ตลาดออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 28 Nov 2018 09:58:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Amazon กินรวบตลาดออนไลน์ กวาดส่วนแบ่ง 3 ใน 4 ของตลาด https://positioningmag.com/1200225 Wed, 28 Nov 2018 09:56:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1200225 1200225 ดีแทค เขย่าองค์กรมุ่งสู่แบรนด์ดิจิทัล เทงบออนไลน์ กระชับทีมงานไม่เกิน 4 พันคน https://positioningmag.com/1155074 Wed, 31 Jan 2018 00:15:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1155074 เส้นทางการทรานฟอร์มองค์กรเพื่อโกดิจิทัลของดีแทค ยังคงต้องเดินหน้าไปอย่างเข้มข้น พร้อมกับกระแสข่าวลือถึงการลดพนักงาน เพื่อให้เป็นไปตามทิศทางใหม่

ยังรวมไปถึงกระแสข่าวลาออกของแม่ทัพการตลาด สิทธิโชค นพชินบุตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มการตลาด หรือ Chief Marketing Officer : CMO ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่ง โดยคาดว่าจะมีผลเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งทางเทเลนอร์ผู้ถือหุ้นใหญ่ดีแทคได้เตรียมส่งผู้บริหารต่างประเทศมาแทนแล้ว

สิทธิโชค เข้ามารับตำแหน่ง CMO ในดีแทคตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2559 ก่อนมาร่วมงานกับดีแทค เคยดำรงตำแหน่งรองประธานธุรกิจโทรคมนาคม และดิจิทัล บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และโมบายล์ คอมมูนิเคชั่นส์ เกี่ยวกับธุรกิจโทรศัพท์มือถือในไทย

อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ (30 ม.ค.) ดีแทคได้ส่งเอกสาร เปิดเผยถึงแผนกลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรสู่ดิจิทัล ด้วยการเพิ่มตำแหน่งงานด้านดิจิทัลเพิ่มอีกมากกว่า 200 ตำแหน่ง ภายในปี 2563

ลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคได้ปรับตัวเองเพื่อมุ่งสู่การเป็น แบรนด์ดิจิทัล ที่ลูกค้าชื่นชอบภายในปี 2563 โดยตั้งเป้าหมายในการสร้างรายได้จากช่องทางดิจิทัลถึง 35% จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเลขหลักเดียว เช่นเดียวกับงานบริการลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลถึง 95% เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเท่าตัว

ขณะเดียวกัน งบการตลาดจะถูกโยกไปยังช่องทางดิจิทัลถึง 65% หรือมากกว่าปัจจุบันกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับปัจจุบัน

ปีที่ผ่านมาการชำระเงินผ่านแอปพลิเคชั่นดีแทคเพิ่มขึ้นเท่าตัว ในขณะที่การเพิ่มยอดขาย (upselling) จากแอปพลิเคชั่นของดีแทคมีสัดส่วนที่ 60% เป็นผลมาจากการทำการตลาดออนไลน์ผ่านนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจนกระตุ้นการใช้งานและบริการให้ดีขึ้น ทั้งทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชั่น

“จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงความสำคัญในการพัฒนาช่องทางดิจิทัลให้ดีขึ้น สอดคล้องกับแนวโน้มการใช้งานในอนาคต ทำให้ดีแทคต้องเพิ่มตำแหน่งงานด้านดิจิทัลอีกกว่า 200 ตำแหน่งในปี 2563”

ขณะเดียวกัน ดีแทควางแผนที่จะ ปรับเพิ่ม และลดการลงทุน” ในหลายด้าน ปรับรูปแบบการจัดการในองค์กร และลดความยุ่งยากซับซ้อนในกระบวนการการทำงาน เพื่อให้องค์กรขับเคลื่อนได้อย่างคล่องตัวและพนักงานมีศักยภาพในการทำงานมากขึ้น โดยดีแทคตั้งเป้าหมายการบริหารขนาดขององค์กรให้มีตำแหน่งงานประจำจำกัดจำนวนไว้ไม่เกิน 4,000 คนในปี 2563

