นักช็อป – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Nov 2018 10:06:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เดอะมอลล์ เผยนักช้อปกัมพูชา-เมียนมา กระเป๋าหนักแรงมาก หลังนักท่องเที่ยวจีนหด 2 ล้านคน อัดโปรโมชั่นส่งท้ายปี หวังปั๊มยอดขายปีนี้ 5.8 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1195957 Tue, 06 Nov 2018 15:29:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1195957 เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปี ค้าปลีกเร่งระดมปั้นยอดขายแข่งกันอย่างหนักหน่วง ขณะที่นักช้อปกัมพูชา-เมียนมาจ่ายหนัก แต่นักท่องเที่ยวจีนหายไป 2 ล้านคน

ล่าสุด “เดอะมอลล์ กรุ๊ป ทุ่มงบกว่า 200 ล้านบาท จัดเทศกาล “บางกอก ช้อปปิ้ง เฟสติวัล 2018” ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2561

วรลักษณ์ ตุลาภรณ์ Chief Marketing Officer บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ให้รายละเอียดว่า “ปีนี้ภาครัฐไม่มีนโยบายช้อปช่วยชาติ ดังนั้นผู้ประกอบการค้าปลีกจึงต้องออกโรงเอง ไม่เช่นนั้นแล้วยอดขายปีนี้จะตกลง ทั้งการกระตุ้นกำลังซื้อและดึงดูดนักช้อปอย่างทั่วโลก เนื่องจากเวลานี้นักท่องเที่ยวจีนหายไปจากตลาดกว่า 2 ล้านคน ส่งผลให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง 15-20% ล่าสุด

“สำหรับสัดส่วนยอดขายในเดอะ มอลล์ กรุ๊ป ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 20% ในจำนวนนี้มาจากนักช้อปจีนคิดเป็น 38% แต่นักข้อปจีนก็ยังคงเป็นเบอร์หนึ่ง (ซึ่งสัดส่วนนี้ใกล้เคียงกับยอดขายของแกลเลอรี่ ลาฟาแยตต์ ห้างหรูที่ฝรั่งเศสที่ 40% ของยอดขายมาจากนักช้อปจีน) รองลงมาคือนักช้อปกลุ่ม CLMV (กัมพูชา,ลาว, เมียนมา และเวียดนาม) ราว 30% ส่วนนักช้อปจากญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วน 15-20% ที่เหลือเป็นนักช้อปจากชาติอื่นๆ เช่น อเมริกา, ยุโรป และตะวันออกกลาง

“ที่น่าสนใจและเติบโตดีมากก็คือนักช้อปกัมพูชาและเมียนมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทียร์หนึ่ง เป็นผู้มีอันจะกินหรือกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงของสองประเทศนี้ ยอดใช้จ่ายต่อคนเฉลี่ยแล้วสูงกว่านักช้อปจีนถึง 3 เท่า หรือทะลุ 10,000 บาทขึ้นไป ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนที่มาบ้านเรามีหลากหลายกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มระดับบนเท่านั้น

ด้านสินค้ายอดนิยมของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ในกลุ่มนักท่องเที่ยว ได้แก่ สินค้าในกูร์เมต์ มาร์เก็ต โดยเฉพาะประเภทของฝากต่างๆ ที่แสดงถึงความเป็นไทย, ชุดชั้นในสตรี, สินค้าแนว Exotic Thai, ผลิตภัณฑ์สปา, ชุดเดรสยาวที่กรุยกรายสไตล์โบฮีเมียน, เครื่องประดับและแอคเซสซอรี่ เช่น สร้อยคอ, ผ้าพันคอ รวมถึงผลิตภัณฑ์ความงามในบิวตี้ฮอลล์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พาวเวอร์ มอลล์

“เดอะมอลล์ กรุ๊ป” ได้ทุ่มงบกว่า 200 ล้านบาท จัดเทศกาล “บางกอก ช้อปปิ้ง เฟสติวัล 2018” เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2561 4 แคมเปญใหญ่ ไล่มาตั้งแต่ 11.11 โกบอลแคมเปญ ของอาลีบาบา ที่กลายเป็นโลคัลแคมเปญ ที่ใครก็พลาดไม่ได้ ลดออนท็อปเพิ่มอีก 11-22%, ลดราคาเคาน์เตอร์ปกติลดสูงสุด 30%, แคมเปญมิดไนท์เซลล์ส่งท้ายปี รวมถึงแคมเปญ Black Weekend เคาน์เตอร์ปกติลดสูงสุด 50% ในระยะเวลา 3 วัน คาดว่าจะสร้างยอดขายกว่า 3,600 ล้านบาท เติบโต 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันนี้ของปีที่แล้ว

ควบคู่ไปกับการจัดมหกรรมอาหาร “บางกอก ฟู้ด เอ็กซ์โป 2018” ที่รวบรวมอาหารนานาชาติ 200 ร้านค้า กว่า 2,000 เมนู ไว้เอาใจนักชิมอีกด้วย

นอกจากนี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป ตั้งเป้าภายใน 5 ปีนับจากนี้ จะมียอดใช้จ่ายที่เป็น Digital Payment ทุกรูปแบบในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าต่างๆ ของเดอะมอลล์กรุ๊ป คิดเป็นสัดส่วน 70% ส่วนเงินสดลดเหลือเพียง 30% จากปัจจุบัน สัดส่วนเฉลี่ยของเงินสดอยู่ที่ 48% และ Digital Payment อยู่ที่ 52%

