ช่องวัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 16 Sep 2019 06:26:03 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอดสูตรละครรีรัน “ฉายซ้ำวนไป” อย่างไร ให้ได้ทั้งเรตติ้ง-เม็ดเงินโฆษณา https://positioningmag.com/1246426 Sun, 15 Sep 2019 23:07:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246426 การแข่งขันดุเดือดในธุรกิจทีวีดิจิทัล ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาทีวีไม่ได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งกระจายตัวจากจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้น และเกิดภาวะตัดราคาโฆษณากันเอง สวนทางต้นทุนการผลิตคอนเทนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้ทีวีดิจิทัลต้องปรับตัวหารายได้ทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ การขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ไปยังต่างประเทศ ขยายธุรกิจทีวีช้อปปิ้ง  

อีกกลยุทธ์ที่หลายช่องงัดมาใช้กันมากและยังคงทำรายได้ นั่นก็คือ การนำละครหรือคอนเทนต์ที่ได้ออกอากาศไปแล้วนั้น นำกลับมาออกอากาศซ้ำบนหน้าจอโทรทัศน์อีกครั้ง หรือ รีรัน (Re-Run) ถือเป็นสูตรลัดสร้างรายได้และเรตติ้งก็อยู่ในระดับน่าพอใจ ที่สำคัญแทบไม่มีต้นทุน

แม้ว่าเมื่อก่อนการรีรันละคร เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ปกติ เพราะส่วนใหญ่ช่วงเวลาออกอากาศของละครรีรันนั้นมักจะอยู่ในช่วงบ่าย หรือช่วงที่แม่บ้านกลุ่มหลักดูทีวี มักจะว่างจากการทำงานบ้านต่างๆ หรือทำงานบ้านไปดูไป  

แต่ปัจจุบัน ละครรีรันแทบจะมีอยู่ทุกช่วง ตั้งแต่ช่วงสาย บ่าย หัวค่ำ และ ยามดึกหลังเที่ยงคืนก็มี เปรียบเทียบจาก ช่อง 3 และ ช่อง 7 ที่มีคลังละครที่ใหญ่มากจนสามารถนำการ “รีรัน” มาเป็นกลยุทธ์เรียกเรตติ้งได้เสมอ มาดูกันว่าเหตุใดทำไม “ทีวีดิจิทัล” จึงหันมาใช้กลยุทธ์ละครรีรันกันถี่มากขึ้น

ละครรีรัน “ไม่มีต้นทุน”

ปัจจัยที่เห็นได้ชัดคือต้นทุนต่ำ เนื่องจากละครรีรันเหล่านี้เคยออกอากาศไปแล้ว ทางบัญชีจึงถือว่าไม่มีต้นทุนในการผลิต และเรตติ้งก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ พอที่จะขายโฆษณาได้ ถือเป็น “สูตรลัด” ทำรายได้ให้กับช่องได้แน่ๆ ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันของสื่อทีวีดิจิทัลที่ดุเดือด ช่องไหนมีละครมากกว่าก็ถือว่าได้เปรียบ

“เรตติ้งโอเค” ขายโฆษณาได้

แม้ว่าละครรีรันที่ออกอากาศซ้ำอีกครั้ง เรตติ้งไม่ได้สูงเท่าตอนออกอากาศครั้งแรก แต่เรตติ้งในช่วงรีรันก็อยู่ในระดับน่าพอใจ แม้ความรู้สึกคนดูไม่เห็นด้วยที่นำละครรีรันมาฉายบ่อยจนเกินไป แต่เรตติ้งกลับทำได้ดี บางเรื่องอยู่ที่ 1.5 – 2.1 หรือบางเรื่องเรตติ้งพุ่งไปที่ 4.6 ที่สำคัญบางเรื่องสูงกว่าละครไพรม์ไทม์ที่ออกอากาศครั้งแรกเสียอีก จึงยืนยันได้ว่า “ละครเก่า” ยังมีมูลค่า สามารถขายโฆษณาและสร้างรายได้ให้กับสถานี

รีรันได้ต้องมีคลังละคร

ปัจจุบันทีวีดิจิทัลที่นำละครมารีรันได้เกือบทุกช่วงของวัน คือ ช่อง 3 และช่อง 7 เพราะเป็นช่องที่แข่งขันกันที่คอนเทนต์ละครอยู่แล้ว ทำให้มีสต๊อกละครเพิ่มขึ้นทุกวัน และสามารถนำมารีรันได้หลายช่วง

ยิ่งเป็นละครที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว ตั้งแต่การออกอากาศครั้งแรก การนำมารีรันอีกครั้งเรตติ้งก็ยังคงดีอยู่ ตัวอย่างละครของช่อง 3 ที่นำละครเรตติ้งฮิต บุพเพสันนิวาส มารีรัน ละครเย็น หลังออกอากาศไพรม์ไทม์จบไม่ถึงเดือน ก็ยังเรียกเรตติ้งได้ดี เพราะละครยังมีกระแสอยู่

แต่ละครบางเรื่องต้องเว้นช่วงเวลาให้คนลืมก่อน หากเป็นเนื้อเรื่องที่น่าสนใจ เป็นละครในดวงใจ และมีความใหม่ เมื่อนำมารีรันอีกครั้งผู้ชมก็จะติดตามชมและทำเรตติ้งได้ดี เช่น ทองเนื้อเก้า รากนคร นาคี คลื่นชีวิต ของช่อง 3 เช่นเดียวกับละครรีรัน ช่อง 7 ที่สร้างกระแสได้ดีในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็น ช่วงเช้า พระจันทร์ลายพยัคฆ์ ของนักแสดงเบอร์หนึ่งของช่อง “เวียร์ ศุกลวัฒน์” และ “อั้ม พัชราภา” ละครบ่าย “มัสยา” ของ มิกค์ ทองระย้า 

“รีรันมาราธอน” ชิงเรตติ้งวันหยุด

อีกกลยุทธ์ละครที่เห็นชัดช่วง 1 – 2 ปีนี้ คือ การนำคอนเทนต์มารีรันแบบ “มาราธอน” ช่วงวันหยุดยาว ที่มักมีผู้ชมดูทีวีน้อย เพราะมีกิจกรรมนอกบ้านหรือเดินทางไปท่องเที่ยว เริ่มจาก ช่องโมโน นำซีรีส์ภาคมาออนแอร์ยาวช่วงปีใหม่ แต่โกยเรตติ้งถล่มถลาย เพราะผู้ชมที่ไม่ได้ไปเที่ยวช่วงวันหยุดมักจะเปิดทีวีดูเช่นกัน

“ละครรีรันมาราธอน” ช่วงเทศกาลวันหยุดยาว จึงถูกนำมาใช้เช่นกัน ตัวอย่าง เดือนก.ค. ที่ผ่านมากับช่วงวันหยุด 27 – 29 ก.ค. ที่ผ่านมา ช่อง One ใช้กลยุทธ์นำละครที่กำลังออกอากาศในช่วงไพรม์ไทม์ 3 เรื่อง คือ ใบไม้ที่ปลิดปลิว ภูติพิศวาส และสายลับจับกลิ่น ตอนที่ออกอากาศไปแล้วและยังไม่จบ มารีรันในช่วงวันหยุด 3 วัน ซึ่งก็ช่วยให้เรตติ้งขยับขึ้นมาได้เช่นกัน ที่สำคัญช่วยสร้างกระแสให้ละครมีผู้ชมมากขึ้น จากกลุ่มที่ไม่ได้ดูตั้งแต่ต้น ให้ตามมาดูตอนต่อไปที่ออกอากาศปกติช่วงไพรม์ไทม์

ละครดังรีรันวนไปเรตติ้งก็ยังปัง

ภวัต เรืองเดชวรชัย

ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อิเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด ให้มุมมองว่าปัจจัยที่ละครรีรันมาจาก “ละคร” เรื่องนั้นน่าสนใจ หากการออกอากาศครั้งแรกมีกระแสปัง เมื่อมารีรันอีกครั้งเรตติ้งยังมีตัวเลขดี แม้ไม่เท่าการออกอากาศครั้งแรก แต่บางเรื่องก็ทำได้ดีกว่าละครไพรม์ไทม์ด้วยซ้ำ

คนที่ดูละครทีวีกลุ่มหลักอายุ 35 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้เมื่อพลาดดูละครตอนออกอากาศครั้งแรกแล้ว ไม่ได้ตามไปดูย้อนหลังบนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหมด โดยเฉพาะคนที่อยู่ต่างจังหวัด ยังมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่ายแพ็กเกจอินเทอร์เน็ต เมื่อละครเรื่องดังมารีรันจึงตามดู อีกทั้งยังได้ฐานกลุ่มที่ชื่นชอบละครเรื่องนั้นๆ อยู่แล้วมาตามดูอีกครั้ง  

“ผู้ชมฐานใหญ่ที่ดูทีวียังคงคุ้นชินกับการดูทีวีผ่านจอ ทำให้ละครรีรันยังทำเรตติ้งได้ดี เพราะเป็นคอนเทนต์ที่ชอบดูอยู่แล้ว”  

เรียกได้ว่า “ละครรีรัน” ยังเป็นอาวุธของทีวีดิจิทัล ที่นำมาใช้สร้างเรตติ้งและเม็ดเงินโฆษณาได้ทุกเมื่อ หากมีคลังคอนเทนต์ที่ดีอยู่ในมือ.

]]>
1246426
ทีวีไม่ตาย! คนไทยเปิดฟังเป็นเพื่อน “ช่องวัน” ชูกลยุทธ์ “เดสติเนชั่น” ดูสด-ย้อนหลัง ส่งละครลงไพรม์ไทม์ 1 ทุ่มยันสี่ทุ่มครึ่ง หวังนั่งท็อป 3 https://positioningmag.com/1233797 Mon, 10 Jun 2019 23:05:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1233797 ในยุคที่คนไทยใช้โมบาย อินเทอร์เน็ตกว่า 55 ล้านคน สามารถเข้าถึงคอนเทนต์หลากหลายทั้งไทยและต่างประเทศเพียงปลายนิ้วคลิก ทั้งดูฟรีและออนดีมานด์ ท่ามกลางการขยายตัวของ ดิจิทัล แพลตฟอร์มจึงมีคำถามอยู่บ่อยครั้งว่าทีวีจะตายหรือไม่เพราะตลอด 5 ปีทีวีดิจิทัล คนที่บาดเจ็บมีให้เห็นมากกว่าฝั่งผู้รอด!

“ผมไม่เคยเชื่อว่าทีวีจะตาย ในสหรัฐฯ ที่ดิจิทัลเติบโตมาก่อนไทย ทีวีก็ยังอยู่และแข็งแรงดี เพราะไม่ว่าจะเกิดเทคโนโลยี Disrupt อย่างไร สิ่งสำคัญที่จะอยู่ได้คือคอนเทนต์”  

ถกลเกียรติ วีรวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ผู้บริหารทีวีดิจิทัล ช่องวัน 31 ย้ำว่าปัจจัยที่ทำให้เชื่อว่า “ทีวีไม่ตาย” เป็นเพราะ “ทีวี” ยังตอบโจทย์ฟังก์ชันสำคัญ คือ พฤติกรรมคนไทย “เปิดทีวีไว้เป็นเพื่อน” แค่ให้ได้ยินเสียง เมื่อมีภาพที่สนใจจึงหันมาดู มีทั้งกลุ่มที่เปิดทีวีฟังและทำงานอื่นๆ ไปด้วย และกลุ่มที่ฟังหรือดูทีวีพร้อมแชท ออนไลน์ พูดคุยเนื้อหารายการทีวีกับกลุ่มเพื่อน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้รายการที่มีเวลาออกอากาศยาวอย่าง ละคร ซีรีส์ ภาพยนตร์ต่างประเทศ ของช่องทีวีที่มีคอนเทนต์ดังกล่าว มีเรตติ้งติดในกลุ่มผู้นำ

“การเปิดทีวีฟังเป็นเพื่อน มีเพียงสื่อทีวีเท่านั้นที่ทำฟังก์ชันนี้ได้ และไม่มีสื่อใดแทนที่ เพราะหากเป็นสื่อออนไลน์ยังต้องใช้สมาธิทั้งการดูหน้าจอและใช้มือกดหาคอนเทนต์”

