ซีรีส์อินเดีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 05 Oct 2020 23:11:08 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อานิสงส์ล็อกดาวน์! ดัน JKN ขายคอนเทนต์มากขึ้น เตรียมอิมพอร์ตซีรีส์วาย-จีนเสริมทัพ https://positioningmag.com/1300078 Mon, 05 Oct 2020 17:00:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300078 ในช่วงของการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังได้เห็นธุรกิจขายคอนเทนต์ไปได้สวย เพราะผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ถ่ายทำไม่ได้ จำเป็นต้องใช้คอนเทนต์สำเร็จรูป ดันยอด JKN เติบโต เตรียมขนซีรีส์จีน ซีรีส์วายเสริมทัพซีรีส์อินเดียที่เคยเป็นกระแสฟีเวอร์อยู่พักใหญ่

เพิ่มดีมานด์หาคอนเทนต์ ทีวีจะจอดำไม่ได้!

แม้ในช่วงของการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 จะกระทบหลากหลายธุรกิจ ในวงการทีวีดิจิทัลเองก็มีปัญหาซบเซามาสักพักใหญ่ เพราะเม็ดเงินโฆษณาลดลง ยิ่งมีไวรัสเข้ามายิ่งซ้ำเติมรายได้หนักเข้าไปอีก แต่ทางผู้ประกอบการเองก็ต้องเดินหน้าต่อ เพราะจะปล่อยให้จอดำไม่ได้เป็นอันขาด

แต่วิกฤตก็มีโอกาสให้เห็น เมื่อเกิดการล็อกดาวน์ คนไทยอยู่บ้านมากขึ้น ส่งผลให้การดูทีวี เสพคอนเทนต์เพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการเองก็ต้องหาคอนเทนต์มาป้อนให้กับสถานีอยู่ตลอด เมื่อดีมานด์การดูคอนเทนต์มากขึ้น อีกสิ่งหนึ่งที่ทางผู้ประกอบการต้องเจอคือไม่สามารถเปิดกองถ่ายได้ บางเจ้าต้องใช้มุกละครรีรัน เพื่อหล่อเลี้ยงเรตติ้งให้ไม่ตกลงมากกว่านี้

ทางเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุดคือการซื้อคอนเทนต์สำเร็จรูปนั่นเอง จึงทำให้ JKN ที่เป็นหนึ่งในผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ต่างประเทศยังสามารถเติบโตได้ เพียงแต่ต้องมีการบริหารจัดการลูกหนี้ให้เหมาะสม

จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN เล่าว่า

“แนวโน้มอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์คอนเทนต์ หลังวิกฤติ COVID-19 มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลทั้งในและต่างประเทศ ต่างชะลอการผลิตคอนเทนต์แล้วหันมาซื้อลิขสิทธิ์สำเร็จรูปเพื่อนำไปออกอากาศแทนการผลิตรายการเอง จึงเป็นโอกาสทองของ JKN ในการทำตลาดเพื่อจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้มากขึ้น จึงถือได้ว่าเป็นปีที่ดีของ JKN ในการสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดด”

แอน จักรพงษ์ หรือสาวข้ามเพศสุดฮอตที่สุดในยุคนี้ ได้เสริมเพิ่มเติมว่า เหตุผลที่ธุรกิจขายคอนเทนต์ยังไปได้ดี เพราะหลังจากช่วงล็อกดาวน์คนอยู่บ้านมากขึ้น ดูทีวีมากขึ้น สถานีต้องเลือกที่จะซื้อคอนเทนต์สำเร็จรูป เพราะถ่ายทำรายการไม่ได้ และเปิดกองถ่ายไม่ได้

“ตอนนี้คนทำคอนเทนต์สำเร็จรูปรวยทุกคน เพราะสถานีไม่ผลิตเองได้ แค่สถานีในไทยจองคอนเทนต์มายอด 500 ล้านบาท ตอนนี้มียอดขายเกิน 2,000 ล้านแล้ว แต่ต้องสร้างสมดุลให้ดี ต้องมีวิธีเก็บเงินจากลูกค้า ข้อดีของการซื้อคอนเทนต์สำเร็จรูป ทางช่องไม่ต้องซื้อเองจากต่างประเทศ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ปิดสัญญา ถ้าซื้อกับเราพร้อมใช้งาน”  

ซีรีส์อินเดียยังไปได้สวย เสริมทัพซีรีส์จีน-ซีรีส์วาย

ในส่วนของตัวคอนเทนต์ JKN เคยสร้างปรากฏการณ์ “ซีรีส์อินเดีย” ฟีเวอร์มาแล้วเมื่อราวๆ 2 ปีที่แล้ว JKN เป็นผู้ซื้อลิขสิทธิ์รายใหญ่ ทำให้ทีวีดิจิทัลต่างซื้อคอนเทนต์ไปเติมสล็อตเพื่อจับกระแส บางช่องสามารถสร้างเรตติ้งสูงที่สุดอีกด้วย

จากซีรีส์อินเดียในวันนั้นจนถึงตอนนี้ ก็ถือว่ากระแสแผ่วลงไปจนอยู่ในสภาวะปกติ แต่ก็ยังมีบางช่องที่ยังมีฉายอยู่ราวๆ 4 ช่อง แต่มีการขยายไปยังต่างประเทศมากขึ้น

ธีรภัทร์ เพ็ชรโปรี รองกรรมการผู้จัดการสายงานการเงิน และบัญชี JKN บอกว่า

“ซีรีส์อินเดียในประเทศไทยแม้จะซาลง แต่ยังไปได้เรื่อยๆ ยังมีทีวีดิจิทัลซื้อลิขสิทธิ์ไปฉายอยู่ เพียงแค่ไม่พีคในระดับนั้น จะไปเติบโตในต่างประเทศมากกว่า ทางเราได้เติมคอนเทนต์ใหม่ๆ เข้ามาเสริม จะมีซีรีส์จีน ซีรีส์วาย และฮอลลีวูด”

รูปแบบการเลือกคอนเทนต์ของ JKN จะเน้นซีรีส์เน้นแอคชั่น ดราม่า วัฒนธรรมของเอเชีย เพราะในตลาดต่างประเทศมีความเกี่ยวโยงกันด้านวัฒนธรรม ทำให้คอนเทนต์ขายได้ดี รวมถึงคอนเทนต์สารคดีก็มีมากขึ้นด้วย

ในปัจจุบัน JKN มีปริมาณคอนเทนต์ในมือรวม 3,000 กว่าเรื่อง รวมเวลาทั้งหมด 20,000 ชั่วโมง ในปีนี้ได้ใช้งบลงทุนด้านคอนเทนต์ 1,500-1,800 ล้านบาท ถือว่าสูงกว่าปกติที่ลงทุนเฉลี่ยปีละ 1,000 ล้านบาท เนื่องจากขยายตลาดไปต่างประเทศมากขึ้น

โดยที่สัดส่วนรายได้ของ JKN อยู่ที่ขายคอนเทนต์ 90% และโปรดักชั่น 10%

ถ้าถามถึง “ซีรีส์วาย” ที่กำลังเป็นที่นิยมในไทย จักรพงษ์บอกว่า เราต้องมีทุกรูปแบบ จะมีเอาเข้ามาอยู่แล้ว โดยจะมีเปิดผังครั้งใหญ่ และพันธมิตรในวันที่ 3 พ.ย. นี้

สำหรับในครึ่งปีหลัง JKN ยังรุกขยายตลาดต่างประเทศต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 3 สามารถขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์อินเดีย และฟิลิปปินส์ ให้แก่ มาเลเซีย และกลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มขึ้น รวมถึงทยอยส่งมอบคอนเทนต์ซีรีส์ละครไทยจากช่อง 3 ให้แก่ TV5 ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้จัดรายการฟรีทีวีช่องหลักของประเทศฟิลิปปินส์

ไตรมาสสุดท้ายมีการขยายฐานลูกค้าใหม่เข้ามาเพิ่มเติมทั้งในกลุ่มประเทศแถบลาตินอเมริกา บรูไน ไต้หวัน ศรีลังกา บังกลาเทศ แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และภูฏาณ

จากการขยายตลาดต่างประเทศจะช่วยให้ JKN มีการเติบโต 10-15% คาดว่าสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศจะเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งเป้าว่ามีสัดส่วนรายได้จากตลาดต่างประเทศเพิ่มเป็น 50% ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันมีอยู่ 30%

]]>
1300078
JKN วางเป้าผู้นำคอนเทนต์ “อาเซียน” เร่งเครื่องส่งออกละครช่อง 3 “โค-โปรดักชั่น” ซีรีส์ต่างประเทศ https://positioningmag.com/1246910 Thu, 19 Sep 2019 01:00:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246910 การเปลี่ยนแปลง “มีเดีย แลนด์สเคป” สู่ยุคดิจิทัล ทำให้เกิดแพลตฟอร์มใหม่ๆ เข้ามาเป็น “ตัวเลือก” ในการเสพสื่อของผู้บริโภคมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มใด ล้วนต้องการ “คอนเทนต์” เพื่อดึงดูดผู้ชม นโยบายของ JKN จึงชัดเจนมาตั้งแต่ต้น โฟกัสที่ธุรกิจจัดจำหน่ายและผลิตคอนเทนต์ป้อนทุกแฟลตฟอร์ม

จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ระดับสากล กล่าวว่า การธุรกิจของ JKN มุ่งไปที่การเป็นผู้จัดจำหน่ายคอนเทนต์และการทำตลาดคอนเทนต์ที่เหมาะกับผู้ซื้อในแต่ละประเทศ จึงไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของแพลตฟอร์มในยุคนี้

ปี 2020 JKN วางเป้าหมายก้าวสู่ผู้นำคอนเทนต์อาเซียน นอกจากการเป็นผู้จัดจำหน่ายซีรีส์อินเดีย ฟิลิปปินส์ สารคดี การ์ตูน ซีรีส์ฮอลลีวู้ดแล้ว จะมีการลงทุนผลิตคอนเทนต์รูปแบบ “โค-โปรดักชั่น” กับต่างประเทศเพิ่มขึ้น

โปรเจกต์ที่ลงทุนไปแล้ว คือ “สยามรามเกียรติ์” ซีรีส์พันล้านเรื่องแรกของไทย ที่ JKN จับมือกับผู้สร้างสีดาราม ศึกรักมหาลงกา และศิวะมหาเทพ จากอินเดีย วางแผนผลิตซีรีส์ขายลิขสิทธิ์ทั่วโลก โดยมีดาราไทย-อินเดียร่วมแสดง ปีหน้าจะมีโปรเจกต์ผลิตซีรีส์ 30 – 40 ตอน ร่วมกับผู้ผลิตคอนเทนต์จากฟิลิปปินส์

นอกจากนี้จะเร่งขยายตลาดขายลิขสิทธิ์ละคร “ช่อง 3” ซึ่ง JKN ได้รับลิขสิทธิ์จำหน่ายทั่วโลก (ยกเว้น จีน และบางประเทศในอาเซียนที่ ช่อง 3 ทำตลาดอยู่ก่อนแล้ว) ปัจจุบันมีละครกว่า 130 เรื่อง ตลาดหลักอยู่ใน อาเซียน ล่าสุดเพิ่งขายลิขสิทธิ์ให้สถานีทีวีและเคเบิลทีวีในเกาหลีใต้ 8 เรื่อง กำลังอยู่ระหว่างเจรจากับสถานีทีวี ญี่ปุ่น ประเทศในฝั่งตะวันตกก็ให้ความสนใจละครไทยเช่นกัน และมีโอกาสขายลิขสิทธิ์ได้หลายตลาด

ปัจจุบันละครไทยเริ่มได้รับความนิยมในตลาดเอเชีย ดารานักแสดงเป็นที่รู้จักในกลุ่มแฟนคลับ การทำตลาดในแต่ละประเทศ JKN จึงใช้กลยุทธ์ “ซูเปอร์สตาร์ มาร์เก็ตติ้ง” นำดาราศิลปินจากช่อง 3 ไปโรดโชว์ทำกิจกรรมในต่างประเทศ เพื่อร่วมกันทำตลาดละครให้เป็นที่รู้จัก

