ตลาดรีเทล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 07 Jan 2020 08:18:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เก่าไป…ใหม่มา ถึงเวลา “เดอะมอลล์” เปลี่ยนโลโก้ครั้งเเรก นับตั้งเเต่ก่อตั้งมา 39 ปี https://positioningmag.com/1259573 Tue, 07 Jan 2020 05:11:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259573 วงการค้าปลีกเปลี่ยนรับปี 2563 สู้ศึกชิงคนเดินห้าง ล่าสุด “เดอะมอลล์” ได้โอกาสเหมาะเปลี่ยนโลโก้ใหม่ในรอบ 39 ปี นับตั้งเเต่ก่อตั้งมา นำร่องใช้ที่สาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วานเป็นที่เเรก หลังเปลี่ยนโฉมปรับคอนเซ็ปต์เเละรีโนเวตครั้งใหญ่เมื่อปลายปีที่เเล้ว

เรามักจะคุ้นชินกับ “โลโก้เดิม” ของศูนย์การค้าเดอะมอลล์ที่ใช้มากว่า 39 ปี ด้วยเอกลักษณ์ตัว M สีเเดงเเละขาว
ที่มีลักษณะคล้ายการม้วนตัวของริบบิ้น เเต่นับจากนี้ไปตั้งเเต่ต้นปีนี้ไป เราจะได้เห็น “โลโก้ใหม่” ที่เป็นตัว M ซึ่งถูกดีไซน์ให้ดูเเข็งเเรง เรียบง่ายเเละใช้สีเเดงล้วน

เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับโฉมใหม่ของเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน ภายใต้แนวคิด “The Mall Lifestore : A Happy Place To Live Life” โดยชั้น 6 เป็นพื้นที่ฟู้ดคอร์ต ภายใต้ชื่อ “กูร์เมต์อีทส์” ซึ่งได้รวมร้านอาหารสตรีตฟู้ดชื่อดังกว่า 30 ร้าน

บรรยากาศของเดอะมอลล์งามวงศ์วานโฉมใหม่ (Photo : The Mall Thailand)

ส่วนชั้น 7 เป็นโรงหนังเอสเอฟเอ็กซ์ซีนีม่าที่มีการปรับโฉมใหม่ โดยทุ่มเงินกว่า 200 ล้านบาทเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่มากขึ้น เเละชั้น 4 เป็นโซน The Living รวมของแต่งบ้าน เครื่องครัวสุดชิค ศิลปะเเละหนังสือ มุมใหม่ๆ อย่าง Nature Market สำหรับคนที่ชื่นชอบสินค้าออร์เเกนิก

บรรยากาศของเดอะมอลล์งามวงศ์วานโฉมใหม่ (Photo : The Mall Thailand)

ก่อนหน้านี้มีการใช้ “โลโก้ใหม่” นี้กับบัตรเติมเงิน SCB M VISA PREPAID CARD มาเเล้วเพื่อจับพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ

โลโก้ใหม่ที่ถูกนำมาใช้ในบัตรเติมเงิน

อย่างไรก็ตาม ทางเดอะมอลล์ กรุ๊ป ยังไม่ได้ให้รายละเอียดถึงโลโก้ดังกล่าว โดยบอกเพียงว่าจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเเละนำไปใช้ในเครือทั้งหมดในช่วงปลายปี 2020 นี้ ซึ่งจะทยอยเปลี่ยนในสาขาอื่นๆ ต่อไป

บรรยากาศของเดอะมอลล์งามวงศ์วานโฉมใหม่ (Photo : The Mall Thailand)

สำหรับ “เดอะมอลล์” (THE MALL) ถือเป็นเจ้าใหญ่ในธุรกิจรีเทล ภายใต้บริหารของบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดบริการสาขาแรกที่ “ราชดำริ” เปิดเมื่อปี 2524 (ปิดกิจการไปเมื่อปี 2531) เเละสาขาที่ 2 ที่ “รามคำเเหง” ในปี 2526 ซึ่งในสมัยนั้นตลาดค้าปลีกในไทยส่วนใหญ่ยังเป็นต่างชาติอย่างไทยไดมารู เมโทร โซโก้ คาเธ่ย์ โอเดียน โรบินสัน เป็นต้น

ปัจจุบัน “เดอะมอลล์ ” มีอยู่ 6 สาขา ได้เเก่ สาขารามคำแหง (กำลังรีโนเวต) , สาขาท่าพระ , สาขางามวงศ์วาน , สาขาบางแค , สาขาบางกะปิ และสาขานครราชสีมา