ถกลเกียรติ วีรวรรณ

ปัจจุบัน “ทีวี” ยังเป็นสื่อที่เข้าถึง (reach) ครัวเรือนไทยทั่วประเทศมากหรือเกือบ 100% ปีที่ผ่านมาช่องวันเข้าถึงคนไทย 94% หรือ 62 ล้านคน ปีนี้วางเป้าหมายเข้าถึงผู้ชมไทย 98% หรือ 64 ล้านคน 

ในช่วงไพรม์ไทม์ เวลา 18.00 – 22.30 น. ช่องวันมีคอนเทนต์ “ละคร” และ “วาไรตี้” ที่ดึงผู้ชมมาอยู่กับสถานีได้เพิ่มขึ้น เดือนมกราคมเรตติ้งไพรม์ไทม์อยู่อันดับ 6 เพิ่มขึ้น 8%, เดือนกุมภาพันธ์เรตติ้งขยับมาที่อันดับ 5 เพิ่มขึ้น 26% เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมเรตติ้งขึ้นมาอยู่อันดับ 3

ปีนี้วางเป้าหมายให้เรตติ้งไพรม์ไทม์อยู่อันดับ 3 ต่อเนื่องตลอดปี เป้าหมายหลังจากนั้นคือ ทั้งสถานีขยับมาอยู่ที่อันดับ 3 รองจากช่อง 7 และ ช่อง 3 แต่ยังไม่สามารถระบุเวลาที่ชัดเจนได้ว่าเมื่อไหร่

รายการไฮไลต์ช่วงไพรม์ไทม์ คือ “ละคร” 3 ช่วงหลัก คือ ละคร 19.00 น. จับกลุ่มครอบครัว ละคร 20.00 น. กลุ่มแมส เนื้อเรื่องมีความหวือหวาขึ้น และละคร 21.20 น. ระดับ น. 13 เจาะนิชมาร์เก็ต คนกรุงเทพฯ ที่เพิ่งเดินทางถึงบ้านและกลุ่มเมือง การใส่เส้นละครในช่วงไพรม์ไทม์ต่อเนื่องตั้งแต่ 19.00 – 22.30 น. เพื่อดึงคนดูให้อยู่ยาว ทั้งเปิดเป็นเพื่อนและกลุ่มที่ดูพร้อมแชทออนไลน์

ชูช่องวัน “เดสติเนชั่น” ดูสด-ย้อนหลัง 

อีกปัจจัยสำคัญที่ ถกลเกียรติ ย้ำว่า “ทีวีไม่ตาย” และยังมีโอกาสเติบโตได้ในธุรกิจนี้ เพราะช่องวันเป็น “คอนเทนต์ โปรวายเดอร์” ที่เป็นเจ้าของ “แพลตฟอร์ม ทีวี” และเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์เอง ปีนี้ใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท จึงเปรียบเหมือนกับ “ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์” 

การเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทีวีและคอนเทนต์ จึงวางกลยุทธ์ให้ช่องวันเป็น “เดสติเนชั่น” (Destination) หรือจุดหมายที่จะดูสด รวมทั้งดูย้อนหลัง ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ร่วมกับพันธมิตรและแพลตฟอร์มออนไลน์ช่องวัน

ปัจจุบันดิจิทัล แพลตฟอร์มของช่องวันเข้าถึง 40 ล้านคน หรือ 75% ของผู้ใช้โมบาย อินเทอร์เน็ต Line TV เป็นแชนแนลอันดับ 1 มีผู้ติดตาม 2.3 ล้านคน ยอดวิว 4,000 ล้านวิวต่อปี YouTube ครองอันดับ 3 มีสมาชิก 16.8 ล้านคน ยอดวิว 11,900 ล้านวิวต่อปี มีผู้ชมผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น 6 ล้านคนต่อเดือน แม้แนวโน้มคนดูสดผ่านจอทีวีลดลง แต่ออนไลน์กลายเป็นตัวเลือกที่เพิ่มขึ้น

หลังจากช่องวันดันผังละครไพรม์ไทม์ขยับขึ้นมาครองเรตติ้งอันดับ 3 ได้แล้วในขณะนี้ ผังรายการครึ่งปีหลังจะใช้คอนเทนต์ “วาไรตี้และการประกวดทาเลนต์” แนวสนุกและตลก ผลักดันเรตติ้งวันเสาร์ – อาทิตย์ ให้เป็นอีกช่วงเวลาที่ครองตำแหน่งผู้นำ และดึงผู้ชมอยู่กับช่องวัน เพื่อเปิดทีวีเป็นเพื่อน

ขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ 20 ประเทศ

วันนี้รายได้หลักช่องวันมาจากโฆษณาทีวี 70% เมื่อเรตติ้งรายการเพิ่มขึ้น ก็สามารถขยับราคาโฆษณาได้ต่อเนื่อง แต่วันนี้สมรภูมิการแข่งขันหน้าจอทีวี “ไม่ได้ลดลง” แม้จะมีทีวีดิจิทัลขอคืนใบอนุญาต 7 ช่องก็ตาม

“คนที่ไม่คืนช่องคือยังสู้ต่อไป และทุกคนได้ประโยชน์เหมือนกัน คือต้นทุนค่าใช้จ่ายจากค่าใบอนุญาตและโครงข่าย MUX ลดลง ช่องวันลดลงไปราว 200 ล้านต่อปี จากนี้จะเห็นทุกช่องที่เลือกอยู่ต่อ จะใส่คอนเทนต์เข้ามาเต็มที่”

ถกลเกียรติมองว่าช่องวันยังมีโอกาสเติบโตได้ ทั้งรายได้จากทีวี ที่มีละครเป็นไฮไลต์หลัก และขยับราคาได้เมื่อเรตติ้งเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีช่องทางหารายได้จาก การขยายแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้ง OTT ในประเทศไทย รวมทั้ง OTT จากต่างประเทศ อย่าง Netflix รวมทั้งพันธมิตรจากประเทศจีน อีกทั้งการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ละครและวาไรตี้ในตลาดต่างประเทศ ปัจจุบันขายไปแล้ว 20 ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, จีน และตะวันออกกลาง รวมทั้งการขาย “ฟอร์แมต” รายการ “รู้ไหมใครโสด” ให้กับทีวีในเวียดนาม

ปี 2561 ช่องวันมีผลประกอบการ “ขาดทุน” 500 ล้านบาท แต่ปี 2561 พลิกมากำไร 28 ล้านบาท ปี 2562 วางเป้าหมายรายได้เพิ่มขึ้น 15% กำไรเติบโต 100% และจะทำกำไรต่อเนื่องในปี 2563 จากนั้นช่วงปลายปี 2563 จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

]]>
1233797
เปิดใจ “อากู๋” ในวันที่แกรมมี่กลับมา “กำไร” เตรียมดัน 2 ช่องทีวีดิจิทัล ONE-GMM 25 เข้าตลาดปี 63 https://positioningmag.com/1232585 Sat, 01 Jun 2019 12:54:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232585 ก่อนเข้าสู่ธุรกิจทีวีดิจิทัลในปี 2557 “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ธุรกิจคอนเทนต์ โปรวายเดอร์ ที่เริ่มต้นจากธุรกิจเพลงมากว่า 36 ปี ต้องฝ่าฟันกับพายุ Disruption ในอุตสาหกรรมเพลง ต่อด้วยการแข่งขันฟาดฟันในธุรกิจเพย์ทีวีมาก่อน 

การเป็นผู้ชนะประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 2 ช่อง เป็นการเดินตามเส้นทางฝันของ “อากู๋” ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ที่ต้องการเป็นเจ้าของสถานีฟรีทีวี เพื่อต่อจิ๊กซอว์อาณาจักร “คอนเทนต์และแพลตฟอร์ม” ให้สมบูรณ์แบบ

แต่จังหวะการเกิดทีวีดิจิทัลในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชั่น เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อและพฤติกรรมเสพคอนเทนต์ของผู้บริโภคครั้งใหญ่ และจำนวนทีวีดิจิทัล 24 ช่อง ที่วันนี้อุตสาหกรรมต่างยอมรับแล้วว่า “มากเกินไป”

ในที่สุดต้องมี คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ออกมาแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล นับตั้งแต่ปี 2560 สนับสนุนค่าโครงข่ายมัสต์แคร์รี่ ปี 2561 พักชำระจ่ายค่าใบอนุญาต 3 ปี และช่วยค่าเช่าโครงข่าย MUX 50% และยาแรง ปี 2562 เปิดทาง “คืนช่อง” พร้อมรับเงินชดเชย ส่วนรายที่อยู่ต่อ “ไม่ต้องจ่ายค่าประมูลงวดที่ 5 และ 6” รวมทั้งค่าเช่าโครงข่าย MUX ตลอดอายุใบอนุญาตที่เหลืออยู่ถึงปี 2572 อันเป็นผลจากการนำคลื่นความถี่ 700 MHz ของฝั่งทีวี ไปประมูลเพื่อให้บริการ 5G ในฝั่งโทรคมนาคม

“แกรมมี่” กลับมากำไรรอบ 7 ปี

ก่อนใช้ยาแรงเปิดทางให้ “ทีวีดิจิทัล” คืนใบอนุญาต 5 ปี ของทีวีดิจิทัลของผู้ประกอบการ “หลายราย” ต่างอยู่ในอาการ “เลือดไหล” เมื่อเส้นทางทีวีดิจิทัลไม่เป็นไปตามคาด รายได้ 5 ปีแรกส่วนใหญ่ “ขาดทุน”

“จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” เจ้าของทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ช่อง ONE 31 และ GMM 25 ที่เผชิญกับสถานการณ์เทคโนโลยีดิสรัปชั่น การแข่งขันลงทุนในธุรกิจแพลตฟอร์มและเพย์ทีวีมาก่อน แสดงผล “ขาดทุน” มาตั้งแต่ปี 2555

ในช่วงการลงทุนทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ตั้งแต่ปี 2557 ตัวเลขขาดทุนจึงอยู่ในหลักพันล้าน ปี 2558 แกรมมี่เริ่มตัดทิ้งธุรกิจที่ไม่ใช่ Core Business ตั้งแต่เพย์ทีวี ขายหุ้นซีเอ็ด ขายธุรกิจนิตยสาร ขายหุ้นอินเด็กซ์ ครีเอทีฟ

พร้อมดึงกลุ่มทุนระดับ “บิ๊ก” เข้ามาร่วมลงทุนทีวีดิจิทัล เดือน ธ.ค. 2559 ดึงบริษัท ประนันท์ภรณ์ จํากัด ของตระกูล “ปราสาททองโอสถ” เข้ามาร่วมลงทุนช่อง ONE 31 ด้วยเม็ดเงิน 1,905 ล้านบาท ถือหุ้น 50% และเดือน ส.ค. 2560 ดึงบริษัท อเดลฟอส จำกัด ของตระกูล “สิริวัฒนภักดี” เจ้าของอาณาจักรไทยเบฟ เข้ามาเพิ่มทุนในช่อง GMM 25 ด้วยเม็ดเงิน 1,000 ล้านบาท ถือหุ้น 50%

ปัจจุบัน จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” ถือหุ้นในบริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด (ช่อง ONE 31) 31.27% และถือหุ้นในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด (ช่อง GMM 25) 50%

การแก้ไขปัญหาธุรกิจทีวีดิจิทัลตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มาถึงวันนี้ เริ่มเห็นสัญญาณบวก รายได้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กลับมา “กำไร” ในปี 2561 เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี และไตรมาสแรกปี 2562 ยังโชว์ตัวเลข “บวก” ต่อเนื่อง

ย้อนดูผลประกอบการ “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่”

  • ปี 2555 รายได้ 11,756 ล้านบาท ขาดทุน 248 ล้านบาท
  • ปี 2556 รายได้ 11,003 ล้านบาท ขาดทุน 1,221 ล้านบาท
  • ปี 2557 รายได้ 9,264 ล้านบาท ขาดทุน 2,345 ล้านบาท
  • ปี 2558 รายได้ 9,708 ล้านบาท ขาดทุน 1,145 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้ 7,446 ล้านบาท ขาดทุน 520 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้ 8,869 ล้านบาท ขาดทุน 384 ล้านบาท
  • ปี 2561 รายได้ 6,984 ล้านบาท กำไร 15.43 ล้านบาท
  • ปี 2562 ไตรมาสแรก รายได้ 1,814 ล้านบาท กำไร 59 ล้านบาท

