ขนมหวาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 24 Dec 2020 07:14:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 BTS เข้าถือหุ้นร้านขนมหวาน “After You” 8.1% “กุลพัชร์-แม่ทัพ” 2 ผู้ก่อตั้ง ลุยขยายเครือข่าย https://positioningmag.com/1311848 Thu, 24 Dec 2020 04:57:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311848 กุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณแม่ทัพ .สุวรรณ” สองผู้ก่อตั้งเเละถือหุ้นใหญ่คาเฟ่ขนมหวานอาฟเตอร์ ยู” (After You) เทขายหุ้นรวม 66 ล้านหุ้น หรือกว่า 8.1% ให้ “BTS” รับโอกาสขยายเครือข่าย

บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน) หรือ AU ชี้แจงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถึงการซื้อขายหุ้นของบริษัท ตามที่ได้ปรากฏในรายการซื้อขายหุ้น AU ผ่านระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ บนกระดานรายใหญ่ (Big Lot Board) จำนวนรวม 66,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 8.1 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท โดยราคาเฉลี่ยหุ้นละ 10 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 660 ล้านบาท

รายการดังกล่าว เกิดจากการขายหุ้นของนางสาวกุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ และนายแม่ทัพ ต.สุวรรณ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท

โดยนางสาวกุลพัชร์ และ นายแม่ทัพ จำหน่ายหุ้น รายละจำนวน 33,000,000 หุ้น ส่งผลให้หลังการทำรายการ นางสาวกุลพัชร์ เหลือจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ 226,669,759 หุ้น สัดส่วน 27.79% จากเดิม 31.84% ส่วนนายแม่ทัพ เหลือหุ้นจำนวน 206,793,750 หุ้น หรือสัดส่วน 25.35% จากเดิม 29.40%

การขายหุ้นของอาฟเตอร์ ยูในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสนอขายให้กับ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เนื่องจากเล็งเห็นโอกาสในการผนึกกำลัง และขยายเครือข่ายงานต่อไปในอนาคตของทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม การขายหุ้นครั้งนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างการจัดการและนโยบายการดำเนินธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด

 

ที่มา : SET 

]]>
1311848
อ่าน 5 เรื่องราวของ Iced Gem Biscuits “ขนมหัวจุก” สุดฮิตในวัยเด็ก ที่มาไกลกว่า “ขนมปี๊บ” https://positioningmag.com/1298786 Fri, 25 Sep 2020 11:20:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298786 เมื่อพูด “Iced Gem Biscuits” หลายคนอาจจะงงๆ เเต่เมื่อเห็นรูปเเล้วก็ต้องร้องอ่อกันเลยทีเดียว เพราะมันคือขนมหวานในวัยเด็ก ที่เราเรียกกันติดปากว่า ขนมเม็ดพลอย หรือขนมหัวจุกนั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้น ที่มาเเละเรื่องราวของเจ้า Iced Gem Biscuits ก็ไม่ธรรมดา เพราะเป็นขนมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมาหลายทศวรรษ ข้ามน้ำข้ามทะเลมาไกลจากฝั่งยุโรป เเต่มาฮอตฮิตในฝั่งเอเชีย

วันนี้ เรามารู้จักขนมหัวจุกกันให้มากขึ้นกัน

1.ไม่ได้มาจากสิงคโปร์นะจ๊ะ…พี่มาจาก “อังกฤษ” 

บางทีเราอาจจะคลับคล้ายคลับคลาว่า Iced Gem Biscuits สีสันสดใสเหล่านี้ มาจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรา อย่างสิงคโปร์หรือไม่นะ เพราะเป็นที่นิยมในเเถบนั้นเหลือเกิน เเต่ที่จริงเเล้วมันมีจุดกำเนิดในประเทศอังกฤษ เเถมยังถูกผลิตขึ้นมาอย่าง “ไม่ได้ตั้งใจ” โดยโรงงานผลิตขนมปังกรอบท่ี่มีชื่อว่า Huntley and Palmer ตั้งอยู่ในเมืองเรดิง

