ซีพีแรม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 28 Jan 2019 05:08:21 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เมื่อปลาเร็วกินปลาช้า “ซีพีแรม” ต้อง Disrupt ตัวเอง แตกธุรกิจ ตู้ขายอาหารอัตโนมัติ-รับจัดเลี้ยง https://positioningmag.com/1210438 Mon, 28 Jan 2019 00:57:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1210438 ถึงแม้จะเป็นองค์กรใหญ่ แต่ซีพีแรมก็ประเมินแล้วว่า หากไม่อยากถูก “Disrupt” ด้วยคู่แข่ง ก็ต้อง “Disrupt” ตัวเอง “เพราะยุคของปลาไวกินปลาช้า ปลาใหญ่ก็ถูกกินมาแล้ว ช้านิดเดียวก็แพ้ได้”

ทำให้ วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ตัดสินใจ Transformation องค์กร ด้วยแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (2561-2565) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ โดยเฉพาะความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

สิ่งที่ซีพีแรมพบคือ เทคโนโลยีและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคมีความต้องการเฉพาะเจาะจงและเฉพาะทางมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวของเขตเมือง (Urbanization), การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ, ความต้องการในอาหารเพื่อสุขภาพและความนิยมในการบริโภคมังสวิรัติเพิ่มมากขึ้น

ซีพีแรมใส่เกียร์เดินหน้าแบบเต็มสูบ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่จะมีรายได้เติบโตอย่างน้อยปีละ 10% ต่อเนื่องทุกปี โดยในปี 2565 ตั้งเป้าจะมียอดขายกว่า 30,000 ล้านบาท ขณะที่ยอดขายปี 2561 อยู่ที่ 18,000 ล้านบาท คาดว่ายอดขายปี 2562 จะปิดที่ 20,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันก็ต้องเติบโตด้วย Technology Driven พัฒนาเทคโนโลยีของตัวเอง เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีตอบโจทย์ลูกค้า รวมไปถึงระบบจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าที่รวดเร็วและแม่นยำ

“ความท้าทายคือ จะต้องบุกตลาดที่ซีพีแรมยังไม่เคยทำมาก่อนทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง เช่น คนที่มีปัญหาด้านการขบเคี้ยว และย่อยยาก สินค้าสำหรับผู้สูงอายุและเด็กอ่อนแล้ว (ข้าวต้มหมู) และเร็วๆ นี้จะมีอาหารสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการบริโภคอาหารที่เฉพาะเจาะจงกับโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอยู่ เช่น อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน”

วิเศษ ย้ำว่า

ซีพีแรม 4.0 จะต้องแบบพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปไม่ได้ เหมือนดักแด้ลอกคราบแล้วเป็นผีเสื้อทันที ไม่ได้ตายแต่เกิดใหม่ในขณะที่มีชีวิตอยู่

แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ของซีพีแรม ประกอบไปด้วย

1. Organization Transformation

การเปลี่ยนแปลง “คน” ให้เชื่อมั่นและเห็นพ้องต้องกันกับทิศทางที่บริษัทฯ จะก้าวต่อไปในอนาคต เป็นการปรับ Mindset ของพนักงานทุกคน ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร (Restructure) และตั้งสำนักงานใหม่ เช่น สำนักเทคโนโลยีและนวัตกรรม และสำนักกลยุทธ์และความยั่งยืนองค์กร (ช่วยสนับสนุนด้านเทคโนโลยีให้กับเกษตรกร)

ขณะเดียวกันก็เปลี่ยนการบริหารงานจากเดิมที่ยึดเอาผลิตภัณฑ์เป็นที่ตั้ง มาเป็นยึดโลเกชั่นของโรงงานแทน โดยโรงงานแต่ละแห่งจะทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรกิจ (Business Unit) โดยหัวหน้าจะมีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ ได้ทันที เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และคล่องตัวมากขึ้น

นอกจากนี้ยังนำไอเดียของคนรุ่นใหม่เพื่อปลุกปั้นธุรกิจใหม่ๆ ตามแนวทางของสตาร์ทอัพ และนำเทคโนโลยี Smart Office และ Online Conference มาใช้ เพื่อให้สื่อสารกันระหว่างโรงงานแต่ละแห่งได้อย่างรวดเร็ว

2. New Business (Vending Machine, Catering Service)

การปั้นธุรกิจจะมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่เป็น New S Curve โดย 2 ธุรกิจใหม่ที่ซีพีแรมหมายมั่นปั้นมือว่าจะเป็นบ่อเงินบ่อทองในอนาคต คือ Vending Machine ที่เกิดจากโครงการ entrepreneurship ซึ่งส่วนหนึ่งจะพัฒนาเป็น Vending Cafe ที่รวบรวม Vending Machine และพื้นที่สำหรับนั่งกินอาหาร โดยอยู่ระหว่างทดลอง ให้บริการที่ซีพี ทาวเวอร์ 1 สีลม ได้ 4 เดือนแล้ว คาดว่าจะได้โปโตไทป์ที่สมบูรณ์ภายในไตรมาส 2 ปีนี้ และจะเปิดตัวต่อไป โดยจะจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทานของซีพีีแรมเองเป็นหลักและพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในอาหารประเภทอื่นๆ  