“อากู๋” เปิดใจ 5 ปีทีวีดิจิทัล

ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม

การผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากของทีวีดิจิทัล 5 ปีแรก กระทั่งมาถึงจุดที่มีมาตรา 44 เปิดทางให้ทีวีดิจิทัล “คืนช่อง” และการกลับมาทำกำไรอีกครั้งของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ “อากู๋” ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) อัพเดตเรื่องราวเหล่านี้กับ Positioning  

โดยบอกว่าได้เป็นหนึ่งในคนที่ร่วมขับเคลื่อนหารือกับ กสทช. และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องแทบจะทุกครั้ง เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาทีวีดิจิทัล ซึ่งก็ต้องย้อนถึงสาเหตุ เริ่มต้นในช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคแอนะล็อกไปยุคทีวีดิจิทัล มีปัญหามากมายในด้านการปฏิบัติงานช่วงเปลี่ยนผ่าน

นับตั้งแต่ การเรียงช่อง การประชาสัมพันธ์ การแจกกล่องรับสัญญาณระบบดิจิทัล ที่ถือเป็น “หัวใจของการสร้างแพลตฟอร์ม” เดิมกำหนดราคากล่องไว้ที่ 1,200 บาท สามารถรับชมช่องทีวีดิจิทัลและทีวีดาวเทียมได้ แต่ในที่สุดได้ปรับราคาเหลือกล่องละ 690 บาท รับชมได้เฉพาะช่องทีวีดิจทัล จากคุณภาพกล่องที่รับชมได้ไม่ชัดและต้องติดตั้งเสาสัญญาณในบางพื้นที่ และบางครัวเรือนไม่นำคูปองไปแลกกล่องมาติดตั้ง เพราะมีกล่องทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว ทำให้อุตสาหกรรมไม่สามารถสร้าง “แพลตฟอร์มรับชมช่องทีวีดิจิทัล” ได้

“ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประมูลให้ต้องล้มหาย เกิดผลเสียมากมายเท่าที่คนทำงานมาตลอดชีวิตในอุตสาหกรรมสื่อจะสูญเสียได้ในช่วงเริ่มต้นทีวีดิจิทัล มี 2 ช่อง (ไทยทีวีและโลก้า) ต้องปิดตัวลงตั้งแต่ปีแรก ส่วนที่เหลืออยู่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก”

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ได้หารือกับ กสทช. เพื่อแก้ไขปัญหามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล มาในจังหวะที่เกิด Technology Disruption ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมสื่อไทยและพฤติกรรมผู้บริโภค จึงเป็นที่มาของการเสนอขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพราะกระบวนการฟ้องร้องต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ปัญหา

“รัฐบาลเองก็เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นและชะตากรรมที่ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลต้องเจอ แต่ก็มีกฎหมายและรายละเอียดจำนวนมาก การแก้ปัญหาจึงต้องออกมาเป็นคำสั่ง คสช. มาตรา 44 เพื่อเร่งแก้ปัญหาให้ทันเหตุการณ์ เพราะหากยังล่าช้าออกไป อาจมีผู้ประกอบการที่ล้มหายตายจากไปอีก ซึ่งไม่เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมสื่อและประชาชน รัฐบาลจึงตัดสินใจเข้ามาช่วยเหลือ”

ONE 31 – GMM 25 ค่าใช้จ่ายลด 3,000 ล้าน

ปัจจุบันทีวีดิจิทัลจ่ายเงินค่าใบอนุญาตไปแล้ว 70% คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ที่ยกเว้นค่าใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6 และค่าเช่าโครงข่าย MUX ตลอดอายุใบอนุญาตที่เหลืออยู่อีก 10 ปี ให้กับทีวีดิจิทัล “ทุกราย” รวมมูลค่ากว่า 32,000 ล้านบาท ถือเป็นสิ่งที่ทีวีดิจิทัล “พอใจ” และ กสทช. สามารถทำได้ในด้านกฎหมาย เพราะเป็นการคืนคลื่นความถี่ 700 MHz ของทีวี เพื่อนำกลับไปประมูล 5G ที่จะได้มูลค่าสูงกว่า การแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล หากยิ่งยืดเยื้อ “เลือดคงไหลหมดตัว”  

หลังใช้ยาแรงด้วยการเปิดทาง “คืนใบอนุญาต” มี 7 ช่องที่ขอพอแค่นี้ ส่วนอีก 15 ช่อง ขอไปต่อ รวมทั้ง 2 ช่องของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ อากู๋ มองว่าผู้ประกอบการที่ไปต่อ “ทุกราย” มีภาระลดลงทั้งค่าใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6 รวมทั้งค่าโครงข่าย MUX ทีวีดิจิทัลช่อง ONE 31 และ GMM 25 ลดค่าใช้จ่ายลงได้ 3,000 ล้านบาท ตลอดอายุสัญญาที่เหลืออยู่อีก 10 ปี

เมื่อช่องวันและจีเอ็มเอ็ม 25 ไม่มีภาระต้นทุนค่าใบอนุญาตและค่าโครงข่าย MUX ที่ต้องจ่าย ก็ถือว่าเราตัวเบา สามารถลงทุนแข่งขันคอนเทนต์ได้เต็มที่

 

มั่นใจ “แกรมมี่” กำไรต่อเนื่อง

หลังจากมีมาตรา 44 มาช่วยลดภาระต้นทุน “ทีวีดิจิทัล” ก็ต้องบอกว่าเป็นทิศทางที่สดใสของ “จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่” หลังจากนี้ เพราะธุรกิจส่งสัญญาณ “บวก” มาตั้งแต่ปี 2561 ที่ผลประกอบการเริ่มกลับมากำไรอีกครั้งในรอบ 7 ปี แม้ยังมีภาวะ “ขาดทุน” ของทีวีดิจิทัลอยู่ก็ตาม และปีนี้ก็จะเห็นกำไรต่อเนื่อง

“ปีก่อนยังไม่มีมาตรา 44 ยกเว้นค่าใบอนุญาตงวดที่เหลือ แกรมมี่ก็พาบริษัทกลับมากำไรได้แล้ว ปีนี้ มีมาตรา 44 เข้ามาแก้ปัญหาอุตสาหกรรม ที่ส่งผลดีต่อทีวีดิจิทัลทุกราย และ 2 ช่องของแกรมมี่ด้วย ปีนี้มั่นใจทำกำไรได้ต่อเนื่อง”

สถานการณ์ทีวีดิจิทัลช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แกรมมี่ต้องดึงกลุ่มทุนเข้ามาร่วมถือหุ้น ถือเป็นการหาพาร์ตเนอร์ที่ดีมาเพิ่มทุนเพื่อขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เป็นรูปแบบหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ เพราะการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ “ไม่จำเป็นต้องเดินคนเดียว” หลังจากนี้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่จะมีพันธมิตรใหม่ๆ เข้ามาอย่างต่อเนื่อง

แต่ก็ต้องบอกว่า 5 ปีของทีวีดิจิทัล รวมทั้งทีวีดาวเทียมและเพย์ทีวี เป็นบทเรียนที่ได้สั่งสอนพวกเราและกลุ่มเจน 2 ทั้งลูกๆ (ฟ้าใหม่ ระฟ้า อิงฟ้า และฟ้าฉาย ดำรงชัยธรรม) รวมทั้งผู้บริหารรุ่นใหม่ ภาวิต จิตรกร, บอย ถกลเกียรติ วีรวรรณ, สถาพร พานิชรักษาพงศ์ และท่านอื่นๆ ได้เรียนรู้การทำธุรกิจและการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน

เราได้บทเรียนอย่างครบถ้วนและโชคดีที่เราผ่านมาได้ หลังจากนี้การทำงานจะระมัดระวังและไม่กลับไปสู่ปัญหาแบบเดิม เวลาเราเจอกับวิกฤติและปัญหาแล้วสามารถผ่านพ้นมาได้ ก็ทำให้เราแข็งแรงและมั่นคงขึ้น

ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง เข้าตลาด ปี 63

ตั้งแต่ปี 2561 ที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่กลับมา “ทำกำไร” ทีวีดิจิทัล “ช่องวัน” ก็มีผลประกอบการ “เป็นบวก” ช่องวันกำไรแล้ว ตั้งแต่ปี 2561 และปีนี้ก็ทำกำไร และปีหน้าก็ยังทำกำไรแน่นอน เพราะมาตรา 44 ช่วยลดต้นทุนได้ 200 ล้านต่อปี ส่วนช่อง GMM 25 ก็ขาดทุนไม่มากแล้ว และไปต่อได้ ไม่มีปัญหาอะไร ต้นทุนลดไปได้ 100 ล้านบาทต่อปีเช่นกัน

ส่วนช่อง GMM 25 กำลังเตรียมโครงสร้างใหม่ เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนทั้งค่าใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6 และค่าเช่าโครงข่ายแล้ว คาดว่าจะเสร็จเรียบร้อยในเดือน มิ.ย. นี้

“ธุรกิจทีวีดิจิทัล หลังมีมาตรา 44 เราก็สบายเลย หลังจากนี้ไม่ต้องห่วงกำไรแน่นอน ทั้งช่องวัน 31 และ GMM 25 วางเป้าหมายปี 2563 จะนำ 2 ช่องเข้า IPO”

“ทีวี” ยังเป็นโอกาส

แม้การเป็นเจ้าของทีวีดิจิทัลทำให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ต้องเผชิญภาวะ “ขาดทุน” มาต่อเนื่อง แต่ “อากู๋” ยังมองทีวีเป็น “โอกาส” เพราะพื้นฐานของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ คือ Content Provider โดยทีวีเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังมีดิจิทัล แพลตฟอร์มอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Viu, Facebook, YouTube คอนเทนต์ของแกรมมี่ไปได้ทุก Window จึงไม่ได้มองแค่ธุรกิจทีวีเท่านั้น แต่เป็น Content Provider ที่ไปได้ทุกช่องทาง

“แกรมมี่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทีวี และทีวียังคงเป็นสื่อหลักไปอีกหลายปี และเรามองทุกแพลตฟอร์มที่นำพาคอนเทนต์ของแกรมมี่ไปสู่ผู้คนได้ ก็จะส่งออกไปเผยแพร่ทุกช่องทาง”

ดังนั้น Content Provider ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มทีวีด้วย ในเชิงธุรกิจน่าจะสดใส ยิ่งแพลตฟอร์มเยอะขึ้น ยิ่งทำให้คอนเทนต์ไปได้หลาย Window โดยเฉพาะในต่างประเทศซึ่งเป็นพันธมิตรกับ Netflix และยังทำงานร่วมกับ Netflix ในการผลิต Netflix Original เห็นได้ว่าแกรมมี่ไม่ได้ทำคอนเทนต์เพื่อทีวีอย่างเดียว

ธุรกิจเพลง “ไม่เคยขาดทุน”

ในยุคที่เทคโนโลยีถาโถมธุรกิจเพลงให้ต้องล้มหาย แผ่นซีดีเพลงกลายเป็นสินค้าที่คนรุ่นใหม่แทบไม่รู้จัก แต่ “อากู๋” บอกว่า ธุรกิจเพลงของแกรมมี่ ที่ประกอบด้วย การจำหน่ายสินค้าเพลง (Physical Product) ดิจิทัล มิวสิก, การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์, โชว์บิซ, การบริหารศิลปิน และธุรกิจอื่นๆ ยังเป็นธุรกิจหลักของแกรมมี่

และธุรกิจเพลง “ไม่เคยขาดทุน” ตลอด 36 ปีของแกรมมี่ ธุรกิจเพลงทำกำไรมาตลอด และกำไรจากธุรกิจเพลง ยังมาสนับสนุนธุรกิจทีวีดิจิทัล ที่อยู่ในภาวะเลือดไหลในช่วงที่ผ่านมา ยืนยันได้จากผลประกอบการไตรมาสแรก ปี 2562 ธุรกิจเพลง คิดเป็นสัดส่วน 54% เติบโต 16.9% จากปีก่อน