SCB M Prepaid Card ซึ่งร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ รองรับกลุ่มวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวที่ไม่มีหรือไม่ต้องการใช้บัตรเครดิตสามารถจับจ่ายใช้สอยในเดอะมอลล์ กรุ๊ป ได้มากขึ้น และยังช่วยให้เดอะมอลล์จัดเก็บฐานข้อมูลของนักช้อปโดยเฉพาะนักช้อปต่างชาติได้เป็นระบบ และรู้ถึงพฤติกรรมการช้อปปิ้งของแต่ละคน แต่ละชาติว่าชอบซื้ออะไรโดยละเอียด เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องใช้พาสปอร์ตในการสมัคร จากเดิมที่ใช้พนักงานแคชเชียร์ในการระบุสัญชาติ ซึ่งไม่มีความแม่นยำ และเกิดความคลาดเคลื่อนอยู่บ่อยครั้ง

ทั้งนี้ เดอะมอลล์ กรุ๊ป คาดการณ์ว่าปี 2561 นี้จะปิดยอดขายหรือมีรายได้ที่ 58,000 ล้านบาท เติบโตจากปี 2560 ซึ่งมียอดขาย 56,000 ล้านบาท.

]]>
1195957
เปิด 5 ‘โปรแห่งปี’ มาทีไรคิวยาว-ห้างแตกทุกที https://positioningmag.com/1171618 Sat, 26 May 2018 15:32:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1171618 “โปรโมชั่น” ถือเป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์การตลาดที่เกือบทุกแบรนด์ต้องนำมาใช้เพื่อกระตุ้นการจับจ่าย แต่โปรแบบไหนล่ะที่จะโดนใจนักช้อป แบรนด์ก็ได้ยอดขายและสร้างความจดจำให้กับแบรนด์

ข้อดีของการจับจ่าย “โปรโมชั่นสุดคุ้ม” เหล่านี้ นอกจากได้กระตุ้นเศรษฐกิจ ยังช่วยให้คลายเครียด สนองนี้ดไปกับของมันต้องมีต่างๆ และถ้าเลือกให้ดี โปรโมชั่นของดีในราคาสุดคุ้มน่ะมีอยู่จริง และนี่คือ 5 โปรโมชั่นเด็ดแห่งปี ที่เวียนมาถึงเมื่อไหร่ เมื่อนั้นคิวจะยาว เว็บจะล่ม หรือถึงขั้นห้างแทบแตก

1. โปรโมชั่น บินฟรี 0 บาท

โปรโมชั่นนี้เริ่มโดย Air Asia ที่เหล่านักเดินทางรู้จักมากที่สุด ซึ่งโปรนี้จะจัดปีละ 2-3 ครั้ง ในช่วงเวลาที่ไม่ระบุแน่นอน โดยสถิติที่แฟนพันธุ์แท้โปรนี้สรุปเอาไว้คือช่วงเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และพฤศจิกายน ใครที่เป็นสมาชิกหางแดงอยู่แล้ว ช่วงใกล้ๆ เวลาก็จะมี Notification มาแจ้งเตือนก่อนใคร

ส่วนราคา 0 บาทที่ว่า หมายถึงเฉพาะราคาตั๋วเครื่องบิน ส่วนภาษีสนามบินและน้ำมันเชื้อเพลิงยังต้องบวกตามอัตราของแต่ละสนามบินอยู่ ในราคาเริ่มต้นอยู่ที่หลักร้อย ซึ่งยังถือว่าถูกมากๆ และเวลาจองก็ต้องเป็นแผนระยะยาวนิดนึง เช่น จองวันนี้ บินฟรีปีหน้า เป็นต้น

2. โปรโมชั่น รีฟิล

เป็นของ บาร์บีคิวพลาซ่า จัดโปรโมชั่นพิเศษปีละครั้ง หรือที่คนไทยเรียกกันติดปากว่า “โปรรีฟีล” เป็นอีกหนึ่งโปรโมชั่นที่หลายๆ คนเฝ้ารอ เพราะเป็นโปรที่ให้เหล่าสาวกบาร์บีกอน ถูกใจนักกินสายแข็งเป็นยิ่งนัก

ปีนี้ จัดในธีม “รีฟีลมาราธอน” ปิ้งย่าง ข้าว เครื่องดื่ม ของหวาน รวม 63 เมนู ในราคาเซ็ตละ 399 บาทต่อคนแล้ว ปีนี้ยังได้ร่วมกับ 2พาร์ตเนอร์อุปกรณ์กีฬา ลุ้นรับของรางวัลพิเศษอีก และนักกินที่สะสมเหรียญผ่านแอปบาร์บีกอน คลับ ครบตามที่กำหนดแลกรับส่วนลดเริ่มตั้งแต่ 5% จนสูงสุดถึง 25% จะได้เหรียญที่ระลึกบาร์บีกอนสีทอง ไปสตาร์ทแต้มมาราธอนกันได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายนนี้ ที่บาร์บีคิวพลาซ่าทุกสาขา