รุกตลาด OTT

ส่วนการจำหน่ายลิขสิทธ์คอนเทนต์ซีรีส์อินเดียและฟิลิปปินส์ ในประเทศไทย หลังจาก “ทีวีดิจิทัล” คืนใบอนุญาต 7 ช่อง เหลือ 15 ช่องทีวีธุรกิจ ส่วนใหญ่ยังเป็นลูกค้าที่ซื้อคอนเทนต์จาก JKN โดยช่องที่เป็นลูกค้าและคืนใบอนุญาตมี 1 ช่อง คือ ไบรท์ทีวี

แต่ตลาดที่มีโอกาสเติบโตสูงคือแพลตฟอร์ม OTT ที่ผ่านมาได้จำหน่ายลิขสิทธิ์เป็นเรื่องๆ ให้กับหลายแพลตฟอร์ม ปลายปีนี้ถึงปีหน้าจะมีลูกค้า OTT ในกลุ่มผู้ให้บริการแอป วิดีโอ ออนดีมานด์ เข้ามาซื้อลิขสิทธิ์อีก 3 ราย รวมทั้งจะเปิดช่อง JKN Official Channel ทางไลน์ทีวี

ปกติแต่ละปีจะเงินลงทุนซื้อคอนเทนต์ใหม่และผลิตคอนเทนต์อยู่ที่ราว 800 – 1,000 ล้านบาท สัดส่วน 80% เป็นการซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์ต่างประเทศ และ 20% เป็นงบผลิตคอนเทนต์และโค-โปรดักชั่น

JKN-CNBC ป้อน 7 ช่องทีวีดิจิทัล

ส่วนแผนการผลิตคอนเทนต์รายการข่าวแบรนด์ JKN-CNBC ปัจจุบันผลิตให้กับทีวีดิจิทัล 5 ช่อง ที่ออกอากาศไปแล้วคือ ช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ส่วนที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้เป็นต้นไปทาง ช่องอมรินทร์ทีวี รายการ JKN-CNBC Around The World ออกอากาศทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 05.30 – 06.00 น. ช่อง 5 รายการ HALFTIME REPORT ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 11.30 – 12.00 น.

รายการที่กำลังรอการออกอากาศ ได้แก่ The CNBC Conversation ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 20.30 – 21.30 น. ช่อง TNN ดำเนินรายการโดย สุทธิชัย หยุ่น เริ่มเทปแรกวันที่ 22 ก.ย. นี้ และอีกรายการ คือ Managing Thailand กำลังเตรียมออกอากาศทางช่อง TNN เช่นกัน นอกจากนี้เตรียมทำรายการทางช่อง True4U อีก 1 ช่องในปีนี้ และปีหน้าเตรียมผลิตเพิ่มอีก 2 ช่อง

ปีที่ผ่านมา JKN มีรายได้ 1,400 ล้านบาท ปีนี้ตั้งเป้ารายได้ 1,600 ล้านบาท เติบโต 15 – 20% ทุกปีและปี 2563 ยังคงเติบโตในอัตราดังกล่าว โดยรายได้มาทำตลาดขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ในประเทศ 60 – 65% ส่งออกคอนเทนต์ 30 – 35% และรายได้โฆษณา 5 – 10%

ลงทุนอสังหาฯ-สินค้าเฮลท์แอนด์บิวตี้

นอกจากธุรกิจบริษัท เจเคเอ็น โกลบอลมีเดีย (มหาชน) ซึ่งอยู่ในตลาด MAI แล้ว ครอบครัวจักราจุฑาธิบดิ์ ได้มีการลงทุนธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ ภายใต้บริษัท “เจเคเอ็น แลนด์มาร์ค” พัฒนาโครงการ The River King รูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์ มูลค่าลงทุนกว่า 2,500 ล้านบาท เนื้อที่ 15 ไร่ ติดกับอาคารสำนักงานเจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย ศาลายา ในโครงการจะมีสตูดิโอเช่าผลิตรายการ แหล่งบันเทิง และร้านอาหารกว่า 10 ร้านเปิด 24 ชั่วโมง เจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว

จักรพงษ์ บอกว่าปีนี้ได้ลงทุนส่วนตัวในบริษัท เจเคเอ็น ลิฟวิ่ง เน็ตเวิร์ค” ธุรกิจจำหน่ายสินค้าเฮลท์แอนด์บิวตี้ ผ่านทีวีช้อปปิ้ง โดยมีผู้ประกอบการ 15 รายที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายร่วมกับ “เจเคเอ็น ลิฟวิ่ง เน็ตเวิร์ค” เริ่มทำตลาดไตรมาส 4 ปีนี้ และไตรมาสแรกปีหน้า จะเปิดตัวโปรดักต์ของตนเองในชื่อแบรนด์ Instinct” เริ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์ คือ บอดี้โลชั่นและน้ำหอม.

]]>
1246910
เจาะตลาด CLMV “ซีรีส์อินเดีย-ฟิลิปปินส์” หนุน JKN ครึ่งปีแรกกำไร 150 ล้าน ลุยต่อ “ละครไทย-CNBC” https://positioningmag.com/1242096 Tue, 13 Aug 2019 05:55:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242096 ยังไปได้สวยกับการทำตลาดขายลิขสิทธิ์ซีรีส์อินเดียในตลาด CLMV เพราะแม้ทีวีดิจิทัลในประเทศไทยปิดฉากลาจอไป 7 ช่อง แต่ตัวเลข JKN ครึ่งปีแรกยังกำไร ครึ่งปีหลังยังเชื่อว่าจะโตได้อีก 20%

บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ผู้จัดจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ต่างประเทศ รายงานผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกปี 2562 (ม.ค. – มิ.ย. 2562) มีรายได้ 870 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24.6% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีรายได้ 698 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 150 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.98% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 139 ล้านบาท

ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 ปี 2562 (เม.ย. – มิ.ย. 2562) ทำรายได้ 446 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีรายได้ 352 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 69.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 68.4 ล้านบาท ซึ่งมีปัจจัยจากรับผลกระทบภาวะค่าเงินบาทแข็งค่าและกดดันกำไรสุทธิไตรมาสนี้

ตลาด CLMV หนุนรายได้โต

จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN กล่าวว่า รายได้และกำไรครึ่งปีแรกยังเติบโตได้จากการจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ซีรีส์อินเดียและฟิลิปปินส์ในกลุ่ม CLMV (กัมพูชาลาว เมียนมา และเวียดนาม) เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดในประเทศไทยที่ลูกค้าทีวีดิจิทัลยังคงซื้อคอนเทนต์ซีรีส์ไปออกอากาศอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีทีวีดิจิทัลคืนใบอนุญาต 7 ช่อง ในเดือน ส.ค. – ต.ค. นี้ เชื่อว่าจะไม่กระทบกับธุรกิจ

อีกทั้งการเป็นตัวแทนจำหน่ายคอนเทนต์ซีรีส์ละครไทยจาก “ช่อง 3” ในตลาดต่างประเทศ ได้ผลตอบรับที่ดี JKN มีแผนขยายการตลาดและการจำหน่ายคอนเทนต์ซีรีส์ละครไทยครอบคลุมกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง ยุโรปแคนาดา และละตินอเมริกา โดยเฉพาะในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าเพิ่มขึ้น

“มั่นใจว่าครึ่งปีหลังจะสามารถปิดการขายคอนเทนต์ในตลาดต่างประเทศเพิ่มมูลค่างานในมือได้มากขึ้น จากสิ้นไตรมาส 2 มีอยู่ 470 ล้านบาท”

ครึ่งปีหลังชูกลยุทธ์ “ซูเปอร์สตาร์มาร์เก็ตติ้ง”  

สำหรับแผนธุรกิจครึ่งปีหลังจะรุกทำตลาดจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ในตลาดต่างประเทศมากขึ้น ผ่านกลยุทธ์การตลาด “ซูเปอร์สตาร์มาร์เก็ตติ้ง” จากการร่วมออกบูธและจัดกิจกรรมทางการตลาด เพื่อสร้างกระแสให้กับคอนเทนต์ที่นำไปจำหน่ายในต่างประเทศ ปลายปีนี้ JKN มีแผนนำ ซีรีส์ละครไทย อีกกว่า 40 เรื่อง ไปจำหน่ายในงาน MIPCOM 2019 ที่ประเทศฝรั่งเศส

ส่วนตลาดในประเทศมองว่ายังเติบโตได้ เนื่องจากลูกค้าทีวีดิจิทัล ที่ยังดำเนินธุรกิจต่อมีแนวโน้มนำเงินมาลงทุนซื้อคอนเทนต์แทนการผลิตรายการเอง เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับช่องเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้จะรับรู้รายได้จากการผลิตรายการภายใต้แบรนด์ JKN-CNBC ที่ดำเนินงานภายใต้ บริษัท เจเคเอ็น นิวส์ จำกัด ซึ่งเป็นอีกธุรกิจที่เข้ามาช่วยสนับสนุนการเติบโตต่อจากนี้ หลังจากได้เริ่มออกอากาศผ่านช่อง GMM 25 ตั้งแต่ 1 ก.ค. ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ชม

โดยมีแผนเพิ่มคอนเทนต์จากแบรนด์ CNBC อีก 5 รายการ เพื่อออกอากาศผ่านช่องทีวีดิจิทัล ได้แก่ ช่อง 5 ทรูโฟร์ยู อมรินทร์ทีวี เป็นต้น คาดว่าจะช่วยผลักดันเป้าหมายรายได้รวมในปีนี้เติบไม่ต่ำกว่า 20% ตามแผนที่วางไว้.

]]>
1242096
เมื่อ JKN ไม่ได้เล่นๆ จากซีรีส์อินเดีย สู่คอนเทนต์ครบวงจร https://positioningmag.com/1161993 Fri, 16 Mar 2018 10:04:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161993 ก่อนหน้าที่หนังอินเดียของ JKN จะมั่นคงและสร้างรายได้ได้มหาศาลขนาดนี้ จะมีสักกี่คนที่รู้จักและจำได้ว่า JKN ก็เคยบุกเบิกสื่อใหม่ ๆ ให้กับเมืองไทย อย่างซีรีส์เกาหลีที่เป็นที่นิยมในไทยจนถึงทุกวันนี้ 

แต่น่าเสียดายที่ตอนนั้น JKN ไม่ได้ยิ่งใหญ่พอที่จะรักษาผลประโยชน์ให้กับบริษัทของตัวเองอย่างครบวงจรได้ ติดขัดทั้งเรื่องเงินงบประมาณ และการที่บริษัทยังไม่ได้เป็นบริษัทมหาชน ทำให้ JKN ที่ยังเป็นบริษัทเล็ก ๆ ที่ไม่โดดเด่นเป็นที่รู้จักว่าสามารถส่งคอนเทนต์ให้ช่องต่าง ๆ สร้างเรตติ้งเพิ่มรายได้เหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แถมยังถูกกลืนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทอื่น

แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ถึงกับตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะทำให้บริษัทกลายเป็นผู้แทนจำหน่ายคอนเทนต์อันดับหนึ่งของโลกให้ได้ จึงตั้งใจผลิตผลงานออกเสิร์ฟตลาดกันอย่างขะมักเขม้น จนสร้างเม็ดเงินที่ไม่เพียงจะซื้อบริษัทคืน แต่ยังต่อยอดไปทำโปรเจกต์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย

“เมื่อเรามีความพร้อมแล้วอยากจะทำให้ที่เราเคยพลาดมาในอดีต คือการมีศักยภาพมากพอที่จะทำงานอย่างครบวงจร ก็ค่อย ๆ ถูกนำมาทำเป็นธุรกิจ และกิจกรรมอีเวนต์ต่าง ๆ ที่เจเคเอ็นทำในวันนี้