โดยจะเป็นศูนย์กลางทำหน้าที่บริหารจัดการและนำส่งสินค้าไปยัง Vending Machine ต่างๆ จำนวน 2 แห่ง แห่งแรกคือซีพี ทาวเวอร์ สีลม รองรับพื้นที่แถบสีลม สามย่าน สุริวงศ์ เป็นต้น โดยแต่ละแห่งจะรับผิดชอบ Vending Machine 30-50 จุด คาดว่าภายในปีนี้จะมีทั้งสิ้นราว 80-100 จุด

“เป็นการขยายช่องทางจำหน่ายเองด้วย เพื่อใกล้ชิดกับลูกค้ามากกว่าเคย เช่น ถ้าอยู่คอนโด อาบน้ำใส่ชุดนอนแล้วแต่หิวขึ้นมา ต่อให้มีเซเว่นฯ ใกล้ๆ ก็ตาม แต่เมื่อจะลงมาหาอะไรกินที่ Vending Machine ได้เลย ช่องทางนี้จะสะดวกกว่า” 

ธุรกิจใหม่อีกอย่าง คือ Catering Service จะมุ่งไปที่โรงเรียนกับโรงงานเป็นหลัก โดยทำในรูปแบบของสวัสดิการที่โรงเรียนหรือโรงงานจัดให้ ตอนนี้อยู่ในระหว่างทำการทดลองในโรงงานแถบบางพลี 2 แห่ง คาดว่าภายในปี 2563 จะให้บริการอย่างจริงจัง

3. Digitalization

สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับพนักงาน ให้มี Digital Literacy และมี Digital Experience ต้องใช้ให้เป็น มีการฝึกอบรม และวัดผลชัดเจน เพื่อเน้นการทำงาน

ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ผ่านระบบ CP Connect นำข้อมูลทั้งหมดขึ้นระบบคลาวด์ เพื่อการทำงานที่โปร่งใส สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจได้รวดเร็ว

4. Robotization

หุ่นยนต์มาทดแทนแรงงานไร้ฝีมือหรือไม่ต้องใช้ทักษะสูง แต่ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค เช่น ร้อนจัด และหนาวจัด หรืองานที่ทำซ้ำๆ เพราะในอนาคตแรงงานต่างชาติก็จะหดหาย เช่น การหยิบเต้าหู้ได้ไม่แตก รวมถึงการหยิบขนมจีบใส่กล่องได้

นอกจากนี้ จะใช้ระบบ Robot Process Automation (RPA) ที่ใช้ภายในงานสำนักงาน งานบริหารจัดการเอกสาร และการออกอินวอยซ์ต่างๆ ก็จะลดการพึ่งพิงคนด้วย

5. FTEC (Food Technology Exchange Center)

ร่วมกับนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ โดยจะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ Robotech, Digitech และ Biotech ทั้งนี้ซีพีแรมได้จัดสรรงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมนี้ 1% ของยอดขายต่อปี หรือปีละ 150-200 ล้านบาท

]]>
1210438
ทำไมต้องเป็น “ข้าวต้มหมู” สินค้าสร้าง ”ว้าว“ ตัวล่าสุดของซีพีแรม https://positioningmag.com/1210150 Thu, 24 Jan 2019 09:50:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1210150 ท่ามกลางสินค้าอาหารพร้อมรับประทาน (Ready to Eat) และเบเกอรี่ รวมกันกว่า 900 SKUs ที่ผลิตโดยซีพีแรม เบื้องหลังคือกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่ “ใช่” มาตอบโจทย์ผู้บริโภค ไม่ใช่อะไรก็ได้  

วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด บอกถึงแนวคิดดังกล่าวที่เปรียบเสมือนคัมภีร์พิชิตชัยธุรกิจของซีพีแรมว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่

1. Basic Requirement

อาหารนั้นจะต้องอร่อย ปลอดภัย และมีราคาที่เหมาะสม หากไม่มีคุณสมบัติสำคัญทั้ง 3 อย่างนี้แล้ว ก็อย่าคิดที่จะทำธุรกิจนี้เลย เพราะไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จได้

2. Voice of Customer 

เสียงจากลูกค้าที่บอกหรือเสนอแนะความคิดเห็นว่าอยากได้อะไร อะไรคือสิ่งที่เขาต้องการ อะไรที่เขาไม่ชอบ ต้องรับฟังและนำเสนอสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ขณะเดียวกันสินค้านั้นก็ต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับช่องทางจำหน่ายด้วย

3. Customer Insight

รู้จักวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค พร้อมกับตีแตกความต้องการนั้นออกมาให้ได้ เช่น คนชอบกินน้ำเต้าหู้ต้องกินกับปาท่องโก๋ ขายด้วยกันก็น่าจะทำยอดได้ดีกว่าขายแยก เป็นต้น ในส่วนนี้อาจรวมถึงสินค้าที่กำลังอยู่ในกระแส และกำลังเป็นที่นิยม ก็ต้องรีบจับกระแสทันที ถ้ากระแสหายก็เตรียมนำเสนอสินค้าตัวใหม่ที่มาแรงกว่า เพราะคนไทยชอบลองของใหม่

