ธุรกิจสิ่งพิมพ์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 Dec 2018 09:44:36 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไทยรัฐประกาศ “ลดคน” แล้ว! เปิดโครงการลาออกสมัครใจทุกระดับส่งท้ายปี 61 https://positioningmag.com/1203393 Mon, 17 Dec 2018 09:18:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1203393 สื่อสิ่งพิมพ์ยังต้องเผชิญกับสถานการณ์ยากลำบาก ล่าสุด ค่ายสื่อยักษ์ใหญ่ ไทยรัฐ ได้ออกประกาศ “โครงการลาออกด้วยความสมัครใจ” แล้ว

โดยระบุว่า ด้วยปัจจุบันสถานการณ์สิ่งพิมพ์ของบริษัทฯ ต้องเผชิญกับความท้าทายต่อสภาวะเศรษฐกิจและพฤติกรรมการบริโภคสื่อของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้สภาพทางธุรกิจของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบริษัทฯ จะได้พยายามประคับประคองธุรกิจสิ่งพิมพ์ในทุกวิถีทางอย่างถึงที่สุดแล้วก็ตาม บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องลดโครงสร้างและอัตรากำลังคน เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อไปได้ บริษัทจึงมีนโยบายให้พนักงานประจำ ในสังกัด บริษัท วัชรพล จำกัด ทุกระดับ สมัครเข้าโครงการลาออกด้วยความสมัครใจ โดยได้รับความช่วยเหลือ มีรายละเอียดตามประกาศ ดังนี้

ทั้งนี้ พนักงานที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ ให้กรอกแบบฟอร์มแสดงความประสงค์ ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่วันที่ 17-30 ธันวาคม 261

โดยผลตอบแทนตามโครงการ ประกอบไปด้วย

  1. เงินช่วยเหลือตามอายุงาน โดยให้นับอายุงานตั้งแต่วันเข้าทำงาน จนถึง 31 มกราคม 2562
  2. เงินช่วยเหลือพิเศษอีก 30 วัน

โดยพนักงานที่ได้รับพิจารณาอนุมัติ จะพ้นสภาพการเป็นพนักงานในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 และจะได้รับเงินช่วยเหลือเป็นเช็ค ในวันที่ 30-31 มกราคม 2562 ประกาศเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 ลงชื่อ ยิ่งลักษณ์ วัชรพล ประธานกรรมการบริหาร

ทั้งนี้ สำหรับเม็ดเงินโฆษณาสื่อหนังสือพิมพ์ ในเดือนพฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา มียอด 555 ล้านบาท ติดลบ 17.41 % และสำหรับยอด 11 เดือนที่ผ่านมา มียอด 5,589 ล้านบาท ลดลง 20.95% เป็นการลดลงต่อเนื่อง.

]]>
1203393
ยุบ Men’s Fitness แต่แมส กรุ๊ป ยังขอโต เปลี่ยน L’Optimum เป็น L’Officiel Hommes เปิดลิสต์ท็อป 15 ธุรกิจ-แบรนด์ยังซื้อโฆษณาสิ่งพิมพ์ https://positioningmag.com/1151473 Fri, 22 Dec 2017 14:51:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151473  “ไม่ได้ขาดทุน ไม่ได้วิกฤต แถมยังไปได้ดี ด้วยรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 20-25% แต่ก็ต้องปิด และยุบนิตยสารในเครือ 1 เล่ม และเปลี่ยนชื่อ 1 เล่ม นี่คือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดกับบริษัท แมส คอนเน็ค จำกัด ค่ายหนังสือหัวนอกระดับไฮเอนด์หลายฉบับ

พรวิภา เธียรธนวาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัทแมส คอนเน็ค จำกัด เปิดแถลงข่าว หลังมีข่าวลือว่าจะมีการปิดตัวนิตยสารบางเล่มในเครือ ที่ซื้อลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ

เล่มแรก “เมนส์ ฟิตเนส (Men’s Fitness)” บริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์คือ อเมริกัน มีเดีย ได้แจ้งยุติการพิมพ์ทั่วโลก ดังนั้น นิตยสาร เมนส์ ฟิตเนส ประเทศไทย ฉบับเดือนธันวาคมนี้ จึงเป็นฉบับสุดท้าย หลังจากเพิ่งเริ่มพิมพ์เล่มแรก เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 รวม 8 ฉบับเท่านั้น

จริง ๆ แล้ว เมนส์ ฟิตเนส ยังไปได้ดีและมีรายได้ตามเทรนด์ของไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค และตัวเองยังได้บินไปเพื่อเจรจาอยากให้พิมพ์ต่อในเมืองไทย แต่สไตล์ของอเมริกาเมื่อตัดสินใจคือชัดเจนว่าปิด และทางเจ้าของลิขสิทธิ์เองก็ไม่อยากให้มีชื่อนิตยสารนี้อีกแล้ว พรวิภา กล่าว

เล่มที่สอง คือจะไม่มีชื่อนิตยสาร ลอปติมัม อีกต่อไป แต่จะรวมจุดแข็งของเนื้อหาเล่มที่เจาะกลุ่มผู้ชายไปอยู่ในนิตยสาร ชื่อ ลอฟฟีเซียล ออมส์ (L’Officiel Hommes) ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ตามนโยบายของเจ้าของลิขสิทธิ์ คือสำนักพิมพ์ฌาลู เจ้าของและผู้ผลิต นิตยสารลอฟฟีเชียล และลอปติมัม ฝรั่งเศส

ความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่มีผลกับพนักงาน อย่างพนักงาน เมนส์ ฟิตเนสประมาณ 5 คนยังมีหน้าที่ทำนิตยสารให้ในเครือต่อไป

**แมส กรุ๊ป รุกขายแพ็กเกจสิ่งพิมพ์ ออนไลน์ดันรายได้

นับตั้งแต่ปีหน้า แมส กรุ๊ป มีนิตยสารรายเดือนในเครือดังนี้

L’Officiel ,  L’Officiel Hommes

กลุ่มราย 2 เดือน L’Officel wedding , L’officiel watches and jewelry และ L’Oficiel art  design and decors , นิตยสารนาฬิการาย 3 เดือน Wow Thailand  นอกจากนี้ยังรับจ้างผลิตนิตยสารรายเดือนบนเครื่องบิน We smile

พรวิภา เปิดเผยว่า ความเปลี่ยนแปลงนิตยสารสองเล่มในเครือดังกล่าว เป็นไปตามแผนของต่างประเทศ ที่ผ่านมาแมสกรุ๊ปปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และเทคโนโลยีมาตลอด นับตั้งแต่ปีแรกที่เปิดตัว ลอฟฟีเชียล ไทยแลนด์ ในปี 2555 โดยมีช่องทางโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย และทีมงานของแมสกรุ๊ป ก็ปรับตัวได้ตามเทรนด์ รวมถึงยังมีทีมงานกลุ่มใหม่ ๆ ทั้งครีเอทีฟ ตัดต่อ ภาพวิดีโอ เพื่อตอบสนองผู้บริโภคทางออนไลน์ด้วย

โมเดลธุรกิจของนิตยสารในเครือที่ใช้แพลตฟอร์ม “ออนไลน์” ด้วย จึงมีรายได้เติบโตปีละประมาณ 20-25% และปีหน้าคาดว่าจะเติบโต 25% เพราะมีการขายโฆษณาเป็นแพ็กเกจ ที่ไม่ใช่เพียงแค่การลงโฆษณาในนิตยสารอย่างเดียว แต่ถ้าลูกค้าต้องการสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย ทั้งเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไอจี ก็มีรูปแบบให้ลูกค้าเลือก

