ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 03 Aug 2022 10:25:35 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สรุปภาพ ‘โซเชียลมีเดีย’ ครึ่งปีแรก สำหรับ ‘แบรนด์’ เตรียมพร้อม รับมือช่วงเวลาที่เหลือ https://positioningmag.com/1394817 Wed, 03 Aug 2022 09:58:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394817 จากข้อมูลของ We Are Social พบว่าช่วง 6 เดือนแรกคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 9.06 ชั่วโมงต่อวัน สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก เฉพาะเวลาที่ใช้กับโซเชียลมีเดียอยู่ที่ 2.59 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 2.27 ชั่วโมงต่อวัน โดยไทยอยู่อันดับ 15 ร่วงลงมาจาก Top 5 เมื่อเทียบกับช่วง 2-3 ปีก่อนหน้า โดยแนวโน้มชี้ไปว่าคนไทยเริ่มใช้โซเชียลมีเดียน้อยลง

ในส่วนของโซเชียลมีเดียยอดนิยมของไทย 5 ปีหลังพบว่า YouTube แซง Facebook ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ส่วน Line อยู่อันดับ 3 ตามด้วย Facebook Messenger เป็นอันดับ 4 ขณะที่ TikTok มาแรงแซงทั้ง Instagram และ Twitter

Facebook ไม่ได้ Dominated โซเชียลอีกต่อไป

ในส่วนของแพลตฟอร์มที่มีแบรนด์เปิดบัญชีทางการของตัวเองมากที่สุดในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2022 ได้แก่

  • Facebook 99%
  • Instagram 65%
  • YouTube 53%
  • Twitter 33%

“ตัวเลขของ Facebook ไม่เปลี่ยนมานาน มันกลายเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกแบรนด์ต้องมี ที่น่าสนใจคือ YouTube กับ Instagram ที่เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงในแง่เอ็นเกจเมนต์ด้วย แปลว่า Facebook ไม่ได้ dominated แบรนด์เริ่มกระจายไปยังแพลตฟอร์มอื่นแล้ว” กล้า ตั้งสุวรรณ Chief Executive Officer, Wisesight

อย่าสนใจ Like ให้สนรีแอคชั่นอื่น ๆ

จำนวนการกดไลก์เริ่มลดลงจาก 98% เหลือ 96% เนื่องจากผู้ใช้เริ่มกดอีโมชั่นอื่น ๆ มากขึ้น แปลว่า ไลก์ไม่ใช่ตัวชี้วัดอีกต่อไป แต่รีแอคชั่นอื่น ๆ มีความหมายมากขึ้น เพราะไลก์เป็นปุ่มที่กดง่ายที่สุด ดังนั้น ไม่มีความหมายอะไรทั้งนั้น

“ไลก์เยอะไม่ได้แปลว่าดี เพราะมันกดง่าย แต่ควรใส่ใจกับอีโมชั่นอื่น ไม่ว่าจะ Love หรือ Angry”

แบรนด์ทำคอนเทนต์เองมากกว่าจ้าง

จำนวนคอนเทนต์ของแบรนด์ในโลกโซเชียลมีปริมาณเพิ่มขึ้น 10.2% จาก 222,000 โพสต์ต่อเดือน เป็น 225,000 โพสต์ต่อเดือน แต่ที่ เอเจนซี่ กลับยิ่งเหนื่อยเป็นเพราะ แบรนด์ผลิตเอง เลือกที่จะไม่จ้างเอเจนซี่เนื่องจากต้องการ ประหยัดงบ ขณะที่อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทำก็หาได้ง่ายในราคาที่ไม่แพง

คนพิมพ์สั้นลงแต่โพสต์เยอะขึ้น

ชาวโซเชียลในปัจจุบันมีพฤติกรรมที่ชอบโพสต์ แต่พิมพ์ข้อความน้อยลง เนื่องจากกลัวว่าจะถูกมองว่า ไม่เรียล หรือถูกมองว่า โดนจ้างโพสต์ ซึ่งแปลว่าจากนี้ แบรนด์จะจับพฤติกรรมผู้บริโภคได้ยากขึ้นหากยังยึดติดกับ คีย์เวิร์ด หรือ แฮชแท็ก ดังนั้น แบรนด์อาจต้องหาเอไอจับโลโก้ เป็นต้น

“เรานึกภาพของโซเชียลมีเดียช่วง 3 เดือนก่อนไม่ออกด้วยซ้ำ เพราะอุตสาหกรรมดิจิทัลมีเดียเปลี่ยนแปลงเร็วมาก คงมีแค่ตลาดคริปโตฯ ที่เปลี่ยนเร็วกว่า และพฤติกรรมใหม่ ๆ ของผู้บริโภคถือเป็นสัญญาณที่ทำให้แบรนด์เข้าใจผู้บริโภคได้น้อยลง ถ้ายังวนเวียนกับคำว่าคีย์เวิร์ด”

]]>
1394817
เปิด 5 เทรนด์โฆษณาน่าจับตามองแห่งปี 2020 Creative ต้องมาคู่ Data https://positioningmag.com/1260380 Tue, 14 Jan 2020 04:12:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260380 CJ WORX เปิด 5 เทรนด์โฆษณาในปี 2020 ที่นักการตลาด และผู้บริโภคไม่ควรพลาด ปีที่ขึ้นชื่อว่าเป็นการเผาจริง ปีที่เจอกับความท้าทายต่างๆ มากมายรอบด้าน โดยที่ Data ยังคงเป็นสิ่งสำคัญมาเป็นอันดับต้นๆ อยู่

ในช่วงปลายปี 2019 หลายคนคงได้เห็นสัญญาณด้านเศรษฐกิจต่างๆ มากมาย และในปี 2020 สัญญาณล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยจากเดิม 3.3% เหลือ 2.8% ในขณะที่ปีนี้เหลือเพียง 2.5% สะท้อนให้เห็นว่า การแข่งขันเพื่อการอยู่รอดจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นอะไรที่ไม่ใช่ตัวจริง อาจต้องโบกมือบ๊ายบายแน่

โดยที่ จิณณ์ เผ่าประไพ Chairman And Founder  บริษัท CJ WORX ให้ข้อมูลเทรนด์วงการโฆษณาและธุรกิจที่น่าจับตามองไว้ดังนี้…

