่ไม่เป็นไรก็เลื่อนออกไปประมาณมกราคมปีหน้า เอ็มวีอะไรก็ถ่ายเสร็จไปแล้ว ไม่ต้องห่วงเขาเลย ผมจะบอกเลยว่าเหนือกว่าศิลปินก็คือมืออาชีพ ตูนคือคนหนึ่งที่เป็นมืออาชีพ เขามีโรดแมปของเขา ตูนและวงบอดี้สแลมเขามีแนวทางของเขา ค่ายแทบไม่ต้องวางอะไรให้เลย ค่ายมีหน้าที่แค่สนับสนุนเขา.

ที่มา : mgronline.com/entertainment/detail/9600000117469

]]>
1147463
เคาะตัวเลข “ตูน บอดี้สแลม ยอมทิ้งรายได้ 20 ล้าน วิ่งก้าวคนละก้าวฯ https://positioningmag.com/1146944 Thu, 16 Nov 2017 10:04:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1146944 ภาพจาก: แฟนเพจ bodyslamband

เมื่อ ตูน บอดี้สแลม” (อาทิวราห์ คงมาลัย) ตัดสินใจออกมาทำกิจกรรมวิ่งในโครงการ ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงธันวาคมแล้ว ถือว่าไม่ธรรมดาเลย

นอกจากจะเสียสละร่างกายในการวิ่งเป็นระยะทางถึง 2,191 กิโลเมตรแล้ว ถ้าลองมาคำนวณรายได้” ที่เจ้าตัวและวงจะต้องเสียไปจากการเอาเวลามาวิ่งในโครงการก้าวคนละก้าวฯ ครั้งนี้แล้ว ต้องบอกว่าเป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว

สำหรับอัตราค่าว่าจ้างวงบอดี้สแลมในการแสดงนั้น ทั่วไปจะอยู่ที่ชั่วโมงละ 4 – 5 แสนบาท ซึ่งหากคิดราคาโดยประมาณในการเล่นคอนเสิร์ตหนึ่งครั้ง (ชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง) ทางวงจะมีรายรับอยู่ที่ประมาณ 7 แสนบาท

และเมื่อย้อนกลับไปดูตารางการแสดงคอนเสิร์ตของวงก็จะพบว่า หากเป็นเดือนทั่วๆ ไปที่ไม่มีเทศกาลอะไร บอดี้สแลมจะรับงานประมาณเดือนละ 7-10 คอนเสิร์ต หากแต่เป็นเดือนที่มีช่วงเทศกาล เช่น เมษายน หรือช่วงปลายปีเช่นนี้แล้ว คิวการแสดงก็จะเพิ่มขึ้นมากว่า 10 ครั้งต่อเดือน สูงสุดไม่เกิน 20 ครั้ง

สำหรับการวิ่งในโครงการก้าวคนละก้าวฯ นั้นจะกินระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 .ไปจนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ซึ่งตีซะว่าใช้เวลารวมๆ ก็คือ 2 เดือน ดังนั้นเมื่อคิดรายได้เฉพาะการแสดงคอนเสิร์ตเพียงอย่างเดียวของทางวงที่หายไปก็จะอยู่ที่ 15,400,000 – 19,600,000 บาทเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเสียพลังงานเสียรายได้ไปสักเท่าไหร่ แต่กับปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เชื่อว่าถึงตรงนี้สำหรับเจ้าตัวแล้วมันคุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้มชนิดที่ว่าไม่มีอะไรมาทดแทนได้อย่างแน่นอน..

ที่มา : mgronline.com/entertainment/detail/9600000115515

]]>
1146944
เมื่อรองเท้า Palladium ใช้พลังวิ่ง “พี่ตูน” ลุยกลยุทธ์ Collaboration https://positioningmag.com/1145782 Wed, 08 Nov 2017 05:01:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145782 อิทธิพลของแบรนด์ดังร่วมมือกัน(Collaboration)อย่าง หลุยส์ วิตตอง (Louis Vuitton) กับสุพรีม (Supreme) ออกแบลสินค้าไอเทมเด็ดเอาใจสาวกมาเข้าคิวรอช้อปปิ้งกันตั้งแต่ห้างยังไม่เปิด และกลยุทธ์การร่วมมือกันไม่เคยตกยุค นับวันยิ่งเข้มข้นขึ้น เพราะนอกจากแบรนด์จะฉีกกรอบไอเดียเดิมๆ ยังเป็นการขยายฐานลูกค้าระหว่างกันและกัน