โดยในปี 1850 ได้เริ่มทดลองทำขนมปังกรอบด้วยเทคโนโลยีใหม่ (ในขณะนั้น) ทำให้ขนมดังกล่าวมีการหดตัวเล็กลง เริ่มเเรกของ Iced Gem Biscuits ก็มีเเต่ส่วนด้านล่างที่เป็นบิสกิตเท่านั้น ส่วนน้ำตาลไอซิ่งด้านบน ถูกเพิ่มเข้าไปในปี 1910 หลังจากนั้นได้เเพร่หลายออกไปทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย

2. ขายทั่วไปในหลายประเทศ

เราจะได้เห็น “ขนมหัวจุก” นี้วางขายทั่วไปในหลายประเทศ อย่างไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย จีน ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ เเละอังกฤษ บางประเทศยังใช้เป็นขนมรับขวัญเด็กเกิดใหม่อีกด้วย ซึ่งก็มีแบรนด์ดังๆ สร้างสรรค์ Iced Gem Biscuits ขึ้นมาในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น เช่น Jacobs, McVitie’s , Rich Garden เเละ Khong Guan แต่ในประเทศไทยกลายเป็น “ขนมปี๊บในตำนาน” ไปเเล้ว

Iced Gem biscuits ในไทยเรียกว่า ขนมหัวจุก หรือขนมเม็ดพลอย

3. สีของ “ท็อปปิ้ง” จะต่างกันตามเทรนด์ของประเทศต่างๆ

ส่วนของท็อปปิ้งที่เป็นน้ำตาลไอซิ่งนั้น นอกจากจะมีการดีไซน์ที่เเตกต่างกันเเล้ว จุดเด่นก็คือเรื่อง “สี” ที่จะไม่เหมือนกันในเเต่ละประเทศด้วย โดยในสิงคโปร์เเละไทยจะเน้นสีสดๆ เข้มๆ ส่วนของอังกฤษจะเป็นสีพื้นๆ ออกพาสเทล ซึ่งของสิงคโปร์จะมีรสชาติออกเปรี้ยว ๆ ด้วย เป็นรสมะนาวเเละรสผลไม้ต่างๆ

4. สูตรดั้งเดิมของ Iced Gem Biscuits

สำหรับสูตรดั้งเดิมของ Iced Gem Biscuits นั้น ส่วนบิสกิตจะทำมาจากแป้งสาลี ผสมกับเนยจืด ไข่ น้ำตาล ไซรัปและเกลือ ส่วนตัวไอซิ่งทำจาก Meringue Powder (ผงไข่ขาวแห้งผสมกับน้ำตาลไอซิ่งเเละน้ำสะอาด

5. มีเเฟนเพจ Facebook อย่างเป็นทางการ

ความโด่งดังของ Iced Gem biscuits ในเอเชียนั้นไม่ธรรมดา เมื่อถึงขั้นมีเพจใน Facebook ที่มีคนติดตามเกือบ 7 เเสนคนเเล้ว ซึ่งเพจนี้ดูเเลโดยบริษัท Ritz Food Corporation ของฟิลิปปินส์ ที่เป็นเจ้าของเเบรนด์เบเกอรี่ดังๆ อย่าง Rich Garden เเละ Khong Guan นั่นเอง

สีสันสดใส ทำให้คิดถึงวัยเด็กเเบบนี้…คงต้องหา ขนมหัวจุก” มาชิมกันอีกครั้งบ้างเเล้ว 

Photo : facebook.com/icedgembiscuits

 

ที่มา : Straitstimes

 

]]>
1298786
บิงซู Product of the year 2017 https://positioningmag.com/1151933 Wed, 27 Dec 2017 23:07:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151933 ต้องเรียกว่าเป็น Product of the year แห่งปี 2560 สำหรับ “บิงซู” ขนมหวานฮอตฮิต จนติดอันดับสุดยอดคำค้นหาผ่าน Google ประจำปี 2560 ที่ต้องการนำเสนอมุมมองที่โดดเด่นของปีจากเหตุการณ์สำคัญมากมายที่เกิดขึ้นจากเทรนด์การค้นหาที่มาแรงในประเทศไทย

ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนว่าขนมหวานสัญชาติเกาหลีอย่าง “บิงซู” ได้รับความสนใจจากคนไทยมากที่สุด ในขณะที่ร้านอาหารที่ถูกค้นหามากที่สุด ยังเป็น ร้านจุดสามจุด ซึ่งเป็นร้านที่ขึ้นชื่อในเรื่องของบิงซูอีกด้วย

นอกจากนี้ รายงานการวิจัยจาก Thoth Zocialหัวข้อ “Retail Food Consumer Insight” พบว่า “หมวดของหวานและเครื่องดื่ม” 5 อันดับแรกที่คนอยากกินคือ เค้ก ไอติม บิงซู กาแฟ และแพนเค้ก

ลึกลงไปเมื่อนำมาเปรียบเทียบแนวโน้มการค้นหาระหว่าง “บิงซู” กับ “อาหารคลีน” การันตีชัดว่า การค้นหาบิงซู จะมีมากขึ้น สวนทางกับอาหารคลีน ที่ความนิยมลดน้อยลงเรื่อย ๆ ด้วยซ้ำ

ปรากฏการณ์ “บิงซูฟีเวอร์” ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ แต่ถูกเผยแพร่และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น จากการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีผ่านสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะบันเทิงและภาคธุรกิจ รวมทั้งไลฟ์สไตล์ที่ติดมากับบรรดาโอ้ปป้า บอยแบนด์ เกิร์ลกรุ๊ปทั้งหลาย บวกกับความสวยงาม ดูน่ากินและรสชาติอร่อยของตัวบิงซูเอง ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากที่เคยเป็นแค่ขนมหวานประจำชาติเกาหลี บิงซูเลยมีอิทธิพลมากขึ้นจนโดมิเนตตลาดน้ำแข็งไสทั่วเอเชีย ที่แค่เอ่ยถึงใคร ๆ ก็รู้จัก และผู้รับอิทธิพลที่ดีอย่างไทย ก็ซึมซับรับรู้กันถ้วนทั่ว และทำให้ “บิงซู” เป็นคำที่เหมือนถูกเสกเข้าปากคนไทย ถูกพูดถึงมากที่สุด จนกลายเป็นโปรดักต์ออฟเดอะเยียร์ไปแล้ว 

มารู้จักบิงซูให้ลึกซึ้งอีกสักรอบ

บิงซู เป็นขนมแบบดั้งเดิมในเกาหลี ในสมัยก่อน บิงซู เป็นอาหารอันโอชะที่มีกินเฉพาะในกลุ่มคนรวยและขุนนาง เพราะคนทั่วไปไม่มีที่ไสน้ำแข็ง และไม่มีอุปกรณ์ทำความเย็นเหมือนสมัยนี้ นิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อน เพราะจะมีการเปิดตัวรสชาติใหม่ในช่วงฤดูร้อน

แต่ละรสชาติจะแตกต่างกันไปตามชนิดของบิงซูที่นำเสนอตามส่วนผสมและท็อปปิ้ง มีตั้งแต่ นม ช็อกโกแลต ชาเขียว และรสผลไม้ที่เป็นผง แยม และเกล็ดธัญพืช ที่ปรุงด้วยไอศกรีม บางสูตรยังราดด้วยนมข้นหรือนมสดตามความชอบของแต่ละคน และการนำเสนอของร้าน

คุณลักษณะที่น่าตื่นเต้นเกี่ยวกับ บิงซู คือการนำเสนอด้วยรสชาติและความคิดสร้างสรรค์ในการจัดแต่งที่ต่างกันทั้งปริมาณและรสชาติที่ไม่ซ้ำกันของแต่ละพื้นที่ แต่ละร้านว่าจะดึงอะไรมาเป็นจุดขาย