การบริหารธุรกิจเพลงให้เติบโตได้ มาจากการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คอนเทนต์เพลงทั้งหมด และมีแพลตฟอร์มสำหรับเพลงครบถ้วนที่สุด และสามารถบริหารจัดการหารายได้ในทุกแพลตฟอร์มกับการเปลี่ยนแปลงในยุค Disruption ธุรกิจเพลงจึงไปต่อไปทั้ง Physical และ Digital Platform

ในธุรกิจเพลง แกรมมี่เป็นเจ้าของ Infrastructure ของอุตสาหกรรมเพลงในประเทศไทย จึงบริหารได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และเปิดให้บริการดูแลลิขสิทธิ์คอนเทนต์จากเจ้าของลิขสิทธิ์ทุกรายที่ต้องการใช้แพลตฟอร์มของแกรมมี่ ทั้ง Physical, Digital Platform, โชว์บิซ อีเวนต์

นับจากยุคก่อตั้งแกรมมี่ ที่เริ่มจากธุรกิจเพลง ต่อมาเป็นยุคที่มีแนวร่วมจากพาร์ตเนอร์ หลังจากนี้ก็จะเห็นการทำงานร่วมกับพันธมิตรใหม่ๆ เพิ่มเติม และอาจมีการร่วมทุนอีก เพราะธุรกิจวันนี้ใหญ่กว่ายุคก่อตั้งมากมาย นอกจากเพลง ทีวีดิจิทัล ยังมี โฮมช้อปปิ้ง ภาพยนตร์ วิทยุ โชว์บิซ  

“เราเป็น Entertainment Business ที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ผลิตและจัดจำหน่ายเอง มีแฟลตฟอร์มเอง และทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ทุกรายที่จะนำคอนเทนต์ของแกรมมี่ไปอยู่ในทุกช่องทาง”   

]]>
1232585
สมรภูมิชิงดาว กลยุทธ์ช่องทุนหนา ลุยละคร ดึงดาราย้ายสังกัด https://positioningmag.com/1208267 Tue, 15 Jan 2019 04:56:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1208267 นับเป็นปีที่ 5 ของทีวีดิจิทัล นอกจากหลายช่องเปลี่ยนมือเจ้าของช่องทีวีดิจิทัลไปสู่มือนายทุนใหญ่แล้ว ปีนี้เริ่มเห็นการขยับตัวของบรรดานักแสดงโยกย้ายสังกัด เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ จากการมีช่อง” ให้เลือกมากขึ้น โดยเฉพาะช่องนายทุนที่ยอมทุ่มทุนเพื่อหวังชิงความนิยม สร้างความรู้จัก สร้างชื่อเสียงช่องด้วยความดังนักแสดง 

วงในลือมาริโอ้หมดสัญญาช่อง 3 ขอเป็นอิสระ

ตั้งแต่ต้นปี มีข่าวนักแสดงมีชื่อเสียงหลายคนทยอยบอกลาต้นสังกัดเดิม ขอเป็นอิสระ บางรายเข้าสังกัดค่ายใหม่ ตั้งแต่กรณีขวัญ อุษามณีและปุ๊กลุกฝนทิพย์ออกจากช่อง 7 โดยประกาศในช่วงแรกว่าเพื่อขอเป็นอิสระ แต่เมื่อเวลาผ่านไปปุ๊กลุก เป็นรายแรกที่ประกาศเข้าสังกัดพีพีทีวี

ล่าสุดมีข่าวว่ามาริโอ้ เมาเร่อนักแสดงหนึ่งในตัวท็อปของช่อง 3 ผันตัวมาเป็นนักแสดงอิสระอีกคนแล้ว โดยส่วนใหญ่มาริโอ้จะเน้นภาพยนตร์ต่างประเทศ และการเดินสายในต่างประเทศมากกว่าในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันในเรื่องนี้ 

ทองเอก หมอยา ท่าโฉลง (ภาพจาก : ch3thailand.com)

มาริโอ้ เป็นหนึ่งในนักแสดงดังของช่อง 3 มีผลงานล่าสุดที่กำลังจะออกอากาศวันที่ 31 ..นี้ คือละครทองเอก หมอยา ท่าโฉลงละครตลก แนวพีเรียด ที่หวังจะมาสร้างความฮา ต่อจากพ่อมากพระโขนงหนังที่มาริโอ้เล่นและประสบความสำเร็จที่สุดเรื่องหนึ่ง 

ภาพจาก : ch3thailand.com

นอกเหนือจากมาริโอ้ มีรายงานข่าวว่าเคน ภูภูมิก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีแนวโน้มจะมาเป็นนักแสดงอิสระหากหมดสัญญากับทางช่อง 3 ตามรอยเอสเธอร์ สุปรีย์ลีลา แฟนสาว ที่ปัจจุบันทั้งคู่ใช้ผู้จัดการคนเดียวกันเอสเธอร์ซึ่งเคยเป็นนักแสดงในสังกัดช่อง 3 แต่เลือกที่จะเป็นอิสระเมื่อเกิดทีวีดิจิทัล มารับงานแสดงอิสระได้ทุกช่อง กลายเป็นนักแสดงหญิงอิสระที่มีงานชุกมากที่สุดคนหนึ่งในวงการ 

เคน ภูภูมิเพิ่งปฏิเสธบทพระเอกในเรื่องสองเสน่หาละครเรื่องใหม่ของช่อง 3 ที่ได้เบลล่า ราณี เป็นนางเอก จนช่อง 3 ต้องเลือกอาเล็ก ธีรเดชมาเล่นแทน 

ภาพจาก : ch3thailand.com

โอม อัชชา เป็นนักแสดงช่อง 3 ที่เพิ่งประกาศตัวเป็นอิสระเมื่อเร็วๆ นี้ ทันทีที่เป็นอิสระ ก็ไปลงละครแก้วขนเหล็ก ให้กับช่องวันเป็นเรื่องแรก และยังมีอีกหลายเรื่องเข้าคิวรอ

5 ช่องทุนหนา จาก 3  มหาเศรษฐีของไทยทุ่มทุนหนัก

ช่อง 7 และช่อง 3 เป็น 2 ช่องใหญ่ยืนแถวหน้าในวงการทีวีมานาน มีนักแสดงในสังกัดชื่อดังจำนวนมาก ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายให้กับช่องทีวีดิจิทัลใหม่ ที่ต้องการเข้าสู่อันดับท็อปของตารางทีวีดิจิทัลด้วยการผลิตละครไทย จำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ดูด นักแสดงดังมาแสดงละครให้กับช่อง 

ในกลุ่มช่องใหม่ ทุนหนา ที่อัดฉีดหนักในการผลิตละคร และดึงนักแสดง มี 4 ช่อง ได้แก่ ช่องวัน, จีเอ็มเอ็ม 25, พีพีทีวี, ทรูโฟร์ยู และอมรินทร์ทีวี ทั้ง 5 ช่องมาจาก 3 มหาเศรษฐีทั้งหมด 

  • ตระกูลปราสาททองโอสถ มี 2 ช่อง ได้แก่ ช่องวัน และ พีพีทีวี
  • ตระกูลสิริวัฒนภัคดี มี 2 ช่อง ได้แก่ จีเอ็มเอ็ม 25 และ อมรินทร์ทีวี
  • ตระกูลเจียรวนนท์ มี 2 ช่องได้แก่ ทรูโฟร์ยู และ ทีเอ็นเอ็น แต่ช่องที่มีละครคือ ทรูโฟร์ยู

ช่องวันและจีเอ็มเอ็ม 25 ที่อยู่ในกลุ่มของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ทั้ง 2 ช่อง ลุยตลาดละครตั้งแต่เริ่มต้น แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ได้ 2 ตระกูลมหาเศรษฐีเข้ามาถือหุ้น ทำให้ทั้ง 2 ช่องได้เงินทุนมาช่วยติดปีก ขยายไลน์การผลิตละครได้เต็มสตรีมมากขึ้น 

ช่องวัน ขยายละครมีตั้งแต่ละครเย็น และละครหลังข่าว จันทร์เสาร์ ในปีที่แล้วมีละครเมีย 2018” สร้างชื่อเสียงให้กับช่อง ส่วนช่องจีเอ็มเอ็ม 25 มีละครคุณพ่อจอมซ่าส์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ในปีนี้ทั้ง 2 ช่องต่างมีทางเลือกจากนักแสดงอิสระที่ออกมาจากช่อง 7 และช่อง 3 มากขึ้น 

ค่ายทรู ผูกสัญญาแพนเค้ก 

ภาพจาก : instagram.com/khemanito

ทรูโฟร์ยู เริ่มรุกทำละครมาเมื่อ 3 ปีที่แล้ว จากการเปิดตัวละครชุด 3 เรื่องเจ้าเวหาที่ประกาศทุ่มทุนสร้างกว่า 220 ล้านบาท สำหรับทั้ง 3 เรื่อง ด้วยการรวมตัวนักแสดงของทั้งช่อง 7 และช่อง 3 มาแสดงร่วมกันเป็นครั้งแรก ตั้งแต่นุ่น วรนุช, อั้ม อธิชาติ, ใหม่ ดาวิกา, ติ๊ก เจษฎาพร, แอนดริว เกร็กสัน และ แพนเค้ก เขมนิจแต่ออกอากาศได้เพียงเรื่องเดียวก็พับโครงการ หลังจากเรื่องแรกไม่ได้รับความนิยมมากนัก อีกทั้งยังมีปัญหาการฟ้องร้องกันของนักแสดงและผู้ผลิตตามมาอีกด้วย

ต่อมาทรูโฟร์ยูก็ยังทุ่มทุนกว่า 300 ล้านกับซีรีส์ศรีอโยธยา 1-2 “ พร้อมๆ กับการได้เซ็นสัญญากับแพนเค้กที่หมดสัญญากับช่อง 7 โดยมีข่าวว่าจ่ายค่าตัวครั้งแรก เป็นตัวเลข 8 หลักเลยทีเดียว และเมื่อสัญญากับแพนเค้กหมดลงเมื่อสิ้นปี 2561 ทรูโฟร์ยูก็จับแพนเค้กเซ็นสัญญาต่อทันที สกัดข่าวที่มีรายงานก่อนหน้านี้ว่าช่องวันเตรียมดึงแพนเค้กลงเล่นละครช่อง โดยทรูโฟร์ยูนำเสนอละครให้แสดงอีก 2 เรื่องในปีนี้ ได้แก่เรื่อง พยัคฆ์ร้ายสายลับ และซีรีส์เกาหลี Voice ที่จะมาทำในเวอร์ชั่นไทย นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอให้เป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้าในกลุ่มทรูต่อเนื่องด้วย 

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ละครของทรูโฟร์ยูในปีนี้ ที่เพิ่งประกาศไปคือ เน้นละครรีเมกซีรีส์เกาหลี และละครฟอร์มยักษ์ เพื่อสร้างความแตกต่างของช่องเมื่อเทียบกับละครช่องอื่นๆ

พีพีทีวี ลุยเจรจาดาราแม่เหล็กของแต่ละช่อง 

พีพีทีวี ของตระกูลปราสาททองโอสถ เป็นช่องที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุด จากกลยุทธ์ดูด แหลกทั้งรายการและนักแสดงในปลายปีที่ผ่านมา เปิดมาต้นปีนี้เริ่มใช้กลยุทธ์ใหม่ในการเข้าไปเจรจากับนักแสดงในสังกัดช่องใหญ่ โดยเฉพาะช่อง 3 และนักแสดงที่สังกัดช่อง ทั้งกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะหมดสัญญา และกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าอาจจะขอเป็นอิสระ 

ทั้งนี้ พีพีทีวี มีข้อเสนอไม่ผูกมัดเป็นนักแสดงในสังกัดพีพีทีวี สามารถเป็นนักแสดงอิสระได้ เพียงแต่เซ็นสัญญากับพีพีทีวีว่าจะรับเล่นละครจำนวนกี่เรื่องภายใน 1 ปี โดยที่ยังสามารถไปรับเล่นละครให้ช่องอื่นๆ ได้อิสระ รวมถึงการันตีรายได้ที่จะได้จากช่องพีพีทีวีในราคาสูงกว่าตลาด 

แหล่งข่าววงการนักแสดงเปิดเผยว่า ด้วยข้อเสนอใหม่นี้ มีทั้งนักแสดงที่ให้ความสนใจเข้าร่วม และบางกลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจ และกลุ่มที่ปฏิเสธข้อเสนอ 

มนตรามหาเสน่ห์

ตั้งแต่ต้นปีพีพีทีวีทยอยเปิดกล้องละครมาเป็นระยะหลายเรื่อง แต่ที่เปิดตัวเป็นทางการไปแล้วคือมนตรามหาเสน่ห์ ของค่ายผู้จัด หก สี่ เอี่ยว ของ หงส์ธัญญ์นิติ สามีของอุ๊ พัชนี จารุจินดา ผู้จัดละครช่อง 3 นอกจากนี้ยังมีละครจากค่ายทีวีธันเดอร์, เจเอสแอล, กันตนา, คุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์ และ Change2561 ของพี่ฉอดสายทิพย์ 

จากความเคลื่อนไหวของบรรดาช่องเศรษฐีเหล่านี้ การขยับของบรรดานักแสดงน่าจะสร้างสีสันให้กับวงการทีวีดิจิทัล ช่องเล็กมีโอกาสมากขึ้น ในขณะที่ผู้ชมก็มีทางเลือกหลากหลาย ละครสนุก นักแสดงดัง ตรึงคนดูได้ เรตติ้งจะสวิงไปอยู่ที่ช่องไหน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของละครแต่ละเรื่องนั่นเอง.

