ธนาคารพาณิชย์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 03 Nov 2021 11:05:52 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ใครเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ “6 บิ๊กธนาคาร” ในไทย? https://positioningmag.com/1297995 Mon, 21 Sep 2020 06:18:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1297995 ธนาคารมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเเละเป็นธุรกิจที่อยู่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของประชาชนอย่างมาก เมื่อทุกคนต้องใช้เงินทั้งฝากถอนโอนกู้ลงทุนเเละอีกมากมาย

ผลกระทบของ COVID-19 ตั้งเเต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์อยู่ในทิศทางขาลงโดยภาพรวมยังมีแรงกดดัน จากความกังวลต่อหนี้ NPL ที่อาจสูงขึ้นอีกในอนาคต บวกกับความระอุของการเมืองที่ปลุกกระเเสการเเบน การถอนเงินเเละปิดบัญชีในบางเเบงก์ขึ้นมา ยิ่งทำให้ถูกแนะนำว่าเป็นกลุ่มหุ้นที่ควรเลี่ยงการลงทุน

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีธนาคารพาณิชย์อยู่ทั้งหมด 30 แห่ง เเต่บิ๊กเเบงก์ที่มีมูลค่ากิจการเเตะ 1 เเสนล้านบาทนั้นมีอยู่ 6 เเห่งด้วยกัน เรามาดูกันว่า ธนาคารใหญ่ๆ ในประเทศไทย…มีใครเป็นเจ้าของกันบ้าง

ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB

เริ่มจากธนาคารที่เก่าเเก่ที่สุดในไทย ที่มีอายุกว่า 115 ปีอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด “มากที่สุด” ในวงการธนาคารไทยที่ 228,353.45 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 9.29% โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้

  1. พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวนหุ้น 793,832,359 คิดเป็น 23.38%
  2. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  3. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 392,649,100 คิดเป็น 11.56%
  4. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 346,262,309 คิดเป็น 10.20%
  5. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 109,198,100 คิดเป็น 3.22%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา BAY

ตามมาด้วย เเบงก์สีเหลืองอย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 144,908.51 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 4.31% โดยในส่วนของ BAY ที่มีเจ้าของคือ MUFG Bank ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ถือหุ้นกว่า 76.88% ถือว่าเป็นทุนต่างชาติที่ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนที่มากกว่าธนาคารอื่นมาก ซึ่งทำให้ BAY มีสัดส่วนผู้ถือหุ้น “รายย่อย” น้อยกว่าธนาคารใหญ่อื่นๆ มากด้วย

  1. MUFG BANK, LTD. จำนวนหุ้น 5,655,332,146 คิดเป็น 76.88%
  2. บริษัท สตรองโฮลด์ แอสเซ็ทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,536,980 คิดเป็น 2.26%
  3. บริษัท ทุนมหาโชค จำกัด จำนวนหุ้น 166,478,940 คิดเป็น 2.26%
  4. บริษัท จี แอล แอสเซทส์ จำกัด จำนวนหุ้น 166,414,640 คิดเป็น 2.26%
  5. บริษัท บีบีทีวี แซทเทลวิชั่น จำกัด จำนวนหุ้น 166,151,114 คิดเป็น 2.26%

อีกหนึ่งเเบงก์ใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ ที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,793.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 6.93% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ค่อนข้างกระจายตัว ทั้งบริษัทไทย บริษัทต่างชาติ กองทุนและบริษัทนอมินี โดยมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 448,535,678 คิดเป็น 23.50%
  2. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 98,649,920 คิดเป็น 5.17%
  3. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,852,300 คิดเป็น 4.50%
  4. UOB KAY HIAN (HONG KONG) LIMITED – Client Account จำนวนหุ้น 39,837,220 คิดเป็น 2.09%
  5. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 36,715,127 คิดเป็น 1.92%
Photo : Shutterstock
ฝั่งธนาคารทหารไทย มีมูลค่ากิจการตามราคาตลาด 87,732.57 ล้านบาท (ปรับลดจากระดับเเสนล้านบาทในช่วงต้นปีนี้) เงินปันผลล่าสุดเท่ากับ 3.54% ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดย ธนาคาร ING จากเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ดีลใหญ่วงการธนาคารที่ TMB เข้าควบรวมกับธนาคารธนชาต ทำให้บริษัททุนธนชาตหรือ TCAP เข้ามาถือหุ้นด้วยในสัดส่วน 20.12% โดยตอนนี้ TMB ยังมีผู้ถือหุ้นใหญ่ ดังนี้
  1. ING BANK N.V. จำนวนหุ้น 22,190,033,791 คิดเป็น 23.03%
  2. บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 19,389,891,967 คิดเป็น 20.12%
  3. กระทรวงการคลัง จำนวนหุ้น 11,364,282,005 คิดเป็น 11.79%
  4. THE BANK OF NOVA SCOTIA จำนวนหุ้น 5,023,611,111 คิดเป็น 5.21%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,658 คิดเป็น 5.11%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 4,926,405,657 คิดเป็น 5.11%