เดินหน้า จ่ายเงินปันผล 0.24 บาทต่อหุ้น

ดีแทคที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ เทเลนอร์ บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่จากนอร์เวย์ ตามที่ชี้แจงอย่างเป็นทางการที่ตลาดหลักทรัพย์ ณ 17 กุมภาพันธ์ 2560 บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย ถือหุ้นทั้งหมด 42.62% บริษัทไทย เทลโค โฮลดิ้งส์ ถือหุ้นจำนวน  22.43% โดยบริษัทไทย เทลโค โฮลดิงส์นี้เป็นการถือหุ้นโดยกลุ่มเบญจรงคกุล 51% และที่เหลือ 49% ถือโดยเทเลนอร์ กรุ๊ป นอกจากนี้ยังมีทีโอที ถือหุ้นอีกจำนวน 5.58%

ผลประกอบการปี 2560 มีรายได้รวม 78,275 ล้านบาท ลดลง 5.1% จากปี 2559 ที่มีรายได้รวม 82,478  ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้จากค่าเชื่อมต่อโครงข่ายและรายได้จากการจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์ลดลง แต่กำไรเพิ่มขึ้น โดยปี 2560 มีกำไร 2,115 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.4% จากปี 2559 ที่มีกำไร 2,086 ล้านบาท

ดีแทคชี้แจงว่า ส่วนหนึ่งมาจากการควบคุมค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ทำให้ดีแทคประกาศจ่ายเงินปันผลเป็นจำนวน 0.24 บาทต่อหุ้น ซึ่งรอการอนุมัติจากการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2560

รายได้จากการให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในปี 2560 อยู่ที่ 64,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.2% จากปีก่อน อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากบริการข้อมูล ส่วน EBITDA อยู่ที่ 30,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9% จากปีก่อน อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของรายได้จากการให้บริการ ในขณะที่ค่าธรรมเนียมและส่วนแบ่งรายได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ลดลง แต่ก็มีผลกระทบเล็กน้อยจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากการขยายโครงข่ายภายใต้ระบบใบอนุญาต

สำหรับปี 2561 ดีแทคคาดการณ์ว่ารายได้จากการให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย และ EBITDA (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลงการให้บริการ 2300 MHz ที่มีกับทางทีโอที) จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังคาดว่าบริษัทจะใช้เงินลงทุนในปี 2561 จะอยู่ที่ระดับ 15,000 -18,000 ล้านบาท

“ผลประกอบการในปี 2650 ค่อนข้างใกล้เคียงกับการคาดการณ์ ซึ่งมองว่า EBITDA มีโอกาสเติบโตสูง โดยปี 2561 จะเป็นปีที่สำคัญมากสำหรับดีแทค เนื่องจากสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่จะสิ้นสุดลง โดยเรามุ่งมั่นที่จะจัดหาคลื่นความถี่เพิ่มเติม จากการประมูลคลื่นของกสทช.” ลาร์ส นอร์ลิ่ง กล่าว

ดีแทคมีคลื่นมือถือย่าน 1800 MHz จำนวน 25 MHz ย่าน 800 MHz จำนวน 10 MHz และ 2.1GHz  จำนวน 15 MHz ให้บริการทั้ง 3G 4G แต่สิทธิในการใช้คลื่น 1800 และ 800 MHz จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนปีนี้ นอกจากนี้ ดีแทคกำลังรอการอนุมัติเพื่อเปิดให้บริการ 4G บนคลื่นความถี่ 2300 MHz ภายใต้ความร่วมมือกับทีโอที.

]]>
1155074
FMCG ต้องโกออนไลน์ เหตุอีคอมเมิร์ชแซงโค้งโตทันใน 3 ปี https://positioningmag.com/1153052 Tue, 09 Jan 2018 09:02:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153052 รายงานจากบริษัทนีลเส็นยังเผยว่า ในอีกสี่ปีข้างหน้า ขนาดของการ “ค้าปลีกแบบอีคอมเมิร์ซ” จะทัดเทียมกับตลาดกลุ่มสินค้า FMCG ทั่วโลกได้ แน่นอนว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไอทีแล้ว กลุ่ม FMCG ยังคงน้อยกว่า แต่มันมีความเป็นไปได้ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป และธุรกิจในกลุ่ม FMCG จะอยู่เฉยไม่ได้อีกแล้ว

นีลสัน เผยผลสำรวจ คาดปี 63 อีคอมเมิร์ชทั่วโลกมีมูลค่า 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โต 20% กระทบ FMCG ที่โตได้เพียง 4% ส่งผลช้อปปิ้งออนไลน์คึกคัก เนสท์เล่ยูนิลีเวอร์ จัดเต็มช่องทางขายออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

