นีลเส็น – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 20 Jun 2021 02:49:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เริ่มฟื้น! เม็ดเงินโฆษณาเดือนพ.ค. 64 เพิ่มขึ้น 27% สื่อทีวีเพิ่มขึ้น 37% https://positioningmag.com/1337115 Sat, 19 Jun 2021 15:40:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337115 นีลเส็น เปิดเผยมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในช่วงมกราคม-พฤษภาคมปี 2564 เพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าอยู่ที่ 44,956 ล้านบาท สื่อทีวียังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 60% ขณะที่ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 27% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

สื่อทีวียังเป็นสื่อหลัก มีการใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อีกทั้งยังเป็นช่วงของการกลับมาของ “สรยุทธ์” มีส่วนทำให้งบโฆษณาเพิ่มขึ้นได้ ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นสื่อเดียวที่ติดลบ 11%

ภาพรวมใช้เม็ดเงินโฆษณาปี 2564 ช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่

  • กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (Food&Beverage) มูลค่า 8,106 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33%
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล และเครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) มูลค่า 6,587ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17%
  • กลุ่มยานยนต์ (Automotive) มูลค่า 2,769 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3%
  • กลุ่ม Media & Marketing ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจขายตรงมูลค่า 5,026 ล้านบาท ลดลง 3%
  • กลุ่มยา (Pharmaceuticals) มูลค่า 2,324 ล้านบาท ลดลง 1%

3 บริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในปี 2564

UNILEVER (THAI) HOLDINGS มูลค่า 2,168 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 33% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คือ คอมฟอร์ท อัลตร้าแคร์ ปกป้องสี และใยผ้าจากการซัก ทางสื่อทีวีมูลค่า 48 ล้านบาท รองลงมาคือคนอร์ สูตรใหม่ หอมกลิ่นหมู เพิ่มขึ้นทางสื่อทีวีมูลค่า 25 ล้านบาท

NESTLE (THAI) มูลค่า 1,355 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 73% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คือ ไมโล ประโยชน์เต็มแก้ว ทางสื่อทีวีมูลค่า 24 ล้านบาท รองลงมาคือเนสกาแฟ ทริปเปิ้ล เอสเปรสโซ่ อร่อยเข้มคูณสามทางสื่อทีวีมูลค่า 22 ล้านบาท

PROCTER & GAMBLE (THAILAND) มูลค่า 1,004 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 27% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คือ รีจอยส์ ผมนุ่มสลวย พร้อมกลิ่นหอมติดผมยาวนาน ทางสื่อทีวีมูลค่า 29 ล้านบาท รองลงมา คือ พริงเกิ้ล ลุคใหม่! สุดปัง ทางสื่อทีวีมูลค่า 23 ล้านบาท

]]>
1337115
เม็ดเงินโฆษณาเดือน ม.ค. ยังหดตัว 7% กลุ่ม “ขายตรง” ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง https://positioningmag.com/1320345 Mon, 22 Feb 2021 16:51:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320345 นีลเส็น เปิดเผยมูลค่าเม็ดเงินโฆษณามกราคมปี 2021 หดตัวลง -7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าอยู่ที่ 8,032 ล้านบาท

สื่อทีวียังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 61% โดยภาพรวมของทุกสื่อหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ปี 2021 ช่วงเดือนมกราคมภาพรวมใช้เม็ดเงินโฆษณาอุตสาหกรรมหลัก อาทิ

  • กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (Food&Beverage) มูลค่า 1,418 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +35%
  • กลุ่ม Media & Marketing ซึ่งส่วนใหญ่มาจากธุรกิจการขายตรงมูลค่า 1,108 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +17%
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) มูลค่า 1,020 ล้านบาท ลดลง -12%
  • กลุ่มยานยนต์ (Automotive) มูลค่า 520 ล้านบาท ลดลง -27%

บริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในปี 2021 โดย 3 ลำดับแรกได้แก่

บริษัท UNILEVER (THAI) HOLDINGS CO.,LTD. มูลค่า 349 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +18%

แคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนมกราคมที่ผ่านมา คือ บรีสเอกเซล รักษ์โลก สูตรใหม่เป็นมิตรต่อโลกทางสื่อทีวีมูลค่า 41 ล้านบาท รองลงมาคือ ใหม่ เคลียร์ คลีน แอนด์ มายด์ทางสื่อทีวีมูลค่า 30 ล้านบาท