3. โปรโมชั่น ชิ้นที่ 2 บาทเดียว

มาถึงโปรที่สาวๆ รอคอยกันบ้าง กับร้านวัตสันที่มักจะจัดโปรโมชั่นนี้ปีละ 2 ครั้ง ประมาณช่วงมีนาคมและตุลาคม เรียกว่าเป็นโปรสุดคุ้มที่หลายคนรอเพื่อช้อปเครื่องสำอางไว้ตุนโดยเฉพาะ แม้ว่าชิ้นแรกจะราคาปกติ บวกด้วยชิ้นที่ 2 ราคาบาทเดียว หรือเรียกว่าลด 50% ก็ไม่ผิดนะ ไอเท็มที่สาวๆ นิยมก็อย่างเช่น แผ่นมาส์กหน้า ครีมทาหน้า โฟมล้างหน้า ครีมกันแดด เครื่องสำอาง ทรีตเมนต์บำรุงผม ครีมอาบน้ำ วิตามินต่างๆ ฯลฯ จัดเป็นช่วงเวลาที่หลายคนมาโกยไปตุนไว้ใช้กันยาวๆ แถมยังมีบางไอเท็มที่ลดพิเศษเฉพาะสมาชิกวัตสันเท่านั้นด้วย

4. Midnight Sales

หลายห้างมักจะจัดโปรโมชั่นนี้ช่วงมีนาคมกับพฤศจิกายนเพื่อดึงดูดขาช้อปด้วยการโหมลดโปรโมชั่นทุกชั้นและแทบทุกแบรนด์ ใครที่ใจไม่แข็งไปเดินห้างช่วงนี้มีสิทธิ์สติหลุดเอาได้ง่ายๆ โดยเฉพาะสาวๆ กับชั้นเครื่องสำอางและเสื้อผ้า ซึ่งบางแบรนด์ลด 70-80% แล้วยืดเวลาช้อปให้ถึงเที่ยงคืนนี่ยิ่งถูกใจมนุษย์ออฟฟิศมาก จะได้เลิกงานมาช้อปแบบไม่ต้องรีบร้อนกลัวห้างจะปิด ใครจะพาแฟนไปเดินช่วงนี้โปรดระวัง เพราะต้องเลือกเอาระหว่างจะเปย์หรือจะรอ

5. โปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1

เมื่อไหร่ที่ Starbucks ปล่อยโปรโมชั่นนี้ คิวจะยาวเป็นพิเศษทุกที ยิ่งช่วงนี้ร้านกาแฟผุดขึ้นทุกหัวมุมถนน เจ้าหลักอย่างสตาร์บัคส์เลยต้องอัดโปรโมชั่นบ่อยหน่อย ซึ่งซื้อ 1 แถม 1 นี่ถือว่าเวิร์ก เพราะราคากาแฟสตาร์บัคส์ต่อแแก้วก็เรียกว่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ในตลาดอยู่แล้ว ลดราคาแบบนี้คุ้มกับคอกาแฟมากๆ โดยแต่ละครั้งก็อาจจะมีเงื่อนไขต่างออกไป เช่น โปรเฉพาะนักเรียนนักศึกษา เฉพาะสมาชิกบัตรสตาร์บัคส์ เฉพาะคนที่ถือคูปองส่วนลด เฉพาะคนที่ซื้อเบเกอรี่ด้วย ฯลฯ เพราะฉะนั้นใครเข้าสตาร์บัคส์ครั้งหน้าควรเช็กโปรนี้ให้ดี จะได้ไม่เสียสิทธิ์ดื่มกาแฟดีๆ ในราคาคุ้มๆ

]]>
1171618
เบื้องหลังความสำเร็จ Miniso สร้างธุรกิจอย่างไร กว่าจะให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ราคาถูกใจ ซื้อง่าย ไม่ต้องคิดเยอะ https://positioningmag.com/1160939 Sun, 11 Mar 2018 02:29:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160939 Miniso (Miniso) เป็นอะไรกันแน่ เป็นแบรนด์ที่ไหน ที่สำคัญน่าสนใจอย่างไร

Miniso เป็นร้านขายสินค้าแบบเชนสโตร์ ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยในเวลาแค่ 2 ปี เปิดไปแล้วมากกว่า 1,000 สาขาในหลายประเทศในเอเชีย และส่วนอื่น ๆ ของโลก สาขาจำนวนมากกระจายอยู่ในจีนที่ประชากรหลุดพ้นกับดักรายได้ต่ำมาหลายปี มีกำลังซื้อและส่งผลให้แบรนด์เก่าแบรนด์ใหม่ต้องการเข้าไปรองรับ เหมือนที่ Miniso เองก็เติบโตเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มนักช้อปชาวจีน

ความลับความสำเร็จของ Miniso

ยุคดิจิทัลไม่มีอะไรเป็นความลับ ถ้าอยากจะค้นหาความสำเร็จของ Miniso ก็ต้องตามไปแกะรอยกันดูว่ามินิโซสำเร็จได้เพราะอะไร

ใครเคยมีประสบการณ์กับแบรนด์นี้ ลองนึกดูก่อนก็ได้ว่า เหตุผลอะไรที่ทำให้คุณเดินเข้าไปในร้านนี้ เหตุผลอะไรที่ทำให้คุณซื้อสินค้า เวลาที่คุณอยู่ในร้านคุณรู้สึกอย่างไร ได้ความรู้สึกอะไรใหม่ไหม แล้วอยากรู้จักแบรนด์นี้เพิ่มจากที่เห็นอีกหรือเปล่า