นีลเส็นฟันธง สมาร์ทโฟนโตไม่มีผลต่อ Online Grocery

อัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนมักถูกมองว่าเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อนการเติบโตของการค้าปลีกออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีนและกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แต่ผลสำรวจ “Nielsen: What’s Next in Ecommerce 2017” จากบริษัทนีลเส็น เผยว่าการที่ผู้คนใช้สมาร์ทโฟนมากขึ้นไม่ได้แสดงถึงความต้องการต่อกลุ่มสินค้า FMCG หรือ online grocery ที่มากขึ้นแต่อย่างใด ความสัมพันธ์ระหว่างการซื้อของสดออนไลน์กับอัตราการใช้งานสมาร์โฟนนั้นเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาและเหตุผลของแต่ละตลาดก็ไม่เหมือนกันอีกด้วย

การใช้งานของการซื้อของสดออนไลน์ในประเทศสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำกว่าในประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนที่สูงกว่า
ที่มา: นีลเส็น

โดยพบว่า สมาร์ทโฟนและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ส่งผลแก่การ เติบโต” ของอุตสาหกรรมการซื้อของสดออนไลน์เพียงแค่ 40% เท่านั้น และเมื่อเทียบกับหลายประเทศทั่วโลกที่เข้าถึงสมาร์ทโฟนและช้อปปิ้งออนไลน์ พบว่า การใช้งานของการซื้อของสดออนไลน์ในประเทศสิงคโปร์มีอัตราที่ต่ำกว่าในประเทศฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าสิงคโปร์จะมีอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนที่สูงกว่าประเทศฝรั่งเศสก็ตาม

เห็นได้จากการเปิดตัวบริการซื้อของสดออนไลน์ของห้างค้าปลีก อย่าง เทสโก้ ออนไลน์ (Tesco online) ที่ประเทศอังกฤษในปี 2539 ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายของคนทั้งประเทศ และในปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวอังกฤษจึงคุ้นเคยกับการซื้อของสดออนไลน์ไปแล้ว

การซื้อสินค้าในห้างยังถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสำหรับการพักผ่อนอีกอย่างหนึ่ง และยังคงเป็นที่นิยมแม้ว่าอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนจะสูงมากในประเทศสิงคโปร์ก็ตาม ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน ดังนั้น การค้าปลีกของภูมิภาคนี้จึงจะโตตามอีคอมเมิร์ซ ไม่ใช่อัตราใช้งานสมาร์ทโฟน ซึ่งแตกต่างจากประเทศทางตะวันตก

ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ การไปห้างเพื่อซื้อสินค้ากลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวสิงคโปร์ เนื่องจากห้างสรรพสินค้าที่ประเทศสิงคโปร์มักตั้งอยู่ในทำเลที่สะดวกและมีผู้คนเดินผ่านตลอดเวลา เช่น ใกล้สถานีรถไฟ

การซื้อสินค้าในห้างยังถูกมองว่าเป็นกิจกรรมสำหรับการพักผ่อนอีกอย่างหนึ่ง และยังคงเป็นที่นิยมแม้ว่าอัตราการใช้งานของสมาร์ทโฟนจะสูงมากในประเทศสิงคโปร์ก็ตาม ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกัน

ดังนั้น การค้าปลีกของภูมิภาคนี้จึงจะโตตามอีคอมเมิร์ซ ไม่ใช่อัตราใช้งานสมาร์ทโฟน ซึ่งแตกต่างจากประเทศทางตะวันตก

สมาร์ทโฟนและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่งผลแก่การเติบโตของอุตสาหกรรมการซื้อของสดออนไลน์เพียงแค่ 40% เท่านั้น

ผลกระทบต่อธุรกิจ FMCG

แม้ว่าอีคอมเมิร์ซจะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของยอดขายในอุตสาหกรรมการค้าปลีกทั่วโลกเพียง 10% แต่หลังจากที่การคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจะมีอัตราการเติบโตรวมกันถึง 20% (CAGR) ภายในปี 2563 พร้อมกลายเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงถึง สี่ล้านล้านเหรียญสหรัฐ อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซจึงจะมีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ากลุ่มสินค้า FMCG ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะโต 4% (CAGR)

