ธุรกิจช่องทีวีดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 24 Apr 2018 10:00:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 PPTV คว้า จันทร์ 25 คุณแดง-สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ควงคู่กันตนา ซุ่มทำละครป้อน หวังชิงเรตติ้งขึ้นท็อป 10 https://positioningmag.com/1167095 Tue, 24 Apr 2018 04:15:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167095 ภายหลังจาก “พีพีทีวี” ช่องทีวีดิจิทัลน้องใหม่แต่ทุนหนา ของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ได้คว้าอดีตผู้บริหารจาก 2 ช่องใหญ่ สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการ ช่อง 3 และ พลากร สมสุวรรณ อดีตกรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เข้ามาเป็นแกนนำในบริหาร โดยวางเป้าหมายไว้ว่า ต้องติดท็อป 10 เรตติ้งสูงสุด

ล่าสุด ยังได้ดึง คุณแดง ”สุรางค์ เปรมปรีดิ์” อดีตเจ้าแม่ช่อง 7 ที่ปัจจุบันผันตัวเองมาเป็นผู้จัดละครอิสระ ในนามบริษัท จันทร์ 25 เข้ามาผลิตละครให้กับช่องพีพีทีวี หลังจากที่ได้กันตนา” มาเป็นผู้ผลิตรายการให้ตั้งแต่ช่วงต้นปี

พลากร และสุรินทร์ มีความสนิทสนมกับคุณแดงสุรางค์เป็นอย่างดี พลากรนั้นทำงานร่วมกับคุณแดงในช่อง 7 มายาวนาน ในขณะที่สุรินทร์ เองสมัยที่อยู่ช่อง 3 ก็เคยทำงานร่วมกับบริษัท จันทร์ 25 ในการผลิตละครแนวจักรๆ วงศ์ๆ ให้กับช่อง 3 

แหล่งข่าววงการทีวีเปิดเผยว่า คุณแดง ได้เริ่มเข้ามาผลิตละครป้อนให้ช่องพีพีทีวีตั้งแต่ก่อนที่พลากรจะเข้ามารับตำแหน่ง ตามนโยบายใหม่ที่ต้องการเสริมสัดส่วนของคอนเทนต์บันเทิงให้มากขึ้น ซึ่งพีพีทีวีได้ประกาศกลยุทธ์ใหม่นี้ไปในช่วงต้นปี

พีพีทีวี ได้วางสัดส่วนผังรายการปีนี้ประกอบด้วย ข่าว 30% บันเทิง 35% กีฬา 25% และสารคดี 10% ซึ่งจะทำให้เพิ่มฐานผู้ชมกลุ่มผู้หญิง เป็น 55% ชาย 45% จากเดิมที่มีฐานผู้ชมเป็นผู้ชายมากกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพตลาดทีวี ที่กลุ่มผู้หญิงเป็นกลุ่มคนดูทีวี และเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของเอเจนซี่ในการซื้อโฆษณา

ละครเป็นคอนเทนต์ที่เข้าถึงผู้ชมได้หลากหลาย และได้ง่ายที่สุด หากสามารถสร้างเรื่องที่ถูกรสนิยมผู้ชม สร้างกระแสได้ต่อเนื่อง ก็มีสิทธิผลักดันทั้งช่องขึ้นมาได้ เหมือนอย่างกรณีละครบุพเพสันนิวาส ที่พลิกฟื้นเรตติ้งและรายได้ให้กับช่อง 3 มาแล้ว

ในช่วงเริ่มต้น ปี 2558- 2559 พีพีทีวีได้เคยประกาศทุ่มทุนเป็นพันล้าน สร้างละครสู้กับบรรดาช่องใหญ่ๆ มาแล้ว เช่น ละครชุดปริศนา, เจ้าสาวของอานนท์ และ รันตนาวดี แต่ทุ่มได้เพียงแค่ 2 ปี แต่เมื่อเรตติ้งและความนิยมยังสู้ช่องใหญ่ไม่ได้ จึงเลิกผลิตละคร หันมาเน้นด้านการซื้อลิขสิทธิ์รายการกีฬาแทน