อีกหนึ่งแบรนด์ที่ทำการร่วมมือกันในเวลานี้ ยกให้รองเท้าบู๊ทเบอร์ 1 จากฝรั่งเศส “พัลลาเดียม” Palladium กับ วงร็อคเบอร์ 1 ของเมืองไทย “บอดี้สแลม” ออกรองเท้าคอลเล็กชั่นพิเศษ PALLADIUM x BODYSLAM เข้าทำตลาดได้ 2 เดือนเศษ ปรากฎว่าได้การตอบรับอย่างดี ยิ่งช่วงนี้พี่ตูนกำลังออกวิ่งจากเบตงถึงแม่สาย ระยะทางรวม 2,191 กิโลเมตร(กม.) ในโครงกร “ก้าวคนละก้าว” ย่อมส่งผล “เชิงบวก” ต่อแบรนด์ไม่มากก็น้อย

การ Collaborationแบรนด์ระหว่างรองเท้าพัลลาเดียมกับบอดี้สแลม เกิดจาก “ศิรินพร ตัณฑุลวิสุทธิ์” กรรมการผู้จัดการบริษัท อรสาสินทวี จำกัด ผู้บริหาร ร้านมัลติแบรนด์ YEAH! มองเห็นจังหวะดีในโอกาสที่รองเท้าดังฝรั่งเศสนั้นมีอายุครบ 70 ปี และร้านเย่! เองก็ดำเนินธุรกิจมาครบ 21 ปีในปี 2560 เลยผุดไอเดียดังกล่าวขึ้นมา

“บอดี้สแลม” ถือเป็นศิลปินเอเชียรายแรกที่ได้ร่วมออกแบบรองเท้ากับพัลลาเดียม จากที่ผ่านมาแบรนด์จะทำกับศิลปินระดับโลก ฟาร์เรลล์ วิลเลียมส์ แบรนด์เสื้อผ้าแนวสตรีทของสหรัฐ STUSSY แบรนด์เสื้อผ้าแนวสตรีทญี่ปุ่น NEIGHBORHOOD ฯ หรือแม้กระทั่งการร่วมมือของแบรนด์ส่วนใหญ่จะเป็นการจับเฉพาะแบรนด์ดังกับดังเท่านั้น

เหตุผลที่แบรนด์สนใจ “บอดี้สแลม” เพราะเป็นวงร็อกอันดับ 1 ประจวบเหมาะกับปีที่แล้ว “พี่ตูน” ได้ทำกิจกรรมการกุศลวิ่ง “ก้าวคนละก้าว” ระดมทุนซื้ออุปกรณ์การแพทย์มอบให้โรงพยาบาลบางสะพาน ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ที่ดีเมื่อเทียบกับวงร็อกโดยทั่วไปที่มักจะมีภาพเฮ้วๆอีกทั้งความดังไม่ได้เกิดแค่ในไทยแต่ยัง “ดังข้ามประเทศ” ด้วย ที่สำคัญวงบอดี้สแลมได้ใช้รองเท้าพัลลาเดียมอยู่แล้วมานาน 5-6 ปี

“สิ่งที่พี่ตูนทำ สร้างชื่อเสียงดีมากๆ”

นอกจากนี้ “ฐานแฟนคลับ” ของวงบอดี้สแลมก็มีมาก เฉพาะแฟนเพจใน Facebook มากกว่า 5 ล้านคน จะช่วย “ขยาย” ฐานกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์รองเท้าและร้านให้กว้างขึ้น จากปัจจุบันร้านเย่!มีฐานลูกค้าผ่าน Facebook กว่า 4.4 แสนคน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้รองเท้าพัลลาเดียมอยู่ในช่วง 18-19 ปี ไปจนถึง 40 ปี

ทั้งนี้ ศิลปินทั้ง 5 ของวงบอดี้สแลม คือ ตูน, ปิ๊ด, ชัชและโอมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบรองเท้าตามแบบฉบับของตัวเอง ทำให้คอลเล็กชั่นดักล่าวมีรองเท้า 5 แบบ 5 รุ่น 5 สไตล์ ทุกรุ่นจะมีการสลักโลโก้ของวงบอดี้สแลมไว้ด้วย แม้กระทั้งเชือกผูกรองเท้า

ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย เธอบอกว่า จากที่เคยให้ทีมงานสำรวจจำนวนการครอบครองรองเท้าของคนไทยพบว่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คู่ และเทรนด์การสวมใส่รองเท้าปัจจุบัน “ผ้าใบ” มาแรง เนื่องจากใส่สบาย และได้หลายโอกาสมิกซ์แอนด์แมทกับเสื้อผ้าได้หลากหลาย

และเมื่อดูสถานการณ์ขายจะพบว่า ในยามภาวะเศรษฐกิจไม่ดี “รองเท้า” เป็นหมวดที่ยอดขายตกน้อย เมื่อเทียบกับสินค้าแฟชั่น และหมวดอื่นๆ โดยการเติบโตยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี การทำตลาดดังกล่าวจึงลงตัวเป๊ะ!

“เราคาดว่าแฟนคลับพี่ตูนกว่า 5 ล้านคน จะ รู้จักรองเท้าพัลลาเดียมมากขึ้น ซึ่งผลตอบรับจากการร่วมกับวงบอดี้สแลมออกรองเท้าคอลเล็กชั่นพิเศษ พบว่ามีฐานลูกค้าเด็กลงเป็นมัธยมต้นเพิ่มขึ้น จากเมื่อก่อนจะเริ่มที่มัธยม 6 เพราะเมื่อผู้บริโภคดูวงบอดี้สแลมเล่นคอนเสิร์ตก็จะแคปภาพรองเท้าเพื่อตามหา และยอดขายช่วง 2 เดือนนับตั้งแต่เปิดตัวถือว่าเติบโต 2 หลัก”

นอกจากบริษัทจะแฮปปี้ บริษัทแม่ของพัลลาเดียมที่ฝรั่งเศสมีแผนที่จะนำโปรเจคการร่วมมือของบอดี้สแลม ขยายผลไปยังตลาดอินเตอร์เนชั่นแนล โดยขณะนี้บริษัทแม่อยู่ระหว่างการทำวิจัยตลาดและความเป็นไปได้ให้ละเอียดก่อน

นอกจากจะได้ยอดขายแล้ว ภาพลักษณ์แบรนด์และร้านมัลติแบรนด์ YEAH! แจ้งเกิดติดลมบนยิ่งกว่าเดิม

ปัจจุบัน ร้านYEAH! จำหน่ายสินค้ามัลติแบรนด์กว่า 100 แบรนด์ทั่วโลก ครอบคลุมหมวดสินค้าตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า โดยโฟกัส 4 แบรนด์หลัก Palladium เสื้อผ้าแนวสตรีท OBEY กระเป๋าแบ๊คแพ็คสไตล์แอดเวนเจอร์ DAKINE และรองเท้าบู๊ทสไตล์อังกฤษ UNDERGROUND โดยร้านYEAH! มี 7 สาขา และร้านพัลลาเดียมแฟลกชิฟสโตร์ 2 สาขา

]]>
1145782
“ก้าวคนละก้าว” เปิดตัวไลน์สติกเกอร์ “ตูน บอดี้สแลม” https://positioningmag.com/1145069 Wed, 01 Nov 2017 08:00:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145069 สติกเกอร์ไลน์ “ก้าวคนละก้าว” (Kao Kon La Kao) อีกหนึ่งช่องทางของการบริจาคให้กับโครงการ “ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ” เพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับ 11 โรงพยาบาลที่ยังขาดแคลน และต้องการความช่วยเหลือและแรงสนับสนุนในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในโรงพยาบาลที่ดีขึ้น รวมถึงเป็นขวัญกำลังใจให้ หมอ พยาบาลผู้เสียสละทั่วประเทศ

สติกเกอร์ไลน์ “ก้าวคนละก้าว” (Kao Kon La Kao) ผลงานโดย “ต่าย ขายหัวเราะ” ในราคา 30 บาท รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้โครงการ “ก้าวคนละก้าวเพื่อ 11 โรงพยาบาลทั่วประเทศ” (ทั้งระบบ iOS และ Andriod) มีจำหน่ายที่ https://line.me/S/sticker/1678317

ติดตามข่าวสารและช่องทางบริจาคอื่นๆ ได้ที่ www.kaokonlakao.com และ facebook ก้าว

]]>
1145069