สิ่งที่แอน-จักรพงษ์ทำคือ การจัดหาจัดซื้อจัดผลิตคอนเทนต์ ที่เคยทำมาตั้งแต่แรกเริ่มแล้วแต่จะเพิ่มเติมในหลาย ๆ ประเทศอย่างหนังฟิลิปปินส์ และนำละครไทยสู่ตลาดโลก

อันดับต่อมาคือ Superstar Marketing โดย JKN หวังสร้างอภินิหารทางการตลาดต่อยอดกระแสซีรีส์อินเดียสร้างเม็ดเงินมูลค่าพันล้านพร้อมกระแสภารตะ จึงนิยามคำว่า Superstar Marketing ขึ้นมาให้ทุกคนเห็นภาพชัดขึ้นในการให้ศิลปินเป็นคนทำการตลาดด้วยตัวเอง พร้อมทั้งดึงศิลปินนักร้องในไทยมากมาย อาทิ ใหม่ เจริญปุระ, เบน ชลาทิศ และแคทรียา อิงลิช มาขับร้องเพลงประกอบซีรีส์อินเดีย อย่าง นาคิน ผลงานที่กำลังออกอากาศอยู่ตอนนี้ด้วย

เมื่อเน้นใช้ศิลปินในการช่วยทำตลาดขนาดนี้ JKN จึงไม่ปล่อยให้ศิลปินที่โด่งดังมาจากการปลูกปั้นของตนเองหลุดไปอยู่ในการดูแลของค่ายหรือบริษัทอื่น แล้วเลือกต่อยอดธุรกิจสู่การเป็น Asia Artist Management หรือการดูแลศิลปิน โดยจับศิลปินที่โด่งดังจากซีรีส์ที่ทาง JKN ซื้อลิขสิทธิ์มาอยู่ในสังกัดการดูแลเพื่อสร้างรายได้ต่อเนื่อง

ตอนนี้ JKN มีศิลปินร่วม 40 กว่าคนจากทั้งจากซีรีส์อินเดียและดาราดังจากฟิลิปปินส์เซ็นสัญญาแล้ว โดยฝั่งอินเดียหรือภารตะพันล้านมีศิลปินในการดูแลประมาณ 10 คน เช่น Ishant Bhanushali, Nirbhay Wadhwa และ Amit Mehra จากซีรีส์หนุมาน สงครามมหาเทพ, Adaa Khan และ Arjun Bijrani จากซีรีส์นาคิน เป็นต้น ฝั่งฟิลิปปินส์ จากซีรีส์ชุดรักกระชากใจมีศิลปินในการดูแลประมาณ 40 คน เช่น Dingdong Dantes จากซีรีส์ผัวชั่วคราว, Carla Abellana, Tom Rodriquez และ Dennis Trillo จากซีรีส์เพลิงรักสีรุ้ง เป็นต้น

ซีรีส์ ฟิลิปปินส์

อันดับสุดท้ายคือการต่อยอดไประดับสากล สู่การเป็น International Content Sale ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มรายได้จากต่างประเทศ นอกจากนี้ JKN ยังได้เข้าร่วมงาน Exhibition Booth ในต่างประเทศของ HK Film Mart หรือ ฮ่องกง อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิล์ม มาร์ท เพื่อแนะนำลิขสิทธิ์ตามงานเทศกาลภาพยนตร์ชั้นนำทั่วโลกนั่นเอง

ส่วนอีเวนต์ในไทย อย่างงานวันที่ 14 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ทาง JKN ก็ตอกย้ำความยิ่งใหญ่ฉลองครบ 8 ปีในการเป็นผู้นำกระแสซีรีส์อินเดีย โดยดึงดาราขวัญใจมหาชนจากซีรีส์อินเดียมาร่วมงาน พร้อมเปิดโอกาสให้แฟนคลับจากทั้งประเทศมาเข้าร่วมงานด้วย โดยเนรมิต Emquatier Gallery ให้เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งความรักสีชมพู ให้เข้ากับธีมหลักของงาน The Influencer เพราะเรารักกัน ไม่มีวันสิ้นสุด เพื่อส่งมอบความรัก ความสุขให้กับผู้ชมที่ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของช่องตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาตลอด 8 ปี

ภายในงานก็มีแฟนคลับที่คลั่งไคล้ซีรีส์อินเดียทุกเพศทุกวัยร่วมใจกันใส่ชุดธีมสีชมพูมารอเข้างานกันตั้งแต่เช้าเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเป็นการปลุกกระแสให้กับทาง JKN ไปในตัวด้วย

นับได้ว่าความคิดต่อยอดธุรกิจสู่การบริหารคอนเทนต์ครบวงจรของ JKN จะเป็นได้ด้วยดี ทั้งการจัดเสิร์ฟไปยังต่างแดนที่มากขึ้น การดูแลศิลปินด้วยตนเอง การทำงานอย่างมีคุณภาพและเข้าใจ เข้าถึงผู้บริโภคอย่างแท้จริง จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยที่ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา JKN จะเติบโตและมั่นคงได้อย่างรวดเร็ว

ที่สำคัญ ต้องนับถือสายตาที่เฉียบคมในการมองตลาดด้านคอนเทนต์ เป้าหมายที่มั่นคง และการลงมือทำทันที ของ แอน จักรพงษ์ ที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จอย่างชัดเจนจนถึงทุกวันนี้.

]]>
1161993
อภินิหารการตลาด JKN คัสโตไมซ์ซีรีส์อินเดียจนปังทะลุพันล้าน https://positioningmag.com/1160823 Sat, 10 Mar 2018 01:15:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160823 เจเคเอ็น ขายคอนเทนต์ยังไงให้ปัง อัพราคาเท่าตัวในปีเดียว

ปรากฏการณ์ของบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) (เจเคเอ็น) ผู้เปิดตลาดนำเข้าซีรีส์จากอินเดีย และตามมาด้วยซีรีส์ล็อตใหญ่อีก 40 เรื่องจากฟิลิปปินส์ในปีนี้ ทำให้บริษัทกลายเป็นหน่วยกู้ภัยให้กับบรรดาทีวีดิจิทัลที่แทบจะเอาตัวไม่รอด ทั้งจากการขาดคอนเทนต์และเรตติ้งจนไม่สามารถสร้างรายได้จากโฆษณาให้กับช่องได้ 

ซีรีส์อินเดียสร้างปรากฏการณ์กระชากเรตติ้งให้กับช่อง 8 ผู้ตัดสินใจซื้อหนุมานไปฉายในช่วงไพรม์ไทม์และทำให้ช่องมีเรตติ้งขึ้นมาอยู่ในระดับ 5-6 ทำให้ช่อง 8 ไม่รอช้าที่จะเจรจาซื้อเรื่องต่อไปอย่าง สีดาราม เข้ามาเสริมทันที และยังส่งผลให้ปีนี้เจเคเอ็นได้ลูกค้ารายใหญ่เพิ่มทั้งจากทีวีดิจิทัลอย่างไบรท์ทีวีช่อง 20 ที่เหมาซื้อซีรีส์รักกระชากใจจากฟิลิปปินส์ ที่เจเคเอ็นนำเข้ามารวดเดียว 40 เรื่อง แบบยอมเชื่อใจเต็มร้อย

ซีรีส์ ฟิลิปปินส์

ที่สำคัญช่องทีวีเดิมอย่างช่อง 3 ที่อยู่ในช่วงวิกฤต ก็เลือกที่จะกู้สถานการณ์เรตติ้งด้วยการซื้อคอนเทนต์ซีรีส์อินเดียจากเจเคเอ็นเข้ามาเสริม แล้วก็ไม่ผิดหวังด้วยการกระชากเรตติ้งจากยุคซีรีส์จีนที่ทำเรตติ้งได้แค่ระดับ 0-1 ให้ขึ้นมาอยู่ในระดับ 2-3 และค่อย ๆ ขยับขึ้นมา 3-4 ในปัจจุบัน จนทำให้รายการทีวีในเครือ BEC ของช่อง 3 ทั้ง 3 ช่องตอนนี้ กลายเป็นพื้นที่ของซีรีส์อินเดียที่มีเจเคเอ็นเป็นผู้ส่งสินค้าหลัก ฉายไล่เวลากันไปตลอดช่วงไพรม์ไทม์ 3-4 ชั่วโมง โดยล่าสุดปีนี้เจเคเอ็นขายคอนเทนต์ให้ช่อง 3 รวม 14 เรื่อง หลังจากที่นาคินประสบความสำเร็จ 

ไม่ใช่เพราะเป็นอินเดีย แต่เพราะคอนเทนต์เพื่อคนไทย ต้องละครเท่านั้น

ทำไมละครอินเดียกลายมาเป็นกระแสในสังคมไทย อะไรที่ทำให้ละครอินเดียถูกจริตคนไทย เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความบังเอิญ แต่ทุกอย่างถูกตัดแต่งด้วยกลยุทธ์การตลาดของเจเคเอ็นในทุก ๆ ขั้นตอน

สมัยที่คนไทยกลุ่มหนึ่งเสพคอนเทนต์ต่างประเทศผ่านเคเบิลทีวี เคยมีการทำสำรวจพบว่า คนส่วนใหญ่ชอบดูรายการข่าว โดยเฉพาะ CNN และอีกหลายช่องข่าวชื่อดังจากต่างประเทศ เป็นผลสำรวจที่ทำเอาผู้บริโภคอึ้ง ๆ ไป เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง จนกระทั่งนักวิจัยออกมาเฉลยว่า ส่วนหนึ่งเกิดไบแอส (Bias) จากการสำรวจ ที่ผู้ถูกสำรวจมักจะเลือกตอบอะไรที่ทำให้ดูดีแต่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง ก็เลยทำให้คนทำตลาดคอนเทนต์เป๋ตามไปบ้าง

คนไทยดูทีวีเพื่อความบันเทิง แล้วคนไทยส่วนใหญ่ดูละคร ต้องละครเท่านั้น จะมาบอกว่าดูข่าวอะไรนี่น้อย เพราะทีวีเป็นเรื่องของความบันเทิง ถ้าไม่ใช่ละคร เรตติ้งไม่มี แล้วช่องทีวีทั้งดั้งเดิมและดิจิทัลจะอยู่ได้ ต้องมีเรตติ้ง แม้กระทั่งช่องข่าว กสทช.ก็ยังกำหนดให้เอาเวลาครึ่งหนึ่งไปทำสาระบันเทิงก็เพื่อให้ทำมาหากินได้ ไม่มีทางที่ข่าวจะสร้างเรตติ้งแอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์” ผู้บริหารบริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) (เจเคเอ็น) กล่าว

ฉะนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจว่า สินค้าใหม่ของเจเคเอ็นในปีนี้ เกือบ 100% ยังคงเป็นละครล้วน ๆ ทั้งจากอินเดีย และจากฟิลิปปินส์ ที่นำเข้ามาเปิดตลาดเพิ่มในปี 2561 นี้ โดยมี แอนจักรพงษ์ เป็นผู้เลือกคอนเทนต์เองด้วยเทคนิคส่วนตัวและอินไซต์ของผู้บริโภคคนไทยที่เขาศึกษาและมีประสบการณ์ตรงจากการทำตัวเองให้เป็นเสมือนผู้ชมคนหนึ่ง

แท้จริงถ้าเป็นละคร ตลาดไทยคอนเทนต์ไหนก็ปังได้ 

จากพื้นฐานครอบครัวของแอนจักรพงษ์ ที่ทำธุรกิจให้เช่าวิดีโอ ตั้งแต่ยุคที่ความบันเทิงในบ้านต้องเช่าวิดีโอจากร้านเช่าหนัง ละครที่คนไทยติดมากที่สุดยุคนั้นคือซีรีส์จากฮ่องกง ทั้งแบบย้อนยุค และสากล ตั้งแต่มังกรหยก อุ้ยเสี่ยวป้อ เจ้าพ่อตลาดหุ้น จนกระทั่งเทรนด์หนังฮ่องกงค่อย ๆ ลดบทบาทลงไปพร้อมกับศิลปินดาราที่เริ่มมีอายุมากขึ้น ทำให้ขาดความสดใหม่ รวมทั้งไม่มีการบริหารศิลปินที่จะหาคนรุ่นใหม่ขึ้นมาแทน จนถูกซีรีส์เกาหลีเข้ามาแทนที่