เมื่อเป้าหมายหลักในปีนี้ คือ การพลิกขึ้นมาติดท็อปเท็นของช่องที่ทำเรตติ้งสูงสุด คอนเทนต์ละครจึงเป็นโจทย์หลักที่จะมาช่วยในการดึงเรตติ้ง จึงต้องหา “ผู้ผลิตรายการ” ที่คร่ำหวอดในวงการเข้าร่วมมากขึ้น

หลังจากได้กันตนาเข้ามาร่วมงานใน Entertainment Tonight หรือ ET Thailand และรายการเกมโชว์ จึงมีการเริ่มพูดคุยถึงเรื่องการมาทำละครให้พีพีทีวี ทั้งกันตนา และจันทร์ 25 ของคุณแดง ซึ่งได้เริ่มมีการเตรียมการทำละครแล้ว แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด

ส่วนตัวคุณแดง-สุรางค์เอง หลังจากออกจากช่อง 7 ได้เข้ามารับงานเป็นผู้จัดละครให้กับช่อง 3 หลายเรื่องด้วยกัน ที่กำลังรอออกอากาศตอนนี้คือ ข้ามสีทันดร และละครพีเรียดพื้นบ้าน “อุทัยเทวี” นอกจากนี้ยังไปรับผลิตละครให้กับช่องวันด้วย เช่นเรื่อง สัญญาแค้นแสนรัก ที่ออกอากาศไปแล้ว และล่าสุดคือ พีพีทีวี

World Class TV เรตติ้งยังไม่ปัง ต้องพึ่งฟุตบอลดันติดท็อป 10

ก่อนหน้านี้ สุรินทร์ ได้เปิดตัวพีพีทีวีไปแล้วอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้คอนเซ็ปต์ World Class TV ด้วยการทุ่มทุนซื้อลิขสิทธิ์รายการต่างประเทศ ทั้งสารคดีจาก Discovery, ภาพยนตร์ต่างประเทศจากค่ายหนังดังของฮอลลีวูด และรายการบันเทิง Entertainment Tonight หรือ ET และยังมีรายการวาไรตี้ ที่จ้างผลิตขึ้นมาใหม่ สลัดภาพการเป็นช่องกีฬาฟุตบอลที่คนดูจำกัดให้เข้าถึงคนดูกลุ่มแมส

โดยประกาศทุ่มทุนกว่า 1 พันล้านบาทสำหรับปีนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายจากการซื้อลิขสิทธิ์กีฬาฟุตบอลต่างประเทศที่พีพีทีวีทุ่มทุนซื้อไปแล้วหลักพันล้านเช่นกัน ทั้งพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ, บุนเดสลีกาของเยอรมัน, กัลโช เซเรีย อา ของอิตาลี

อย่างไรก็ตาม ผังรายการใหม่ยังไม่สามารถเรียกเรตติ้งได้มากนัก เช่นรายการชั่วโมงสารคดี ของ Discovery ออกอากาศช่วง 08.00 น. ในวันจันทร์ที่ 19 เมษายนได้เรตติ้งไปเพียง 0.034 ส่วนรายการภาพยนตร์ต่างประเทศในช่วงบ่ายได้เรตติ้งในวันเดียวกันอยู่ที่ 0.109 และรายการ ET Thailand ที่ลงทุนสูงทั้งลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ และส่วนของทีมงานฝ่ายไทยที่ร่วมกับกันตนา แต่เรตติ้งยังอยู่ที่ 0.154

ทำให้ช่องยังต้องพึ่งพารายการกีฬาต่างประเทศ ที่ยังคงเป็นรายการที่สร้างเรตติ้งของช่องได้มากที่สุด เช่นวันที่ 19 เมษายน รายการที่ทำเรตติ้งสูงสุดอันดับ 2 คือ ฟุตบอลลาลีกาสเปน เรอัลมาดริด VS แอตเลติโก มาดริด ได้เรตติ้ง 0.265 ที่ในบางวันที่มีแมตช์ใหญ่ เรตติ้งก็จะสูงไปด้วย