4. Latent Need

ต้องใช้จินตนาการและใช้กึ๋นในการที่จะค้นหาความต้องการแอบแฝงหรืออุปสงค์ซ่อนเร้นของลูกค้าให้เจอ แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด เพราะลูกค้าไม่พูด แต่ถ้าเราหาจนเจอ แล้วนำเสนอให้กับเขาได้ มันจะว้าวทันที

ตัวอย่างล่าสุดที่ชัดเจนคือ “ข้าวต้มหมู” น้ำหนักสุทธิ 300 กรัม จำหน่ายในราคา 69 บาท ซึ่งแม้จะมีราคาแพงกว่าข้าวต้มหมูทั่วไป หรือเมนูอื่นของซีพีแรมอยู่บ้าง แต่การตอบโจทย์ตามความต้องการก็ถือเป็นราคาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นไปตาม Basic Requirement 

“เราใช้เวลาคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ราว 1 ปี เพราะเห็นว่าครอบครัวคนไทยจำนวนไม่น้อยที่เวลากินข้าวจะประกอบด้วยคน 3 เจนเนอเรชั่น นั่งกินด้วยกัน แต่ทำไมปู่ย่า ตายาย ต้องกินเหมือนกันกับลูกหลาน และเด็กอ่อนต้องกินเหมือนพ่อแม่ ทั้งๆ ที่คนสูงอายุส่วนใหญ่ฟันจะเริ่มสึกหรอ ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก การดูดซึมอาหารก็ยาก ท้องอืดบ่อยๆ เราเลยพัฒนาเมนูข้าวต้มหมูนี้ออกมา ทำให้พวกเขาสามารถกินอาหารได้อร่อยและง่ายขึ้น เพียงเคี้ยวแค่ 2-3 คำก็กลืนได้เลย โดยชูจุดขายว่าเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้สูงวัยที่สูญเสียฟัน เนื้อนิ่ม เคี้ยวง่าย ขณะเดียวกันเด็กอ่อนก็กินได้ง่ายด้วย”

ขณะที่สูตรของข้าวต้มหมูเพื่อผู้สูงอายุและเด็กอ่อนนี้ ก็จัดเป็นเมนูสุขภาพด้วย เพราะมีไขมันและคอเลสเตอรอลต่ำ   

“อาหารสำหรับผู้สูงอายุและเด็กอ่อน เป็นอาหารที่คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้กิน ดังนั้น เราจะต้องทำให้พ่อแม่ หรือลูกหลานซึ่งเป็นคนซื้อ เกิดความเชื่อมั่นเสียก่อนว่าอาหารของเราได้รับการคิดค้นมาอย่างรอบคอบ และตอบโจทย์ความต้องการของคนที่เขารักได้อย่างแท้จริง”

ข้าวต้มหมูประเดิมจำหน่ายที่เซเว่น อีเลฟเว่นในโรงพยาบาล 50 แห่ง ทั่วกรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 นี้ ก่อนที่จะออกสู่ตลาดทั่วประเทศเป็นลำดับถัดไป

นอกเหนือจากข้ามต้มหมูแล้ว ยังมีสินค้าใหม่ที่เกิดจากการค้นหา Latent Need อยู่ในไปป์ไลน์อีก แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนานานพอสมควร เพราะทำได้ยากและมีรายละเอียดที่ซับซ้อน  

นอกจากนี้การปั้น FTEC หรือ Food Technology Exchange Center ที่เชื้อเชิญนักวิจัยจากทั้งในและต่างประเทศมาร่วมผลิตคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาสินค้าเมนูใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ Latent Need ของผู้บริโภคให้ได้ จึงเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญที่อยู่ภายใน Transformation Roadmap ของซีพีแรม.

]]>
1210150
เซเว่นฯ จะมีอาหารคนเป็นเบาหวานแล้วนะ “ซีพีแรม” รับเทรนด์อาหารโลกปี 62 มุ่งผลิตอาหารสุขภาพ-สูงวัย https://positioningmag.com/1205819 Thu, 03 Jan 2019 10:27:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205819 ซีพีแรม” ผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ในเครือเซเว่นอีเลฟเว่น คาดการณ์แนวโน้มธุรกิจอาหารโลกปี 2562 เป็นยุคทองของ “อาหารสุขภาพ” จะมีความต้องการเฉพาะกลุ่มบุคคลมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดผู้สูงอายุที่กำลังเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานจำนวนตัวเลขกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่นๆ โดยในปี พ.. 2548 มีประชากรสูงอายุอยู่ 6 ล้านคนเศษ (ร้อยละ 10) แต่เมื่อถึงปี พ.. 2578 จำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านคน (ร้อยละ 25) เท่ากับเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวในเวลา 30 ปี

