ค่ายเบียร์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 15 Aug 2019 04:54:53 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แค่ยอดข้าวไม่พอ! AB InBev เจ้าพ่อเบียร์โลกแตกไลน์เบียร์เอลสมุนไพร-ค็อกเทลกระป๋อง ทำเงินเบาๆ 1 พันล้านดอลล์ https://positioningmag.com/1242340 Thu, 15 Aug 2019 02:55:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242340

Products from ZX Ventures’ brand portfolio. SOURCE: ZX VENTURES

Anheuser-Busch InBev NV หรือ AB InBev นั้นเป็นต้นสังกัดเบียร์ดังอย่าง Stella Artois, Budweiser, Corona, Harbin, และ Hoegaarden ฐานะแชมป์เบียร์โลกทำให้ AB InBev เลือกทางเติบโตด้วยการร่วมทุนในบริษัทใหม่ไฟแรงที่พร้อมบุกตลาดด้วยสินค้าไอเดียใหม่ ล่าสุดการลงทุนด้าน VC ของ AB InBev เริ่มเห็นผลแล้วจากความนิยมในเบียร์สมุนไพรและเครื่องดื่มค็อกเทลกระป๋องหลากสไตล์ ส่งให้บริษัทร่วมทุนนี้มียอดขายสูงเกิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐไปแล้วเรียบร้อย

บริษัทร่วมทุนอนาคตไกลของ AB InBev มีชื่อว่า ZX Ventures ซึ่งใจกล้าเดินหน้าโครงการสินค้าคอนซูเมอร์มากมาย เช่น โครงการความร่วมมือเพื่อวิจัยอาหารว่างเสริมโปรตีนสำหรับกลุ่มแฟนผู้นิยมเล่นโยคะ โครงการซื้อแบรนด์ไวน์กระป๋องชื่อ Babe Wine ของ influencer ชื่อดังบน Instagram อย่าง The Fat Jewish และโครงการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออนไลน์ใน 6 ประเทศ จุดยืนของ ZX Ventures ไม่ใช่ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัป แต่เป็นบริษัทลูกของ Anheuser-Busch InBev NV ที่เน้นวัฒนธรรมฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง

Pedro Earp หัวหน้าฝ่ายการตลาดของ AB InBev ซึ่งนั่งเก้าอี้ควบตำแหน่งประธาน ZX ด้วย ยืนยันว่ายังมีโอกาสอีกมากมายรออยู่ในตลาดยุคนี้

SOURCE: ZX VENTURES

เน้นไอเดียสดใหม่

แนวคิดของ ZX Ventures คือการเฟ้นหาเครื่องมือเพื่อการเติบโตที่มีศักยภาพ แล้วเดินหน้าผลักดันอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเองในบริษัท (in-house) หรือผ่านการเข้าซื้อกิจการ ดังนั้นผู้ผลิตเบียร์เบอร์ 1 ของโลกจึงมีอิสระสูงและหลากหลายมาก เช่นก่อนหน้านี้ Labatt บริษัทย่อยของ AB InBev ในแคนาดาก็กำลังค้นคว้าพัฒนาเครื่องดื่มกัญชาโดยร่วมมือกับ Tilray และอีกหลายความพยายามที่จะทำให้บริษัทอยู่รอดท่ามกลางตลาดที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ความท้าทายหลักของแบรนด์เก่าแก่ในวันนี้คือผู้บริโภครุ่นใหม่มองข้ามแบรนด์เก่า ความท้าทายนี้กำลังส่งผลถึงบริษัทคอนซูเมอร์แทบทุกประเภทตั้งแต่ผู้ผลิตสินค้ากลุ่มผงซักฟอกไปจนถึงซอสมะเขือเทศ ความท้าทายนี้ถูกตอกย้ำชัดเจนเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อ AB InBev ยกเลิกการเสนอขายหุ้นในตลาดเอเชียเนื่องจากขาดความสนใจจากนักลงทุน

สิ่งที่เกิดขึ้นกับ AB InBev คือคอเบียร์เริ่มหันหลังให้เบียร์แบรนด์ใหญ่ ทำให้ AB InBev เริ่มหารือเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมเครื่องดื่มหรือสินค้าใหม่ตั้งแต่ปี 2015 ภาวะนี้ทำให้เกิดเป็น VC อย่าง ZX Ventures ที่มุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมเป็นหลัก ซึ่งก่อนหน้านี้ ZX Ventures ก็เคยเดินทางไปที่ Silicon Valley เหมือนกับบริษัทอื่น

