ค้าปลีกอเมริกัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 02 Dec 2019 16:14:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เอาคืน! “ยอดขายออนไลน์” ของห้าง Walmart และ Target โตเร็วกว่า Amazon แล้ว https://positioningmag.com/1255616 Mon, 02 Dec 2019 16:10:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1255616
  • ผลสำรวจจากช่วงสองสัปดาห์แรกเดือนพฤศจิกายน 2019 ยอดขายออนไลน์ ของห้างฯ ดั้งเดิมอย่าง Walmart และ Target มีเปอร์เซ็นต์เติบโตสูงกว่าของ Amazon
  • Amazon ยังเป็นเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์อันดับ 1 ในใจผู้บริโภค แต่กำลังถูกแย่งชิงตำแหน่งจากกระแสความคิดเห็นเชิงลบที่มีต่อแบรนด์ที่เพิ่มสูงขึ้น
  • ปกติแล้ว Amazon จะเป็นเจ้าแห่งการขายสินค้าออนไลน์ และเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ทำให้บรรดาห้างสรรพสินค้าแบบดั้งเดิมต้องซวนเซในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ปี 2019 นี้ อาจจะถึงจุดที่เกิดความเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในวงการค้าปลีกอเมริกัน

    โดย Edison Trends บริษัทวิจัยพบว่า ช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายนปี 2019 ซึ่งมีการซื้อขายรวม 1.2 ล้านครั้ง ปรากฏว่า “ยอดขายออนไลน์” ของห้างฯ Walmart เติบโต 51% YoY และห้างฯ Target ตามมาติดๆ เติบโต 47% YoY แต่ Amazon มีการเติบโตร่วงลงไปที่สาม คือเติบโต 32% YoY

    สาเหตุเป็นเพราะห้างฯ เหล่านี้ต่างปรับตัวรับมือการรุกตลาดของ Amazon กันเรียบร้อยแล้ว โดยมีการลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ของตัวเอง และยังคงรักษาหน้าร้านของห้างออฟไลน์อยู่ ทำให้บริการลูกค้าได้หลากหลายกว่า เช่น ลูกค้าสามารถสั่งออนไลน์แล้วมารับของในห้าง หรือซื้อของในห้างแล้วสั่งให้ส่งตรงไปที่บ้าน

    “ค้าปลีกดั้งเดิมได้ก้าวจากการปฏิเสธไม่ยอมรับว่าอีคอมเมิร์ซเป็นภัยต่อตลาดของตัวเอง มาสู่การยอมรับความจริงนั้นและมีการลงทุนเพื่อทำให้ตัวเองได้เปรียบจากการขายแบบ Omnichannel” ไมเคิล เบเกอร์ นักวิเคราะห์จาก Nomura Instinet กล่าว

    ยอดขายออนไลน์
    Amazon จะถูก “เอาคืน” จากห้างสรรพสินค้าดั้งเดิมหรือไม่?

    แม้ว่าหนทางจะยังอีกยาวไกล เพราะ Amazon ยังเป็นเบอร์ 1 ของเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่ผู้บริโภคเลือก อ้างอิงข้อมูลจากบริษัทวิจัย Bain & Co. และบริษัทก็มีเทกนิกการตลาด โดยมักจะประกาศข่าวใหญ่ของบริษัทในช่วงเทศกาลวันหยุดวันช้อปปิ้งต่างๆ เสมอ เช่น การประกาศเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้พนักงานบริษัท หรือประกาศสร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ ทำให้แบรนด์ได้เป็น top-of-mind ของผู้บริโภคในช่วงนั้น แต่ปีนี้ Amazon อาจต้องเผชิญความยากลำบากบ้าง

    โดย Net Promoter Score ของ Amazon เองที่คอยวัดความพึงพอใจลูกค้าว่ามีแนวโน้มจะแนะนำเว็บไซต์นี้ให้เพื่อนๆ ตามเข้ามาช้อปหรือไม่ โดยแบ่งแนวโน้มการแนะนำต่อออกเป็น 9 หมวดสินค้า และ ตั้งแต่ปี 2017 จนถึงปีนี้ Amazon เสียตำแหน่งเว็บอันดับ 1 ไปแล้ว 6 หมวด ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กีฬา ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน และเสื้อผ้าผู้หญิง

