ช่องทางดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 04 Mar 2019 05:15:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 UOB ส่งแบรนด์ลูก “TMRW” ชิงลูกค้า Gen Y ชูทำธุรกรรมทุกอย่างจบบนมือถือ https://positioningmag.com/1217286 Sat, 02 Mar 2019 02:27:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1217286 โจทย์ใหญ่ของธนาคารยูโอบี” (UOB) ในวันนี้คือการที่ฐานลูกค้าเงินฝากประมาณ 1.5 ล้านรายเป็นกลุ่ม Gen X และ Baby Boomer ที่มีกำลังทรัพย์ถึง 75% ส่วนฐาน Gen Y ที่สามารถพัฒนาไปเป็นฐานลูกค้าหลักในอนาคตมีเพียง 25%

แต่เพราะการจะเข้าหากลุ่ม Gen Y ไม่สามารถใช้วิธีเดิมๆ ได้อีกแล้ว พวกเขาเหล่านี้มีพฤติกรรมไม่เหมือนคนรุ่นก่อนๆ ที่สำคัญมองธนาคารเป็นเรื่องน่าเบื่อยุ่งยาก โดยการทำวิจัยพบว่า แม้จะเป็นเรื่องของธนาคารพวกเขายังต้องการให้โทรศัพท์มือถือต้องมาอันดับแรก (mobile first) และต้องเป็นโทรศัพท์มือถือเท่านั้น (mobile only)

จึงเป็นที่มาของการเลือกใช้แบรนด์ใหม่ “TMRW” (ทูมอร์โรว์) กับบริการธนาคารผ่านช่องทางดิจิทัลบนมือถือเต็มรูปแบบครั้งแรกในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดย TMRW ใช้เวลาพัฒนาประมาณ 1 ปีอยู่ภายใต้งบลงทุนที่ UOB ใช้ราว 28,000 ล้านบาท ช่วง 4 ปีมานี้ในเอเขียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหลักๆ จะใช้เงินไปกับการพัฒนาเรื่องดิจิทัล

TMRW เปิดตัวเป็นที่สิงคโปร์ ซึ่งบริษัแม่อยู่ที่นั้นแต่เลือกเปิดให้บริการในเมืองไทยเป็นที่แรก เพราะจากรายงานของโกลบอลดิจิทัลรีพอร์ท 2019 (Global Digital Report 2019) ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศที่มีผู้ใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในโลก และเป็นประเทศที่มีการค้าขายผ่านช่องทางดิจิทัลบนโทรศัพท์มือถือมากเป็นอันดับที่สามในโลก

ที่สำคัญคนไทยอายุ 18 – 35 ปี ถือเป็นกลุ่ม Gen Y คิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของประชากรทั่วประเทศ ซึ่ง UOB กำลังต้องการอยู่พอดี

ยุทธชัย เตยะราชกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบุคคลธนกิจ ธนาคาร ยูโอบี (ไทย) อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้ธนาคารหันไปให้ความสำคัญกับช่องทางดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วยังเป็นรูปแบบของออมนิชาแนลกล่าวคือดิจิทัลเป็นเพียงช่องทางบริการหนึ่งเท่านั้น ลูกค้าเวลาเกิดปัญหายังต้องเดินทางไปที่สาขา หรือติดต่อผ่านคอลเซ็นเตอร์ไม่ได้จบในมือเลย

ต่างจาก “TMRW” ที่ถูกพัฒนาให้เป็นธนาคารบนโทรศัพท์มือถือ ผู้ใช้งานสามารถเปิดบัญชีด้วยอัพโหลดรูปถ่ายบัตรประชาชน และกรอกข้อมูลอีกเพียงเล็กน้อย แล้วใช้ตู้ธนาคารให้บริการอัตโนมัติทั้ง 200 แห่งทั่วกรุงเทพมหานคร ยืนยันตัวตน

ได้แก่สถานีรถไฟใต้ดิน 18 สถานี สถานีรถไฟฟ้า 32 สถานี ร้านโอบองแปง 72 สาขาธนาคารยูโอบี 103 สาขา และศูนย์การค้าในเครือ One Siam ได้เลย ไม่ต้องไปที่สาขาเมื่อปีปัญหาก็สามารถสอบถามได้จาก chatbot ได้เลย

