ติ่งมืออาชีพ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 31 Jul 2017 06:19:46 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ติ่งมืออาชีพ” สร้างรายได้จากความคลั่งไคล้ https://positioningmag.com/1134566 Mon, 31 Jul 2017 05:12:07 +0000 http://positioningmag.com/?p=1134566 พวกเขาและเธออาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ในบางกลุ่มเป็นแฟนคลับ, บางกลุ่มเป็นโอตาคุ และบางกลุ่มเป็นติ่ง แต่ทั้งหมดล้วนมีจุดร่วมด้วยกันคือ เป็นผู้คลั่งไคล้ และทุ่มเทให้กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างหมกมุ่น อาจจะใช้เงิน “แทบทั้งหมด” กับ “งานอดิเรก” ที่เป็นการติดตามศิลปินในดวงใจ แต่บางคนกลับสามารถหาวิธีทำเงินจากหมู่แฟนด้วยกันได้อย่างเหลือเชื่อ

แน่นอนว่ากลุ่มแฟนคลับที่เป็นที่พูดถึงมากที่สุดนยุคนี้ก็คงจะหนีไม่พ้นกลุ่มแฟนคลับของศิลปินเกาหลี ที่ถูกเรียกว่า “ติ่ง” ที่อาจจะเป็นโชคดี หรือโชคร้ายของหนุ่มสาวเหล่านี้ก็ได้ ที่เกิดมาในยุค “อินเทอร์เน็ต” ที่ทำให้สามารถใช้เวลาแทบจะทุกวินาทีในชีวิตติดตามความเคลื่อนไหวของศิลปิน

ที่ผ่านมานอกจากการเสียเงิน ซื้อของที่ระลึก ซื้อบัตรคอนเสิร์ต-บัตรเข้างานมีทติ้ง หรือกิจกรรมต่างๆ ในราคาหลักพันหลักหมื่น แล้วเรามักจะได้ยินข่าวคราววีรกรรมแปลกๆ ของบรรดาติ่งทั้งหลายชนิดที่ทำเอางงงวยว่าอะไรมันจะคลั่งไคล้ขนาดนั้นอยู่ตลอดเวลา

เช่น จองโรงแรมหรือจองห้องข้างๆ ห้องที่ศิลปินพัก เหมาหรือเช่ารถตู้ให้ขับตาม ซื้อป้ายโฆษณาตามสถานีรถไฟฟ้าในวันสำคัญของตัวศิลปินที่ชื่นชอบ ขณะที่บางส่วนก็ถึงขนาดลงทุนซื้อตั๋วเครื่องบินเพียงเพื่อให้ได้บอร์ดดิงพาสเข้าไปยังพื้นที่พักผู้โดยสารที่ศิลปินคนโปรดรอขึ้นเครื่องทั้งที่ไม่ได้ต้องการจะบินไปไหนก็ยังมี

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าพวกเขาและเธอจะเป็นติ่งที่ยอมเสียเงินอยู่ฝ่ายเดียวเสมอไป หากแต่ยังมีติ่งบางส่วนที่สามารถหารายได้และทำกิจกรรมในสิ่งที่ตนเองชื่นชอบไปพร้อมๆ กัน แถมรายได้นั้นก็ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

แพ็กเกจพา “ติ่งทัวร์” กำลังแรง

สำหรับการหารายได้ของบรรดาติ่งทั้งหลายประกอบไปด้วยช่องทางหลากหลายรูปแบบ อาทิ เขียนนิยาย Y ขาย, การคัฟเวอร์การแสดง หรือจะเป็นในโหมด “แม่ค้า” ที่ขายทั้งโฟโต้บุ๊ก จัดนิทรรศการภาพถ่าย ทำพัด ผ้าเชียร์, การ์ตูนที่ทำเป็นสติกเกอร์, ตุ๊กตา หางบัตรคอนเสิร์ต สร้อยข้อมือ พวงกุญแจ การ์ด โปสเตอร์ ของหายาก ของที่มีลายเซ็น ฯลฯ