    ข้อมูลจาก Bain & Co. ร่วมกับ Brandwatch มองว่า กระแสความเปลี่ยนแปลงเกิดจากความคิดเห็นบนโซเชียลมีเดีย ต่อ Amazon ที่ไปในทางกลางๆ จนถึงทางลบเพิ่มจำนวนขึ้น ขณะที่ความเห็นทางบวกกลับลดลง ส่งผลต่อการเสียตำแหน่งแบรนด์ในใจผู้บริโภค

    สำหรับห้างสรรพสินค้าอื่นๆ นอกจาก Walmart และ Target ได้แก่ Nordstrom, Etsy, Best Buy และ Macy’s แม้ว่ายอดขายออนไลน์จะเติบโตไม่ทัน Amazon แต่ก็เห็นความก้าวหน้าและการสร้างกลยุทธ์ที่น่าจะทำให้ Amazon ต้องหนาวๆ ร้อนๆ บ้างเช่นกัน

    Source

    ]]>
    1255616
    เลือดรักชาติแรง! ชาวจีน 78% ตั้งใจ “งดซื้อ” สินค้าแบรนด์อเมริกันในมหกรรม 11.11 https://positioningmag.com/1252431 Tue, 05 Nov 2019 08:57:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1252431 สงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ ที่ดำเนินมาอย่างดุเดือดกว่า 2 ปี ปลุกเลือดรักชาติของคนจีนในระยะหลัง โดยเฉพาะการใช้อาวุธสำคัญอย่าง ‘กำลังซื้อ’ เป็นการตอบโต้ ไม่เว้นแม้แต่มหกรรมลดราคาสินค้า 11.11 ที่กำลังจะมาถึง ชาวจีนถึง 78% ตั้งใจหันหลังให้แบรนด์อเมริกันเพื่อแสดงออกถึงชาตินิยม

    จากการสำรวจผู้ใหญ่ชาวจีนจำนวน 2,000 คนโดย AlixPartners ระหว่างวันที่ 2-7 ตุลาคมที่ผ่านมา ผู้สำรวจพบว่าคนจีน 78% หรือสัดส่วน 3 ใน 4 ตั้งใจที่จะหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าแบรนด์อเมริกันในเทศกาลลดราคาสินค้าวันคนโสด 11.11 ที่จะถึงนี้ โดยครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มนี้กล่าวว่า เหตุผลหลักของพวกเขาคือ “ชาตินิยม”

    พฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีนนี้ถือเป็นภาพสะท้อนของสงครามการค้าที่ดำเนินมากว่า 2 ปี โดยมีการเพิ่มกำแพงภาษีเพื่อตอบโต้กันและกันมาโดยตลอด ซึ่งส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกภายในประเทศของทั้งสองฝ่าย

    “ผู้บริโภคชาวจีนเลือกสินค้าแบรนด์จีนมากกว่าอยู่แล้ว และกระแสชาตินิยมที่กำลังพุ่งขึ้นในระยะหลังยิ่งส่งให้พฤติกรรมนี้มีมากขึ้นไปด้วย” Jason Ong ผู้อำนวยการ AlixPartners กล่าว “แบรนด์ท้องถิ่นเติบโตขึ้นในประเทศจีน ไม่มีอีกแล้วสำหรับภาพสินค้าจีนที่มีงานดีไซน์และคุณภาพต่ำ หรือการตลาดที่อ่อนแอ”

    เทศกาลวันคนโสด 11.11 ซึ่งจัดขึ้นโดย อาลีบาบา กรุ๊ป โฮลดิ้ง เป็นเทศกาลลดราคาสินค้า 24 ชั่วโมงบน 3 แพลตฟอร์มหลักของเครือได้แก่ Taobao, Tmall และ AliExpress ด้วยมูลค่าการขายรวม 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในวันเดียว (ข้อมูลปี 2018) นับเป็นเทศกาลลดราคาสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชนะทั้งวัน Prime Day ของ Amazon ซึ่งมียอดขายรวม 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และ Black Friday ที่มียอดขาย 6.2 พันล้านเหรียญ หรือ Cyber Monday ที่ทำยอดขายรวม 7.9 พันล้านเหรียญ

