ธุรกิจจัดส่งพัสดุ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 15 Jan 2019 12:48:42 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ผ่าเกม “อาลีบาบา” บุกไทย! หนุนหลัง “เบสท์ เอ็กซ์เพรส” ชิงเค้กขนส่งพัสดุ 2.8 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1207856 Sat, 12 Jan 2019 02:57:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1207856 ปรากฏการณ์อีคอมเมิร์ซเฟื่องฟูในเมืองไทย ส่งผลดีให้ธุรกิจขนส่งพัสดุติดสปีดตามไปด้วย โดยคาดว่ามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 28,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และยังสามารถเติบโตได้ปีละ 10-20% ต่อปีด้วยกัน

จึงไม่ต้องแปลกใจหากจะเห็นการแข่งขันที่ร้อนแรง ทั้งจาก Big Player อย่าง ไปรษณีย์ไทย” รัฐวิสาหกิจอายุ 100 กว่าปี และ เคอรี่ (Kerry)” ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาบุกทำธุรกิจได้ 10 ปีแล้ว ทั้ง 2 รายกินรวบตลาดไปมากกว่า 80%

หรือ New Player ที่พกความมั่นใจมาเต็มกระเป๋า อาทิ เอสซีจี เอ็กซ์เพรส เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของเอสซีจี ยักษ์ใหญ่ด้านวัสดุก่อสร้าง กับ ยามาโตะ เอ็กซ์เพรส เบอร์ 1 ขนส่งสินค้าในญี่ปุ่น ซีเจ โลจิสติคส์ เบอร์หนึ่งในเกาหลีใต้ด้วยส่วนแบ่งถึง 50% ก็เข้ามา โดยวางแผนอยากกินส่วนแบ่งของ Big Player ถึง 15% และรายก่อนหน้า แฟลช เอ็กซ์เพรส ที่มีทุนจีนอยู่เบื้องหลังถือหุ้น 30%

เพราะกลิ่นที่หอมเกินกว่าจะห้ามใจ วันนี้ได้มี New Player แจ้งเกิดในวงการอย่างเป็นทางการแล้วอีกหนึ่งรายนั้นคือ เบสท์ เอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นชื่อที่ทำตลาดในเมืองไทย โดยเป็นการเข้ามาของเบสท์ กรุ๊ป” (BEST INC) หนึ่งในยักษ์ใหญ่ด้านโลจิสติกส์ของจีน ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2007 โดยจอห์นนี่ ซูว ซึ่งมีประสบการณ์เคยดำรงตำแหน่งรองประธานกูเกิลในจีน ปัจจุบันขยายออกไป 16 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่จีน อเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี จนมาถึงแห่งล่าสุดที่ไทย

เบื้องหลังเบสท์ เอ็กซ์เพรสคืออาลีบาบา

เบื้องหลังของเบสท์ เอ็กซ์เพรส บอกเลยไม่ธรรมดา เพราะมียักษ์ใหญ่ในวงการอีคอมเมิร์ซจีน อาลีบาบา หนุนหลังอยู่เต็มข้อ ผ่านการถือหุ้นไขว้ไปมาในบริษัทต่างๆ ซึ่งข้อมูลค่อนข้างซับซ้อนเล็กน้อย

โดยเริ่มจากโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ บริษัท เบสท์ โลจิสติกส์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เข้ามาจดทะเบียนก่อตั้งบริษัทตั้งแต่เดือนมิถุยายน 2018 ด้วยทุนจดทะเบียน 49,178,200 ล้านบาท ถือหุ้นโดย บริษัท บีจีแอล อินเตอร์เนชั่นแนล โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (BGL) 51.275 % และบริษัท เบสท์ โลจิสติกส์ เทคโนโลยี จำกัด 48.725%