  1. DATA ที่ทรงพลังต้องคู่กับ CREATIVTY

ในไทยหลักๆ DATA ที่ได้ยินกันบ่อยๆ จะเป็นเรื่อง Big DATA แต่ส่วนใหญ่เป็นแค่การใช้ Media DATA เพื่อนำมายิงโฆษณาแบบ Retargeting ในช่องทางต่างๆ ผลที่ตามมาคือ ผู้บริโภครู้สึกไม่ดีกับแบรนด์ เพราะไปขัดขวางความสนใจในการเสพคอนเทนต์ ดังนั้นทิศทางในการโฆษณาจึงจำเป็นต้องนำ DATA ที่มีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคเฉพาะราย มานำเสนอให้สอดคล้องกับโฆษณามากขึ้น

เมื่อมีการใช้ถังรวบรวมข้อมูลทั้งหลายอย่าง DMP (DATA Management Platform) เข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อยู่ในโลกออนไลน์ จะสามารถนำมาคาดการณ์และปรับการสื่อสารให้กับเข้าผู้บริโภครายนั้นๆ เพื่อให้เกิดการต้องการสินค้าและซื้อในที่สุด

“DMP ที่ฉลาด ขาดไม่ได้คือคนมีประสบการณ์และความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบชิ้นงานโฆษณา เพื่อรองรับพฤติกรรมของคนได้แบบเรียลไทม์ ทำให้เกิด Hyper-Personalization ไม่ใช่การคาดการณ์พฤติกรรมแบบเป็นกลุ่ม แต่เป็นการลงลึกในรายบุคคล”

  1. New Era Chatbot ไม่ทำให้หงุดหงิดเพราะใช้จิตวิทยาเข้าช่วย

ที่ผ่านมา CJ WORX มีการใช้หลักจิตวิทยาในด้านการออกแบบเว็บไซต์ UX, UI เพื่อให้รู้สึกเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน และตอบสนองต่อพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงเร็วบนโลกออนไลน์ได้แค่ปลายนิ้วคลิก แต่ปี 2020 นับว่าจะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของ Chatbot เพราะ CJ WORX จะมีการใช้จิตวิทยาเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบคำถามและคำตอบ

เพื่อให้เกิดความเป็นมิตรกับลูกค้าและรู้สึกดี แทนที่ความรู้สึกไม่ประทับใจจากการคุยกับหุ่นยนต์ การนำจิตวิทยาเข้ามามีส่วนในยุคใหม่ของ Chatbot นี้ เน้นการลงลึกในรายละเอียดคำถามและคำตอบให้เกิดความชัดเจนมากกว่าความหมายกว้างๆ ขณะเดียวกันภาษาที่ใช้ ก็มีความเข้าใจง่ายและเป็นมิตร เหมือนคุยกับพนักงานที่เป็นคนจริงๆ

3.​ ผนึกพลังหลาก Channel หลาย Message ส่งต่อแบรนด์ปัง

ที่ผ่านมาคงเคยได้ยินว่าในต่างประเทศมีการใช้สื่อในการโฆษณาที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม อย่าง Omni Channel ที่เป็นการทำโฆษณาหลากหลายช่องทาง และมี Message ที่แตกต่างกัน เพื่อเป็นการเพิ่มความถี่ในการรับรู้ถึงแบรนด์ซ้ำๆ แต่ทุกช่องทางจะมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ วกกลับไปที่แบรนด์หรือโปรดักต์นั่นเอง

อินไซต์พฤติกรรมของผู้บริโภคคือ ไม่ดูซ้ำรอบที่สอง ประกอบกับความรู้ความเข้าใจใน Omni Channel ยังไม่มากนักเท่ากับต่างประเทศ ส่วนใหญ่ก็จะทำแคมเปญกับคลิป VDO และ SOCIAL CAMPAIGN แต่เชื่อว่าในปี 2020 จะเป็นเทรนด์ที่จะกระตุกให้ผู้บริโภคหันมาสนใจในแบรนด์ได้อย่างอยู่หมัด คือ หลาย Message หลาย Channel

อย่างปรากฏการณ์ ฮาวทูทิ้งในช่วงนี้ ที่มีการทำคอนเทนต์ที่หลากหลายนอกเหนือจากการโปรโมตภาพยนตร์ ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไรไม่ให้เหลือเธอ แต่ยังแตกไปหลายประเด็นและ Message  ไปหลากหลายตีโจทย์ไปเรื่องการทิ้ง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม และประเด็นอื่นๆ ที่แตกต่างกันไปตามไอเดียสร้างสรรค์

  1. เมิน Hard Sale เน้นสร้างภาพจำผ่าน Brand Experience

การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค ที่ไม่เน้นการสร้างยอดขายโปรดักต์ของแบรนด์ แต่เน้นการสร้างประสบการณ์ร่วม สร้างภาพจำกับแบรนด์ ว่าอยากให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์อย่างไร โดยใช้ช่องทางการโฆษณาในรูปแบบต่างๆ สื่อสารออกไป ให้ภาพลักษณ์โดยรวมขององค์กรดีขึ้น

ในต่างประเทศมีมาสักพักแล้ว แต่ในไทยยังไม่เห็นมากนัก ส่วนใหญ่จะเน้นการสร้างภาพยนตร์โฆษณา แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาใช้รูปแบบโฆษณาที่แปลกๆ และหลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างงานล่าสุดของ AP Thai ที่มีแคมเปญ #รูปนี้แม่ถ่าย #รูปนี้พ่อถ่าย เป็นการแบ่งปันประสบการณ์ที่แบรนด์เชื่อมั่นว่า บ้านไม่ใช่แค่สถานที่ให้อยู่อาศัย แต่เป็นที่ไหนก็ได้ที่สมาชิกในบ้านได้ใช้เวลาร่วมกัน เราจึงอยากให้พ่อแม่และลูกกลับมาใกล้ชิดกัน โดยพาพวกท่านออกไปถ่ายรูปตามวิถีคนรุ่นใหม่ และสร้างประสบการณ์ร่วมกัน นี่คือสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำแบรนด์ได้ดี