ส่วนรายการข่าว ที่เป็นหน้าเป็นตาของช่อง คือช่วงข่าวค่ำ “เข้มข่าวค่ำ” โดยเฉพาะในช่วงที่ 2 โดยในวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นรายการที่ทำเรตติ้งสูงสุดของช่องได้เรตติ้งอยู่ที่ 0.304

นอกจากนี้ ตัวเลขเรตติ้งของช่องพีพีทีวีใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา 2-8 เมษายน และ 9-15 เม.ย. จากการวัดกลุ่มผู้ชมอายุ 4 ปีขึ้นไป จากเวลา 24 ชั่วโมง พีพีทีวีได้ขยับขึ้นมาอยู่ในท็อปเท็นเป็นครั้งแรกติดต่อกัน 2 สัปดาห์ โดยติดในอันดับ 10 แทนที่ช่อง 9 อสมท. โดยในสัปดาห์ที่ 9-15 เม.ย. พีพีทีวีเรตติ้งเฉลี่ยทั้งช่องอยู่ที่ 0.182 ด้วยแรงส่งจากรายการถ่ายทอดสดฟุตบอลแมตช์ใหญ่ๆ ของยุโรป

น่าจับตาว่า การปรับกลยุทธ์ใหม่ ที่หวังดึงละครเข้ามาสร้างเรตติ้ง และรายได้มากขึ้นของพีพีทีวีในครั้งนี้ จะสามารถสร้างกระแส ความน่าสนใจได้ สู้กับช่องใหญ่ๆ ได้อย่างไร โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปีนี้.

]]>
1167095
ช่อง 7 ผลัดใบ ตั้งคนข่าวคุมบริหาร แทน “พลากร” เปิดโผ “บิ๊กทีวี” โยกช่องวัดฝีมือชิงเรตติ้งดึงผู้ชม https://positioningmag.com/1152490 Thu, 04 Jan 2018 00:58:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152490 ความเคลื่อนไหวสื่อทีวีดิจิทัลในช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา มีหลายช่องได้ปรับเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง และโละพนักงาน ทั้งที่มาจากเหตุผล เซ่นเรตติ้งที่ไม่ได้ตามเป้าหมาย ต้นทุนสูง ขาดทุนหนัก และความขัดแย้งภายในองค์กร รวมไปถึงการสะดุดขาตัวเอง

ล่าสุด สปอตไลต์ถึงเวลาสาดส่องไปที่ ช่อง 7 สี ยุคเอชดี แล้ว แม้ยังคงเป็นแชมป์อันดับ 1 แต่วงการทีวีทุกนาทีมีค่า และอาจถูกแซงได้ จึงถึงเวลาปรับเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูงอีกครั้ง

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 มีประกาศแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงคนใหม่ ชื่อว่าสมเกียรติ เจริญภิญโญยิ่ง” หรือ พี่หน่อง ให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการกรรมการผู้จัดการ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แทน หน่อง พลากร สมสุวรรณ ที่เกษียณอายุ หลังจากนั่งเก้าอี้นี้มาตั้งแต่ 1 มกราคม 2556 หลังจากเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 ฟ้าผ่าที่หมอชิต เมื่อ กฤตย์ รัตนรักษ์ สั่งปลดสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ออกจากตำแหน่งบริหารช่อง 7 และให้ ศรัณย์ วิรุตมวงศ์ รักษาการตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแทนประมาณ 1 ปี

นอกจากนี้ ตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา ก็มีการไหลออกของบุคลากรช่อง 7 อีกจำนวนหนึ่ง

หน่อง สมเกียรติ เป็นลูกหม้อของช่อง 7 ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยกรุงเทพ รุ่นเดียวกับ สรยุทธ สุทัศนะจินดา ตำแหน่งก่อนหน้านี้คือกรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และรักษาการผู้จัดการฝ่ายข่าว