รายงานจากบริษัทนีลเส็นยังเผยว่า ในอีกสี่ปีข้างหน้า ขนาดของการ “ค้าปลีกแบบอีคอมเมิร์ซ” จะทัดเทียมกับตลาดกลุ่มสินค้า FMCG ทั่วโลกได้ แน่นอนว่าเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสินค้าแฟชั่นและไอทีแล้ว กลุ่ม FMCG ยังคงน้อยกว่า แต่มันมีความเป็นไปได้ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไป และธุรกิจในกลุ่ม FMCG จะอยู่เฉยไม่ได้อีกแล้ว

ข่าวการร่วมมือกันระหว่าง Danone และ Lazada ทำให้เห็นว่ามีบริษัทกลุ่มสินค้า FMCG ที่เห็นความสำคัญของช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ ใช้เป็นกลยุทธ์ขยายธุรกิจมากขึ้น ซึ่งรวมถึง “เนสท์เล่และยูนิลีเวอร์” ที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย ที่หันมาให้ความสำคัญกับช่องทางขายออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน 

โดยเฉพาะตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเซาท์อีสต์เอเชีย พบว่าผู้บริโภคในภูมิภาคนี้คุ้นเคยกับการซื้อของออนไลน์มากขึ้น โดยมีธุรกิจอย่าง Happy Fresh และ Honestbee หรือแม้กระทั่งซูเปอร์มาร์เก็ตไฮเทคอย่าง Hema Supermarket ของ Alibaba เข้ามาให้บริการ ยืนยันถึงความต้องการต่อการซื้อของสดออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นจากผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี.

ที่มา : ecommerceIQ พอร์ทัลที่รวบรวมผลการวิจัยและการรายงานทางการตลาดการค้าปลีกออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้รับการสนุบสนุนจากบริษัท aCommerce ผู้ให้บริการโซลูชั่นส์ทางด้านอีคอมเมิร์ซ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

]]>
1153052
7 ลายแทง “ecommerce” ปี 2018 https://positioningmag.com/1151736 Mon, 25 Dec 2017 23:07:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151736 ไล่ตั้งแต่ blockchain ถึง same-day delivery กระทั่ง GDPR ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งใน 7 สิ่งที่สามารถบอกใบ้ได้ว่าสมรภูมิ ecommerce ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะแข่งขันด้านใดในปี 2018 ซึ่งเป็นดินแดนที่ Amazon และ Alibaba กำลังสู้ศึกชนช้างอย่างดุเดือด

เหตุที่ทำให้อาเซียนเนื้อหอมจนนักลงทุนรุมตอม คือการเติบโตก้าวกระโดดของชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นคนทำงานในภูมิภาคนี้ สถิติบันทึกว่า 10 ประเทศในอาเซียนจะมีประชากรคนทำงานมากกว่า 400 ล้านคนในปี 2020 เพิ่มขึ้นจาก 190 ล้านคนในปี 2012 (ข้อมูลพยากรณ์จาก Nielsen)

อีกส่วนหนึ่งคือจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีมากขึ้น วันนี้ชาวอาเซียน 130 ล้านคนใช้สมาร์ทโฟน คาดว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในภูมิภาคนี้จะแตะ 600 ล้านคนในปี 2025

ยอดขายอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้ยังมีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด การวิจัยล่าสุดของ Google และกลุ่มทุน Temasek Holdings คาดการณ์ว่ายอดขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโต 32% ต่อปีจาก 5.5 พันล้านเหรียญในปี 2015 พุ่งกระฉูดเป็น 8.8 หมื่นล้านเหรียญในปี 2025 ซึ่งจะทำให้ตลาดออนไลน์ครองสัดส่วนราว 6% ของตลาดค้าปลีกรวม

การเติบโตนี้เห็นชัดจากยอดขายวันคนโสด หรือ Singles Day ซึ่งในประเทศจีนมีการฉลองว่า Singles Day มีเงินสะพัดมูลค่าถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญในวันเดียว 24 ชั่วโมง โดย Lazada ซึ่งเป็นตลาดขายสินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็ได้รับอานิสงส์จากงานนี้ด้วย เพราะสามารถทำยอดขายที่ร้อนแรงได้ในช่วงโปรโมชั่น แม้จะไม่ได้โลดโผนโดดเด่นในระดับตัวแม่อย่างประเทศจีน

