ธุรกิจออนไลน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 05 Apr 2020 12:47:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ธุรกิจมาเเรง! ชาวจีนเเห่ใช้ “เชงเม้งออนไลน์” ไหว้บรรพบุรุษผ่านสตรีมมิ่ง ช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1271832 Sun, 05 Apr 2020 08:49:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1271832 ไวรัส COVID-19 ได้ปรับเปลี่ยนธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษที่สุสานใน “เทศกาลเชงเม้ง” หนึ่งในเทศกาลสำคัญที่สุดของชาวจีนที่ปฎิบัติสืบเนื่องกันมาหลายศตวรรษ โดยปีนี้ผู้คนจำนวนมากได้หันมาใช้บริการ “ไหว้บรรพบุรุษทางออนไลน์” เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส

ช่วงวิกฤตการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายมณฑลในจีน ได้สั่งห้ามการทำกิจกรรมในวันเชงเม้ง ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 4-5 เม.ย. จนถึงวันที่ 20 เม.ย. ตามปกติเเล้วทุก ๆ ปี จะมีลูกหลานญาติมิตรมารวมตัวกันทำพิธีไหว้บรรพบุรุษ เเต่ปีนี้สุสานบางเเห่งต้องให้จองเข้าเยี่ยมล่วงหน้า เพื่อควบคุมจำนวนคนที่จะเข้าไปในสุสานรวมถึงขอความร่วมมือประชาชนให้ใช้บริการ “ทำความสะอาดสุสานทางไกล” เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเเพร่เชื้อไวรัสหากมีการชุมนุมกันขึ้น

โดยธุรกิจที่ได้รับความนิยมเเบบพุ่งพรวดในตอนนี้ ก็คือ “คลาวด์เชงเม้ง” ที่ให้บริการเเสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษแบบเสมือนจริง โดยครอบครัวสามารถใช้บริการจุดเทียน เผากระดาษเงินกระดาษทอง ไหว้บรรพบุรุษด้วยอาหาร เครื่องดื่ม และทำความสะอาดสุสานตามประเพณีได้ด้วย

บริษัทจัดงานศพอย่าง Fu Shou Yuan International เปิดตัวบริการกวาดสุสานออนไลน์ เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา ให้บริการกว่า 30 เมืองในจีน เพียงสัปดาห์แรกของการเปิดเว็บไซต์ก็มีผู้เยี่ยมชมเเล้วถึง 87,000 คน

Photo : Xinhua/Zhang Wenjing

บริการฮอตฮิตอย่าง “ทำความสะอาดสุสานผ่านไลฟ์สตรีมมิ่ง” เป็นการว่าจ้างพนักงานให้เข้าไปทำพิธีไหว้และทำความสะอาดสุสานให้จริง ๆ ซึ่งลูกค้าจะได้ดูขั้นตอนทั้งหมดผ่านไลฟ์สตรีม เเละจะมีภาพถ่ายสุสานหลังทำความสะอาดเสร็จเรียบร้อย ส่งรายงานให้ด้วย

George Chen ชาวจีนที่มีบรรพบุรุษถูกฝังอยู่ในสุสานที่เซี่ยงไฮ้เเละเขาได้ไปทำพิธีไหว้ด้วยตัวเองทุกๆ ปี บอกว่าเชงเม้งในปีนี้เขาจะใช้บริการออนไลน์ “เเม้จะเป็นประเพณีเก่าแก่ เเต่ก็เข้าใจได้ว่ามีความจำเป็น ดังนั้นฉันจึง
จะทำพิธีผ่านออนไลน์ด้วยความเคารพ เเละจะไปเยี่ยมสุสานเมื่อโรคระบาดสิ้นสุดลง”

ด้านผู้ดูแลสุสานในกรุงปักกิ่งเเละเซี่ยงไฮ้ เชื่อว่า บริการไลฟ์สตรีมเชงเม้งจะเป็นที่นิยมในอนาคต เเม้ว่าจะผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 ไปแล้วก็ตาม

 