สมัยซีรีส์ฮ่องกงดัง ฉันยังเป็นลูกชายเจ้าของร้านวิดีโอ หลังซีรีส์ฮ่องกง มีละครจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามาบ้างก็ดูเชย ๆ ที่สุดก็ถูกเกาหลีมาตี บวกกับที่คนไทยเองก็เบื่อละครไทยด้วย เพราะมีแต่ละครรีเมก นางอิจฉาตาถลน พระเอกรวยแต่โง่

ซีรีส์เกาหลีเข้ามาเป็นที่นิยมในไทยรวมทั้งอีกหลายประเทศในเอเชียได้ด้วยความแปลกใหม่ โดยเฉพาะความสมจริงของตัวละครซึ่งเกาหลีแสดงให้เห็นว่าการผลิตละครเป็นอุตสาหกรรมเพื่อความบันเทิงอย่างแท้จริง พระเอกนางเอกต้องหล่อสวยโดยที่สังคมไม่แคร์เรื่องศัลยกรรมเพื่อให้คนหล่อสวยแบบครบเครื่อง กับบทบาทของตัวละครที่สมจริงเหมือนชีวิตคนในสังคม

เกาหลีอยู่มาได้ 10-15 ปี ถือว่านานมาก ก็เริ่มตกลง เพราะดูไปบทมันซ้ำ พระเอกหล่อแต่ก็ไม่ได้ตื่นเต้นเหมือนเดิม แอนจักรพงษ์ กล่าว และเขาเชื่อว่า ซีรีส์อินเดีย ก็จะฮิตติดตลาดอยู่ได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10-15 ปีจากนี้เช่นกัน

แอนจักรพงษ์ เห็นช่องว่างตลาดและใช้โอกาสนี้ไปเลือกหาความแปลกใหม่จากฝั่งอินเดีย ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นคอนเทนต์ที่จะเอาเข้ามาเชื่อมต่อกับคนไทยไม่ยาก

ทำไมต้องเป็นซีรีส์อินเดีย อันนี้พูดบ่อยมากว่า อินเดียเป็นรากเหง้าของภาษาอังกฤษ รากเหง้าของวัฒนธรรมและภาษาไทย เป็นเหมือนมหาวิทยาลัยของเรา ความเชื่อเรื่องเทพ วรรณกรรมอย่างรามเกียรติ์อยู่กับพวกเราตั้งแต่สมัยพ่อขุนราม วัดพระแก้วมีภาพวาด โขนก็เล่นเรื่องรามเกียรติ์ ทุกอย่างมาจากแผ่นดินแม่ที่ชื่อว่าอินเดีย แล้วชีวิตปัจจุบันของคนอินเดียก็เหมือนไทยนี่แหละ มีเรื่องชิงรักหักสวาท แม่ผัวลูกสะใภ้ตบตีกันไปมา

แต่เหตุผลสำคัญสำหรับธุรกิจคอนเทนต์ของเจเคเอ็นในยุคนี้ คือวิวัฒนาการของโปรดักชั่นที่เปลี่ยนไปจากอดีต เพราะแม้จะได้ชื่อว่าเป็นซีรีส์อินเดีย แต่ใช้ฝีมือผู้สร้างอินเตอร์ ทั้ง Fox, Sony, Wirecom ไม่ใช่โลคอลโปรดักชั่นที่ไม่เข้าใจผู้บริโภคนานาชาติแล้วยังวิ่งกันสามภูเขาสี่กระท่อมแบบเดิม” 

คอนเทนต์ดี มาร์เก็ตติ้งซัพพอร์ตต้องแน่น และต้องโลคอลไลซ์ให้เหมาะกับตลาด

คอนเทนต์ต้นทางไม่ใช่ปัญหา เพราะมีพัฒนาการปรับตัวตามยุคสมัย ขณะที่ เจเคเอ็น จะมีวิธีการเลือกคอนเทนต์ โดยทุกเรื่อง แอนจักรพงษ์จะต้องดูและเป็นคนเลือกด้วยตัวเองทุกเรื่อง เมื่อตกลงซื้อแล้วก็จะต้องนำมาแปลงให้เป็นละครแบบไทย ทั้งการตั้งชื่อตัวละคร การพากย์เสียง รวมถึงต้องหาคนมาแต่งและร้องเพลงประกอบ ซึ่งเป็นโปรดักชั่นเสริมที่เจเคเอ็นเลือกนักแต่งเพลงและนักร้องระดับดีว่าของไทยมาทำเพิ่มเพื่อโลคอลไลซ์ให้ผู้เสพคอนเทนต์ไทยอินให้ถึงที่สุด

เอามาดิบ ๆ ไม่ได้หรอก คนไทยต้องเลือก เอาแบบไหน เสียงพากย์เราต้องเลือกเองด้วยนะ ใช้ใคร จนทำให้มารูติ หนุมานเด็กทางช่องแปดเป็นที่กล่าวขานมาก จนคนต้องเปิดเข้าไปดูตัวเป็น ๆ ในยูทูปเป็นล้านคน วิธีของเราคือ เอาความเป็นอินเดียออกไปแล้วใส่ความเป็นไทยเข้ามาแทน แม้แต่ภาษาก็ไม่ให้มีกลิ่นอินเดีย ชื่อเรียกปรับให้ตรงเป็นไทยเลย เพื่อให้คนไทยดูแล้วรู้สึกต่อติดเข้าไปอยู่ในหัวใจคนได้ง่าย

เมื่อพร้อมปล่อยของสู่ตลาด ก็ต้องตอกย้ำความรู้จัก โดยเจเคเอ็นเลือกใช้ซูเปอร์สตาร์มาร์เก็ตติ้งจัดอีเวนต์เป็นบีโลว์เดอะไลน์ที่ทำให้การตลาดครบวงจร

แอมป์ เสาวลักษณ์ ลีลาบุตร

อะโบฟเดอะไลน์ เราพาศิลปินมาเลย ออกทุกรายการโทรทัศน์ ซีรีส์ที่ออกช่องสาม ก็ออกทั้งเรื่องเล่าฯ แจ๋ว สามแซ่บ ตีสิบ รายการคุณไตรภพ และทุกรายการข่าว โชคดีที่ผู้ใหญ่ให้ความสำคัญ ทุกฝ่ายร่วมด้วยช่วยกัน พวกเพลงก็เปิดในวิทยุ จัดคอนเสิร์ต ในสื่อสิ่งพิมพ์ก็จัดให้มีการถ่ายแบบนิตยสาร นอกเหนือจากอีเวนต์ต่าง ๆ ซึ่งเริ่มจากแกรนด์โอเพ่นนิ่งกับแต่ละช่อง และโรดโชว์

แอนจักรพงษ์ ยืนยันว่า กิจกรรมการตลาดแบบที่พูดมาทั้งหมดนี้ ไม่เคยมีใครทำกับคอนเทนต์มาก่อน แต่เขาทำเพราะมั่นใจว่าจะส่งผลต่อกลุ่มคนดูเป้าหมายโดยตรง

เราต้องการให้สินค้าดูใหญ่โต มหัศจรรย์ ทุ่มทุกอย่างลงไป คิดดูถ้าเราเป็นคนดูเราอยากเห็นอะไร แล้วพอคนเห็นแคมเปญแบบนี้ เขายิ่งอยากไปดูเวลาฉายที่จอทีวี เป้าหมายของเจเคเอ็นคือ ต้องการสร้างคอนเทนต์ให้เป็นยาเสพติดทางสายตา ไม่ดูไม่ได้ ต้องติดตาม ขาดแล้วลงแดง และห้ามดูย้อนหลัง เป็นกฎของเราเลย ตอนนี้ที่มีผ่อนผันให้บ้างกับช่อง 3 ก็ให้ดูแบบพากย์ไทยเต็มที่แค่ 7 วันในออนไลน์หลังออกอากาศ จากนั้นเอาออกถาวร

เป้าหมายหลักคือทำให้คนเสพติด ต้องคอยติดตามเวลาที่ออกอากาศในแต่ละช่อง อีกทั้งมีผลต่อเรตติ้งด้วย ซึ่ง แอนจักรพงษ์ยืนยันหนักแน่นว่า

ถ้าคนไม่ลงแดงหน้าจอ คือไม่ใช่งานของดิฉัน   

ใครอยากเห็นปรากฏการณ์จากอีเวนต์สไตล์เจเคเอ็น เร็ว ๆ นี้ให้ตามไปพิสูจน์ได้จากงานในวันที่ 10 และ 29 มีนาคม 2561 ที่เอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์บางกะปิ ที่จะมีคอนเสิร์ตใหญ่เพื่อรวมแฟนคลับจำนวนมหาศาลทั่วประเทศมารวมกัน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างเจเคเอ็นกับเซิร์ช เอ็นเตอร์เทนเม้นท์

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 เจเคเอ็นก็ได้จัดอีเวนต์เดอะลีดเดอร์ร่วมกับช่อง 8 ที่อิมแพ็คเมืองทองธานี ที่รวมดาราอินเดียประมาณ  20-25 เรื่อง มารวมตัวแสดงคอนเสิร์ตในที่เดียว

ยอดขายเจเคเอ็นปี 2561 ไม่ได้หยุดแค่ตลาดไทย

เทคนิคการขายส่วนตัวของแอนจักรพงษ์ มีผลต่อราคาคอนเทนต์โดยตรง เขาบอกว่า ปี 2561 นี้ ราคาขยับขึ้นตอนละเท่าตัว โดยจากตอนละ 5 แสนบาทในปีที่ผ่านมา สัญญาซื้อขายปีนี้เพิ่มเป็นตอนละ 1 ล้านบาท ซึ่งแต่ละช่องราคาไม่เท่ากัน และบางเรื่องต้องเซ็นสัญญาข้ามปี เพราะซีรีส์อินเดียบางตอน ถึงตอนนี้ก็ยังสร้างไม่เสร็จ เพราะมีตั้งแต่เรื่องละ 100 ชั่วโมง 200 ชั่วโมง ไปจนถึง 2 พันกว่าชั่วโมง 

ดังนั้น รายได้เจเคเอ็นปีนี้ ก็จะเติบโตตามจำนวนเรื่อง และส่วนต่อขยายคอนเทนต์ในส่วนที่มีการเซ็นสัญญา เป็นการให้บริการผ่านวิดีโอออนดีมานด์ (VOD) เพิ่มสำหรับบางราย ดังนั้นแม้ดูจากจำนวนคอนเทนต์ที่อาจจะเพิ่มขึ้นไม่มากแต่ราคาต่อตอนที่ก้าวกระโดด ส่งผลให้ยอดขายของเจเคเอ็นโตแบบก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่องด้วย

โดยปี 2559 มีรายได้รวม 846 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเป็น 1,156 ล้านบาท ในปี 2560 ขณะที่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจาก 164 ล้านบาท เป็น 188 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนปี 2561 คาดว่ารายได้น่าจะเพิ่มเป็น 1,400-1,500 ล้านบาท

ปีนี้เราปรับเป้าขึ้นมา 20-25% จากปกติเติบโตปีละ 15% เพราะจากเดิมที่แต่ละช่องเคยซื้อคอนเทนต์ที่หลักร้อย หรือร้อยกว่าล้าน ตอนนี้เซ็นสัญญาที 500 ล้าน 800 ล้าน จองคอนเทนต์ล่วงหน้า รวมทั้งปีนี้จะเปิดการขายต่างประเทศด้วย

เจเคเอ็นจะเริ่มทำตลาดต่างประเทศในกลุ่มประเทศ CLMV มาเลเซีย และบรูไน โดยนำเรื่องที่เคยฉายทางช่องต่าง ๆ เช่น ศึกสองราชันย์ โปรุส และอเล็กซานเดอร์ ทางช่องเวิร์คพอยท์, พระพิฆเนศ เจ้าของเรตติ้งสุงสุดในประวัติศาสตร์ของช่อง 8 และ วัลลภ มหาราชรักสุดแผ่นดิน โดย 3 เรื่องนี้ปัจจุบันเริ่มขายไปในกลุ่มประเทศเหล่านี้ และทำรายได้แล้วประมาณ 120 ล้านบาท