มีบทบาทพัฒนารายการข่าว โดยเฉพาะช่วงเวลาข่าวเช้าที่จัด 3 รายการออนแอร์ยาวตั้งแต่ตี 5 จนถึงประมาณ 10 โมงเช้า

แหล่งข่าวจากช่อง 7 เปิดเผยว่า เรตติ้งข่าวช่อง 7 ช่วงหนึ่งเคยแพ้เรื่องเล่าเช้านี้ เหมือนที่หลายช่องแพ้ เพราะมี “สรยุทธ สุทัศนะจินดา” เป็นแม่เหล็ก แต่ช่อง 7 ใช้เวลาประมาณ 6 ปี จนปีหลังๆ นี้เรตติ้งข่าวเช้าช่อง 7 ชนะช่อง 3

ความท้าทายของช่อง 7 นับจากนี้คือมีแต่รายการที่จ้างผลิต โดยเฉพาะวาไรตี้ เกมโชว์ ขณะที่ผู้จัดบางรายยังปรับตัวพัฒนารายการไม่ทัน หลายรายการดีแต่ถูกลอกเลียนจากหลายช่องไปทำจนได้เรตติ้งดีกว่า

“จุดเด่นของช่อง 7 เวลานี้คือละครและข่าว และในยุคนี้คนข่าวที่ขึ้นมาในตำแหน่งบริหารสูงสุด ก็อาจเป็นช่วงถูกที่ถูกเวลา สำหรับการแข่งขันที่หลาย ๆ ช่องพยายามพัฒนารายการข่าว เพราะพิสูจน์ได้ว่ามีเรตติ้ง และหาโฆษณาได้”

สำหรับรายการที่เหลือยังต้องมีการปรับเปลี่ยน และ กฤตย์ เองก็รู้ดีว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนหลังจากเรตติ้งในปีที่ผ่านมายังไม่น่าพอใจ

แม้เรตติ้งประจำสัปดาห์ ประจำแต่ละเดือนจะเป็นที่ 1 หรือแม้แต่ประจำปีก็เป็นที่ 1 รวมถึงล่าสุดในปี 2560 ก็เป็นอันดับ 1 แต่ถ้าหากเปรียบเทียบกับปี 2559 แล้ว ถือว่าเรตติ้งลดลงไปพอสมควร โดยเรตติ้งรวมปี 2559 ได้ 2.315 แต่ปี 2560 ได้แค่ 2.114 ลดลงพอๆ กับช่อง 3 จาก 1.600 ในปี 2559 มาอยู่ที่ 1.348 ในปี 2560

ขณะที่ช่องรองๆ ลงไปมีตัวเลขเพิ่มขึ้น ทั้งเวิร์คพอยท์ โมโน ช่อง 8 และช่องวัน ที่ต้องจับตามองพิเศษคือ เวิร์คพอยท์ และโมโน ที่ในแต่ละสัปดาห์มีลุ้นว่าจะเข้าใกล้ช่อง 3 มากน้อยแค่ไหน

***บิ๊กวงการทีวีหมุนเวียนเปลี่ยนช่อง

นอกจากช่อง 7 ที่มีการเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูงแล้ว ในวงการทีวีดิจิทัลช่วงปีกว่า ๆ ที่ผ่านมา ก็มีผู้บริหารระดับบิ๊กเปลี่ยนที่ทำงานกันพอสมควร