นอกจากนี้ยังมีอินฟลูเอ็นเซอร์ อย่างที่มีแคมเปญชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ร่วมกับแมสกรุ๊ปทำ และยังมีอีกหลายคนสำหรับหลายเซ็กเมนต์ รวมถึงยังมี เคโอแอล ในสังกัด บริษัทเคโอแอล แมนเนจเม้นท์ จำกัด ที่ อาลี ซีอานี หนึ่งในผู้ถือหุ้นของแมสกรุ๊ป ร่วมถือหุ้นกับชมพู่ อารยา เอ ฮาร์เก็ต ด้วย

***เปิดลิสต์ 15 ธุรกิจ-แบรนด์ ซื้อโฆษณาสิ่งพิมพ์

บริษัทมีเดีย อินเทลลิเจนซ์ หนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการซื้อ – ขาย สื่อโฆษณา และวางกลยุทธ์สื่อสารทางการตลาดในประเทศไทย เปิดเผยว่างบของสื่อสิ่งพิมพ์ในช่วง 11 เดือนแรกของปี (ม.ค.-พ.ย.) เปรียบเทียบปี 2559-2560 นั้น ชัดเจนว่าลดลง

แต่ที่ตอกย้ำว่านิตยสารแนวใดจะอยู่รอดนั้น เห็นได้ว่า ธุรกิจ และแบรนด์ที่ลงโฆษณานั้น จะเลือกเล่มที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจง มีกลุ่มผู้อ่านแฟนประจำ โดยในกลุ่มธุรกิจ อันดับ 1 ยังเป็นนาฬิกา ใน 15 อันดับสูงสุด แสดงถึงสินค้าที่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ เช่น รถยนต์ เสื้อผ้า กระเป๋า ความงาม ตกแต่งบ้าน ท่องเที่ยว ที่หลายคนชอบดู อ่านทางเล่มนิตยสารมากกว่า

สอดคล้องกับข้อมูลที่พรวิภาเปิดเผยว่า กลุ่มสินค้าที่ยังคงลงโฆษณาในนิตยสารเป็นกลุ่มดังกล่าว

สำหรับแบรนด์หรูยังคงเห็นลงโฆษณาในนิตยสารไฮเอนด์เป็นหลักเพราะหลายแบรนด์ยังไม่กล้าเสี่ยงกับโซเชียลมีเดีย เพราะกลัวการถูก คอมเมนต์” ทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ไม่ตรงกับที่วางไว้

ขณะที่ธุรกิจหนังสือพิมพ์ ชัดเจนว่าธุรกิจกลุ่มแมสยังซื้อโฆษณาเป็นหลัก เช่น เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ที่มีคูปองให้ตัดจากหนังสือพิมพ์ มีธุรกิจทัวร์ท่องเที่ยว ธนาคาร เครื่องดื่มกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ

ทั้งนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ บางเซ็กเมนต์ ยังคงมีกลุ่มราชการ รัฐวิสาหกิจ ซื้อโฆษณาอีกด้วย.

 

]]> 1151473 ต้านโซเชียลไม่ไหว “ดำรง พุฒตาล” เผยสาเหตุ ปิดตำนาน 38 ปี “คู่สร้างคู่สม” https://positioningmag.com/1150657 Sat, 16 Dec 2017 18:02:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1150657 นับเป็นนิตยสารอีกฉบับที่จัดเป็นหนังสือขายดี เคยอยู่คู่แผงหนังสือมาเป็นเวลา 38 ปี แต่ในที่สุดก็ต้องตัดสินใจปิดตัวลงอย่างแน่นอนแล้ว 

ดำรง พุฒตาล ผู้ก่อตั้งนิตยสารคู่สร้างคู่สม ได้เปิดเผยในรายการ มองรอบด้าน สุดสัปดาห์ ทางสถานีโทรทัศน์ TNN  24 ว่า ได้ตัดสินใจปิดนิตยสารคู่สร้างคู่สม โดยฉบับสุดท้ายที่วางแผง ในวันที่ 20 ธันวาคมนี้ จะเป็นฉบับที่ 1005 นับเป็นการปิดฉากหลังจากเริ่มวางแผนมาตั้งแต่ปี 2523 รวมเป็นเวลา 38 ปี ที่อยู่คู่กับแผงหนังสือมาตลอด