จึงไม่ต้องแปลกใจเมื่อเห็นโฆษณา TMRW ปูพรมบนรถไฟฟ้า โดยหุ้มด้านนอกรถไฟ้กว่า 3 ขบวน วิ่งทั้งหมด 6 เดือน ก็เพื่อต้องการสื่อสารถึงกลุ่มเจน Y โดยตรง

เมื่อสมัครแล้ว 1 คนจะมี 2 บัญชีในทันที คือ บัญชีที่ไว้สำหรับใช้จ่ายทั่วไปดอกเบี้ย 0.1% ของปีและบัญชีเงินฝากที่ให้ดอกเบี้ย 1.6% ต่อปีซึ่งเติมกิมมิกเป็นเกมสร้างบ้านที่ไต่ละดับ 8 เลเวลที่กระตุ้นให้คน Gen Y อยากออมมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้มาจากผลวิจัยที่ UOB พบคือ Gen Y มีรายจ่ายที่มากกว่ารายได้จึงต้องการบริการดิจิทัลที่สามารถช่วยเรื่องการออมและควบคุมค่าใช้จ่ายได้ แต่ขณะเดียวกันก็ต้องการออมเงิน ซึ่งวิธีที่จะช่วยให้ออมได้นั้นต้องสนุก

เมื่อเจาะพฤติกรรมลูกค้า Gen Y ได้แล้ว ยูโอบีจึงเปิดบริการบัตรเครดิต TMRW ควบคู่กันเลย โดยเฉพาะ ยุทธชัย อธิบายว่าสิ่งที่แตกต่างจากบัตรเครดิตใบอื่นคือการที่ให้แคชแบ็ก 1-3% เนื่องจาก Gen Y บอกว่าไม่อยากสะสมแต้มบัตรเครดิตเพราะได้ช้า อีกทั้งของพรีเมียมที่นำไปแลกยังไม่ใช่ของที่ต้องการ จึงอยากได้เงินคืนมากกว่า

อีกอย่างที่เปลี่ยนไปคือ จะไม่มีเมนูการใช้งานแบบดั้งเดิม แต่แอปพลิเคชั่นจะเรียนรู้จากการใช้งานของลูกค้าแต่ละคนโดยจะดึงฟังก์ชันและข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการขึ้นมาไว้ด้านหน้าเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยช่วงแรกที่เปิดตัววางเป้าใช้สื่อในทุกด้านโดยเฉพาะสื่อออนไลน์และสื่อนอกบ้าน มีการติดสติกเกอร์ในรถไฟฟ้า 3 ขบวนเป็นเวลา 6 เดือน

เป้าหมายของการทำ TMRW คือ การขยายฐานลูกค้าของ UOB ไม่ใช่หารายได้มาชดเชยค่าธรรมเนียม

ภายใน 3-5 ปี UOB ต้องการจำนวนผู้ใช้ TMRW 3-5 ล้านราย ส่วนในเมืองไทยต้องการ 5 แสน – 1 ล้านราย ภายในปีแรกคาดมีผู้สมัครหลักแสน คาดครึ่งหนึ่งจะถือบัตรเครดิตด้วย โดยครึ่งปีหลังได้วางแผนขยายไปยังต่างจังหวัด เน้นที่หัวเมืองก่อน และอาจจะเปิดบริการสินเชื่อส่วนบุคคลที่สามารถขอผ่าน TMRW ได้เลย

อย่างไรก็ตาม แม้จะเปิดธนาคารดิจิทัลแล้ว แต่ UOB ก็ยืนยันจะไม่ลดสาขา ตามแผนในช่วง 3 ปีข้างหน้าจะเปิดเพิ่มด้วยซ้ำ แต่รูปแบบจะเปลี่ยนไป เช่น สาขาที่สีลมเดิมมีพื้นที่ 150 ตารางเมตร ได้เพิ่มเป็น 300 ตารางเมตร โดยเติมส่วนที่บริการลูกค้าเวลธ์เข้ามา เป็นต้น.