ลูกค้า Miniso จำนวนไม่น้อยรู้จักและมีประสบการณ์กับร้านก่อนที่จะรู้จักแบรนด์ถูกการจัดแต่งหน้าร้านดึงดูดให้เดินเข้าไป

บางคนก็ยอมรับตรง ๆ ว่าเพราะป้ายราคาที่ดูถูกแต่ตัดกับบรรยากาศร้านที่ดูแพงทำให้อยากแวะเข้าไปดู

บางคนที่เคยไปแล้ว ถ้ามีโอกาสผ่านไปอีกก็จะต้องขอแวะเข้าไปใหม่ทุกครั้ง เพราะเชื่อว่าการได้เดินในร้าน Miniso จะทำให้เห็นอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ไม่คาดคิด และบ่อยครั้งที่กลับออกมาพร้อมของติดไม้ติดมือที่อดไม่ได้ทั้งที่ไม่ตั้งใจมาซื้ออะไรตั้งแต่แรก

โดยรวมแล้ว ความรู้สึก และพฤติกรรมทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นที่มาความสำเร็จของ Miniso ในฐานะแบรนด์ค้าปลีกหน้าใหม่ ที่ติดตลาดอย่างรวดเร็ว และไม่ใช่แค่ประเทศเดียว แต่ในหลายประเทศพร้อม ๆ กัน ด้วยการซินเนอร์ยี่จุดแข็งของธุรกิจในเอเชียที่นำมารวมกันไว้ในการให้กำเนิดแบรนด์

เริ่มจากการใช้ดีไซน์สินค้า รวมถึงการจัดแต่งร้านที่ให้ความรู้สึกแบบสินค้าและร้านจากญี่ปุ่น แต่ใช้ฐานการผลิตจากแหล่งซัพพลายเออร์ที่ใหญ่และถูกที่สุดในโลกจากจีน และกระจายไปในตลาดที่มีอัตราเติบโตสูงสุดของโลกในยุคนี้ของภูมิภาคเอเชีย ทั้งในประเทศจีนและอีกหลายประเทศในเอเชีย และไม่ละเลยที่จะเข้าไปเปิดในยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกา รวมทั้งแผนการเปิดร้านแบบปูพรมในอินเดียด้วย ทำให้มินิโซกลายเป็นร้านที่หากคนไม่รู้แบ็กกราวนด์ของแบรนด์ก็เดาไม่ออกเลยว่า แท้จริงแล้วแบรนด์นี้จัดเป็นแบรนด์ญี่ปุ่น จีน หรือเกาหลีกันแน่ เพราะนับตั้งแต่เปิดตัวมา Miniso Tie-in หนักมากในซีรีส์เกาหลีหลายเรื่อง

ต้นกำเนิดของ Miniso เพิ่งเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 2013 นี้เอง โดยโพสิชันนิ่งตัวเองเป็นแบรนด์นิวไลฟ์สไตล์ของโลก ใช้เวลาเพียงแค่ 2 ปี คือราวปลายปี 2015 ก็มีร้านมากกว่า 1,000 สาขา ใน 60 ประเทศทั่วโลก และทำยอดขายรวมสูงถึงราว 750 ล้านเหรียญสหรัฐ และเติบโตอีกเท่าตัวในปี 2016 เป็น 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าภายในปี 2020 จะมีสาขาเพิ่มเป็น 6,000 สาขา และมีรายได้มากถึง 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

สถานะของแบรนด์จึงเป็นร้านค้าปลีกที่ทำเงินสวนทางกับทิศทางค้าปลีกที่ถูกตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ค่อย ๆ กลืนกินส่วนแบ่งดังที่เห็นทั่วไปในปัจจุบันหรือแม้ Daiso ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายสินค้าราคาเดียวที่เกิดมาก่อนก็ยังเบนเข็มมุ่งไปสู่ค้าปลีกออนไลน์เป็นหลักมากขึ้น

ถอดรหัสความสำเร็จ Miniso ผ่าน Customer Experience

ตัวร้าน Miniso จะตกแต่งแบบทันสมัยสไตล์ญี่ปุ่น ไม่ว่าจะไปเปิดตัวที่ไหน งานเปิดตัวของร้านจะใช้รูปแบบของวัฒนธรรมญี่ปุ่น มาสร้างสีสันในวันเปิดร้าน พร้อมตอกย้ำให้ผู้บริโภครับรู้ว่าสินค้าของร้านเป็น Japanese Designer Brand ด้วยการติดป้ายไว้ให้เห็นชัดเจนในร้าน

ความโดดเด่นของดีไซน์และการจัดร้านทำให้ไม่ต้องสนใจว่าจะผลิตจากที่ไหนและในการเปิดร้านใหม่ก็จะเชิญบรรดาเซเลบริตี้แต่ละประเทศมาร่วมงาน พร้อมกับกลยุทธ์สร้างแถวยาวเหยียดด้วยโปรโมชั่นในวันเปิดร้าน เพื่อสร้างความสนใจกับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป

Miniso จะเลือกทำเลที่ตั้งร้านบนถนนสายหลัก ขนาดร้านราว ๆ 200 ตารางเมตร มีสินค้าให้เลือกมากกว่า 3,000 เอสเคยู ซึ่งทั้งหมดเป็นสินค้าที่ผลิตภายใต้แบรนด์ของตัวเอง ตั้งแต่สินค้าประเภทเครื่องสำอาง ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องเขียน ของใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็ก ฯลฯ พร้อมด้วยกลยุทธ์โฆษณาหน้าร้านด้วยป้ายสินค้าราคาถูก ทำให้สินค้าโดยรวมในร้านก็จะไม่เน้นจำหน่ายของราคาแพง แต่จะเน้นสินค้าที่เด่นด้วยดีไซน์เป็นหลัก ต่างจากที่จำหน่ายในร้านค้าทั่วไป

แล้วถ้าจะถามว่าใครที่ชอบเดินดูเดินซื้อของบ่อย ๆ โดยมากมักหนีไม่พ้นกลุ่มผู้หญิง  Miniso เองก็เลือกที่จะทาร์เก็ตกลุ่มสาว ๆ เป็นหลัก ที่ชื่นชอบทั้งเรื่องดีไซน์ของสวย ๆ งาม ๆ อะไรที่ใหม่ ๆ มาไวไปไว

ภาพที่พบเห็นได้จากลูกค้าในร้าน Miniso ที่กล่าวมานี้ เมื่อนำมาถอดรหัสก็จะพบกลยุทธ์สำคัญไม่กี่เรื่อง ที่เป็นองค์ประกอบความสำเร็จที่แท้จริงของ Miniso นั่นเอง โดยกลยุทธ์สำคัญที่ Miniso ใช้ได้แก่

1. ใช้จุดแข็งของคาแร็กเตอร์ความเป็นญี่ปุ่น ที่ได้รับการยอมรับเรื่องดีไซน์และไลฟ์สไตล์ รวมถึงมาตรฐานสินค้าเป็นตัวชูโรง เริ่มตั้งแต่การออกแบบร้าน การจัดวางสินค้า ชุดพนักงาน การให้บริการ รวมทั้งการใช้ตัวอักษรคันจิ (อักษรจีนที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่นประกอบการตกแต่งในร้าน รวมถึงใช้ในตัวโลโก้ซึ่งมีทั้งแบบที่ใช้อักษรตัวฮิรางานะและภาษาอังกฤษที่มีอักษรจีนอยู่ด้านล่าง

2. เลือกทำเลสำคัญ ในต่างประเทศส่วนใหญ่ Miniso จะเลือกเปิดบนถนนช้อปปิ้งที่สำคัญ ยกเว้นประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่เน้นเปิดในศูนย์การค้า เพราะคนไทยชอบไปเดินห้าง และปัจจุบันมีสาขาเข้าไปกว่าครึ่งร้อยแล้ว

การเลือกทำเลแบบนี้เข้าตำรา High Risk, High Return. เพราะเป็นจุดที่มีทราฟิกสูงแต่ต้นทุนค่าใช้จ่ายก็สูงด้วย ยิ่งสำหรับบริษัทที่ขายสินค้าประเภทฟาสต์มูฟวิ่งที่มีข้อจำกัดในการทำกำไร แต่ก็ยังมีข้อดีในเรื่องของทำเลที่จะทำให้ร้านเป็นที่รู้จักและถูกเห็นอย่างรวดเร็ว

รวมถึงจุดที่เซอร์ไพรส์ที่สุดก็คือ การขายของถูกในทำเลค่าเช่าแพง ยิ่งทำให้คนรู้สึกของที่ขายไม่แพงเข้าไปอีก แต่ถ้าขายไม่ดีจริงถือว่าเสี่ยงสุด ๆ 

แต่ Miniso ใช้หลักการว่า ถ้าทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าอะไรสักอย่างที่ราคาไม่แพงได้ตลอดเวลา มันก็คุ้มที่จะลองเสี่ยงดู เพราะการอออกแบบร้านที่เปิดโล่ง ต่อให้ไม่คิดจะซื้ออะไรก็เปิดโอกาสให้ลูกค้าเดินเข้ามาชมเล่น ๆ ด้วยความยินดี ยิ่งของราคาไม่แพงโอกาสหยิบติดไม้ติดมือกลับไปก็มีสูง

3. ยกระดับสินค้าด้วยการดีไซน์และแพ็กเกจจิ้ง แม้จะเน้นขายราคาถูก ไม่ว่าใครก็ชอบของดีราคาถูก ถึงแม้จะรู้ว่ามันอาจจะไม่มีอยู่จริงในโลกนี้

ในบรรจุภัณฑ์ของสินค้าในร้าน Miniso จะเลือกใช้ตัวอักษรคันจิ (อักษรจีนในภาษาญี่ปุ่น) เพื่อสร้างความประทับใจให้กับผู้ซื้อบนบรรจุภัณฑ์ วิธีนี้ได้ประโยชน์สองต่อเพราะได้ทั้งความเป็นญี่ปุ่นและเอาใจลูกค้าจีนซึ่งถือเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ทั้งในจีนและอีกหลายประเทศที่มีการใช้ภาษาจีนอีกด้วย

