ชาวเน็ต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 22 Dec 2021 23:58:00 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รู้จัก ‘Web3’ อินเทอร์เน็ตยุคใหม่ที่ ‘อีลอน มัสก์’ ซัดว่าเป็น ‘ศัพท์การตลาด’ ไม่มีทางเกิดจริง https://positioningmag.com/1368354 Wed, 22 Dec 2021 14:24:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368354 หลายคนที่รู้จักกับ Cryptocurrency หรือ Bitcoin ก็คงต้องรู้จักกับ บล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่ง Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีแนวคิดทำในการสร้างระบบที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอีกต่อไป เนื่องจากเป็นการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ เช่นเดียวกับ Web3 หรืออนาคตของโลกอินเทอร์เน็ตแบบกระจายอำนาจโดยอิงจากบล็อกเชน

รู้จัก Web3

ก่อนจะไปรู้จักกับ Web3 เรามารู้จักกับ Web1 และ Web2 กันก่อน โดย Web1 ทำหน้าที่ให้ข้อมูลในรูปแบบสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) หรือ Static Web โดยผู้ใช้งานไม่สามารถโต้ตอบอะไรได้ มีเพียงเจ้าของเว็บหรือผู้ผลิตข้อมูลป้อนไว้เท่านั้นที่จะนำเสนอและอัปเดต-แก้ไขเนื้อหาข้อมูลต่าง ๆ

เนื่องจากข้อจำกัดดังกล่าวทำให้ในปี 2000 ก็ได้ถือกำเนิดเป็น Web2 ที่ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้นง่ายกว่าเดิม และทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ในโลกเสมือนจริงที่มากขึ้นกว่าเดิม เริ่มมีการพัฒนาทั้งระบบการค้นหาของ Google ต่อมาก็ก่อเกิดชุมชนออนไลน์อย่าง Facebook และจากนั้นก็เป็นยุคทองของเหล่า Tech Company ซึ่ง Web2 ก็คืออินเทอร์เน็ตที่เราใช้กันจนทุกวันนี้

สำหรับ Web3 จะเป็นอินเทอร์เน็ตที่กระจายอำนาจโดยใช้บล็อกเชน เนื่องจาก Web1 และ Web2 มีการรวมศูนย์มากเกินไป และอยู่ในกำมือของบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ เช่น Google ของ Alphabet, Amazon, Apple และ Meta บริษัท แม่ Facebook ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้รวบรวมข้อมูลและเนื้อหาจำนวนมหาศาลที่แบ่งปันบนอินเทอร์เน็ต

โดยแนวคิดของ Web3 คือ อินเทอร์เน็ตที่ชาวเน็ตจะเป็นผู้ควบคุมข้อมูลของตนเอง จะมีการบันทึกในทุกกิจกรรมของผู้ใช้งานในรูปแบบของบล็อกเชนโดยที่ข้อมูลดังกล่าวเหล่าบริษัทใหญ่ไม่ได้เป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไป โดยข้อมูลทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ตอยู่ภายใต้การจัดเก็บและการจัดการแบบรวมศูนย์ผ่าน Server ที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังมีการนำระบบ AI มาใช้อีกด้วย

Photo : Pixabay

มัสก์สับเป็นแค่ ศัพท์ทางการตลาด

อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ซีอีโอของเทสลา ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับ Web3 ว่า เป็น ศัพท์ทางการตลาดมากกว่าที่เป็นความจริง

“ผมไม่ได้บอกว่า web3 จะไม่เกิดขึ้นจริง แต่มันดูเหมือนคำศัพท์ทางการตลาดมากกว่าที่จะเกิดขึ้นจริงในตอนนี้ แค่สงสัยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไรในอีก 10, 20 หรือ 30 ปี ซึ่งมันฟังดูล้ำยุคมาก”

และวันวันต่อมา อีลอน มัสก์ก็ได้ทวิตว่า “มีใครเห็น web3 บ้างไหม? ผมหาไม่เจอ”