แอนจักรพงษ์ บอกว่า การเปิดตลาดต่างประเทศ ทำให้เจเคเอ็นมีสถานะเป็นโกลบอลคอนเทนต์ดิสทริบิวเตอร์เบอร์หนึ่งของ CLMV และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามวิสัยทัศน์ที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ

เราเป็นนักค้าส่งคอนเทนต์ คอนเทนต์ที่เรามีเรารับเหมามาทั้งหมด แล้วมาตัดให้แต่ละเจ้า โดยเราเป็นคนเลือกผู้ซื้อ แล้วมาร์เก็ตติ้งเพาเวอร์ที่เรามีไม่ได้ตัดขายเฉพาะประเทศไทย เราคัสโตไมซ์ก่อน คือจากคอนเทนต์ดิบ ๆ ก็ต้องเอามาปรุงก่อนส่งออกไป ตอนนี้เราถึงต้องเร่งสร้างอาคารเพราะเป็นแหล่งผลิตคอนเทนต์เพื่อจะทำส่งลูกค้าให้ทัน

สรุปตัวเลขคร่าว ๆ ตั้งแต่ต้นปี จากแผนการลงทุนคอนเทนต์ประมาณ 1,200 ล้านในปี 2561 ซึ่งใช้ไปแล้วประมาณ 770 ล้าน แต่ถึงตอนนี้เจเคเอ็น มีรายได้จากการขายคอนเทนต์จากลูกค้า 7 รายใหญ่ ๆ ประมาณเกือบ 1,000 ล้านแล้ว บวกกับตลาดต่างประเทศอีกเล็กน้อย และจากสัญญาย่อย ๆ กับทีวีดิจิทัลเจ้าอื่น ๆ อีกเกือบครบทุกช่องที่มีในเมืองไทย อีกทั้งรายได้คอนเทนต์ในรูปแบบอื่น ๆ อีกทั้ง โฮมวิดีโอ ดีวีดี บ็อกซ์เซ็ต VOD คร่าว ๆ แค่นี้เห็นที่ว่าไม่เกินครึ่งปีอาจจะเป็นไปได้ว่าเจเคเอ็นอาจจะต้องมีการปรับเป้ารายได้ของปีนี้กันใหม่อีกรอบเป็นแน่.

]]>
1160823
ช่อง 3 เฉือนเวลาไพรม์ไทม์เย็นช่อง HD ถ่ายสดงานเปิดตัว ละคร วาไรตี้ ลงผัง หวังดึงเรตติ้งให้กลับมาปัง  https://positioningmag.com/1155878 Tue, 06 Feb 2018 09:53:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155878 งัดทั้งละครฟอร์มยักษ์ 14 เรื่อง วาไรตี้จากนอก ซีรีส์อินเดีย จีน ลงผัง เพื่อหวังทวงเรตติ้งคืน งานนี้ช่อง 3 เลยต้องใช้สื่อ “ทีวี” ในมือคือช่อง 33 HD ถ่ายทอดสดงานเปิดวิกบิ๊ก 3 เปิดตัวละครล็อตใหม่ และรายการวาไรตี้ชุดใหม่ยกเซต ในปี 2561 ที่จะออกอากาศทาง ช่อง 3 SD, ช่อง33 HD, ช่อง28 และช่อง13 ตั้งแต่เวลา 16.30 – 20.30 น. รวม 3 ชั่วโมงครึ่ง เพื่อหวังดันเรตติ้ง ช่อง 3 เตรียมทวง ”บัลลังก์” สร้างเรตติ้งคืน

เมื่อเส้นเลือดใหญ่ของช่อง 3 คือ ”ละคร” ที่เป็นคอนเทนต์หลัก สร้างทั้งชื่อเสียงและรายได้มาตลอดหลายสิบปี แม้ตอนนี้ละครหลัง 2 ทุ่มของช่อง 3 ต้องเจอคู่แข่งมารุมแย่งเรตติ้ง จนต้องพึ่งเรตติ้งจากละครเย็นก่อนข่าว

มารอบนี้ ช่อง 3 เลยต้องจัดหนัก ส่งรายการล็อตใหม่ทั้งละคร และรายการวาไรตี้ที่เข้ามาเสริมผังกันเต็มที่ โดยกำหนดเปิดตัวในงานเปิดวิกบิ๊ก 3 พรมน้ำเงินวันนี้ ด้วยล็อตใหม่ 14 เรื่อง ที่กำลังจะออนแอร์ในปีนี้ ที่ต้องจัดเต็ม ละครบิ๊กเนม ดาราดัง

นอกจาก “เงินปากผี” ที่ออนแอร์ไปแล้ว ยังมี บุพเพสันนิวาส ละครพีเรียด จากนิยายชื่อดังของรอมแพง นักโบราณคดีสาวตุ้ยนุ้ย ตายจากโลกปัจจุบัน แต่วิญญาณเดินทางย้อนยุคเข้าไปอยู่ในร่างของ ”การะเกด” สาวสวยใจร้ายในสมัยพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา กลายเป็นแม่หญิงการะเกดผู้เลอโฉม ฉลาด แล้วบุพเพสันนิวาสก็ทำงานให้ความรักของการะเกดและพ่อเดชสมหวังกันในยุคนี้ “เบลล่า ราณี“ และ “โป๊ป ธนวรรธน์” และ “ปั้นจั่น ปรมะ” แสดงนำ

หนึ่งด้าวฟ้าเดียว ละพีเรียด นิยายของวรรณวรรธน์ ผู้แต่งคนเดียวกับ ”ข้าบดินทร์” ที่ทำให้ “เจมส์ มาร์” ระเบิดฟอร์มดังขึ้นมาทันที มาคราวนี้เป็นเรื่องในสมัยอยุธยาตอนปลายช่วงเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 เป็นเรื่องราวหัวหน้าขันทีผู้ยิ่งใหญ่ ได้ ”เจมส์ จิ“ มาเป็นขันที และ “แต้ว ณัฐพร” เป็นแมงเม่า ผู้อ่อนหวานและแสนซน

ลิขิตรัก The Crown Princess โครงเรื่องที่ปรับจากนิยาย “มณีหยาดฟ้า” ของนิดา แนวโรแมนติก ดราม่าผสมแอคชั่น ได้นักแสดงคู่ขวัญ “ณเดชน์ ญาญ่า” ที่คราวนี้เป็นผลงานเรื่องที่ 5 ของ ”แอน ทองประสม” ผู้จัดละครที่มีฉายา “เจ้าหญิงวงการบันเทิง”

คมแฝก ละครรีเมก ของ ”กัลป์ เกรียงไกร” นำแสดงโดย หมาก และ คิมเบอร์ลี่

ดวงใจในไฟหนาว ละครใหม่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพ่อมดการเงิน ได้เจมส์ มาร์ รับบทพระเอก และนางเอกดาวรุ่งจากละครเรื่อง “รัตนาวดี” ของช่องพีพีทีวี คราวนี้ย้ายมาอยู่กับช่อง 3

นอกจากนี้ยังมีละครใหม่ๆ เปิดตัวในงานอีก 9 เรื่องที่จะนำมาทยอยลงผัง เช่น ชั่วโมงต้องมนต์, เด็ดปีกนางฟ้า, อังกอร์, เสน่ห์รักนางซิน, ดวงใจในไฟหนาว, แฟนฉันเป็นเงือก ตามมาด้วยละครซีรีส์ ลูกผู้ชาย ภูผา – เพชร – ปัทม์

ปีนี้ช่อง 3 ยังฝากความหวังไว้กับ “วาไรตี้” ช่วงเย็นวันเสาร์ ด้วยรายการ The Face Thailand 4 All Stars ที่รับประกันความแซ่บด้วยเมนเทอร์ถึง 6 คน ลูกเกด, บี น้ำทิพย์, คริสหอวัง, พิม ซอนย่า, พลอย เฌอมาลย์, ศรีริต้า เจนเซ่น

Best of All เกมตอบคำถามแนวใหม่ ไปคว้าลิขสิทธิ์จากประเทศอิสราเอล ได้ ”ป๋อ ณัฐวุฒิ” เป็นพิธีกร ตามด้วย Little Big Shot รายการลิขสิทธิ์จากอเมริกา รายการทอล์กโชว์ เวทีที่ให้เด็กๆ ที่มีความสามารถได้แสดงออก มี ”โน้ต เชิญยิ้ม” เป็นพิธีกร

รวมทั้งเปิดโผเอเชียนซีรีส์ “ช่อง 13” เรื่องมหาภารตะ, อ๊กยอ ผู้พิทักษ์แห่งโชซอน, ศึกรักลิขิตสวรรค์, Love o2o ยิ้มนี้โลกละลาย

จัดชุดใหญ่ไฟกะพริบขนาดนี้ ต้องรอติดตาม รายการไหนจะเข้าวิน เรตติ้งปังบ้าง.

]]>
1155878
สงครามไพรม์ไทม์ 4 ช่องทีวีดิจิทัล ขย่มเรตติ้งละครช่อง 3, 7 https://positioningmag.com/1154707 Mon, 29 Jan 2018 00:15:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154707 ต้องจับตากันชนิดตาไม่กะพริบ สำหรับทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะช่วงเวลาไพรม์ไทม์หลัง 2 ทุ่ม คือช่วงเวลาทองของทุกสถานี ที่หวังสร้างรายได้จากโฆษณาสูงสุด เป็นช่วงเวลาที่ช่อง 7 และช่อง 3 ผู้ประกอบการทีวีรายเก่าครองตลาดมาเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ทั้ง 2 ช่อง โดยเฉพาะช่อง 3 กำลังถูกท้าทายอย่างหนักจาก 4 ช่องน้องใหม่ “เวิร์คพอยท์ , โมโน, ช่อง8 , ช่องวัน” กำลังทุ่มงบ อัดฉีดรายการที่เป็นจุดแข็งของตัวเองเข้าสู้ ทำให้สถานการณ์การแข่งขัน ยิ่งดุเดือดมากขึ้น

โดยเฉพาะช่อง 3 ที่ครองเรตติ้งอันดับ 2 ต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างหนักจากคู่แข่งทีวีดิจิทัล ที่กำลังไล่ล่าเรตติ้งคนดูกันอย่างหนัก อย่างล่าสุด ช่องโมโน หลังจากทำเรตติ้งแซงหน้าเวิร์คพอยท์ ขึ้นมาเป็นเบอร์ 3 ก็ประกาศขอขึ้นเบอร์ 2

เท่ากับว่า ช่อง 3 ก็ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากไม่น้อยทีเดียว ไหนต้องรับมือกับแข่งขันอันร้อนระอุแล้ว หนำซ้ำ “ละคร” ช่วงไพรม์ไทม์หลัง 2 ทุ่ม ในเดือนมกราคม 61 ก็ยังไม่สามารถทำเรตติ้งได้น่าพอใจ

ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม ช่อง 3 เปิดด้วย ละครดราม่าร้อน ระเริงไฟ ของค่ายซิติเซ่น แคน “หน่อย บุษกร” ที่นำเอาสามี “เคน ธีรเดช“ และ ”นุ่น วรนุช” มาแสดงนำ, “เดือนประดับดาว” ของ ”โดนัส มนัสนันท์“ ที่จบไปแล้ว และต่อด้วย “เสน่ห์นางงิ้ว” ของค่ายแอ็ค อาร์ต ของธัญญา วชิรบรรจง และ ”ไข่มุก มังกรไฟ” ละครบู๊ของค่าย เป่า จิน จง “นพพล โกมารชุน”