4. ยืมมือแบรนด์ดังช่วยขาย สินค้าบางไอเท็มของ Miniso ยอมเพิ่มต้นทุนด้วยการซื้อลิขสิทธิ์แบรนด์ดังมาใช้ในการผลิตสินค้า เช่น การใช้ตัวการ์ตูนดิสนีย์กับสินค้าขนาดเล็กที่ทำให้สินค้าได้รับความสนใจมากขึ้น นอกเหนือจากได้เรื่องการยกระดับภาพลักษณ์ของค้าปลีกที่เกิดมาเพื่อขายสินค้าราคาถูกแต่มีดีไซน์ที่ได้รับการยอมรับได้เร็วขึ้นจากลิขสิทธิ์เหล่านี้ เพราะอย่างน้อยก็จะทำให้ลูกค้าที่เคยมีประสบการณ์กับสินค้าลิขสิทธิ์มาก่อนอึ้งไปว่า สินค้าถูกลิขสิทธิ์ขายได้ราคาถูกแบบนี้ด้วยหรือ 

เรื่องเด็ดของดีไซน์และแพ็กเกจ ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยก็คือ ปฏิเสธไม่ได้ว่า เห็นร้าน Miniso แล้วหลายคนคิดถึงมูจิ (MUJI) แบรนด์ที่ทำให้สินค้าธรรมดาที่เน้นประโยชน์ด้านการใช้งานกลายเป็นของมีระดับประสบความสำเร็จมาแล้วนั่นเอง

5. ราคา ที่ดึงดูดลูกค้ามาก ๆ คือความรู้สึกถูกกว่าที่คิดผู้บริหาร Miniso เองก็ให้ความสำคัญกับเรื่องการออกแบบสินค้าอย่างมาก โดยสินค้าที่เลือกผลิตมาจำหน่ายจะต้องเป็นสินค้าที่อยู่ในเทรนด์เรียบง่ายดูดีด้วยดีไซน์ แต่ต้องทำให้นักช้อปเซอร์ไพรส์กับราคาที่คิดไม่ถึง

ที่จีน Miniso จะดึงลูกค้าเข้าร้านด้วยป้ายราคา 10 หยวน แต่ที่ไทยเริ่มต้นที่ 69 บาท แต่ผลปรากฏว่า ลูกค้ามักจะหยิบสินค้าที่แพงกว่าราคาหน้าร้าน โดยสินค้าในร้านที่อยู่ในราคาเริ่มต้นจะมีเพียง 30-40% ของสินค้าทั้งหมด ที่เหลือจะเป็นสินค้าที่ราคาสูงกว่า แต่ด้วยความที่การจัดเรียงสินค้าสวยงาม บรรจุในแพ็กเกจจิ้งและมีดีไซน์สวย ทำให้ลูกค้ายอมรับได้กับราคาที่แพงขึ้นและไม่รู้สึกว่าสินค้านั้นแพง

โดยร้านก็จะไม่สะกิดใจลูกค้าด้วยราคา เพราะฉะนั้นตรงชั้นวางจะไม่มีป้ายราคาแต่จะมีติดไว้เป็นโซน ๆ

ดังนั้นแม้ Miniso จะถูกพูดถึงว่าเป็นร้านสินค้าทุกอย่างราคา 69 บาท แต่จริง ๆ แล้วในสต๊อกของร้านมีสินค้าที่แพงกว่านั้นในสัดส่วนที่มากกว่า และแต่ละรายการมีกำไรต่อชิ้นขั้นต่ำประมาณ 25%

6. สินค้าหลากหลาย การหาสินค้าแปลกใหม่หมุนเวียนเข้ามาในสไตล์ฟาสต์มูฟวิ่งโปรดักต์จำนวนมากนี้ ไม่ใช่เรื่องเหนื่อยสำหรับ Miniso เพราะบริษัทมีโรงงานขนาดใหญ่ที่ผลิตได้ในต้นทุนต่ำในจีน และ Miniso ยังมีทีมงานที่จะคอยต้อนรับและหาซัพพลายเออร์จำนวนมากจากทั่วโลกมานำเสนอสินค้าให้คัดเลือกมาจำหน่าย และใช้เทคนิคการบริหารรอบการจ่ายเงินที่เหมาะสม ซึ่งช่วยทำให้ลดต้นทุนสินค้าไปด้วยในตัว

7. ความไว เป้าหมายของ Miniso คือให้ลูกค้าแวะและซื้อของติดมือทุกครั้งที่แวะมา นั่นแสดงว่าบริษัทก็ต้องหาสินค้าใหม่ ๆ มารองรับซึ่งต้องเปลี่ยนอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าสินค้าประเภทฟาสต์แฟชั่นเสียอีก สำคัญกว่านั้นคือต้องขายออกอย่างรวดเร็ว ซึ่ง Miniso ใช้หลักการขายสินค้าด้วยคอนเซ็ปต์ของการขายอาหารคือขายให้ไวที่สุดก่อนที่สินค้าจะหมดอายุ แม้สินค้าที่ขายจะเป็นนอนฟู้ดก็ตาม

ทั้งนี้ Miniso มีสินค้าประเภทอาหารจำหน่ายเล็กน้อยในร้าน ส่วนใหญ่เป็นพวกเครื่องดื่มและขนม แต่มีแผนจะขยายสินค้าในแผนกนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต ตามรอยแม่แบบอย่างมูจิทีละสเต็ปกันเลยทีเดียว