นอกจากนี้ จะเกิดปรากฏการณ์มีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก จากจำนวนเด็กที่ลดลง ในขณะที่ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกประมาณ 15 ปีข้างหน้าจำนวนเด็กจะพอๆ กับผู้สูงอายุ และหลังจากนั้นจะเกิดปรากฏการณ์มีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก และในภาพรวมประชากรไทยจะถึงจุดอิ่มตัวที่ตัวเลขประมาณ 65 ล้านคน ในราวปี พ.. 2565

ซีพีแรมเองจึงต้องขยายธุรกิจรองรับตลาดผู้สูงอายุมากขึ้น โดยเน้นงานวิจัยและพัฒนาเปิดตลาดเมนูสำหรับผู้สูงอายุ

เราเริ่มพัฒนาเมนูข้าวต้มสำหรับผู้สูงวัย เคี้ยวง่าย ดูดซึมง่าย และมีคุณค่าทางโภชนาการครบ

วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด กล่าว 

ขณะเดียวกันบริษัทก็พยายามเจาะลึกเมนูอาหารเฉพาะทางสำหรับผู้ป่วยมากขึ้น เช่นข้าวสำหรับคนเป็นเบาหวาน (rice low GI) มีรสชาติดีเหมือนเดิม แต่ที่เพิ่มเติมคือดูดซึมน้อยลงในระบบย่อย ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูง 

แนวโน้มใหม่ๆ ของอาหารสุขภาพ จะลดเค็ม ลดหวาน เน้นสะอาด ปลอดภัย เราเป็นโรงงานผลิตอาหารมาตรฐานสากล สินค้าต้องสะอาด ปลอดภัย มีคุณค่าโภชนาการเทียบเท่าอาหารสดปรุงใหม่ การหันมาโฟกัสอาหารสุขภาพมากขึ้น เป็นการส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาพดี ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล” 

ซีพีแรมมียอดขายปีละ 1.8 หมื่นล้านบาท บริษัทจะใช้งบ 1% ของยอดขาย หรือราว 100 ล้านบาท ในแต่ละปี สำหรับวิจัยพัฒนาเมนูอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของตลาดในประเทศ 

บริษัทอยู่ระหว่างเดินตามแผนยุทธศาสตร์ทิศทางองค์กร 5 ปี (.. 2018-2022) โดยวางเป้าหมายส่งมอบอาหารที่ดีมีคุณภาพ รสชาติอร่อย ปลอดภัย และให้คุณค่าทางโภชนาการ เพื่อยกระดับขีดความสามารถขององค์กร เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารสำหรับภูมิภาคเอเซีย และวางจุดยืนเป็นผู้นำทางด้าน Food provider ที่มีมาตรฐานระดับโลก.

]]>
1205819
ขาดเธอเหมือนขาดใจ “เมนูกะเพรา” ยอดฮิตร้านเซเว่นฯ “ซีพีแรม” จับมือ “เกษตรกร” โหมปลูกป้อนตลาด https://positioningmag.com/1203049 Fri, 14 Dec 2018 08:10:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1203049 ซีพีแรม” เป็นบริษัทผลิตอาหารพร้อมรับประทานและเบเกอรี่ในเครือของเซเว่นอีเลฟเว่น ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของบริษัทแม่ที่หันมาเน้นของกินมากกว่าของใช้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เป้าหมายของเซเว่นอีเลฟเว่น ต้องการเป็น food and beverage destination ในใจลูกค้า คือการขยายโฟกัสจาก หิวเมื่อไหร่ก็แวะมา สู่สถานภาพ ร้านเครือข่ายอิ่มสะดวก

ซีพีแรมจึงเป็นหนึ่งในนักเตะคนสำคัญของเซเว่นฯ ที่ช่วยกันเขี่ยบอลและยิงลูกเข้าประตูในจังหวะที่เหมาะสม

ต้องยอมรับว่าหลายปีมานี้เมนูอาหารที่สร้างการจดจำให้กับเซเว่นอีเลฟเว่น ไม่ใช่ฟุตลอง สเลอปี้ หรือบิ๊กเปา อย่างที่แล้วๆ มา เพราะในระยะหลังเซเว่นฯ มีสินค้าดาวรุ่งที่แข่งกันแจ้งเกิดจนจำไม่หวาดไม่ไหว

และหนึ่งในสินค้าเรือธงที่ทำให้ผู้บริโภคในกรุงเทพฯ และปริมณฑลรู้ว่าเซเว่นฯ เป็นร้านอิ่มสะดวกจริงๆ ก็คือการเปิดตลาดอาหารแช่เย็น (chill food) ที่อยู่ในการดูแลของซีพีแรม ภายใต้การนำของหัวโจกอย่าง ข้าวกะเพราหมู กะเพราไก่ ในสนนราคาขายเท่ากับอาหารริมทาง

ใครเลยจะคิดว่าเมนูมื้อหลักที่มักถูกค่อนขอดว่าเป็น อาหารสิ้นคิด แต่คนก็ไม่เคยเบื่อที่จะสั่ง จะยิ่งขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเมื่อมาอยู่บนชั้นวางของเซเว่นอีเลฟเว่น