]]>
1217286
“บัณฑูร ล่ำซำ” กับอนาคตกสิกรไทย ในวันที่แบงก์ต้องฟรีค่าธรรมเนียม https://positioningmag.com/1165033 Fri, 06 Apr 2018 03:15:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1165033 ธนาคารกสิกรไทยถือเป็นแบงก์ใหญ่รายแรกๆ ที่ออกมาประกาศฟรีค่าธรรมเนียมทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัล

การเฉือนเนื้อรอบนี้ ทำให้แบงก์ต้องสูญเสียรายได้จากค่าธรรมเนียมไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งธนาคารกสิกรไทยมีลูกค้าในมืออยู่ถึง 8.1 ล้านราย  ถือว่ามากสุดในบรรดาแบงก์ด้วยกัน จึงถูกคาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อเทียบกับแบงก์อื่นๆ ที่ประกาศฟรีค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกัน

ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา บัณฑูร ล่ำซำ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) บอกกับผู้ถือหุ้นถึงกรณีดังกล่าวว่า รายได้ค่าธรรมเนียมที่หายไป ซึ่งไม่ถึง 4,000 ล้านบาทนั้น ธนาคารไม่กังวล เพราะธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ในระบบได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน และเพื่อรักษารายได้ให้อยู่ระดับสูง ธนาคารจำเป็นต้องหันไปทำอย่างอื่นมากขึ้น ซึ่งมีหลายช่องทางในการสร้างรายได้ ในระยะสั้น เน้นขายกองทุนกับประกันเป็นหลัก

ขณะที่การลดสาขาของธนาคารในอนาคตนั้น ก็เพื่อเป็นการลดต้นทุนทางการเงินของธนาคาร ซึ่งลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว เนื่องจากธนาคารได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มช่องทางในการบริการอย่างต่อเนื่อง ส่วนพนักงานนั้น ธนาคารยืนยันว่าไม่มีการปรับลดพนักงานในอนาคตแน่นอน แต่จะมีการปรับโยกย้ายพนักงานไปอยู่ในส่วนที่ขาดแคลนแทน

ธนาคาร มีแผนเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างประกันชีวิตให้มีความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากการขายประกันผ่านช่องทางธนาคาร (แบงก์แอสชัวร์รันส์) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เติบโตค่อนข้างมาก สามารถทำรายได้ให้กับธนาคารเป็นอย่างดี ล่าสุด ได้มีการหารือกับทางบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด บริษัทในเครือธนาคารกสิกรไทย ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ ๆ และตรงกับความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

พัชร สมะลาภา

ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้ง พัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการ ดูแลสายงานธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ และรักษาการผู้บริหารสายงานธุรกิจลูกค้าบรรษัท วัย 46 ปี ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการ ของธนาคาร และถือเป็นกรรมการผู้จัดการคนที่ 4 จากปัจจุบันที่มีกรรมการผู้จัดการ 3 คน คือ ปรีดี ดาวฉาย, ขัตติยา อินทรวิชัย และพิพิธ เอนกนิธิ

พร้อมกับได้แต่งตั้ง กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเป็นกรรมการอิสระ.

]]>
1165033
ปลดล็อก ฟรีค่าธรรมเนียม ศึกครั้งใหม่ในสงครามดิจิทัล https://positioningmag.com/1164161 Sun, 01 Apr 2018 07:13:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164161 ต้องถือว่าเป็น “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญของแบงก์ไทย ที่พร้อมใจกันประกาศกลยุทธ์ “ฟรีค่าธรรมเนียม” การโอนเงิน จ่ายบิล เติมเงิน เมื่อทำธุรกรรมเหล่านี้ผ่านช่องทาง “ดิจิทัล” ของธนาคาร

ธนาคารทุกรายให้เหตุผลคล้ายกันว่า เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล สนับสนุนการลดใช้เงินสด แม้จะกระทบรายได้ค่าธรรมเนียมบ้าง

เริ่มจากแบงก์ใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ จากนั้นแบงก์ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ธนาคารเกียรตินาคิน ก็ต้องให้บริการฟรี ส่วนธนาคารกสิกรไทย จากที่เคยให้ฟรีถึงสิ้นปี ก็ต้องเปลี่ยนนโยบาย ให้ฟรีไม่มีกำหนด หลังจากที่แบงก์คู่แข่งออกมาประกาศฟรีถาวร