สำนัก Campaign Asia ยกให้ 1 ใน 7 แนวโน้มสำคัญที่จะมีผลต่ออีคอมเมิร์ซอาเซียนปี 2018 คือ Mobile Payment การชำระเงินบนอุปกรณ์พกพาที่ใครรองรับได้ดีกว่า ก็มีโอกาสชนะได้มากกว่า

1. Mobile Payment 

เรื่องนี้เห็นชัดจากวัน Singles Day เพราะการซื้อส่วนใหญ่ 70% ทำบนอุปกรณ์พกพา ความจริงนี้แสดงให้เห็นว่าการช้อปปิ้งบนมือถือกลายเป็นตัวเลือกที่สำคัญในวงการค้าปลีกออนไลน์ แม้ว่าอัตรา penetration หรือจำนวนผู้ใช้นอกสิงคโปร์ที่ยังอยู่ในระดับน้อย แต่การชำระเงินผ่านมือถือก็เริ่มแสดงให้เห็นว่าจะแพร่หลายมากขึ้น

แม้ผู้เล่นรายใหญ่ เช่น Android Pay และ Apple Pay จะไม่สามารถให้บริการนอกประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย แต่แบรนด์เล็กที่มาจากท้องถิ่นในประเทศอื่นก็เริ่มแทรกตัวเข้าสู่สายตาของผู้ใช้ทั่วภูมิภาคได้ เช่น อินโดนีเซียที่มี Ponselpay เป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่นำเสนอบริการ Mobile Payment ที่ไม่เหมือนใคร ในขณะเดียวกันประเทศไทยก็มี Line Pay ซึ่งได้ร่วมกับ Rabbit Card เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับระบบ BTS รวมถึงการชำระเงินในร้านค้าอื่น

ที่สำคัญคือ บริการ Mobile Payment ของ Alipay และ Wechat Pay กำลังเริ่มเข้าสู่ภูมิภาคนี้ บริการแดนมังกรที่มุ่งเน้นตลาดนักท่องเที่ยวจีนกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในโรงแรมขนาดใหญ่และเครือข่ายร้านอาหาร ซึ่งบริษัทแม่ทั้ง Alibaba และ Tencent ต่างก็เริ่มลงทุนในบริษัทท้องถิ่น จุดนี้มีการประเมินว่าปี 2018 จะเป็นปีที่ตัวเลือกการชำระเงินมีความหลากหลายมากขึ้น ระบบกระเป๋าเงินในโทรศัพท์มือถือจะมีความพร้อมใช้งานมากขึ้น คาดว่าการลงทุนในตลาดการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.2 หมื่นล้านเหรียญภายในปี 2021

2. Same-Day Delivery 

ไม่ต้องรอข้ามวัน แต่ Same-Day Delivery คือการจัดส่งสินค้าในวันเดียวกันกับที่สั่งซื้อ เหตุที่ Same-Day Delivery เป็นหนึ่งในเทรนด์แรงอีคอมเมิร์ซปี 2018 คือผลการศึกษาล่าสุดของบริษัทวิจัย L2 ที่พบว่า ผู้ซื้อ 1 ใน 4 รายจะเลิกซื้อสินค้าหากพบว่าร้านนั้นไม่มีบริการจัดส่งสินค้าในวันเดียว

สถิตินี้ตอกย้ำว่าลูกค้ามีแนวโน้มคาดหวังในการรับสินค้าที่สั่งซื้อไว้ได้เร็วขึ้น แนวโน้มนี้ทำให้ปี 2017 เจ้าใหญ่อย่าง Lazada ลงมือเปิดตัวบริการ Lazada Express ในฟิลิปปินส์ หลังจากเปิดที่สิงคโปร์มาก่อนหน้านี้ โดยเบื้องต้น บริการนี้ยังจำกัดอยู่ที่เมืองใหญ่และพื้นที่โดยรอบ

นอกจาก Lazada Express ยังมี Amazon Prime Now ที่เริ่มให้บริการที่สิงคโปร์ ร่วมด้วยผู้ค้ารายย่อยในหลายประเทศ ทั้งหมดนี้ส่งสัญญาณว่าปี 2018 จะเป็นปีที่ชาวอาเซียนในเมืองใหญ่จะมีโอกาสได้รับบริการ Same-Day Delivery มากขึ้น ซึ่งปัจจัยเสริมส่วนหนึ่งอาจมาจากบริการแอปพลิเคชันส่งสินค้าเช่น Uber Deliver และ GrabExpress ล้วนสามารถทำให้เกิดบริการ Same-Day Delivery ในระดับกลุ่มย่อยเฉพาะบางเมือง