  1. ธุรกิจแนวใหม่จาก Product Channel ยิ่งแปลกยิ่งแตกต่าง

การพัฒนาจาก Media Channel กลายเป็น Product Channel ที่มีช่องทางการสื่อสารและมีผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง อาทิ Line , Grab Food , Uber Eat ฯลฯ แม้ว่าสองรายหลังนี้ เป็นสายเดลิเวอรีอาหาร แต่ถือว่าเป็น Product Channel เป็นศูนย์กลางหรือ Hub ที่มีหลายๆ แบรนด์ (Multi Brand) รวมอยู่ในช่องทางนี้ สร้างโอกาสทางธุรกิจเนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากแบรนด์ต่างๆ รวมอยู่ในที่เดียว

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ Grab Restaurant ในต่างประเทศ ที่มีการปรับปรุงห้องแถว 1 ห้องให้กลายเป็นภัตตาคารตามสไตล์ต่างๆ ที่สำคัญคือไม่มีครัว แต่ลูกค้าสามารถสั่งอาหารอะไรก็ได้ นับร้อยและพันเมนูจากร้านดังในออนไลน์ที่ร่วมมือกันให้ปรุงอาหารและมาส่งให้ที่ภัตตาคารแห่งนี้

จึงนับว่าเป็นธุรกิจแบบใหม่ ประเภท Product Channel ที่ไม่ใช่การโฆษณา โดยฮับนี้มีหลากหลายแบรนด์ ผสมผสานทางกายภาพและเรื่องออนไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้บริโภคได้ประสบการณ์จากการสัมผัสจริงๆ แต่มีวิธีของการออนไลน์เข้ามาเชื่อมต่อกัน

]]>
1260380
“พฤกษา” ชูเทคโนโลยี-อาวุธดิจิทัลสู้ศึกอสังหาฯ https://positioningmag.com/1215961 Sat, 23 Feb 2019 02:57:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1215961 หลังจากประกาศนโยบายขับเคลื่อนองค์กรผ่าน Digital Transformation ในปีที่ผ่านมา ปีนี้ “พฤกษา” พร้อมเดินหน้าต่อด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือ  Inno-Tech ตอบโจทย์ลูกค้าด้วยการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาปรับใช้ในทุกกระบวนการทำงาน ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ เพื่อรักษาผู้นำในตลาดอสังหาฯ และรับมือสถานการณ์การแข่งขันที่เข้มข้น

สุพัตรา เป้าเปี่ยมทรัพย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในปี 2561 พฤกษาทำยอดขายได้ 51,101 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 25 ปี นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท เติบโต 7.5% จากปีก่อน มีรายได้อยู่ที่ 44,901 ล้านบาท เติบโต 2.2% และมีกำไรสุทธิ 6,022 ล้านบาท เติบโต  10.4%

ด้วยนโยบาย Digital Transformation นำเทคโนโลยีและเครื่องมือ “ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง” มาทำการตลาดในปีที่ผ่านมา พบว่ายอดขาย 50% หรือ 25,000 ล้านบาท มาจากลูกค้าที่ทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ โดยได้ฐานลูกค้าใหม่กว่า 4 แสนราย ที่จะมาต่อยอดในปีนี้  และปีที่ผ่านมาเว็บไซต์พฤกษามียอดผู้เยี่ยมชมเป็นอันดับ 1 ในธุรกิจอสังหาฯ กว่า 12 ล้านครั้ง  

ปีนี้จึงเดินหน้าให้ “อาวุธ” ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง ต่อเนื่อง โดยเปิดตัว แอปพลิเคชั่น Pruksa The Living ให้บริการด้านที่อยู่อาศัยภายในแอปเดียว ตั้งแต่เริ่มค้นหาที่อยู่อาศัย ข่าวสารและโปรโมชั่น ไปจนถึงการตรวจรับบ้านและเข้าอยู่อาศัย ได้แก่ การชำระค่าผ่อนดาวน์ รวมไปถึงระบบ Smart Home , Smart Facilities (จองพื้นที่ส่วนกลาง), Mail&Parcel แจ้งเตือนรับจดหมายหรือพัสดุ  โดยจะให้บริการลูกบ้านพฤกษา สมาชิก และในอนาคตจะให้เซอร์วิสบุคคลทั่วไป โดยมีพันธมิตรthird party เข้ามาร่วมให้บริการ

นอกจากนี้จะนำ Big Data ที่มีอยู่มาวิเคราะห์พฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของลูกค้า เพื่อนำมาใช้พัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ การนำข้อมูลมาพัฒนาโปรดักต์และ Innovation Design สำหรับที่อยู่อาศัยเพื่อสร้างความแตกต่างและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ตรงกับความต้องการมากขึ้น

“การใช้ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ในทุก Customer Journey  และเฉพาะเจาะจงในกลุ่มที่มีความสนใจ  รวมทั้งพัฒนาด้านการบริการด้วยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้แข่งขันในธุรกิจอสังหาฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ปีที่ผ่านมาพฤกษาใช้งบประมาณด้านดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง เพิ่มขึ้น “สองเท่าตัว” จากปี 2560  ปีนี้จะจัดสรรงบเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 30%  

โดยมองว่าเทรนด์อสังหาฯ ในปี 2562 จะเป็นการแข่งขันด้าน  สมาร์ท ลิฟวิ่งและสมาร์ท โฮม  รวมทั้งด้าน Co-living และบ้านมือสอง ซึ่งพฤกษา มองโอกาสที่จะเข้าไปทำตลาดตอบสนองความต้องการผู้บริโภคในทุกตลาดเช่นกัน

ปี 62 ยอดขาย 5.4 หมื่นล้าน

แม้ปีนี้การแข่งขันในธุรกิจอสังหาฯ ยังคงเข้มข้น รวมทั้งมีปัจจัยมาตรการควบคุมสินเชื่อ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จะประกาศใช้ในเดือนเมษายนนี้  แต่มองว่าภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยปีนี้ยังเติบโตได้ 5% เนื่องจากยังมีเรียล ดีมานด์  โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ซึ่งมีประชากร 16 ล้านคน แต่มีผู้ลงทะเบียนมีบ้าน 11 ล้านคน  ดังนั้นอีก 5 ล้านคนจึงเป็นโอกาสที่จะทำตลาดได้  