สาเหตุที่ต้องปิดตัวมาจากพฤติกรรมคนที่หันไปเสพสื่อออนไลน์ ไม่อ่านหนังสือ ส่งผลกระทบต่อองคาพยพธุรกิจสิ่งพิมพ์ ทั้งแผงหนังสือ สายส่ง เอเยนต์ โรงพิมพ์ ต้องประสบปัญหาขาดทุน ทยอยปิดตัว ซึ่งยอดขายส่วนใหญ่ของคู่สร้างคู่สมมาจากการขายจากแผงหนังสือ ในเมื่อแผงหนังสือหายไป ช่องทางขายก็ไม่มี แม้จะหันไปให้สมัครสมาชิก แต่คนสมัครน้อยมากแค่หลักร้อย เพราะคนไม่ซื้อหนังสือหันไปอ่านจากโซเชียลมีเดีย จากมือถือ

นอกจากนี้ คอลัมน์ดูดวงของนามปากกาอุตตราษาฒ ที่เขียนโดย ดร.อัมพร สุขเกษม ซึ่งเป็นคอลัมน์ที่มีผู้อ่านติดตามมากที่สุด แต่ในระยะหลังถูกคัดลอกลงในโซเชียลมีเดียทันที โดยไม่ได้ขออนุญาต ทำให้สูญเสียผู้อ่าน

โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราท้อใจ เมื่อเจออย่างนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ต้องหยุด เป็นเหตุผลเดียวกับนิตยสารรุ่นพี่

ส่วนสาเหตุที่ไม่ทำ “ออนไลน์” ดำรงบอกว่า อายุ 70 ปีแล้ว ต้องการปล่อยวาง เพราะทำงานหาเงินมาตั้งแต่เรียนจบ จากที่เคยคิดว่า งานคือชีวิต แต่เวลานี้เป็นความทุกข์แล้ว หาเงินมาตั้งเยอะจนไม่มีเวลาใช้

เคยคิดไว้ว่านิตยสารฉบับนี้น่าจะถึง 40 ปี ซึ่งตัวดำรงจะอายุ 75 ปีพอดี จะได้เฉลิมฉลอง แต่อายุมากแล้ว อยากจะอยู่สบาย ๆ ตนทั้งเหนื่อย ทั้งขายได้น้อยลง จึงหาคำตอบได้สักที

ส่วนของกองบรรณาธิการที่มีอยู่เดิม จะชดเชยให้ตามกฎหมายแรงงาน 10 เท่าของเงินเดือน พร้อมกับโบนัส 2 – 3 เดือน

