ชิมช้อปใช้ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 11 Dec 2019 09:03:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 คนไทยค้นหา “ชิมช้อปใช้” ใน Google มากที่สุดในปี 2019 ตามติดมาด้วย “กรงกรรม” https://positioningmag.com/1256592 Wed, 11 Dec 2019 09:02:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256592 Google เผยสุดยอดคำค้นหาประจำปี 2019 ชิมช้อปใช้ ติดโผอันดับ 1 ความบันเทิงครองความนิยมอย่างต่อเนื่อง ละครฮิต ผลการเลือกตั้ง และข่าวดังที่ถูกพูดถึงทั้งประเทศ ติดอันดับการค้นหามาแรงสูงสุดของปีนี้

Google ประกาศสุดยอดคำค้นหาประจำปี 2562 โดยแสดงให้เห็นถึงภาพรวมของทั้งปีที่ผ่านมา จากเหตุการณ์สำคัญมากมายที่เกิดขึ้นไปจนถึงเทรนด์การค้นหาที่มาแรงในประเทศไทย

สำหรับปีนี้คนไทยให้การตอบรับกับโครงการ “ชิมช้อปใช้” ที่รัฐบาลแจกเงิน 1,000 บาท สำหรับประชาชนที่มาลงทะเบียนรับสิทธิ์นำไปใช้จ่ายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย ทำให้การค้นหาคำ “ชิมช้อปใช้” ขึ้นแท่นอันดับ 1 นอกจากนี้ คนไทยยังคงให้ความสนใจติดตามกระแสข่าวการเมือง โดย “ผลการเลือกตั้ง 2562” ติดอยู่ในโผด้วยเช่นกัน

แต่ทั้งนี้ความบันเทิงก็ยังคงอยู่ในความสนใจของคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยจาก 6 ใน 10 อันดับของคำค้นหายอดนิยมเป็นละคร โดยมีผลการค้นหาที่มาแรงเป็นอันดับ 2 ได้แก่ “กรงกรรม” ละครดังที่ออกอากาศทางช่อง 3 ด้านละคร “เมียน้อย” ช่อง GMM25 รั้งอันดับ 3 และในปีนี้ทางช่อง one31 มีละครติดอันดับถึง 3 เรื่อง ได้แก่ “ใบไม้ที่ปลิดปลิว”, “หัวใจศิลา” และ “รักฉุดใจนายฉุกเฉิน” ฝั่งช่อง 7 ติดโผอันดับ 9 ด้วยละครเรื่อง “มธุรสโลกันตร์”

สำหรับข่าวในประเทศ ปีนี้ผู้คนให้ความสนใจเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล จึงทำให้ 9 ใน 10 ของคำค้นหายอดนิยมในหมวดนี้เป็นคำค้นหาชื่อบุคคล โดยเฉพาะกรณีการเสียชีวิตของพริตตี้สาว “ลัลลาเบล” ที่ได้รับความสนใจจากคนทั้งประเทศจนติดอันดับ 1 หรือจะเป็นข่าวการจากไปอย่างกะทันหันของนักร้องและนักแสดงสาว “น้ำตาล เดอะสตาร์” นอกจากนี้ยังมีข่าว “ระเบิด” ที่สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนทั่วกรุงกับเหตุการณ์ระเบิด 4 จุดในกรุงเทพ รวมทั้งข่าวแชร์ลูกโซ่ “แม่มณี”

ส่วนข่าวต่างประเทศที่คนไทยให้ความสนใจค้นหาเป็นอันดับ 1 คือ “ข่าวพายุเข้าญี่ปุ่น” ด้าน “ข่าวฮ่องกง” ติดอันดับ 5 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคนไทยนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว 2 ประเทศนี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ทั้ง 2 ประเทศยังติดโผ 10 อันดับสถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศของปีนี้ด้วย

และในหมวดสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ปรากฏว่าในปีนี้ผู้คนให้ความสนใจค้นหาสถานที่ในเมืองรองอย่าง “กาญจนบุรี” ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศอันดับ 1 ของคำค้นหายอดนิยม ในขณะที่ “เชียงใหม่” และ “สุราษฎร์ธานี” ยังครองความนิยมไว้ดังเดิม ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดอื่น ๆ ที่ติด 10 อันดับในปีนี้ ได้แก่ “จันทบุรี”, “ชุมพร”, “สุพรรณบุรี”, “ระยอง” และ “สมุทรปราการ” ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สามารถเดินทางไปพักผ่อนได้ตลอดทั้งปี

หมวดสถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ “จอร์เจีย” เข้ามาติดโผอันดับ 1 เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ “อินเดีย” และ “ตุรกี” ก็ติดใน 10 อันดับด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามคนไทยก็ยังคงให้ความนิยมท่องเที่ยวประเทศในแถบเอเชียอย่างต่อเนื่องเช่น “สิงคโปร์”, “ฮ่องกง”, “ญี่ปุ่น”, “ไต้หวัน” และ “เวียดนาม”