เริ่มจากช่อง 3 วิก 3 พระราม 4 ที่เริ่มปฏิบัติการปรับเปลี่ยนมาตั้งแต่ปลายปี 2559 ที่นายใหญ่ ประวิทย์ มาลีนนท์ ทิ้งเก้าอี้บิ๊กบอส เปิดทางน้องเล็กคนสุดท้อง ประชุม มาลีนนท์ เข้ามากุมบังเหียน และเลือกคนเข้ามาเสริมทัพ ที่เริ่มจากดึง สมประสงค์ บุญยะชัย มืออาชีพที่เกษียณอายุการทำงานจากเครือชินคอร์ปมาตั้งแต่ต้นปี และดึงมืออาชีพอีกหลายคนจากค่ายเอไอเอสเข้ามา จนปัจจุบันมีตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านต่างๆ ตั้งแต่ด้านปฏิบัติการ จนถึงด้านวิจัยพัฒนา

ข้ามทางด่วนกันมาที่ถนนวิภาวดี-รังสิต ที่สถานีโทรทัศน์พีพีทีวี ของ น.พ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หลังจากที่ เขมทัตต์ พลเดช ลาออก และกลับไปใหญ่ที่พระราม 9 อสมท ด้วยตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 พีพีทีวี ก็ได้ สุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ ที่มีตำแหน่งสุดท้ายที่ช่อง 3 คือรักษาการกรรมการผู้จัดการ มาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ พีพีทีวี ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ส่วนฝั่งตรงข้ามที่ ไทยรัฐทีวี มีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง หลังจากที่ ฉัตรชัย ตะวันธรงค์ ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวีออก และกลับไปอยู่รังเก่าที่สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ ที่อยู่ถัดไปไม่กี่เมตร ก็เป็นเวลาของศิษย์เก่าจากเครือเนชั่นทีวี คือ ประณต วิเลปสุวรรณ ขึ้นเป็น ผอ.แทน

ส่วนที่ค่าย เนชั่น บางนา หลังมีการปรับเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยผู้ก่อตั้งและถือหุ้นใหญ่มาโดยตลอด คือ สุทธิชัย หยุ่น มีอันต้องแพ้เกมขายปั่นซื้อ จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ขณะที่ยิ่งนับวันยิ่งขาดทุน จนถึงเวลามีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบอร์ด และกำลังรอเปลี่ยนโครงสร้างบริหารสื่อในเครือ

ขณะที่ช่องอื่นๆ ยังไม่มีความเคลื่อนไหวในการเปลี่ยนตัวผู้บริหารระดับสูงมากนัก แต่มีการเปลี่ยนทีมงานกันอย่างคึกคักที่มีทั้งรอยยิ้มและน้ำตา

ถ้าดูจากข้อมูลเรตติ้งทีวี ทั้งแบบรายสัปดาห์ และรายเดือน ช่องที่นิ่งได้เรตติ้งอยู่ตัวใน ท็อป 5  และเก้าอี้ผู้บริหารยังมั่นคง คือช่อง 8 อาร์เอส ช่องโมโน และเวิร์คพอยท์

ขณะที่ช่องรองลงมา อย่างช่องวัน บอย ถกลเกียรติ วีรวรรณ ก็กำลังทุ่มพลังเต็มที่ทั้งกับละคร และรายการข่าวที่ปรับเปลี่ยนทีมงานกันอย่างเต็มที่

ส่วนช่องวาไรตี้เอสดีรองๆ ลงมาอย่างช่องนาวในเครือเนชั่น ก็กำลังรอวันประมูลขาย หลังผู้ถือหุ้นเครือเนชั่นตัดสินใจไม่ลงทุนต่อ

ช่อง 3 เอสดี ก็อยู่ภายใต้ทีมผู้บริหารชุดเดียวกันกับช่อง 3 ใหญ่ นอกเหนือจากนั้น ก็อยู่ในภาวะคนเดิมบริหาร ด้วยหลักการลดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุด.