ดังนั้นปี 2562 พฤกษาตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 54,000 ล้านบาท เติบโต 5.7% รายได้ 47,000 ล้านบาท เติบโต 4.7% โดยมาจากแผนการเปิดโครงการใหม่ 55 โครงการ มูลค่า 68,100ล้านบาท มียอดขายที่รอรับรู้ราย ณ สิ้นปี 2561 ที่ 33,233 ล้านบาท ซึ่งเป็นยอดสูงสุดเท่าที่ผ่านมาและเป็นยอดขายรอรับรู้รายได้ในปี 2562 อยู่ที่ 21,638 ล้านบาท

กลยุทธ์หลักในปี 2562 มุ่งรักษาความเป็นผู้นำอันดับ 1 อย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนปรับ Portfolio ของกลุ่มธุรกิจทาวน์เฮาส์ เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มระดับกลางบนเพิ่มมากขึ้น และขยายโครงการใหม่ไปยังต่างจังหวัดที่มีศักยภาพ อาทิ ขอนแก่น ระยอง สระบุรี และนครปฐม พร้อมรักษาฐานลูกค้าเดิมในตลาดแวลู

ปีนี้มีแผนเปิดตัวโครงการไฮไลต์หลายโครงการ อาทิ โครงการบ้านเดี่ยวสำหรับกลุ่มตลาดบนกับแบรนด์ The Palm รวมถึงมีการนำแบรนด์ IVY กลับมาพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์มากขึ้น

เปิดแบรนด์ใหม่ Chapter

ในปีที่ผ่านมาพฤกษาได้ทำการรีแบรนด์ในรอบ 25 ปี ปรับ Portfolio แบรนด์ที่อยู่อาศัยที่มี 48 แบรนด์ ให้เหลือ 13 แบรนด์ตรงกับกลุ่มเป้าหมายโปรดักต์ บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์และคอนโดมิเนียม

แต่ปีนี้โปรดักต์คอนโดมิเนียมกลุ่มพรีเมียม จะถือเป็นตลาดหลักผลักดันการเติบโต เนื่องจากตลาดระดับกลางจะอยู่ในภาวะทรงตัว ขณะที่คอนโดมิเนียมลักชัวรี่ ราคา 3 แสนบาทต่อตารางเมตร มีการเปิดตัวจำนวนมากในช่วง 1-2 ปีก่อนและกำลังซื้อถูกดูดซับไปมากแล้ว

ดังนั้นเพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำตลาดพรีเมียม พฤกษาจึงเตรียมเปิดตัวแบรนด์ใหม่ Chapter ซึ่งเป็นการขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าในระดับราคา 5-10 ล้านบาท ซึ่งเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ เป็นราคาที่ยังมีโอกาสในการทำตลาด และทำให้กลุ่มพรีเมียมมีโปรดักต์ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  จากปัจจุบันมีแบรนด์ Chapter One ราคา 3-5 ล้านบาท และแบรนด์ The Reserve ราคามากกว่า 10 ล้านบาท.

]]>
1215961
แนะ 9 วิธีทำคอนเทนต์โดนใจยุค Content Tsunami https://positioningmag.com/1205952 Tue, 01 Jan 2019 05:45:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1205952 ในทุกวันนี้ที่ใครๆ ก็สามารถใช้เครื่องมือง่ายๆ ทำคอนเทนต์ด้วยตัวเอง เพียงแค่หยิบมือถือขึ้นมาถ่ายรูปก็สร้างคอนเทนต์ได้แล้ว หรือจะตัดต่อวิดีโอหรือใช้โปรแกรมแต่งรูปทำอาร์ตเวิร์กสวยๆ สามารถดาวน์โหลดแอปมาใช้กันได้แบบฟรีๆ 

ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า “Content Tsunami” คือการมีคอนเทนต์มากมายเกินกว่าจะเสพได้ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุกเพจ, ไลน์แอด, ยูทูบ, อินสตาแกรม และกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ ที่มาพร้อมคอนเทนต์มากมายมหาศาล รวมทั้งข่าวดราม่าที่เกิดขึ้นทุกวัน และแคมเปญที่สร้างกระแสกันได้ไม่หยุดหย่อนจนทำให้ผู้คนเกิดอาการสำลักคอนเทนต์ เบื่อหน่าย หรือรำคาญไปตามๆ กัน และทำให้เกิดการเลือกเสพเฉพาะคอนเทนต์ที่ต้องการเท่านั้น

ส่วนที่ไม่ต้องการก็ปฏิเสธทิ้งไป การคัดสรรนี้ทำได้ด้วย “คน” ด้วยการ Unlike, Unfollow , Block หรือด้วย “แพลตฟอร์ม” ที่เกิดขึ้นแล้วคือ Facebook และ Instragram ที่ใช้ Algorithm มาเลือกคอนเทนต์

นี่คือสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในวันนี้และจะรุนแรงขึ้นในปีหน้า “ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง” ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง จึงได้นำเสนอการสร้างสรรค์คอนเทนต์แบบโดนใจ ไม่โดนเทหรือโดนทิ้ง ในวันที่ Content Marketing กำลังเข้าสู่สภาวะการแข่งขันกันอย่างหนักหน่วงยิ่งขึ้น โดยมี 9 ข้อปฏิบัติ ดังนี้

1. “สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่า”

แบรนด์หรือธุรกิจต้องเข้าใจว่า “คอนเทนต์ที่มีคุณค่า” ไม่ได้วัดจากจำนวนยอดไลก์หรือยอดแชร์ แต่อยู่ที่ “เป้าหมายที่แท้จริง” ของแบรนด์หรือธุรกิจ นั่นคือ “ต้องขายของได้” หรือ “สร้างยอดขาย” ดังนั้นต้องไม่ลืมจุดแข็ง ไม่ลืมคุณค่าที่แท้จริงของแบรนด์หรือธุรกิจ

2. “สร้าง Content Uniqueness“

ต้องเป็นคอนเทนต์ซึ่งมีจุดขายที่แตกต่างมีความเป็นเอกลักษณ์ ไม่จำเป็นต้องเกาะกระแสอย่างในอดีตหรือทำตามๆ กัน ไม่เช่นนั้นผู้บริโภคจะจำไม่ได้หรือแยกไม่ออก