3. Omnichannel

ตลอดปี 2017 หลายบริษัทพยายามเชื่อมช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เพื่อรองรับพฤติกรรมการช้อปปิ้งที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นปี 2018 การใช้แนวทาง omnichannel ในการขายและการบริการลูกค้าจึงมีทีท่ากลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งขึ้น เพราะผู้ค้าปลีกจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการผ่านโทรศัพท์มือถือ และเชื่อมช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ให้ดีขึ้นเพื่อนำลูกค้าเข้ามาให้มากขึ้น

omnichannel ในฝันที่จะเกิดขึ้นหนาตาในปี 2018 คือระบบที่สามารถติดตามและเชื่อมต่อประสบการณ์ของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เรียกว่าสร้างความต่อเนื่อง ให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา

4. Social Messengers & Chatbots 

สำนัก Business Insider Intelligence รายงานว่าการใช้แอปพลิเคชันรับส่งข้อความหรือ messaging app นั้นเริ่มมีความถี่ทรานเซฟชันมากกว่าการใช้เครือข่ายทางสังคมหรือ social network ในขณะที่รายงานของ The Economist ระบุว่ามีผู้ใช้กว่า 2.5 พันล้านคน ติดตั้งแอปส่งข้อความอย่างน้อยหนึ่งแอปบนสมาร์ทโฟนตัวเอง สถิตินี้ทำให้แบรนด์ส่วนใหญ่หันมาใช้ประโยชน์จากแอปสนทนา เพื่อโต้ตอบกับลูกค้าแบบส่วนบุคคล

ที่สำคัญคือ แบรนด์จำนวนมากเลือกใช้โปรแกรมสนทนาอัตโนมัติหรือ chatbot บนเพจ Facebook วิธีนี้จะทำให้ผู้ใช้ทราบข้อมูลสินค้าที่สนใจ และสามารถซื้อสินค้าได้จากหน้าสนทนาบน Facebook messenger ได้เลย รูปแบบที่สวยหรูนี้ทำให้เชื่อขนมกินได้ว่าจะมีอีกหลายแบรนด์ลงทุนในระบบสนทนาเพื่อให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าได้โดยตรง

5. Store in Store 

ที่ผ่านมา หลายแบรนด์ยึดมั่นในโอเดล Brand.com หรือการสร้างเว็บไซต์เพื่อใส่ชื่อแบรนด์ตัวเองเพื่อต่อท้ายด้วยคำว่าดอทคอมเว็บไซต์นี้เป็นแหล่งที่เหล่าแบรนด์ใช้ขายสินค้าโดยที่ยังสร้างแบรนด์ได้เหนือกว่าการขายในตลาดออนไลน์ เพราะแบรนด์สามารถออกแบบ ทำโครงสร้าง หรือให้ทางเลือกในการจัดส่งได้ยืดหยุ่นกว่า แต่วันนี้ตลาดอย่าง Amazon และ Lazada นั้นร้อนแรงจนทำให้แบรนด์ต้องปรับตัว ด้วยการสร้างร้านในร้านหรือการสร้างเพจร้านค้าของตัวเองในร้านตลาดออนไลน์รายใหญ่

ผลคือลูกค้าของแบรนด์จะมีประสบการณ์ใหม่ในการซื้อสินค้าของแบรนด์ ตัวอย่างชัดเจนคือ Levi’s ที่ร่วมมือกับร้านออนไลน์หลายแห่งรวมทั้ง Amazon และ Lazada ออกแบบเพจร้านขายยีนส์ของตัวเอง โดยจัดเต็มทั้งคอลเลกชันล่าสุด โปรโมชัน และลายสินค้าอื่นในกลุ่ม บนการออกแบบหน้าเว็บสไตล์เฉพาะของ Levi’s ผลลัพท์คือเจ้าพ่อยีนส์โลกสามารถแสดงตัวตนของแบรนด์ บนทราฟฟิกมหาศาลจาก marketplace ยอดนิยม

6. Blockchain/Cryptocurrency 

ถ้าพูดถึง blockchain ก็ต้องพูดถึง cryptocurrency ด้วย เดิมทีเทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาเป็นองค์ประกอบหลักของ bitcoin แต่วันนี้ blockchain กลายเป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกวงการ เนื่องจากลักษณะการกระจายอำนาจและการออกแบบที่ปลอดภัย 