แม้จะไม่ชัดเจนว่าแต่ละวันซีพีแรม จะมีปริมาณการขายเมนูกะเพราแบบแช่เย็นมากเท่าใดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (ด้วยข้อจำกัดของความใหม่สด ทำให้วงจรชีวิตสั้น ไม่สามารถส่งไปขายได้ไกลๆ) แต่ถ้าประเมินกล่องอาหารเมนูกะเพราที่กองหนาตากว่าเมนูอื่นๆ ก็พอเดาได้ว่า เมนูกะเพราเป็นอาหารขวัญใจมหาชนที่กินเท่าไหร่ก็ไม่รู้เบื่อ

มีรายงานระบุว่า 5 อันดับเมนูยอดฮิตของซีพีแรมในเซเว่นอีเลฟเว่น ในกลุ่มอาหารแช่เย็นพร้อมรับประทาน ได้แก่ 1. ข้าวกะเพรา 2. ข้าวผัดปู 3. ผัดซีอิ๊ว 4. ข้าวไข่เจียวกุ้ง และ 5. เมนูอื่นๆ ที่หมุนเวียนกันมาเข้ารอบ

วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด บอกว่า ทุกวันนี้กะเพราเป็นวัตถุดิบหลักของอาหารกล่อง ที่มียอดขายนำมาเป็นอันดับ 1 ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญในแง่ความมั่นคงของอาหาร

วันหนึ่งถ้าประเทศเราขาดแคลนอาหาร กะเพราจะเป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญมากกว่าทองคำ

ซีพีแรมเริ่มศึกษาศักยภาพของใบกะเพราตั้งแต่ยุคแรกๆ ที่ทดลองปลูกแปลงสาธิตกะเพราที่อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ตั้งแต่ 10 ปีก่อนหน้า เพื่อทดลองหาสายพันธุ์ที่มีความหอม มีรสชาติเผ็ด ตรงกับสเป็กที่ซีพีแรมอยากได้ เพื่อเอามาผลิตอาหารแช่แข็ง โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งก็ใช้เวลาหลายปีกว่าจะค้นพบสายพันธุ์ที่ใช่ และยังคงพัฒนาปรับปรุงพันธุ์อย่างต่อเนื่อง

การเรียนรู้ในศาสตร์ของกะเพราเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่ธุรกิจซีพีแรม (supply chain management) ด้วยแนวทาง 3S คือ อาหารปลอดภัย (food safety) อาหารมั่นคง (food security) และอาหารยั่งยืน (food sustainability)

เป็นการวางแผนการผลิตตั้งแต่ต้นทางแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้อาหารเกินหรือไม่ให้ขาด เพื่อความมั่นคงในอาหารระยะยาว

ซีอีโอ ซีพีแรม ระบุ

หลังการลองผิดลองถูกเพื่อเฟ้นหาสเป็กใบกะเพราที่ใช่ก็ถึงเวลาที่ซีพีแรมต้องขยายตลาดอาหารแช่เย็นให้ครอบคลุมทั่วประเทศจากเดิมที่กระจุกตัวอยู่เฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเพราะข้อจำกัดเรื่องการขนส่ง

หนึ่งในการแก้ปัญหาที่ตรงจุดเพื่อให้อาหารแช่เย็นกระจายตัวไปทั่วประเทศได้และไม่ติดปัญหาการขนส่ง คือ การดึงเอาบรรดาเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงงานมาเป็นแนวร่วมพลิกฟื้นผืนดินให้เป็นทองคำด้วยการส่งเสริมอาชีพการเพาะปลูกกะเพราภายใต้โครงการ เกษตรกรคู่ชีวิต

โดยซีพีแรมเริ่มต้นดีเดย์ที่โรงงานขอนแก่นเป็นแห่งแรก ใช้เงินลงทุนขยายโรงงาน 1,390 ล้านบาท แบ่งเป็นสายการผลิตอาหารกล่อง 767 ล้านบาท และเบเกอรี่ 623 ล้านบาท ดูแลตลาดในพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด

เฉพาะในส่วนของเมนูกะเพรามีความต้องการใช้ใบกะเพราเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปีสามารถรวบรวมเกษตรกรในเขต อ.โนนศิลา จ.ขอนแก่น ได้ทั้งหมด 19 ครัวเรือน มีพื้นที่เพาะปลูก 50-50 ไร่ สามารถรองรับการผลิตได้ 60 กิโลกรัมต่อวัน และสร้างรายได้ให้เกษตรกรในชุมชนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.5 เท่าจากการรับซื้อทั้งหมด