บทสรุปจากแบรนด์ Miniso

1. มีผู้นำย่อมมีผู้ตาม ความสำเร็จอย่างรวดเร็วของ Miniso ทำให้เกิดการขยายตัวของร้านสินค้าราคาเดียวหลายร้าน ในระดับเอเชียทำให้ร้าน Daiso ซึ่งเกิดมาก่อน ตื่นตัวอีกครั้ง และทำให้แบรนด์ต้นแบบอย่าง MUJI ยิ่งต้องรักษามาตรฐานและยกระดับระยะห่างขึ้นไปอีก แต่ความสำเร็จของ Miniso ทำให้หลายแบรนด์เห็นโอกาสและช่องว่างที่จะแทรกตัวเข้ามาในตลาด จนทำให้เกิดร้านประเภทเดียวกันจำนวนมาก รวมทั้งร้านทุกอย่าง 20 บาทก็เริ่มพัฒนายกระดับตัวเองเช่นกัน

2. แบรนด์ยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติชัดแต่คอนเซ็ปต์ต้องชัด กรณีของ Miniso ออกมาแรก ๆ ทุกคนงงว่าตกลงแบรนด์นี้เป็นของชาติไหนกันแน่ แต่นั่นไม่สำคัญเท่าคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ที่จะสร้างการรับรู้กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายที่ตรงกับพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่จะทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จได้มากกว่า อีกทั้งผู้บริโภคยุคนี้ก็ยอมรับได้ว่าคุณภาพการผลิตสินค้าจะผลิตที่ไหนไม่สำคัญเท่ากับการควบคุมมาตรฐานการผลิตของแบรนด์

3. การลดสเกลเพื่อตอบสนองผู้บริโภคใกล้ตัว เมื่อ Miniso ตามรอยมูจิได้ด้วยการใช้ความแตกต่างเรื่องราคา สิ่งที่เกิดขึ้นกับแบรนด์เล็ก ๆ ในไทย ก็ทำให้ Miniso มีคู่แข่งแบรนด์ต่าง ๆ เกิดขึ้นด้วยความเชื่อแบบเดียวกันจากร้านราคาเดียวซื้อง่ายไม่คาดหวังคุณภาพสินค้าสูง   

]]>
1160939
เม็ดเงินแฟชั่นสะพัด “คนรุ่นใหม่” เกือบครึ่งใส่เสื้อผ้ารอบเดียวแล้วโยนทิ้ง https://positioningmag.com/1150611 Sat, 16 Dec 2017 03:19:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1150611 ภาพจาก : theguardian.com

ไม่ว่าจะทิ้งลงถังขยะหรือทิ้งให้คนอื่น การสำรวจล่าสุดพบว่าคนรุ่นใหม่เกือบครึ่งเมินเสื้อผ้าที่ไม่ถูกใจ ทั้งที่ใส่เพียงครั้งเดียว โดยผลสำรวจชี้ชัดนักช้อปออสซี่กว่า 4 ใน 10 ตัดสินใจไม่รีไซเคิล และไม่ซ่อมดัดแปลง แต่จะทิ้งเสื้อที่ไม่ถูกใจลงถังขยะไปเลย

ผลสำรวจล่าสุดจากบริษัทวิจัยสัญชาติอังกฤษ YouGov สะท้อนความจริงสุดอึ้งในโลกตลาดแฟชั่นที่มาไวไปไวเหลือเกิน จุดนี้ YouGov พบว่า 8 ใน 10 ของกลุ่มตัวอย่างยอมรับว่าได้ทิ้งสิ่งของประเภทเสื้อผ้าในปีที่ผ่านมา โดยครึ่งหนึ่งของกลุ่มนี้ยอมรับว่าโยนทิ้งเสื้อผ้ามากกว่า 10 ชิ้น 

กลุ่มตัวอย่างของ YouGov ประกอบด้วยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,137 คน ทำการสำรวจระหว่าง 20-30 ตุลาคมที่ผ่านมา โดย 82% ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็น baby boomer และ 62% ของกลุ่มที่เป็น millennial กล่าวว่าได้บริจาคเสื้อผ้าที่ไม่ต้องการเพื่อการกุศล โดย 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างยอมรับว่าบริจาคเสื้อผ้า 3 ชิ้นที่เคยใส่เพียงครั้งเดียว

เหตุผลที่ทำให้โลกมีมหกรรมทิ้งเสื้อผ้าสูงเช่นนี้ คือเสื้อผ้าที่ดูดีบนราวแขวน หรือการซื้อเสื้อผ้าเพราะเสียงยุของคนรอบข้าง รวมถึงการลองเสื้อแล้วดูดีเฉพาะที่ร้านค้า ซึ่งเมื่อกลับมาถึงบ้าน หลายคนพบว่าเสื้อผ้าที่ซื้อมาไม่เหมาะกับตัวเอง

การสำรวจของ YouGov พบว่า 44% ของกลุ่มตัวอย่างที่ถือเป็นชาว millennial (เกิดระหว่างปี 1978 และ 1998) กล่าวว่า เสื้อผ้า 50% ที่เก็บในตู้เสื้อผ้าปัจจุบัน ล้วนเป็นเสื้อผ้าใหม่ที่ถูกซื้อในช่วงปีที่ผ่านมา ในทางตรงกันข้าม กลุ่ม baby boomer ที่อายุมากกว่า กลับซื้อเสื้อผ้าใหม่ในปี 2017 น้อยกว่า 10% ของเสื้อผ้าที่มีในตู้