    ทั้งนี้ หากผู้บริโภคชาวจีนยืนหยัดงดซื้อสินค้าอเมริกันตามที่ตั้งใจจริง กลุ่มสินค้าที่น่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเสื้อผ้าเครื่องประดับ เช่น Nike, Ralph Lauren, Tiffany Co., บริษัท Tapestry Inc. เจ้าของแบรนด์ Coach และ Kate Spade, บริษัท Capri Holdings เจ้าของแบรนด์ Versace, Jimmy Choo และ Michael Kors

    อย่างไรก็ตาม แบรนด์อื่นที่ไม่ได้อยู่ใต้ร่มบริษัทอเมริกันก็ยังอุ่นใจได้ เพราะผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าพวกเขายังจะเลือกซื้อสินค้าของต่างประเทศอื่นๆ อยู่ เช่น แบรนด์จากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยุโรป แต่จะต้องเป็นแบรนด์ที่พวกเขามองว่ามีดีไซน์และคุณภาพที่ดีกว่าของจีน

    ที่มา: scmp, Forbes

     

    ]]>
    1252431
    Walmart เดิมพันอีคอมเมิร์ซอินเดีย เท 16,000 ล้านดอลล์ซื้อหุ้นใหญ่ Flipkart ท้ารบ Amazon https://positioningmag.com/1169492 Thu, 10 May 2018 15:12:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169492 วอลมาร์ท (Walmart) บริษัทค้าปลีกอเมริกันรายใหญ่ประกาศเทเงินลงทุน 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อหวังโตในตลาดอีคอมเมิร์ซสุดเฟื่องฟูของอินเดีย เม็ดเงินนี้ถูกเทเพื่อซื้อหุ้นบริการตลาดออนไลน์แดนโรตีชื่อฟลิปคาร์ท (Flipkart) คาดดีลที่ใหญ่ที่สุดที่ Walmart เคยทำนอกบ้านเกิดนี้จะถูกวางเป้าเพื่อดับเครื่องชนคู่แข่งสำคัญอย่างแอมะซอน (Amazon) ให้ได้

    การซื้อหุ้นครั้งนี้จะเป็นทางลัดให้ Walmart สามารถเข้าถึงนักช็อปกลุ่มใหญ่ของอินเดียได้โดยตรงอย่างทันใจ เนื่องจาก Walmart จะเข้าควบคุมการดำเนินงานของ Flipkart ผู้ค้าปลีกออนไลน์ที่มีจุดเด่นเรื่องพนักงานส่งสินค้าแพร่หลายทุกทิศทั่วประเทศ ซึ่งจะขับรถจักรยานยนต์พร้อมกระเป๋าเป้สะพายหลังใบใหญ่

    Walmart ถือเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่ที่สุดในโลก การเทเงินซื้อหุ้น Flipkart ถูกมองว่าเป็นเพราะ Walmart มั่นใจในเศรษฐกิจร้อนแรงของอินเดีย ซึ่งนอกจาก Walmart และ Amazon หลายบริษัทมีความกระตือรือร้นอยากจะขายสินค้าให้แก่ประชากรกลุ่มใหญ่ในแดนโรตี

    แต่แทนที่จะแข่งขันกับ Flipkart เจ้าพ่ออย่าง Walmart เลือกครอบครองบริษัทเพื่อมุ่งสู่อีคอมเมิร์ซเต็มตัวในอนาคต ซึ่ง Walmart เพิ่งตัดสินใจเมื่อเดือนที่แล้ว เรื่องขายแผนกงาน Asda ในอังกฤษที่เน้นดำเนินธุรกิจแบบซูเปอร์มาร์เก็ตดั้งเดิม