สุดท้ายในหมวด “ร้านค้า” ปีนี้คนไทยยังให้ความสนใจค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับร้านอาหารเช่นเดิม โดย “ร้านหน่องริมคลอง” ติดโผอันดับ 1 ส่วน “ร้านกาแฟชายทุ่ง”, “ร้านป้าบุญล้อม” และร้าน “ปูเป็น” ยังคงครองความนิยมต่อเนื่องจากปีที่แล้ว และปรากฏการณ์ใหม่ของปีนี้คือผู้คนให้ความสนใจค้นหาข้อมูลร้านค้าธงฟ้า ได้แก่ “ร้านเก๋เก๋เมืองทอง ตึก C1” ซึ่งติดในโผ 10 อันดับเป็นปีแรกเช่นกัน

คำค้นหาประจำปี 2562

  • ชิมช้อปใช้
  • กรงกรรม
  • เมียน้อย
  • ใบไม้ที่ปลิดปลิว
  • หัวใจศิลา
  • ผลการเลือกตั้ง 2562ฃ
  • คริปโต Binance
  • แชร์ลูกโซ่ Nice Review
  • มธุรสโลกันตร์
  • รักฉุดใจนายฉุกเฉิน

ข่าวในประเทศ

  • ข่าวลัลลาเบล
  • ข่าวออฟฟี่ แม็กซิม
  • ข่าวน้องโยโย่
  • ข่าวป๊อบ ปองกูล
  • ข่าวปุ๊กกี้ ปริศนา
  • ข่าวน้ำตาล เดอะสตาร์
  • ข่าวเซนติเมตร
  • ข่าวระเบิด
  • ข่าวเหม ภูมิภาฑิต
  • ข่าวแม่มณี

ข่าวต่างประเทศ

  • ข่าวพายุเข้าญี่ปุ่น
  • ข่าวพายุปาบึก
  • ข่าวดาวเคราะห์น้อยชนโลก
  • ข่าวซึงรี
  • ข่าวฮ่องกง
  • ข่าวซอลลี่
  • ข่าว Huawei
  • ข่าวลิซ่า Blackpink
  • ข่าวเจนนี่ Blackpink
  • ข่าวนิวซีแลนด์

ละคร

  • กรงกรรม
  • เมียน้อย
  • ใบไม้ที่ปิดปลิว
  • หัวใจศิลา
  • มธุรสโลกันตร์
  • รักฉุดใจนายฉุกเฉิน
  • กลิ่นกาสะลอง
  • ทองเอก หมอยาท่าโฉลง
  • เจ้าหญิงเม็ดทราย
  • สามีสีทอง

เพลง

  • รักติดไซเรน
  • ธารารัตน์
  • ชอบแบบนี้
  • งัดถั่งงัด
  • แก้มน้องนางนั้นแดงกว่าใคร
  • ขอบใจเด้อ
  • กอดเสาเถียง
  • นอกจากชื่อฉัน
  • Kill This Love
  • ฝนเทลงมา

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศ

  • กาญจนบุรี
  • นครนายก
  • เชียงใหม่
  • จันทบุรี
  • สุราษฎร์ธานี
  • ชุมพร
  • สุพรรณบุรี
  • ระยอง
  • สมุทรปราการ
  • สกลนคร

สถานที่ท่องเที่ยวต่างประเทศ

  • จอร์เจีย
  • สิงคโปร์
  • ฮ่องกง
  • อินเดีย
  • จีน
  • ญี่ปุ่น
  • ไต้หวัน
  • เวียดนาม
  • สวิสเซอร์แลนด์
  • ตุรกี

วิธี

  • วิธีลงทะเบียน ชิมช้อปใช้
  • วิธีเลือกตั้ง 62
  • วิธีเช็คพัสดุ Kerry
  • วิธีใส่หน้ากาก N95
  • วิธีกดเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 500 บาท
  • วิธีเติมเกม Free Fire
  • วิธีบูชาปี่เซียะข้อมือ
  • วิธีทําพานไหว้ครู
  • วิธีไหว้แม่ย่านางรถ
  • วิธีทำต้มจับฉ่าย

ร้านค้า

  • ร้านหน่องริมคลอง
  • ร้านกาแฟชายทุ่ง
  • ร้านวรรณระยอง
  • ร้านภูฟ้า
  • ร้านป้าบุญล้อม
  • ร้านลุงไสว
  • ร้านปูเป็น
  • ร้านยําแซ่บ
  • ร้านทองออโรร่า
  • ร้านเก๋เก๋เมืองทอง ตึก C1
]]>
1256592
ชำแหละผลสำรวจ “ชิมช้อปใช้” ประชาชนส่วนใหญ่ 74% อยากให้รัฐบาลทำต่อ! https://positioningmag.com/1254914 Tue, 26 Nov 2019 16:14:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254914 อิปซอสส์ เผยผลวิจัยชุด “ชิมช้อปใช้” ที่เจาะลึกความพึงพอใจ พฤติกรรมการจับจ่าย และการตอบรับ เพื่อประโยชน์ต่อนักวางแผนที่เกี่ยวข้อง หมวดที่ตอบรับสูงสุด ช้อป 61% ชิม 35% และใช้ 4%