ธนาคารกรุงไทย KTB

กรุงไทย มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดอยู่ที่ 132,772.58 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทน 7.93% โดยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐ ทำให้มีลูกค้าเป็นข้าราชการจำนวนมาก มีโครงการรัฐต่างๆ ผ่านธนาคารนี้ อย่างเช่น กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นต้น

  1. กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวนหุ้น 7,696,248,833 คิดเป็น 55.07%
  2. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 834,921,543 คิดเป็น 5.97%
  3. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 362,902,099 คิดเป็น 2.60%
  4. สหกรณ์ออมทรัพย์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำกัด จำนวนหุ้น 326,090,300 คิดเป็น 2.33%
  5. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,658 คิดเป็น 2.19%
  6. กองทุนรวม วายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนหุ้น 305,775,657 คิดเป็น 2.19% 
Photo : Shutterstock

ธนาคารกสิกรไทย KBANK

เเบงก์ใหญ่สีเขียวที่มีอายุกว่า 75 ปีอย่าง KBANK มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด 192,059.13 ล้านบาท อัตราเงินปันผลตอบแทนล่าสุด 6.24% มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่กระจายตัวทั้งบริษัทไทย กองทุน บริษัทต่างชาติเเละบริษัทนอมินี

  1. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด จำนวนหุ้น 443,939,592 คิดเป็น 18.55%
  2. STATE STREET EUROPE LIMITED จำนวนหุ้น 203,656,972 คิดเป็น 8.51%
  3. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 142,055,420 คิดเป็น 5.94%
  4. สำนักงานประกันสังคม จำนวนหุ้น 85,905,100 คิดเป็น 3.59%
  5. BNY MELLON NOMINEES LIMITED จำนวนหุ้น 78,949,299 คิดเป็น 3.30%
  6. THE BANK OF NEW YORK MELLON จำนวนหุ้น 55,954,035 คิดเป็น 2.34%
Photo : Shutterstock
ข้อมูลจาก : ตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย (ค่าสถิติสำคัญ ณ วันที่ 18 ก.ย. 2563)
]]>
1297995
ธปท. สั่งเเบงก์ “งดจ่ายปันผล-ห้ามซื้อหุ้นคืน” ทำเเผนเงินกองทุนใหม่ รับความเสี่ยง COVID-19 https://positioningmag.com/1284347 Fri, 19 Jun 2020 13:49:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284347 “เเบงก์ชาติ” สั่งธนาคารพาณิชย์ ทำแผนบริหารเงินกองทุนใหม่ 1-3 ปีให้สอดรับเศรษฐกิจในอนาคต ของดจ่ายเงินปันผลในปีนี้ รวมถึงให้งดซื้อหุ้นคืนด้วย

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กล่าวว่า เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป และยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนสำหรับระยะ 1-3 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต และศักยภาพของลูกหนี้ในการทำธุรกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย

โดยระหว่างที่ธนาคารพาณิชย์ จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนใหม่นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์ งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในปี 2563 รวมถึงงดการซื้อหุ้นคืน เพื่อธนาคารพาณิชย์จะรักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งและรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางที่ธนาคารกลางหลายประเทศได้ดำเนินการแล้ว เพื่อรองรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 

โดยล่าสุด ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้เเจงในกรณีนี้ว่า จากการขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย ‘เงินปันผลระหว่างกาล’ และ ‘งดซื้อหุ้นคืน’ สาเหตุเพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุด

ธปท.มองว่าภูมิคุ้มกันที่สำคัญอันหนึ่งของธนาคารพาณิชย์คือ ระดับเงินกองทุน ที่เป็นกันชนรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเงินกองทุนจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง และเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม จากการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และแนวทางบริหารความเสี่ยงเดิมส่งผลให้ระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ไทยเข้มแข็ง ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2563 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หรือ BIS Ratio ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ที่ 18.7% ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถออกมาตรการช่วยดูแลและเยียวยาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้หลากหลายมาตรการ

ทั้งนี้มองว่าจากความไม่แน่นอนสูง จึงควรจะรักษาระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ให้อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง การขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย ‘เงินปันผลระหว่างกาล’ และ ‘งดซื้อหุ้นคืน’ เป็นมาตรการเพื่อไม่ให้ธนาคารพาณิชย์  ‘การ์ดตก’ ให้รักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งต่อเนื่องจนกว่าจะจัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนใหม่ได้ชัดเจนขึ้น

ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ประเมินและจัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทั้งลูกค้าและแผนธุรกิจของตนเองได้อย่างชัดเจน ธปท. จึงขอให้ธนาคารพาณิชย์เร่งทบทวนแผนบริหารจัดการเงินกองทุนในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก

ขณะเดียวกัน ธปท. ออกมาตรการช่วยเหลือผ่านธนาคารพาณิชย์ที่เร่งดำเนินการเยียวยาและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ จึงต้องคำนวณผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผลประกอบการและระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์อย่างละเอียดในสถานการณ์ต่างๆ (Scenarios) ในอนาคตด้วย

ในภาวะปกติ ธนาคารพาณิชย์บางแห่ง (ไม่ใช่ทุกแห่ง) จะจ่าย ‘เงินปันผลระหว่างกาล’ ให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงเดือนสิงหาคม เงินปันผลระหว่างกาล หรือ Interim Dividend เป็นการจ่ายเงินปันผลนอกรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่ต้องรอคำนวณผลการดำเนินงานเมื่อครบปี หรือครบรอบระยะเวลาบัญชี โดยอาจจะคำนวณจากผลประกอบการในรอบครึ่งปีแรก และผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม

ส่วนการ ‘ซื้อหุ้นคืน’ นั้น ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่คิดว่ามีเงินกองทุนในระดับสูงเกินความจำเป็น หรือเห็นว่าราคาหุ้นในตลาดลงไปอยู่ในระดับต่ำเกินควร ได้มีแผนซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นทั่วไป ซึ่งหมายถึงการซื้อหุ้นของตัวเองจำนวนหนึ่งออกจากตลาดหลักทรัพย์มาเก็บไว้ หรือเพื่อนำไปลดทุนในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ลดลง

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ไม่ปกติ ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบรุนแรง และยังจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ธนาคารพาณิชย์จึงควรใช้เวลาประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ วางแผนการดำเนินงานอย่างระมัดระวัง และทำงานกับลูกค้ากลุ่มต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แผนบริหารจัดการเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จัดทำใหม่สอดคล้องกับสถานการณ์ข้างหน้า และสอดคล้องกับบทบาทของธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องปล่อยสินเชื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยภายหลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลงด้วย

อย่างไรก็ตาม การขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลและงดซื้อหุ้นคืนนี้ แม้ว่าจะกระทบต่อผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในช่วงสั้นๆ แต่จะเป็นผลดีสำหรับผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในระยะยาว เป็นผลดีต่อผู้ฝากเงิน และเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมด้วย เพราะจะช่วยให้ระบบสถาบันการเงินไทยเข้มแข็ง รักษาระดับเงินกองทุนให้อยู่ในระดับสูงได้ต่อเนื่อง มีกันชนที่จะรองรับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก โดยเฉพาะถ้าเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ระยะใหม่ๆ

 