“ระเริงไฟ” แม้ได้นักแสดงรุ่นใหญ่มาแสดง บทดราม่า เชือดเฉือน ร้อนแรง แต่ยังไม่ถูกจริตคนชมมากนัก อาจจะเพราะละครมีส่วนของความเครียดมากกว่าความบันเทิง จบไปโดยที่ได้เรตติ้งแบบไม่น่าประทับใจนัก จากข้อมูลเรตติ้งของ FB TV Digital Watch สรุปว่า ระเริงไฟ ได้เรตติ้งเฉลี่ยจากทั้งหมด 14 ตอน อยู่ที่ 2.801 เท่านั้น โดยเรตติ้งสูงสุด คือ 3.701 ในตอนจบที่แฮปปี้เอนดิ้งนั่นเอง เหมือนเป็นความเครียดที่อัดอั้นมานานและมาระเบิดแบบความสุขตามแบบฉบับละครไทยจนได้เรตติ้งพุ่งในตอนสุดท้าย

ส่วนละครวันพุธ พฤหัส เดือนประดับดาว จบลงไปตั้งแต่ 10 มกราคม ด้วยเรตติ้งเฉลี่ยเพียง 2.431 และต่อมาด้วยเรื่องเสน่ห์นางงิ้ว ด้วยชื่อชั้นของค่าย แอค อาร์ต ยี่ห้อของ พงพัฒน์ วชิรบรรจง ที่กวาดรางวัลสร้างชื่อเสียงมามากมายจากเรื่อง “นาคี” เพียงแต่เรื่องนี้เป็นการกำกับโดยนักแสดงรุ่นใหญ่ “อู๋ ธนากร โปษยานนท์ “ เป็นครั้งแรก ช่อง 3 วางไว้รับเทศกาลตรุษจีนที่ค่อนข้างคาดหวังมากว่าจะสร้างเรตติ้งได้ดีแต่ปรากฏว่า หลังจากออกอากาศไปได้ 5 ตอน ได้เรตติ้งเฉลี่ยไปแค่ 1.74 ผิดมาตรฐานละครช่อง 3 เป็นอย่างมาก

ช่วงวันศุกร์-อาทิตย์ ไข่มุก มังกรไฟ” ละครบู๊ ออกอากาศไปแล้ว 9 ตอน ได้เรตติ้งเฉลี่ย 2.52 ส่งผลให้เรตติ้งของละครไพรม์ไทม์หลัง 2 ทุ่มล็อตนี้ของช่อง 3 เรตติ้งดร็อปลงทั้งหมดอย่างเห็นได้ชัด

สวนคู่แข่งช่อง 7 ที่ เปิดลอตใหม่ของปี 2561 ด้วย “แม่อายสะอื้น” ละครดราม่ารีเมก ออกอากาศไป 2 ตอนเรตติ้งอยู่ที่ 4.80 , “มือปราบเหยี่ยวดำ” ละครบู๊ สร้างจากเรื่องจริงของนายตำรวจในปฏิบัติการไล่ล่า ”ตี๋ใหญ่” จอมโจรชื่อดังในอดีต ออกอากาศไป 4 ตอนได้เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 5.33  และ “คุณชายไก่โต้ง” ละครคอมเมดี้ ออกอากาศไป 6 ตอน เรตติ้งเฉลี่ยอยู่ที่ 5.03

แม้ว่าสถานการณ์ของช่อง 7 จะไม่หนักหนาเท่ากับช่อง 3 แต่ทั้ง 3 เรื่องของช่อง 7 ยังมีเรตติ้งไม่สูงเท่ามาตรฐานของละครช่อง 7 ที่เคยได้เฉลี่ยสูงกว่านี้ หากดูจากตัวเลขเรตติ้งเฉลี่ยของละครหลัง 2 ทุ่มของช่อง 7 ปี 2560 เคยได้สูงสุดอยู่ที่ 8.015 จากเรื่อง ”นายฮ้อยทมิฬ” และต่ำสุดคือเรื่อง ”วังนางโหง” อยู่ที่ 4.142

4 ช่องน้องใหม่-เวิร์คพอยท์ โมโน  ช่อง 8 ช่องวัน มายกแผง

เมื่อ 2 บิ๊กทีวี ช่อง 3 และช่อง 7 เรตติ้งลดลง ตรงกันข้ามกับเรตติ้งของ 4 ช่องน้องใหม่ เวิร์คพอยท์ – โมโน – ช่อง8 – ช่องวัน กำลังมาอย่างดีวันดีคืน

ที่พุ่งแรงที่สุดคือซีรีส์อินเดีย หนุมาน สงครามมหาเทพ ของช่อง 8 ที่ปูพรมเปิดตลาดซีรีส์อินเดียมาตั้งแต่ ”สีดาราม ศึกรักมหาลงกา” มาตั้งแต่ปลายปี 2558 ยาวถึงปี 2559 โดยวางผังออกอากาศเป็นสองช่วง คือไพรม์ไทม์ 19.00 และหลัง 20.00 เริ่มสร้างเรตติ้ง สร้างฐานคนดูมาก่อน จนกระทั่งมาบูมสุดๆ ที่ความน่ารักของหนุมานน้อย จนล่าสุดได้เรตติ้ง 4.499 ในวันที่ 25 มกราคม ในการออกอากาศช่วงที่ 2 หลัง 2 ทุ่ม ชนะ The Mask Singer3 รอบแชมป์เป็นของ ”หน้ากากหนอนชาเขียว” ที่ได้เรตติ้ง 3.95 แพ้เพียงละคร ”มือปราบเหยี่ยวดำ ช่อง 7 ที่ได้เรตติ้ง 5.431

ในวันเดียวกันนั้น ภาพยนตร์ต่างประเทศของโมโน “Deja Vu” ก็มีเรตติ้งอยู่ในระดับ 2.827 และละครไทย ซีรีส์ชุด ”เรือน” ของช่องวัน เรื่องที่ 3 ต่อจาก “เรือนเสน่หา และ ”เรือนร้อยรัก” จนมาเป็น “เรือนเบญจพิษ” ได้เรตติ้งดีขึ้นต่อเนื่อง ออกอากาศไป 10 ตอน เรตติ้งอยู่ที่  2.27

เมื่อ 4 ช่องน้องใหม่เรตติ้ง ”มา” พร้อมๆ กัน จึงต้องกระทบต่อช่อง 3 ที่อยู่ในอันดับ 2 อย่างเห็นได้ชัด ดูได้จากเรตติ้งในวันเดียวกันนี้ ”เสน่ห์นางงิ้ว” ช่อง 3 ได้ไปเพียง 1.803 อยู่ในอันดับ 7

ช่อง 3 วางละครล็อตใหม่ลงผัง หวัง “เงินปากผี” กระตุ้นเรตติ้ง

ช่อง 3 นั้น เมื่อเปิดเดือนแรกของปีมาด้วยเรตติ้งละครที่ต่ำกว่าที่คาดไว้มาก ก็ฝากความหวังไว้กับละคร เงินปากผี ที่จะออนแอร์ในวันจันทร์ที่  29 มกราคมนี้ ละครหลัง 2 ทุ่ม ช่อง 3 เป็นละครผี สุดสยองขวัญ ที่ช่อง 3 โดยมาเสียบแทนเรื่องที่วางไว้เดิม บ่วงรักซาตาน ละครแนวโรแมนติกดราม่าสไตล์ช่อง 3 เพราะประเมินแล้วว่า ด้วยแนวของเรื่องไม่น่าแรงพอที่จะช่วยกระตุ้นเรตติ้งในช่วงวิกฤตนี้ เท่ากับเงินปากผี

โดย “เงินปากผี” เป็นละครของ ค่ายกันตนา ที่หันมารับงานละครให้กับช่อง 3 ด้วย ครั้งนี้ได้ “สตางค์ ดิษย์ลดา” ลูกสาวของ “ตุ๊กตา จิตรดา” ทายาทกันตนา เป็นผู้จัด โดยผลิตละครผี ที่เป็นซิกเนเจอร์ของค่ายกันตนา ที่เคยประสบความสำเร็จมาหลายเรื่องแล้ว

นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า ช่อง 3 เตรียมวาง บุพเพสันนิวาส ละครพีเรียด สมัยพระนารายณ์ ยุคกรุงศรีอยุธยา ได้ “โป๊ป ธนวรรธน์” และ ”เบลล่า ราณี” นำแสดง มาเตรียมออนแอร์ต่อจาก ”เสน่ห์นางงิ้ว” เพื่อฟื้นเรตติ้งด้วย

โมโน VS เวิร์คพอยท์ คู่ต่อกรอันดับ 3 ท้าชิงอันดับ 2

ทางด้าน เวิร์คพอยท์ โมโน ช่อง 8 ช่องวัน คือ 4 ช่องดาวรุ่งของวงการทีวีดิจิทัลในช่วงนี้ ที่เริ่มสตาร์ทปีนี้ด้วยรายการชุดใหญ่ จัดเต็มเพื่อลุยศึกชิงเรตติ้งจาก ช่อง 7 และช่อง 3 ที่เป็น 2 ช่องหลักในอุตสาหกรรมทีวีไทยมาอย่างยาวนาน

เรตติ้งของปี 60 เวิร์คพอยท์ที่อยู่ในอันดับ 3 ได้ 1.001 เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่ 0.837 ตามมาคือ โมโน ได้ 0.702 เพิ่มขึ้นจากปี  2559 ที่ได้ 0.536, ช่อง 8 อยู่ในอันดับ 5 ได้ 0.569 สูงขึ้นจากปี 2559 ที่ได้ไป 0.437 ส่วนช่องวันได้ 0.537 เพิ่มจากปี 2559 ที่อยู่ที่ 0.406

ในขณะที่เรตติ้งเฉลี่ยของช่อง 7 ทั้งปี 2560 อยู่ที่  2.114 แม้ว่าจะยังอยู่ในอันดับ 1 ของช่องทีวีดิจิทัลทั้งหมด แต่ก็ลดลงจาก 2.315 ของปี  2559 ส่วนของช่อง 3 เรตติ้งรวมอยู่ที่ 1.384 ลดลงจาก 1.600 ในปี 2559

ยิ่งเมื่อดูจากเรตติ้งประจำสัปดาห์ตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมาแล้ว จะเห็นว่า 4 ช่องใหม่นี้ยังรักษาฐานเรตติ้งของตัวเองเริ่มเขยิบกันยกแผงใกล้เคียงกับช่อง 7 และช่อง 3 แต่ที่ใกล้สุดๆ คือ โมโนและเวิร์พอยท์ ที่ไล่กันมาติดๆ

ปีนี้โมโนประกาศทุ่มงบลงทุน 800 ล้านสำหรับการซื้อคอนเทนต์ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาพยนตร์และซีรีส์ พร้อมกับขึ้นค่าโฆษณา จาก 2.8 หมื่นบาทต่อนาที เป็น 4 หมื่นบาทต่อนาที และพุ่งไปถึง 1 แสนบาทต่อนาทีในช่วงไพรม์ไทม์ โมโนจึงไม่รอช้าที่จะประกาศว่า พร้อมชิงอันดับ 2 จากช่อง 3 ที่ดูเหมือนกำลังอ่อนแรง

แต่การใช้คอนเทนต์ต่างประเทศ แม้จะได้คอนเทนต์แปลกใหม่ ทันสมัย แต่ก็มีข้อจำกัดในการเอามารีรันได้ตามจำนวนครั้งที่ตกลงในสัญญา หากเกินจากข้อกำหนดจะต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์เพิ่มขึ้นอีก จึงต้องมีเงินทุนสายป่านยาวพอสมควร โมโนจึงต้องเริ่มผลิตรายการในประเทศเข้าไปเสริมผังด้วย เช่นละครไทย และรายการกีฬาบาสเกตบอลลีกในประเทศไทย

ส่วนเวิร์คพอยท์นั้น ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องปรับหากลยุทธ์ ในการฟื้นเรตติ้งทั้งช่องขึ้นมาให้ได้เหมือนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2560 เวิร์คพอยท์เคยขยับเข้าใกล้ช่อง 3 ในอันดับ 2 มาแล้ว เพียงแต่ในครึ่งปีหลังของปีที่แล้ว รายการวาไรตี้ใหม่บางรายการที่คาดหวังไว้ไม่เป็นไปตามเป้า