ภาพรวมโครงการ “ชิมช้อปใช้” กระแสตอบรับดี กลุ่มสูงวัยอายุ 50 – 59 ปี เห็นว่านโยบายที่ดีซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย ส่วนกลุ่มหนุ่มสาวที่มีอายุ 18 – 29 ปี มองว่าเป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ เนื่องจากเงินสนับสนุนจำนวนนี้เป็นเงินส่วนหนึ่งที่มาจากภาษีที่พวกเขาที่จ่ายให้กับประเทศ

ปรากฏการณ์ “ชิมช้อปใช้” ที่มีผู้ลงทะเบียน 10 ล้านคน มีเงินใน “เป๋าตัง” คนละ 1,000 บาท นับเป็นการส่งผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลทันตาทันใจรัฐบาล การใช้เงินกระฉูดตามเป้าหมายในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งการ “ชิม” “ช้อป” และ “ใช้”

สำหรับผลสำรวจนโยบาย “ชิมช้อปใช้” จากอิปซอสส์ ได้มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศเป็นจำนวน 500 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 60 ปีขึ้นไป โดยผลวิจัยได้มีการศึกษาแนวทางซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การมีส่วนร่วม ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการออกมาตรการ ตลอดจนพฤติกรรมการใช้จ่ายและความคิดเห็นต่อโครงการ “ชิมช้อปใช้”

ประชาชนมองเป็นนโยบายที่ดี กระตุ้นการใช้จ่าย

จากการสำรวจพบว่า สัดส่วนของผู้ที่เข้าร่วมโครงการเมื่อเทียบกับสถิติคนที่ไม่ร่วมแล้ว อยู่ในอัตรา 59:41 โดยกว่า 97% ของคนลงทะเบียนรับสิทธิมีความรู้ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และอีก 95% ของพวกเขายังยินดีที่จะแนะนำให้ ครอบครัว ญาติ และเพื่อนฝูงร่วมรับเงินสนับสนุนส่วนนี้จากรัฐบาลอีกด้วย

เมื่อศึกษาถึงเหตุผลที่บางคนเลือกที่จะเข้าร่วมโครงการ และไม่เข้าร่วมแล้ว สามารถสรุปเป็นประเด็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้

62% ของกลุ่มคนที่เข้าร่วมนโยบายและลงทะเบียนรับสิทธิ์ “ชิมช้อปใช้” มีความคิดที่ว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีในการกระตุ้นการใช้จ่าย ในขณะที่อีก 44% เข้าร่วมเพราะคิดว่าเงินจำนวนนี้มาจากภาษีของพวกตน นอกจากนั้นอีก 41% มองว่าเป็นสิทธิ์ที่พวกเขาควรจะได้รับจากรัฐบาล

หากแบ่งตามกลุ่มอายุจะเห็นได้ชัดว่า กลุ่มผู้สูงวัย และวัยทำงานมีความคิดเห็นต่อเหตุผลที่ลงทะเบียนในการรับเงินจากรัฐบาลที่แตกต่างกัน

โดย 73% ของคนที่มีอายุระหว่าง 50 – 59 ปี มองว่า “ชิมช้อปใช้” เป็นนโยบายที่ดีซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย

แต่กลุ่มผู้รับสิทธิ์ที่มีอายุ 18 – 29 ปี มองว่านี่เป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ เนื่องจากเงินสนับสนุนจำนวนนี้เป็นเงินส่วนหนึ่งที่มาจากภาษีที่พวกเขาจ่ายให้กับประเทศ

ประชาชนนิยมช้อปมากสุด

เมื่อศึกษาถึงหมวดของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนประเภทร้านค้าที่ผู้รับสิทธิ์ส่วนมากเลือกที่จะใช้จ่ายด้วยนั้น ปรากฏว่า หมวด “ช้อป” ถูกเลือกในสัดส่วนที่สูงสุด ตามด้วย ชิม และ ใช้ โดยรูปแบบร้านที่ผู้มีสิทธิ์เลือกเป็นจุดซื้อนั้น สามารถเรียงลำดับได้ ดังนี้

  • 47% เป็น ร้านธงฟ้า
  • 39% ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ท็อป มาร์เก็ต เทสโก้ โลตัส
  • 36% ร้านค้า OTOP ท้องถิ่น
  • 23% ร้านค้าขนาดเล็ก เช่น แฟมิลี่ มาร์ท
  • 14% ร้านค้าขนาดกลาง เช่น บลูช็อป
  • 11% ห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล สยามพารากอน
  • 10% ผู้ค้ารายใหญ่ เช่น แม็คโคร

สำหรับคำถามที่ว่าร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนเพียงพอหรือไม่ สัดส่วนความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการระหว่าง เพียงพอ กับไม่เพียงพอ มีสัดส่วนเท่าๆกันคือ 50:50 โดยกลุ่มคนที่ระบุว่าร้านค้าที่ลงทะเบียนกับรัฐบาลมีจำนวนไม่มากพอนั้น มองว่าการหาร้าน “ถุงเงิน” เป็นเรื่องยาก

1,000 บาท เหมาะสมแล้ว!