บริษัท NESTLE (THAI) CO.,LTD. มูลค่า 297 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +150%

แคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนมกราคมที่ผ่านมา คือ เนสกาแฟ ลุ้นอภิมหาโชคทางสื่อทีวีมูลค่า 46 ล้านบาท รองลงมาคือ S26 เชื่อว่าทุกการเรียนรู้ยิ่งใหญ่เสมอทางสื่อทีวีมูลค่า 39 ล้านบาท

บริษัท PROCTER & GAMBLE (THAILAND) มูลค่า 222 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +47%

แคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนมกราคมที่ผ่านมา คือ รีจอยส์ ผมนุ่มสลวย กลิ่นหอมยาวนานทางสื่อทีวีมูลค่า 22 ล้านบาท รองลงมาคือ ใหม่ ดาวน์นี่ หอมสดชื่นยาวนานทางสื่อทีวีมูลค่า 21 ล้านบาท

]]>
1320345
ปาดเหงื่อ! เปิดงบโฆษณา 10 เดือนแรก ยังหดตัว -15% มูลค่า 86,046 ล้านบาท https://positioningmag.com/1306062 Sat, 14 Nov 2020 14:40:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1306062 เอจีบี นีลเส็น ประเทศไทย เปิดเผยมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในช่วงมกราคมถึงตุลาคมปี 2020 หดตัวลง -15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วโดยมูลค่าอยู่ที่ 86,046 ล้านบาท ซึ่งสื่อทีวียังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 59% ขณะที่ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในเดือนตุลาคมลดลง –15% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ในช่วงมกราคมถึงตุลาคมปี 2020 ภาพรวมอุตสาหกรรมกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) มูลค่า 12,141 ล้านบาท เริ่มฟื้นตัวโดยใช้เม็ดเงินโฆษณาคงที่เท่ากับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมหลักยังคงลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อาทิเช่น

  • กลุ่มอาหาร และเครื่องดื่ม (Food&Beverage) มูลค่า 13,377 ล้านบาท ลดลง -11%
  • กลุ่ม Media & Marketing มูลค่า 10,173 ล้านบาท ลดลง -8%
  • กลุ่มยานยนต์ (Automotive) มูลค่า 5,028 ล้านบาท ลดลง -36%

ในส่วนของบริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดของเดือนมกราคมถึงตุลาคมปี 2020 โดย 3 ลำดับแรก ได้แก่

บริษัท UNILEVER (THAI) HOLDINGS CO.,LTD. มูลค่า 3,779 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +43%โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาคือ ใหม่ วาสลีน ซุปเปอร์ วิตามิน ทางสื่อทีวีมูลค่า 38 ล้านบาท รองลงมาคือใหม่ วาสลีน สูตรกลูต้าโกลว์ ทางสื่อทีวีมูลค่า 35 ล้านบาท

บริษัท NESTLE(THAI) CO.,LTD. มูลค่า 2,235 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +40% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาคือ เนสกาแฟ เบลนด์ แอนด์ บรู หอมนุ่มลงตัว ทางสื่อทีวีมูลค่า 38 ล้านบาท รองลงมาคือ ไมโล พลังของทีมเวิร์ก กีฬาคือครูชีวิต ทางสื่อทีวีมูลค่า 26 ล้านบาท

บริษัท PROCTER & GAMBLE (THAILAND) มูลค่า 1,850 ล้านบาท ซึ่งลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว -13% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คือ ใหม่ แพนทีนสูตรโปรวิตามิน ลดการขาดลดร่วง ทางสื่อทีวีมูลค่า 26 ล้านบาท รองลงมาคือใหม่ ดาวน์นี่ เอสเซนเชียลออยล์ ทางสื่อทีวีมูลค่า 23 ล้านบาท

]]>
1306062
เปิดงบโฆษณา 9 เดือนแรก -16% กลุ่มอาหาร/เครื่องดื่มหดตัวเยอะสุด 12,000 ล้าน https://positioningmag.com/1301743 Fri, 16 Oct 2020 03:38:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1301743 เอจีบี นีลเส็น ประเทศไทย เปิดมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2020 หดตัวลง -16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าอยู่ที่ 76,591 ล้านบาท 

