ดราก้อนบอล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Jan 2019 03:29:50 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดตำนาน การต่อสู้ “บันได” Ep.11 เจนใหม่กุมบังเหียน https://positioningmag.com/1209221 Sun, 20 Jan 2019 06:53:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209221 Ep.11 ใครที่ชื่นชอบ กันดั้ม ไม่น่าพลาดที่มาของบันได (BANDAI) ธุรกิจขายของเล่นรายใหญ่ของญี่ปุ่น ซึ่งเพจ Power-up mag ได้นำเสนอเรื่องราวการต่อสู้ของธุรกิจ กว่าจะมายิ่งใหญ่ได้ถึงเพียงนี้

ถึงปี 1980 ยามาชินะ นาโอฮารุ ผู้ก่อตั้งบริษัท ก็ก้าวลงจากตำแหน่งประธาน ผู้ที่ขึ้นมาแทนเขาคือ ยามาชินะ มาโคโตะ วัย 35 ปี ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน นำคนหนุ่มสาวเข้ามาบริหารบริษัท และปลดพนักงานเก่ารุ่นพ่อออกเป็นจำนวนมาก ช่วงนี้แหละที่บันไดเริ่มเปิดการผลิต กันพลา” 

ภายใต้การนำของมาโกโตะ บันไดเริ่มตั้งสาขาในต่างประเทศ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศสอิตาลี หรือที่ออสเตรเลีย และยังมีการวางแผนย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า เช่น การเปิดโรงงานแห่งที่สองในฮ่องกง และร่วมทุนเปิดโรงงานผลิตของเล่นในจีน และร่วมมือกับบริษัท Imperial Toys (ของกลุ่มบริษัท .เจริญ ผู้ค้าของเล่นรายใหญ่ของไทยที่เป็นคู่ค้ากันอยู่ตั้งบริษัท Bandai and K.C. เพื่อผลิตของเล่น

ช่วงต้นยุค 80 ในญี่ปุ่นตลาดอะนิเมะบูมมาก มีการผลิตอะนิเมะแบบส่งตรงลงม้วนวิดีโอออกมามากมาย (มีชื่อเรียกว่า OVA-Original Video Animation) บันไดที่ช่วงนั้นมีรายได้จากของเล่นลดลง ก็หันเข้าหาตลาดนี้ด้วยเช่นกัน โดยก่อตั้งบริษัท Bandai Visual ขึ้นผลิตอะนิเม และ Emotion เป็นบริษัทจัดจำหน่าย พร้อมทั้งเปิดเชนร้านวิดีโอในชื่ออีโมชั่นด้วย ซึ่งบริษัทนี้เคยได้ดีลเป็นตัวแทนจำหน่ายหนังของวอลท์ ดิสนี่ย์ในญี่ปุ่นด้วย

ยุค 80 บันไดมีสินค้าจากอะนิเมฮิทที่สร้างจากบิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ โชเน็น จัมป์ไม่ว่าจะเป็น ดราก้อนบอลคินนิคุแมน (ตุ๊กตุ่น), เซนต์เซย์ย่า (ฟิกเกอร์ชุดคลอธ) ที่ทุกวันนี้ก็ยังทำเงินให้บันไดได้ 

ของเล่นคินนิคุแมน
ของเล่นเซนต์เซย์ย่า

ของเล่นอีกชุดที่ได้รับความนิยมก็ตือ DXโชโกคิน ที่ช่วงนี้ผลิตออกมาในชื่อของบันได โดยซีรีส์ที่ได้รับความนิยมก็คือเหล่าหุ่นแปลงร่างจากหนังขบวนการ (Super Sentai) 

DXโชโกคิน หุ่นขบวนการ

เข็มขัดแปลงร่างก็กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง พร้อมกับการกลับตืนจอทีวีของไรเดอร์ ในชุด Kamen Rider Black 

เข็มขัดแปลงร่างRiider Black

สินค้าอีกชิ้นที่บันไดออกวางตลาดและได้รับความนิยมในช่วงที่โมเดลได้รับความนิยมอีกชนิดก็คือ High Complete Model (H.C.M.) มันคือฟิกเกอร์หุ่นยนต์พลาสติกเสริมชิ้นส่วนโลหะบางจุดเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ในขนาด 1/144 ที่โดดเด่นที่สุดตคือมือที่สามารถขยับนิ้วได้เพื่อใช้ในการจับอาวุธชนิดต่างๆ ออกวางตลาดตั้งแต่ปี 1984 ในซีรีส์มีทั้งหุ่นจากกันดั้ม และหุ่นจากอะนิเมะหุ่นยนต์เรื่องอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมในยุคนั้น ทั้งไวฟามแอลไกลม์ซาบุงกุลมาครอส 

H.C.M.