โดยคอนเทนต์ดีๆ หรือ “จับใจ” ลูกค้ามีสองเรื่อง เรื่องแรก ต้องเป็นเรื่องที่เขาแคร์หรือให้คุณค่า ถ้าเนื้อหานี้เป็นสิ่งที่คนอื่นทำไม่ได้หรือพูดยาก เป็นจุดแข็งของแบรนด์ที่ต้องเก็บไว้ แม้ว่าจะมีคนอ่านน้อย และเรื่องสอง พูดหรือพรีเซนต์ได้อย่างน่าสนใจ เช่น การคัดสรรคอนเทนต์เฉพาะเรื่องที่ดึงจุดแข็งของแบรนด์, การนำเสนอผ่านการจัดวาง, การใช้สี และการใช้ภาพ อย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

3. “ทำ Content Strategy”

การทำคอนเทนต์ที่ผ่านมาโดยภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กมักจะทำคอนเทนต์แบบลูบหน้าปะจมูก โดยคิดเพียงว่าคอนเทนต์อะไรก็ได้ที่มาใส่ให้มีความเคลื่อนไหวในเพจหรือเว็บไซต์

แต่ต่อไปจะเกิดการทำคอนเทนต์อย่างมีกลยุทธ์ โดยต้องใช้วิธีการคิดภายใต้ 4 คำถามสำคัญ ให้ได้คำตอบที่ชัดเจน ได้แก่ “why” ต้องรู้ก่อนว่าจะทำคอนเทนต์ไปทำไม เพื่ออะไร ธุรกิจได้ประโยชน์อะไร “who” ปัญหานี้เกิดกับใคร จะสื่อสารถึงใคร “what” จะสื่อสารในเรื่องอะไรและ ”How” จะสื่อสารอย่างไร หมายความว่าแบรนด์หรือธุรกิจต้องจริงจังและชัดเจนว่า ลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการไปแก้ปัญหาให้เขาคือใคร ลูกค้าที่เราจะไปคุยด้วยคือใคร แล้วจึงคิดว่าเนื้อหาที่จะคุยกับลูกค้ากลุ่มนี้คือเรื่องอะไร และค่อยตอบว่าจะเล่าให้เขาฟังด้วยวิธีใด

4. “สร้างคอนเทนต์โดยไม่หวัง Viral / Mass Impact”

เนื่องจากคอนเทนต์ที่มีมากและการเข้าถึงคอนเทนต์หลากหลายมาก จึงไม่ควรคาดหวังกลุ่มแมส แบรนด์หรือธุรกิจมักจะติดกับความคิดว่าต้องให้คนเห็นมากๆ แล้วจะขายดี ซึ่งไม่ใช่เรื่องเดียวกัน จึงควรหาวิธีทำคอนเทนต์ที่มุ่งกลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่ม เมื่อมีเวลาและเงินจำกัดขณะที่การแข่งขันสูงมาก จึงต้องใช้เวลาและเงินให้คุ้มค่าที่สุดกับกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงเท่านั้น

5. “ลงทุนโปรโมตคอนเทนต์

ในวันนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การ Boost Post เพื่อให้เกิดการแชร์

6. “ใช้ Data กับ Content”

ป็นการใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ เพราะการโปรโมตคอนเทนต์ทำให้ได้ข้อมูลต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ในตอนหลัง เช่น การ retarget ด้วยการปล่อยโฆษณาซ้ำกลับไปยังเป้าหมายที่แท้จริงที่ชอบหรือสนใจสินค้า หลังจากที่ปล่อยโฆษณาครั้งแรกออกไป เพื่อให้สามารถขายสินค้าได้

7. “สร้าง Content Ecosystem”

เพื่อให้การสื่อสารของธุรกิจหรือแบรนด์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งเท่านั้น เพราะจะมีผลกระทบอย่างมากหากเกิดอะไรขึ้น เช่น เมื่อเฟซบุ๊กลด Reach และปรับ Algorithm ทำให้เกิดผลกระทบกับผู้ใช้เฟซบุ๊กไม่น้อย จึงต้องกระจายความเสี่ยงด้วยการใช้แพลตฟอร์มอื่นๆ เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายด้วย

8. “Paid-Own-Earn Content“

เนื่องจากสื่อที่มีมากทั้ง Paid Media เช่น เฟซบุ๊กแอด กูเกิลแอด เป็นโฆษณาที่ธุรกิจและแบรนด์เข้าไปหาลูกค้า หรือ Own Media เช่น เว็บไซต์, เฟซบุ๊ก, ไลน์แอดที่เป็นของธุรกิจหรือแบรนด์

ขณะที่คนที่เสพคอนเทนต์แต่ละแบบมีความคาดหวังต่างกัน ดังนั้นจึงต้องใช้คอนเทนต์ที่แตกต่างกัน เช่น คอนเทนต์เฟซบุ๊กแอดเจาะกลุ่มเป้าหมายโดยตรง อย่างกลุ่มเป้าหมายที่เคยซื้อสินค้าอยู่แล้ว คอนเทนต์ที่พูดด้วยเจ้าของแบรนด์ หรือการให้อินฟลูเอนเซอร์หรือบล็อกเกอร์ช่วยโปรโมตร้านค้า หรือคอนเทนต์ที่โพสต์เฟซบุ๊กปกติแล้วบูตส์โพสต์ ต้องเป็นคอนเทนต์ที่ต่างกัน ไม่ใช่มีคอนเทนต์เดียวแล้วใช้กับทุกช่องทาง

9. “ต้อง Content Experience”

เพราะประสบการณ์มีความสำคัญ เนื่องจากคอนเทนต์ไม่ใช่ทุกอย่างของธุรกิจหรือแบรนด์ แต่เป็นเพียงกลยุทธ์หนึ่งของธุรกิจหรือแบรนด์เท่านั้น เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ “การสื่อสาร” เท่านั้น ยังมีส่วนอื่นที่ต้องทำอีกมาก ความจริง “ประสบการณ์ที่ดี” ต่างหากที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้า จนถึงวันที่เป็นลูกค้า วันที่มีปัญหา วันที่ได้รับการแก้ปัญหา ตลอดเส้นทางที่ได้รับประสบการณ์จากธุรกิจและแบรนด์มีความสำคัญ

ทั้งหมดนี้เป็นแนวโน้มความเคลื่อนไหวของ Content Marketing ที่จะเกิดขึ้นในปี 2562 ซึ่งธุรกิจและแบรนด์ต้องเตรียมตัวให้พร้อม.