    ด้านคู่แข่ง Walmart อย่าง Amazon ซึ่งดำเนินธุรกิจออนไลน์ในอินเดียแล้ว ก็มีรายงานว่าได้เจรจาพูดคุยกับ Flipkart ด้วยเช่นกัน แต่ Walmart เป็นฝ่ายชนะคว้าดีลไป

    สำหรับ Flipkart นั้นเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซที่มียอดขายสุทธิ 4,600 ล้านเหรียญสหรัฐ (ในปีงบประมาณล่าสุด) ขณะที่ Walmart มียอดขาย 485,800 ล้านเหรียญสหรัฐ แน่นอนว่า Walmart เชื่อมั่นในอินเดียซึ่งมีประชากร 1,300 ล้านคน และอาจเป็น 1 ใน 5 ตลาดอีคอมเมิร์สที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายใน 5 ปีข้างหน้า

    จุดเริ่มต้นของ Flipkart มีส่วนคล้าย Amazon สูงมาก โดย Flipkart ก่อตั้งขึ้นในปี 2007 ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ก่อตั้งยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยร่วมกับอดีตพนักงานของ Amazon โดยที่ผ่านมา Flipkart ก็เริ่มต้นธุรกิจด้วยฐานะผู้ขายหนังสือออนไลน์เช่นกัน

    Flipkart เป็นบริการอีคอมเมิร์ซกลุ่มแรกที่มุ่งเน้นให้บริการบนโทรศัพท์มือถือก่อนใคร กระทั่งในปี 2016 ดาวรุ่งอย่าง Flipkart กลายเป็นแอปพลิเคชันตัวแรกในอินเดียที่มีผู้ใช้เกิน 50 ล้านราย ขณะนี้ Flipkart มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้วกว่า 100 ล้านรายและผู้ขายที่ลงทะเบียนในระบบมากกว่า 100,000 ราย ขณะที่ธุรกิจซัปพลายเชนในเครือ Flipkart อย่าง eKart เปิดให้บริการแล้วมากกว่า 800 เมือง ดำเนินการจัดส่งสินค้ามากกว่า 500,000 เที่ยวต่อวัน

    อย่างไรก็ตาม หุ้นของ Walmart Inc. ร่วงลงกว่า 3% เมื่อวันพุธเนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าการลงทุนนี้จะทำให้ผลกำไรของบริษัทลดลง.

    Source

    ]]>
    1169492
    ค้าปลีกอเมริกัน ปรับสู่อาลีเพย์เพิ่มขึ้น รับเทรนด์นักท่องเที่ยวจีน https://positioningmag.com/1159843 Sat, 03 Mar 2018 06:40:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1159843 มีรายงานว่าธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในขณะนี้ประสบปัญหาด้านยอดขายอย่างหนักจนหลายแห่งต้องเริ่มปิดสาขาไปนั้นกำลังพบแหล่งรายได้ขุมใหม่แล้ว นั่นก็คือนักท่องเที่ยวจีน ที่นิยมเดินทางไปท่องเที่ยวในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก

    โดยมีรายงานจากเซาท์ไชน่า มอนิ่ง โพสต์ว่า ปัจจุบัน ค้าปลีกเหล่านี้ได้ลงมาศึกษาตลาดการชำระเงินผ่าน QR Code รวมถึงแอปพลิเคชันที่ใช้รองรับการชำระเงินจากนักท่องเที่ยวจีนกันมากขึ้น เพื่อหวังดูดเงินจากนักท่องเที่ยวจีนแทนอเมริกันชนที่หันไปนิยมชมชอบธุรกิจค้าปลีกออนไลน์อย่างแอมะซอน (Amazon) แทนแล้วด้วย 

    โดยจากพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวจีนที่นิยมจ่ายผ่าน QR Code กันเป็นหลักนั้น ได้ทำให้บริษัทจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาเกิดการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นบริษัทผู้ผลิตวิตามินและอาหารเสริมอย่าง GNC ไปจนถึงบ่อนคาสิโน 