ที่นิยมในเกาหลีทั่วไป ๆ ได้แก่  binksu injeolmi (ข้าวเกาหลี) บิงซูถั่วแดง (Patbingsu) สตรอเบอร์รี่บิงซูง ทั้งแบบแยม และสตรอเบอร์รี่สด บิงซูช็อกโกแลต โยเกิร์ตบิงซูที่โรยหน้าด้วยโยเกิร์ตรสต่าง ๆ และชีสบิงซู ซึ่งชีสเป็นอาหารอีกชนิดที่เกาหลีนิยมนำมาราดบนอาหารสารพัดชนิด   

บิงซูไฮไลต์ของไทยที่แตกต่างก็ต้องบิงซูทุเรียน นอกจากนั้นก็ยังมีผลไม้ที่นิยมในกลุ่มคนเอเชียอย่างเมลอน

แต่ทุเรียนนี่เป็นซิกเนเจอร์ของไทยที่ลงตัวกับบิงซู ถึงขนาดร้านดังอย่าง อาฟเตอร์ยู ก็ยังต้องเปิดห้องเฉพาะเพื่อเสิร์ฟบิงซูทุเรียนที่สาขาสยามพารากอน ส่วนร้านอื่น ๆ บางร้านก็กระชากเรตติ้งด้วยการนำเสนอบิงซูทุเรียนถาด แบบกินให้จุใจกันไปเลยก็มี แถมถ้าใครชื่นชอบสไตล์ญี่ปุ่น ก็มีคากิโกริ น้ำแข็งไสสไตล์ญี่ปุ่นเสิร์ฟให้ด้วย

ภาพจาก : afteryoudessertcafe.com

ผลของความนิยมบิงซูที่หลากหลายที่ไม่จำกัดเฉพาะในเกาหลี ยังวัดได้จากการจำหน่ายเครื่องทำบิงซู ซึ่งมีการนำเข้าจากเกาหลี รวมทั้งจากจีน และที่ผลิตเองในไทยที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

ใครที่เคยไปเดินงานแสดงสินค้าเกี่ยวกับเครื่องจักร โรงแรม หรืองานอาหารต่าง ๆ ก็จะเห็นว่ามีบูธเครื่องทำบิงซูจากเกาหลีมาจัดแสดงสินค้าเพื่อขายในงานเหล่านี้ในบ้านเราเพิ่มขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา

บิงซูของชาติอื่นในเอเชีย เรียกว่าอะไร

สำหรับคนไทย บิงซู ที่เข้าใจง่ายสุดก็คือ น้ำแข็งไส แม้จะไม่วิจิตรอลังการเท่าก็ตาม แต่บิงซูดั้งเดิมอย่างบิงซูถั่วแดงก็มีหน้าตาไม่ต่างจากน้ำแข็งไสราดน้ำแดงใส่นมของไทยเท่าไร ส่วนประเทศอื่น ๆ ในเอเชียก็มีชื่อเรียกต่างกันไป

ในประเทศจีนเรียกว่า เป่าปิง (Baobing) ญี่ปุ่นเรียก คากิโกริ (Kakigori) มาเลเซียเรียก ไอซ์คาจัง (Ice Kacang หรือ Ice Kajang) ฟิลิปปินส์เรียก ฮาโล-ฮาโล (Halo-Halo) ซึ่งหน้าตาขนมจากชาติต่าง ๆ เหล่านี้ก็ไม่หนีบิงซูเท่าไร เพียงแต่คิดช้าไม่มีฟูดสไตล์ลิสต์มาปรับแต่ง จนโดนบิงซูเบียดตกขอบกันไปหมด

ในที่กันดารของจีนอย่างซินเกียงก็มีน้ำแข็งไสใส่โยเกิร์ตผสมน้ำผึ้งแสนอร่อย แต่ก็กินกันเป็นของพื้นบ้าน แต่บิงซูของเกาหลีโกอินเตอร์ ทำให้ทุกคนเรียกเป็นคำฮิตติดปาก จนดันให้บิงซูเป็นโปรดักต์แห่งปีได้ ก็เพราะเริ่มมากจากเรื่องของไอเดียล้วน ๆ