]]>
1205952
เปิดพฤติกรรมคุณแม่ไทยช้อปออนไลน์สนั่น เฟซบุ๊ก Lazada Shopee LINE ช่องทางยอดนิยม แบรนด์อยากทำตลาดต้องเน้นดิจิทัลเท่านั้น https://positioningmag.com/1203343 Mon, 17 Dec 2018 12:00:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1203343 theasianparent.com เว็บไซต์ครอบครัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผยผลการศึกษาพฤติกรรมการเสพสื่อของคุณแม่เอเชียยุคใหม่ประจำปี จากการใช้จ่ายในครัวเรือนของกลุ่มคุณแม่ไทย พบเป็นผู้ทรงอิทธิพลในการซื้อของเข้าบ้าน และมีพฤติกรรมช้อปออนไลน์สูง ช่องทางโซเชียลมีเดีย Facebook และ LINE ติดอันดับยอดนิยม

กลุ่มคุณแม่ไทย นับเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงและเป็นเป้าหมายทางการตลาดที่น่าจับตามอง ครอบคลุมทุกผลิตภัณท์และบริการตั้งแต่ผลิตภัณท์สำหรับลูกน้อย ยันสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกันทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   

ในเรื่องของการใช้อินเทอร์เน็ตของคุณแม่ไทยรวมทั้งการใช้ชีวิตในรูปแบบดิจิทัล ได้เพิ่มจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายและเป็นโอกาสสำหรับนักการตลาดในการที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ เพราะเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อสูง ไม่ได้ซื้อเฉพาะสำหรับตนเองเท่านั้น แต่รวมถึงทุกคนในครอบครัว โดยการทำการตลาดให้เข้าถึงกลุ่มคุณแม่ในปัจจุบันนี้ จำเป็นต้องเน้นในเรื่องของดิจิทัลเป็นลำดับแรก

พิลาวรรณ วานิชชินชัย Deputy Country Manager กล่าว จากการสุ่มสำรวจคุณแม่กลุ่มตัวอย่างจำนวนกว่า 1,000 คน โดยการทำแบบประเมินทางออนไลน์ ผลสำรวจออกมาน่าสนใจดังนี้

คุณแม่ส่วนใหญ่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ โดยใช้งานมากถึง 46.69% เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน (20.75%) ซึ่งเวลาส่วนใหญ่จะใช้ไปกับการท่องโซเชียลมากที่สุด (77.10%) รองลงมาจะเป็นการเข้าไปหาข้อมูลตามเว็บไซต์เกี่ยวกับครอบครัว (Parenting Sites) (75.31%) ถัดมาคือ ซื้อของออนไลน์ (62.43%) เสิร์ชหาข้อมูลทั่วไปทางอินเทอร์เน็ต (42.58%) เช็กอีเมล (37.57%) และเรื่องอื่นๆ (4.29%) ตามลำดับ

ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หาข้อมูล (91.95%) โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมงต่อวัน ถัดมาเป็นคอมพิวเตอร์ (7.51%) ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละวัน และแท็บเล็ต (0.54%) ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมงในแต่ละวันเช่นกัน ระบบปฏิบัติการที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นแอนดรอยด์ อยู่ที่ 70.66% ในขณะที่ ios มีเพียง 29.34% เท่านั้น แต่หากแยกโทรศัพท์ออกเป็นแบรนด์ต่างๆ พบว่า อันดับหนึ่งที่มีผู้ใช้มากที่สุด คือ iPhone (29.34%) ตามมาด้วย Samsung (26.30%) Vivo (12.16%) และ Huawei (9.48%) ตามลำดับ

ประเภทของบทความที่คุณแม่ได้ติดตามบนโซเชียลมีเดีย และมีการเปิดอ่านอยู่บ่อยครั้ง 5 อันดับ ได้แก่ ครอบครัวและเด็ก (85.69%) อาหาร (63.86%) แฟชั่นและความงาม (38.82%) รีวิวสินค้าต่างๆ (38.28%) และการท่องเที่ยว (36.31%) ตามลำดับ

สำหรับบทความเกี่ยวกับครอบครัวและเด็ก บทความที่คุณแม่อ่านบ่อยที่สุด คือ เรื่องพัฒนาการของทารกและเด็ก (75.85%) รองลงมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพและโภชนาการ (62.43%) ถัดมาเป็นเรื่องการศึกษา (43.11%) ตามลำดับ

ในกรณีที่คุณแม่มีปัญหาหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับครอบครัวและเด็ก ส่วนใหญ่จะเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์/แอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับครอบครัว (76.03%) ค้นหาข้อมูลจากการเสิร์ช (68.69%) สอบถามจากบุคคลใกล้ชิด (57.25%) ถามจากหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ (51.88%)  และดูตามโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก และเฟซบุ๊กกรุ๊ป (44.72%)

แอปพลิเคชั่นที่คุณแม่มักใช้ในการสื่อสารส่วนมากเป็น LINE (89.45%) และ Facebook Messenger (89.27%) ถัดมาจะเป็น Instagram (20.39%) WhatsApp (2.33%) และ Wechat (2.15%) ตามลำดับ โดยที่แม่ส่วนใหญ่มักจะชอบเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับคุณแม่ท่านอื่นๆ ผ่านกลุ่มของเฟซบุ๊กหรือชุมชนออนไลน์ต่างๆ เกือบตลอดทั้งวัน (30.05%) ทั้งยังมีบัญชีโซเชียล (Social Media Accounts) ที่เป็น Facebook มากเป็นอันดับหนึ่ง (97.50%) รองลงมาเป็น LINE (93.02%) ที่ต่างจากกันเพียงเล็กน้อย ถัดมาเป็น Instagram (60.11%) YouTube (55.46%) Twitter (20.39%) ตามลำดับ