ล่าสุดเวิร์คพอยท์ จะนำซีรีส์อินเดีย ศึกสองราชันย์ โปรุส VS อเล็กซานเดอร์ มาลงจอในช่วงเวลา  21.30 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เริ่ม 5 ก.พ.นี้ โดยเป็นการออกอากาศต่อจากรายการวาไรตี้เกมโชว์ของเวิร์คพอยท์ในช่วงไพรม์ไทม์ ที่เริ่มมีปัญหาบางรายการไม่ปัง เรตติ้งไม่มา

สำหรับรายการวาไรตี้หลักที่สร้างเรตติ้งเป็นที่จดจำของคนดูของเวิร์คพอยท์ ยังคงเป็น The Mask Singer ที่มาถึงซีซันที่ 3 แล้ว และ I can see your voice และรายการซีรี่ส์ ”ไมค์” ทั้งหมด สร้างเรตติ้งได้ในหลัก 2 ขึ้นไป ในขณะที่บางรายการเช่น “Diva Makeover เสียงเปลี่ยนสวย” รายการร้องเพลงที่มาพร้อมกับดราม่า ได้เรตติ้งล่าสุดวันที่ 22 ม.ค.ไปเพียงแค่ 1.76

กลยุทธ์การวางผังเช่นนี้ จะช่วยตรึงผู้ชมให้อยู่กับช่องยาวนานมากเช่นในวันพุธ หลังรายการ I can see your voice จบ วันหรือ พฤหัส หลังรายการ The Mask Singer3 จะได้ต่อเนื่องกับซีรีส์อินเดียทันที ซึ่งคาดว่าจะได้เรตติ้งสูงกว่ารายการเดิมที่วางไว้ก่อนหน้านี้

ทั้งนี้รายการเดิมที่อยู่ในผังช่วงนี้ได้แก่ “อีจันสืบสยอง“, ”คนอวดผี ปี 7””เลขอวดกรรม“ และรายการรีรีน เช่น ชิงร้อยชิงล้าน , และ Diva Makeover

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เวิร์คพอยท์นำซีรีส์อินเดียมาออกอากาศ ในปี 2558 เวิร์คพอยท์เป็นทีวีดิจิทัลรายแรกที่นำเอา ”พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก” เป็นซีรีส์อินเดียชุดแรกเข้ามาสร้างตลาดผู้ชมคนไทยมาแล้ว “ศึกสองราชันย์ โปรุส VS อเล็กซานเดอร์” ชุดนี้ จึงเป็นหนึ่งหมัดเด็ดของเวิร์คพอยท์ ที่หวังชิงเรตติ้งจากทุกช่องกลับมา

ซีรีส์อินเดีย คอนเทนต์ใหม่มาแรงของทีวีดิจิทัล

ครั้งหนึ่งซีรีส์เกาหลี คือรายการที่ช่วยสร้างความแปลกใหม่ให้วงการทีวีไทย หลายๆ ช่องต่างซื้อลิขสิทธิ์มาออกอากาศกันมากมาย แต่เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา การดูซีรีส์เกาหลีจึงไม่จำเป็นต้องรอดูบนทีวีอีกต่อไป สามารถเลือกรับชมช่องทางออนไลน์ หรือสดพร้อมๆ กับเกาหลีได้เลย ทำให้ต้องมองหารายการต่างประเทศอื่นๆ เท่าเข้ามาทดแทน

JKN ในฐานะผู้นำเข้าซีรีส์อินเดีย เคยบอกไว้ว่า สาเหตุ์ที่ซีรีส์อินเดียเป็นที่นิยมในประเทศไทย เพราะศิลปวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันในการนับถือศาสนาพุทธ เรื่องส่วนใหญ่ก็เกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา และคนไทยยังมีความคุ้นเคยกับตัวละคร ไม่ว่าจะเป็น นางสีดา พระราม หนุมาน พระศิวะ รวมเข้ากับรูปแบบการนำเสนอสมัยใหม่ มีทั้งแฟนตาซี อภินิหาร ไม่ใช่วิ่งไล่จับกันข้ามวันข้ามคืนเหมือนสมัยก่อน จึงถูกจริตคนไทย กลายเป็นซีรีส์ยอดนิยมขึ้นมา

อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้ชมเริ่มเบื่อพล็อตละครไทย การทำละครรีเมก จึงหันไปหาความแปลกใหม่ และซีรีส์อินเดียก็ตอบโจทย์ในแง่ความแปลกใหม่ แต่คุ้นเคยตัวละครได้มากที่สุด

ช่อง 8 เป็นช่องที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดสำหรับซีรีส์อินเดีย เริ่มปูพรมมาตั้งแต่ “สีดา ราม ศึกมหาลงกา“ ออกอากาศกันข้ามปี จากปี 2558 -2559 จนมาพีคที่สุดกับ “หนุมาน สงครามมหาเทพ” ที่เคยทำเรตติ้งชนะ “วังนางโหง” ละครหลัง 2 ทุ่มที่มีเรตติ้งเฉลี่ยต่ำสุดของปี 2560 ช่อง 7 มาแล้วในช่วงสั้นๆ ของเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว

ช่องทีวีดิจิทัลทั้งหมด 5 ช่อง ที่จัดซีรีส์อินเดียลงผังในขณะนี้ เริ่มตั้งแต่กลุ่มช่อง 3 มี “นาคิน” ลงช่อง 33 และ“อโศก มหาราช” ช่อง 13 ออกอากาศช่วงเย็นทุกวันจันทร์-ศุกร์ และกำลังจะมี ”มหาภารตะ” เพิ่มในผังอีกชนิดยิงยาวตั้งแต่ 1 ทุ่มถึง 3 ทุ่ม, ช่องไบรท์ทีวี มี ​”ศิวะ พระมหาเทพ” ออกอากาศช่วงไพรม์ไทม์ 3 ทุ่ม และอีก 4 เรื่องออนแอร์กันทั้งวัน และช่อง 8 ที่มีถึง 2 เรื่องคือ “หนุมาน” และ ”ลิขิตแค้นแสนรัก” ที่ออกอากาศยาวช่วงไพรม์ไทม์ในวันจันทร์-ศุกร์

สมรภูมิศึกชิงเรตติ้งครั้งนี้ น่าสนุก ลุ้น กันทุกวัน.

]]>
1154707
ถอดรหัสซีรีส์อินเดียแผลงฤทธิ์ เบียดละครไทย https://positioningmag.com/1150093 Wed, 13 Dec 2017 22:59:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1150093 ซีรีส์อินเดียช่วงนี้ แผลงฤทธิ์แย่งผู้ชมหน้าจอทีวีจากละครไทย วาไรตี้ไปได้อย่างน่าทึ่ง ทั้งพลังหนุมาน และ แรงแค้นงูสาวนาคิน กำลังมาแรง ชนิดที่ว่าบางวันมีคนดูเฉลี่ยต่อนาทีสูงกว่าละครไพรม์ไทม์แล้วโดยเฉพาะหนุมานฯ ของช่อง 8 มีโอกาสชนะช่อง 7 และทุกช่องที่นำซีรีส์อินเดียมาออกอากาศ

ทั้งช่อง 3 เอชดี ช่อง 3 แฟมิลี่ ช่อง 8 อาร์เอส และช่องไบรท์ นั้น ต่างค้นพบแล้วว่าซีรีส์อินเดียเป็นตัวดันเรตติ้งช่อง เพราะแต่ละเรื่องได้เรตติ้งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของช่อง ขณะที่ต้นทุนการซื้อรายการเฉลี่ยถูกกว่าผลิตละครเองอย่างน้อย 3 เท่า

ซีรีส์อินเดียจะมาถึงจุดสุดฮอต ที่บ่งบอกได้ว่ายังมีเนื้อหารายการอีกมากมาย ที่ผู้ชมในยุคดิจิทัลต้องการ

 ***หนุมานฯ ช่อง 8 แผลงฤทธิ์แซงละครช่อง 7

และแล้วพลังลิงน้อย “มารุติ” หน้าตาน่ารัก มีพุงน้อย ๆ ของบรรดาแม่ ๆ สาวกแฟนคลับ ก็ส่งให้ช่อง 8 ได้สัมผัสเรตติ้งอันดับ 1 ช่วงไพรม์ไทม์ หลัง 2 ทุ่ม จากเรื่อง “หนุมาน สงครามมหาเทพ” ในการออนแอร์วันที่ 29 พ.ย.2560

เรียกได้ว่าช่อง 8 ใช้กลยุทธ์เลือกเวลา และโปรดักต์ได้ถูกที่ถูกจังหวะกับที่ “กลุ่มเป้าหมาย” รออยู่อย่างมาก การเลือกเวลา ด้วยการยิงยาว เพื่อพยุงเรตติ้งในรายการที่มีผู้ชมจำนวนมากให้นานที่สุด ที่อาร์เอสตัดสินใจปรับผังรายการของช่อง โดยเคลียร์เวลาให้ “หนุมาน สงครามมหาเทพ” ตั้งแต่ 30 ต.ค.ที่ผ่านมา ออนแอร์ตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงไพรม์ไทม์ โดยแบ่งเป็นช่วงแรกเวลา 18.50-20.00 และช่วงที่สองคือหลังจบข่าวพระราชสำนัก ออนแอร์เวลา 20.30-21.30  น.ทุกวันจันทร์-พฤหัส

จนถึงจุดพีคคือเมื่อค่ำวันที่ 29 พ.ย.ในการออนแอร์ช่วงที่สอง หนุมานฯ ได้เรตติ้งไป 4.196 หรือหากคำนวณคร่าว ๆ ได้คนดูไปกว่า 2.5 ล้านคน จากปกติหนุมานฯ จะได้เรตติ้งประมาณ 3 กว่า ๆ

การได้ 4.196 คือวันที่ช่อง 7 แผ่วพอดี แม้จะเป็นแชมป์ตลอดกาล แต่วันดังกล่าวไม่ใช่ของวันของช่อง 7 เพราะละครใหม่คือ “วังนางโหง” ทำเรตติ้งได้แค่ 4.010 จากปกติมาตรฐานช่อง 7 จะได้อยู่ที่ประมาณ 5-6

นอกจากนี้หนุมานฯ ยังชนะ “สายธารหัวใจ” ของช่อง 3 แต่ไม่ได้เซอร์ไพรส์ เพราะหนุมานฯ มาเหนือช่อง 3 เกิดขึ้นบ่อยในระยะหลัง

อย่างไรก็ตาม ที่หนุมานฯ ส่งให้ช่อง 8 ได้สัมผัสอันดับ1 บ้างนั้น ก็ทำให้พอมีลุ้นอีกว่า จะไม่ใช่เพียงแค่สัมผัสครั้งเดียว จากนี้อาร์เอสจึงมั่นใจ และเดินหน้าซีรีส์อินเดียต่อแน่นอน เพื่อเป็นอีกหนึ่งรายได้สานฝันให้รายได้แตะ 2,000 ล้านบาทในปีหน้า

เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นอกจากกระแสหนุมานฯ เวลานี้ ยังมีข่าวเช้าเป็นจุดเด่นของช่อง ทำให้อาร์เอสเน้นรายการช่วงไพรม์ไทม์ 2 ช่องคือช่วงเช้าเวลา 06.00-09.00 น. และช่วงค่ำ 18.00-22.00 น. ทำให้ปีนี้คาดทำรายได้รวม 1,200 ล้านบาท และปีหน้าคาดว่าจะทำได้ถึง 2,000 ล้านบาท

แน่นอนว่าจะมีการปรับอัตราค่าโฆษณาเพิ่ม 45% จากราคาเฉลี่ยนาทีละ 30,000 บาท เป็นประมาณ 45,000 บาท

ขณะนี้กระแสหนุมานฯ ดีมาก การขายโฆษณาก็ได้ราคาดี โดยราคาเรตการ์ด หนุมานฯ อยู่ที่นาทีละ 3 แสนบาท สูงกว่าละครที่ได้ราคา 1.8 แสนบาท และข่าวเช้าได้ 1 แสนกว่า