สถิติถึง 70% เห็นว่า จำนวนวงเงิน 1,000 บาท นี้เหมาะสม และ 75% มีการใช้เงินทั้งพันบาทหมดในครั้งเดียว และมีจำนวนไม่น้อยที่จบโครงการแล้ว ยังใช้วงเงินไม่หมด มีเพียง 30% เท่านั้นที่เห็นว่ารัฐบาลควรเพิ่มวงเงิน

โดยมีการถามต่อถึงการใช้จ่ายเงินจำนวนนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่า 75% มีการใช้เงิน 1,000 บาทในครั้งเดียว อีก 25% ทยอยจ่ายหลายครั้ง และมีคนจำนวนไม่น้อยที่หลังจากจบโครงการแล้ว ใช้จ่ายน้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับมา โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้

  • 22% ใช้จ่าย น้อยกว่า 500 บาท
  • 15% ใช้จ่ายเป็นจำนวน 500 – 999 บาท
  • 38% ใช้จ่ายเป็นจำนวน 1,000 บาท
  • 26% ใช้จ่าย มากกว่า 1,000 บาท

สำหรับเหตุผลที่อาจจะสามารถอธิบายได้ว่าทำไมบางคนถึงมีการใช้จ่ายผ่านแอป “เป๋าตัง” น้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับ พบว่า 21% เป็นผลมาจากการที่ผู้ใช้พบปัญหาระหว่างการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านทางตัวแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ซึ่ง 16% ของพวกเขาต้องสำรองเงินจ่ายค่าสินค้าและบริการเอง ส่วนอีก 5% ตัดสินใจยกเลิกการซื้อโดยสิ้นเชิง

จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของนโยบาย “ชิมช้อปใช้” คือความคาดหวังว่าประชาชนจะจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ โดยสามารถสรุปจากผลสำรวจได้ว่า 56% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้สึกว่าตนเองมีการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ในขณะที่ 17% ไม่รู้สึกว่าพวกเขามีการใช้จ่ายที่มากกว่าเดิมส่วน และอีก 18% นั้นไม่แน่ใจว่าตัวเองมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นหรือไม่

โครงการ “ชิมช้อปใช้” ถือเป็นหนึ่งในโครงการของรัฐบาลที่ถูกวิจารณ์ในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม 74% ของประชาชนชาวไทยอยากให้รัฐบาลดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องหลังจบมาตรการแล้ว มีเพียงแค่ 14% และ 12% เท่านั้นที่ไม่แน่ใจ หรือรู้สึกอยากให้รัฐบาลยกเลิกโครงการนี้ไปเลย

]]>
1254914
เตรียมเสนอ “ชิมช้อปใช้” เฟส 3 ดึงประชาชนเพิ่มอีก 2 ล้านคน https://positioningmag.com/1253237 Mon, 11 Nov 2019 16:18:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253237 คลังเตรียมเสนอ ครม.พรุ่งนี้ พิจารณาชิมช้อปใช้เฟส 3 หนุนใช้เงินกระเป๋า 2 คาดดึงประชาชนร่วมเพิ่มอีก 2 ล้านคน ในเดือนพฤศจิกายนนี้

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังเตรียมเสนอที่ประชุม ครม.สัญจรจังหวัดกาญจนบุรี วันพรุ่งนี้ พิจารณาโครงการชิมช้อปใช้ เฟส 3 เน้นส่งเสริมการใช้เงินผ่านออนไลน์ หวังดึงประชาชนลงทะเบียนเพิ่มอีก 2 ล้านคน รวมเป็นผู้ร่วมลงทะเบียนทั้งหมด 15 ล้านคน ขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ธนาคารกรุงไทย ได้ศึกษาแนวทางส่งเสริมการใช้เงินกระเป๋า 2 มากขึ้นผ่านมาตรการกระตุ้นเน้นจ่ายเงินด้วยตนเองและใช้ในพื้นที่ทะเบียนบ้านของตนเองได้ คาดว่าเปิดให้ลงทะเบียนภายในเดือนพฤศจิกายน และขยายเวลาใช้เงินถึงกลางเดือนกราคมปี 2563

ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมดึงร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมมีชื่อเสียงในพื้นที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้เงินของชาวบ้าน ยืนยันรัฐบาลไม่ใช้เงินเพิ่มเติมในเฟส 3 โครงการชิมช้อปใช้รัฐบาลออกมาช่วยเหลือ เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อให้แก่ชาวบ้าน ยอมรับว่าติดขัดบ้างช่วงแรก เมื่อเชิญผู้ประกอบการร้านค้าเข้ามาร่วมโครงการ ธนาคารกรุงไทยจึงต้องดูแลเพื่อบริหารโครงการระยะยาว ไม่ต้องกังวลเรื่องภาษี เพราะกรมสรรพากรมีข้อมูลผ่านระบบอื่นอยู่แล้ว แต่รัฐบาลต้องการส่งเสริมให้เกิดการใช้เงินผ่านออนไลน์

