จุดธูปอิเล็กทรอนิกส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 25 Dec 2017 03:54:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ญี่ปุ่นเปิดบริการแล้ว ร่วมงานศพแบบ “ไดรฟ์ทรู” https://positioningmag.com/1151536 Sun, 24 Dec 2017 07:44:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151536 เอเจนซี – บริษัทในญี่ปุ่นเปิดให้บริการ “เข้าร่วมงานศพแบบไดรฟ์ทรู” แล้วเป็นแห่งแรกใน จ.นากาโนะ สามารถไว้อาลัยแด่ผู้วายชนม์โดยไม่ต้องลงจากรถ มีบริการลงนามในสมุดไว้อาลัย-จุดธูปอิเล็กทรอนิกส์-ฝากซอง ได้ง่าย ๆ เหมาะแก่ผู้สูงอายุและคนพิการที่ไม่มีคนคอยช่วยเหลือ

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา ที่สถานฌาปนกิจ Ueda Minami Aishoden ในจังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น มีการเปิดให้บริการที่เอื้อให้ผู้เข้าร่วมงานศพ สามารถไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตและครอบครัวได้แบบไม่ต้องลงจากรถ หรือที่รู้จักกันนาม ไดรฟ์ทรู (Drive Thru)

มาซาโอะ โอกิวาระ ประธานบริษัท Lext Ai ผู้ให้บริการจัดการและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในงานศพ เปิดเผยว่า บริการนี้จะช่วยให้ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการที่ประสบความยากลำบากในการเข้าร่วมงานศพในลักษณะนี้ เนื่องจากไม่มีคนคอยช่วยเหลือสามารถไว้อาลัยต่อผู้วายชนม์ได้สะดวกมากขึ้น

สำหรับรูปแบบของบริการเข้าร่วมงานศพแบบไม่ต้องลงจากยานพาหนะก็คือ เมื่อขับรถเข้ามา ผู้เข้าร่วมงานก็จะพบกับเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ที่ออกแบบเฉพาะให้รถยนต์เข้ามาจอดเทียบได้ในลักษณะเดียวกับเวลาที่เราแวะไปซื้ออาหารจานด่วนแบบไดรฟ์ทรูต่าง ๆ จากนั้นผู้เข้าร่วมงานก็สามารถลงนามในสมุดลงนาม หรือผ่านแท็บเลตหน้าจอสัมผัส จากนั้นก็สามารถฝากซองเงินให้กับญาติของผู้เสียชีวิตได้

นอกจากนี้บริการดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานกราบ จุดธูปอิเล็กทรอนิกส์ และไว้อาลัยต่อภาพของผู้วายชนม์ผ่านหน้าต่างขนาดใหญ่ได้อย่างสะดวก ขณะเดียวกันยังมีการติดตั้งไฟไว้ด้านในเพื่อเตือนญาติมิตรของผู้วายชมม์ให้ได้รับทราบว่ามีแขกเข้าร่วมงานศพผ่านช่องทางไดรฟ์ทรู พร้อมกับมีกล้องวงจรปิดเชื่อมต่อให้เห็นภาพว่าบุคคลที่มาดังกล่าวเป็นใครด้วย

ผู้บริหารของ บ.Lext Ai ยังกล่าวด้วยว่า ข้อดีของการเปิดให้บริการเข้าร่วมงานศพแบบไดรฟ์ทรูอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้เข้าร่วมงานไม่จำเป็นต้องใส่ชุดสูทดำหรือชุดดำเข้าร่วมพิธี ตามธรรมเนียมการเข้าร่วมพิธีศพทั่ว ๆ ไปของชาวญี่ปุ่น และแม้จะมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่าบริการดังกล่าวเป็นเรื่องฉาบฉวย หรือทำลายประเพณีอันดีงาม แต่เขากลับเห็นว่า เมื่อมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาก็มักจะถูกผู้คนปฏิเสธไว้ก่อน แต่หากไม่มีคนท้าทายธรรมเนียมหรือประเพณีเก่า ๆ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันก็จะไม่เกิดขึ้น.

ที่มา : mgronline.com/japan/detail/9600000129084

]]>
1151536