    ข้อมูลอินไซต์ที่ Souheil Badran ประธานอาลีเพย์ในสหรัฐอเมริกาเปิดเผยออกมาก็คือ โดยทั่วไปแล้ว นักท่องเที่ยวจีนเมื่อเดินทางออกนอกประเทศ พวกเขาจะชอบการช้อปปิ้งเป็นชีวิตจิตใจ และพวกเขาจะมีแบรนด์ที่ต้องการในใจแล้วสำหรับการช้อปนั้น ๆ เพียงแต่ปัญหาก็คือเรื่องภาษาและระบบการจ่ายเงินที่ไม่รองรับ เนื่องจากในจีนจะใช้แอปพลิเคชันกระเป๋าสตางค์อิเล็กทรอนิกส์ (Mobile Wallet) เพื่อจับจ่ายใช้สอย

    ในจุดนี้ประธานอาลีเพย์มองว่า ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาจะได้อานิสงส์อย่างมากกับเม็ดเงินระดับหมื่นล้านเหรียญสหรัฐที่นักท่องเที่ยวจีนพร้อมจ่าย หากสามารถอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวจีนได้ใช้ Mobile Wallet ของพวกเขาจ่ายเงินได้ โดยเฉพาะในหมวดสินค้าที่นักท่องเที่ยวจีนต้องการช้อป เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

    นอกจากนั้น หากมองย้อนไปในเดือนกุมภาพันธ์ มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปเที่ยวสหรัฐอเมริกาในช่วงตรุษจีนมากถึง 6.5 ล้านคน ขณะที่ยอดการใช้จ่ายนั้นยังถือว่าเล็กน้อยมากหากเทียบกับธุรกิจค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาที่ใหญ่โต คือประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์จากมูลค่าตลาดค้าปลีกที่ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากร้านค้าในสหรัฐอเมริกาเปิดกว้างมากกว่านี้ ก็เป็นไปได้ว่า นักท่องเที่ยวจากจีนจะสามารถสร้างการเติบโตในตลาดค้าปลีกของสหรัฐอเมริกาให้กลับมาเฟื่องฟูได้อีกครั้ง

    นั่นจึงทำให้ธุรกิจค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาหลายรายเริ่มหันมารับชำระเงินผ่านอาลีเพย์ (Alipay) และวีแชทเพย์ (WeChat Pay) สองแพลตฟอร์มรับชำระเงินยักษ์ใหญ่ของจีนแทนที่จะปักหลักรอรับแต่บัตรเครดิตตามความเคยชินกันแล้ว

    แต่การปรับตัวของค้าปลีกสหรัฐอเมริกาเพื่อนักท่องเที่ยวจีนยังมีมากกว่านั้น เช่นการประดับตกแต่งร้านด้วยโคมไฟ หรือตุ๊กตานักษัตร เพื่อทำให้นักท่องเที่ยวจีนรู้สึกคุ้นเคยมากขึ้นด้วย 

    ทั้งนี้ รายงานจากเซาท์ไชน่า มอนิ่ง โพสต์ระบุว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา พบว่ามีร้านค้าปลีก ภัตตาคาร โรงแรมและแท็กซี่ในสหรัฐอเมริกามากกว่า 170,000 รายที่หันมารับเงินผ่านอาลีเพย์แล้ว.

    ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000021435

    ]]>
    1159843
    ห้างฯ สิ้นมนต์ขลัง ค้าปลีกอเมริกันระส่ำ แห่ปิดร้าน-ล้มละลาย https://positioningmag.com/1153070 Tue, 09 Jan 2018 15:59:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153070 ภาพจาก : www.scmp.com

    นักวิเคราะห์ชี้ปี 2018 จะเป็นปีที่ธุรกิจค้าปลีก” อเมริกันหลายรายก้มหน้าปิดร้านและยื่นขอล้มละลาย กำหนดการนี้ถือว่าเร็วกว่าที่เคยคาดไว้เมื่อปีที่แล้ว คาดว่าคลื่นพายุที่กวาดล้างร้านค้าปลีกอเมริกันจนเรียบเป็นหน้ากลองนี้จะเป็นประโยชน์ที่เอื้อให้บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Amazon และ Wal-Mart ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ

    บริษัทที่วิเคราะห์วิกฤตธุรกิจค้าปลีกล้มละลายในสหรัฐฯ คือ Credit Suisse Group ซึ่งฟันธงว่าจะมีการปิดสาขาร้านค้า และการล้มละลายของผู้ค้าปลีกสหรัฐฯ ในไม่ช้าช่วงปีนี้ เนื่องจากอุตสาหกรรมเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้เมื่อปีที่แล้ว

    Credit Suisse Group ใช้คำว่าการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่และปฏิเสธไม่ได้ของธุรกิจค้าปลีกจะส่งผลกับอัตราค่าเช่าและอัตราการว่างงานในปีนี้ โดยนักยุทธศาสตร์ Roger Lehman และ Benjamin Rozyn ตั้งข้อสังเกตว่าบอนด์หรือพันธบัตรที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินกู้กลุ่มนี้จะมีแนวโน้มอ่อนตัวลง

    แม้ว่าช่วงปลายฤดูการซื้อสินค้าช่วงคริสมาสต์ที่เพิ่งสิ้นสุดลง จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ค้าปลีกในทศวรรษที่ผ่านมา แต่ตามการคาดการณ์เบื้องต้น ห้างสรรพสินค้าอย่าง Macy’s และ JCPenney ไม่ได้ทำให้นักลงทุนรู้สึกว้าวกับผลประกอบการที่ทำได้ จุดนี้แม้บริษัทอย่าง Macy’s และ JCPenney จะห่างไกลจากการล้มละลาย แต่ Macy’s ก็กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่าจะปิดสาขาลง 11 สาขาในต้นปี 2018

    ในขณะที่ร้านค้าปลีกปิดสาขา ผู้ค้าปลีกรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย เช่น Amazon.com, Wal-Mart Stores และ Home Depot คาดว่าจะได้รับส่วนแบ่งมหาศาลจากผลกำไรของอุตสาหกรรมค้าปลีก 

    เบื้องต้น รายงานชี้ว่าช่วงเวลาที่ควรจับตาเรื่องการล้มละลายของธุรกิจค้าปลีกอเมริกันคือเดือนมกราคม เพราะเดือนแรกของปีมักเป็นเดือนที่มีการยื่นล้มละลายของผู้ค้าปลีกอเมริกันมากที่สุด ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg Intelligence ย้อนหลังไปถึงปี 1981

    ธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ธุรกิจเช่าพื้นที่ค้าปลีก ซึ่งแม้จะยังคงดำเนินการต่อไปในหลายปีข้างหน้า แต่ก็จะลดทางเลือกด้านการเงินลง จุดนี้ทำให้คาดการณ์ว่าเจ้าของห้างสรรพสินค้าและเจ้าของพื้นที่อาจหาทางแก้ปัญหาด้วยการปรับสินเชื่อ ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นกับห้างสรรพสินค้าระดับกลางและต่ำ

    จุดนี้อาจส่งผลกระทบถึงการให้สินเชื่อรายย่อยที่ไม่ใช่ห้างสรรพสินค้าด้วยไปโดยปริยาย

    สิ่งที่เรากำลังจะได้เห็นในสหรัฐฯ คือ ห้างสรรพสินค้ากำลังจะสิ้นมนต์ขลัง เพราะโลกค้าปลีกมีวิวัฒนาการออกห่างจากห้างสรรพสินค้าแบบดั้งเดิม รวมถึงศูนย์การค้ากลางแจ้ง และพื้นที่เช่าเพื่อค้าปลีก อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ว่าร้านขายของชำยังมีโอกาสทางธุรกิจที่ดีอยู่ เห็นได้ชัดจากการที่ผู้ซื้อชะลอการซื้ออาหารออนไลน์ในขณะนี้

    ที่มาscmp.com/property/international/article/2127301/wave-store-closures-and-retail-bankruptcies-us-benefit-giants

    ]]>
    1153070