ย้อนตำนาน 38 ปี นิตยสารคู่สร้างคู่สม

  • วางแผงฉบับแรก 1 มกราคม 2523 โดยมี ทาริกา ธิดาทิตย์ อดีตนักแสดงชื่อดัง ปัจจุบันผันตัวเป็นผู้จัดของช่อง 3 ขึ้นปกเป็นคนแรก ปรากฏว่าขายดีมาก ต้องพิมพ์ถึง 3 ครั้ง เนื่องจากนำเสนอเรื่องการหย่าของ พันเอกการุณ เก่งระดมยิง ซึ่งดำรงเคยเป็นพิธีกรคู่มาก่อน
  • ราคาขายครั้งแรก 8 บาท ราคาขายล่าสุด คือ 30 บาท
  • เนื่องจากเป็นนิตยสารขายดี จึงขายขาดให้แผงหนังสือ โดยไม่รับคืน
  • เคยทำยอดขายสูงสุด 4 แสนเล่ม/ฉบับ เท่ากับว่าใน 1 เดือน ขายได้ 1.6 ล้านเล่ม
  • เนื้อหาเน้นความหลากหลาย นอกจากเปิดให้นักวิชาการมาเขียนคอลัมน์แล้ว ยังให้คนทั่วไป หลากหลายอาชีพ รวมทั้งคนที่เคยติดคุก หรือประสบปัญหา ทำให้เป็นที่นิยมในหมู่คนกลุ่มคนทั่วไป
  • เคยได้ชื่อว่าเป็นนิตยสารยอดนิยม ที่ร้านทำผมต้องมี
  • ดำรง เคยขึ้นปกนิตยสารคู่สร้างคู่สมมาแล้ว 3 ครั้ง ทุกครั้งล้วนมาจาก “วิกฤติ”
  • ครั้งแรก ปี 2530 เมื่อคู่สร้างคู่สมถูกครอบครัว นันทิดา แก้วบัวสาย ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 5 ล้านบาท ข้อหาหมิ่นประมาท เนื่องจากทีมงานไปลอกเนื้อหาทางด้านลบมาลง แต่ในที่สุดก็ยอมความ และถอนฟ้อง ดำรงจึงถ่ายรูปขึ้นปกคู่กับนันทิดา เป็นภาพกำลังยื่นดอกไม้ให้เพื่อขอโทษ
  • ครั้งที่ 2 เดือนกันยายน 2532 มาจาก น้องสาว ขนิษฐา พุฒตาล เสียชีวิตกะทันหัน โศกเศร้าเสียใจ ดำรงจึงนำภาพตัวเขา พร้อมกับขนิษฐา และมาโนช พุฒตาล น้องสาวมาขึ้นปกพร้อมกัน
  • ครั้งที่ 3 เดือนธันวาคม 2560 เป็นฉบับสุดท้าย ดำรงขึ้นปกหน้าและปกหลัง เพื่ออำลา ปิดตำนาน 38 ปี คู่สร้างคู่สม โดยจะพิมพ์ประมาณแสนเล่ม

 

]]>
1150657
เปิดรายได้ “ดิฉัน คู่สร้าง-คู่สม” ในวันที่ “แม็กกาซีน” ต้องปิดตัวลง https://positioningmag.com/1149933 Wed, 13 Dec 2017 00:58:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1149933 ท่ามกลาง “สื่อดิจิทัล” มาแรง การเติบโตก้าวกระโดด และทรงอิทธิพล “ทำลาย” (Disrupt) หลายธุรกิจให้ระส่ำ หนึ่งในนั้นคือ “ธุรกิจสิ่งพิมพ์” ซึ่งได้เห็นการ “ปิดตัว” ของแม็กกาซีนหลายหัว โดยเฉพาะในปี 2559 ได้เห็นแม็กกาซีนที่อายุ 10 ปีขึ้นไป ต้องอำลาแผงเป็นแถบๆ ไม่ว่าจะเป็นนิตยสารแฟชั่น  VOLUME นิตยสาร Image  นิตยสาร Cosmopolitan นิตยสารวัยรุ่นหัวนอก Seventeen นิตยสาร WHO ที่นำเสนอเรื่องราวของเหล่าเซเลบริตี้เมืองไทย นิตยสารสกุลไทย นิตยสารพลอยแกมเพชร แม้กระทั่งหนังสือพิมพ์บ้านเมือง เป็นต้น

สื่อสิ่งพิมพ์เหล่านี้ล้วนอยู่คู่กับสังคมไทยและผู้อ่านมานาน แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา นอกจาก “ดิจิทัล” ที่โหดซัดธุรกิจจนปรับตัวไม่ไหว ยังเผชิญพิษเศรษฐกิจ “ลูกค้าที่เคยซื้อสื่อโฆษณาแม็กกาซีน” หนังสือพิมพ์ลดลงต่อเนื่องช่วง ปีที่ผ่านมา ปัจจัยลบ เด้งทำให้ผู้ประกอบการต้อง “กลืนเลือด” และท้ายที่สุด เมื่อไม่ไหวต้องโบกมืออำลาแผง

บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (KWP) อ้างอิงรายงานจากกรุ๊ปเอ็ม ระบุสถานการณ์ของผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค (คอนซูเมอร์) ใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาซื้อสื่อแม็กกาซีนลดลงต่อเนื่องในช่วง ปี

  • ปี 2553 มูลค่าการซื้อสื่ออยู่ที่ 4,999 ล้านบาท
  • ปี 2554 มูลค่าเพิ่มเป็น 5,146 ล้านบาท
  • ปี 2555 มูลค่าลดเหลือ 4,842 ล้านบาท
  • ปี 2556 มูลค่าลดเหลือ 4,721 ล้านบาท
  • ปี 2557 มูลค่าลดเหลือ 4,171 ล้านบาท
  • ปี 2558 มูลค่าลดเหลือ 3,642 ล้านบาท
  • ปี 2559 มูลค่าลดเหลือ 2,558 ล้านบาท
  • ปี 2560 มูลค่าลดเหลือ 1,600 ล้านบาท
  • แนวโน้มปี 2561 คาดว่าการซื้อสื่อโฆษณาผ่านแม็กกาซีนจะลดเหลือ 1,440 ล้านบาท

ส่วนแม็กกาซีน รายที่ปิดตัวลงไป อย่าง “ดิฉัน” ของบริษัท แอ็ดวานซ พับลิชชิ่ง จำกัด ในช่วง ปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” อย่างต่อเนื่อง

  • ปี 2559 บริษัทมีรายได้รวมกว่า 65 ล้านบาท ลดลง 16.78% ขาดทุนกว่า 34 ล้านบาท ลดลง 132.16%
  • ปี 2558 บริษัทมีรายได้รวมกว่า 78 ล้านบาท ลดลง 13.81% ขาดทุนกว่า 14 ล้านบาท ลดลง 159.84%
  • ปี 2557 บริษัทมีรายได้รวมกว่า 91 ล้านบาท ลดลง 15.47% ขาดทุนกว่า ล้านบาท ลดลง 721.47%

ขณะที่ปี 2555- 2556 บริษัทมีรายได้หลัก 100 ล้านบาท มีกำไรสุทธิหลักล้าน และลดเหลือหลักแสนบาทตามลำดับ

ส่วนบริษัท คู่สร้าง-คู่สม (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของ “คู่สร้าง-คู่สม”

  • ปี 2560 บริษัทมีรายได้รวมกว่า 125 ล้านบาท หดตัว 37.49% กำไรสุทธิกว่า 38 ล้านบาท หดตัวลง 40.18%
  • ปี 2559 มีรายได้รวมกว่า 200 ล้านบาท หดตัว 32.28% กำไรสุทธิกว่า 64 ล้านบาท ลดลง 36.21%
  • ปี 2558 มีรายได้รวมกว่า 296 ล้านบาท หดตัว 12.08% กำไรสุทธิกว่า 100 ล้านบาท ลดลง 10.69%

ตัวเลขผลประกอบการที่ “ลดลง” กำไรเป็น “ตัวแดง” ทุกปี ทางออกสุดท้ายที่ผู้ประกอบการต้องเลือกคือการ “ปิดตัว” ซึ่งเชื่อว่าการปรับตัวของตลาดยังไม่หยุดเพียงเท่านี้ ตราบใดที่ผู้บริโภคลดการซื้อ เสพสื่อสิ่งพิมพ์ อนาคตอาจได้เห็นการเปลี่ยนแปลงบนแผงหนังสืออีกก็เป็นได้.