ซึ่งสื่อทีวียังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 59% ขณะที่ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในเดือนกันยายนยังคงลดลง –10% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ในปี 2020 นี้ภาพรวมอุตสาหกรรมหลักใช้เม็ดเงินโฆษณาลดลงจากปีที่แล้ว โดย 4 กลุ่มหลักได้แก่

  • กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (Food&Beverage) มูลค่า 12,104 ล้านบาท ลดลง -10%
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล และเครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) มูลค่า 10,741 ล้านบาท ลดลง -3%
  • กลุ่ม Media & Marketing มูลค่า 9,054 ล้านบาท ลดลง -7%
  • กลุ่มยานยนต์ (Automotive) มูลค่า 4,591 ล้านบาท ลดลง -34%

ขณะที่กลุ่มยา (Pharmaceuticals) มูลค่า 4,086 ล้านบาท และกลุ่มสินค้าครัวเรือนในบ้าน (Household products) มูลค่า 3,209 ล้านบาท ใช้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +7% และ +15% ตามลำดับ

ในส่วนของบริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดของเดือนมกราคมถึงกันยายน ปี 2020 โดย 3 ลำดับแรกได้แก่

บริษัท UNILEVER (THAI) HOLDINGS CO.,LTD. มูลค่า 3,165 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +35% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนกันยายนที่ผ่านมาคือ ใหม่ วาสลีน ซุปเปอร์ วิตามิน ทางสื่อทีวีมูลค่า 38 ล้านบาท รองลงมาคือใหม่ โดฟ อินเทนซ์ รีแพร์ทางสื่อทีวีมูลค่า 31 ล้านบาท

บริษัท NESTLE(THAI) CO.,LTD. มูลค่า 1,966 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +38% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนกันยายนที่ผ่านมาคือ ใหม่ นมตราหมี ทริปเปิ้ล โปร ทางสื่อทีวีมูลค่า 32 ล้านบาท รองลงมาคือ ไมโล กีฬาคือครูชีวิต ทางสื่อทีวีมูลค่า 22 ล้านบาท

บริษัท PROCTER & GAMBLE (THAILAND) มูลค่า 1,596 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว -19% โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนกันยายนที่ผ่านมา คือ ดาวน์นี่ เอสเซนเชียลออยล์ ทางสื่อทีวีมูลค่า 23 ล้านบาทรองลงมาคือใหม่ รีจอยส์ สูตรผมยาว ดูเรียบลื่น ทางสื่อทีวีมูลค่า 22 ล้านบาท

]]>
1301743
คลายล็อกแล้วแต่งบโฆษณายังไม่ฟื้น! เดือนมิ.ย. -24% ภาพรวมครึ่งปีแรกหดตัว -13% https://positioningmag.com/1288199 Sun, 19 Jul 2020 14:37:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288199 เอจีบี นีลเส็น ประเทศไทย เปิดเผยมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 หดตัวลง -13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วโดยมูลค่าอยู่ที่ 51,213 ล้านบาท เฉพาะเดือนมิถุนายน -24%

สื่อในร้านค้า/โรงหนังอ่วมสุด

ภาพรวมการใช้งบโฆษณาครึ่งปีแรกยังติดลบหนัก ขณะที่ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในเดือนมิถุนายนยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 โดยลดลง –24% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้จะมีการคลายล็อกกิจการต่างๆ แล้ว แต่ยังไม่มีสัญญาณกลับมาเป็นบวก

“สื่อทีวี” ยังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 57% มีมูลค่า 29,193 ล้านบาท ลดลง 15% แต่ถ้าเฉพาะเดือนมิถุนายนลดลง 27%

โดยที่สื่อ In-Store หรือสื่อในร้านค้า และสื่อในโรงภาพยนตร์เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักสุด ติดลบมากกว่า 40% สื่อ In-Store ในครึ่งปีแรกมีมูลค่า 309 ล้านบาท ลดลง 40% แต่ถ้าเฉพาะเดือนมิถุนายนลดลงถึง 71%

ส่วนสื่อในโรงภาพยนตร์ครึ่งปีแรกมีมูลค่า 1,674 ล้านบาท ลดลง 55% เฉพาะในเดือนมิถุนายนมีการลดลงถึง 60%

“สื่อดิจิทัล” หรือสื่อออนไลน์เป็นกลุ่มเดียวที่มีการเติบโต ในครึ่งปีแรกมีมูลค่า 11,093 ล้านบาท เติบโต 23% เฉพาะเดือนมิถุนายนมีมูลค่า 1,849 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23%