Source

]]>
1253237
Super Poll ชี้ “ชิมช้อปใช้” ชิงมวลชนให้ “ลุงตู่” ได้สำเร็จ https://positioningmag.com/1253076 Sun, 10 Nov 2019 15:57:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253076 ซูเปอร์โพลเผย “ชิมช้อปใช้” ชิงมวลชนให้รัฐบาลสำเร็จ ในขณะที่ 52% ของคนไม่สนับสนุนรัฐบาลได้ใช้ประโยชน์ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง ชิมช้อปใช้ ใครว่าได้ประโยชน์ กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านเสียงประชาชนในโลกโซเชียล” (Social Media Voice) จำนวน 1,179 ตัวอย่าง และเสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิม” (Traditional Voice) จำนวน 1,080 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 1-9 พฤศจิกายน พ.. 2562 ที่ผ่านมา พบว่า เสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิมส่วนใหญ่หรือ 60.4% ได้เข้าใช้ประโยชน์จากมาตรการ ชิมช้อปใช้ ของรัฐบาล ในขณะที่ 39.6% ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์

เมื่อแบ่งแยกวิเคราะห์กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาล กลุ่มพลังเงียบและกลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาล พบว่า กลุ่มคนทั้งสามกลุ่มใช้ประโยชน์จากมาตรการ ชิมช้อปใช้ เป็นส่วนใหญ่ คือ 69.6% ของคนสนับสนุนรัฐบาล 62.7% ของพลังเงียบ และ 52% ของคนไม่สนับสนุนรัฐบาล ได้ใช้ประโยชน์จากมาตรการชิมช้อปใช้

อย่างไรก็ตาม คนที่ไม่ได้เข้าใช้ประโยชน์ เพราะเข้าไม่ถึงมาตรการชิมช้อปใช้ เป็นกลุ่มคนมีรายได้น้อย ไม่มีช่องทางเข้าถึง ขั้นตอนยุ่งยาก ไม่ทราบ ไม่รู้เรื่องนี้ และอยู่ห่างไกล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าสนใจคือ เมื่อวิเคราะห์เสียงของประชาชนในโลกโซเชียล (Social Media Voice) ผ่านระบบ Net Super Poll ด้วยการประมาณการจำนวนเข้าถึงเรื่อง ชิมช้อปใช้ พบว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 21,898,746 คน หรือประมาณยี่สิบกว่าล้านคนเศษ เป็นเสียงตอบรับในทางบวก 67.8% และเสียงตอบรับในทางลบ 32.2%

จากผลโพลนี้อาจฟันธงได้ว่า มาตรการชิมช้อปใช้ ได้ผลในแง่แย่งชิงมวลชนได้สำเร็จในเชิงการเมืองแต่ในเชิงเศรษฐศาสตร์ต้องวิเคราะห์อีกรูปแบบหนึ่ง เพราะเสียงประชาชนในสังคมดั้งเดิมและเสียงประชาชนในโลกโซเชียลเป็นไปในทิศทางบวก จนทำให้ฝ่ายตรงข้ามออกมาเคลื่อนไหวหนักใช้การสื่อสารเชิงลบเข้าทำลายด้วยเล็งเห็นจุดอ่อนของคนทั่วไปในสังคมที่ขับเคลื่อนข่าวร้ายมากกว่าข่าวดีทางออก คือ กระทรวงต่างๆ ต้องทำงานเป็นหนึ่งเดียวกัน เพราะคำว่าท่องเที่ยวถูกใช้มากแต่กระจายตัวสูง ต้องสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงมากขึ้นและทำให้คำว่าท่องเที่ยวรวมพลังกับคำว่าชิมช้อปใช้และจะสามารถทำลายพลังคำว่าล้มเหลวในเสียงของประชาชนได้สำเร็จ ให้ถือหลัก น้ำหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามมาเป็นฝ่ายสนับสนุน #ท่องเที่ยว #ชิมช้อปใช้ #น้ำหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อนผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว.

Source

]]>
1253076
เปิดเงื่อนไข-รายละเอียด “ชิมช้อปใช้ 2” รับเพิ่มอีก 3 ล้านคน เริ่ม 24 ต.ค. https://positioningmag.com/1250713 Wed, 23 Oct 2019 06:38:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250713 ชิมช้อปใช้เฟส 2 เริ่ม 24 .วันละ 2 รอบ 6 โมงเช้ากับ 6 โมงเย็น รอบละ 5 แสนคน ใช้จ่ายผ่านกระเป๋า G-Wallet 2 ยอดใช้จ่ายไม่เกิน 3 หมื่น รับคืน 15% ยอด 3-5 หมื่น รับเงินคืน 20% หรือ 8,500 บาท

เฟส 2 ต่อไม่รอแล้วนะ

มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีความเห็นชอบให้เปิดมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศชิมช้อปใช้ เฟส 2 ในวันที่ 24 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป กำหนดจำนวนผู้ลงทะเบียนเพิ่มเติมอีก 3 ล้านคนเท่านั้น เปิดรับสิทธิ์ลงทะเบียนวันละ 1 ล้านคน โดยแบ่งเป็นวันละ 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 เวลา 06.00 . กำหนดจำนวนผู้รับสิทธิ์ 5 แสนคน รอบที่ 2 เวลา 18.00 . กำหนดจำนวนผู้รับสิทธิ์อีก 5 แสนคนเช่นกัน