และไม่รู้เพราะมาโกโตะมีพื้นฐานในธุระกิจการพิมพ์หรือเปล่า ทำให้บันไดออกสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยมีพื้นฐานมาจากการพิมพ์ นั่นก็คือ การ์ดดัส มันเป็นการ์ดสำหรับสะสมที่มีต่าต่างๆ บนการ์ดเอามาเล่นแบบประลองกันได้ (ก่อนที่จะมีการ์ดเกมเชิงยุทธวิธีอย่าง Yu-Gi-Ohจะออกมาวางขาย) การ์ดดัสเริ่มออกวางตลาดตั้งแต่ปี 1988 โดยขายผ่านเครื่องขายการ์ดแบบหยอดเหรียญโดยชุดแรกคือเซนต์เซย์ย่า ก่อนจะตามด้วย ดราก้อนบอล และ SD Gundam หลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีเรื่องดังๆ เรื่องไหนจะไม่ได้ออกเป็นการ์ดดัสมาให้สะสมกันเลย เมืองไทยก็มีคนเอามาพิมพ์ขายเหมือนกัน และแน่นอนการ์ดสะสมนี้ก็ต้องมีใบหายาก พวกพิมพ์พิเศษอย่างการ์ดปริซึ่มด้วยเช่นกัน พวกนี้ก็จะมีราคาสูงขึ้นในหมู่นักสะสม ทุกวันนี้การ์ดดัสก็ก็ยังมีออกมาเรื่อยและพัฒนาตัวเองไปเป็นการ์ดเกมสไตล์ยูกิโอไปได้ ทำให้เท่าที่มีบันทึกไว้ บันไดขายการ์ดดัส ไปได้มากกว่า 11.5 พันล้านใบแล้ว (แค่ปี 1998 เฉพาะการ์ดดัสดราก้อนบอลก็ทำยอดขายไปได้กว่าพันล้านใบแล้ว 

การ์ดดัส
ตู้ขายการ์ดดัส

เมื่อถึงยุค 90 บันไดจะก้าวไปเติบโตในตลาดอเมริกาได้อย่างเหลือเชื่อ.

การ์ดปริซึ่มการ์ดพิเศษ

ที่มา : facebook.com/Power-Up-Mag

]]>
1209221
LINE TV จะเข้าหา “ผู้ชาย” ต้องใช้ “การ์ตูน” https://positioningmag.com/1208608 Wed, 16 Jan 2019 12:27:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1208608 ไลน์ทีวี” แพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์อายุ 4 ปีของไลน์ วางแผนปี 2019 อยากเจาะเข้าหากลุ่ม “ผู้ชายมาก” ยิ่งขึ้น หลังจากที่ผ่านมามีฐานกลุ่มใหญ่เป็นผู้หญิง ที่ได้มาจากการอัดคอนเทนต์กว่า 70% เข้าไปทั้งละคร ซีรีส์ และรายการวาไรตี้ต่างๆ

จะเข้าหา ผู้ชายต้องใช้การ์ตูน

เพียงแต่การจะเข้าหากลุ่มผู้ชายไม่อาจชูด้วยคอนเทนต์อย่างละคร ซึ่งเป็นคอนเทนต์หลักที่อยู่ในไลน์ทีวีได้ จึงต้องหาคอนเทนต์ที่ถูกจริตและเป็นที่ต้องการของผู้ชาย ซึ่งหนึ่งในคอนเทนต์ที่เชื่อว่าจะเข้าหาพวกเขาได้คือการ์ตูน

สิ่งที่ไลน์ทีวีค้นพบคือคนส่วนใหญ่ไม่ได้รับรู้ว่ามีการ์ตูนอยู่ในไลน์ทีวีด้วยทั้งๆ ที่มีโอกาสเติบโตอยู่สูงมาก จากข้อมูลพบว่าในปี 2018 ที่ผ่านมา ยอดวิวของกลุ่มการ์ตูนพุ่งสูงถึง 114 ล้านวิว โตขึ้น 115% จากปี 2017 ซึ่งมีเพียงแค่ 53 ล้านวิว ทั้งยังมีค่าเฉลี่ยการรับชม (Average Watch Time) เป็นอันดับต้นๆ

โดยทุกยอดวิวที่เกิดขึ้นผู้ชมใช้เวลาประมาณ 9.4 นาที ใกล้เคียงกับละคร แต่พฤติกรรมที่แตกต่างคือเป็นการดูซ้ำและดูแบบจริงจัง ทำให้ไลน์ทีวีหันมาให้ความสนใจกับกลุ่ม การ์ตูนอย่างจริงจัง ซึ่งเป้าหมายที่ต้องการคือการเข้าถึงกลุ่มผู้ชายอายุ 10-20 ปี และเพิ่มยอดวิวของกลุ่มการ์ตูนอีก 1 เท่าตัว