Earp หัวเรือใหญ่ ZX Ventures ระบุว่าสิ่งที่บริษัทได้รับนั้นมีมากกว่าการเติบโตแบบทวีคูณ เพราะการอนุมัติหน่วยงาน ZX Ventures ให้เป็นอิสระแบบสิ้นเชิงนั้นทำให้บริษัทสามารถเทความสนใจ 100% ไปที่สิ่งสำคัญสำหรับอนาคตของบริษัทได้แบบไม่มีสิ่งใดกวนใจ

เติบโตต่อเนื่อง

หลังจากคลอดหลากหลายผลิตภัณฑ์เช่นเบียร์สมุนไพรและค็อกเทลกระป๋อง ZX Ventures กลายเป็นโครงการใหม่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของ AB InBev ปัจจุบันมีพนักงาน 1,500 คน ถือหุ้นในกว่า 60 บริษัท และมีรายได้ประจำปี 2018 สูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 10% ของอัตราการเติบโตของยอดขายทั่วโลกของ AB InBev และมากกว่าครึ่งหนึ่งของธุรกิจยุโรป

เป้าหมายของ ZX Ventures ยังอยู่ที่การเพิ่มศักยภาพท่ามกลางปัญหาที่รออยู่ในตลาด ที่ผ่านมา AB InBev เติบโตจากผู้ผลิตเบียร์สัญชาติบราซิลรายเล็ก ก่อนขยับเข้าสู่กลุ่มบริษัทผู้ผลิตเบียร์มากกว่า 1 ใน 3 ของตลาดโลก อย่างไรก็ตาม AB InBev มีชื่อเสียงเรื่องการซื้อกิจการมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์แล้วจึงปรับโครงสร้างด้วยการลดพนักงานจำนวนมาก ทำให้บริษัทต้องบริหารต้นทุนสุดมือจนล่าสุด AB InBev ประกาศว่าจะขายสินทรัพย์ในออสเตรเลียให้กับ Asahi Group Holdings Ltd. ในราคา 11,300 ล้านดอลลาร์เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา

สิ่งที่น่าจับตาของ ZX Ventures คือการเปิดตลาดใหม่ที่เต็มไปด้วยไอเดียสดอนาคตไกล เช่นการร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีด้านอาหารชื่อ Zea10 เพื่อผลิตอาหารว่างเสริมโปรตีนที่มุ่งกลุ่มเป้าหมายไปที่ผู้นิยมโยคะ ซึ่งจะเป็นอาหารว่างที่ผลิตจากเมล็ดข้าวซึ่งเหลือจากการผลิตเบียร์ คาดว่าธุรกิจนี้จะทำเงินได้อีกหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากปัจจุบันเมล็ดข้าวถูกจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์ราคาถูก

ยังมีแบรนด์ชื่อ Cutwater Spirits ที่นำเสนอเครื่องดื่มค็อกเทลที่ผสมไว้ล่วงหน้าเช่น Margaritas, bloody marys และ gin tonic ในกระป๋องแบบเสิร์ฟเดี่ยว ร่วมกับการลงทุนในเว็บไซต์เช่น BeerHawk.com ของสหราชอาณาจักรและ Saveur-Biere.com ของฝรั่งเศส รวมถึงอีกหลายเว็บไซต์จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออนไลน์ที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่

ZX Ventures ยังลงทุนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มการซื้อและรสชาติใหม่ในวงการเบียร์และเครื่องดื่ม ทั้งหมดนี้สะท้อนถึงทางหนีทีไล่สุดชาญฉลาดของยักษ์ใหญ่ AB InBev ในยุคดิจิทัล.

ที่มาhttps://www.bloomberg.com/news/articles/2019-07-22/ab-inbev-brews-up-elderflower-ale-and-canned-cocktails-for-growth

]]>
1242340
“เบียร์ 0%” จะสะดุดหรือไม่? เมื่อสรรพสามิตกำลังหาช่อง “รีดภาษี” https://positioningmag.com/1224942 Thu, 18 Apr 2019 00:59:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1224942 ในภาวะที่ตลาดเบียร์ไทยมูลค่ารวม 1.8 แสนล้านบาท กำลังอยู่ในภาวะความซบเซาจากภาวะชะลอตัวจากสภาพเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อยอดจำหน่ายโดยรวมในทุกเซ็กเมนต์ การทำโปรโมชั่นอย่างเดียวอาจจะทำให้ตลาดกลับมาคึกคักได้ไม่มากนัก ทางออกคือการหาสินค้าใหม่ๆ ที่จะสร้างความว้าวเพื่อปลุกตลาดให้ตื่นอีกครั้ง