ต่อมา แจ็ค ดอร์ซีย์ (Jack Dorsey) ผู้ร่วมก่อตั้งทวิตเตอร์ (Twitter) ที่เพิ่งประกาศลงจากเก้าอี้การเป็นซีอีโอทวิตเตอร์มาหมาด ๆ ได้ทวิตตอบโต้ว่า “มันอยู่ที่ไหนสักแห่งระหว่าง a และ z” หรือสื่อเป็นนัย ๆ ว่า Web3 อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทุน a16z กองทุนของบริษัท Andreessen Horowitz ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน Facebook รุ่นแรกและปัจจุบันเป็นผู้สนับสนุน Web3

ก็ไม่รู้ว่าเราจะได้เห็น Web3 เมื่อไหร่ และยังไม่แน่ว่ามันจะเกิดขึ้นได้จริงไหม เพราะไม่ใช่แค่ Web3 ที่ถูกขนานนามว่าเป็นอนาคตใหม่ของอินเทอร์เน็ต แต่ยังมี Metaverse หรือ โลกเสมือน ที่กำลังพูดถึงอย่างมาก หรือโลกของอินเทอร์เน็ตในอนาคตอาจเป็นการผสมผสานของ Web3 กับ Metaverse ก็เป็นได้

]]>
1368354
เปิดพฤติกรรมใช้เน็ตของคนไทย เฉลี่ย 6.3 ชั่วโมงต่อวัน Gen Y ครองแชมป์ ใช้ทะลุ 7 ชั่วโมงต่อวัน https://positioningmag.com/1141490 Wed, 27 Sep 2017 19:05:11 +0000 http://positioningmag.com/?p=1141490 เป็นธรรมเนียมทุกปีที่ ETDA หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ทำการเผยผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ล่าสุดเป็นพฤติกรรมของชาวเน็ตในปี 2560 ได้ทำการสำรวจในช่วงเดือนมิถุนายนกรกฎาคม 2560 จากกลุ่มตัวอย่าง 25,101 คน เป็นการสำรวจช่องทางออนไลน์

จากที่มีการสำรวจตั้งแต่ปี 2556 พบว่าคนไทยมีการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นทุกปี ทั้งนี้เป็นไปตามเทรนด์ และการเติบโตของสมาร์ทโฟน ในปี 2559 มีการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ 6.24 ชั่วโมง/วัน ส่วนในปี 2560 ได้แยช่วงเวลาการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่วงวันทำงาน/เรียนหนังสือ และช่วงวันหยุด พบว่าในวันทำงานคนไทยมีการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 6.30 ชั่วโมง/วัน และวันหยุดใช้อินเทอร์เน็ต 6.48 ชั่วโมง/วัน ยังพบว่า 61.1% ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เฉลี่ย 3.06 ชั่วโมง/วัน 30.8% มีปริมาณการใช้เท่าเดิม และมีเพียง 8.1% ที่ใช้ลดลง เฉลี่ยที่ 2.24 ชั่วโมง/วัน

กลุ่ม Gen Y เป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตต่อวันสูงสุด โดยในช่วงวันทำงานหรือวันเรียนหนังสือใช้เฉลี่ยที่ 7.12 ชั่วโมง/วัน และมากถึง 7.36 ชั่วโมง/วันในช่วงวันหยุด ขณะที่ Gen X และ Gen Z ใช้อินเทอร์เน็ตในวันทำงานและวันเรียนหนังสือ โดยเฉลี่ยเท่ากันที่ 5.48 ชั่วโมง/วัน แต่ในวันหยุด Gen Z กลับใช้เพิ่มขึ้นเป็น 7.12 ชั่วโมง/วัน สวนทางกับ Gen X ที่ใช้ลดลงที่ 5.18 ชั่วโมง/วัน โดยกลุ่ม Baby Boomer ใช้ 4.54 ชั่วโมง/วันในวันทำงาน และ 4.12 ชั่วโมง/วันในวันหยุด

ส่วนสถานที่ที่นิยมใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดยังคงเป็นที่บ้าน 85.6% รองลงมาคือที่ทำงาน 52.4% ตามมาด้วยการใช้ระหว่างเดินทาง 24% เพิ่มขึ้นจาก 14% ในปีก่อน ขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตที่สถานศึกษาลดลงจาก 19.7% เป็น 17.5% ในปีนี้