ตัว เบสท์ โลจิสติกส์ เทคโนโลยีเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งและดำเนินการภายใต้กฎหมายของฮ่องกง ซึ่งประกอบธุรกิจเป็นบริษัทโฮลดิ้งลงทุนในธุรกิจโลจิสติกส์ ซึ่งถือหุ้นเต็มจำนวนโดย เบสท์ กรุ๊ปที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 183 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมี อาลีบาบาถือหุ้นใหญ่สุด 22.92%

ส่วน BGL เป็นบริษัทที่ร่วมจัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อใช้เป็นบริษัทโฮลดิ้ง เข้าร่วมลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย มีทุนจดทะเบียน 25,216,200 บาท แบ่งเป็น บริษัท บีแอลทีซี อินคอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (BLTC) 64.72% และบริษัท เบสท์ โลจิสติกส์ เทคโนโลยี จำกัด 35.28%

ลึกเข้าไป “BLTC” ก็เป็นบริษัทที่ร่วมจัดตั้งขึ้นใหม่ เพื่อใช้เป็นบริษัทโฮลดิ้งเข้าร่วมลงทุน ในบริษัทที่ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์เช่นเดียวกัน มีทุนจดทะเบียน 16,320,000 ล้านบาท ถือหุ้นโดย บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) 60.275%, บริษัท เบสท์ โลจิสติกส์ เทคโนโลยี จำกัด 25% และ บริษัท ด้า ยุ้น หยวน จำกัด 14.725%

ติดสปีดด้วยโมเดลแฟรนไชส์” 100%

ถ้านับเวลาตั้งแต่จดทะเบียนบริษัทเบสท์ เอ็กซ์เพรสมีอายุ 6 เดือนแล้ว โดยจะเปิดให้บริการ 2 ธุรกิจ จากจำนวนทั้งหมด 8 ธุรกิจที่ทำอยู่ในจีน คือ ขนส่งพัสดุและซัพพลายเชน มีจุดให้บริการทั้งหมด 500 สาขา คลังสินค้าขนาดใหญ่ 4 แห่ง ในกรุงเทพฯ เหนือ ใต้ อีสาน และคลังซัพพลายเชน 1 แห่ง

การเดินเกมขยายสาขาจะใช้วิธีขายแฟรนไชส์ 100% จะไม่ทำเองสักสาขา โดยกำหนดคุณสมบัติต้องมีทุนไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท มีพื้นที่ 100 – 1,000 ตร.. มีบุคลากร และรถที่เพียงพอกับขนาดธุรกิจ (รถยนต์กระบะ หรือรถจักรยานยนต์) ต้องมีหน้าร้านอย่างน้อย 1 ร้าน และตั้งจุดบริการรับส่งพัสดุอย่างน้อย 10 จุด โดยเบสท์ เอ็กซ์เพรส จะเข้าไปซัพพอร์ตด้านซอฟต์แวร์ และขนส่งพัสดุไปยังคลังสินค้า

จอห์นนี่ ชูว ผู้ก่อตั้งและประธานกลุ่มบริษัทเบสท์ กล่าวว่า

วิธีการนี้จะทำให้สามารถขยายจุดให้บริการได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องมาลงทุนเอง ซึ่งในจีน 80% ของสาขาก็เป็นแฟรนไชส์ทั้งหมด

ดังนั้นงบลงทุนที่วางไว้จะใช้ 5 ปี (2018 – 2022) มูลค่า 5,000 ล้านบาท จึงจะนำไปใช้พัฒนาด้านเทคโนโลยี และทำตลาดเพื่อต่อสู้กับการแข่งขันที่รุนแรงมากกว่า ส่วนคลังสินค้าอาจจะสร้างเพิ่มที่ภาคกลางและใต้ ซึ่งเป็นจุดที่คาดว่าจะมีการใช้บริการที่หนาแน่น เหตุที่ไม่จำเป็นต้องสร้างเยอะ เพราะมองว่าหากมีหลายแห่งจะทำให้การส่งพัสดุล่าช้า ด้วยต้องผ่านคลังสินค้าหลายจุด ที่สำคัญจะทำให้ต้นทุนเพิ่มโดยใช่เหตุ