ดราก้อนบอลกับเซนต์เซย์ย่านำทัพปี 2019

จึงเป็นที่มาของการจับมือกับ การ์ตูนคลับ ที่มีประสบการณ์ดูแลลิขสิทธิ์การ์ตูนในเมืองไทยกว่า 30 ปี และมีการ์ตูนในมือกว่า 50 เรื่อง ในการนำการ์ตูนที่ดูแลลิขสิทธิ์มาลงในไลน์ทีวี โดยเริ่มต้นเซ็นสัญญาและนำคอนเทนต์มาลงตั้งแต่กลางปีที่แล้ว จำนวน 10 เรื่อง เช่น ได้แก่ One Piece / Naruto / Reborn / Gon / Pretty Cure / Dr.Slump & Arale เป็นต้น

การ์ตูนที่นำมาลงมีทั้งรีรันหลังจากออกอากาศผ่านทีวีภายในหนึ่งชั่วโมง และนำเรื่องเก่าๆ มาลงทั้งหมด เช่น รีบอร์น 200 ตอน หรือ อิคคิวซัง 50 ตอน ซึ่งหลังจากที่นำมาลงพบว่า จากยอดวิวทั้งหมดเกิดจากคอนเทนต์ของการ์ตูนคลับกว่า 41% ซึ่งเรื่องที่มียอดวิวสูงสูงสุดคือ นารูโตะ ตามมาด้วย Reborn และ วันพีซ

ปี 2019 เตรียมนำการ์ตูนชื่อดังเข้ามาเติมอีก ทั้ง ดราก้อนบอล, เซเลอร์มูน เครยอนชินจัง และ เซนต์เซย์ย่า รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ ที่ยังเปิดเผยไม่ได้ นอกจากนั้นยังวางแผนทำเอ็กซ์คลูซีฟ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเป็นเรื่องไหน โดยตั้งเป้าเพิ่มค่าเฉลี่ยการรับชมของการ์ตูนอีก 10-20%

พัลภา มาโนช หัวหน้าธุรกิจ LINE TV กล่าวว่า

การเติมคอนเทนต์การ์ตูนจะทำให้ไลน์ทีวี สามารถดึงโฆษณาสินค้าที่เป็นขนมมาได้ อีกทั้งยังเป็นการติดต่อกับสตูดิโอการ์ตูน เพื่อหาคอนเทนต์ใหม่ๆ มาเสริม ผ่านคอนเนกชั่นของการ์ตูนคลับ

ที่ผ่านมาการขายโฆษณาจะเป็นฝั่ง การ์ตูนคลับเพราะเป็นการขายพ่วงกับการฉายในทีวี โดยในส่วนของไลน์ทีวี โฆษณาที่เข้ามาจะอยู่ในรูปแบบของ Pre roll, Double Pre roll และการขึ้นโลโกมุมจอ ซึ่งจะปรากฏห่างกัน 3 นาทีต่อครั้ง

การ์ตูนคือ คอนเทนต์ที่ไม่มีวันตาย

ฟาก การ์ตูนคลับสามารถอุดช่องวางของการละเมิดสิขสิทธิ์การ์ตูนเพราะเมื่อฉายทันทีในไลน์ทีวีก็ไม่จำเป็นตัองไปอยู่ที่อื่น สิ่งที่ต้องทำคือการสร้างการรู้รับรู้ให้กับกลุ่มผู้ชมเท่านั้น

รวมไปถึงการขยายไปหาผู้ชมกลุ่มอื่นๆ ที่นอกเหนือจากอายุ 4-14 ปี ซึ่งมีสัดส่วนถึง 40% เพราะถึงผู้ชายจะชอบดูการ์ตูนก็จริง แต่ถ้าโตกว่านี้ก็มักจะมีกิจกรรมอื่นๆ ให้ทำ จึงไม่อาจตื่นตอนเช้ามาดูในทีวีได้ ซึ่งจริงๆ แล้วการที่ไม่ดูไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเลิกสนใจการ์ตูนแล้ว เพียงแต่ไม่มีเวลาเฉยๆ

นอกจากนั้นการเอาเข้าไปฉายในไลน์ทีวีไม่ได้ทำให้เรตติ้งในทีวีลดลง กลับกันตั้งแต่เอามาลง เพิ่มขึ้นอีก 10%

ธนัท ตันอนุชิตติกุล ซีอีโอ บริษัท การ์ตูนคลับ มีเดีย จำกัด กล่าวว่า

คอนเทนต์การ์ตูนโชคดีอยู่อย่างหนึ่ง คือความเป็นอมตะที่ไม่มีวันตาย แม้เวลาจะผ่านไปแค่ไหนคนที่เป็นแฟนคลับก็ยังอยู่