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

]]>
1284347
วิเคราะห์ผลกำไรแบงก์ 9 เดือนแรกโต 2.39% รายได้พิเศษช่วยหนุน-สินเชื่อยังแผ่ว https://positioningmag.com/1250729 Thu, 24 Oct 2019 05:29:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1250729 ผลการดำเงินกลุ่มธนาคารพาณิชย์ชะลอตัว ไตรมาส 3/62 กำไรสุทธิรวม 57,800 ล้านบาท ขยับเพียง 1.80% ขณะที่งวด 9 เดือนกำไรสุทธิ 170,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.39% โดยได้รับปัจจัยหนุนจากกำไรพิเศษจากการขายทรัพย์สินของแบงก์ ขณะที่รายได้หลักจากการปล่อยสินเชื่อยังไม่กระเตื้อง

แม้ว่าผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งจะทยอยออกมาตั้งแต่สัปดาห์ก่อนจนครบถ้วนในช่วงสัปดาห์นี้ แต่เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมของทั้งระบบจึงได้รวบรวมผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 11 แห่งพร้อมบทวิเคราะห์รายละเอียดมาให้พิจารณากันอย่างรอบด้านขึ้น

ผลประกอบการธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งประกอบไปด้วย ธนาคารกรุงเทพ (BBL), ธนาคารกรุงไทย(KTB), ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB), ธนาคารกสิกรไทย (KBANK), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY), ธนาคารธนชาต (TBANK), ธนาคารทหารไทย (TMB), ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย (CIMBT), ธนาคารทิสโก้ (TISCO), ธนาคารเกียรตินาคิน (KKP) และธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LHFG) ในช่วงไตรมาส 3 ปี 2562

  • กำไรสุทธิ

จำนวนรวมทั้งสิ้น 57,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,024 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ในระดับ 56,878 ล้านบาท โดยธนาคาร 8 แห่งมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ได้แก่ BBL,SCB,KBANK,BAY,TBANK,CIMBT ,TISCO และ KKP ธนาคารที่เหลืออีก 3 แห่ง ได้แก่ KTB,TMB และ LHFG มีผลกำไรที่ลดลง

  • ส่วนผลประกอบการ

ในงวด 9 เดือนปี 2562 ธนาคารพาณิชย์ 11 แห่งมีผลกำไรสุทธิ 170,481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,973 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.39% โดยมีธนาคาร 6 แห่งมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ได้แก่ BBL,SCB,BAY,TBANK,CIMBT,TISCO และธนาคาร 5 แห่ง มีกำไรสุทธิลดลงได้แก่ KTB,KBANK,TMB,KKP และ LHFG

ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีกำไรเพิ่มขึ้นมาจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทั้งจากการธุรกิจแบงก์แอชชัวรันส์ ธุรกิจกองทุน ยกเว้นรายได้ค่าธรรมเนียมที่ยังไม่กระเตื้องขึ้นหลังจากที่ธนาคารได้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล

  • รายได้ที่มาจากดอกเบี้ย

ยังไม่ค่อยสดใสนักจากอัตราการตัวของสินเชื่อที่ยังอยู่ในระดับต่ำตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อธุรกิจ ขณะที่สินเชื่อรายย่อยยังคงเติบโตได้ดี รวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพียงขาเดียวของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีธนาคารพาณิชย์ในบางแห่งที่มีผลกำไรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงซึ่งเป็นผลมาจากการรับรู้รายการพิเศษ อาทิ การขายกิจการต่างๆ และในทางกลับกันก็มีธนาคารพาณิชย์บางแห่งทีมีผลกำไรลดลงในอัตราสูงเนื่องจากเทียบกับฐานที่สูงจากการรับรู้รายการพิเศษในช่วงเดียวกันของปีก่อน

  • ค่าใช้จ่าย

ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ยังคงมีค่าใช้จ่ายจากการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ตามความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงและสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละธนาคาร ขณะที่ค่าใช้จ่ายจากดำเนินงานยังเป็นไปตามแนวทางการดำเนินธุรกิจของแต่ละธนาคารที่ทำให้มีค่าใช้จ่ายทางการตลาดและค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่แตกต่างกัน

ธนาคารกรุงเทพ (BBL)

รายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2562 จำนวน 9,438 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.5% จากไตรมาส 3 ปีก่อนที่มีกำไร 9,029 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิเพิ่มขึ้น 9.6% เป็นผลจากการเติบโตของค่าธรรมเนียมจากบริการประกันผ่านธนาคารและบริการกองทุนรวม

สำหรับรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงเล็กน้อย 1.7% ตามการลดลงของสินเชื่อ ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อจานวน 2,001,445 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8 จากสิ้นเดือนมิถุนายน 2562 จากการลดลงของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง และการชำระคืนหนี้ของสินเชื่อลูกค้าธุรกิจรายใหญ่

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)

แจ้งผลการดำเนินงานสำหรับงวด 9 เดือน ปี2562 เมื่อเปรียบเทียบกับงวด 9 เดือน ปี 2561ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 29,924ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนจำนวน1,502 ล้านบาท หรือ 4.78% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 4,051 ล้านบาท หรือ 5.54%

ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ดอกเบี้ยรับของเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุน ขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 2,753 ล้านบาท หรือ6.20% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากรายได้สุทธิจากการรับประกันภัยลดลง และการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางดิจิทัล ทั้งนี้ ธนาคารมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ส่วนNPL อยู่ที่ระดับ 3.53% จากสิ้นปี 2561 อยู่ที่ระดับ 3.34%

ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

รายงานกำไรสุทธิของไตรมาส 3 ปี 2562จำนวน 14,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติจำนวน 10,484 ล้านบาทและกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตจำนวน 11,644ล้านบาท

ซึ่งในไตรมาสนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองเพิ่มเติมอีก 9,100 ล้านบาทจากสำรองปกติที่จำนวน 6,173 ล้านบาทรวมเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น 15,273 ล้านบาท สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2562 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 34,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นเป็น 3.01% จาก 2.77% ณ เดือนมิถุนายน 2562 การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพเป็นผลมาจากความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY)

รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2562 มีกำไรสุทธิ 6.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.6%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปี 2562 โดยมีกำไรสุทธิจำนวน 26.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.7% จากช่วงเดียวกันของปี 2561

โดยปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของของรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ในการบันทึกกำไรจากการขายหุ้นของบริษัท เงินติดล้อ จำกัด และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน และการเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิตามการขยายตัวของสินเชื่อที่ 6.4% จาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2561 ซึ่งเป็นการเติบโตของสินเชื่อครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจ โดยมีสินเชื่อเพื่อรายย่อยยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก

Source

]]>
1250729
8 ความท้าทาย “แบงก์ไทย” ปี 62 ในยุคที่ต้องแข่งกับฟินเทค-อีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1206487 Fri, 04 Jan 2019 06:57:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1206487 ตลอดทั้งปี 2561 ที่ผ่านมา สถานการณ์ธุรกิจ “ธนาคารพาณิชย์” มีหลายประเด็นให้ติดตาม เพราะแม้จะมีความท้าทายสำคัญจากผลกระทบของรายได้ค่าธรรมเนียมที่หดตัวลง หลังการปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนผ่านช่องทางดิจิทัล ซึ่งคาดว่าทั้งระบบจะหายไปมากกว่า 9,000 ล้านบาท

แต่ธนาคารพาณิชย์ก็มีภาพด้านบวกเข้ามาช่วยชดเชย จากการเติบโตของสินเชื่อที่มีโอกาสจะจบปี 2561 ด้วยอัตราการเติบโตที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 6.0% โดยมีแรงหนุนสำคัญจากการเร่งตัวขึ้นของสินเชื่อรายย่อยในช่วงโค้งสุดท้ายของปี

สำหรับปี 2562 นั้นศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินทิศทางของธนาคารพาณิชย์มีหลายโจทย์สำคัญที่รออยู่ ซึ่งท้าทายความสามารถในการทำกำไร และ Positioning ได้สรุปออกมาเป็น “8 ทิศทางแบงก์ไทยปี 2562” ดังต่อไปนี้

1. สินเชื่อธนาคารพาณิชย์

อาจเติบโตในกรอบชะลอลงจากปีก่อน ตามแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในภาพรวม คาดว่าสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศในปี 2562 อาจเติบโตประมาณ 5.0% ชะลอลงจากที่คาดว่าจะขยายตัว 6.0% ในปี 2561

2. สินเชื่อธุรกิจคาดว่าจะเติบโตได้ดีที่สุด

คาดเติบโตราว 4.5% โดยได้รับอานิสงส์หลักจากทิศทางการลงทุน ซึ่งถูกคาดหมายว่าจะทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย

3. สินเชื่อรายย่อยอาจชะลอลงมาที่ 6.0%

เนื่องจากสินเชื่อบ้านและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันกว่า 70% ของพอร์ตน่าจะเผชิญปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดการเติบโต โดยการเร่งตัวของกิจกรรมในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก่อนที่เกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จะเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป

4. คุณภาพสินเชื่อต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอน และจังหวะอัตราดอกเบี้ยในประเทศอาจทยอยขยับขึ้น จึงจะเห็นธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องดูแลปัญหาคุณภาพสินเชื่อในเชิงรุก ทั้งในกระบวนการติดตามดูแลลูกค้า การปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงการแก้ไขเมื่อลูกหนี้เผชิญปัญหาและไม่มีศักยภาพในการหารายได้มาชำระคืนหนี้ คาดสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินเชื่อรวม หรือ NPL Ratio อาจขยับขึ้นไปที่ 2.98% ในช่วงปลายปี 2562 จากระดับ 2.91% ณ สิ้นปี 2561

5. อาจเริ่มเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบงก์บางส่วนในช่วงครึ่งแรกของปี 2562

อาทิ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำพิเศษ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้บ้านและกู้รถที่มีระยะค่อนข้างยาว ขณะที่ขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทั่วไป ทั้งขาเงินฝากและเงินกู้ อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างปี

6. จะเห็นโมเดลการปล่อยสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ทั้งในส่วนของการนำข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้ามาวิเคราะห์และนำเสนอเงื่อนไขพิเศษ เพื่อกระตุ้นยอดการเบิกใช้สินเชื่อ และการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ

7. เมื่อรายได้จากค่าธรรมเนียมหายไป

ทำให้ธนาคารต้องผลักดันรายได้ค่าธรรมเนียมส่วนอื่นๆ มาชดเชย ทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต รายได้ค่าธรรมเนียมจากการเป็นนายหน้าขายประกันและกองทุนรวม และค่าธรรมเนียมจากการให้บริการที่ปรึกษา รวมไปถึงการมุ่งไปที่สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล (ไม่มีหลักประกัน) ซึ่งแม้จะไม่ได้รับผลดีจากการขึ้นของดอกเบี้ย แต่ก็เป็นสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง

8. การเข้าสู่ยุคดิจิทัล

ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเตรียมรับมือกับโจทย์ จากสภาวะการแข่งขันในตลาดให้บริการทางการเงินที่อาจจะเข้มข้นขึ้นจากผู้เล่นอื่นๆ อาทิ ผู้ประกอบการในกลุ่ม FinTech กลุ่ม TechFin และกลุ่ม e-commerce ที่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีมาตอบโจทย์ความต้องการบริการทางการเงินของผู้บริโภคด้วยความได้เปรียบด้านต้นทุนที่อาจจะต่ำกว่าและมีความคล่องตัวมากกว่า

ทั้งหมดนี้ยังคงเป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น สถานการณ์จริงๆ ในปี 2562 จะเป็นอย่างไรคงต้องตามต่อไป ว่าแต่ละธนาคารวางแผนไว้อย่างไรบ้าง แต่เท่าที่ดูปีที่ผ่านมาก็ต้องบอกว่า ร้อนแรงอยู่ไม่ไม่น้อย โดยเฉพาะการบุกให้บริการสินเชื่อผ่านออนไลน์ เชื่อว่าปีนี้ก็คงไม่น้อยหน้ากันอย่างแน่นอน.

]]>
1206487
แบงก์ชาติ ปฏิเสธ เซเว่นฯ ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ เป็นแค่แบงก์เอเยนต์ ฝาก โอน ชำระเงิน เท่านั้น https://positioningmag.com/1157603 Mon, 19 Feb 2018 12:00:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1157603 ธปท. แจงเปิดให้ธนาคารมีแบงกิ้งเอเยนต์ หรือตัวแทนธนาคารตั้งแต่ปี 53 ปัจจุบันมี 5 รายได้แก่ ตู้บุญเติม ตู้เติมสบาย เคาน์เตอร์เซอร์วิสในเซเว่นฯ แอปฯ แอร์เพย์ และไปรษณีย์ไทย ให้รับฝาก-โอนเงินเข้าบัญชีได้ เตรียมปรับเพิ่มให้ถอนเงินได้มีนาคมนี้ ไม่เกิน 5 พันบาทต่อรายการ หรือ 2 หมื่นบาทต่อวัน 

นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ชี้แจงว่า ตามที่มีการแชร์ในโลกโซลเชียลว่า ร้านสะดวกซื้อเซเว่น-อีเลฟเว่น (7-11) ได้รับใบอนุญาตให้เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่นั้น ไม่เป็นความจริง และเป็นรายละเอียดของร้านเซเว่น-อีเลฟเว่นในประเทศญี่ปุ่น ธปท. ยืนยันไม่มีนโยบายอนุมัติใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่แต่อย่างใด 

อย่างไรก็ตาม เพื่อการให้บริการประชาชนสะดวกและทั่วถึง ธปท. ได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนธนาคารพาณิชย์ หรือแบงกิ้งเอเยนต์ เพื่อทำหน้าที่แทนธนาคารพาณิชย์ได้ในบางธุรกรรม คือ รับฝากเงิน รับชำระเงิน จ่ายบิล ซึ่งอนุญาตให้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 ปัจจุบันมีธนาคารพาณิชย์ทั้งขนาดใหญ่ และขนาดกลาง แต่งตั้งแบงกิ้งเอเยนต์ รวมถึงผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เพย์เมนต์ และผู้ให้บริการรับชำระบิลค่าสินค้า สาธารณูปโภค เช่น เทสโก้โลตัส, บิ๊กซี เป็นต้น ถือเป็นแบงกิ้งเอเยนต์ที่สามารถรับชำระเงิน และจ่ายบิลได้ โดยมีแบงกิ้งเอเยนต์ 5 ราย คือ ตู้บุญเติม ตู้เติมสบาย เคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเซเว่น-อีเลฟเว่น และแอปพลิเคชัน แอร์เพย์ รวมทั้งไปรษณีย์ไทยได้รับอนุญาตให้สามารถรับฝากและโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ 

นอกจากนี้ ธปท. กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับช่องทางการให้บริการของธนาคาพาณิชย์ คาดว่าจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะเพิ่มบริการให้กับแบงกิ้งเอเยนต์สามารถถอนเงินได้ โดยให้บริการถอนเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ และไม่เกิน 20,000 บาทต่อวัน สำหรับผู้ใช้บริการแต่ละราย โดยที่ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องขออนุญาตในการตั้งแบงกิ้งเอเยนต์จาก ธปท. แล้ว ยกเว้นกรณีการตั้งบุคคลธรรมดา เช่น ร้านค้าชุมชนให้มาขออนุญาตเป็นกรณี 

“แบงกิ้งเอเยนต์เกิดนานแล้วตั้งแต่ปี 2553 เช่น ธนาคารกสิกรไทย แต่งตั้งเคาน์เตอร์เซอร์วิสให้เป็นผู้ดำเนินการแทนธนาคารพื้นที่ต่างจังหวัด กรณีมีลูกค้าโอนเงินสามารถไปรับเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกลูกค้าที่อยู่พื้นที่ห่างไกล หรือธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อยแต่งตั้งไปรษณีย์ไทยเป็นผู้รับฝากเงิน เป็นต้น ในต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, บังกลาเทศ และอินเดีย ก็ทำลักษณะเดียวกัน” นายสมบูรณ์ กล่าว

นางสาวเมทินี ศุภสวัสดิกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. ยืนยันว่า การที่แบงก์พาณิชย์จะแต่งตั้งแบงก์กิ้งเอเยนต์ต้องมีการดูแลอย่างเข้มข้น โดยต้องเป็นนิติบุคคลที่มีหลักแหล่งเชื่อถือได้ ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรือมีคดีทางอาญา และฉ้อโกง การแต่งตั้งตัวแทนต้องพิจารณาตามความเหมาะสม มีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี แบงก์พาณิชย์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำของตัวแทน ซึ่งต้องมีการเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดของแบงกิ้งเอเยนต์ต่อสาธารณะ รวมทั้งค่าธรรมเนียมที่ประชาชนจะต้องจ่ายให้กับแบงกิ้งเอเยนต์ เพื่อเป็นทางเลือกกับประชาชนในการตัดสินใจ.