ที่มา : BBC , Xinhua

]]>
1271832
LINE ซื้อกิจการ Sellsuki สตาร์ทอัพโซเชียลคอมเมิร์ซไทย ต่อยอดธุรกิจอีคอมเมิร์ซ https://positioningmag.com/1203942 Wed, 19 Dec 2018 06:12:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1203942 ต้องถือเป็นอีกปีที่ LINE เดินเกมบุกธุรกิจออนไลน์ต่อเนื่อง ล่าสุด ประกาศควบรวมธุรกิจกับ Sellsuki สตาร์ทอัพไทย เจ้าของระบบบริหารจัดการโซเชียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจร ให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์สามารถจัดการทั้งระบบแชท ขายสินค้า เช็กสต๊อก ติดตาม และดูแลหลังการขายได้ในระบบเดียว   

Sellsuki ก่อตั้งในยุคที่การซื้อขายทางออนไลน์ได้รับความนิยม ซึ่งในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ซื้อขายออนไลน์ผ่านหลายช่องทาง โดยเน้นไปที่โซเชียลมีเดียและแชทเป็นหลัก ซึ่ง Sellsuki ได้เข้ามาร่วมพัฒนาบริการซื้อขายออนไลน์ของ LINE@ ด้วยเช่นกัน

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “การซื้อขายผ่านทางโซเชียลมีเดียช่วยขับเคลื่อนอีคอมเมิร์ซของไทยให้เติบโต โดยผลสำรวจของ PWC พบว่า การซื้อขายผ่านทางโซเชียลมีเดียมีสัดส่วนถึง 51% ของตลาดอีคอมเมิร์ซทั้งหมด และคิดเป็นมูลค่ารวมถึง 3.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เฉพาะปริมาณผู้บริโภคที่ซื้อขายสินค้าผ่านทางโซเชียลมีเดียในไทยก็มีสัดส่วนที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 เท่าแล้ว

“การควบรวมธุรกิจกันในครั้งนี้จะเป็นการวางรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซของ LINE ในประเทศไทย และจากที่ร่วมงานกันมาหลายปี เราเชื่อว่า Sellsuki มีศักยภาพเพียงพอที่จะให้ผลตอบแทนคุ้มค่าจากการรวมธุรกิจกันในครั้งนี้ LINE ยินดีที่ได้ร่วมงานกับ Sellsuki เพื่อมาช่วยกันส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ทอัพไทยด้วยกัน”

การควบรวมธุรกิจดังกล่าว มีผลตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2561 ซึ่งพนักงานโซเชียลคอมเมิร์ซของ Sellsuki เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม LINE ประเทศไทย

ขณะเดียวกัน นายเลอทัด ศุภดิลก ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริหารจัดการของ Sellsuki ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารฝ่ายอีคอมเมิร์ซของ LINE ประเทศไทย และในส่วนของโซลูชั่นด้านโซเชียลคอมเมิร์ซต่างๆ ของ Sellsuki ก็จะได้รับการถ่ายโอนมายัง LINE ส่วนบริษัทเดิมจะยังคงดำเนินธุรกิจอื่นๆ ต่อไปภายใต้ผู้บริหารชุดใหม่

เลอทัด ศุภดิลก ผู้บริหารฝ่ายอีคอมเมิร์ซของ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของ LINE ทำให้ราตัดสินใจได้ไม่ยาก และเชื่อว่าจะเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่จะสนับสนุนทั้งผู้ค้าในธุรกิจอีคอมเมิร์ซรวมทั้งระบบนิเวศของสตาร์ทอัพในภาพรวมด้วย

ไลน์เองเชื่อว่า การรวมธุรกิจของ Sellsuki ครั้งนี้ จะช่วยให้ LINE ต่อยอดบริการอีคอมเมิร์ซ มีบริการใหม่ออกมาตอบโจทย์ ซึ่งเข้าใจความต้องการของตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยได้

]]>
1203942
“ออนไลน์อาเซียน 2018” เดือดจัด อีคอมเมิร์ซ-บริการร่วมเดินทาง ดันตลาดบูม https://positioningmag.com/1152697 Fri, 05 Jan 2018 04:29:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152697 เพราะปี 2017 ที่ผ่านมา การสำรวจพบว่า ทุกภาคส่วนของธุรกิจออนไลน์ล้วนเติบโตโกยลูกค้าได้มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะกลุ่มร้านค้าออนไลน์อีคอมเมิร์ซ จนถึงบริการ “ร่วมเดินทาง” ที่ได้รับความนิยมจากชาวอาเซียน จนทำให้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีมากที่สุดกว่า 40% 

