ตลาดผู้สูงวัย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 25 Oct 2019 11:41:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชำแหละ “ตลาดผู้สูงวัย” ปรากฏการณ์ใหม่ที่คนแก่จะครองเมืองในอีก 30 ปี https://positioningmag.com/1250924 Thu, 24 Oct 2019 20:10:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250924 อิปซอสส์ เผยรายงานผลวิจัยชุดล่าสุด “Getting Older-Our Aging world” เพื่อเปลี่ยนมุมมอง สร้างความเข้าใจ และอธิบายผลกระทบของสังคมผู้สูงวัยให้กับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคธุรกิจ

เป็นที่คาดการณ์ว่าระหว่างปี 1980 – 2050 จำนวนผู้สูงวัยจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน้อยหนึ่งเท่าตัว โดยในปี 2050 โลกจะมีจำนวนผู้สูงวัยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป กว่า 2,100 ล้านคน ส่งผลให้ในอีกราว 30 ปีต่อจากนี้จะเป็นครั้งแรกที่โลกมีจำนวนคนแก่มากกว่าคนหนุ่มสาว โดย 1 ใน 5 ของประชากรโลกในปี 2050 จะเป็นผู้สูงวัย ซึ่งสถิติดังกล่าวได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ผู้สูงอายุจะครองเมืองในทุกพื้นที่ของโลก

สูงวัย ไม่ได้ใช้อายุชี้วัด

อิปซอสส์ ชี้คนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้สูงวัย โดย 79% ของนักการตลาดยังใช้ ‘อายุ’ เป็นตัวชี้วัด ถึงแม้จำนวนคนสูงวัยมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คนทั่วไปรวมถึงภาครัฐและเอกชนยังคงมีมุมมองต่อผู้สูงวัยแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นการที่คิดว่าผู้สูงวัยไม่สนใจเทคโนโลยี ไม่ชอบเรียนรู้ ไม่ชอบสิ่งใหม่ๆ

รวมถึงมองผู้สูงวัยและกำหนดตัวตนของผู้สูงวัยจาก “เลขอายุ” ไม่ใช่จากความชอบ ไลฟ์สไตล์ หรือความต้องการที่แท้จริง ในประเทศฝรั่งเศสคนแก่ถึง 82% ชี้ว่าธุรกิจค้าปลีกหลากหลายแบรนด์ไม่เข้าใจสิ่งที่พวกเขาต้องการอีกต่อไป

คำว่า “แก่” ไม่เท่ากันในแต่ละประเทศ “60” ไม่ได้แปลว่าแก่

การใช้อายุเป็นเกณฑ์ อาจจะทำให้ความเข้าใจต่อผู้สูงวัยคลาดเคลื่อน ซึ่งผลพวงจากยุค ปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้คนมีความเชื่อว่า 60 คืออายุที่แปลว่า “แก่” อย่างไรก็ตาม ‘อายุเป็นเพียงตัวเลข’ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วคนบนโลกยุคปัจจุบันมองว่า ผู้สูงวัยจะเริ่มต้นที่อายุ 66 ปีโดยเฉลี่ย ไม่ใช่ 60 อย่างที่เข้าใจกัน

ในประเทศสเปนมองว่าผู้สูงวัยเริ่มต้นที่อายุ 70 ในขณะที่คนซาอุดีอาระเบียชี้ 49 ก็แก่แล้ว สำหรับประเทศไทย คนไทยเรายังมองว่า 60 เป็นอายุเริ่มต้นของผู้สูงวัยซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้คนบนโลกจะมองอายุกับคำว่าสูงวัยต่างกัน ผู้สูงอายุบนโลกกลับเห็นด้วยว่าโดยเฉลี่ยแล้วพวกเขาจะรู้สึกเด็กกว่าอายุจริงถึง 9 ปี ทำให้ ‘ตัวเลข’ ไม่ใช่มาตรวัดที่แม่นยำอีกต่อไป

อย่ามองผู้สูงวัยจาก ‘ตัวเลขอายุ’

คนสูงวัยจำนวนมากได้เข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน หาข้อมูล พูดคุย และสั่งสื่อสินค้าผ่านโลกออนไลน์ ในอังกฤษ 43% ของผู้สูงวัยสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์เป็นกิจกรรมหลักของผู้สูงวัยในประเทศนั้น ในขณะเดียวกัน 84% ของผู้สูงวัยในแคนนาดาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเข้าถึงข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ

ในประเทศไทยกว่า 1.2 ล้านของผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 60 ปี เข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ต ดังนั้นความเชื่อที่ว่าผู้สูงวัยไม่ยอมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องอีกต่อไป