]]>
1149933
ส่องแผงนิตยสารแฟชั่นญี่ปุ่น จะรอดหรือร่วง https://positioningmag.com/1149767 Mon, 11 Dec 2017 04:46:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1149767 Byline: Leave Me Alone

ญี่ปุ่น ขึ้นชื่อเรื่องความหลากหลายของสินค้าที่นำเสนอ และไม่จำกัดแค่เฉพาะของกินของใช้ในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่รวมถึงนิตยสารแฟชั่น” ซึ่งเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับผลกระทบอย่างมาก เมื่อวิถีการบริโภคข้อมูลหันเหไปสู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นในทุกๆ วัน

ถึงแม้ญี่ปุ่นจะขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีแนวทางการบริโภคที่มีเอกลักษณ์ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจซีดี ที่ทุกวันนี้ Tower Record ยังเปิดสาขาในญี่ปุ่นท่ามกลางการปิดตัวของสาขาอื่นๆ ทั่วโลก แต่ไม่ได้หมายความว่า “นิตยสารแฟชั่น ที่มีมากมายตามไลฟ์สไตล์การแต่งตัวหรือแบ่งตามช่วงอายุของคนอ่านที่วางแผงในประเทศญี่ปุ่นจะอยู่รอดได้อย่างสบายๆ

การปิดตัวของนิตยสาร AneCan หนึ่งในไอคอนของแม็กกาซีนญี่ปุ่นเมื่อปลายปีที่แล้วเป็นสิ่งสะท้อนได้อย่างดีว่าธุรกิจนิตยสารในญี่ปุ่นเข้าสู่ขาลงเช่นเดียวกับทั่วโลก

AneCan วางแผงครั้งแรกเมื่อปี 2007 สำหรับผู้อ่านผู้หญิงที่มีอายุประมาณ 30 ปี และถูกวางตำแหน่งให้เป็นพี่สาวของนิตยสาร CanCam ซึ่งเป็นนิตยสารผู้หญิงที่โด่งดังมากที่สุดเล่มหนึ่งของญี่ปุ่นโดยเจาะกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษา

อ้างอิงจากข้อมูลของ Japan Magazine Publishers Association ช่วงวางแผงแรกๆ ในปี 2008 AneCan สามารถติดตลาดได้อย่างรวดเร็ว ทำยอดขายต่อเดือนสูงถึง 250,000 เล่ม ส่วนหนึ่งเกิดจากการนำนางแบบที่เคยถ่ายให้กับ CanCam มาก่อน มาร่วมงาน ส่งผลให้แฟนๆ ที่ติดตามนางแบบเหล่านี้หันมาให้ความสนใจเพิ่มขึ้น แต่กลับกัน ในปี 2016 AneCan มีขอดขายเพียงแค่ 80,000 เล่มต่อเดือน จนนำมาสู่การตัดสินใจปิดตัวลงในที่สุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2016

AneCan เป็นแค่หนึ่งในนิตยสารแฟชั่นหลักๆ ที่ปิดตัวลงและมีแนวโน้มว่าธุรกิจนิตยสารในญี่ปุ่นจะยังคงเจ็บปวดกับยอดขายที่ลดลงต่อไปเรื่อยๆ แม้จะมีกลยุทธ์เด่นอย่างการแจกของแถมฟรีจากแบรนด์ดังๆ ในนิตยสารอาทิ กระเป๋าชุดเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจซื้อของผู้อ่าน แต่นั่นก็กลายเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ช่วยชะลอเท่านั้น

ปัจจุบัน นิตยสารแฟชั่นที่ขายได้มากกว่า 1 ล้านฉบับ อย่าง Sweet ยังต้องหันมาใช้วิธีการพบปะกับร้านหนังสือทั่วประเทศก่อนที่นิตยสารจะวางขายในแต่ละเดือน เน้นแนะนำคอนเทนต์ในเล่มเพื่อเพิ่มความตื่นเต้นและความสนใจให้กับนิตยสาร ซึ่งเป็นการรับประกันความสำเร็จได้เป็นอย่างดี เพราะหลายร้านได้เลือก Sweet มาวางในตำแหน่งเด่นสุดของแผงซึ่งเป็นตำแหน่งที่สะดุดตาของผู้อ่าน