ช่วงที่ผ่านมาสินค้าที่สร้างสีสันและ Talk of the town ให้กับผู้บริโภคมากที่สุด เห็นจะเป็นการเปิดตัวเซ็กเมนต์ใหม่เบียร์ 0%” ซึ่งแบรนด์เรียกชื่อว่าเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ หรือเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์ก็ย่อมได้

“Heineken” ผู้จุดกระแส

แบรนด์ที่จุดกระแสนี้คือ “Heineken” เจ้าตลาดในเซ็กเมนต์เบียร์พรีเมียม ได้เปิดตัว “Heineken 0.0” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์แต่คงรสชาติแบบ Heineken เอาไว้ โดยเปิดตัวครั้งแรกในปี 2017 ในประเทศเนเธอร์แลนด์ สเปนและเยอรมนี ตามมาด้วยอังกฤษและฝรั่งเศส

ขณะนี้มีวางจำหน่ายในตลาด 38 แห่งทั่วโลก รวมทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ และออสเตรเลีย ส่วนการเข้ามาในเมืองไทยเป็นแห่งที่ 2 ในเอเชียแปซิฟิก ต่อจากสิงคโปร์

Heineken ชูจุดเด่น 0% แอลกอฮอล์ ที่ไม่สามารถดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาจจะไม่ต้องการดื่มในบางเวลา โดยให้พลังงาน 69 แคลอรีต่อขวด โดย Heineken ย้ำว่าไม่ได้หวังใช้ผลิตภัณฑ์นี้เพื่อการ โฆษณา 

แต่ชื่อ Heineken 0.0 นอกจากสร้างการรับรู้ได้ และการเป็นเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ก็ไม่ผิดกฎหมาย สามารถโฆษณาได้ในทุกช่องทางไม่เหมือนเบียร์ ที่ถูกกำจัดไว้ตอนดึกเท่านั้น

บาวาเรียขอแจมด้วย

ขณะเดียวกันบาวาเรียก็เป็นอีกรายที่ลุกขึ้นมาทำตลาดอย่างจริงจังเช่นเดียวกัน แม้จะเข้ามาในเมืองไทยได้ 5 ปีแล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่ได้มีการทำตลาดที่จริงจังมากนัก ล่าสุดได้ลุกขึ้นมา Active โดยนำเข้าสินค้าใหม่ทั้ง รสแอปเปิล เลมอน สตรอวเบอร์รี่ ภายใต้แบรนด์บาวาเรีย 0.0% มอลต์ ดริ้งค์

การลุกขึ้นมาทำตลาดเบียร์ 0%” พร้อมๆ กันทำให้เกิดคำถามว่า ทำไมตลาดนี้ถึงได้น่าสนใจนัก เพราะในเมืองไทยไม่ค่อยคุ้นหูสักเท่าไหร่ ?

ข้อมูลจาก Global Market Insights แสดงให้เห็นว่า มูลค่าตลาดเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ในทวีปเอเชียแปซิฟิก มีมูลค่ามากกว่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 4.95 หมื่นล้านบาทในปี 2016 ซึ่งตลาดหลักในทวีปเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น

นอกจากนี้ตลาดเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ในประเทศสหราชอาณาจักรเติบโตกว่า 15% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (อ้างอิงจากข้อมูลเว็บไซต์ beveragedaily.com

ขณะเดียวกันกระแสการบริโภคเครื่องดื่มที่แปลกใหม่ทำให้เบียร์ไร้แอลกอฮอล์ หรือเบียร์ 0.0% ได้รับความสนใจ และเพิ่มความนิยมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก

3 ค่ายเบียร์หลัก ลงชิงชัยสมรภูมิแอลกอฮอล์ต่ำ

ก่อนหน้านี้ 3 ค่ายเบียร์หลักในบ้านเราต่างออกสินค้าที่มีแอลกอฮอล์ต่ำจากปรกติซึ่งอยู่ราว 5-8% ลงตลาดอย่างคึกคัก โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในทุกเซ็กเมนต์ รวมถึงตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันอันแสนดุเดือด

โดย กลุ่มบริษัททีเอพี ซึ่งเป็นผู้ทำตลาดของ Heineken มีสินค้า 2 ตัว ได้แก่ ไทเกอร์ แรดเลอร์ แอลกอฮอล์ 2% และ เชียร์ส Siam Weizen แอลกอฮอล์ 4%

ส่วน ค่ายเบียร์สิงห์ ก็ไม่พลาดที่จะออก ยูเบียร์ แอลกอฮอล์ 4.5%, มายเบียร์ แอลกอฮอล์ 4.5% และสโนว์วี่ ไวเซ่น by est.33 แอลกอฮอล์ 4%

แน่นอน ค่ายช้าง ของเจ้าสัวเจริญจะอยู่นิ่งได้อย่างไร จัดไปทั้ง ฮันทส์เมน Cloudy Wheat Beer แอลกอฮอล์ 4% และแบล็ค ดราก้อน เบียร์แดง แอลกอฮอล์ 4%

สรรพสามิตกำลังหาช่องรีดภาษี

อย่างไรก็ตามเบียร์ 0%” จะสะดุดหรือไม่? เพราะล่าสุดกรมสรรพสามิตกำลังหาช่องรีดภาษีอยู่ โดยพชร อนันตศิลป์อธิบดีกรมสรรพสามิต เผยว่า จะเปิดพิกัดภาษีใหม่ สำหรับภาษีสรรพสามิตเบียร์ไร้แอลกอฮอล์ หรือเบียร์ 0% ป้องกันไม่ให้ไปประชาชนทดลองไปดื่มเบียร์ 0% จนนำไปสู่การดื่มเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ในอนาคต 

ปัจจุบัน เบียร์ 0% เสียภาษีสรรพามิตประเภทเครื่องดื่มเหมือนน้ำอัดลม ที่อัตรา 14% บวกกับค่าความหวาน โดยเบียร์ 0% ที่จำหน่ายในประเทศไทยตอนนี้มีทั้งนำเข้าและผลิตในประเทศ ราคาอยู่ที่กระป๋องละ 33 – 99 บาท เสียภาษีสรรพสามิตอยู่ที่ 4 – 12 บาท

ที่ผ่านมากระทรวงสาธารณสุขต้องการให้กรมสรรพสามิตเก็บภาษีเบียร์ 0% เท่ากับเบียร์ปกติทั่วไปที่เสียภาษีอยู่ที่ 22% ของราคาขายปลีก แต่กรมสรรพสามิตไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะกฎหมายของกรมสรรพสามิตกำหนดไว้ชัดว่าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมต่ำกว่า 0.5% ให้เสียภาษีประเภทเครื่องดื่ม

ดังนั้นการเก็บภาษีเบียร์ 0% จึงต้องกำหนดอัตราภาษีใหม่ ซึ่งในหลักการภาษีต้องสูงกว่าอัตราภาษีเครื่องดื่ม แต่ต้องต่ำกว่าภาษีเบียร์ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในระบบภาษี ซึ่งคาดว่าจะสรุปได้ช่วงหลังสงกรานต์

ทั้งนี้ การกำหนดเบียรอัตราภาษีใหม่เบียร์ 0% ต้องไม่ไปกระทบกับยาบางประเภท เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย ที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์อยู่ด้วย

ทางกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า การโฆษณาเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์ถือว่าผิดกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพราะไม่ได้ถือว่าเป็นเบียร์ จึงใช้คำว่าเบียร์ไม่มีแอลกอฮอล์ไม่ได้ แต่เป็นเครื่องดื่มมอลต์ก็ต้องใช้ว่า เครื่องดื่มมอลต์ปราศจากแอลกอฮอล์

เจอศึกหนักตั้งแต่แจ้งเกิดได้ไม่กี่เดือนเลยทีเดียวสำหรับเบียร์ 0%” ต้องติดตามต่อไปว่า หลังเทศกาลสงกรานต์ 2562 ผ่านพ้นไป กรมสรรพสามิตจะว่าอย่างไรบ้าง!