คำเฉลยจากการเลือกรายการลงผังนั้น ยังสะท้อนให้เห็นว่าสอดคล้องกับกลุ่มธุรกิจที่กำลังทำรายได้หลัก คือ อาหารเสริม สกินแคร์ ที่เฮียฮ้อเปิดเผยว่าได้เน้นกลุ่มลูกค้า อายุ 35 ปี นี่คือการรองรับเทรนด์สังคมผู้สูงอายุ

ดร.องอาจ สิงห์ลำพอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 ดิจิทัลทีวี กล่าวว่า ผู้ชมซีรีส์อินเดียส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงทำงาน และแม่บ้าน ที่อยากดูอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มที่ดูละครไทยอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องหนุมานฯ ทำให้แฟนประจำช่องเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

ความสำเร็จของช่อง 8 ที่ดึงคนดูซีรีส์อินเดียได้นั้น ปูทางมาจากเรื่องสีดาราม ศึกรักมหาลงกา มีกระบวนการผลิตดี อลังการ จนมาถึงหนุมานฯ และปีหน้าจึงได้เตรียมไว้ออนแอร์อีก 3 เรื่อง

***งูนาคินแผ่พลัง

ทางฟากช่อง 3 ก็มี นาคิน” เรื่องราวของแรงแค้นงูสาว เป็นความหวัง ที่ช่อง 3 ลงผังออนแอร์ในเวลาประมาณ 18.15-19.00 น.จันทร์-พฤหัส และเวลา 18.00-19.00 น.วันศุกร์ ผ่านไปแล้วเกือบเดือนที่เรื่องราวเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ แฟนตาซีด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกแรง ๆ เรตติ้งก็เริ่มมา

จากวันแรกที่ออนแอร์เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ทำได้ 2.111 บางวันหล่นไปที่ 1.979 จนวันที่ 27-28-29 พ.ย.เรตติ้งทะลุ 3 มาได้ จนมาแรงสุดคือวันที่ 29 พ.ย.ที่ได้เรตติ้งนิวไฮไป 3.649 ทำให้เกือบเฉลี่ยทั้งเดือน นาคินได้เรตติ้ง 2.528

ช่อง 3 ไม่อยากส่ง นาคิน ชน หนุมาน ของช่อง 8 จึงเลือกเวลาออนแอร์ก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ชนกับ อโศกมหาราช ที่อยู่ในเครือด้วยกัน คือช่อง 3 แฟมิลี่ บริษัทเซิร์ช เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นคนซื้อลิขสิทธิ์จากเจเคเอ็น โกลบอลมีเดีย และยังมีอีกหลายเรื่องในมือ

อีกช่องที่พยายามจะสร้างเรตติ้งจากซีรีส์อินเดีย คือ ไบรท์ทีวี ที่แม้จะอยู่ในประเภททีวีดิจิทัลช่องข่าว แต่ช่วงเย็นของทุกวันก็ปูพรมซีรีส์อินเดีย 3 เรื่อง ยิงยาวตั้งแต่เวลา 17.00 น.

ซีรีส์อินเดียทุกเรื่องของทุกช่อง หากวัดความสำเร็จว่ามากน้อยเพียงใด ชัดเจนว่า “สำเร็จ” เพราะเรตติ้งแต่ละเรื่องสูงกว่าค่าเฉลี่ยของช่อง ไม่เฉพาะช่องเล็ก แต่ช่องท็อป 5 ก็ยังต้องใช้พลังซีรีส์อินเดียช่วยดัน อย่างช่อง 8 เรตติ้งประจำเดือน พ.ย. เฉลี่ยอยู่ที่ 0.666 แต่หนุมานฯ ทำเรตติ้งได้ถึง 3.269ช่อง 3 เอชดี เรตติ้งช่องเฉลี่ย 1.252 แต่นาคินทะลุไป ได้ถึง 2.565

หากย้อนไปประมาณ 2 ปีที่แล้วมีช่องเวิร์คพอยท์ และช่อง 5 ที่นำซีรีส์อินเดียมาออนแอร์ ซึ่ง น.ส.ณัฐชญา ทวีวิทย์ชาครียะ จากสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. วิเคราะห์ข้อมูลค่าความนิยมเฉลี่ยของรายการซีรีส์อินเดีย ปี 2558-2560 พบว่า แต่ละช่องจัดวางผังทั้งช่วงไพรม์ไทม์ตอนต้น ประมาณ 18.30-20.30 น.และตอนปลาย 20.30-22.30 นั้น เป็นการตัดสินใจที่ประสบความสำเร็จ เพราะได้รับความนิยมจากผู้ชมสูง

ส่วนกลุ่มผู้ชมส่วนใหญ่พบว่าเป็นผู้หญิง อายุ 35 ปีขึ้นไป อยู่ในเขตต่างจังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับการวางผังที่ผู้ชมในต่างจังหวัด จะกลับบ้านเร็ว ขณะที่การวางผังในช่วงที่ไม่ใช่ไพรม์ไทม์จะไม่ค่อยสำเร็จ อาจเป็นเพราะผู้ชมส่วนใหญ่ทำงาน หรือออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน

นอกจากนี้การนำเสนอคอนเทนต์ที่เคยได้รับความนิยม และห่างหายไปนาน เมื่อกลับมาใหม่ก็ได้รับผลตอบดี อย่างหนังอินเดียที่คนไทยเคยนิยมดูเมื่อกว่า 30-40 ปีก่อน แต่ห่างหายไปเพราะมีหนังจากชาติอื่น อย่างจีน ฮอลลีวูด ญี่ปุ่น เกาหลี มาแทน เมื่อกลับมาใหม่ด้วยเรื่องราวที่คนไทยคุ้นเคย อย่างศาสนา ประวัติศาสตร์ ชีวประวัติ จึงได้รับความนิยมกลับมาได้ไม่ยาก

 **เจเคเอ็นเจ้าตลาดคลังซีรีส์อินเดีย

สำหรับแหล่งที่มาของซีรีส์อินเดีย ที่ซื้อลิขสิทธิ์จากผู้ผลิตในอินเดีย และนำมาจัดสรรขายต่อให้ทีวีดิจิทัล รวมถึงเคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียมช่องต่าง ๆ นั้น คือ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่มี “แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์’’ เป็นซีอีโอ

แอน จักรพงษ์ อธิบายถึงความนิยมของซีรีส์อินเดียที่ตอนนี้ถูกจริตคนไทย ว่า เพราะคนไทยคุ้นเคยเกี่ยวกับวัฒนธรรมอินเดียเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องเกี่ยวกับภาษาสันสกฤต ศาสนา ประเพณี วรรณกรรมอย่างเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระแก้วที่เราเห็นตั้งแต่เด็ก หรือชื่อของหลายอย่าง มีจุดกำเนิดที่มาจากประเทศอินเดีย

ที่สำคัญยังต้องดูว่าโปรดักชันดีไหม การเลือกเรื่องที่เหมาะ และคาดว่าคนดูน่าจะชอบ นับเป็นความเชี่ยวชาญของเจเคเอ็นอยู่แล้ว เพราะอยู่ในธุรกิจค้าคอนเทนต์มาหลายสิบปี จึงมองเห็นเทรนด์ที่มาจากทั่วโลกก่อนคนอื่น

“เราเดินทางเยอะมาก ไปดูงาน ดูตลาดต่างประเทศ ดูงานสถานีโทรทัศน์ทั่วโลก คุยกับดาราศิลปิน และเป็นคนอ่านเยอะ จึงมาบรรจบกับความคิดที่ว่า Content is Culture และนี่คืออาหารสมองของคน”

ตลาดนี้ไม่ได้อยู่ที่ “ผู้ซื้อ” หรือสถานีทีวีเลือกฝ่ายเดียวว่าอยากได้เรื่องไหน เพราะความเชี่ยวชาญอยู่ที่ “เจเคเอ็น” มาถึงจุดที่สามารถจัดเรื่องได้ว่าเรื่องไหนควรออนแอร์ช่องใด เช่น เรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ อย่างอโศกมหาราช อยู่ในช่อง 3 แฟมิลี่ และเรื่องแฟนตาซี อย่างนาคิน อยู่ช่อง 3 เอชดี

ส่วนช่อง 8 ที่เริ่มเดินมาด้วยกันก่อนกับสีดาราม ที่ประสบความสำเร็จ และตามด้วยหนุมาน ทำให้เจเคเอ็นนึกถึงช่อง 8 ก่อนเมื่อได้เรื่องแนวมหากาพย์ วรรณกรรม และแฟนตาซี ถ้าช่อง 8 ไม่ซื้อ ก็มีทางเลือกไปช่องอื่น ๆ อีกได้ เพราะเวลานี้ทุกช่องต่างต้องประหยัดต้นทุน เพราะซื้อซีรีส์อินเดีย แม้จะใช้เงินก้อนใหญ่ เพราะแต่ละเรื่องยาวหลายตอน แต่ถ้าคิดเฉลี่ยต่อตอนแล้วถูกกว่าการผลิตละครเองเฉลี่ย 3 เท่า

แอน จักรพงษ์ กล่าวว่า ทุกวันนี้กี่เรื่อง ๆ ก็หมดเกลี้ยง เพราะทุกคนเจ็บจากการผลิตรายการเอง ยิ่งผลิตยิ่งใช้เงินเยอะ ต้องมีบุคลากรจำนวนมาก เฉลี่ยละครไทยอาจต้องใช้งบตั้งแต่ 8 แสนบาท -1.23ล้านบาท เมื่อทุนไม่สูงพอก็ทำให้ต้องออกจากอุตสาหกรรมนี้ไป ขณะที่เจเคเอ็นมีคอนเทนต์ระดับโลก ที่ง่ายสะดวก ประหยัด และประสบความสำเร็จ เพราะมีเรตติ้ง การผลิตได้มาตรฐานระดับโลก เวลาขายให้ช่องต่าง ๆ เฉลี่ยก็คิดราคาประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนผลิตละครไทย ราคาถูกกว่า แต่เรตติ้งออกมาแล้วดี อย่าง สีดาราม และหนุมาน ก็เรตติ้ง 5 กว่า

ปรากฏการณ์ซีรีส์อินเดียนี้ ทำให้เห็นว่าเวลานี้ผู้ชมกลุ่มซีรีส์ต้องการดูอะไรที่คุ้นเคย โปรดักชันดี ความสำคัญยังอยู่ที่คนขายอย่างเจเคเอ็น ที่ต้องดีลกับคนขายในอินเดียให้ได้ใจ จนหลายรายเลือกขายผ่านเจเคเอ็น ไม่ขายตรงให้ช่อง นอกจากนี้เจเคเอ็นก็มีบริการให้ช่องที่มาซื้ออย่างครบวงจร ทั้งตัดต่อ พากย์ และทำตลาด เรียกได้ว่าช่องซื้อไปเพียงแค่จัดลงผังออนแอร์เท่านั้น

นี่คือการประสานกันอย่างลงตัวของคนผลิต คนขาย และเจ้าของช่อง ในยุคทีวีดิจิทัล ที่ต้องรู้จักตัวเองอย่างดีว่าจุดแข็งคืออะไร เพื่อให้ทุกคนที่ร่วมอุตสาหกรรมอยู่รอดเติบโตไปด้วยกัน

เจเคเอ็น ได้รับลิขสิทธิ์ จากเจ้าของคอนเทนท์ ทั้งจากเกาหลีใต้ อินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ และอเมริกา โดยรายได้จากการขายคอนเทนท์ในไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นับจากปี 2557 มีรายได้ 222 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 73 เปอร์เซ็นต์ของรายได้รวม   ไตรมาส 3 ปี 2560 มีรายได้กว่า 832 ล้านบาท คิดเป็นประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ โดยเจเคเอ็นได้เข้าจดทะเบียนเพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ เมื่อวันท่ี 30 ..ที่ผ่านมา.

]]>
1150093