ตลอดจนบางส่วนที่อยู่ในข่ายที่เรียกว่า “รับจ้าง” ทั้งหลาย เช่น รับพรีออเดร์สินค้าต่างๆ ทั้งที่บินไปเองหรือสั่งซื้อผ่านชิปปิ้ง รับจ้างกดบัตรคอนเสิร์ต (ไปยืนต่อแถวให้ซึ่งสนนราคาโดยทั่วไปก็คือ 1 เท่าตัวของราคาตั๋ว), รับหิ้วของหน้าคอนเสิร์ตในราคาชิ้นละ 20 -30 บาท หรือบางคนเชี่ยวชาญมากๆ ก็อาจจะก้าวขึ้นไปเป็นผู้จัดงานแฟนมีตติ้งขายบัตรให้แฟนคลับเข้าร่วมงานทั้งที่ตัวศิลปินเองอาจจะไม่จำเป็นจ้องบินมาร่วมด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับในบ้านเราเองที่กำลังเป็นที่นิยมกันอยู่ในตอนนี้ก็คือการจัดแพ็กเกจพาติ่งทัวร์ ซึ่งไม่ใช่แค่ไปดูคอนเสิร์ตหรือไปท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ ตามรอยซีรีส์อะไรเท่านั้น หากแต่เป็นแพ็กเกจทัวร์ที่จะเป็นการตามศิลปินที่ไปทำกิจกรรมต่างๆ จริงๆ เช่น พาเข้าไปในห้องส่งที่ศิลปินนั้นๆ กำลังอัดรายการอยู่ หรือไปตามงานอีเวนต์ตามสถานที่ต่างๆ ที่ซึ่งศิลปินจะไปร่วมงานด้วย

โดยสนนราคาทริปประเภทนี้ก็มีให้เลือกมากมายหลากหลายราคา เช่น 5 คืน 6 วัน ในราคา 3 หมื่น 9 (ไม่รวมค่าอาหาร), 7 วัน 6 คืน 3 หมื่นบาท, 5 วัน 4 คืน 29,000 บท ฯลฯ

“พวกนี้เค้าจะมีการคุยเฉพาะกลุ่มๆ ไปค่ะ เราก็ลองเข้าไปสอบถามตามทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก ว่าเราสนใจจะไปตามใคร หรืออยากจะไปที่ไหนบ้าง กี่วัน มีกิจกรรมอะไรบ้าง ซึ่งคนที่พาไปก็จะเป็นพี่ๆ หรือคนที่เค้าไปมาแล้วบ่อยๆ…ถามว่าคนจัดเค้าได้กำไรมากมั้ย อันนี้หนูก็ไม่รู้เหมือนกันค่ะ” แฟนคลับเกาหลีคนหนึ่งที่จะไปทัวร์ดังกล่าวในช่วงเดือนสิงหาคมนี้เผย

สินค้า “อย่างไม่เป็นทางการ” … ที่มารายได้ก้อนใหญ่

วงการเพลงเกาหลีใต้มีรายได้จากการขายสินค้าต่อมายกระดับเป็นพันล้านเหรียญสหรัฐ ต่อไป ว่ากันว่าสูงกว่ายอดขายผลงานในยุคที่การละเมิดลิขสิทธิ์รุนแรงสุดขีดด้วยซ้ำไป เพราะสำหรับแฟนคลับศิลปินเกาหลีใต้แล้วพร้อมที่จะทุ่มเงินอย่างไม่อั้น อย่างที่มีการพูดติดตลกว่า “ติ่ง” พร้อมที่จะซื้อ “ทุกอย่างที่ใบหน้าของศิลปินแปะอยู่” ไม่ว่าสินค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้า “อย่างเป็นทางการ” จากต้นสังกัดของศิลปินในดวงใจหรือไม่ก็ตาม

ซึ่งนั่นก็ทำให้นอกจากสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมายจากบริษัทต้นสังกัด หรือผู้ที่จ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ไปแล้ว ก็ยังมีสินค้าประเภท “ไม่เป็นทางการ” ที่กลุ่มแฟนคลับทำกันเองออกมาด้วย

สื่อเกาหลีใต้บอกว่าเป็นเรื่องปกติที่แฟนคลับจะทำของสะสมแบบ “แฮนด์เมด” หรือ “ทำมือ” กันเป็นงานอดิเรก แต่ก็มีแฟบคลับบ้างกลุ่มที่สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ “ใกล้เคียง” กับของมีลิขสิทธิ์ออกมาได้ อาจจะเป็นเสื้อยืด, ตุ๊กตา, ปลอกหมอน, ปฏิทัน, โฟโต้บุ๊ก และอื่นๆ อีกมากมาย

มีแฟนคลับจำนวนไม่น้อยที่ลงทุนซื้อกล้องราคาแพงระดับมืออาชีพ เพื่อถ่ายภาพของศิลปิน และนำมาขาย หรือนำมาผลิตเป็นสินค้าต่างๆ สาวชาวเกาหลีใต้คนหนึ่งยอมรับว่าเธอทุ่มเงินเก็บก้อนแรกในชีวิตเพื่อซื้อกล้อง DSLR ความละเอียดสูง และเลนส์สำหรับถ่ายภาพระยะไกล เพื่อเก็บภาพศิลปินในดวงใจ และนำมาขายต่อให้กับแฟนคลับคนอื่นๆ