]]>
1208267
สมรภูมิทีวีปี 62 เริ่มแล้ว ช่อง 3-7-วัน จัดหนักจัดเต็ม ส่งละครชุดใหญ่ลงจอ หวังชิงงบโฆษณาช่วงขาขึ้นเดือน ก.พ. https://positioningmag.com/1207897 Sun, 13 Jan 2019 02:57:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1207897 หลังจากผ่านช่วงใช้งบโฆษณาน้อยที่สุดของปี เดือนธันวาคมต่อเนื่องมายังเดือนมกราคมเนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว ถึงเวลาที่แต่ละช่องต้องจัดของหนัก หวังชิงส่วนแบ่งโฆษณาที่เริ่มฟื้นตัวประจำปีกันแล้ว 

จากข้อมูลของนีลเส็น มูลค่างบโฆษณาในปี 2561 ที่มีมูลค่ารวมทุกช่อง 67,936 ล้านบาท พบว่าเดือนมกราคมของปีที่แล้ว เป็นเดือนที่มีมูลค่าโฆษณาน้อยที่สุดของปี เป็นมูลค่า 4,527 ล้านบาท หลังจากนั้นงบโฆษณาจึงเริ่มกระเตื้องขึ้นในเดือนถัดๆ ไป จนไปสูงสุดในเดือนมิถุนายน มีมูลค่าโฆษณารวมทุกช่องอยู่ที่ 6,344 ล้านบาท 

ช่อง 3 ประกาศขยับก่อน ต้อนรับเดือนโฆษณาเริ่มเข้า โดยการประกาศจัดละครชุดใหญ่ นำทีมโดยทองเอก หมอยา ท่าโฉลงละครพีเรียดคอมเมดี้ สายฮา เน้นๆ มาแนวพี่มาก พระโขนง เวอร์ชั่นละครทีวีที่ได้ มาริโอ้ เมาเร่อ และ คิมเบอร์รี่ นำแสดง ลงจอ 6 กุมภาพันธ์ เป็นละครความหวังแห่งปีของช่อง 3 คาดหวังลึกๆ กันว่าจะสร้างกระแสฮือฮาได้เหมือนกับปีที่แล้ว ที่ช่อง 3 วางบุพเพสันนิวาสลงจอในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ จนกลายเป็นละครสร้างเรตติ้งสูงสุดในยุคทีวีดิจิทัลมาแล้ว

นอกจากนี้ ยังเตรียมวางละครดราม่าแรง สะท้อนสังคมกงกรรมที่ได้เบลล่า ราณี” มาแสดงเป็นโสเภณีเป็นครั้งแรก ลงจอต่อจากตุ๊กตาผี” และซีรีส์ลูกผู้ชาย ภูผา เพชร ปัทม์ ชุดละครเปิดตัวนักแสดงรุ่นใหม่ของช่อง 3 เป็นซีรีส์ 3 ตอนต่อเนื่องกัน ลงยาวศุกร์อาทิตย์

ในขณะที่ช่อง 7 ใช้กลยุทธ์ปรับแผนการประกาศละครชุดใหม่ลงช้ากว่าช่อง 3 เพื่อหวังวางละครประกบช่อง 3 เต็มที่

 เริ่มด้วยละครดราม่านางร้ายนำแสดงโดยนาว ทิสานาฏ มาประกบละครผีตุ๊กตาผี” ช่อง 3 โดยนางร้าย” เริ่ม 15 มกราคม 

บ่วงสไบ

จัดพีเรียดชนพีเรียดด้วยละครผี สยองขวัญบ่วงสไบจากนิยายดังของภาคินัยนำแสดงโดยนิววงศกร และ กรีนอัษฎาพร มาชนกับทองเอก หมอยา ท่าโฉลงช่อง 

ส่วนศุกร์อาทิตย์ ช่อง 7 จัดละครบู๊สนั่นสารวัตรใหญ่ นวนิยายดังจากบทประพันธ์ของ พล...วสิษฐ เดชกุญชร ได้กันกันตพงศ์และเปรี้ยวทัศนียาเป็นดารานำ มาลงประกบกับซีรีส์ลูกผู้ชาย” 

พร้อมทั้งยังมีข่าวว่าช่อง 7 เตรียมวางพชรมนตราละครแนวลึกลับ สยองขวัญ ได้พระเอกเบอร์หนึ่งของช่อง 7 “เวียร์ศุกลวัฒน์และโบว์เมลดาลงออนแอร์ต่อในล็อตต่อไปอีกด้วย  

ละครรักไม่ลืม

สำหรับช่องวัน ที่ประกาศมาแล้ว ละครศุกร์เสาร์เรื่องใหม่รักไม่ลืมมาแทนหน้ากากแก้ว”   

กลยุทธ์ลด cost  จัดละครรีรัน ละครดอง ช่วงงบโฆษณาน้อย  

ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2561 ในเดือนธันวาคม เป็นช่วงที่หลายช่องจัดละครรีรันลงชุดใหญ่ นำโดยช่อง 3 จัดละครรีรันชุดใหญ่ในช่วงปลายปีถึง 2 เรื่องลิขิตรัก The Crown Princess” และอังกอร์ เพื่อประหยัดงบในเดือนงบโฆษณาน้อย แม้จะโดนกระแสโจมตียกใหญ่แต่ผลปรากฏว่า ละครรีรันกลับทำเรตติ้งดีกว่าละครใหม่ของเดือนโดยเฉพาะอังกอร์ทำเรตติ้งตอนจบสูงถึง 4.166  

ส่วนช่องวัน และช่อง 8 ก็จัดรีรันละครช่วง มาราธอน โดยช่องวัน รีรันทั้งละครเก่าและละครใหม่พรหมไม่ได้ลิขิต, สงครามนักปั้น และ หน้ากากแก้ว แต่ช่อง 8 เลือกละครที่มีเรตติ้งสูงสุดของช่องในปี 2561 “สาปกระสือ” มาจัดลงรีรัน

ในขณะที่ช่อง 7 โชว์ป๋า ยืนหนึ่งมาตั้งแต่เดือนธันวาคม ด้วยการวางพ่อตาปืนโต ตอนหลานข้าใครอย่าแตะเป็นละครเย็น ของค่ายฉลอง ภักดีวิจิตร มาชนกับละครของค่ายอาหลอง จูเนียร์อังกอร์ที่ช่อง 3 จัดมารีรัน ด้วยความตั้งใจให้ละครของผู้จัดกลุ่มเดียวกันพ่อลูก แต่ต่างช่องมาชนกันเอง ผลลัพธ์ ละครช่อง 7 ฟันเรตติ้งนำโด่งตามคาด และจัดละครบู๊จ้าวสมิง กวาดเรตติ้งช่วงศุกร์อาทิตย์ยาวต่อเนื่องถึงช่วงปีใหม่

แต่ที่น่าคิดตามคือ จัดละครฟอร์มใหญ่ลงผังในช่วงโฆษณามาน้อย ได้เรตติ้งแต่อาจจะไม่ได้เงิน จะถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่

พอมาถึงเดือนมกราคม ที่โฆษณายังไม่เข้ามากนัก ช่อง 3 จึงจัดละคร ดองอย่างบ่วงนฤมิตที่ค้างสต๊อกอยู่นานกว่า 2 ปี แถมโดนกระแสดราม่าข่าวของแมท ภีรนีย์ทำเรตติ้งเฉลี่ยจากการออกอากาศไปได้ 4 ตอน ได้แค่เพียง 1.768 เท่านั้น คาดว่าเรตติ้งเฉลี่ยช่อง 3 ในช่วงเดือนมกราคมนี้ น่าจะเป็นช่วงที่มีเรตติ้งต่ำสุดของช่องตามความเบาบางของเรตติ้งละครหลังข่าว 2 ทุ่ม ที่คาดหวังไว้กับละครตุ๊กตาผีเป็นเรื่องหลัก

ผลของเรตติ้งประจำสัปดาห์ช่วงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 – 6 มกราคม 2562 สัปดาห์แรกของเดือนมกราคม เรตติ้งเฉลี่ยช่อง 7 = 1.849 นำโด่งทุกช่อง ในขณะที่ช่อง 3 ได้ 1.085 ในอันดับ 2 โดยมีช่องโมโนได้พลังหนังดังต่างประเทศ ทำเรตติ้งตามติด ด้วยเรตติ้งเฉลี่ย 0.957

เมื่อเข้าสู่ช่วงแย่งชิงส่วนแบ่งงบโฆษณากันเต็มที่ เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป หน้าจอทีวีจึงกลับมาคึกคักร้อนระอุอีกครั้ง ผู้ชมได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ จากคอนเทนต์หลากหลายให้เลือก จะมีละครเรื่องไหนจะเข้าวิน เป็นกระแส Talk of the town ได้หรือไม่ รอติดตาม.

]]>
1207897
“ช่องวัน” กดปุ่ม ดัน “ข่าว” เติมผังรายการ ปี 62 ดึง 3 ผู้ประกาศเนชั่นเสริมทัพ https://positioningmag.com/1207235 Wed, 09 Jan 2019 04:24:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1207235 แต่ไหนแต่ไรมา “ละคร” ถือเป็นแม่เหล็กที่ “ช่องวัน” ให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพราะเป็นคอนเทนต์หลักที่สร้างเรตติ้งให้ช่อง ถึงขนาดในช่วงที่ช่องขาดทุนสะสมหลักพันล้านจนต้องผ่าตัดครั้งใหญ่ “ช่องวัน

หากการเข้ามาเข้ามาถือหุ้น 50% มูลค่า 1,900 ล้านบาท เมื่อปลายปี 2017 ของ บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ซึ่งเป็นของลูกสาวนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองทำให้ช่องวันมีเงินทุน เข้ามาต่อชีวิตและทำอะไรได้มากขึ้น

หลังจากประสบความสำเร็จจาก “ละคร” ที่เป็นหัวใจหลักแล้ว ช่องวันจะหันมาให้น้ำหนักกับ รายการข่าวที่เคยถูกมองเป็นเพียงไม้ประดับเท่านั้น

ปี 2018 ถือเป็นปีแรกที่ข่าว พลิกกลับมามีกำไร และรายได้เติบโตกว่า 100% ได้เปลี่ยนมุมมองของช่องวัน จากที่แค่มีข่าวเพื่อให้ครบตามสัดส่วนที่ กสทช. กำหนด มาสู่ดาวดวงใหม่ที่จะหารายได้ให้กับช่อง

 เดียว วรตั้งตระกูล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรักษาการผู้อำนวยการฝ่ายข่าวช่องวัน 31 เล่าว่า ที่ผ่านมาของรายการข่าวช่วงปี 2014 – 2016 ยังอยู่ในช่วงทดลองไม่ได้มีหลักตายตัว จนปี 2017 ได้เริ่มวางกลยุทธ์ โดยเน้น Current News ข่าวที่เป็นกระแสทั่วไป เพื่อให้ช่องไม่ตกข่าว ต่อมาปี 2018 Hemun Interest เลือกเฉพาะข่าวที่เป็นที่สนใจของกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก

เมื่อแนวทางเริ่มชัดเจนส่งผลให้รายการข่าวมีอัตราการเติบโตของฐานผู้ชมมากขึ้นกว่า 40% โดยวัดจากเรตติ้งการรับชมโดยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 – ปี 2018 โดยปีที่ผ่านมามีเรตติ้งในภาพรวม 0.43 ติดอันดับที่ 6 มีจำนวนฐานผู้ชม 51ล้านคน คิดเป็น 78% ของประชากรไทย อัตราคนดูเฉลี่ย 2.1 ล้านคนต่อนาที

ฐานผู้ชมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนเมือง (Bangkok & Urban) 77% โดยเฉพาะกลุ่มผู้ชมเพศหญิงอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 60% (เฉลี่ยสูงสุด 1.2 ล้านคนต่อนาทีซึ่งกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มผู้ชมที่มี Spending Power ทางการตลาดสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้รายได้เติบโตกว่า 100%

ข่าวถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของช่องทีวี ในการสู้ศึกทีวีดิจิทัลที่ดุเดือด หลายช่องจึงปรับกลยุทย์และให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น ช่องวันก็เช่นเดียวกัน

ปี 2019 ต้องติด Top 5

ช่องวันวางเกมข่าวปี 2019 ตั้งเป้าสู่ National Television และติด Top 5 ของสถานีข่าว ผ่านกลยุทธ์ Exclusive News นำเสนอข่าวที่เจาะลึกมากยิ่งขึ้น ไม่ใช่แค่หยิบข่าวจากโซเชียลมีเดียมานำเสนอ มีการลงพื้นที่ทำข่าว โดยคง DNA ของช่องไว้ คือทำให้เข้าใจง่าย เติมความเป็นไลฟ์สไตล์ เล่าผ่านสตอรี่ โดยวางแผนดึงศิลปินของช่องเข้าร่วม เพื่อสร้างมูลค่าให้เกิดความรอยัลตี้ในที่สุด

โดยเตรียมเพิ่มรายการใหม่เอาให้ชัด เป็นทอล์กข่าว เข้ามาอยู่แทนที่รายการวาไรตี้ วางคอนเซ็ปต์รายการ กล้าถามทุกความจริง เริ่มออกอากาศ 4 ..นี้ หลังจบละครทุกวันจันทร์พฤหัสบดี เวลา 22.30 .

นอกจากนั้นยังมีรายการบันเทิงที่ผลิตร่วมกับไนน์เอ็นเตอร์เทน ของ อสมท แบ่งรายได้ในรูปแบบไทม์แชริ่ง การมีรายการใหม่จะทำให้เวลาของข่าวเพิ่มขึ้นอีก 10% จากเดิมที่ออกกาศ เช้า เที่ยง เย็น ข่าวคั่นระหว่างวัน รวมๆ กันประมาณ 8 ชั่วโมง

ช่องวันมีภาพลักษณ์เป็นช่องบันเทิง แต่ในปีนี้กลับชูข่าวขึ้นมาด้วย เพราะเมื่อไปดูเรตติ้งรายการข่าวจริงๆ จะพบ 10 อันดับแรกไม่ได้เป็นช่องที่ประมูลมาเพื่อข่าวเลย แต่เป็นช่องวาไรตี้ทั้งนั้น โอกาสอยู่ที่ถ้าทำให้ข่าวเข้าถึงคนได้ ก็จะสามารถตรึงให้ผู้ชมอยู่กับช่องตลอดทั้งวัน

ผู้ประกาศข่าวก็เหมือนดารา ถ้าไม่น่าสนใจคนก็ไม่ดู

ข่าวอย่างเดียวอาจสร้างความน่าสนใจไม่มากพอให้กับผู้ชม ช่องวันจึงวางแผนเพิ่มผู้ประกาศข่าว จากเดิมที่เคยมีแม่เหล็กอยู่แล้วอย่างจั๊ดธีมะ กาญจนไพรินคิงส์พีระวัฒน์  อัฐนาค, เอกเอกพร ศรีสุขทวีรัตน์แคนอติรุจ กิตติพัฒนะ 

ในปีนี้ได้ฟิลปรัชญา อรเอกน้อยบัญชา แข็งขัน ซึ่งนั่งควบอีกตำแหน่งบรรณาธิการข่าวเฉพาะกิจ และ เผยวีณารัตน์ เลาหภคกุล ที่จะเข้ามาเติมเต็มด้านข่าวต่างประเทศ ซึ่งทั้ง 3 คนนี้ย้ายมาจากช่องเนชั่นทีวี

ทำไมถึงต้องเติมผู้ประกาศข่าวทั้งๆ ที่ช่องวันก็มีผู้ประกาศที่หลากหลายและตัวท็อปอยู่แล้วโดยเดียวเปรียบผู้ประกาศข่าวเป็นดารา และข่าวคือบทละครที่ต้องเล่น ถึงบทจะดีแค่ไหนถ้าดาราเล่นไม่ดีคนก็ไม่อยากดู เช่นเดียวกันข่าวที่นอกจากความน่าเชื่อถือ ต้องสร้างแรงดึงดูดให้คนอยากดูต่อด้วย

เดียวให้มุมมองในเรื่องที่จั๊ดธีมะซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประกาศข่าว ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ชมทั่วไป แต่เรตติ้งของช่องยังอยู่ที่เบอร์ 6 เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะภาพรวมจะขึ้นมาทั้งแผงต้องใช้เวลา แต่ตอนนี้มีไฮไลต์อันหนึ่งที่เริ่มขึ้นมา จะทำให้ภาพรวมกลมขึ้นเรื่อยๆ และค่อยๆ เติบโต

แต่ทั้งนี้จะมีการไปผูกกับผู้ประกาศที่กลายเป็นซุปตาร์อย่างเดียว เพราะหากซุปตาร์ไม่อยู่ช่องอาจลำบาก แต่จะพัฒนาควบคู่ทำให้ข่าวเป็นคอนเทนต์ที่แข็งแรง ถึงซุปตาร์ไม่อยู่ก็ยังเติบโตได้ด้วยคอนเทนต์ข่าว

อยากอยู่รอดต้องขึ้น Top 5

ช่องวันมองการแข่งขันด้านข่าวตอนนี้รุนแรงไม่ต้องจากรายการอื่นๆ เพราะทุกคนต้องการเม็ดเงิน การอยู่รอดคือต้องอยู่ Top 10 หรือ Top 5 ให้ได้ ช่องวันจึงอยากเข้ามาอยู่ใน Top 5 ตอนนี้ในแง่ของฐานคนดูได้แล้ว ที่เหลือที่การขยาย

ข่าว แข่งขันกันที่ความน่าเชื่อถือ มุมมองการนำเสนอ ดูง่ายๆ คนที่เป็นแฟนประจำช่องข่าว ก็จะความคาดหวังด้านข่าวที่ต้องสุดขั้ว ก็จะต่างจากคนที่ดูข่าวในช่องวันที่อาจจะไม่ได้ฮาร์ดคอร์ขนาดนั้น ที่ผ่านมาช่องวันยอมรับ ข่าวคือเรตติ้งที่เป็นตัวประกอบ ถึงจะมีข่าววันศุกร์ที่โดดเด่นขึ้นมาเป็นพระเอกได้ หรือข่าวค่ำก่อนละครที่บางวันเรตติ้งได้ 2 แต่ก็เป็นช่วงที่คนมารอดูละคร

และด้วยความที่ช่องวันเป็นช่องบันเทิงความคาดหวังของช่องคือดนดูแล้วไม่ยี้เช่นข่าวการจับงู ก็จะไม่ลงรายละเอียดตัวงูเพราะฐานคนดูที่เป็นผู้หญิงจะปิดทันที หรือข่าวการเมืองก็ทำพอให้เป็นสีสัน ทั้งหมดเป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องเรียนรู้ ซึ่งเรตติ้งจะขึ้นจากอะไรก็ขึ้นอยู่กับการที่ช่องรู้พฤติกรรมของคนดูและเข้าใจ เสิร์ฟคอนเทนต์ที่คิดว่าใช่

แน่นอนการให้น้ำหนักกับข่าวก็ต้องเพิ่มต้นทุน เพิ่มจากจำนวนคนที่ไม่ใช่แค่หน้างาน แต่ยังรวมไปถึงทีมงานเบื้องหลังซึ่งตอนนี้มีทั้งหมด 110 คน ถือว่าเพิ่มขึ้นจากจุดที่น้อยสุด 80 คน แต่ก็ต่างกันเกือบครึ่งจากจุดที่เคยมีทีมงานมากที่สุด 200 คน ซึ่งต้นทุนที่เพิ่มถือว่ารับได้ เพราะเมื่อเทียบกับการทำละครถือว่าห่างกันอยู่มาก

ปี 2019 ช่องวัน ตั้งเป้าเรตติ้งโต 49% เป็น 0.46 เช่นเดียวกับช่องทางใน Facebook ที่อยากได้ตัวเลข 2.5 ล้าน โดยคาดหวังให้สัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นมาเป็น 30% ของทั้งช่อง จากวันนี้อยู่ที่ 15% โดยค่าโฆษณาเฉลี่ยหลักหมื่นปลายๆ ต่อนาที แต่ถ้าเป็นช่วงเย็นซึ่งเป็นช่วงไพรม์ไทม์จะเป็นหลักแสนบาทต่อนาที

จั๊ดธีมะผู้ประกาศข่าวตัวท็อปของช่องวัน กับปัญหาที่ถูกมองเล่นใหญ่เกินจริง

จั๊ดธีมะ กาญจนไพรินถือเป็นผู้ประกาศข่าวที่ท็อปสุดของช่องวัน 31 ในขณะนี้ ด้วยสไตล์เล่าข่าวที่จัดจ้าน สนุกสนาน บวกกับการแต่งตัวให้เข้ากับเหตุการณ์นั้นๆ จึงได้รับความนิยมและเป็นกระแส

แต่เพราะความเล่าข่าวที่เล่นใหญ่ สไตล์จั๊ด กลับถูกผู้ชมบางส่วนวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมว่าข่าวควรจะเล่าไปตามความจริง ไม่ใช่ใส่สีตีไข่เข้าไป ซึ่งเจ้าตัวได้ชี้แจงว่า

การเล่าข่าวสไตล์จั๊ดคือการเล่าเรื่องยากให้ง่าย เล่าเรื่องง่ายให้มีมุมคิด คนชั่วคนทุจริตต้องโจมตี คนดีต้องสรรเสริญ นี่ถือ 4 ประโยคที่ยึดถือ ส่วนวิธีการให้การเล่าข่าวที่ใช้คำว่ากบฎทุกการเล่าข่าวที่ไม่ได้หมายถึงเรืองที่เลวร้าย

ผมคิดว่าวิธีการในการนำเสนอไม่จำเป็นต้องเป็นวิธีการนำเสนอข่าวที่เราเห็นๆ ผ่านหูผ่านตากันตลอดชั่วชีวิตของเรา เพราะผมรู้สึกว่าข้างในคือข่าวแต่เราเอามาห่อใหม่ ปีนี้ความท้าทายอยู่ที่ข่าวการเมืองที่จะเข้มข้นขึ้น

จุดอ่อนของคนไทยคือการไม่ชอบเสพข่าวยาก หลักการของผมจึงต้องเอาข่าวยากไปให้คน วิธีการคือทำขึ้นมาใหม่ที่ทุกคนเห็นกันไป ถ้าจะอธิบายง่ายๆ ก็เหมือนช็อกโกแลตเอ็มแอนด์เอ็มที่มีสีสันที่หลากหลาย โดยข่าวก็เหมือนช็อกโกแลต วิธีการที่ผมนำเสนอก็เหมือนกัน สีสันที่เคลือบอยู่ดูน่ากินและกินง่าย แต่เมื่อกินเข้าไปข้างในก็คือช็อกโกแลตหรือข่าวนั้นเอง

