ขยะทะเล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 17 Sep 2019 08:56:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Adidas ลุยเปลี่ยนขยะทะเลเป็นรองเท้า-ชุดกีฬา รับยอดขายสินค้ารักษ์โลกพุ่งแรงทะลุล้าน https://positioningmag.com/1246667 Tue, 17 Sep 2019 09:59:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246667 ตั้งแต่ปี 2015 แบรนด์รองเท้าชุดกีฬาชื่อดังอย่าง Adidas ประกาศความร่วมมือกับ Parley for the Oceans องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ทำโครงการเปลี่ยนขยะพลาสติกในทะเลให้กลายเป็นสปอร์ตแวร์รักษ์โลก โดยขยะที่เป็นขวดพลาสติกจะถูกนำมารีไซเคิลเพื่อใช้ทดแทนโพลีเอสเตอร์ ล่าสุดปีนี้ 2019 Adidas ย้ำว่าจะผลิตรองเท้าจากขยะทะเลให้ได้ 11 ล้านคู่ ซึ่งจะตอบโจทย์ตลาดคนรักษ์โลกที่แห่ซื้อรองเท้าขยะทะเลเกิน 1 ล้านคู่ในปี 2018 ที่ผ่านมา

การผลิตรองเท้าจากขยะพลาสติกในทะเลหรือที่เรียกว่า ocean plastic จำนวนสิบล้านคู่นั้นถือว่าเทียบไม่ได้กับที่ Adidas ผลิตรองเท้ามากกว่า 400 ล้านคู่ทุกปี แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพราะกระบวนการผลิตรองเท้านั้นต้องการทรัพยากรจำนวนมากจนอาจกลายเป็นภาระและขยะที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น Adidas จึงเป็นส่วนหนึ่งของหลายแบรนด์ที่เปลี่ยนไปใช้แหล่งวัตถุดิบอื่น ซึ่งไม่เพียงลดขยะให้โลก แต่ยังสร้างแบรนด์และเพิ่มยอดขายได้ด้วย

สถิติจาก Adidas ช่วงพฤษภาคม 2018 ชี้ว่า Adidas สามารถจำหน่ายรองเท้าที่ทำจากขยะพลาสติกในทะเลมากกว่า 1 ล้านคู่แล้ว ตัวเลขนี้คาดว่าจะเติบโตต่อไป เช่นเดียวกับขยะพลาสติกในทะเลบางส่วนที่จะลดลงได้อีก เพราะ Adidas ใช้ขวดพลาสติกมากกว่า 11 ใบต่อการสร้างรองเท้า 1 คู่

อีก 5 ปีไม่ใช้พลาสติกใหม่เลย

Adidas ยังประกาศแผนชัดเจนว่าจะไม่มีการใช้พลาสติกมือ 1 แบบสร้างขึ้นใหม่หรือ virgin plastic ในสินค้า Adidas ภายในปี 2024 เพื่อสานต่อเป้าหมายนี้ Adidas จึงวางเป้าหมายว่าปี 2019 บริษัทจะผลิตรองเท้า 11 ล้านคู่ด้วยพลาสติกรีไซเคิลจากขยะในมหาสมุทร ซึ่งจะทำคู่ไปกับความเคลื่อนไหวล่าสุด FutureCraft.Loop ที่ถูกประกาศเมื่อเมษายนที่ผ่านมา

Adidas ก้าวไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัวรองเท้ารุ่นใหม่ FutureCraft.Loop ซึ่งมีจุดเด่นที่การเป็นรองเท้าวิ่งที่มี “closed loop” หรือวงจรการผลิตแบบปิดที่จะไม่มีการเพิ่มวัสดุใหม่เข้ามาในวงจร และรองเท้าในตระกูลนี้จะสามารถนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้แบบ 100%