ทั้ง millennial และ baby boomer บอกเป็นเสียงเดียวกับ ว่าเหตุผลที่ตัดสินใจทิ้งเสื้อผ้าไปคือความไม่เหมาะหรือเพราะความเสียหาย เหตุผลยอดนิยมรองลงมาคือเบื่อและเป็นเสื้อผ้าสไตล์เก่า (30% ของ millenial และ 11% ของ baby boomer ให้เหตุผลนี้)

ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เราเห็นเม็ดเงิน สะพัดในตลาดแฟชั่นที่หมุนเวียนรวดเร็ว ผลจากวงจรการผลิตและจำหน่ายที่ทันใจตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการส่งไปวางจำหน่าย สามารถพบได้ทุกตลาดทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นจากเครือข่ายค้าปลีกยักษ์ใหญ่เช่น H&M หรือ Forever 21 หรือสินค้าราคาถูกที่ผลิตในประเทศจีนและจำหน่ายในตลาดนัดท้องถิ่น

ผลสำรวจของ YouGov ถูกรายงานในสื่ออย่าง Guardian ว่ากลุ่มตัวอย่างในออสเตรเลียราว 4 ใน 10 นั้นทิ้งเสื้อผ้าที่ไม่ต้องการลงถังขยะ โดยไม่พยายามซ่อมหรือรีไซเคิลเพื่อนำเสื้อผ้ากลับมาใช้ใหม่ เบื้องต้นพบ ชาวออสเตรเลียกลุ่มผู้ใหญ่ 75% โละเสื้อผ้าไปในปีที่ผ่านมา และ 30% ทิ้งเสื้อผ้าไปมากกว่า 10 ชิ้น

พฤติกรรมการทิ้งเสื้อผ้าอาจเป็นปัจจัยสำคัญให้อุตสาหกรรมแฟชั่นออสเตรเลียบูมสุดขีด ล่าสุดมีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

การสำรวจจาก Ibis World ชี้ว่าวันนี้อุตสาหกรรมแฟชั่นของออสเตรเลียกำลังเฟื่องฟู สถิติล่าสุดบันทึกอัตราเติบโตอยู่ที่ 21% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ผลจากการรุกตลาดของแบรนด์เสื้อผ้าราคาประหยัดสัญชาติยุโรป ทั้ง H&M, Uniqlo, Zara และ Topshop/Topman ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มักถูกกว้านซื้อเมื่อนักช้อปเดินทางไปต่างประเทศ ทำให้วันนี้ชาวออสซีรวมถึงชาวไทยสามารถซื้อหาเสื้อผ้าเหล่านี้ได้ตลอดเวลา

รายงานจาก Australia Post ระบุด้วยว่า 22% ของการซื้อสินค้าออนไลน์ของชาวออสซี่วันนี้เป็นสินค้าแฟชั่นที่มีการเติบโตอย่างมากตลอด 3 ปี โดยชาวออสเตรเลียได้รับพัสดุสินค้าแฟชั่นเฉลี่ย 3.2 ชิ้นในปี 2016 ที่ผ่านมา ทั้งหมดนี้สะท้อนว่านักช้อปส่วนใหญ่มองหาเสื้อผ้าใหม่สำหรับสวมใส่ในวันหยุด และไม่ค่อยคำนึงถึงการใช้งานในระยะยาว

การทิ้งเสื้อผ้าถูกมองเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กำลังหนักข้อขึ้นในออสเตรเลีย มีการบันทึกว่าสิ่งทอและเครื่องหนังกว่า 500,000 ตันถูกส่งไปยังบ่อฝังกลบขยะในประเทศออสเตรเลียเพียงประเทศเดียว เรื่องนี้ Jane Miliburn ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งเพิ่งเปิดตัวหนังสือ Slow Fashion เผยว่าชาวออสเตรเลียซื้อสินค้าสิ่งทอเฉลี่ย 27 กิโลกรัม ต่อปี (รวมทั้งเครื่องหนังและของใช้ในบ้าน) สินค้าที่ส่วนใหญ่เป็นเส้นใยสังเคราะห์เหล่านี้กลายเป็นขยะที่ถูกทิ้งในหลุมฝังกลบราว 23 กิโลกรัม เบ็ดเสร็จแล้ว ปริมาณสิ่งทอชาวออสเตรเลียที่ใช้งานต่อปี นั้นคิดเป็น 2 เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 13 กิโลกรัมต่อคน

แน่นอนว่าแบรนด์เสื้อผ้าไม่นิ่งนอนใจกับปัญหาขยะเสื้อผ้าแฟชั่น และพยายามรับผิดชอบด้วยการให้ข้อเสนอเพื่อให้นักช้อปนำเสื้อผ้าที่ไม่ต้องการกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น H&M ที่ส่งเสริมให้ลูกค้านำเสื้อเก่ามารับส่วนลด ซึ่ง H&M จะสามารถนำไปใช้ต่อในธุรกิจเสื้อผ้ามือสอง หรือการนำชิ้นส่วนผ้ากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ยังมีแบรนด์อย่าง Patagonia ที่เสนอซ่อมเสื้อฟรีแก่ลูกค้าทุกคน

ที่มาhttps://www.theguardian.com/fashion/2017/dec/06/landfill-becomes-the-latest-fashion-victim-in-australias-throwaway-clothes-culture

http://www.khaosodenglish.com/life/shopping/2017/12/06/4-10-thai-shoppers-toss-clothes-1-wear-survey/

]]>
1150611