สำหรับปี 2018 ที่กำลังเริ่มต้น นักวิเคราะห์ต่างฟันธงว่าจะเป็นอีกปีที่การแข่งขันสุดดุเดือด ทำให้อาเซียนเป็นตลาดที่มีเงินสะพัดในโลกออนไลน์เกินเป้า ส่งให้ปี 2025 ธุรกิจออนไลน์อาเซียน จะไม่ได้มีมูลค่าแค่ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อย่างที่เคยมีการคาดการณ์ไว้

เม็ดเงิน 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินราว 6.5 ล้านล้านบาท ถือว่ามากกว่าวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 2.9 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลไทยวางไว้สำหรับปีงบประมาณปี 2018 

***Google บอกโตเกินคาด

เฉพาะปี 2017 เงินสะพัดในธุรกิจออนไลน์อาเซียน ถูกบันทึกว่ามีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.6 ล้านล้านบาท) เม็ดเงินนี้ถือว่าสูงมากกว่าที่กูเกิล (Google) และเทมาเส็ก (Temasek) เคยคาดการณ์ไว้เมื่อปี 2016 ทำให้กลายเป็นข่าวว่า ทั้งคู่ออกมายอมรับว่า ตลาดออนไลน์อาเซียนนั้น “เติบโตมากกว่าที่คิด”

ทั้ง 2 บริษัทระบุในรายงานเรื่องกูเกิล-เทมาเส็ก อีโคโนมี ซี สปอต์ไลต์ 2017 (Google-Temasek e-Conomy SEA Spotlight 2017) ว่า ธุรกิจออนไลน์ในภูมิภาคนี้เติบโตในสัดส่วน 27% แทนที่จะเติบโต 20% ตามตัวเลขในรายงาน Google-Temasek e-Conomy SEA ฉบับปี 2016 ผลที่เกิดขึ้น คือ ตลาดออนไลน์อาเซียน อาจจะเติบโตเกินหลัก 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2025 ที่เคยมีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

สำหรับปี 2018 รายงานของ Google และ Temasek ไม่ได้คาดการณ์ไว้ละเอียด โดยให้รายละเอียดเพียงว่า ปี 2017 แต่ละธุรกิจมีการเติบโตอย่างไร ผลคือธุรกิจที่เติบโตโดดเด่นที่สุด คือ อีคอมเมิร์ซ เพราะยอดขายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซอาเซียนนั้น มีมูลค่าราว 1.09 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2015

ยอดขายที่ Google นำมาคำนวณ คือ ยอดขายรวมทั้งหมด หรือ Gross Merchandise Value (GMV) ซึ่งยังไม่มีการหักต้นทุน การเติบโตจากยอดขายหลักพันล้านบาทมาเป็นหมื่นล้านบาทนี้ คิดเป็นอัตราเติบโตต่อปี หรือ CAGR ราว 41%

ปี 2018 คาดว่าจะเป็นอีกปีที่อีคอมเมิร์ซจะขยายตัว เพราะผลจากปัจจัยสนับสนุนอย่างความนิยมในตลาดออนไลน์ หรือ marketplace ซึ่งธุรกิจขนาดกลางถึงเล็ก จะลงไปจำหน่ายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคโดยตรงกันมากขึ้น ผ่านระบบตลาดที่มุ่งแสดงผลบนสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์พกพา ไม่ใช่ระบบตลาดสำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

มีความเป็นไปได้ว่า ผู้ที่ได้รับอานิสงส์จากภาวะอีคอมเมิร์ซบนสมาร์ทโฟนบูมสุดขีดปี 2018 จะเป็นเจ้าพ่อรายเดิมอย่างลาซาด้า (Lazada), ช็อปปี (Shopee) และโทโคพีเดีย (Tokopedia)

ด้านบริการร่วมเดินทาง หรือ ride-hailing service การสำรวจพบว่า ในปี 2017 ที่ผ่านมา บริการกลุ่มแอปพลิเคชันแชร์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เพื่อเดินทางนั้น มียอดขายรวมในอาเซียน มากกว่า 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เคยบันทึกได้ในปี 2015

แน่นอนว่า ปี 2018 สัดส่วนการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันเหล่านี้จะเพิ่มมากกว่า 6 ล้านครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นสถิติที่ถูกจดไว้ในไตรมาส 3 ปี 2017 ที่ผ่านมา สถิติเฉพาะ 3 เดือนไตรมาส 3 นี้คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นเกิน 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2015 โดยแอปพลิเคชันกลุ่มหลักในบริการ ride-hailing ที่ได้รับความนิยมในอาเซียน คือ โกเจ็ก (Go-Jek), แกร็บ (Grab) และอูเบอร์ (Uber)