]]>
1152490
วิบากกรรมทีวีดิจิทัลยังถาโถม ขายหุ้นทิ้ง-ปรับคอนเทนต์-ลดคน https://positioningmag.com/1152206 Sat, 30 Dec 2017 04:07:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152206 วิกฤติทีวีรับ ปี60 วิถีผู้คนเปลี่ยเสพคอนเทนต์เล่นอินเทอร์เน็ต 8ชมต่อวัน เบียดเวลาดูทีวีเหลือแค่2.26ชม.ต่อวัน กระทบอุตสาหกรรมทีวีเรตติ้งหาย รายได้หด ดิ้นหนีตายขายเทหุ้นหาผู้ร่วมทุนผยุงรายได้ “ช้าง-ปราสาททองโอสถ” ใจปล้ำฮุบซื้อหุ้น2ช่องดังของแกรมมี่ ตามคาด! ช่องข่าวไปไม่รอด เนชั่นประกาศขายช่องNOW ทิ้งทวนปีไก่ หลังพบท็อปเท็นช่องข่าวไม่ติดโผเรตติ้งรายการข่าว

ตลอดช่วง ปี 2560 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมทีวียังอยู่ในขั้นวิกฤติ ไม่ว่าจะเป็นกระแสออนไลน์เบียดพฤติกรรมการดูทีวีน้อยลง หรือตลาดรวมโฆษณาชะลอแผนใช้เงิน ส่งผลให้โฆษณาในสื่อทีวีทำได้เพียง 49,600 ล้านบาท ต่ำกว่าปี2559 ที่สูงถึง 54,036 ล้านบาท ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้หลายช่องต้องมีแผนปรับตัวรับมือ ทั้งผังรายการ นำเสนอคอนเทนทต์ใหม่ ปรับลดพนักงาน หรือขายหุ้นหาผู้ร่วมทุน

นายภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด เปิดเผยว่า จากตัวเลขเน็ลสัน คอมปะนี 11 เดือน2560ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโฆษณาทำได้ 92,673 ล้านบาท ติดลบ 5.7% แต่ในมุมมองของเอเจนซี่ เชื่อว่าในสภาพความเป็นจริง ตัวเลขจริงน่าจะอยู่ที่ 78,755 ล้านบาท ติดลบ 13.9% 

เนื่องจากแต่ละสื่อมีการปรับลดเสริมโปรโมชั่นต่างๆดึงดูด เฉลี่ยลดราคาลงมาร่วม 55% ในสื่อทีวีดิจิทัล เป็นต้น อีกทั้งยังมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นในเดือน ต.ค. ส่งผลให้ทั้งปีนี้ อุตสาหกรรมโฆษณาน่าจะปิดที่ 85,755 ล้านบาท ติดลบ 14.5% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี

***คนไทยดูทีวีน้อยลง เหลือเพียง 2.26 ชม./วัน

พฤติกรรมคนไทยเปลี่ยนมาอยู่บนโลกออลนไลน์มากขึ้นนั้น สอดคล้องกับผลสำรวจของทาง GlobalWebIndex เกี่ยวกับการใช้เวลากับช่องทางมีเดียในช่วงต้นปี2560 ของผู้บริโภคชาวไทย พบว่า แต่ละวัน การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านจอพีซีหรือแทปเล็ตเฉลี่ยสูงสุดถึง 8 ชั่วโมง 49 นาที/วัน หรือคิดเป็น 1ใน3ของหนึ่งวัน 

อันดับ2 คือ การใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโมบายโฟน กว่า 4 ชั่วโมง 14 นาที/วัน 3.การเล่นโซเชียลมีเดียผ่านดีไวซ์ต่างๆ 2 ชั่วโมง 48 นาที/วัน และที่น้อยสุด คือ การดูคอนเทนต์รายการต่างๆบนจอโทรทัศน์ เหลือเพียง 2 ชั่วโมง 26 นาที/วัน

พฤติกรรมที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลเป็นอย่างมาก เรตติ้งที่เคยทำได้สูงระดับ 10 ปัจจุบันจึงไม่มีช่องใดหรือรายการใดสามารถทำได้ถึงอีกแล้ว เพราะคนดูถูกแชร์เวลาไปกับโลกออนไลน์แทน บวกกับจำนวนช่องทีวีดิจิทัลลที่มีกว่า 20 ช่องเองนั้นต่างก็แย่งผู้ชมกันไปมา ส่งผลกระทบต่อการหารายได้เข้าสถานี เอเจนซี่และโฆษณาลดน้อยลง เพราะปัจจุบันเรตติ้งไม่สามารถการันตรีการเข้าถึงและยอดขายได้เท่ากับการลงโฆษณาในสื่อออนไลน์ในราคาที่ถูกกว่าเป็น 10 เท่าตัว