Eric Liedtke ประธานบอร์ดบริหาร Adidas ระดับโลก กล่าวว่าการนำขยะพลาสติกออกจากระบบถือเป็นก้าวแรก แต่ Adidas ไม่สามารถหยุดแค่นี้ เพราะสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับรองเท้าหลังจากที่ถูกสวมใส่จนใช้การไม่ได้แล้ว รองเท้าก็จะถูกทิ้งไป ซึ่งอาจจะถูกนำไปฝังกลบหรือเผาทำลาย จนอาจกลายเป็นมลภาวะทางอากาศที่เต็มไปด้วยคาร์บอนส่วนเกิน หรือขยะที่จะถูกทิ้งลงมหาสมุทร

ขั้นต่อไปที่ Adidas ทำคือการหยุดสร้างขยะ’ โดยสิ้นเชิง ความฝันของเราคือคุณสามารถใส่รองเท้าคู่เดิม ซ้ำใหม่ได้ไม่รู้จบ

Adidas ย้ำว่ารองเท้าตระกูล FutureCraft.Loop จะประกอบขึ้นจากวัสดุ TPU ที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% แทนที่จะโยนรองเท้าทิ้งไป ลูกค้าสามารถส่งกลับไปที่ Adidas เพื่อนำไปรีไซเคิลสำหรับการสร้างรองเท้าซ้ำใหม่ในครั้งต่อไปโดยไม่มีขยะเหลือทิ้ง

ความสุดยอดของ FutureCraft.Loop ทำให้โลกมองว่า Adidas สามารถปฏิวัติวงการรองเท้ากีฬารักษ์โลกได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภคในการซื้อรองเท้าผ้าใบสักคู่ในอนาคต

ปัจจุบันใช้โพลีเอสเตอร์รีไซเคิล 40%

สถิติล่าสุดที่ Adidas เปิดเผย คือขณะนี้สินค้าแบรนด์ Adidas มากกว่า 40% ผลิตจากโพลีเอสเตอร์รีไซเคิล คาดว่า Adidas จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่ช่วยลดขยะ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าใน 30 ปี โลกจะมีพลาสติกในมหาสมุทรมากกว่าปลา 

สำหรับเป้าหมายการผลิตรองเท้า 11 ล้านคู่ด้วยพลาสติกรีไซเคิลจากขยะทะเลนั้นถือว่ามากกว่าเป้าหมายปี 2018 เกิน 2 เท่าตัว ซึ่งในปี 2018 แบรนด์ใหญ่อย่าง Adidas ประเมินว่าการเป็นพันธมิตรกับ Parley for the Oceans ทำให้บริษัทสามารถป้องกันขยะพลาสติกมากกว่า 2,810 ตันไม่ให้หลุดรอดสู่มหาสมุทร ทั้งหมดเป็นขยะจากชายหาดและชายฝั่ง เช่น มัลดีฟส์ ซึ่งขยะจะถูกจัดเก็บและคัดเลือกพลาสติกเพื่อส่งไปยังโรงงานแปรรูปของ Adidas โดยชิ้นส่วนที่เหลือซึ่งไม่สามารถใช้งานได้ จะถูกส่งไปยังโรงงานรีไซเคิลปกติ

โรงงานรีไซเคิลจะบด ล้าง และกำจัดความชื้นจนเหลือเป็นเกล็ดเรซินพลาสติกขนาดเล็ก สำหรับโพลีเอสเตอร์นั้นทำมาจากปิโตรเลียมสกัดซึ่งจะถูกนำไปสร้างเป็นเส้นใยเพื่อทอกลับเข้าไปในวัสดุสำหรับสร้างผ้าใบของรองเท้า รวมถึงเสื้อผ้าซึ่งสินค้าในโครงการระหว่าง Adidas และ Parley จะมีส่วนผสมจากเส้นใยรีไซเคิลจากขยะในทะเลอย่างน้อย 75%

ทั้งหมดทั้งปวง Adidas ไม่ลืมยืนยันว่าทุกผลิตภัณฑ์รักษ์โลกจะยังคงใช้มาตรฐานสากลของ Adidas ทำให้รองเท้าทุกคู่และเสื้อทุกตัวสวมใส่สบายไม่ต่างจากสินค้าปกติของ Adidas จนบางครั้งผู้บริโภคอาจไม่ทราบว่านี่คือสินค้าที่ใช้โพลีเอสเตอร์รีไซเคิล ซึ่งใช้น้ำและสารเคมีน้อยลง แถมยังช่วยป้องกันมลพิษพลาสติกได้ด้วย

สำหรับรองเท้า Futurecraft Loop คาดว่า Adidas จะวางตลาดได้ในปี 2021.