เทรนด์แรงสำหรับการค้าออนไลน์ปี 2018 คือแอปพลิเคชันชั้นนำจะเริ่มให้ cryptocurrency เป็นตัวเลือกการชำระเงินสำหรับลูกค้า นอกจากนี้ ระบบ blockchain จะถูกใช้ในระบบการผลิตสินค้าราคาแพง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าสินค้าที่เห็นในร้านออนไลน์ไม่ใช่สินค้าปลอมเกรดเอ

7. GDPR 

พฤษภาคม 2018 คือกำหนดการที่ General Data Protection Regulation (GDPR) หรือนโยบายป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลใหม่จะเริ่มมีผลกับชาวอียู แม้ว่าจะยังจำกัดในตลาดยุโรป แต่คาดว่า GDPR นี้จะมีผลต่อ ecommerce ทั่วโลก ซึ่งจะมีโอกาสส่งผลถึงอาเซียนด้วย

สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผู้ค้า ecommerce จะต้องได้รับการยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อรวบรวมและรักษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า ทั้งหมดนี้จะครอบคลุมถึงการสร้างโปรไฟล์ เพราะถือเป็นข้อมูลและผู้ค้าต้องได้รับการยินยอมจึงจะสามารถรับข้อมูลหรือทำการตลาดบนเว็บไซต์นั้น นอกจากนี้ กฏหมายนี้ยังครอบคลุมถึงการส่งข้อมูลลูกค้าให้บริษัทอื่น เช่น ผู้ให้บริการจัดส่งสินค้า ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงแบบทั่วทั้งวงจร

เหตุผลที่ทำให้สรุปเช่นนี้คือสิงคโปร์นั้นเป็นพันธมิตรสำคัญของสหภาพยุโรป ธุรกิจมากมายในสิงคโปร์จะต้องปรับรูปแบบให้บริการให้ทันเพื่อไม่ให้ต้องถูกลงโทษปรับได้ แม้ทุกธุรกิจจะรู้ดีว่าต้องเริ่มดำเนินการแล้ว แต่การสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างกว่า 56% ในสิงคโปร์หวั่นใจว่าอาจไม่สามารถปรับรูปแบบให้บริการได้ทันตามกำหนด

นอกเหนือจาก 7 สิ่งนี้ ยังมีลูกเล่นใหม่หรือโอกาสใหม่ที่เหล่าแบรนด์จะสรรหามาได้แบบเกินคาดเดา ซึ่งใครทำได้ดีทำได้โดน ก็อาจจะสามารถโกยลูกค้าและทำเงินได้มากกว่าการถูกหวยแน่นอน.

ที่มาcampaignasia.com/article/7-ecommerce-trends-that-will-shape-sea-sales-in-2018/441827

]]>
1151736
เทมาเส็กจับมือกูเกิล แนะธุรกิจไทยคว้าโอกาสจากดิจิทัล ฟันธง 10 ปี ตลาดออนไลน์แตะ 37 พันล้านเหรียญ https://positioningmag.com/1111357 Mon, 19 Dec 2016 23:55:24 +0000 http://positioningmag.com/?p=1111357 Google ร่วมกับ Temasek เปิดเผยผลวิจัยล่าสุด ในชื่อว่า “e-conomy SEA: Unlocking the $200 billion opportunity in Southeast Asia.” ที่แสดงถึงศักยภาพและโอกาสต่างๆ ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 6 ประเทศ

สำหรับประเทศไทยมีการเติบโตของอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว ในอัตรา 9% ต่อปี และจะคิดเป็น 59 ล้านคน ในปี 2020 เพิ่มจาก 38 ล้านคน ในปี 2015 ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับธุรกิจในประเทศ

โดยคาดว่าในสิบปีข้างหน้าตลาดออนไลน์ในประเทศไทยจะเติบโตไปถึง 37,000 ล้านเหรียญ (หรือราว 1.3 ล้านล้านบาท) ในปี 2025 ซึ่งธุรกิจอีคอมเมิร์ซและท่องเที่ยวจะมีมูลค่ารวมกันแล้วคิดเป็น 88% ของมูลค่าตลาดโดยรวมทั้งหมด