]]>
1207235
ศึกชิงเรตติ้งละครไทย ช่องวัน ช่อง 8 จัดหนัก ลุยสู้ช่องใหญ่ https://positioningmag.com/1200230 Wed, 28 Nov 2018 12:26:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1200230 การมาของ “ทีวีดิจิทัล” ไม่เพียงแต่ทำให้ ภูมิทัศน์สื่อทีวี ต้องเปลี่ยนแปลง คอนเท้นท์ “ละคร” ที่เคยถูกครองโดย ช่อง 7 และช่อง 3 มาตลอด กำลังถูกเขย่าบัลลังก์ จากช่องวัน และช่อง 8 ส่งละครมาชิงเรทติ้งอย่างคึกคัก 

ช่องวัน นอกจากมี “แต้มต่อ” มาจากการเป็น “ผู้ผลิตละคร” ป้อนให้กับช่องต่างๆ มาก่อนแล้ว  ยังถือหุ้นโดยกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่และ กลุ่มปราสาททองโอสถ ที่เข้ามาอัดฉีดเงินลงทุน  จึงทำให้ช่องวันสามารถจัดหนักเต็มที่

ในปีนี้ช่องวัน ขยายตลาดละครลง 2 ช่วงเวลา ช่วเย็น เปิดด้วยละคร “สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร” และละครช่วงค่ำ ปลายสัปดาห์ ศุกร์-เสาร์ “เลือดข้นคนจาง” ที่สร้างกระแสตามติดทั้งในละคร และออนไลน์ เปิดช่วงละครใหม่ให้ช่องได้ผลชัดเจน

ส่วนช่อง 8 ของค่ายอาร์เอส หันมาสู้ในตลาดละครเย็น เพียงช่วงเดียว  เพื่อเสริมทัพแผงซีรี่ส์อินเดีย ที่แผ่วลง เปิดตัวด้วยเรื่อง “พยัคฆา” ส่งต่อมายัง “สาปกระสือ” และปัจจุบันเรื่อง “ซิ่นลายหงส์”

จากเรตติ้งละครไทย ในสัปดาห์นี้ 26-27 พ.ย. จะเห็นว่าทั้ง 2 ช่วงเวลานั้น ละครของช่องวัน และช่อง 8 เรตติ้งดีขึ้น ดีวันดีคืนอย่างเห็นได้ชัด

สำหรับช่วงเย็น แชมป์ยังไงก็ตกเป็นของละครเย็นช่อง 7 ที่จัดรสชาติแบบบ้านๆ เสริพฐานลูกค้าแมส ทำเรตติ้งสูงไปถึง 6.382 ในวันที่ 21 พ.ย. ทิ้งห่างคู่แข่งทุกช่อง แต่ในตอนจบของ สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร” จากช่องวัน วันที่ 26 พ.ย. ก็ทำเรตติ้งเฉือนช่อง 3 “ตราบาปสีชมพู” ไปอย่างเฉียดฉิว

แม้ว่า “ซิ่นลายหงส์” ช่อง 8 ตามมาอยู่อันดับ 4 ของช่วงเวลา แต่ก็ได้เรตติ้งระดับเกิน 2 แล้ว เรตติ้งใกล้กับละครช่อง 3 และช่องวัน กลายเป็นรายการที่ทำเรตติ้งสูงสุดของช่อง 8 ประจำวัน

สำหรับละครเย็น ยังมีละครรีรันจากช่อง 3SD ช่อง 28 ที่จัดละครดังมาเรียกเรตติ้งได้เสมอ ปัจจุบันนำละครรีรัน “แรงปรารถนา มีณเดชน์ และคิมเบอร์รี่ นำแสดง มาเรียกเรตติ้งได้พอสมควร

ส่วนช่วงไพรม์ไทม์หลัง 2 ทุ่ม ช่องวันกลายเป็นช่องที่โดดเด่นที่สุดช่องหนึ่ง จากการวางละครลง 2 เรื่องในวันจันทร์-อังคาร เมื่อ “พรหมไม่ได้ลิขิต” ที่ได้คู่ บี้-สุกฤษฏิ์ และ เอสเธอร์ สุปรีลีลา ทำเรตติ้งพุ่งแรง แซงละคร “ชาติเสือพันธ์มังกร” ช่อง 3  ไปแล้ว ทั้ง 2 วัน 26-27 พ.ย.

โดยเฉพาะวันที่ 27 พ.ย. “ชาติเสือพันธ์มังกร” ยิ่งออนแอร์ เรตติ้งเริ่มลดลงเรื่อยๆ หล่นมาอยู่ต่ำกว่า 2 เป็นครั้งแรก โดยได้ไปเพียง 1.911

สถานการณ์ของละครช่อง 3 ตอนนี้ กำลังเหมือนกับช่อง 7 ที่เรตติ้งละครไพรม์ไทม์ไม่เข้าเป้า โดยช่อง 7 มีละคร “พ่อมดเจ้าเสน่ห์” ที่ทำเรตติ้งต่ำสุดของช่องต่ำกว่า 3 มาแล้วหลายครั้ง โดยล่าสุด วันที่ 22 พ.ย. ทำเรตติ้งได้เพียง 2.763 เท่านั้น  ส่วนช่อง 3 ก็มีละคร “รักพลิคล็อค” มีเรตติ้งต่ำสุดอยู่ที่ 1.566

รักพลิคล็อค

การที่ละครช่อง 7 ลงมาอยู่ในระดับ 2 กว่า และช่อง 3 ลงมาอยู่ในระดับ 1 กว่า ในขณะที่ละครช่องวัน และช่อง 8 สามารถทำเรตติ้งขึ้นได้ถึงระดับ 2 แสดงให้เห็นว่า ตลาดผู้ชมเริ่มเปิดมากขึ้นแล้ว ใครมีคอนเทนต์ดี ก็สามารถช่วงชิงเรตติ้งมาได้เสมอ และพร้อมจะแซงหน้า 2 ช่องใหญ่ได้เสมอ

สถานการณ์นี้อาจจะส่งผลต่อเนื่องไปยังปีหน้า ที่เหมือนจะบอกว่า คอนเทนต์ใครดี ก็คว้าชัยได้ ไม่ต้องอิงฐานผู้ชมเดิมอีกต่อไป เพราะผู้ชมพร้อมจะเสพคอนเทนต์ดี ใหม่ สนุก เร้าใจ เปลี่ยนช่องได้ตลอดเวลา

เวลานี้ ต้องคอยดูว่า ช่องใหญ่ทั้ง ช่อง 7 และ ช่อง 3 จะงัดกลยุทธ์ใดมาสู้กัน.

]]>
1200230
จัดทีไร ได้ผล ละครมาราธอน ช่องวัน ดันละคร “เนตรนาคิน” เรตติ้งแรง เตรียมส่งต่อ “พรหมไม่ได้ลิขิต” บี้-เอสเธอร์ https://positioningmag.com/1193593 Fri, 19 Oct 2018 07:00:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1193593 ได้ผลทุกครั้งที่ช่องวันงัดกลยุทธ์ “ละครมาราธอน” ที่เป็นการนำละครที่กำลังออกอากาศมาจัดลงผังช่วงวันหยุดยาว คราวนี้เป็นคิวของละคร “เนตรนาคิน” ที่ช่องวัน จัดลงผังช่วงวันหยุด 13-15 ตุลาคมที่ผ่านมา

“เนตรนาคิน” ละครเรื่องที่ได้เรตติ้งสูงสุดของช่องวันในช่วงนี้ เป็นละครดราม่า แฟนตาซี ได้ ซูซี่- สุษิรา หรือ “แม่มะลิ” จากละคร “บุพเพสันนิวาส” ช่อง 3 ที่ผันตัวมาเป็นนักแสดงอิสระ มารับบทเด่นในช่องวันเป็นครั้งแรก

เรตติ้งเปิดตัวอยู่ที่ 1.647 เป็นเรตติ้งที่ต่ำที่สุดของเรื่องนี้ เรตติ้งค่อนข้างสวิง ขึ้นๆ ลงๆ มาโดยตลอด จากการออนแอร์ 4 วันรวด จันทร์-พฤหัส เรตติ้งในช่วงวันจันทร์-อังคาร ที่มีละคร “บาปรัก” ออนแอร์ต่อ จะสูงกว่าช่วงวันพุธ-พฤหัส

เมื่อจัดลงช่วงละครมาราธอนวันหยุดที่ผ่านมา ออกอากาศตั้งแต่ตอนแรกจนถึงตอนที่ 14 เรตติ้งไม่หวือหวามาก มาสูงสุดในตอนที่ 14 ด้วยเรตติ้ง 1.276 ก่อนที่จะเข้าช่วงออกอากาศสด ได้เรตติ้งขึ้นมาถึง 2.523 ในวันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม และมาสูงสุดที่ 2.725 ในวันอังคารที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา คาดว่าจะช่วยส่งเรตติ้งตอนที่เหลือ ที่จะจบลงวันที่ 23 ตุลาคมนี้ เพื่อส่งไม้ต่อให้กับละครชุดใหม่ “พรหมไม่ได้ลิขิต”

“พรหมไม่ได้ลิขิต” ละครที่จับคู่ บี้ – สุกฤษฎิ์ และ เอสเธอร์ – สุปรีย์ลีลา มาแสดงด้วยกัน หลังจากที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้วจากละครเรื่อง “พรหมลิขิต” ด้วยเรตติ้งเฉลี่ยประมาณ 3 สูงสุดเป็นอันดับ 2 ของช่องวันในปี 2560 เป็นรองเพียง “ราชินีหมอลำ” ทำให้ช่องวันรีบจัดการส่งเรื่องต่อไปให้ทั้งคู่ทันที ด้วยเรื่องที่มีชื่อสอดคล้องกัน เป็นละครใหม่ที่ช่องวันหวังไว้เป็นหมัดเด็ดของช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้

ช่วงเวลาที่ออกอากาศละครมาราธอน ในวันหยุด ยังช่วยส่งให้เรตติ้งเฉลี่ยของช่องวันในสัปดาห์ที่ผ่านมา 8-14 ตุลาคม 2561 อยู่ที่ 0.558 สูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.541 เล็กน้อย อยู่ในอันดับ 5 สามสัปดาห์ติดต่อกันแล้ว

]]>
1193593
ถอดรหัส “เลือดข้นคนจาง” กระแสแรง แต่เรตติ้งไม่มา https://positioningmag.com/1192361 Thu, 11 Oct 2018 23:08:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1192361 ถึงแม้ว่าละคร “เลือดข้นคนจาง” ออกอากาศทางช่องวัน จะเป็นกระแสที่ปังมากที่สุดในออนไลน์ โซเชียลมีเดียทั้งหมดในเวลานี้  #ใครฆ่าประเสริฐ ติดอันดับ ท็อป เทรนด์ ทวิตเตอร์ เพราะคนดูตามลุ้นใครคือฆาตรกรตัวจริง

แต่จากการออกอากาศมาแล้ว 6 ตอน เรตติ้งกลับขยับขึ้นทีละเล็กทีละน้อย ไม่ร้อนแรงยิ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ เมีย 2018 ละครแนวตลาด แซ่บ แรง เจาะกลุ่มผู้ชมละครทีวีจริงๆ คือกลุ่มคนอายุ 40+ เนื้อหา บท ทันสมัยเข้ากับเหตุการณ์ ออกอากาศในช่วงเวลาละครหลัง 2 ทุ่ม วันทำงาน ที่เป็นช่วงเวลาปกติของช่องวันอยู่แล้ว

ส่วน “เลือดข้นคนจาง” เป็นละครแนวสืบสวนสอบสวน ที่ค่อนข้างลงเฉพาะกลุ่ม และเปิดตลาดเวลาละครช่วงใหม่ของช่องวัน ในวันศุกร์ และเสาร์ ที่ปกติเป็นช่วงเวลาถ่ายทอดสดมวย และหนังไทย

ละครแนวตลาด เรื่องราวของเมียหลวง ได้กลุ่มคนดูที่เป็นผู้หญิง วัยทำงาน คนมีครอบครัว ซึ่งเป็นฐานหลักของคนดูทีวีอยู่แล้ว ละครเรื่องนี้นอกจากจะได้กลุ่มคนเมือง ยังช่วยให้ช่องวันขยายไปถึงผู้ชมในต่างจังหวัด จากตัวเลขเรตติ้งเฉลี่ยของทั้งเรื่องอยู่ที่ 3.157 เป็นเรตติ้งในพื้นที่กรุงเทพฯ 3.637 และต่างจังหวัด 3.075