ส่วนกิจกรรมที่นิยมทำเมื่อใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ การใช้โซเชียลมีเดีย 86.9% การค้นหาข้อมูล 86.5% การรับส่งอีเมล 70.5% การดูทีวีและฟังเพลงออนไลน์ 60.7% และการซื้อสินค้าออนไลน์ 50.8% ที่เพิ่มขึ้นมาจากปีก่อนที่อยู่อันดับ 8

โซเชียลมีเดียที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุด ได้แก่ ยูทิวบ์ 97.1%, เฟซบุ๊ก 96.6%, ไลน์ 95.8%, อินสตาแกรม 56%, Pantip 54.7%, Twitter 27.6% และ WhatsApp 12.1%

เมื่อแยกตามกลุ่มตามวัยแล้ว มีการชื่นชอบโซเชียลมีเดียแตกต่างกัน กลุ่ม Gen Z และ Gen Y ใช้ยูทิวบ์เป็นส่วนใหญ่ เพราะชอบดูวิดีโอ คอนเทนต์บนโลกออนไลน์ รองลงมาเป็นเฟซบุ๊ก และไลน์ ส่วนคนกลุ่ม Gen X และเบบี้บูมชอบใช้ไลน์เป็นหลัก รองลงมาเป็นเฟซบุ๊ก และยูทิวบ์ นักการตลาดต้องเลือกเครื่องมือการตลาดเพื่อให้คตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

เปิดพฤติกรรมการช้อปออนไลน์ของคนไทยปี 2560

สำหรับพฤติกรรมการซื้อสินค้า และใช้บริการทางออนไลน์ของคนไทยในปี 2560 พบว่า ผู้บริโภคตัดสินใจเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ขายของออนไลน์จากโฆษณาและสื่อออนไลน์ต่าง ๆ มากที่สุด คิดเป็น 55.9% โดยมีข้อมูลจากการรีวิวและคอมเมนต์ของผู้เคยใช้สินค้า, ส่วนลดและของแถม และอันดับของเว็บไซต์จากการค้นหาทาง Search Engine เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลรองลงมา คิดเป็น 54.9%, 47.5% และ 41.9% จากการสำรวจยังพบว่า 40.7% ยังไม่ได้ซื้อสินค้าและใช้บริการออนไลน์, 38.4% ซื้อเดือนละครั้ง, 17.7% ซื้อ 2-5 ครั้งต่อ เดือน และ 3.2% ซื้อมากกว่า 5 ครั้งต่อเดือน

ส่วนสินค้าและบริการที่คนไทยนิยมซื้อออนไลน์มากที่สุด อันดับหนึ่งยังคงเป็นสินค้าแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย 44%, สินค้าด้านสุภาพและความงาม 33.7%, อุปกรณ์ไอที 26.5%, เครื่องใช้ภายในบ้าน 19.5%, บริการสั่งอาหารออนไลน์ 18.7%, บริการเกี่ยวกับการเดินทางและท่องเที่ยว 17.9% เป็นต้น

ในเรื่องความถี่ในการซื้อสินค้าและใช้บริการ พบว่าในระยะเวลา 3 เดือน บริการด้านการเงินและการลงทุนเป็นประเภทบริการที่คนไทยเลือกใช้ซ้ำมากที่สุดที่ 4.8 ครั้ง รองลงมาคือบริการดาวน์โหลด 4 ครั้ง สินค้าบริการด้านความบันเทิงและด้านการเดินทางและท่องเที่ยวเท่ากันที่ 2.5 ครั้ง ตามด้วยสินค้ากลุ่มแฟชั่นและบริการสั่งอาหาร เท่ากันที่ 2.4 ครั้ง

ในเรื่องของการใช้จ่ายในการช้อปออนไลน์แต่ละครั้ง ผลสำรวจบอกว่าคนไทยนิยมซื้อสินค้า อยู่ในช่วงราคาไม่เกิน 1,000 บาท มากที่สุด ยกเว้นบริการด้านการเงินและการลงทุนที่ส่วนใหญ่จะเลือกซื้อที่มูลค่ามากกว่า 10,000 บาท

โดยช่องทางการชำระเงินที่มีการใช้มากที่สุดคือบัตรเครดิต 35.1% รองลงมาคือ การโอนเงินผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคาร 31.9%, การโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม 27.1%, การโอนเงินผ่านเว็บไซต์ธนาคาร 22.6%

]]>
1141490