นอกจากนี้ยังมี ศูนย์การค้าไฮเอนด์อย่าง The Emporium Shopping Complex ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง เดอะมอลล์กรุ๊ปและธนาคารกรุงเทพ เเละโครงการเมกะโปรเจกต์อย่าง The EM District ที่มีมูลค่าโครงการเกือบ 30,000 ล้านบาท ส่วน Siam Paragon เป็นห้างที่เกิดจากการร่วมทุนกันระหว่างเดอะมอลล์กรุ๊ปและสยามพิวรรธน์ ก็กำลังจะมีการรีโนเวตครั้งใหญ่ในปีนี้ด้วยเช่นกัน

นับเป็นอีกความเคลื่อนไหวสำคัญของกลุ่มเดอะมอลล์ ที่จะปรับทัพมาสู้สมรภูมิค้าปลีก “ยุคใหม่” ที่กำลังดุเดือดนี้ 

 

 

]]>
1259573
ตลาดค้าปลีกไทยยังโต สวนทาง ตปท. พื้นที่เช่าห้างดังโซนพระราม 1 – สุขุมวิทเต็มยาว ฟิตเนส 24 ชม. แม่เหล็กใหม่ดูดลูกค้า https://positioningmag.com/1182538 Wed, 08 Aug 2018 08:16:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1182538 เน็กซัสฟันธง ตลาดรีเทลหรือค้าปลีกของประเทศไทยยังเติบโต สวนทางกับตลาดรีเทลประเทศอื่นๆ ที่โดนผลกระทบจากตลาดออนไลน์และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของพฤติกรรมผู้บริโภค 

บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ ได้คาดการณ์ถึง แนวโน้มการเติบโต และการเปลี่ยนแปลงของตลาดรีเทลยังคงเติบโต  เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่อง  ซึ่งอสังหาฯเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ

โดยธุรกิจรีเทลเป็นธุรกิจที่มีความน่าสนใจในตลาดอสังหาฯ เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา ตลาดรีเทลของไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สวนทางกับตลาดรีเทลในประเทศอื่นๆ ที่โดนผลกระทบจากตลาดออนไลน์และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของพฤติกรรมผู้บริโภค

ศูนย์การค้าโซนพระราม 1 ถึงสุขุมวิทตอนกลาง ว่างแค่ 5% ค่าเช่าเพิ่ม ร้านค้าอยากเช่าอาจต้องรอเป็นปี

ตลาดรีเทลเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการต่างเร่งพัฒนาโครงการใหม่ๆ เพื่อแข่งขันอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นโครงการขนาดเล็กหรือใหญ่  นับตั้งแต่ศูนย์การค้าอย่าสยามพารากอนเปิดให้บริการเมื่อปีพ.ศ. 2549 เป็นเหตุให้ศูนย์การค้าชั้นนำหลายแห่งทำการปรับปรุงพื้นที่ โดยเฉพาะย่านพระราม 1 ราชประสงค์ เพลินจิต และสุขุมวิท พื้นที่เช่าเฉลี่ยในย่านนี้ ซึ่งคลอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่หัวถนนพระราม1 สยามดิสคอวเวอรี่ ตลอดแนวจนถึงสุขุมวิทตอนกลาง และเอ็มควอเทียร์

ส่งผลให้ในย่านนี้ มีอัตราว่างของพื้นที่เฉลี่ยน้อยกว่า 5% อีกทั้งค่าเช่ายังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ร้านค้าอาจต้องรอเป็นปีเพื่อให้ได้พื้นที่เช่าในห้างดังหลายๆแห่ง

ปัจจุบันธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มเป็นธุรกิจหลักในการดึงดูดลูกค้าของห้างโดยใช้สื่อออนไลน์เป็นกลยุทธ์ในการดึงดูดลูกค้าจากทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวในประเทศไทยยังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อตลาดรีเทลของไทยอีกด้วย โดยในปีที่ผ่านมารายได้จากนักท่องเที่ยวเติบโตร้อยละ 11.66

เกษร ทาวเวอร์ ดันค่าเช่า 3.9 พันบาท/ตร.ม.