นอกจากนี้ Sweet ยังถูกตั้งราคาจำหน่ายให้ต่ำกว่าคู่แข่ง ซึ่งกลยุทธ์นี้อาจดูไม่ยั่งยืน แต่ด้วยราคาที่ต่ำ ทำให้จำนวนขายต่อเดือนสูง เท่ากับ Sweet เป็นหนึ่งในสื่อทรงอิทธิพลที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้หลักล้าน ส่งผลให้หลากหลายแบรนด์อยากจะนำผลิตภัณฑ์มาร่วมแจกกับ Sweet ซึ่งในบางฉบับ ยอดขายของ Sweet พุ่งทะลุ 1.5 ล้านเล่ม หรือแม้กระทั่งเกิดเหตุการณ์พิมพ์ซ้ำในบางฉบับ

แต่กลยุทธ์แบบนี้จะใช้ได้อีกนานแค่ไหน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและเป็นไปของการบริโภคข้อมูล ผู้อ่านเท่านั้นที่จะเป็นคนกำหนดคำตอบ.

]]>
1149767
ปิดฉาก 49 ปี นิตยสาร “ขวัญเรือน” ประกาศอำลาแผงสิ้นปีนี้ https://positioningmag.com/1147152 Sat, 18 Nov 2017 05:12:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1147152 สึนามิดิจิตอลพัดพาเอาธุรกิจสิ่งพิมพ์ ทั้งนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ต้องปิดฉากลง ล่าสุดนิตยสารขวัญเรือนประกาศอำลาแผง โดยจะจัดทำฉบับเดือนธันวาคมนี้ เป็นเล่มสุดท้าย เหตุภาวะเศรษฐกิจสื่อโซเชียลเข้ามามีบทบาทแทนสื่อสิ่งพิมพ์ จนส่งผลกระทบรุนแรงทั้งการขายโฆษณาและยอดจำหน่าย 

นิตยสารขวัญเรือน ได้ทำหนังสือแจ้งต่อสมาชิก ว่า เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค โดยเฉพาะในยุคที่สื่อโซเชียลเข้ามามีบทบาท ส่งผลกระทบต่อสื่อสิ่งพิมพิ์ ทั้งในแง่ของการขายโฆษณาและยอดจำหน่าย โดยนิตยสารขวัญเรือนได้พยายามต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและยุคสมัย

ด้วยเหตุนี้ ทางนิตยสารขวัญเรือน จึงขออนุญาตแจ้งให้ท่านสมาชิกทราบ เรื่อง การยุติการจัดทำนิตยสารขวัญเรือน โดยจะจัดทำฉบับที่ 1102 (ฉบับเดือนธันวาคม) เป็นเล่มสุดท้าย หลังจากทยอยแจ้งกับนักเขียนมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

นิตยสารขวัญเรือน ก่อตั้งเดือนธันวาคม ปี 2511 โดยบริษัทศรีสยามการพิมพ์จำกัดนับเป็นนิตยสารเก่าแก่อีกฉบับที่ต้องปิดฉากไปในที่สุด

ปัจจุบันงบใช้จ่ายโฆษณานิตยสารลดลงต่อเนื่อง  ล่าสุดตัวเลขจากนีลเส็น ประเทศไทย ระบุว่า งบโฆษณานิตยสารช่วง 10 เดือนของปี 2560 (..-. 60) ลดลงเหลือ 1,622 ล้านบาท ติดลบ 34.96 % เมื่อเทเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว  เอเจนซี่โฆษณา ระบุว่า เป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้อ่านเปลี่ยนไปหันไปเสพสื่อผ่านออนไลน์มากขึ้น  การใช้จ่ายเเม็ดเงินโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ไหลตามไปอยู่ในสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นตามคนอ่านที่เปลี่ยนแปลงไป

ที่มา : mgronline.com/onlinesection/detail/9600000116462

]]>
1147152