ล่าสุดผู้บริหารของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ต้องประชุมด่วนตัดสินใจยกเลิกค่าธรรมเนียม ในรูปแบบเดียวกัน เพื่อรักษาลูกค้าไว้ และยอมรับว่าเหตุการณ์ครั้งนี้กระทบธนาคารพอสมควร

การประกาศฟรีค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางดิจิทัลของธนาคารรอบนี้ ทำเอาราคาหุ้นของธนาคารก็ตกลงทั้งแผง เพราะส่งผลกระทบต่อรายได้ของแบงก์ ที่มีรายได้ค่าธรรมเนียม 1.9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20% ของรายได้ทั้งหมด แต่ถ้าดูเฉพาะรายได้จากค่าธรรมเนียมผ่านช่องทางดิจิทัล ยังมีสัดส่วนไม่ถึง 10%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ธนาคารจะสูญเสียรายได้มากถึง 9,000 ล้านบาทต่อปี หรือเติบโต 2-3% จากยอดรวมรายได้ค่าธรรมเนียมทั้งหมดในปีที่แล้ว (2560) 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโต 7.1%

ส่วน บล. ฟินันเซีย ไซรัส ประเมินจากใช้บริการ Mobile Banking ที่มีอยู่เฉลี่ยประมาณ 80% กระจุกตัวในธนาคารขนาดใหญ่ โดยกสิกรไทยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดในกลุ่ม Mobile Banking ประมาณ 7.3 ล้านราย หรือ 26% ของผู้ใช้ Mobile Banking ทั้งหมด

ขณะที่ธนาคารมีรายได้จากการโอนเงินประมาณ 20% ของรายได้ค่าธรรมเนียมมีเพียง ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY ที่เปิดเผยผลกระทบจาก National E-Payment (รวมถึง Internet Banking, Mobile Banking และ Prompt-Pay) ว่า อยู่ที่ประมาณ 6% และ 2% ของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย และประมาณ 7% และ 3% ของกำไรสุทธิตามลำดับ

ส่งผลให้กำไรสุทธิของธนาคารกสิกรไทยลดลงประมาณ 7% เป็น 3.78 หมื่นล้านบาท

จากคาดการณ์เดิมที่ 4.08 หมื่นล้านบาท ธนาคารอื่นๆ ลดหลั่นลงเนื่องจากธนาคารอื่นมีรายได้ค่าธรรมเนียมจากการโอนผ่าน Mobile Banking ไม่มากนัก

ธนาคารเองก็รู้ดีว่าต้องเจอกับสถานการณ์แบบนี้ แต่มองว่าธนาคารได้ประโยชน์จากการลดต้นทุนบริหารจัดการเงินสด เมื่อลูกค้าหันไปโอนเงินผ่านมือถือ

เหมือนอย่างที่ ธนา เธียรอัจฉริยะ‘ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Marketing Officer ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มองว่า การประกาศฟรีค่าธรรมเนียมผ่านแอปพลิเคชั่นบนมือถือนั้นได้รับผลกระทบน้อยมาก เพราะค่าธรรมเนียมหลักๆ อยู่ที่บริการกลุ่มอื่นๆ เช่น เอทีเอ็ม บริการหน้าเคาน์เตอร์ แต่ถ้าเทียบกับลูกค้าใหม่ที่ได้มาแล้วถือว่า คุ้มค่า เพราะในอนาคตฐานลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญมาก

ปัจจุบันธนาคารไทยพาณิชย์ มียอดผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ กว่า 6.5 ล้านราย มียอดใช้งานแอคทีฟกว่า 75% และมีจำนวนธุรกรรมเฉลี่ย 150 ล้านธุรกรรมต่อเดือน ซึ่งการประกาศฟรีค่าธรรมเนียม เพื่อต้องการให้คนเข้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น และคาดหวังว่าลูกค้าจะใช้งานอย่างต่อเนื่อง

คู่แข่งของธนาคาร ไม่ใช่ธนาคารด้วยกัน แต่เป็นนอนแบงก์ ผู้ให้บริการ อีมันนี่ รวมทั้งแอปพลิเคชั่นที่จ่ายเงินและปล่อยกู้ได้ เช่น GrabPay รวมถึงฟินเทครายใหม่ที่เป็นคู่แข่งและให้บริการไม่มีค่าธรรมเนียม