ปัจจุบันรายได้ของการ์ตูนคลับแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.การฉายการ์ตูนทั้งในช่องทีวี 5 ช่องคือ 9 HD, 9 Family, 3 SD, 3 Family, GMM 25, ไลน์ทีวี และช่องดาวเทียมชื่อ Cartoon Club Channel ซึ่งการ์ตูนคลับมองธุรกิจยังมีโอกาสอยู่ ด้วยเรตติ้งที่ได้ติดท็อป 20 ของช่องทีวีทั้งหมด ทั้งสามมีสัดส่วนรวมกัน 40-45%

2.จากกิจกรรมต่างๆ เช่น เข้าไปทำกิจกรรมในโรงเรียน มีสัดส่วนราว 20% และ 3.สินค้า Merchandiser 15-20% ที่เหลือมาจากอื่นๆ

เพิ่มคอนเทนต์เจาะแมส ไม่เน้นปริมาณ

ด้านภาพรวมกลยุทธ์ของไลน์ทีวีปีที่ผ่านมาเน้นการจับมือกับช่องทีวีและคอนเทนต์โพรวายเดอร์เพื่อเติมในคอนเทนต์รีรัน รวมไปถึงการเพิ่มออริจินอลคอนเทนต์และมิวสิกให้มีจำนวนมากๆ เพื่อเพิ่มผู้ชมให้เข้ามา

แต่สำหรับในปี 2019 พัลภา ฉายภาพให้เห็นถึงทิศทางไลน์ทีวี ในกลุ่มของออริจินอลคอนเทนต์ แต่ละโปรเจกต์จึงมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น แต่จำนวนจะลดลงจากปีก่อนที่มีซีรีส์ 11 เรื่องและรายการ 10 รายการ โดยปีนี้ซีรีส์อาจลดลง 3-4 เรื่อง แต่รวมๆ ซีรีส์ก็จะมากกว่ารายการอยู่ดี

ตอนต้นปีได้เริ่มฉายออริจินอลคอนเทนต์ 2 รายการคือแดร็ก เรซ ไทยแลนด์ ซีซัน 2” และสาวแปลกในเมืองป่วน Strange Girl in a Strange Land” ที่ได้ปู ไปรยา ลุนด์เบิร์ก มาแสดงนำ และมีแฟนหนุ่มของปูทำโปรดักชั่น

ทีวีรัน วางแผนขยายคอนเทนต์ให้แมส โดยอยู่ในระหว่างเจรจากับช่อง 7, ช่อง 8 และ ช่อง PPTV ในการนำคอนเทนต์มารีรัน ส่วนมิวสิกก็กำลังคุยเพิ่มเติม อาจจะได้เห็นรายการจากศิลปิน เช่น โอ๊ตปราโมทย์

แม้วันนี้จะเห็นศิลปินออกมาทำรายการติดตามชีวิตตัวเองมากขึ้น แต่ในมุมของไลน์ทีวี คอนเทนต์ประเภทนี้อาจจะไม่เหมาะ ด้วยคนดูอยากเห็นโปรดักชั่นที่มีคุณภาพ การตัดต่อ รวมไปถึงบท ซึ่งการทำรายการด้วยกล้องตัวเดียวคนดูไม่ชอบแน่ๆ

ในส่วนของแผนเพิ่มฐานผู้ชมที่เป็นผู้ชายนอกเหนือจากการ์ตูนแล้ว คอนเทนต์กีฬาก็จะนำมาเติมมากขึ้น โดยปลายปีที่ผ่านมาได้มีการทำฟุตบอลซูซูกิคัพ 2018 ถ่ายทอดสดทางไลน์ทีวี ถึงปัจจุบันจะมีคอนเทนต์ที่เหมาะกับผู้หญิง 70% แต่ไลน์ทีวีก็อยากเพิ่มของผู้ชายให้เป็น 50% ในเร็ววันนี้

นอกจากนั้นยังวางแผนเพิ่มคอนเทนต์จากต่างประเทศ โดยได้คุยกับรายการมาสเตอร์เชฟและแดร็กเรซในต่างประเทศ รวมไปถึงซีรีส์จากจีนและไต้หวัน ซึ่งการหาคอนเทนต์มาเติมเยอะๆพัลภาอธิบายว่า เพื่อเป็นการรักษายอดแอคทีฟ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับไลน์ทีวีอย่างมาก นอกจากคอนเทนต์แล้วจึงต้องทำการตลาด โปรโมตต่อเนื่อง

แต่สิ่งที่มากไปกว่านั้นคือการรับมือกับการแข่งขันที่นับวันยิ่งรุนแรงและมีผู้เล่นหน้าใหม่ที่จะทยอยเปิดตัวให้เห็นอีก ซึ่งไลน์ทีวีก็มั่นใจในจุดแข็งที่รู้ความต้องการของคนไทยเป็นอย่างดี จึงไม่กังวลมากนัก.

]]>
1208608