เป้าหมายของซีพีแรมต้องการรวมกลุ่มเกษตรกรและส่งเสริมอาชีพการเพาะปลูกกะเพราทั่วประเทศเพื่อให้ได้ผลผลิตเพียงพอกับความต้องการในลักษณะ win-win game ซึ่งในระยะแรกที่เพิ่งเปิดตัวโครงการเกษตรกรคู่ชีวิต ผลผลิตยังไม่มากพอ แต่ในระยะต่อไปเมื่อโรงงานผลิตอาหารซีพีแรมเดินเครื่องเต็มที่พร้อมกันทั่วประเทศ ก็มีแนวโน้มว่าอาชีพปลูกกะเพราจะอยู่ในความสนใจของเกษตรกร และทำให้บริษัทมีวัตถุดิบมากพอที่จะไปขยายตลาดอาหารแช่เย็น

โดยหลังจากเปิดตัวโครงการที่ขอนแก่น จะขยายความมือกับเกษตรกรในพื้นที่โรงงานลำพูน ซึ่งรับผิดชอบดูแลเขตการขายภาคเหนือ โรงงานสุราษฎร์ธานี ดูแลพื้นที่ในเขตภาคใต้ โรงงานชลบุรี ดูแลพื้นที่ภาคตะวันออก และโรงงานอีกสองแห่งที่ปทุมธานี ที่ดูแลพื้นที่การขายในภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นตัวยืนอยู่ก่อนแล้ว

วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู ซีอีโอ ซีพีแรม ลงมือผัดกะเพราในแปลงผักด้วยตัวเอง

การส่งเสริมเกษตรกรปลูกกะเพราผลิตป้อนโรงงานโดยไม่ผ่านคนกลางส่งผลดีระยะยาวกับซีพีแรม ทำให้คุณภาพวัตถุดิบดีขึ้นเพราะไม่ต้องขนส่งทางไกล และตอบโจทย์การผลิตอาหารกล่องแบบแช่เย็นที่ต้องรีบส่งตรงถึงพื้นที่ชั้นวางหลังการบรรจุไม่เกิน 6-7 ชั่วโมง โดยปี 2561 นี้เป็นปีแรกที่บริษัทขยายตลาดมาต่างจังหวัดพร้อมกันทุกภูมิภาคเต็มรูปแบบ จากเดิมที่ตลาดต่างจังหวัดจะเน้นขายเฉพาะอาหารแช่แข็ง (frozen food) อย่างเดียว

พฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ให้การยอมรับอาหารกล่องในเซเว่นฯ มากขึ้นจากการมองว่าสะอาดปลอดภัยราคาถูกและประหยัดเวลาโดยเฉพาะอาหารแช่เย็นใช้เวลาอุ่นเวฟเพียงนาทีครึ่งให้รสชาติความใหม่สดไม่ต่างจากอาหารตามสั่งซึ่งตอบโจทย์ทั้งผู้บริโภคที่ต้องการความใหม่สดและรวดเร็วและตอบโจทย์บริษัทแม่อย่างเซเว่นฯ ที่เปลี่ยนจุดยืนมาเน้นขายอาหารเร็วด่วนสอดรับกับพฤติกรรมสมัยใหม่ที่เร่งรีบ

ปัจจุบันมีสินค้าซีพีแรมวางขายในเซเว่นฯ 900 SKU. และ 23% ของทั้งหมดเป็นสินค้าใหม่ที่บริษัทพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการวิจัยว่าผู้บริโภคในกลุ่มอาหาร อยากเห็นเมนูใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา สินค้าในเซเว่นฯ จึงต้องเปลี่ยนตลอด ไม่เปลี่ยนก็ไม่ได้เพราะลูกค้าอยากเห็นแต่ของใหม่จุ๋มจิ๋ม ซีพีแรมจึงต้องปรับปรุงรสชาติ เอาสินค้าออกจากชั้น ปรับปรุงสูตรและกลับเข้าไปใหม่ เรียกว่าโมดิฟายน์และเมกอัพกันสุดฤทธิ์ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคขี้เบื่อยุคนี้.

]]>
1203049
ชำแหละ “ซีพีแรม” อาวุธลับ “เซเว่นอีเลฟเว่น” https://positioningmag.com/1154002 Sat, 20 Jan 2018 04:59:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154002 เมื่อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” วาง Positioning  ของการเป็น “ร้านอิ่มสะดวก” รองรับผู้บริโภคที่หิวเมื่อไหร่ก็แวะไปได้ 24 ชั่วโมง “อาหาร” ถือเป็นสินค้าหลัก ที่ต้องตอบโจทย์จุดยืนดังกล่าว

นอกจากการบริษัทในเครือ “ซีพีเอฟ” เป็นซัพพลายเออร์ที่ผลิตสินค้าป้อนเซเว่นฯ อีกรายที่มีบทบาทไม่แพ้กันคือ “ซีพีแรม”  ไม่ว่า ไส้กรอกซีพี, อาหารพร้อมทาน EZYGO, เบเกอรี่ เลอแปง, เดลี่ไทย, เดลิกาเซีย,แซนวิชอบ และขนมจีบซาลาเปา(แบรนด์เจดดราก้อน) ล้วนมาจากบริษัทนี้ ซึ่งผลิตอาหารและเบเกอรี่ป้อนเซเว่นฯมากกว่า 50%