ทำไมบิงซู กลายเป็นน้ำแข็งไสที่เด่นที่สุดในเอเชีย 

เกาหลีเป็นประเทศที่พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยไสน้ำแข็งให้เป็นเกล็ดนุ่มสวยละมุนละลายในลิ้นเมื่อตักเข้าปากอย่างจริงจัง แล้วในขณะเดียวกัน ก็พัฒนานวัตกรรมและดีไซน์ของกินให้ดูวิจิตรด้วยฟูดสไตล์ลิสต์

ที่สำคัญไม่ลืมใส่สตอรี่ให้กับบิงซู เพราะถ้าลองนึกดูให้ดี รวมทั้งเปรียบเทียบใกล้ตัวอย่างน้ำแข็งใสของไทย เรากินกันมานาน แต่เมื่อไม่มี “สตอรี่” น้ำแข็งใสของไทยก็เลยหยุดอยู่แค่นั้น

ในขณะที่เกาหลีบอกเล่าเรื่องราวของบิงซู ซึ่งเริ่มจากบิงซูที่มีส่วนผสมของถั่วแดง ไว้ว่าเป็นเรื่องราวที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สมเป็นขนมหวานประจำชาติ เพราะ Patbingsu หรือบิงซูถั่วแดงนั้น มีรับประทานกันมาตั้งแต่สมัยรางวงศ์โชซอน (ประมาณกลางศตวรรษที่ 15)

นอกจากสิ่งประดิษฐ์ ที่ทำบิงซูได้อร่อยขึ้น คือ สไตล์การนำเสนอด้วยส่วนผสมของอาหารเกาหลีสมัยใหม่ก็มีส่วนช่วยทำให้บิงซูกลายเป็นน้ำแข็งไสหรู ราคาแพง ที่ใคร ๆ ก็อยากสั่งมาถ่ายรูปแชร์ให้เพื่อน ๆ ดู แม้สุดท้ายจะกินไม่หมดและต้องจ่ายเงินอย่างน้อยเกือบ 200 บาท สำหรับบิงซูในร้านขนมหวานหรือร้านอาหารทั่วไป   

ร้านต่าง ๆ รวมถึงเชฟขนมหวาน ก็ยิ่งสนุกกับการผสมสี ปรุงรสชาติ ของบิงซู รวมทั้งปรับขนาดหลากหลาย เพื่อหวังดึงดูดลูกค้าให้ว้าว ทุกครั้งที่บิงซูถูกเสิร์ฟที่โต๊ะ

จากเมนูพื้นบ้านเกาหลีสู่ร้านขนมหวานหรูของเอเชีย

บิงซู รวมทั้งขนมหวานประเภทพาย เค้ก ถั่วแดง เค้กข้าว ของเกาหลี เหมือนได้รับการชุบชีวิตใหม่อีกครั้ง นับตั้งแต่ที่วัฒนธรรมเกาหลีถูกเผยแพร่ออกไป โดยเฉพาะผ่านสื่อบันเทิง อย่างซีรีส์ โดยเฉพาะช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ตลาดขนมเหล่านี้กลับมาได้รับการพูดถึง ยอมรับ และบรรจุเป็นเมนูอยู่ในร้านขนมดัง ๆ ทำให้ตลาดขนมดั้งเดิมของเกาหลีเหมือนเกิดใหม่อีกครั้ง จนถึงขั้นดึงดูดร้านขนมดังจากต่างประเทศต้องเข้ามาขอร่วมแชร์ส่วนแบ่งตลาดขนมในเอเชียและในเกาหลีเอง

ดังเช่นกรณีร้านเดอะชีสเค้กแฟคตอรี่ (The Cheesecake Factory) ร้านขนมชื่อดังจากอเมริกาก็บุกเข้าเกาหลีในช่วง 3-4 ปีก่อนหน้านี้ และขยายไปประเทศอื่น ๆ ในเอเชียรวมทั้งไทยด้วย และที่เห็นได้ชัดคือการเกิดปรากฏการณ์ของ คาเฟ่ขนม (dessert cafés) ที่มีลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละร้านเกิดขึ้นจำนวนมากในกรุงโซล

ปรากฏการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ขนมหวานดั้งเดิม ที่เคยถูกมองว่าโบราณ อยู่นอกสายตาคนรุ่นใหม่กลับมานิยมอีกครั้ง ทั้งถั่วแดง น้ำแข็งไสบิงซู และเค้กข้าว

แน่นอน สำหรับประเทศไทย บิงซู เป็นวัฒนธรรมที่สาวกเกาหลีของไทยรับมามากขนาดไหน ไม่ต้องสืบให้มาก เอาแค่ทุกวันนี้จะกินน้ำแข็งไสราดนมธรรมดา คนรุ่นใหม่ก็แทบจะเปลี่ยนไปเรียกว่าเป็นบิงซูกันไปหมดแล้ว

แม้แต่ไอศกรีมสเวนเซ่นส์ก็ต้องยอมทิ้งลาย เอาไอศกรีมมาปั่นเป็นบิงซู เอาใจลูกค้า 

ความนิยมของบิงซู แรงขนาดทำให้ร้านไอศกรีมอย่าง สเวนเซ่นส์ ซึ่งมียอดขายตกต่อเนื่องติดกันมา 2-3 ปี ยังต้องเลือกหันมาเล่นเกมตามกระแส เอาไอศกรีมมาปั่นเป็นบิงซู เสิร์ฟเอาใจลูกค้ายุคนี้ เพราะโดนพื้นฐานบิงซู ก็คือการเอานมปรุงรสชาติแล้วมาปั่นเป็นเกล็ดหิมะดี ๆ นี่เอง แถมตั้งราคาขายได้แพงกว่าไอศกรีมด้วยซ้ำ สำหรับบิงซูสเวนเซ่นส์ที่ขายตั้งแต่ถ้วยละ 199-319 บาท

แม้แต่ ไทยดริ้งค์ เจ้าของน้ำอัดลมเอส หลังจากผลวิจัยตลาดพบว่า “บิงซู” คือที่ 1 ขนมหวานของวัยรุ่น จึงต้องนำเอา “บิงซู” มาใช้กับน้ำอัดลมสีตัวใหม่ คือ เอสเพลย์ กลิ่นเมลอนบิงซู เอาใจวัยทีนและเอสเพลย์ กลิ่นแมงโก้บิงซู เพื่อจับกลุ่เป้าหมายที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาหน่อย รวมถึงร้านอาหารญี่ปุ่น “โออิชิ” ยังต้องเพิ่มขนมคากิโกริใส่ในเมนูของหวานถึง 3 รสชาติ

เช่นเดียวกับ ร้านไอศกรีม ร้านขนมหวาน รวมถึงร้านอาหารอื่น ๆ ทั้งที่เป็นเชน และเป็นร้านเดี่ยว ไม่ว่าเหยียบย่างเข้าร้านไหน บิงซู ก็ถูกบรรจุเป็นเมนูขนมหวานสามัญประจำร้านกันทั่วทุกร้านแล้ว แถมยังต้องทำป้ายสวย ๆ เรียกแขกไว้หน้าร้านเป็นเมนูไฮไลต์อีกด้วย

ไม่น่าเชื่อจริง ๆ ว่ายุคนี้ แค่เปลี่ยนจากคำว่าน้ำแข็งไส แถมคำว่าทรงเครื่องให้ด้วย ถ้าทำเป็น บิงซู ให้เกล็ดน้ำแข็งนุ่มและมีรสชาติในตัว เท่านี้ก็อัพราคาจากถ้วยละหลักสิบ เป็นหลัก 2-3 ร้อยบาทได้สบาย ๆ

ของอร่อย กินง่าย รสชาติหลากหลาย ถ่ายรูปแชร์ต่อก็เริ่ด ยิ่งเป็นการเสริมยอดขายต่อยอดความดังให้บิงซู ติดท็อปชาร์ตอย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้นั่นเอง.

]]>
1151933