ไม่เพียงที่ผู้สูงวัยในปัจจุบันเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างจากความเชื่อของสังคม ผู้สูงวัยในปัจจุบันยังมีความต้องการและความชื่นชอบที่ไม่เหมือนสิ่งที่สังคมคิดมาโดยตลอดในอดีต การมองว่าผู้สูงวัยชอบอยู่บ้านเลี้ยงหลาน คือความเชื่อที่ไม่สะท้อนภาพความเป็นจริงของผู้สูงวัยในปัจจุบัน

จากสถิติ ในเปรู ครึ่งหนึ่งของผู้สูงวัยต้องการออกไปท่องเที่ยว 40% ต้องการเริ่มธุรกิจของตัวเอง และอีกมากกว่า 3 ใน 4 ของผู้สูงวัยทั้งในประเทศไทย และฝรั่งเศส ยังมีความสนใจ และต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ได้ต้องการอยู่บ้าน ทำสิ่งที่จำเจอีกต่อไป

ผู้สูงวัย – อำนาจทางการเงินและโอกาสแห่งอนาคต

จากความต้องการของผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน ตลาดผู้สูงวัยได้เพิ่มความซับซ้อนละมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ในประเทศอังกฤษเม็ดเงิน 320,000 ล้านปอนด์ ซึ่งนับเป็น 47% ของมูลค่าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดมาจากกลุ่มผู้สูงอายุ ในฝรั่งเศสผู้สูงวัยมีเงินที่เตรียมไว้ใช้ท่องเที่ยวถึง 22,000 ล้านยูโร ในญี่ปุ่นเองผู้สูงอายุยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินถึง 1,439 ล้านล้านเยน ซึ่งนับเป็น 80% ของตลาดการเงินทั้งหมด

ในปี 2032 ที่อเมริกา เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy) หรือก็คือมูลค่าตลาดที่รวมทั้งสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงวัยนั้นจะมีสัดส่วนที่ใหญ่กว่าทุกภาคส่วนของตลาดอื่นรวมกัน

และในไทยเองผู้สูงอายุถึง 95% พร้อมใช้จ่ายสำหรับอาหาร และ 73% พร้อมใช้จ่ายสำหรับเสื้อผ้าสำหรับตัวเอง

อิทธิพลของผู้สูงวัยในโลกการเมือง

ไม่เพียงสัดส่วนของผู้สูงวัยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้สูงวัยมักจะเป็นกลุ่มคนที่ออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากกว่ากลุ่มเด็กหรือกลุ่มวัยรุ่น ทำให้อิทธิพลของผู้สูงวัยในเวทีการเมืองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือความต้องการที่แตกต่างกันของกลุ่มคนแต่ละช่วงอายุ

กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้เยาว์อาจจะไม่ได้มีความปรารถนาในทิศทางเดียวกัน รัฐบาลควรจะใช้จ่ายเพื่อดูแลผู้สูงวัยมากกว่าการลงทุนกับอนาคตของเด็กในชาติหรือไม่? โดยในปัจจุบัน 3 ใน 10 ของประชากรโลกมองว่าผู้สูงวัยมีอิทธิพลต่อการเมืองมากเกินควร ในขณะที่ 1 ใน 3 ของคนไทยซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยโลกอย่างชัดเจนเห็นด้วยว่าผู้สูงวัยมีอิทธิพลต่อการเมืองมากไปแล้ว

ภัยมืดที่แฝงตัวมากับสังคมผู้สูงวัย

ถึงแม้ตลาดผู้สูงอายุจะสร้างโอกาสใหม่ๆ ขึ้น ในขณะเดียวกันจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นก็ก่อให้เกิดปัญหา และความเสี่ยงในหลายๆ ด้านทั้งจากมุมมองของปัจเจกบุคคล และมุมมองทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในส่วนบุคคล ผู้สูงวัยมีความกังวลเป็นพิเศษใน 2 เรื่องหลัก คือเรื่องการเงิน และสุขภาพ

ทำให้ในไทยเรา 79% ของคนไทยวางแผนที่จะทำงานต่อหลังอายุเกษียณเพราะกลัวว่าจะมีเงินไม่พอในช่วงวัยชรา ซึ่งสูงกว่า 41% ในประเทศแคนนาดาที่มีสวัสดิการจากรัฐที่ดีกว่าอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ตัวเลขตรงนี้เพิ่มสูงกว่าแต่ก่อนที่ผู้สูงวัยมักจะติดสินใจพักผ่อนหลังอายุเกษียณที่ 60 ปี นอกจากนั้นในขณะที่ในด้านหนึ่งกลุ่มผู้สูงวัยเป็นกลุ่มที่มีเงินและกำลังซื้อสูงกว่าในหลายกลุ่มอายุ แต่ในขณะเดียวกันมีจำนวนผู้สูงวัยจำนวนมากที่เข้าข่าย “ยิ่งแก่ ยิ่งจน” ซึ่งสังคมผู้สูงวัยจะทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้ทวีคูณขึ้นในอนาคตอันใกล้.

]]>
1250924