ดังนั้น ธนาคารจึงต้องใช้ความได้เปรียบในเรื่องฐานลูกค้าที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งลูกค้าเหล่านี้คุ้นเคยกับธนาคารดีอยู่แล้ว ให้ลูกค้าให้หันมาใช้บริการบนแพลทฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร แบบไม่ลังเลอีกต่อไป

เมื่อได้ฐานผู้ใช้มาแล้ว โอกาสที่จะขยายไปทำธุรกรรมประเภทอื่นๆ ของธนาคารก็จะตามมา และที่สำคัญ คือ “ข้อมูล” ที่ใช้ในการสร้าง “บิ๊กดาต้า” นำมาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อนำไปต่อยอด ออกแบบบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการอย่างแท้จริง

เหมือนอย่างฟินเทคยักษ์ใหญ่ที่ก้าวเข้าสู่โลกของธนาคาร ก็ด้วยบิ๊กดาต้าที่มาจากการนำพฤติกรรมลูกค้ามาใช้วิเคราะห์ และนำเสนอบริการได้ตรงจุดมากที่สุด เป็นการฉีกจากรูปแบบเดิมๆ ของธนาคาร เช่น การปล่อยสินเชื่อ ที่ดูจากพฤติกรรมการชำระหนี้ของผู้ใช้ ไลฟ์สไตล์ นำมาประกอบในการตัดสินใจ

รวมไปถึงการสร้างธุรกิจใหม่ อย่าง อี-คอมเมิร์ซ ซึ่งเวลานี้อยู่ในมือของบริษัทข้ามชาติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีตัวเลือกในการชำระเงินมากมาย จากบริการของนอนแบงก์

ธนาคารจึงปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยการแยกหน่วยงานออกมามุ่งเน้นเรื่องของเทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นหลัก คิดเองไม่พอ ต้องหาคนรุ่นใหม่ๆ มาช่วยคิด ทำโครงการเฟ้นหา “สตาร์ทอัพ” ฟินเทค ที่ดูเข้าตา เพื่อจับมือกันต่อยอดบริการในอนาคต

โจทย์ใหญ่ของทุกธนาคารเวลานี้ จึงอยู่ที่การย้ายลูกค้าเดิม หาลูกค้าใหม่ไปใช้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มากที่สุด และนี่คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ.

]]>
1164161
ฟรีเลยแล้วกัน ! กสิกรไทย ประกาศ “ฟรีค่าธรรมเนียม” ดึงลูกค้าใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มเป็น 6,000 ล้านรายการ https://positioningmag.com/1163507 Tue, 27 Mar 2018 10:55:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1163507 ธนาคารกสิกรไทย เปิดแนวรุกช่องทางดิจิทัล ประกาศ “ฟรีค่าธรรมเนียม” ให้ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบการใช้บริการช่องทางดิจิทัล 4 ช่องทาง ได้แก่ K PLUS, K PLUS SME, K-Cyber, K-Cyber SME ฟรีค่าธรรมเนียม บริการยอดนิยมที่ลูกค้าใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ โอนข้ามเขต/โอนต่างธนาคารแบบทันที จ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ เติมเงิน 

ธนาคารกสิกรไทย เปิดแนวรุกช่องทางดิจิทัล ประกาศ “ฟรีค่าธรรมเนียม” ให้ลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบการใช้บริการช่องทางดิจิทัล 4 ช่องทาง ได้แก่ K PLUS, K PLUS SME, K-Cyber, K-Cyber SME ฟรีค่าธรรมเนียม บริการยอดนิยมที่ลูกค้าใช้บริการมากที่สุด ได้แก่ โอนข้ามเขต/โอนต่างธนาคารแบบทันที จ่ายบิลค่าสินค้าและบริการ เติมเงิน

เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคมจนถึงสิ้นปีนี้ ตั้งเป้ามีปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านรายการภายในกลางปีนี้

พัชร สมะลาภา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การฟรีค่าธรรมเนียม เป็นส่วนหนึ่งของแผนการสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) กระตุ้นให้ทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้นเพราะเป็นช่องทางที่ง่าย สะดวก และปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้จ่ายด้วยคิวอาร์ โค้ด เห็นได้จากตัวเลขของธนาคารกสิกรไทยที่มีจำนวนร้านค้ารับคิวอาร์โค้ดมากกว่า 1 ล้านร้านค้า และมีปริมาณธุรกรรมในไตรมาสแรกของปีนี้กว่า 1,500 ล้านบาท