บริษัท ซีพีแรม จำกัด เป็นบริษัทลูกที่ซีพีอออล์ถือหุ้น 100%”  เพื่อผลิตอาหาร แช่แข็ง อาหารแช่เย็น และเบเกอรี่

“ก่อศักดิ์ ไชยรัศมี” ประธานกรรมการ บมจ.ซีพี ออลล์ ในงานครบรอบ 30 ปี ซีพีแรม ที่ย้ำความสำคัญของคลังอาหารเซเว่นอีเลฟเว่น และหากชำแหละโครงสร้างสินค้าจะพบว่าภายในร้านส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอาหารประเภทต่างๆ ขนมปัง เบเกอรี่ ผลไม้สด ฯ สัดส่วนสูงถึง 70% อีก 30% คือสินค้าอุปโภคประเภทเครื่องใช้ส่วนบุคคล(เพอร์ซันนอลแคร์)

เมื่อก่อนสินค้าอาหารดังๆที่อยู่บนเชลฟ์ มักจะเป็น “แบรนด์เบอร์ 1” ในหมวด (Category) นั้นๆ เช่น เบเกอรี่ต้อง “ฟาร์มเฮ้าส์” แต่ปัจจุบันพื้นที่ถูกยึดโดย “เลอแปง” จากซีพีแรมเรียบร้อย หมวดอาหารแช่แข็ง อาหารพร้อมทานแน่นอนว่ามีตู้แช่ของซีพีแรมตั้งหราในร้าน 1-2 ตู้

สายการผลิตของ ซีพีแรม  จึงเริ่มตั้งแต่ ผลิตอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง แล้วแตกไลน์สู่เบเกอรี่ รุกตลาดติ่มซำ และผลิตอาหารสำเร็จรูป เพื่อตอบโจทย์ในเรื่องสินค้าให้กับเซเว่นฯ

เป้าหมายต่อไปของซีพีแรม ในปี 2561-2565  ต้องการ ขยายธุรกิจอาหาร “เชิงรุก” มากขึ้น ด้วยการใช้งบลงทุน 4,000 ล้านบาท สร้างโรงงานใหม่ 5 แห่ง ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ลำพูน และขยายในพื้นที่โรงงานเดิมที่ชลบุรี ปทุมธานี และขอนแก่น เพื่อเพิ่มกำลังผลิตอาหารแช่แข็ง แช่เย็น และเบเกอรี่ เพิ่มขึ้น 50-70%  ป้อนให้กับเซเว่นฯ ที่ขยายสาขาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รองรักยอดขายอาหารก็เติบโตถึง 15%

กำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น ยังถูกโฟกัสไปที่อาหารพร้อมทานหมวด “ข้าว” มากขึ้นด้วย เพราะการเติบโตสูงกว่า 15% 

ปัจจุบันเซเว่นฯ มีร้านให้บริการกว่า 10,000 สาขา ตู้แช่ที่พ่วงไว้ในร้านมีมากถึง 6,000 สาขา เพื่อต้องการตอบสนองการกินอยู่ของผู้บริโภคให้ได้ 7 มื้อต่อวัน  เรียกว่าสูงกว่าการบริโภคมื้อปกติ 2 เท่าตัว(ปกติคือทานเช้า กลางวัน เย็น) และเมื่อดูรายงานของเซเว่นฯ ระบุว่าปี 2559 มีคนเข้ามาใช้บริการทั่วประเทศมากถึง 11.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 มีลูกค้าใช้บริการ10.9 ล้านคน หากขายให้คนกินได้หลายมื้อ ยอดขายยิ่งโตมโหฬาร

 สินค้าอาหารทุกหมวดเป็นโอกาสสร้างการเติบโตให้บริษัท เพราะไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคคนไทยเปลี่ยน การอาศัยอยู่ในเมืองสูงขึ้นเรื่อยๆ คนชนบทย้ายเข้าเมือง คนอยู่คอนโด ทำให้การบริโภคอาหารต้องการความสะดวกสบายในการหาซื้อ เช่น ผ่านเซเว่นฯ ด้วยการอุ่นร้อน

“ปัจจัยดังกล่าวยังทำให้ซีพีแรมใช้งบ 1% ของยอดขายหรือราว 150-200 ล้านบาท พัฒนาสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ หนุนกลยุทธ์ในการสร้างความหลากหลายสินค้า เพิ่มทางเลือกในการบริโภค ไม่ให้จำเจ รวมถึงการพัฒนาอาหารรองรับยุคอนาคต ในหมวดอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสำหรับผู้สูงวัย อาหารสำหรับคนไข้ที่ดูแลสุขภาพเฉพาะทาง” วิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี แรม กล่าว