มีแฟนคลับอีกคนที่ผลิตโฟโต้บุ๊กจากภาพที่เธอถ่ายเอาไว้เอง และขายในราคาเล่มละ 13,000 วอน เมื่อประกาศจำหน่ายก็มีคนติดต่อเข้ามาเป็นร้อยๆ จนทำเงินได้สูงถึง 500,000 วอน ในระยะเวลาแค่พริบตาเท่านั้น โดยเฉพาะ แฟนวัยทำงานบางคนยอมรับว่าตนแทบจะทำเงินจาก “งานอดิเรก” เหล่านี้มากกว่างานประจำของตัวเองด้วยซ้ำไป

ว่ากันว่าตอนนี้มีเว็บไซต์ขายสินค้า “อย่างไม่เป็นทางการ” ของวง EXO มากถึง 300 เว็บไซต์ หากรวมของศิลปินวงอื่นด้วย ก็คงมีเว็บไซต์ประเภทนี้อยู่เป็นพันๆ ในโลกนออนไลน์ของเกาหลีใต้ 

เหรียญสองด้าน

ขณะที่การขายของสามารถทำเงินให้กับแฟนคลับได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่ในเวลาเดียวกัน “แฟนคลับอาชีพ” เหล่านี้ก็สร้างปัญหาให้กับทั้งแฟนคลับด้วยกัน, ต้นสังกัด รวมถึงตัวของศิลปินด้วยเช่นเดียวกัน

 เอเยนซี่แห่งหนึ่งให้ข้อมูลกับสื่อเกาหลีใต้ว่าเคยมีแฟนคลับประเภทนี้ ที่ลงทุนซื้อตั๋วเครื่องบินติดกับศิลปิน เพื่อให้ได้ถ่ายภาพในช่วงเวลาที่ไม่มีใครได้โอกาสบันทึก ขณะที่แฟนคลับบางส่วนก็ไม่ค่อยชื่นชมกับการถ่ายภาพ หรือบันทึกภาพงานแสดงของศิลปินที่บางครั้งอาจจะเข่าข่ายผิดกฎ และสร้างความรำคาญให้กับแฟนๆ คนอื่นๆ

ในหมู่แฟนคลับเองก็มีความเห็นเกี่ยวกับการ “หาเงิน” ลักษณะนี้แตกต่างกันออกไป บางคนเชื่อว่าแฟนๆ ไม่ควรจะไปละเมิดลิขสิทธิ์ของศิลปินในดวงใจ ส่วนแฟนๆ จำนวนไม่น้อยก็ต่อต้านการขาย หรือนำ “สินค้าถูกลิขสิทธิ์” มาเก็งกำไรขายกันในหมู่แฟนๆ เพราะเชื่อว่านี่ไม่ใช่พฤติกรรมของแฟนตัวจริง

แต่คนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นต้นสังกัดของศิลปิน ที่กำลังถูกละเมิดสิทธิ์ของศิลปินในสังกัด จนมีความวิตกกังวลว่าประเด็นดังกล่าวจะสร้างปัญหาให้กับการหารายได้ของ K-Pop ในอนาคต อย่างไรก็ตาม เอเยนซี่ยักษ์ใหญ่ระดับ 1 ใน 3 ของประเทศอย่าง SM Entertainment กลับมองเรื่องนี้แตกต่างออกไป 

ตัวแทนของ SM Entertainment ยอมรับว่าสินค้า “ไม่เป็นทางการ” จำนวนไม่น้อยเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัท แต่พวกเขาก็คงไม่ดำเนินการทางกฎหมายใดๆ เพราะมองว่า “นี่คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแฟนคลับมากกว่า” ยิ่งไปกว่านั้น SM Entertainment ยังชื่นชมว่าไอเดียของ “สินค้า” จากบรรดาแฟนคลับหลายๆ ชิ้นมีความน่าสนใจ “เรามักจะเก็บเอาไอเดียพวกนี้มาสะสมเอาไว้ สำหรับพัฒนาสินค้าของเราเองในอนาคตเสมอ”

และที่สำคัญแม้แฟนคลับหลายๆ คนจะสามารถหาเงินจากความชื่นชมในตัวศิลปินได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่จำนวนน้อยไม่น้อยก็หมดเงินเหล่านั้นแทบจะทั้งหมด กลับไปให้ศิลปินทั้งในรูปของสินค่าต่างๆ และตั๋วคอนเสิร์ตอยู่ดี 


ที่มา : manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9600000072172

]]>
1134566