]]>
1246667
“บาหลี” ล้ำหน้าอาเซียน! ประกาศ “แบน” ถุงพลาสติก หลอด และโพลีสไตรีนแบบใช้ครั้งเดียว เริ่มแล้ว 23 มิถุนายนที่ผ่านมา https://positioningmag.com/1236980 Mon, 01 Jul 2019 05:59:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1236980 บาหลีกลายเป็นเกาะแรก และจังหวัดแรกของประเทศอินโดนีเซียที่ห้ามใช้ถุงพลาสติก หลอด และโพลีสไตรีน (Polystyrene) แบบใช้ครั้งเดียว เมื่อประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา 

ซึ่งในช่วงเวลานั้น ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 34 (22-23 มิ..) ร่วมกับผู้นำอาเซียนอีก 9 ประเทศ โดยหัวข้อขยะทะเลเป็นหนึ่งประเด็นสำคัญที่นำมาถกร่วมเพื่อหาทางลดขยะทะเล

แนวทางสู่การบังคับของทางการบาหลี ได้เตรียมการล่วงหน้าแล้วราว 6 เดือน โดยทาง Wayan Koster ผู้ว่าราชการจังหวัดบาหลี ประกาศดำเนินการตามกฎหมายเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2561 ให้เจ้าของธุรกิจทุกคนมีระยะเวลาผ่อนผัน 6 เดือน เพื่อหาทางเลือกใหม่ สำหรับถุงพลาสติก และโพลีสไตรีน (โฟม) พร้อมเตือนทุกภาคส่วนให้พร้อมรับสถานการณ์งดใช้พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง

นี่คือชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่สำหรับสภาพแวดล้อมของบาหลี และอนาคตของเกาะแห่งเทพเจ้าที่รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศไว้เมื่อเดือนธันวาคม 2560 ชาวบาหลีพร้อมใจกันแก้วิกฤตมลพิษพลาสติก เพราะพวกเราต้องการให้ทุกคนได้เป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ การบังคับใช้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ผู้ค้าปลีกสมัยใหม่ไปจนถึงตลาดดั้งเดิมทั้งในเมือง หมู่บ้านชุมชนก็จะไม่ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวอีกต่อไป

ในจดหมายข่าวล่าสุด Bye Bye Plastic Bag อธิบายกระบวนการดำเนินการ “23 มิถุนายน 2562 เป็นวันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์สำหรับพวกเราทุกคน นักเคลื่อนไหว นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และผู้สนับสนุนการเคลื่อนไหวหยุดการใช้พลาสติกฟรีมายาวนาน

ผู้ว่าราชการจังหวัดบาหลี คาดหวังว่าการห้ามจะช่วยรักษาความสามัคคีและคืนความสมดุลให้กับระบบนิเวศของบาหลีซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเรียกร้ององค์การสหประชาชาติ ที่ให้ประเทศต่างๆ ลดการสร้างขยะพลาสติก ลดขยะทะเลที่ลงไปทำร้ายสัตว์ทะเล และระบบนิเวศ รวมถึงเป็นสาเหตุสำคัญของกิจกรรมมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

อีกทั้งอินโดนีเซีย ตกอยู่ในฐานะประเทศผู้สร้างขยะทะเลมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ด้วยปริมาณขยะทะเล 3.22 ล้านตัน/ปี และยังเป็นประเทศที่มีชายฝั่งยาวไกลมากที่สุดในอาเซียน 55,000 กิโลเมตร ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการทำให้ขยะบกตกสู่ทะเลมาก.

Source

]]>
1236980