ปัจจุบัน ธนาคารกสิกรไทยมีฐานลูกค้ากว่า 14.5 ล้านราย มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าธุรกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ล้านรายการภายในกลางปี

การเปลี่ยนไปใช้ช่องทางดิจิทัล ส่งผลให้ธนาคารมีต้นทุนการบริหารจัดการเงินสดที่ลดลงในระยะยาว ช่วยลดต้นทุนให้ระบบเศรษฐกิจทั้งระดับส่วนรวมร้านค้าและลูกค้าที่ใช้บริการ

ที่ผ่านมา ธนาคารได้วางกลยุทธ์การพัฒนาช่องทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ประกาศเปิดบริการ “เกด” (KADE: K PLUS AI-Driven Experience) เป็นบริการทางการเงินแห่งอนาคตที่ใช้ AI (Artificial Intelligence) โดย “เกด” เรียนรู้รูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของลูกค้า ทำให้ธนาคารสามารถนำเสนอสินค้าและบริการที่ “ถูกที่ ถูกเวลา” เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายทั้งลูกค้ารายย่อยและลูกค้าผู้ประกอบการ เพื่อสร้างวงจรทางการเงินเต็มรูปแบบ

]]>
1163507
ดีแทค เขย่าองค์กรมุ่งสู่แบรนด์ดิจิทัล เทงบออนไลน์ กระชับทีมงานไม่เกิน 4 พันคน https://positioningmag.com/1155074 Wed, 31 Jan 2018 00:15:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155074 เส้นทางการทรานฟอร์มองค์กรเพื่อโกดิจิทัลของดีแทค ยังคงต้องเดินหน้าไปอย่างเข้มข้น พร้อมกับกระแสข่าวลือถึงการลดพนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามทิศทางใหม่

ยังรวมไปถึงกระแสข่าวลาออกของแม่ทัพการตลาด สิทธิโชค นพชินบุตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด หรือ Chief Marketing Officer : CMO ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่ง โดยคาดว่าจะมีผลเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งทางเทเลนอร์ผู้ถือหุ้นใหญ่ดีแทคได้เตรียมส่งผู้บริหารต่างประเทศมาแทนแล้ว

สิทธิโชค เข้ามารับตำแหน่ง CMO ในดีแทคตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2559 ก่อนมาร่วมงานกับดีแทค เคยดำรงตำแหน่งรองประธานธุรกิจโทรคมนาคม และดิจิทัล บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และโมบายล์ คอมมูนิเคชั่นส์ เกี่ยวกับธุรกิจโทรศัพท์มือถือในไทย

อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ (30 ม.ค.) ดีแทคได้ส่งเอกสาร เปิดเผยถึงแผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรสู่ดิจิทัล ด้วยการเพิ่มตำแหน่งงานด้านดิจิทัลเพิ่มอีกมากกว่า 200 ตำแหน่ง ภายในปี 2563

ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคได้ปรับตัวเองเพื่อมุ่งสู่การเป็น แบรนด์ดิจิทัล ที่ลูกค้าชื่นชอบภายในปี 2563 โดยตั้งเป้าหมายในการสร้างรายได้จากช่องทางดิจิทัลถึง 35% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเลขหลักเดียว เช่นเดียวกับงานบริการลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลถึง 95% เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเท่าตัว

ขณะเดียวกัน งบการตลาดจะถูกโยกไปยังช่องทางดิจิทัลถึง 65% หรือมากกว่าปัจจุบันกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับปัจจุบัน

ปีที่ผ่านมาการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่นดีแทคเพิ่มขึ้นเท่าตัว ในขณะที่การเพิ่มยอดขาย (upselling) จากแอปพลิเคชั่นของดีแทคมีสัดส่วนที่ 60% เป็นผลมาจากการทำการตลาดออนไลน์ผ่านนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจนกระตุ้นการใช้งานและบริการให้ดีขึ้น ทั้งทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น

“จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงความสำคัญในการพัฒนาช่องทางดิจิทัลให้ดีขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้งานในอนาคต ทำให้ดีแทคต้องเพิ่มตำแหน่งงานด้านดิจิทัลอีกกว่า 200 ตำแหน่งในปี 2563”

ขณะเดียวกัน ดีแทควางแผนที่จะ ปรับเพิ่ม และลดการลงทุน” ในหลายด้าน ปรับรูปแบบการจัดการในองค์กร และลดความยุ่งยากซับซ้อนในกระบวนการการทำงาน เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนได้อย่างคล่องตัวและพนักงานมีศักยภาพในการทำงานมากขึ้น โดยดีแทคตั้งเป้าหมายการบริหารขนาดขององค์กรให้มีตำแหน่งงานประจำจำกัดจำนวนไว้ไม่เกิน 4,000 คนในปี 2563

เดินหน้า จ่ายเงินปันผล 0.24 บาทต่อหุ้น

ดีแทคที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ เทเลนอร์ บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่จากนอร์เวย์ ตามที่ชี้แจงอย่างเป็นทางการที่ตลาดหลักทรัพย์ ณ 17 กุมภาพันธ์ 2560 บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย ถือหุ้นทั้งหมด 42.62% บริษัทไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ ถือหุ้นจำนวน  22.43% โดยบริษัทไทย เทลโค โฮลดิงส์นี้เป็นการถือหุ้นโดยกลุ่มเบญจรงคกุล 51% และที่เหลือ 49% ถือโดยเทเลนอร์ กรุ๊ป นอกจากนี้ยังมีทีโอที ถือหุ้นอีกจำนวน 5.58%

ผลประกอบการปี 2560 มีรายได้รวม 78,275 ล้านบาท ลดลง 5.1% จากปี 2559 ที่มีรายได้รวม 82,478  ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้จากค่าเชื่อมต่อโครงข่ายและรายได้จากการจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์ลดลง แต่กำไรเพิ่มขึ้น โดยปี 2560 มีกำไร 2,115 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4% จากปี 2559 ที่มีกำไร 2,086 ล้านบาท

ดีแทคชี้แจงว่า ส่วนหนึ่งมาจากการควบคุมค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ทำให้ดีแทคประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นจำนวน 0.24 บาทต่อหุ้น ซึ่งรอการอนุมัติจากการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2560

รายได้จากการให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในปี 2560 อยู่ที่ 64,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.2% จากปีก่อน อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากบริการข้อมูล ส่วน EBITDA อยู่ที่ 30,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อน อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของรายได้จากการให้บริการ ในขณะที่ค่าธรรมเนียมและส่วนแบ่งรายได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ลดลง แต่ก็มีผลกระทบเล็กน้อยจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากการขยายโครงข่ายภายใต้ระบบใบอนุญาต

สำหรับปี 2561 ดีแทคคาดการณ์ว่ารายได้จากการให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย และ EBITDA (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงการให้บริการ 2300 MHz ที่มีกับทางทีโอที) จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังคาดว่าบริษัทจะใช้เงินลงทุนในปี 2561 จะอยู่ที่ระดับ 15,000 -18,000 ล้านบาท

“ผลประกอบการในปี 2650 ค่อนข้างใกล้เคียงกับการคาดการณ์ ซึ่งมองว่า EBITDA มีโอกาสเติบโตสูง โดยปี 2561 จะเป็นปีที่สำคัญมากสำหรับดีแทค เนื่องจากสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่จะสิ้นสุดลง โดยเรามุ่งมั่นที่จะจัดหาคลื่นความถี่เพิ่มเติม จากการประมูลคลื่นของกสทช.” ลาร์ส นอร์ลิ่ง กล่าว

ดีแทคมีคลื่นมือถือย่าน 1800 MHz จำนวน 25 MHz ย่าน 800 MHz จำนวน 10 MHz และ 2.1GHz  จำนวน 15 MHz ให้บริการทั้ง 3G 4G แต่สิทธิในการใช้คลื่น 1800 และ 800 MHz จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนปีนี้ นอกจากนี้ ดีแทคกำลังรอการอนุมัติเพื่อเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2300 MHz ภายใต้ความร่วมมือกับทีโอที.

]]>
1155074