นอกจากนั้นยังวางแผนนำธุรกิจไฟแนนซ์เข้ามา เบื้องต้นจะให้บริการกับกลุ่มแฟรนไชส์ ที่ต้องการเงินทุนในการขยายธุรกิจ โดยมีการการให้ดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยอุดช่องวางการขยายจุดให้บริการที่ช้าลงได้ และที่ผ่านมายังไม่เห็นผู้เล่นรายใหญ่ให้บริการลักษณะนี้อย่างจริงจังเลย

ใช้เงินหลักร้อยล้านทุ่มทำตลาดปีแรก

การเป็นน้องใหม่ในตลาดเบสท์ เอ็กซ์เพรสไม่ได้กังวลมากนัก เพราะมีประสบการณ์และ Know-how อยู่แล้ว ซึ่งการแข่งขันในตลาดธุรกิจขนส่งพัสดุอยู่ที่ความเร็วในการขนส่ง จึงชูจุดแข็งด้วยการส่งภายใน 1 วันทั่วประเทศ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยคลังสินค้าที่ใช้หุ่นยนต์ทำงานเกือบ 100% จึงมีต้นทุนที่ต่ำ และราคาที่ต่ำสุดในตลาด (แต่ก็ไม่ยอมบอกราคาเริ่มต้นที่แท้จริง บอกแต่เพียงราคาจะแปรฝันไปแต่ละพื้นที่)

ความท้าทายของเราอยู่ที่ การไม่ชำนาญพื้นที่ของคนส่ง แต่เชื่อว่าเมื่อส่งบ่อยๆ ก็จะคุ้นชินพื้นที่ไปเอง

เพื่อรับมือกับการรับน้องที่อาจจะรุนแรงจากบรรดาพี่ๆ ที่อยู่ในตลาด ปีนี้ด้านเกมการตลาดวางแผนใช้งบหลัก 100 ล้านบาท ทั้งโปรโปรชั่นและการสื่อสาร ขนาดแค่วันเปิดวันในวันนี้ (11 มกราคม) ก็เล่นใหญ่ขนาดเชิญดาราตัวแม่ของวงการอั้ม พัชราภามาอีเวนต์เปิดตัวด้วย

ภายในปี 2019 ตั้งเป้าขยายจุดให้บริการเป็น 2,200 สาขากระจายตัวทั่วประเทศ ปีที่ผ่านมามีการส่งสินค้าหลักพันชิ้น ปีนี้ตั้งเป้าการขยายเป็น 1 แสนชิ้นต่อวัน และปีหน้าต้องการเพิ่มเป็น 1.5 แสนชิ้นต่อวัน ส่วนรายได้ยังขออุปไว้ก่อนไม่อยากเปิดเผย.

]]>
1207856
อย่างนี้ต้องขยาย ! Kerry Express อัดงบกว่า 800 ล้านบาท เขย่าแผน ขยายสาขาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย ต่อยอดบริการ “แบงคอค เซมเดย์” รับลูกค้ากรุงเทพฯ https://positioningmag.com/1163670 Wed, 28 Mar 2018 09:21:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1163670 กลยุทธ์สำคัญของธุรกิจจัดส่งพัสดุด่วน มูลค่า 2 หมื่นล้านบาท อยู่ที่ความเร็วในการจัดส่งพัสดุ และจำนวนจุดรับบริการต้องมีมากและครอบคลุมมากที่สุด เป็น 2 คีย์พอยต์ที่ทำให้ ผู้เล่นรายใหญ่อย่างบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส จำกัด ประกาศเพิ่มงบลงทุนอีกกว่า 800 ล้านบาท

เพื่อใช้เดินหน้าขยายเครือข่ายบริการจัดส่งพัสดุเร่งด่วนภายใน 1 วัน ทั้งแบงคอค เซมเดย์ ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และเพิ่มจุดให้บริการใหม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