ทั้งนี้ มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเฟสที่ 2 ขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ์จะเหมือนเฟสที่ 1 โดยลงทะเบียนผ่าน www.ชิมช้อปใช้.com กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว พร้อมเลือกจังหวัดที่ประสงค์จะเดินทางไปใช้สิทธิ์ โดยไม่ใช่จังหวัดตามสำเนาทะเบียนบ้าน หลังจากนั้นภายใน 3 วันธนาคารจะส่ง SMS เพื่อให้โหลดแอปเป๋าตัง โดยไม่ต้องมีบัญชีธนาคารกรุงไทย เพื่อรับสิทธิ์ 1,000 บาท ผ่านกระเป๋า G- Wallet1

และผู้ได้รับสิทธิ์สามารถเติมเงินในกระเป๋า G- Wallet 2 ใช้จ่ายในร้านที่ร่วมโครงการชิมช้อปใช้ ได้ทุกจังหวัด ที่ไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน เพื่อรับสิทธิ์เงินคืน โดยยอดใช้จ่ายไม่เกิน 30,000 บาท รับเงินคืน 15% และยอดใช้จ่ายตั้งแต่ 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท รับเงินคืน 20% หรือสูงสุด 8,500 บาท ทั้งนี้ ผู้รับสิทธิ์ตามมาตรการชิมช้อปใช้ เฟสที่ 1 และเฟสที่ 2 สามารถใช้จ่ายผ่านกระเป๋า G-Wallet 2 ได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยจะเห็นว่า ผู้รับสิทธิ์ในเฟสแรกสามารถจ่ายเงินผ่านแอปเป๋าตังได้อย่างสะดวก จะเห็นยอดการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

รับสิทธิ์เงินคืน 15-20%

โดยในเฟสที่ 2 ผู้รับสิทธิ์ตามมาตรการชิมช้อปใช้ เมื่อใช้จ่ายผ่านกระเป๋า G-Wallet 1 รับสิทธิ์ 1,000 บาทครบแล้ว ยังสามารถใช้สิทธิ์ในกระเป๋า G-Wallet 2 เพื่อรับเงินคืนสูงสุด 20% หรือประมาณ 8,500 บาท โดยขั้นตอนการเติมเงินผ่านการสแกน QR Code ด้วยแอปของทุกธนาคาร โดยเข้าไปที่แอปเป๋าตัง เลือกกดสัญลักษณ์รูป QR Code (เติมเงิน G-Wallet) ด้านบนมุมซ้าย ต่อมาทำการบันทึกรูปภาพ QR Code ลงในโทรศัพท์ หลังจากนั้นเข้าแอปธนาคารของท่านและกดเลือกสแกน QR Code จากรูปภาพที่บันทึกไว้ในโทรศัพท์ และใส่จำนวนเงินที่ต้องการเติมเงิน

นอกจากนี้ยังสามารถเติมเงินง่ายๆ ผ่านตู้ ATM ของ 5 ธนาคารใหญ่ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยการเติมเงินจะต้องใช้ตู้เอทีเอ็มที่ตรงกับบัตรเอทีเอ็มของธนาคารนั้นๆ ให้เข้าที่เมนู เติมเงิน เติมเงินพร้อมเพย์ หรือโอนเงิน แล้วแต่เมนูหน้าแรกของตู้เอทีเอ็มธนาคารนั้นๆ หลังจากนั้นเลือกบัญชีว่าจะให้ทำการโอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน พร้อมใส่หมายเลข G-Wallet 15 หลัก ที่ได้จาก QR Code หลังจากนั้นใส่จำนวนเงินที่ต้องการและกดยืนยัน

ส่วนวิธีการชำระเงินเพื่อรับสิทธิ์เงินคืน 15-20% โดยเข้าแอปเป๋าตัง กดที่เมนูใช้สิทธิ์รับเงินคืน 15-20% และเลือกใช้จ่ายร้านค้าถุงเงิน หลังจากนั้น จะได้ QR Code เพื่อให้ร้านค้าใช้แอปถุงเงินสแกนโดยผู้รับสิทธิ์ต้องตรวจสอบยอดเงินที่ต้องชำระและกดยืนยันการชำระเงินในส่วนของการรับเงินคืนนั้นจะได้รับเงินคืนภายในเดือนถัดไปหลังจากการเสร็จสิ้นการใช้สิทธิ์ของมาตรการ

ยอดใช้จ่ายเฟสแรกทะลุ 8,000 ล้าน

ล่าสุด ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2562 มียอดการใช้จ่ายผ่าน G- Wallet ทั้งสิ้นจำนวน 8,892.40 ล้านบาท แบ่งเป็นร้านค้าประเภทชิม 14.5% ร้านค้าประเภทช้อป 55.6% ร้านค้าประเภทใช้ 1.4% และร้านค้าประเภททั่วไปอีก 28.5% ซึ่งจากยอดการใช้จ่ายดังกล่าวส่วนใหญ่เกิดจากการใช้จ่ายที่ได้รับสิทธิ์ 1,000 บาท จากกระเป๋าช่องที่ 1 แต่กระเป๋าช่องที่ 2 ยังคงมีไม่มากนัก