ปัจจัยที่ขับเคลื่อนตลาดให้เติบโต ของประเทศไทยคือตลาดใหม่ที่มีศักยภาพการเติบโตด้านรายได้สูง โดย 58% ของประชากรมีอายุต่ำกว่า 40 ปี และในปี 2011 ธนาคารโลกได้ปรับฐานะให้ไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง และยังเป็นประเทศที่มีอัตราการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับสูงด้วยเช่นกัน 57% ของประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และมีผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มากกว่า 85 ล้านเลขหมาย (หรือคิดเป็น 125% ของจำนวนเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อประชากรรวม) ทั้งบนเครือข่าย 3G และ LTE การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเหล่านี้มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว สูงเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยความเร็วการดาวน์โหลดอยู่ที่ 19.82 Mbps

1.โอกาสของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ :

ตลาดอีคอมเมิร์ซจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี 29% จากมูลค่าราว 900 ล้านเหรียญเมื่อปี 2015 เพิ่มขึ้นเป็น 11,000 ล้านเหรียญในปี 2025

2.โอกาสของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวออนไลน์ :

คาดการณ์ตลาดท่องเที่ยวออนไลน์ของไทยจะเติบโตราว 5.2 เท่า ภายในปี 2025 หรือคิดเป็นมูลค่าราว 21,700 ล้านเหรียญ เติบโตเฉลี่ยต่อปีประมาณ 18%)

a. โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์อย่างโรงเเรมและการบินต่างๆ ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตจะเติบโตถึง 5 เท่าภายในปี 2025 จะมีมูลค่าแตะ 76,000 ล้านเหรียญ (อัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี 15%) ซึ่งคิดเป็น 85% ของมูลค่าตลาดการท่องเที่ยวโดยรวม

3.โอกาสของแอปร่วมเดินทาง :

มีการคาดการณ์ธุรกิจการเดินทางออนไลน์จะเติบโตมีมูลค่าราว 1,900 ล้านเหรียญในปี 2025

คาดโฆษณาดิจิทัลจะมีมูลค่า 4.35 พันล้านเหรียญในปี 2025

จากข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ จึงไม่แปลกใจเลยว่าการใช้จ่ายของโฆษณาดิจิทัลมีแนวโน้มเติบโตถึง 6.2 เท่า มีมูลค่าราว 4.35 พันล้านเหรียญ ในปี 2025 (อัตราเติบโตเฉลี่ย 20% ต่อปี) โดยข้อมูลยังชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นแหล่งรวมธุรกิจสตาร์ทอัพสำคัญ โดยมีจำนวนธุรกิจสตาร์ทอัพอยู่ราว 358 ราย

ประเทศไทยต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อคว้าโอกาสนี้

รายงานนี้แสดงให้เห็นว่ามีโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยมากมายในขณะนี้ ด้วยการเอาชนะความท้าทายต่างๆ ทั้งด้านการขนส่งและการติดต่อระหว่างประเทศ การพัฒนาระบบการชำระเงิน การพัฒนาศักยภาพของตลาด การป้องกันภัยคุกคามและความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์ ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการลงทุนอย่างเร่งด่วน

มร. เบน คิง หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Google ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า “ไม่เคยมีช่วงเวลาใดที่ดีที่สุดในการเริ่มทำธุรกิจเท่าช่วงเวลานี้ในประเทศไทย ด้วยประโยชน์ทั้งหมดทั้งมวลที่อินเทอร์เน็ตมอบให้พวกเรา มันเต็มไปด้วยโอกาสที่ประเทศไทยจะได้รับอย่างมหาศาลจากดิจิทัล ด้วยมูลค่าถึง $37 พันล้านเหรียญ  (ราว 1.3 ล้านล้านบาท) ผมมั่นใจว่าเราสามารถเอาชนะความท้าทายต่างๆ และตอนนี้ก็มีธุรกิจไทยที่เป็นตัวอย่างของความสำเร็จ รวมถึงธุรกิจสตาร์ทอัพที่กลายเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคอื่นๆ อยู่จำนวนมาก Google มีความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือธุรกิจทุกระดับไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือเป็นธุรกิจท้องถิ่นขนาดเล็ก ให้สามารถเชื่อมต่อลูกค้าใหม่ๆ ทั้งในเมืองไทยและในต่างประเทศทั่วโลกเพื่อเข้าถึงธุรกิจเหล่านี้ได้”

]]>
1111357