แผนการลงทุนที่เพิ่งประกาศไปเมื่อต้นปี จึงต้องกลับมารีวิวกันอีกรอบ โดยเคอรี่ เอ็กซ์เพรส

(1) ปีนี้จะใช้เงินลงทุนอย่างน้อย 1.8 พันล้านบาท

(2) เพิ่มจำนวนยานพาหนะที่ให้บริการ แบงคอค เซมเดย์ ขึ้นเป็นสองเท่า และ (3) ปรับแผนขยายจุดบริการ ให้ได้ 2,500 สาขา ภายในสิ้นปี 2561 จากเดิมที่เคยตั้งเป้าขยายจุดให้บริการเพิ่มขึ้น 1,500 สาขา

วราวุธ นาถประดิษฐ์ รองผู้จัดการทั่วไปสายงานการค้าบริษัทเคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ที่ผ่านมา ได้ทุ่มงบลงทุนจำนวนมากเพื่อสร้างแบรนด์ “แบงคอค เซมเดย์” จนเป็นยอมรับในหมู่ผู้บริโภค และคาดว่าบริการนี้จะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการส่งพัสดุของลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ​ ได้อย่างแท้จริง

ส่วนขยายเครือข่ายสาขาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย นอกจากทำให้ลูกค้าเข้าถึงบริการจัดส่งพัสดุได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การทำตลาดแบบ O2O (online-to-offline) ของเคอรี่ เอ็กซ์เพรส อีกด้วย

“เชื่อว่าอีกไม่นานลูกค้าจะสามารถสั่งสินค้าจากช่องทางออนไลน์ และเลือกได้ว่าจะไปรับสินค้านั้นด้วยตนเองจากศูนย์บริการ เคอรี่ เอ็กซเพรส ที่อยู่ใกล้บ้าน เกิดประสบการณ์จัดส่งและรับพัสดุที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นกว่าเดิม”

วราวุธ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีผู้ขายสินค้าออนไลน์ คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 20 ที่เดินเข้ามาใช้บริการในสาขาของเคอรี่ เอ็กซ์เพรส แล้วเลือกส่งพัสดุผ่านเครื่องให้บริการด้วยตนเองได้ แทนที่จะใช้บริการผ่านเคาน์เตอร์ตามปกติ

ขั้นตอนการจัดส่งจึงออกแบบให้ง่าย ด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด ที่ได้รับจากทาง Seller Centre ของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ แล้วสั่งพิมพ์ใบปะหน้าเพื่อติดลงบนพัสดุ พร้อมยื่นให้พนักงานประจำสาขา โดยไม่ต้องชำระเงินใด ๆ เพราะทางเคอรี่จะดำเนินการหักจากบัญชีผู้ขายโดยตรง

เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ยังมีแผนการขยายจำนวนศูนย์กระจายสินค้าย่อยสร้างคลังคัดแยกสินค้าขนาดใหญ่ และเพิ่มจำนวนการจัดซื้อยานพาหนะ ซึ่งที่สำคัญที่สุดคือการเพิ่มจำนวนบุคลากร เพื่อยกระดับเครือข่ายให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน เคอรี่ เอ็กซ์เพรส มุ่งเน้นทางด้านการขนส่งพัสดุขนาดเล็กที่มีขนาดสูงสุดถึง 30 กิโลกรัมต่อกล่อง โดยมียอดการขนส่งพัสดุเฉลี่ย 750,000 ชิ้นต่อวัน โดยเน้นการจัดส่งถึงมือผู้รับภายในวันถัดไป (ND) ครอบคลุมมากถึงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยมีบริการเก็บเงินปลายทาง (COD) ขนาดใหญ่ รองรับพฤติกรรมคนไทยที่นิยมเก็บเงินปลายทาง และให้ผู้รับมีตัวเลือกช่องทางในการชำระค่าสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเงินสดหรือชำระโดย QR ผ่าน Rabbit LinePay เมื่อได้รับสินค้าที่หน้าบ้านอีกด้วย.

]]>
1163670