เกษร ทาวเวอร์เป็นซัพพลายล่าสุดในย่านพระราม1 – สุขุมวิทซึ่งทำการเปิดตัวเมื่อปีที่แล้วด้วยพื้นที่เช่าเชิงพาณิชยกรรมกว่า 10,000 ตารางเมตร ทำให้ตลาดรีเทลในย่านพระราม1-สุขุมวิท มีพื้นที่เช่ารวมที่ประมาณ 660,000 ตารางเมตร ค่าเช่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3,900 บาท/ตารางเมตร/เดือน และมีอัตราการเช่าที่ 96.4%

แต่อย่างไรก็ตาม ที่ดินขนาดใหญ่ในย่านพระราม 1 ราชประสงค์ต่อเนื่องไปถึงสุขุมวิทตอนกลางในปัจจุบันหาได้ยากมากและราคาที่ดินสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้มีซัพพลายใหม่ๆในย่านนี้เกิดขึ้นอย่างจำกัด ผู้ประกอบการจึงให้ความสนใจในการเช่าที่ดินระยะยาวมากขึ้น พร้อมกันนี้ยังมองหาทำเลใหม่ๆในโซนอื่นของกรุงเทพฯและปริมณฑลมากขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมือกับพฤติกกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป หลายผู้ประกอบการเริ่มให้ความสนใจในการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

ธีรวิทย์ ลิ้มทองสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส เรียลเอสเตท แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด กล่าวว่า มีหลายธุรกิจที่ต้องการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร โคเวิร์กกิ้ง สเปซ หรือแม้กระทั้ง ศูนย์บริการความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ โดยมองว่าเป็นสิ่งที่น่าจับตามองและเป็นโอกาสที่ดีของหลายธุรกิจ ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบของตลาดรีเทลไทย

ฟิตเนส 24 ชม. ดึงดูดลูกค้าไม่แพ้แมคโดนัลด์-สตาร์บัคส์

นอกจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยียังเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะช่วยให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น

พร้อมกันนี้ ยังมีคนจำนวนหนึ่งที่หันมาให้ความสนใจกับสุขภาพอย่างจริงจัง โดยจะเห็นได้จากกิจกรรมเพื่อสุขภาพต่างๆที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังต้องการความสะดวกสบายที่จะเข้าถึงสุขภาพที่ดี

ทำให้เกิดธุรกิจเพื่อสุขภาพเช่นฟิตเนสหรือคลาสสุขภาพต่างๆ โดยสถานที่ออกกำลังกายกระจายอยู่ในแทบทุกอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่อยู่อาศัยอย่างคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้าหรือคอมมูนิตี้มอลล์ รวมถึงอาคารสำนักงานต่างๆ

ธุรกิจฟิตเนสในไทยเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา หลายแบรนด์ดังมีแผนขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ฟิตเนส เชนส่วนมากจับกลุ่มตลาดระดับบนและส่วนมาก ฟิตเนสระดับกลางจะเป็นผู้ประกอบการรายย่อย ทำให้เกิดช่องว่างทางการตลาดของฟิตเนสระดับกลาง

เมื่อความสะดวกสบายและเทรนด์สุขภาพมารวมกัน จึงทำให้เกิดโมเดลธุรกิจเพื่อสุขภาพ 24 ชั่วโมง โดยฟิตเนสที่เปิดให้บริการ24 ชั่วโมง อย่างน้อย 3 แบรนด์จากต่างประเทศเล็งเห็นถึงช่องว่างและความเป็นไปได้ทางการตลาดในไทย และได้เข้ามาเป็นผู้เล่นใหม่ในตลาดแต่ละรายพยายามหาพื้นที่เช่าที่แตกต่างออกไปจากฟิสเนสที่เคยเห็นอยู่ในปัจจุบัน โดยความต้องการหลักคือต้องการเช่าพื้นที่ชั้นล่าง ที่มองเห็น – เข้าออก-เดินทางได้สะดวก แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจถึงความต้องการและยอมรับ

คงต้องใช้เวลาซักพักที่จะทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการหลายๆรายว่า ฟิตเนสจะสามารถเป็นตัวดูดลูกค้าเข้ามาในพื้นที่ได้เหมือนสตาร์บัคหรือแมคโดนัล 

ธีรวิทย์ กล่าว

อนาคตตลาดรีเทลยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีเสน่ห์ที่น่าสนใจ สิ่งที่จะท้าทายผู้ประกอบการคือ เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ทำอย่างไรที่จะดึงจุดเด่นทางเทคโนโลยีเข้ามาสร้างความแตกต่าง เพื่อให้สามารถแข่งขันและตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุด

]]>
1182538