รายงานของ Google และ Temasek ยังชี้ว่า แบรนด์หลักในกลุ่ม ride-hailing กำลังจะขยายมาให้บริการส่งอาหาร บริการชำระเงินดิจิทัล และบริการอื่นอีกในปี 2018 เนื่องจากฐานผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นทั้งส่วนของผู้โดยสาร และผู้ขับรถ บริการกลุ่ม ride-hailing จึงมีภาษีที่ดีกว่า ใครในการเป็นเจ้าตลาดบริการส่วนบุคคลแบบครบวงจรของอาเซียน

ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะ นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าสายงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ผู้บริโภคยุคใหม่เริ่มไม่เห็นความสำคัญของการซื้อสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ พฤติกรรมนี้ทำให้บริการแชร์รถเพื่อร่วมเดินทาง บริการแชร์สำนักงาน หรือบริการแชร์ห้องพักได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นจนเห็นได้ชัด และอาจนำไปสู่ภาวะ “คนไม่ซื้อรถ ไม่เช่าสำนักงาน ไม่ซื้อบ้าน” ที่จะทำให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ

***เงินทุนอัดฉีดแน่น

อีกปัจจัยที่ชี้ว่า ปี 2018 จะเป็นจุดเริ่มปีทองของธุรกิจออนไลน์อาเซียน คือ เม็ดเงินทุนที่อัดฉีดเต็มสูบเข้าสู่ตลาดนี้ การสำรวจพบว่า ระหว่างปี 2016 ถึงไตรมาส 3 ปี 2017 บริษัทที่ให้บริการออนไลน์ในเอเชียแปซิฟิก สามารถเพิ่มเงินทุนให้บริษัทได้มากกว่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่เคยมีเงินอัดฉีด 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2015 เงินทุนนี้เป็นอีกเดิมพันที่เชื่อว่า อาเซียนจะยังเติบโตต่อไปในระดับสวยงามตลอด 10 ปีนับจากนี้

ก่อนหน้านี้ รายงานของ Google และ Temasek ปี 2016 เคยพยากรณ์ว่า หากจะทำให้อุตสาหกรรมออนไลน์อาเซียน มีเม็ดเงินสะพัด 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2025 จะต้องมีเงินทุนมากกว่า 4-5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ไหลเข้ามาในภูมิภาคนี้ เมื่อคำนวณถึงเงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2017 ที่ผ่านมา และความเป็นไปได้ว่า ปี 2018 ก็จะมีเงินทุนไหลเข้ามาไม่ขาดสายเช่นกัน ก็สะท้อนว่า ตลาดออนไลน์อาเซียนจะยังเติบโตในระดับก้าวกระโดดต่อไป

***ยังต้องปรับที่คน

ความท้าทายหลักที่ทำให้วงการออนไลน์อาเซียนไม่เติบโต คือ การขาดบุคลากรเทคโนโลยีในท้องถิ่น โดยทั้ง Google และ Temasek ระบุในรายงานฉบับปี 2017 ของตัวเองว่า ตลาดอาเซียนยังต้องปรับปรุงเป็นพิเศษในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการขาดบุคลากรที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งไม่ได้ถูกแก้ไข และหากแก้ไขได้ อาเซียนก็จะสามารถทำโอกาสที่รออยู่ให้ออกดอกออกผลได้เต็มที่ยิ่งขึ้น

สถิติอื่นที่น่าสนใจจากรายงานนี้ คือ ชาวไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมากที่สุดในโลก เฉลี่ยวันละ 4.2 ชั่วโมง สูงกว่าเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่ใช้งานเฉลี่ยวันละ 3.6 ชั่วโมง ชนะชาวอเมริกันที่ออนไลน์บนมือถือเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง ชาวอังกฤษวันละ 1.8 ชั่วโมง และชาวญี่ปุ่นวันละ 1 ชั่วโมง

จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในอาเซียน ยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2017 โดยยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียน ที่เพิ่มขึ้นจาก 260 ล้านคนในปี 2017 มีโอกาสจะเพิ่มเป็น 480 ล้านคนภายในปี 2020 คิดเป็นอัตราเติบโต 14% ต่อปี สูงกว่าจีนที่อัตราเติบโตผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 4% ต่อปี

อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในอาเซียน คือ 19% ต่อปี โดยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในอาเซียน ใช้เวลากับการชอปปิ้งออนไลน์มากที่สุด สูงกว่าชาวอเมริกันถึง 2 เท่าตัว

แน่นอนว่าสถิติเหล่านี้ที่บันทึกได้ในปี 2017 มีโอกาสสูงที่จะถูกทำลายในปี 2018 ปีหมาดุที่เชื่อว่า วงการออนไลน์อาเซียนจะแข่งดุเลือดสาดชนิดใครพลาดอาจไม่ฟื้นคืนมาอีกเลย.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000001165

]]>
1152697
ใครใหญ่ ? เทียบฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ไทย-มาเลเซีย-เวียดนาม https://positioningmag.com/1145264 Thu, 02 Nov 2017 18:00:33 +0000 https://positioningmag.com/?p=1145264 ประเทศเพื่อนบ้านที่แข่งขันกันอย่างสูสีกับประเทศไทยในอดีตคงจะหนีไม่พ้นเวียดนามและมาเลเซียที่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศเทียบเท่าหรือนำหน้าประเทศไทยไปแล้ว โดยบริษัท iPrice ซึ่งเป็นบริษัทอีคอมเมิร์ซใน 7 ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เล็งเห็นถึงการแข่งขันที่ขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดของทั้งสามประเทศในตลาดอีคอมเมิร์ซที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ จึงได้จัดทำการศึกษาตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม และได้พบผลการศึกษาที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ความแตกต่างของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมาเลเซีย และเวียดนาม

ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา บริษัทต่างชาติได้เข้ามารุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเข้มข้น เริ่มจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Lazada ซึ่งทำให้อัตราการเข้ามาของบริษัทจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดบริษัท 11 Street จากเกาหลีก็ได้เข้าทำตลาดในประเทศไทยและอีกหลายๆประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ยังมี JD.Com ยักใหญ่อันดับสองจากจีน ที่มาจับมือกับเซนทรัลในการลุยธุรกิจออนไลน์ในประเทศไทย

จากผลการศึกษาพบว่าประเทศมาเลเซียมีจำนวนผู้แข่งขันจากต่างประเทศกว่า 24% โดยประเทศไทยมีเพียง 18% และเวียดนาม 14% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาเลเซียค่อนข้างเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ และมาเลเซียถือเป็นฮับในการทำตลาดที่น่าสนใจเนื่องจากมาเลเซียมีนโยบาย MSC หรือ Multimedia Super Corridor ที่จะเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั้งในประเทศและต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ

ถ้าหากเจาะลึกถึงรูปแบบสินค้าที่ทางร้านค้าอีคอมเมิร์ซในแต่ละประเทศจำหน่ายนั้น ส่วนใหญ่แล้วร้านค้าในประเทศไทยจะเป็นร้านค้ารูปแบบทั่วไป กล่าวคือมีการจำหน่ายสินค้าที่มีความหลากหลายในเว็บไซต์เดียว เช่น Lazada, Central, Shopee, 11Street ที่มีสินค้าทั้งแฟชั่นเทคโนโลยีเครื่องสำอางและอีกมากมาย จากการสำรวจพบว่าร้านค้าประเภทแฟชั่นในประเทศไทยนั้นนิยมใช้โซเชียลมีเดียในการสื่อสารกับผู้บริโภคมากกว่าการใช้เว็บไซต์ เนื่องจากโซเชียลมีเดียสามารถนำเสนอสินค้าได้อย่างรวดเร็วและสามารถปิดการขายได้ด้วยการติดต่อผ่างทาง Message หรือ LINE ที่ค่อนข้างสะดวกและไม่ซับซ้อนเหมือนการใช้เว็บไซต์ จึงทำให้เว็บไซต์ใหญ่ ๆ ไม่นิยมเข้ามาร่วมแข่งขันกับร้านค้าเล็ก ๆ ในตลาดแฟชั่นสักเท่าไรนัก

ในประเทศมาเลเซียซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์ ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่ในมาเลเซียจะเป็นสินค้าประเภทแฟชั่น เนื่องจากว่าคนดังหรือเซเลบดาราในประเทศมาเลเซียนั้นหันมาปั้นแบรนด์แฟชั่นของตัวเองจนประสบความสำเร็จ โดยเน้นไปทางเสื้อผ้าแฟชั่นแบบมุสลิมเป็นหลัก จึงทำให้ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นเว็บแฟชั่นนั่นเอง โดยตัวอย่างร้านค้าแฟชั่นในประเทศมาเลเซีย ได้แก่ Zalora, Hermo, Fashion Valet เป็นต้น

Lazada ขึ้นเป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซทั้ง 3 ประเทศ

คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Lazadaที่ได้เข้ามาทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 5ปีแล้ว ด้วยเงินทุนที่หนาและการสนับสนุนจากยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาทำให้ Lazada ขึ้นเป็นเจ้าตลาดทั้ง 3 ประเทศในไม่ช้า อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งนี้พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ Lazadaจะเป็นเจ้าตลาดในสามประเทศ แต่สำหรับประเทศเวียดนามแล้ว Lazadaคงจะต้องแข่งขันอย่างหนัก เนื่องจากประเทศเวียดนามมีคู่แข่งซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติเวียดนามที่แข็งแกร่งครองตลาดอยู่เช่นกัน จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า Lazadaเวียดนามมีส่วนทราฟฟิก 19% และรองอันดับอื่น ๆ เช่น Thếgiớidiđộng มีส่วนแบ่งทราฟฟิก 15% และ Sendo 11% เป็นต้นนอกจากนี้ทราฟฟิกของ Lazadaนั้นเป็นเพียง 1 ใน 4 ของตลาดทั้งหมด หมายความว่ายังมีคู่แข่งอีกมากมายที่แชร์ส่วนแบ่งอยู่ในขณะนี้

ซึ่งต่างจากประเทศไทยและมาเลเซียที่ Lazadaมีส่วนแบ่งทราฟฟิกกว่า 50% หมายความว่าตลาดอีคอมเมิร์ซเวียดนามมีการกระจายผู้บริโภคอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งบริษัทที่กำลังตาม Lazadaในประเทศเวียดนามนั้นอาจจะสามารถขึ้นเทียบเท่าหรือแซงหน้า Lazadaได้ในไม่ช้า

โดยประเทศไทยนั้นอันดับสองในตลาดคงหนีไม่พ้น 11 Street ที่พึ่งเข้ามารุกตลาดประเทศไทยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาผ่านการทำการตลาดอย่างหนักทั้งการใช้ Influencer และ Outdoor Advertising ที่ช่วยสร้างให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนไทยอย่างรวดเร็ว ซึ่งเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งทราฟฟิกของ 11 Street อยู่ที่ 11% ซึ่งน้อยกว่า Lazadaกว่า 4 เท่า นี่จึงเป็นสัญญาณว่าบริษัทอันดับรอง ๆ เหล่านี้ต้องทำการบ้านหนักขึ้นเพื่อที่จะตามยักษ์ใหญ่ให้ทันเพื่อขึ้นแข่งขันกับเจ้าตลาดอย่าง Lazadaนั่นเอง

บริษัทGoogle และTemasekได้ศึกษาตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่าในปี พ.ศ. 2558 ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยถือเป็นตลาดที่เล็กที่สุดเมื่อเทียบกับมาเลเซียและเวียดนามจากการคาดการณ์ในอีก 8 ปีนับจากนี้ (พ.ศ.2568) ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเติบโต 29% ต่อปี จนมีขนาดใหญ่กว่าตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศมาเลเซียและเวียดนาม โดยจะขึ้นเป็นที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศอินโดนีเซียอีกด้วยซึ่งประเทศไทยจะมีขนาดอยู่ที่ 11.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาเลเซีย 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และเวียดนาม 7.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากการคาดการณ์นี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งสำหรับนักช้อปออนไลน์ในสามประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย ตัวเลขการเติบโตนี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเข้าถึงตัวเลือกที่มีมากขึ้นและคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีขึ้นด้วยนั่นเอง เนื่องจากร้านค้าในตลาดอีคอมเมิร์ซจะต้องแข่งขันกันมากขึ้นเพื่อขึ้นเป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภค

ขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติม: iPrice Insights

กันต์พจน์ สุริวงศ์ : Senior Content Marketing iPrice Group

]]>
1145264