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/stockmarket/detail/9610000017117

]]>
1157603
แบงก์กลาง-แบงก์นอก ยกเลิกเงินคืน-แจกแต้ม “บัตรเดบิต” หนีตาย ถูกลดค่ารูดบัตรร้านค้า https://positioningmag.com/1137576 Fri, 25 Aug 2017 10:45:21 +0000 http://positioningmag.com/?p=1137576 ธนาคารพาณิชย์แห่ยกเลิกให้คะแนนสะสมและรับเงินคืนแก่ลูกค้าที่ใช้บัตรเดบิตรูดปรื๊ด หลังถูกลดค่าธรรมเนียมรูดบัตรร้านค้าเหลือ 0.55% ตามนโยบายเนชั่นแนล อีเพย์เมนท์ของรัฐ

ธนาคารยูโอบีได้แจ้งให้ลูกค้าบัตรเดบิตของธนาคารทราบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 .. 2561 เป็นต้นไป ธนาคารฯ ยกเลิกการให้คะแนนสะสมยูโอบี รีวอร์ด พลัส สำหรับการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเดบิตยูโอบีทุกประเภท แต่ยังคงสามารถใช้คะแนนสะสมปัจจุบันที่มีอยู่กับธนาคาร โดยคะแนนสะสมจะมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่มีการบันทึกรายการใช้จ่าย

สำหรับคะแนนสะสมยูโอบี รีวอร์ด พลัส สำหรับลูกค้าบัตรเดบิตธนาคารยูโอบีนั้น จะคิดคะแนนสะสมจากการใช้บัตรชำระค่าสินค้าและบริการทั้งในและต่างประเทศ ยกเว้นการเบิกเงินสดจากเครื่องเอทีเอ็ม ทุก 25 บาท จะได้รับคะแนนสะสม 1 คะแนน โดยคะแนนเหล่านี้สามารถนำไปแลกของกำนัล หรือไมล์สะสม รอยัล ออร์คิด พลัส ของการบินไทย และคริสฟลายเออร์ ของสิงคโปร์แอร์ไลน์

แม้ธนาคารจะไม่ได้ระบุว่า สาเหตุที่ทำให้ยกเลิกการให้คะแนนสะสมเพราะเหตุใด แต่สาเหตุสำคัญมาจากการที่ทุกธนาคาร ลดค่าธรรมเนียมการรับบัตรแก่ร้านค้า สำหรับบัตรเดบิต ที่ออกโดยสถาบันการเงินในประเทศไทย ตามนโยบายระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Payment) เหลือเพียง 0.55% เท่านั้น จากปกติคิดค่าธรรมเนียม 1.5 – 1.8% เช่นเดียวกับบัตรเครดิตธรรมดา ส่งผลกระทบต่อรายได้ที่ธนาคารจะได้รับจากร้านค้ารับบัตร และกระทบต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย

ก่อนหน้านี้ ธนาคารธนชาต ได้ประกาศยกเลิกโครงการการให้เงินคืนเข้าบัญชีเงินฝาก 0.75% (Cash Back Program) สำหรับทุกยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตธนชาต ทุกประเภท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 เม.. เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างสอดคล้องกับนโยบายของธนาคารในสถานการณ์ปัจจุบัน ตามนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล ที่ส่งเสริมการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำแทนการใช้เงินสด

ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยา แจ้งว่าคะแนนสะสม กรุงศรี เยลโล่ พอยท์ สำหรับการโอนเงิน ถอนเงินข้ามเขตแบบมีค่าธรรมเนียม ชำระค่าสินค้าและบริการ เติมเงินมือถือ หนึ่งในนั้นคือใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต หรือบัตรวีซ่าอิเล็กตรอนทุก 25 บาท เท่ากับ 1 คะแนน จะให้คะแนนสะสมและแลกของรางวัลถึงวันที่ 30 .. 2560 นอกนั้นสามารถนำทุกๆ 1,680 คะแนน แลกรับเงินสด 100 บาท ภายในในวันที่ 31 .. 2560 


ที่มา : manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000087144 

]]>
1137576