*** ”เจ้าสัวเจริญ” รุกคืบธุรกิจสื่อทีวี

ตลอดช่วงปี 2560 นี้ ที่ผ่านมา แต่ละช่องจึงมีการปรับแผนกลยุทธ์ทั้งทางตรงทางอ้อม ไม่เว้นแม้แต่การหาผู้ร่วมทุนเข้ามาโอบอุ้มให้พ้นสภาวะขาดทุนนี้ไปให้ได้ ยิ่งเป็นช่องเล็กเกิดใหม่ยิ่งอยู่ในขั้นวิกฤติมากกว่าช่องเก๋าเจ้าตลาด โดยวันที่ 24 ส.ค.2560 ทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จํากัด (มหาชน) หรือ GRAMMY ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ได้ลงนามในสัญญาจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จํากัด วันที่ 24ส.ค.60 กับ บริษัท อเดลฟอส จํากัด จำนวน 10,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 100 บาท รวมเป็นจํานวนเงินทั้งสิ้น 1,000,000,000 บาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 50% ในบริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งมีนายฐาปน สิริวัฒนภักดี และนาย ปณต สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยทั้งสองคนเป็นบุตรชายของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของอาณาจักรธุรกิจเบียร์ช้าง เครื่องดื่ม และอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของไทย

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ทางกลุ่มช้าง ภายใต้บริษัท วัฒนภักดี จำกัด ที่มีนายฐาปน และนายปณต เป็นเจ้าของก็ได้ซื้อหุ้นเกือบทั้งหมด 200 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 4.25 บาท คิดเป็นจำนวนเงินกว่า 850 ล้านบาท ในช่องอมรินทร์ 34 ในวันที่ 25 พ.ย.2559 ที่ผ่านมาส่งผลให้บริษัท วัฒนภักดี จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกลุ่มอมรินทร์ 47.62% ขณะที่ครอบครัวอุทกะพันธุ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มอมรินทร์ มีสัดส่วนหุ้นลดลงเหลือ 30.83% และผู้ถือหุ้นรายย่อยถือหุ้น 21.55%

***”ปราสาททองโอสถ” คุม 2 ช่องทีวีดิจิทัล

ในขณะที่กลุ่มช้างเข้าซื้อหุ้นแกรมมี่และได้ช่องจีเอ็มเอ็ม 25 ไป ทางฝั่งตระกูล “ปราสาททองโอสถ” ก็ไม่น้อยหน้า เพราะก่อนหน้านั้นตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2559 ได้เข้าซื้อหุ้นในช่องวัน ด้วยตัวเลข 1,900 ล้านบาท ซึ่งอยู่เครือแกรมมี่เช่นกัน ส่งผลให้ทางปราสาททองโอสถ โดยบริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด ที่มีนางสาวปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ ลูกสาวของนายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ หรือ “หมอเสริฐ” เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของช่องวัน คิดเป็นสัดส่วน 50% ขณะที่ GRAMMY เหลือหุ้นคิดเป็นสัดส่วน 25.50% และกลุ่มของนายถกลเกียรติเหลือหุ้น 24.50% 

ส่งผลให้ปัจจุบันกลุ่ม ปราสาททองโอสถ มีช่องทีวีดิจิทัล 2 ช่องในมือ คือ ช่อง PPTV และช่องวัน ซึ่งทั้งสองช่องมีคาแรกเตอร์และกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน

***เนชั่นตัดใจขาย ช่อง NOW

ล่าสุดส่งท้ายปี2560 เมื่อวันที่19 ธ.ค.ที่ผ่านมา บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ต้องการจำหน่ายสินทรัพย์ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจ ลดภาวะขาดทุน ประกอบด้วย บริษัทย่อยดำเนินธุรกิจช่องทีวีดิจิทัล NOW 26 จำนวน 149.99 ล้านหุ้น คิดเป็น 100% และบริษัทเนชั่น ยู จำกัด (NU) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ดำเนินธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น จำนวน 30.59 ล้านหุ้น คิดเป็น ร้อยละ 90 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด รวมมูลค่า 1,403 ล้านบาท

สอดคล้องกับทางนายภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด ได้กล่าวว่า ทิศทางอุตสาหกรรมทีวีดิจิตอล ยังจะมีการปรับตัวหรือหาผู้ร่วมทุนเข้ามาช่วงผยุงธุรกิจไปจนถึงปีหน้า ซึ่งแนวโน้มจำนวนช่องที่จะอยู่ได้คือช่องหลัก ส่วนช่องที่จะหายไป คือ กลุ่มที่สามที่พอมีรายได้โฆษณาเข้ามาบ้าง ได้แก่ กลุ่มช่องข่าว และช่องเด็ก

นอกจากนั้นยังมีช่องว้อยซ์ทีวี ที่เพิ่งประกาศปรับลดพนักงานลงกว่าครึ่งหนึ่งหรือเอาออกกว่า 170 คน จากพนักงานทั้งหมดกว่า 300 คน เพื่อ ลดต้นทุนดำเนินกิจการ 

*** ช่องข่าวไม่ติดโผท็อปเท็นรายการข่าว

ทั้งนี้จากข้อมูลของทางเนลสัน คอมปะนี ในเดือนพ.ย.2560 ที่ผ่านมา พบว่า รายการข่าวตลอดวันที่มีเรตติ้งสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1.ข่าวภาคค่ำ ช่วงที่ 2 จาก ช่อง 7 มีเรตติ้ง 6.29 2.ข่าวในพระราชสำนัก จากช่อง 7 มีเรตติ้ง 5.73 3.สนามข่าวเสาร์-อาทิตย์ จากช่อง 7 มีเรตติ้ง 2.98 4.ข่าวในพระราสำนัก(วันอาทิตย์) จากช่อง 3 มีเรตติ้ง 2.90 และหากมองในมุมที่กว้างขึ้นในระดับ 15 อันดับแรกนั้น ปรากฏว่า ช่องรายการข่าวทุกช่อง ไม่มีช่องใดสามารถมีเรตติ้งติดอยู่ในกลุ่มนี้เลย จึงเป็นอีกผลสำคัญที่ทำให้ช่องข่าวต้องมีการปรับตัวอย่างหนัก

อย่างไรก็ตามในขณะที่ช่องรองต้องหาผู้ร่วมทุนเพิ่ม ช่องหลักก็มีการปรับตัวเช่นกัน โดยเฉพาะช่อง 3 หลังจากมีช่องทีวีดิจิทัลถึง 3 ช่องในมือ บวกกับการแข่งขันของตลาด โฆษณาถูกแชร์ออกไป ปีนี้ช่อง 3 จึงถือว่าค่อนข้างหนักอีกช่อง ไม่ว่าจะเป็นกระแสข่าวการขายหุ้น หรือการเปลี่ยนแปลงทีมผู้บริหาร รวมถึงการปรับผังรายการเป็นว่าเล่นตลอดปี เพราะยังไม่มีผังรายการช่วงใดปัง! พอที่จะโกยเรตติ้งและรายได้อย่างแท้จริง จนต้องัดกลยุทธ์เพิ่มเวลารีรันคอนเทนต์ละครเก่าในมือ หรือดึงดาราเข้ามาร่วมหารายได้โฆษณา และการซื้อคอนเทนต์ซีรีส์ต่างประเทศเพื่อลดต้นทุน เป็นต้น.

ที่มา : mgronline.com/business/detail/9600000130339

]]>
1152206