อ้างอิงMGR Infographics

]]>
1224942
ไม่อยากโดนดิสรัปต์ ! “สิงห์” ควัก 800 ล้าน ลงทุนสตาร์ทอัพดาวรุ่ง แตกพอร์ตธุรกิจ https://positioningmag.com/1161240 Mon, 12 Mar 2018 09:18:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161240 หลายปีที่ผ่านมา ค่ายเบียร์เบอร์ 1 อย่าง “สิงห์” พยายามสลัดตัวเองจากการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งเพิ่ม “สปีด” ให้องค์กร มีการซื้อและควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions : M&A) 

ทั้งซื้อหุ้น ร่วมทุนกับพันธมิตร เช่น ทุ่มเงิน 8,900 ล้านบาท ซื้อโรงแรมเมอร์เคียว 26 แห่งในอังกฤษ เสริมพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ ทุ่ม 4 หมื่นล้านบาท ซื้อหุ้นมาซาน กรุ๊ป บิ๊กสินค้าอุปโภคบริโภคในเวียดนาม และซื้อกิจการน้ำส้ม Valensina ในเยอรมัน เสริมพอร์ตนอนแอลกอฮอล์

อีกด้านคือควานหา “เทคโนโลยี” และ “แพลตฟอร์มธุรกิจใหม่” เพื่อขยายอาณาจักร พร้อม ๆ กับการรับมือการถูก Disrupt

ล่าสุด “สิงห์ คอร์เปอเรชั่น” ภายใต้การนำของ ภูริต ภิรมย์ภักดี” ประธานกรรมการบริหาร Singha Ventures ได้ตั้งบริษัทลูก “Singha Ventures” ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital Fund หรือ CVC) เพื่อลงทุนใน “สตาร์ทอัพ” ดาวรุ่งระดับโลก (World Start-up) จิ๊กซอว์ใหม่มาต่อยอดธุรกิจ เพราะเชื่อว่าสตาร์ทอัพกลายเป็นธุรกิจที่ยึดตำแหน่งบริษัททำเงินและมีมูลค่าธุรกิจ (Market Cap) มหาศาลในอันดับต้น ๆ และพลิกโลกได้ เช่น แอปเปิล แอมะซอน เฟซบุ๊ก

เทคโนโลยี เปลี่ยนชีวิตคนเราทางตรงและทางอ้อม ไม่มีใครชอบการเปลี่ยนแปลง แต่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เพราะคนแข็งแรงคือคนที่อยู่รอด

ภูริต กล่าว

Singha Ventures จัดตั้งขึ้นเมื่อกลางปี 2560 ที่ประเทศฮ่องกง ทุนจะทะเบียน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 800 ล้านบาท เลือกฮ่องกงเป็นฐานทัพ เพื่อความสะดวกในการนำเงินเข้า-ออกไปลงทุนในฐานะเป็น Venture Capital : VC

นอกจากนี้ ยังเป็นเคสแรกที่ขอลงทุนโดยไม่ต้องผ่านคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) บริษัท “เราทำธุรกิจแบบเดิมคงไม่ได้ เพราะการทำธุรกิจสตาร์ทอัพ หากรอผ่านบอดร์ดพิจารณางบจะล่าช้า เราอยากใช้เงินวันนี้ บอร์ดเคาะงบพรุ่งนี้ธุรกิจอาจเปลี่ยนแปลงแล้ว”

โดยเน้นการลงทุนใน 3 อุตสาหกรรมที่เป็น “เทรนด์โลก”

1. สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องปรุงรส และบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ รับแนวโน้มประชากรโลกเพิ่ม ทำให้ความต้องการมั่นคงด้านอาหารมีมากตามไปด้วย ซึ่งสิงห์เองก็มีประสบการณ์ธุรกิจเหล่านี้

2. เทคโนโลยีการจัดการห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain) การขนส่งและจำหน่ายสินค้า ตลอดจนค้าปลีก เช่น การขนส่งถึงลูกค้าปลายทางโดยตรง (last mile) การขนส่งระหว่างภาคธุรกิจ (business to business solution : B2B) และการส่งสินค้าและบริการ e-commerce กุญแจสำคัญป้อนสินค้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

3. ลงทุนในระบบหรือโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อเอื้อการทำงานขององค์กร (Enterprise Solutions) เช่น Software as a Service (SaaS) Cloud Computing ระบบการจ่ายเงิน และระบบการให้สินเชื่อแก่คู่ค้า เพราะสิงห์มีคู่ค้า เอเย่นต์จำนวนมาก จึงต้องการให้พันธมิตรมีเครื่องไม้เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น

รวมถึงการเปิดกว้างลงทุนธุรกิจอื่น เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ (Healthcare) รองรับสังคมผู้สูงอายุ เทคโนโลยีสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Property Technology) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotech) พลังงานทดแทน และ Internet of Things (IoT)  เพื่อเชื่อมโยงธุรกิจของสิงห์ทั้งสิ้น