แต่ละครแนวสืบสวนยังเป็นเรื่องใหม่ของช่องวัน เคยเปิดตัวทำละครแนวนี้มาแล้วจาก “กาหลมหรทึก” แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่เมื่อ “เลือดข้นคนจาง” เป็นละครฟอร์มใหญ่ กำกับโดย “ทรงยศ สุขมากอนันต์” จากนาดาว บางกอก ผู้กำกับ ได้นักแสดงเบอร์ใหญ่ 3 รุ่น ทั้งรุ่นอาวุโส รุ่นใหญ่ และนักแสดงวัยรุ่นหน้าใหม่มากมาย จึงมีความน่าสนใจเพิ่มมากขึ้น

“ย้ง” ทรงยศ ผู้กำกับหนังชื่อดังจากทั้งหนัง แฟนฉัน และซีรีส์ฮอร์โมน ก็เป็นการการันตีกลุ่มผู้ชมได้ในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่ใช่กลุ่มผู้ชมทีวี แต่ใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ ดูหนังฟังเพลงผ่านแอป และช่องทาง Over the top หรือ OTT ทั้งไลน์ทีวี ยูทูป และเน็ตฟลิกซ์ คนกลุ่มนี้ก็พร้อมติตตามผลงานของทรงยศไปตลอด

เมื่อทรงยศขยับเข้าทำละคร กระแสจึงไปเกิดกระแสในสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะในทวิตเตอร์ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ทุกวัน แม้วันไม่มีละครออกอากาศเวลาในการออกอากาศก็ตาม

ช่วงเวลาออกอากาศจึงมีผล ศุกร์และเสาร์ ถือเป็นช่วง Hang out กลุ่มวัยรุ่นคนเมือง จึงทำให้การดูผ่านทีวีน้อยกว่า แต่กลับดูย้อนหลังผ่านออนไลน์ มีการวิเคราะห์ใครฆ่าประเสริฐกันอย่างคึกคัก ทั้งแคปภาพ จับผิดตัวละคร แต่เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ ไม่ดูทีวี นิยมดูออนไลน์กันหมด เรตติ้งจึงไม่มา จนต้องให้นักแสดงช่วยโปรโมตให้ผู้ชมหันมาดูสดทางทีวี

แหล่งข่าวผู้คร่ำหวอดในวงการทีวีมากว่า 20 ปี บอกว่า ละครเลือดข้นคนจาง แม้ว่าจะมีตัวเลขเรตติ้งที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกตอน แต่เป็นการเพิ่มน้อยมากเมื่อเทียบกับต้นทุนรายการที่ออกอากาศก่อนหน้า เช่นถ่ายทอดสดมวย ที่มีต้นทุนในหลักแสน แต่ละครมีต้นทุนในหลักล้าน ในแง่ของการผลิตถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับช่องวัน ต้องนำไปคิด พัฒนาต่อยอด เหมือนทีวีทุกช่องก็คือ ทำอย่างไรให้กลุ่มคนดูออนไลน์เข้ามาดูสด และทำอย่างไรที่จะเปิดตลาด ฐานผู้ชมช่องใหม่ๆ ให้เข้ามารับชมมากขึ้น

ต้องรอดูว่า เรื่องราวในละครที่กำลังเข้มข้นต่อเนื่อง เพราะเร็วๆ นี้ก็จะเปิดตัวแล้วว่า “ใครฆ่าประเสริฐ” แต่ความสำคัญของเรื่องไม่ได้อยู่แค่นั้น ที่เข้มข้นกว่านั้น คือ มูลเหตุจูงใจในการฆ่าคืออะไร แล้วทำไมคนในครอบครัวถึงต้องฆ่ากันเอง.

]]>
1192361
ศึกละครเย็นเดือดแน่! ช่อง 8 ส่ง “สาปกระสือ” ชนช่องใหญ่ ช่องวัน ดัน “สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร” ชิงคนดูกลุ่มแมส https://positioningmag.com/1190308 Sun, 30 Sep 2018 05:00:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1190308 ผังรายการ “ละคร” ช่วงเย็นต้องเดือดอีกครั้ง เมื่อช่องวัน และช่อง 8 จัดละครไทยชุดใหม่ร่วมวงชิงเรตติ้ง ผู้ชมกลุ่มแมสทั่วประเทศจากช่อง 7 และช่อง 3

ส่งผลให้ช่วงรายการเย็นทำเรตติ้งสูงกว่าช่วงเวลาหลัก หลังข่าว 2 ทุ่มไปแล้ว เมือดูจากรายการที่ทำเรตติ้งสูงสุดของแต่และวันในช่วงวันทำงาน พบว่ารายการที่มีเรตติ้งสูงสุดคือละครเย็น สูงกว่าเรตติ้งละครหลังข่าวของช่องใหญ่ๆ หลายช่องไปแล้ว ตั้งแต่ช่อง 7, ช่อง 3, เวิร์คพอยท์ และ ช่อง 8

ผู้ชมช่วงเย็น ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยทำงาน และผู้ใหญ่ คอนเทนต์ที่อยู่ในช่วงนี้จึงมีความหลากหลาย ตั้งแต่ละครใหม่, ละครรีรัน, วาไรตี้, ซิทคอม, ซีรีส์อินเดีย และถ่ายทอดสดมวยไทย

ช่อง 7 ถือเป็นเจ้าตลาดของช่วงเวลานี้มาอย่างยาวนาน ด้วยละครและวาไรตี้ จะเน้นละครบ้านๆ สนุกสนาน เฮฮา แบบเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี เป็นแชมป์เรตติ้งมาโดยตลอด เพิ่งมาเสียรังวัดจากผลกระทบของละคร “บุพเพสันนิวาส” ช่อง 3 ที่นำมารีรันในช่วงละครเย็น แต่ช่อง 7 กลับมาลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง จากละครเย็นที่เพิ่งจบไป “เจ้าสาวช่างยนต์” ได้เรตติ้งตอนจบ 7.706 และได้เรตติ้งเฉลี่ย 5.579

เมื่อส่งต่อมายังละครเรื่องใหม่ “ชะชะช่าท้ารัก” ที่ออนแอร์เมื่อ 21 ก.ย.ที่ผ่านมา เรตติ้งจึงดีขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่เกิน 6 ไปแล้ว

ช่อง 8 ลุยละครไทย หลังซีรีส์อินเดียแผ่ว

ช่อง 8 ที่เคยให้ความสำคัญกับซีรีส์อินเดียมานาน สร้างเรตติ้งให้ช่องมาอย่างต่อเนื่อง แต่ระยะหลังจากจบ “หนุมาน สงครามมหาเทพ” ซีรีส์อินเดียมีแผ่วไป ช่อง 8 จึงจัดละครไทยเข้าเสริมทัพ เปลี่ยนเวลาออกอากาศใหม่ จากปี 2560 ที่เคยจัดละครไทยไว้ลงช่วงหลังข่าว 2 ทุ่ม ปีนี้จัดให้ลงช่วงเย็น เริ่มจากวันศุกร์-อาทิตย์ 1 เรื่อง และเริ่มขยายมาเป็นช่วงเย็นของจันทร์-พฤหัส ออกอากาศก่อนหน้าซีรีส์อินเดีย “พิฆเนศ มหาเทพไอยรา” เริ่มเรื่องแรกด้วย “พยัคฆา” ออกอากาศตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เรตติ้งเริ่มมา ตอนจบได้เรตติ้งเกิน 2

เมื่อส่งละครชุดใหม่ “สาปกระสือ” ออนแอร์ต่อ ด้วยตำนานความเฮี้ยนของกระสือที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน และยังมี “น้ำตาล ชาลิตา แสนแสน่ห์” อดีตนางงามเวทีมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ มารับงานแสดงเป็นครั้งแรก แสดงคู่กับ “สมาร์ท กฤษฏา” อดีตพระเอกจากช่อง 3 ทำเรตติ้งในตอนแรกเฉลี่ยทั่วประเทศได้ถึง 1.655 ตอนที่ 2 ได้ 1.702, ตอนที่ 3 เรตติ้งอยู่ที่ 1.698 และตอนที่ 4 ตอนล่าสุด ได้เรตติ้งแตะ 2.105 ไปแล้ว และยังเป็นแรงช่วยส่งเรตติ้งต่อเนื่องไปยังชุดซีรีส์อินเดีย “พิฆเนศ” เรตติ้งดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

ขนาดละคร “ชะชะช่าท้ารัก” ของช่อง 7 ที่กำลังมีเรตติ้งดีขึ้น ยังได้รับผลกระทบจาก “สาปกระสือ” ไปด้วยเช่นกัน เพราะฐานผู้ชมส่วนใหญ่ของช่อง 8 เป็นต่างจังหวัดมากกว่ากรุงเทพฯ เช่นเดียวกับช่อง 7 ทำให้เรตติ้ง “ชะชะช่าท้ารัก” ลดลงเล็กน้อยในวันที่ 26 กันยายน แต่ก็กลับมาดีขึ้นในวันถัดมา

ช่องวัน ทุ่มสุดตัว ละครเพลงลูกทุ่ง ลงละครเย็น 

ทางด้านช่องวัน ได้ละครเพลงลูกทุ่ง เข้าสร้างเรตติ้งให้กับช่องมาได้ตลอด ที่ผ่านมามีละคร “ราชินีหมอลำ” ออกอากาศในปี 2560 และ “ดาวจรัสฟ้า” ในปีนี้ โดยที่ทั้งสองเรื่องเป็นละครเพลงลูกทุ่งภาคอีสาน

“ราชินีหมอลำ” เป็นละครที่ได้เรตติ้งสูงสุดของช่องวันในปี 2560 ด้วยเรตติ้งเฉลี่ยทั้งเรื่อง 3.298 ส่วน “ดาวจรัสฟ้า” เรตติ้งเฉลี่ย 3.055 ทั้งสองเรื่องลงผังในช่วงหลังข่าว 2 ทุ่ม แต่มาคราวนี้ช่องวันปรับใหม่ ด้วยการจัด “สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร” ละครเพลงลูกทุ่งเรื่องใหม่ลงผังช่วงเย็นแทน เพื่อเจาะตรงกลุ่มเป้าหมายในวงกว้างมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะฐานผู้ชมในต่างจังหวัด เริ่ม 1 ต.ค.นี้ มาแทนซิทคอม “บ้านสราญแลนด์”

“สุภาพบุรุษมงกุฎเพชร” ละครเพลงลูกทุ่งภาคกลาง เรื่องราวความรักของอดีตนักธุรกิจขายตรงเจ้าของตำแหน่งเพชรยอดมงกุฎ กับนักร้องสาวเสียงดี ประจำวงดนตรีทุ่งทอง มี ตูมตาม เดอะสตาร์, เปา เปาวลี และ แกรนด์ เดอะ สตาร์ นำแสดง

ช่อง 3 จัด ละครแฟนตาซี คอมเมดี้ลงสู้

สำหรับช่อง 3 ส่งละคร “แก้วกุมกัณฑ์” ละครแนวโรแมนติกคอมเมดี้ผสมแฟนตาซี ยักษ์หนุ่มรูปงาม “สุรมายา” ที่ตกสวรรค์เพราะแย่งชิงดวงแก้วสารพัดนึกกับนาค และต้องมาขออาศัยอยู่ในบ้านมนุษย์ มี เพ็ชร ฐกฤต แพท ณปภา เป็นนักแสดงนำ เริ่มวันที่ 2 ต.ค. ต่อจาก “ดั่งพรหมลิขิตรัก” หวังเจาะกลุ่มครอบครัว ทั้งกลุ่มเด็กเล็กจนถึงผู้ใหญ่ มีปล่อยแสง ปล่อยพลัง ใช้ซีจีประกอบ

นอกจากนี้ในช่อง 3SD ของกลุ่มช่อง 3 ยังจัดละครรีรันลงอย่างต่อเนื่อง จัด “ทางผ่านกามเทพ” ออกอากาศต่อจาก “ปดิวรัดา“ เริ่ม 2 ต.ค.นี้

ละครทั้ง 4 ช่อง แม้จะเป็นคนละแนว แต่เจาะกลุ่มแมสทั้งหมด ต่างคาดหวังกันเต็มที่ สร้างทางเลือกใหม่กับผู้ชม ใครดีกว่า เรตติ้งการันตีผลงาน.

]]>
1190308