ถอนเงิน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 30 Jun 2021 10:50:47 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ถอน 20 บาทได้แล้ว! “บุญเติม” ขยับจากตู้เติมเงิน สู่ Mini ATM ฝาก โอน ถอนเงินสด https://positioningmag.com/1339940 Wed, 30 Jun 2021 10:27:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339940 บุญเติมขยับตัวครั้งใหญ่ สู่ธนาคารชุมชน เปิด Mini ATM ทำธุรกิจการเงินครบวงจรเต็มรูปแบบ ฝาก-โอน-ถอนเงินสด-เปิดบัญชีธนาคาร ผ่าน “ตู้บุญเติม” จบครบในที่เดียวได้แล้ว หลังประกาศความร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย เปิดบริการถอนเงินสดผ่าน K PLUS ได้ที่ตู้บุญเติม

พงษ์ชัย อมตานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (FSMART) เปิดเผยว่า

“บริษัทได้ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทย โดยจะเปิดให้บริการถอนเงินสด (Mini ATM) ผ่าน “ตู้บุญเติม” ได้ จากก่อนหน้าประชาชนสามารถทำธุรกรรมด้านการเงินที่  “ตู้บุญเติม” จากการเป็นตัวแทนธนาคาร (แบงกิ้ง เอเย่นต์) เพียงการฝากเงิน/โอนเงิน และยืนยันตัวตนในการเปิดบัญชีธนาคารเท่านั้น ซึ่งการเปิดให้บริการถอนเงินสดได้ จะทำให้ “บุญเติม” เป็นตู้อัตโนมัติ ที่ให้บริการทางการเงินได้อย่างครบวงจร และสนับสนุนให้ “ตู้บุญเติม” บรรลุเป้าหมาย เสมือนเป็นสาขาธนาคารในชุมชนอย่างแท้จริง ในอนาคตจะเปิดให้บริการขอสินเชื่อบุคคลผ่านตู้บุญเติมด้วย ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องเดินทางไปที่สาขาหรือตู้เอทีเอ็มของธนาคาร”

การถอนเงินสดผ่านตู้บุญเติม เป็นการถอนเงินโดยไม่ต้องใช้บัตร โดยลูกค้าเพียงกดทำรายการ เลือกบัญชีที่ใช้ถอนเงินและจำนวนเงินที่ต้องการได้บน K PLUS จากนั้นใช้ K PLUS นำมาสแกน QR Code บนตู้บุญเติม เพื่อรับเงินสดที่ถอน

สามารถถอนได้ต่ำสุดตั้งแต่ 20 บาท สูงสุดครั้งละไม่เกิน 3,000 บาท หรือ 20,000 บาท/วัน และสามารถถอนได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง โดยการถอนเงินที่ตู้บุญเติม มีความปลอดภัยมาตรฐานเดียวกับการถอนเงินที่ K-ATM และในอนาคตจะขยายความร่วมมือในการให้บริการถอนเงินสดกับธนาคารพันธมิตรอื่นๆ อีก 5 ธนาคารที่เหลือ รวมทั้งจะเพิ่มจำนวนธนาคารที่บุญเติมจะเข้าไปเป็นแบงกิ้ง เอเย่นต์อีก 1-2 ธนาคาร

ในระยะเริ่มต้นเฟสแรก การถอนเงินสดผ่าน ”ตู้บุญเติม” เป็นการถอนเงินโดยไม่ต้องใช้บัตรผ่าน Mobile Application จากนั้นเฟสถัดไปจะรองรับการถอนเงินโดยใช้บัตรประชาชน หรือบัตรเดบิต เพื่ออำนวยความสะดวกกับลูกค้าที่ไม่ได้ใช้งาน Mobile Application

ประเมินว่าการทำธุรกรรมถอนเงินสดผ่าน Mini ATM ของบุญเติมยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก แม้ตลาดจะมีแนวโน้มการใช้บริการอีเพย์เมนต์มากขึ้น แต่จำนวนธุรกรรมการถอนเงินสดผ่านตู้ ATM ในระบบธนาคารปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 180 ล้านรายการต่อเดือน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับปริมาณเงินสดหมุนเวียนในประเทศ

ดังนั้น หากลูกค้ามาใช้บริการถอนเงินสดที่ Mini ATM ของบุญเติมเพียงแค่ 1% เท่านั้น ซึ่งจะเท่ากับ 1.8-2 ล้านรายการต่อเดือน ซึ่งส่วนแบ่งดังกล่าวมีโอกาสเป็นไปได้สูง เทียบกับบริการรับฝากเงินที่ตู้บุญเติม ซึ่งปัจจุบันมีการทำธุรกรรม 2 ล้านรายการต่อเดือน หรือราว 10% ของการฝากเงินผ่านตู้อัตโนมัติ CDM ของระบบธนาคาร ที่มีการใช้บริการอยู่ 20 ล้านรายการต่อเดือน

คาดว่าจะมีธุรกรรมถอนเงินสดจากตู้บุญเติม ราว 2 ล้านรายการต่อเดือน ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับการทำธุรกรรมฝากเงินและโอนเงินที่ตู้บุญเติมในปัจจุบัน แต่จากการศึกษาข้อมูล สถิติการทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็มของธนาคารต่างๆ ในปัจจุบัน พบว่าการถอนเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มจะมีปริมาณมากกว่าการฝากเงินถึง 8 เท่า

ดังนั้นการที่บริษัทรุกเข้าไปพัฒนาและเป็นตัวแทนธนาคาร ให้บริการถอนเงินสดผ่านตู้บุญเติมในครั้งนี้ ทำให้แนวโน้มปริมาณการทำธุรกรรมผ่านตู้บุญเติมมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก

โดยในระยะเริ่มต้นคาดว่าจะมีตู้บุญเติมที่ให้บริการธุรกรรมถอนเงินสดได้ราว 200 ตู้ และจะทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ตู้ให้เร็วที่สุด โดยจะเลือกตู้บุญเติมที่มีจำนวน หรือยอดผู้เข้ามาใช้บริการฝากเงิน/โอนเงินจำนวนสูงสุดก่อน เพื่อเป็นฐานเริ่มต้นในการเปิดให้บริการถอนเงินสด รวมทั้งพื้นที่ห่างไกล ที่ไม่มีธนาคาร หรือตู้ ATM ซึ่งคาดว่าจะช่วยทำให้ปริมาณธุรกรรมทางการเงินเติบโตปีละ 30%ในช่วง 2-3 ปีนี้

]]>
1339940
แบงก์ชาติ ปฏิเสธ เซเว่นฯ ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ เป็นแค่แบงก์เอเยนต์ ฝาก โอน ชำระเงิน เท่านั้น https://positioningmag.com/1157603 Mon, 19 Feb 2018 12:00:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1157603 ธปท. แจงเปิดให้ธนาคารมีแบงกิ้งเอเยนต์ หรือตัวแทนธนาคารตั้งแต่ปี 53 ปัจจุบันมี 5 รายได้แก่ ตู้บุญเติม ตู้เติมสบาย เคาน์เตอร์เซอร์วิสในเซเว่นฯ แอปฯ แอร์เพย์ และไปรษณีย์ไทย ให้รับฝาก-โอนเงินเข้าบัญชีได้ เตรียมปรับเพิ่มให้ถอนเงินได้มีนาคมนี้ ไม่เกิน 5 พันบาทต่อรายการ หรือ 2 หมื่นบาทต่อวัน 

นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงว่า ตามที่มีการแชร์ในโลกโซลเชียลว่า ร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น (7-11) ได้รับใบอนุญาตให้เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่นั้น ไม่เป็นความจริง และเป็นรายละเอียดของร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นในประเทศญี่ปุ่น ธปท. ยืนยันไม่มีนโยบายอนุมัติใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่แต่อย่างใด 

อย่างไรก็ตาม เพื่อการให้บริการประชาชนสะดวกและทั่วถึง ธปท. ได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนธนาคารพาณิชย์ หรือแบงกิ้งเอเยนต์ เพื่อทำหน้าที่แทนธนาคารพาณิชย์ได้ในบางธุรกรรม คือ รับฝากเงิน รับชำระเงิน จ่ายบิล ซึ่งอนุญาตให้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ทั้งขนาดใหญ่ และขนาดกลาง แต่งตั้งแบงกิ้งเอเยนต์ รวมถึงผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เพย์เมนต์ และผู้ให้บริการรับชำระบิลค่าสินค้า สาธารณูปโภค เช่น เทสโก้โลตัส, บิ๊กซี เป็นต้น ถือเป็นแบงกิ้งเอเยนต์ที่สามารถรับชำระเงิน และจ่ายบิลได้ โดยมีแบงกิ้งเอเยนต์ 5 ราย คือ ตู้บุญเติม ตู้เติมสบาย เคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเซเว่น-อีเลฟเว่น และแอปพลิเคชัน แอร์เพย์ รวมทั้งไปรษณีย์ไทยได้รับอนุญาตให้สามารถรับฝากและโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ 

นอกจากนี้ ธปท. กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคาพาณิชย์ คาดว่าจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะเพิ่มบริการให้กับแบงกิ้งเอเยนต์สามารถถอนเงินได้ โดยให้บริการถอนเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน สำหรับผู้ใช้บริการแต่ละราย โดยที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องขออนุญาตในการตั้งแบงกิ้งเอเยนต์จาก ธปท. แล้ว ยกเว้นกรณีการตั้งบุคคลธรรมดา เช่น ร้านค้าชุมชนให้มาขออนุญาตเป็นกรณี 

“แบงกิ้งเอเยนต์เกิดนานแล้วตั้งแต่ปี 2553 เช่น ธนาคารกสิกรไทย แต่งตั้งเคาน์เตอร์เซอร์วิสให้เป็นผู้ดำเนินการแทนธนาคารพื้นที่ต่างจังหวัด กรณีมีลูกค้าโอนเงินสามารถไปรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกลูกค้าที่อยู่พื้นที่ห่างไกล หรือธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อยแต่งตั้งไปรษณีย์ไทยเป็นผู้รับฝากเงิน เป็นต้น ในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บังกลาเทศ และอินเดีย ก็ทำลักษณะเดียวกัน” นายสมบูรณ์ กล่าว

นางสาวเมทินี ศุภสวัสดิกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. ยืนยันว่า การที่แบงก์พาณิชย์จะแต่งตั้งแบงก์กิ้งเอเยนต์ต้องมีการดูแลอย่างเข้มข้น โดยต้องเป็นนิติบุคคลที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือมีคดีทางอาญา และฉ้อโกง การแต่งตั้งตัวแทนต้องพิจารณาตามความเหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี แบงก์พาณิชย์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำของตัวแทน ซึ่งต้องมีการเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดของแบงกิ้งเอเยนต์ต่อสาธารณะ รวมทั้งค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจะต้องจ่ายให้กับแบงกิ้งเอเยนต์ เพื่อเป็นทางเลือกกับประชาชนในการตัดสินใจ.

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/stockmarket/detail/9610000017117

]]>
1157603