ส่วนสตาร์ทอัพที่เข้าตาสิงห์ สำคัญสุดคือมีโมเดลธุรกิจชัด มีตลาด และรับรู้รายได้แล้วหรืออยู่ใน Series A แต่เป็นไปได้ที่บริษัทจะลงทุนในระดับ Seed Funding Stage ด้วยหากธุรกิจมีไอเดียโดดเด่น และอยู่ในอุตสาหกรรมที่พัฒนาต่อยอดและ Synergy ให้สิงห์และพันธมิตรได้

++เดินเกมสร้างคอนเนกชั่น

ปี 2560 Singha Ventures เทเงินลงทุนให้ 2 กองทุน (Fund of Funds) ได้แก่ Kejora Ventures แพลตฟอร์ม ระบบนิเวศทางเทคโนโลยี (Technology Ecosystem) ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย กองทุนดังกล่าวลงทุนต่อใน 29 ธุรกิจ สร้างผลการดำเนินงานโตกว่า 200% ในเวลา 3 ปี และ Vertex Ventures ของกลุ่มทุน “เทมาเส็ก” สิงคโปร์ มีเครือข่ายบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในวงการ Technology และ Venture Capital อย่างกว้างขวางทั่วโลก

ภูริต บอกว่า การนำเงินลงทุนในกองทุนช่วง 2 ปีแรก มุ่งสร้างคอนเนกชั่นจากทุนยักษ์ใหญ่ และหาเครือข่ายสตาร์ทอัพผ่านกองทุนเหล่านั้น เพราะต้องยอมรับว่าธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ล้วนมี “พี่เบิ้ม” เช่น โกลด์แมนแซคส์ ธนาคาร ที่เข้าใจเกมธุรกิจหนุนหลังทั้งสิ้น สเต็ปถัดไปสิงห์จะตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพโดยตรง รวมถึงเตรียมลงทุนในกองทุน 500 TukTuks ด้วย

การเทเงินลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ บริษัทวางกรอบการถือหุ้นขั้นต่ำ 25% ส่วนหุ้นใหญ่ให้ “ผู้ก่อตั้ง” ถือไว้ เพื่อจูงใจให้มีการพัฒนาโมเดลธุรกิจให้แข็งแรงมากขึ้น จากนั้นจะค่อย ๆ เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็นลำดับตามการเจริญเติบโตแต่ละขั้นของสตาร์ทอัพ

เราไม่ซื้อหุ้น 100% เพราะต้องการให้ผู้ก่อตั้งและคิดค้นธุรกิจมีพลังในการทำต่อ ขยับเป็นยูนิคอร์นสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าเกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐให้ได้

นอกจากเงินทุนแล้ว สิงห์ยังเปิดกว้างความร่วมมือ (Collaboration) อื่น ๆ เช่น ให้สตาร์ทอัพใช้ทรัพยากรทั้งบุคลากร การวิจัยและพัฒนาสินค้า การทำตลาด ตลอดจนการขายได้ด้วย สามารถใช้ Connection จากเครือข่ายของสิงห์ใน 50 ประเทศทั่วโลก ช่องทางจำหน่าย 4 แสนจุดในประเทศไทย รวมถึงช่วยด้านลงทุน (Investment) กับพันธมิตรในระยะยาว ช่วยทำให้สตาร์ทอัพใหญ่ขึ้น

หากเป็นไปตามแผน “ภูริต” เชื่อว่าสิงห์จะโตเร็วมาก เพราะการลงทุนไม่ถึงปีของ Singha Ventures ได้รับผลตอบแทนจาก 2 กองทุนกลับมา 2.5 เท่า และ 3 เท่าตามลำดับ

“ถ้าเราทำแบบเดิม ธุรกิจไม่ถึงกับโตถดถอย แต่เราจะโตไม่มาก หากอยากโตมากต้องไปจับธุรกิจใหม่ เช่นอสังหาฯ แต่ใช้เงินลงทุนมหาศาล ขณะที่ลงทุนในสตาร์ทอัพถ้าจับถูกตัวจริง ๆ อาจเป็นเหมือนเทมาเส็กที่ลงทุน 2 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 20% ใน Grab แล้วมูลค่าธุรกิจสูงขึ้นเกินหลักพันล้านเหรียญสหรัฐ และสิงห์ต้องการโตแบบนั้น”

]]>
1161240