นอกจากเพิ่มกำลังผลิตอาหาร อีกเกมธุรกิจที่เห็นการเปลี่ยนแปลงคือ ห่วงโซ่การผลิต หรือ “ซัพพลายเชน” ตั้งแต่การเลือกทำเล “ยุทธศาสตร์” เพื่อตั้งโรงงาน บริษัทโฟกัส “ภูมิภาค” มากขึ้น โรงงานเป็น “ชนาดย่อม” เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าไปอยู่ในพื้นที่ชุมชน การกระชับพื้นเพราะต้องการประชิดตลาดและผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ลดระยะขนส่งสินค้าให้สั้นลงเหลือ 2-3 ชั่วโมง จากเดิมส่งสินค้าไปถึงสาขาเซเว่นฯไกลสุดใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง

และเพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพ บริษัทยังเตรียมนำดิจิทัลมาใช้ในระบบงาน จะเห็นการใช้งาน E-Logistic ในปีนี้ด้วย

“เราจะสร้างโรงงานย่อกระจายไปยังภูมิภาคเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถส่งสินค้าตั้งแต่อออกจากเตาไปถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายภายใน 3 ชั่วโมง เมื่อก่อนที่เราผลิตอาหารแช่เย็นหรือชิลด์ฟู้ด ส่งสินค้าไปยังตลาดที่ไกลสุดใช้เวลา 6-7 ชั่วโมง หากเราทำระยะเวลาส่งให้สั้นลง ลูกค้าจะมีตัวเลือกมากขึ้น ถ้าส่งสินค้าไกล เราส่งสินค้าหลายประเภทไม่ได้ เพราะอาหารมีเชลฟ์ไลฟ์สั้นยาวต่างกัน ทำให้เราขาดโอกาสทางการตลาด แต่เมื่อมีโรงงานใกล้ตลาดก็เพิ่มโอกาสให้บริษัทเติบโต”

ส่วนการขยายช่องทางจำหน่าย นอกจากเข้าร้านเซเว่นฯแล้ว ปีนี้จะเพิ่มตู้หยอดเหรียญ(Vending Machine) ครัวเคลื่อนที่(Food Van) ซีพีแรมแคทเทอริ่ง และการขายอาหารในรูปแบบอีคอมเมิร์ซมากขึ้นด้วย ทั้งหมดเพื่อตอบไลฟ์ไสตล์ของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น

เพื่อให้การทำตลาดครบเครื่อง บริษัทยังวางกลยุทธ์ 3 S ขับเคลื่อนธุรกิจ ได้แก่

1. Food Safety 

หรือความปลอดภัยอาหาร นับเป็นความสำคัญสูงสุดและ “ชี้เป็นชี้ตาย” ให้กับธุรกิจได้เลยทีเดียว แต่ปลอดภัยอยางเดียวไม่ได้ “ความอร่อย” ที่ทางบริษัทรังสรรค์จะต้องเหมือน “แม่ปรุงให้กิน” ด้วย

ก่อนหน้านี้ ซีพีแรม เคยตั้งธงไว้จะเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก ฟังดูแล้วมีพลังและท้าทายไม่น้อย แต่กลับถูกโยนคำถามจากกูรูธุรกิจว่า “ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์อะไรจากเป้าหมายดังกล่าว” และดู “ไม่มีคุณค่าอะไรเลยด้วยซ้ำ” นั่นจึงทำให้บริษัทฉุกคิดและหันกลับมาพลิกมุมคิดให้แบรนด์ใหม่ด้วยการยกความปลอดภัยและอร่อยเป็นที่ตั้ง

2. Food Security 

ความมั่นคงด้านอาหาร ในโลกอาจมีประชากร 7,600 ล้านคน ส่วนไทยมี 69 ล้านคน หรือติดอันดับ 20 ของโลก ในปี 2560 บริษัทมีการผลิตอาหาร 130 ล้านกิโลกรัม เลี้ยงประชากรโลกได้ถึง 5 แสนคน กินได้ 3 มื้อตลอดทั้งปี การสร้างโรงงานยังตอบโจทย์ความมั่นคงอาหารและเพิ่มโอกาสทางการตลาดด้วย ที่สำคัญวัตถุดิบที่ได้ยังมาจากเครือซีพีด้วย เช่น ไข่นับร้อยล้านฟองต่อปี ไก่ ข้าวสารกว่าสิบล้านกิโลกรัมต่อปี เป็นต้น

3. Food Sustainability 

ความยั่งยืนด้านอาหาร ด้วยการบริหารจัดการธุรกิจทั้งห่วงโซ่ตั้งแต่การใช้ดินเพาะปลูกพืชผัก การขนส่ง การใช้พลังงาน เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ปัจจุบันซีพีแรม มีสินค้า 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ อาหารแช่แข็งและอาหารแช่เย็นพร้อมรับประทาน มีสัดส่วนรายได้ 60% และเบเกอรี่สัดส่วน 40% นอกจากผลิตสินค้าป้อนเซเว่นอีเลฟเว่นแล้ว ยังป้อนแม็คโครด้วย ซึ่งการวางยุทธศาสตร์ 5 ปีข้างหน้า บริษัทหวังจะโต15% ต่อเนื่อง จากปีนี้คาดว่าจะทำรายได้มากกว่า 16,000 ล้านบาท มีกำไรสุทธิกว่า 569 ล้านบาท.

]]>
1154002