นอกจากนี้ มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ชิมช้อปใช้ เฟสที่ 2 ธุรกิจที่จะเข้าร่วมโครงการมีความหลากหลายมากขึ้น ครบวงจรสำหรับการเดินทาง เช่น โรงแรม แพ็กเกจทัวร์ และรถเช่า เป็นต้น

Source

]]>
1250713
สรุป “ชิมช้อปใช้” 14 วันแรก ใช้จ่าย 5,000 ล้าน กระจายสู่ร้านค้าขนาดเล็กเกิน 80% https://positioningmag.com/1249619 Sat, 12 Oct 2019 17:15:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249619 สรุปภาพรวมชิมช้อปใช้จากการใช้จ่ายช่วง 14 วันแรก มีผู้ใช้สิทธิ์เกือบ 6 ล้านราย มีการใช้จ่ายเงิน 5,600 ล้านบาท กระจายสู่ร้านเล็กๆ เกิน 80% และใช้จ่ายในกรุงเทพฯ 13%

ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า

มีผู้ที่ได้รับสิทธิจากการลงทะเบียนวันแรก (วันที่ 23 กันยายน 2562) จำนวน 807,321 ราย ไปเริ่มต้นใช้สิทธิ 710,013 ราย ถูกตัดสิทธิ 97,308 ราย เนื่องจากไม่เริ่มใช้สิทธิภายใน 14 วันที่กำหนด โดยสิทธิดังกล่าวจะนำมาพิจารณาให้ลงทะเบียนในมาตรการฯ ระยะที่ 2

การตรวจสอบสิทธิผู้ลงทะเบียน 16 วันแรกเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีผู้ได้รับสิทธิ 9,998,518 ราย ได้รับ SMS ยืนยันสิทธิแล้วจำนวน 9,990,275 ราย ทั้งนี้ มีผู้เข้ายืนยันตัวตนในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว 9,361,729 ราย โดยยืนยันตัวตนสำเร็จ 8,755,873 ราย และมีผู้ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแอปพลิเคชัน 628,546 ราย

Photo : Pixabay

ยอดใช้จ่ายรวมกว่า 5,000 ล้านบาท

ในการใช้จ่าย 14 วันแรก มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 5,910,924 ราย มีการใช้จ่ายรวม 5,635 ล้านบาท จากการตรวจสอบพบว่า เป็นการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดเล็กตามวัตถุประสงค์ของมาตรการฯ ประมาณ 4,601 ล้านบาท หรือมากกว่า 80%

และมีการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขาประมาณ 1,034 ล้านบาท ซึ่งมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 22% ในช่วงเริ่มต้น เหลือ 18% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมด เป็นการใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 1 ประมาณ 5,578 ล้านบาท

โดยเป็นการใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” ซึ่งเป็นร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งร้านธงฟ้าประชารัฐ และบริการที่เกี่ยวเนื่องต่อการท่องเที่ยว 3,205 ล้านบาท

ส่วนร้าน “ชิม” หรือร้านอาหารและเครื่องดื่มมียอดใช้จ่าย 729 ล้านบาท ร้าน “ใช้” เช่น โรงแรม โฮมสเตย์ เป็นต้น มียอดใช้จ่าย 66 ล้านบาท และร้านค้าทั่วไปมียอดใช้จ่าย 1,578 ล้านบาท

สำหรับการใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 2 มีการใช้สิทธิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ใช้สิทธิแล้ว 19,436 ราย มียอดใช้จ่ายประมาณ 57 ล้านบาท หรือเฉลี่ยรายละ 2,948 บาท เป็นการใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” 38 ล้านบาท ส่วนร้าน “ชิม” และร้าน “ใช้” มียอดใช้จ่าย 12 ล้านบาท และ 7 ล้านบาท ตามลำดับ

Photo : Pixabay

ใช้จ่ายในกทม. 13%

มีการใช้จ่ายกระจายครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ ไม่ได้กระจุกตัวอยู่เฉพาะในเมืองใหญ่ โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่

  1. กรุงเทพฯ 713 ล้านบาท หรือ 13%
  2. ชลบุรี 368 ล้านบาท หรือ7%
  3. สมุทรปราการ 236 ล้านบาท หรือ 4%
  4. ปทุมธานี 173 ล้านบาท หรือ 3%
  5. พระนครศรีอยุธยา 162 ล้านบาท หรือ 3%
  6. นครปฐม 140 ล้านบาท หรือ 2%
  7. ระยอง 140 ล้านบาท หรือ 2%
  8. ลำพูน 135 ล้านบาท หรือ 2%
  9. นนทบุรี 132 ล้านบาท หรือ 2%
  10. เชียงใหม่ 129 ล้านบาท หรือ 2%

Source

]]>
1249619
ชำแหละ “ชิมช้อปใช้” สัปดาห์แรกมียอดใช้จ่าย 1,100 ล้าน ร้านค้าใหญ่คิดเป็น 22% https://positioningmag.com/1248743 Sun, 06 Oct 2019 04:25:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248743 “ชิมช้อปใช้” สัปดาห์แรกเริ่มต้นใช้จ่ายแล้ว 1.3 ล้านคน คิดเป็นเงิน 1.1 พันล้านบาท และยังเปิดรับลงทะเบียนได้อีกราว 2 แสนสิทธิ ด้าน “แบงก์กรุงไทย” จะเปิดทำการสาขา 429 สาขา ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ และจัดให้มีรถเคลื่อนที่เข้าไปในชุมชนเพื่ออำนวยความสะดวกในการยืนยันตัวตนติดตั้งแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แก่ประชาชนด้วย

ลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ได้เปิดให้มีการลงทะเบียนรับสิทธิมาตรการ “ชิมช้อปใช้” วันละ 1 ล้านราย ซึ่งมีการลงทะเบียนครบจำนวนทุกวัน

ส่วนการตรวจสอบสิทธิผู้ลงทะเบียนใน 9 วันแรกนั้น ได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีจำนวนผู้ที่ได้รับสิทธิ 7,142,914 ราย ซึ่งผู้ลงทะเบียน 8 วันแรกได้รับ SMS ยืนยันสิทธิแล้วจำนวน 6,344,295 ราย ทั้งนี้ มีผู้เข้ายืนยันตัวตนในแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แล้ว 4,970,444 ราย โดยยืนยันตัวตนสำเร็จ 4,031,751 ราย และมีผู้ที่ยังไม่ได้ติดตั้งแอปพลิเคชัน 1,373,451 ราย

นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการคลัง ยังรายงานผลการใช้จ่ายรอบ 7 วันแรกของการเปืดรับลงทะเบียนฯ ว่า มีจำนวนผู้ใช้สิทธิ 1,258,551 ราย โดยมีการใช้จ่ายรวมประมาณ 1,144 ล้านบาท ซึ่งเป็นการใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 1 ราว 1,131 ล้านบาm

ร้านค้าขนาดใหญ่รับทรัพย์ไปกว่า 200 ล้าน

ทั้งนี้เป็นการใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” ซึ่งเป็นร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งร้านธงฟ้าประชารัฐประมาณ 616 ล้านบาท

ขณะที่ยอดการใช้จ่ายผ่านร้าน “ชิม” หรือร้านอาหารและเครื่องดื่มจะมีอยู่ราว 155 ล้านบาท ส่วนร้าน “ใช้” เช่น โรงแรม โฮมสเตย์ เป็นต้น จะมียอดใช้จ่ายประมาณ 16 ล้านบาท และร้านค้าทั่วไปมียอดใช้จ่ายประมาณ 344 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามผลจากการตรวจสอบการใช้จ่ายในร้านค้าขนาดใหญ่ที่มีหลายสาขานั้น จะมีประมาณ 261 ล้านบาท หรือคิดเป็น 22% ของยอดใช้จ่ายทั้งหมด

การใช้จ่าย g-Wallet ช่อง 2 ว่า มีทั้งสิ้น 13.1 ล้านบาท จากจำนวนผู้ที่ผู้ใช้สิทธิแล้ว 4,604 ราย หรือคิดเป็นการใช้จ่ายเฉลี่ย 2,845 บาทต่อราย ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 12% ภายใน 2 วัน โดยแบ่งเป็นการใช้จ่ายที่ร้าน “ช้อป” 8.8 ล้านบาท ส่วนร้าน “ชิม” 2.5 ล้านบาท และร้าน “ใช้” มียอดใช้จ่าย 1.8 ล้านบาท

กรุงเทพฯ/ชลบุรี/สมุทรปราการ มีการใช้จ่ายมากสุด

นอกจากนี้ ผู้ใช้สิทธิยังมีการใช้จ่ายแบบกระจายครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ 1. กรุงเทพฯ 164 ล้านบาท 2. ชลบุรี 81 ล้านบาท 3. สมุทรปราการ 54 ล้านบาท 4. ปทุมธานี 37 ล้านบาท 5. ระยอง 34 ล้านบาท 6. พระนครศรีอยุธยา 33 ล้านบาท 7. ลำพูน 32 ล้านบาท 8. เชียงใหม่ 30 ล้านบาท 9. นครปฐม 29 ล้านบาท และ 10. นนทบุรี 27 ล้านบาท

สำหรับกลุ่มที่มีการใช้จ่ายมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุ 22 – 30 ปี มี 34% รองลงมาคือช่วงอายุ 31 – 40 ปี มี 28% และช่วงอายุเกิน 60 ปี มี 5% อย่างไรก็ตาม โฆษกกระทรวงการคลัง ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมมาตรการฯ ยังสามารถลงทะเบียนได้ โดยระบบจะทยอยเปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มเติมตามจำนวนผู้ที่ลงทะเบียนไม่ผ่านในแต่ละวัน ซึ่งจะมียอดกลับเข้ามาในระบบในรอบ 3 วันทำการโดยสามารถตรวจสอบได้จาก www.ชิมช้อปใช้.com

นอกจากนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะเปิดทำการสาขา จำนวน 429 สาขา ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ และจัดให้มีรถเคลื่อนที่เข้าไปในชุมชนเพื่ออำนวยความสะดวกในการยืนยันตัวตนสำหรับการติดตั้งแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” แก่ประชาชนอีกด้วย.

Source

]]>
1248743