โดย “นันยาง” เปิดให้สั่งจองล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 15 – 23 สิงหาคม 2562 ผ่านช่องทางการสั่งจอง เว็บไซต์ www.KHYA.net, LAZADA, SHOPEE, Thailand Post Mart และที่ทำการไปรษณีย์ไทย ราคาคู่ละ 399 บาท
สรุปโปรเจกต์ รองเท้าแตะ KHYA (ขยะ) รองเท้าที่ผลิตจากการเก็บขยะทะเล 5 กิโลกรัมต่อ 1 คู่ มียอดสั่งจองเพื่อผลิตทั้งสิ้น 27,886 คู่ คิดเป็นขยะประมาณ 139,430 กิโลกรัม รวมมูลค่ายอดจำหน่าย กว่า 11 ล้านบาท เป็นยอดสั่งจองที่สูงกว่าเป้าหมายที่วางไว้เพียง 2,000 คู่ โดยรองเท้าแตะขยะจะจัดส่งภายในเดือน พ.ย. 2562
ต้องถือเป็นความสำเร็จอีกครั้งของ “นันยาง” ในการจัดทำรองเท้ารุ่นลิมิเต็ด จากการทำ Nanyang Red เมื่อ “ลิเวอร์พูล” ได้แชมป์ยุโรป เดิมคาดว่ามียอดจอง 1,000 คู่ แต่สรุปไปจบที่ 12,598 คู่
]]>แต่สิ่งที่ “นันยาง” แบรนด์รองเท้าอายุ 60 กว่าปียังทำมาตลอดคือรักษาความ “เก๋า” เหมือนกับสโลแกนที่ว่า “เก๋ามาตั้งแต่รุ่นพ่อ” เมื่อความท้าทายเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและมีเดีย สิ่งที่ต้องตอบโจทย์ คือ การเข้าไปอยู่กับผู้บริโภคในสื่อที่พวกเขาเสพ ทั้งโซเชียล มีเดีย และสื่ออื่นๆ นั่นคือสิ่งที่ “เราต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามให้ทันและเข้าใจลูกค้าในทุกยุค”
อย่างก่อนหน้านี้วิธีที่นันยางเลือกใช้คือ “Real Time Marketing” โดยเลือกออก “นันยางสีแดง” โดยสัญญาว่า จะทำจริงๆ หากลิเวอร์พูลได้แชมป์ยุโรปซึ่งคิดไอเดียนี้ภายใน 3 วัน แม้ตอนแรกจะไม่ได้ทันทีแต่อีก 2 สัปดาห์ปรากฏว่าได้จริงๆ จึงต้องโปรเจกต์นี้จึงเกิดขึ้นจนได้
ผลตอบรับดีเกิดคาดเพราะตอนแรกคาดว่า จะมียอดจองเพียง 1,000 คู่เท่านั้น แต่ปรากฏว่ามียอดจองเข้ามาทั้งหมด 12,598 คู่
จักรพล จันทวิมล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและขาย บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า สิ่งที่ได้เรียนรู้คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหลังจากที่ยอดจองเกินความคาดหมาย ซึ่งเป็นการรับตอบจากแฟนนันยางทั้งในอดีตและปัจจุบัน แต่สิ่งที่ได้มากกว่านั้นคือ “การสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ลูกใจเด็กๆ ซึ่งจะเข้ามาเป็นฐานลูกค้าในอนาคต”
จริงๆ แล้ว “นันยางสีแดง” เป็นโปรเจกต์ที่เกิดขึ้นมากะทันหัน และเข้ามาแทรกโปรเจกต์ที่วางแผนไว้ล่วงหน้าก่อนคือ “รองเท้า KHYA (ขยะ)” ซึ่งเป็น “รองเท้าแตะช้างดาว” คอเลคชั่นพิเศษที่ส่วนหนึ่งทำจากขยะในท้องทะเล
ทำไมต้องเป็นรองเท้าจากขยะทะเล? จักรพล อธิบายว่า เนื่องจากเห็นว่า 80% ของขยะในทะเลเป็นพลาสติก ในจำนวนนี้ 10% กว่าๆ เป็นรองเท้าที่ไม่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ซึ่งหากไม่กำจัดอย่างถูกวิธีจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะขยะใช้เวลานับ 100 ปีกว่าที่จะย่อยสลาย อีกทั้งยังมีข้อมูลที่ว่า อีก 30 ปีต่อจากนี้ขยะในทะเลจะมากกว่าจำนวนปลา
นันยางจึงสนใจเรื่องนี้และพบว่าตัวเองนั้นสามารถนำขยะจากท้องทะเลมาทำให้เกิดประโยชน์ได้จึงได้พูดคุยกับ “ทะเลจร” แบรนด์ Upcycling วัสดุจากทะเลซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรมากว่า 1 ปี ก่อนที่จะตกผลึกเป็น “รองเท้า KHYA (ขยะ)”
ตัวรองเท้าด้านบนจะทำจากขยะทะเลซึ่งใช้รองเท้าเป็นหลัก โดยได้รับขยะรองเท้าแตะมาจากกลุ่มอาสาสมัคร Trash Hero ที่รวมตัวกันเก็บขยะทะเลและคัดแยกประเภทขยะ และส่งต่อขยะรองเท้าจำนวนมากไปยัง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ทำการชั่วคราวของกลุ่ม “ทะเลจร” เพื่อเตรียมวัตถุดิบขั้นแรก
ส่งต่อมาที่นันยางเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตแบบจำนวนมาก (Mass Production) โดยส่วนพื้นล่างของรองเท้า เป็นส่วนพื้นจริงรองเท้าแตะช้างดาวโดยรองเท้า 1 คู่ทำจากขยะทะเลประมาณ 5 กิโลกรัม ที่สำคัญลวดลายจะไม่มีซ้ำกัน เพราะขยะที่ได้มาไม่เหมือนกันเลย
วางจำหน่ายในราคา 399 บาท (รวมค่าจัดส่งในประเทศไทย) วางจำหน่ายแบบสั่งจองล่วงหน้า (Pre order) เท่านั้น ระหว่างวันที่ 15 – 23 สิงหาคม 2562 ผ่านช่องทางการสั่งจอง 1. เว็บไซต์ www.KHYA.net 2. LAZADA หรือ SHOPEE (ในประเทศไทย) Thailand Post Mart (ส่งทั่วโลก) 3. ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 1,400
อย่างไรก็ตาม จะผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น จะไม่ผลิตเกินและไม่ผลิตซ้ำ คาดสินค้าจะจัดส่งให้แก่ผู้สั่งจองได้ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2562 และเบื้องต้นตั้งความหวังไว้ 2,000 คู่
หากมองจากราคาปรกติของรองเท้าช้างดาวที่ขายคู่ละ 99 บาท อาจจะเห็นว่าแพงกว่าพอสมควร แต่ จักรพล อธิบายว่า รองเท้า KHYA ต้องใช้เวลามากกว่าปรกติ 3 เท่า ซึ่งการผลิตรองเท้าพิเศษนี้เข้าไปกระทบกับการผลิตปรกติอยู่บ้าง ซึ่งปรกติรองเท้าช้างดาวมีการผลิตปีละ 5 ล้านคู่
ทั้งนี้รายได้จากการจำหน่ายรองเท้า จะถูกนำกลับไปมอบให้แก่หน่วยงาน และโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)
สำหรับผลประกอบการของนันยางในครึ่งปีแรกเติบโต 3% คาดว่าทั้งปีจะเติบโต 5% โดยสัดส่วนรายได้มาจากข้างดาวและนันยาง 50:50
]]>