การติดตามโซเชียลมีเดียของสินค้าและบริการแบรนด์ต่างๆ นั้น คุณแม่มักจะติดตามเพราะต้องการอัปเดตสินค้าล่าสุดหรือข้อเสนอใหม่ๆ เป็นอันดับแรก (77.10%) รองลงมา คือ ต้องการทราบถึงโปรโมชั่น และส่วนลดต่างๆ (74.42%)

สำหรับประเภทของสินค้าหรือบริการที่คุณแม่ติดตามมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ สินค้าเด็ก (87.30%) สินค้าแฟชั่นและของออนไลน์ (57.96%) อาหาร (52.95%) สุขภาพ (41.68%) และการท่องเที่ยว (36.49%) ตามลำดับ

เวลาคุณแม่ค้นหาข้อมูลของสินค้าหรือบริการสำหรับเด็ก คุณแม่มักจะทำการเสิร์ชหาข้อมูล/ดูรีวิวสินค้าหรือบริการเป็นอันดับแรก (74.42%) ถัดมาจะดูจากเว็บไซต์/แอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับครอบครัว (70.13%) ดูจากโซเชียลมีเดีย (55.10%) และสอบถามจากบุคคลใกล้ชิด (41.86%) โดยก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการมักจะทำการเสิร์ชหาข้อมูล/ดูรีวิวสินค้าหรือบริการเป็นอันดับแรกเช่นเดียวกัน (62.97%) ถัดมาจะดูตามเว็บไซต์/แอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับครอบครัว (58.14%) และสอบถามจากบุคคลใกล้ชิด (49.91%)

ทางด้านของการซื้อสินค้าออนไลน์ แม่ไทยส่วนใหญ่จะซื้อของอย่างน้อยเดือนละครั้ง คิดเป็น 91.05% แบ่งเป็น ซื้อประมาณ 2-3 ครั้งต่อเดือน (31.66%) ซื้อเดือนละครั้ง (30.05%) หลายครั้งต่อสัปดาห์ (15.21%) และทุกสัปดาห์ (14.13%) ตามลำดับ เหตุผลที่คุณแม่ชอบซื้อสินค้าออนไลน์เพราะว่าสะดวก (83.89%) ประหยัดเวลา ไม่ต้องออกจากบ้าน (83.10%) และยังได้ราคาที่ถูกกว่า โปรโมชั่นที่ดีกว่า (77.41%)

ประเภทสินค้าที่คุณแม่มักจะซื้อผ่านทางออนไลน์บ่อยๆ 5 อันดับ ได้แก่ เสื้อผ้าเด็ก (74.26%) รองลงมาเป็นของใช้เด็ก (69.55%) ถัดมาเป็นเสื้อผ้าสำหรับแม่เอง (45.38%) สินค้าเกี่ยวกับเครื่องสำอางและความงาม (39.29%) ของใช้ทั่วไป (39.10%) ของใช้ภายในบ้าน (27.31%) และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (11.79%) ตามลำดับ

สำหรับช่องทางที่ใช้ซื้อของออนไลน์ อันดับหนึ่งคือ ทางเฟซบุ๊ก (75.44%) อันดับรองลงมา คือ Lazada (70.73%) ถัดมาเป็น Shopee (61.49%) และ LINE (42.24%) ตามลำดับ 

โดยที่ “คุณแม่” กว่า 98% มักจะเป็นผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อของเข้าบ้าน และคุณแม่มากถึง 58.86% มักจะเป็นคนตัดสินใจซื้อของเข้าบ้านทุกครั้ง ส่วนคุณแม่อีก 39.18% จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนอื่นบ้างในบางโอกาส

วีรติ ถิ่นนาเวียง Associate Regional Head of content ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ทิคเกิ้ลมีเดีย ผู้ผลิตสื่อออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งสร้างเนื้อหาเพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้หญิงโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในด้านต่างๆ ของผู้หญิง 4 เว็บไซต์ ได้แก่ th.theasianparent.com เว็บไซต์ครอบครัวอันดับหนึ่งของประเทศไทย ได้เข้ามาให้บริการในประเทศไทยเมื่อปี 2557 มียอดผู้เข้าชมเว็บไซต์เกือบ 4  ล้านคนต่อเดือน มีผู้ติดตามในแฟนเพจมากกว่า 1 ล้านคน

การสร้างและพัฒนาคอนเทนต์โดยอ้างอิงจากข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจและติดตามพฤติกรรมของผู้อ่านของเราอย่างใกล้ชิด ใน Social Media ซึ่งมีผู้เข้ามาใช้งานและการมีส่วนร่วมที่สูง ทำให้ผลิตคอนเทนต์ได้ตรงตามความต้องการและตอบโจทย์ชีวิตและปัญหาของคุณแม่ไทยซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายได้ดี รวมไปถึงการมี Social Media ที่แข็งแรง ทำให้ theAsianparent เป็นมากกว่าเว็บไซต์ที่ให้ความรู้ แต่ยังเป็นสังคมออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคุณแม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันระหว่างคุณแม่ด้วยกันเองอีกด้วย.

]]>
1203343
เจาะใจ ชาวมิลเลนเนียลไทย ไม่ติดแบรนด์ ไม่สนกระแส แต่ยอมเปย์ หากแบรนด์เข้าถึงตัวตนได้จริง https://positioningmag.com/1194020 Tue, 23 Oct 2018 05:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1194020 เฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย เอเจนซี่ประชาสัมพันธ์และดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งข้ามชาติ เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดด้านความเชื่อ ทัศนคติ และมุมมองต่อสังคม ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตและการบริโภคของมิลเลนเนียลไทยยุค 4.0 ชี้ คนหนุ่มสาวยุคใหม่มีนิยามของความสำเร็จและความสุขที่ต่างออกไป แสวงหาความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย และไม่ยึดติดกับแบรนด์

แม้ “เงิน” จะสำคัญ แต่ “ความสุข” นั้น สำคัญกว่า

ในขณะที่ผู้ตอบแบบสำรวจกว่า 70% ยอมรับว่าเงินคือตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจนที่สุด และอีกกว่า 87% ยังเผยว่ารู้สึกดีที่ได้ใช้จ่ายเพื่อปรนเปรอตนเอง แต่พวกเขากลับบอกว่า แม้ว่า “เงิน” จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ขาดไม่ได้ แต่พวกเขาก็มีความชัดเจนกับความต้องการของตัวเองมากพอที่จะไม่มองว่าเงินสำคัญมากไปกว่าความสุขในชีวิต

นอกจากนี้ พวกเขายังให้ความเห็นต่อนิยามของความสุขว่า คือการมีสุขภาพที่ดี (67%) และการมีเวลาให้กับตัวเองและความมีอิสระในการใช้ชีวิต (67%) ขณะที่สัดส่วนของมนุษย์มิลเลนเนียลที่ให้ความสำคัญกับการออมเงินมีประมาณ 55%

ยอมเปย์เท่าไหร่ก็ได้ หากแบรนด์เข้าใจตัวตนของฉัน

หนุ่มสาวชาวมิลเลนเนียลให้ความสำคัญกับการแสดงความเป็นตัวตนที่ชัดเจนของตนเอง ชาวมิลเลนเนียล 79% จึงพร้อมที่จะจ่ายมากกว่าให้กับสินค้าและบริการ หากแบรนด์นั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะตัวของพวกเขาได้

โดยบรรดาแบรนด์สินค้าห้าอันดับแรกที่สามารถสร้างโอกาสได้ดีในการสร้าง personalized brand สำหรับชาวมิลเลนเนียล ได้แก่ สินค้าในกลุ่มอาหาร ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม สินค้ากลุ่มไลฟ์สไตล์ ธนาคาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เอกเทศ เอกเทรนด์

แม้จะชอบแบรนด์ที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะตน ทว่ามิลเลนเนียลไทยกลับมองว่าความเป็นปัจเจกชนของพวกเขานั้น ไม่สามารถตอบสนองได้ด้วยแบรนด์ใดเพียงแบรนด์เดียว การที่ 84% ของหนุ่มสาวในยุคนี้ใช้แฟชั่นเป็นเครื่องแสดงตัวตน ทำให้พวกเขามักมองหากิจกรรม ดนตรี และเสื้อผ้า ที่แตกต่างไปจากกระแสนิยม

นอกจากนี้ ชาวมิลเลนเนียลอยากใช้เวลาอยู่กับตัวเองมากถึง 86% แม้จะชอบติดต่อกับเพื่อนผ่านโซเชียลมีเดียอยู่ตลอดเวลา แต่พวกเขากลับให้น้ำหนักความสำคัญกับการออกไปสมาคมสังสรรค์กับเพื่อนฝูงเพียงแค่ 21%

ภาพลักษณ์บนโลกออนไลน์สำคัญกว่าโลกแห่งความจริง

แม้พวกเขาจะบอกว่าใช้เวลากับโทรศัพท์มือถือมากเกินไป แต่ชาวมิลเลนเนียลก็ยอมรับว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์และวิธีการแสดงความเป็นตัวตนบนโลกออนไลน์มากกว่าโลกในความเป็นจริงถึง 56% โดยราว 65% กล่าวว่าพวกเขาใช้เวลาไปกับการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อให้ดูดีขึ้นบนโลกโซเชียล ขณะที่ 56% เชื่อว่าโลกโซเชียล และแอปต่างๆ เช่น ทินเดอร์ (Tinder) คือสื่อกลางที่จะทำพวกเขาได้เจอกับความสัมพันธ์และมิตรภาพที่ดี

คนยุคใหม่มั่นใจกับอนาคตของประเทศ

ขณะที่ชาวมิลเลนเนียลแสวงหาความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม อาทิ อิสรภาพในการใช้ชีวิตควบคู่กับการทำงานผ่านเทคโนโลยีในทุกสถานที่ทั่วโลก ความเท่าเทียมในสังคมผ่านมิติความหลากหลายทางเพศ ศาสนา เชื้อชาติ และวัฒนธรรม การเมืองที่มุ่งตอบสนองต่อประชาชนส่วนใหญ่ พวกเขาก็ยังเชื่อมั่นกับอนาคตของประเทศไทยว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางทีดีขึ้น โดยผู้ชายยุคมิลเลนเนียล (42%) มีความมั่นใจในอนาคตของประเทศมากกว่าผู้หญิงชาวมิลเลนเนียล (28%)

มัดใจชาวมิลเลนเนียลให้อยู่หมัด

โสพิส เกษมสหสิน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป และพาร์ตเนอร์ เฟลชแมน ฮิลลาร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า ชาวมิลเลนเนียลที่สำรวจ มีอายุระหว่าง 25-37 ปี ซึ่งเป็นคนวัยทำงานส่วนใหญ่ และเป็นกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้แบรนด์ต่างๆ ให้ความสำคัญกับคนกลุ่มนี้อย่างมาก

ชาวมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความซับซ้อน มีความต้องการและทัศนคติที่อยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้ว แม้จะกล้าใช้จ่ายกับสินค้าและการบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการ แต่ก็คำนึงถึงปัจจัยด้านราคาเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน

การที่ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียลมีมุมมองด้านการใช้ชีวิตและการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากคนยุคก่อน ทำให้แบรนด์ต่างๆ ต้องเร่งทำความเข้าใจ และปรับตัวพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนยุคใหม่ ทั้งสร้างสรรค์สินค้าและบริการ รวมไปถึงการนำเสนอโปรแกรมสมาชิกที่ตรงใจผู้บริโภค

การสร้างแบรนด์ที่มีความหมายต่อตัวตนและความเชื่อ จะซื้อใจชาวมิลเลนเนียลได้มากกว่าการสร้างแบรนด์ที่ตอกย้ำสถานะทางสังคม นอกจากนี้การที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้มีความฉลาดเลือกและช่างค้นหา ความจริงใจและโปร่งใสของแบรนด์ รวมไปถึงการใช้อินฟลูเอนเซอร์ที่สะท้อนความเป็นตัวตนของพวกเขา จะทำให้เข้าถึงชาวมิลเลนเนียลได้มากกว่า

แบบสำรวจ “มิลเลนเนียลไทย : ความเชื่อ ทัศนคติ และมุมมองต่อสังคม” รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคนไทย อายุ 25 – 37 ปีทั่วประเทศจำนวน 500 คน โดยเป็นความร่วมมือระหว่างเฟลชแมนฮิลลาร์ด ประเทศไทย และทีมโกลบัล อินเทลลิเจนซ์

]]>
1194020