อาหาร และเครื่องดื่มใช้งบลดลงมากที่สุด

ในปี 2020 นี้ภาพรวมอุตสาหกรรมหลักใช้เม็ดเงินโฆษณาลดลงจากปีที่แล้ว โดย 4 กลุ่มหลักได้แก่

  • กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (Food&Beverage) มูลค่า 7,153 ล้านบาท ลดลง -22%
  • กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) มูลค่า 6,669 ล้านบาท ลดลง -10%
  • กลุ่ม Media & Marketing มูลค่า 6,240 ล้านบาท ลดลง -2%
  • กลุ่มยานยนต์ (Automotive) มูลค่า 3,081 ล้านบาท ลดลง -32%

ขณะที่กลุ่มยา (Pharmaceuticals) มูลค่า2,797 ล้านบาท และ กลุ่มสินค้าครัวเรือนในบ้าน (Household products) มูลค่า 1,865 ล้านบาท ใช้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +22% และ +3% ตามลำดับ

ยูนิลีเวอร์ใช้งบโฆษณาเยอะสุด 

ในส่วนของบริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดของเดือนมกราคมถึงมิถุนายนปี 2020 โดย 3 ลำดับแรกได้แก่

UNILEVER มูลค่า 1,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +17%

โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาคือครีดนวดผมสูตรเซรั่ม เพียง 29 บาท ทางสื่อทีวีมูลค่า 13 ล้านบาท รองลงมาคือซันซิล บรีส เอกเซล ช่วยขจัดคราบ และแบคทีเรียทางสื่อทีวีมูลค่า 10 ล้านบาท

TV DIRECT มูลค่า 1,271 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +48%

โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คือ เครื่องบดสับปั่น ซื้อ 1 แถม 1 ทางสื่อทีวีมูลค่า 41 ล้านบาท รองลงมาคือ SKG ลำโพงกระเป๋าลาก ทางสื่อทีวีมูลค่า 37 ล้านบาท

LIFESTAR มูลค่า 1,122 ล้านบาท แม้จะใช้งบลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว -17% แต่ก็ยังครองอันดับ 3 ในการใช้งบโฆษณาสูงที่สุดในครึ่งปีแรก

โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาคือ ลดกระหน่ำกลางปี คอร์ดี้ ทิเบตแอนด์ภูฏาน เซต 3 ขวด ทางสื่อทีวีมูลค่า 21 ล้านบาท รองลงมาคือคอร์ดี้ ทิเบตแอนด์ภูฏาน ซื้อ 1 แถม 1 ทางสื่อทีวีมูลค่า 16 ล้านบาท

]]>
1288199
ล็อกดาวน์ดันคนไทย “ฟังวิทยุ” เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพลงไทย-ลูกทุ่งยังฮิตสุด https://positioningmag.com/1283035 Wed, 10 Jun 2020 17:17:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283035 เปิดข้อมูลพฤติกรรมกลุ่มผู้ฟังวิทยุในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงล็อกดาวน์จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีการฟังเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1 ชั่วโมง คอนเทนต์เพลงไทย เพลงลูกทุ่งยังยอดนิยมมากที่สุด

ฟังเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมง

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคสื่อของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ประชาชนทำงานและใช้เวลาที่บ้านมากขึ้น ทำให้สถานที่ ระยะเวลา และอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการรับชมสื่อนั้นมีการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงสื่อวิทยุเช่นเดียวกัน

นีลเส็นเผยข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์พฤติกรรมการรับฟังสื่อวิทยุของคนไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ฟังวิทยุจำนวน 1,650 คน อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป

ข้อมูลในรายงานเผยให้เห็นถึงจำนวนผู้ฟังและเวลาในการรับฟังสื่อวิทยุที่เพิ่มมากขึ้นเกือบชั่วโมง เมื่อเทียบระหว่างเดือนมกราคม และเมษายน 2563 จากการฟังเฉลี่ย 14 ชั่วโมง 16 นาที/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นมาเป็น 15 ชั่วโมง 2 นาที/สัปดาห์

นอกจากนี้ จำนวนของผู้ฟังโดยเฉลี่ยต่อสถานีในเดือนเมษายนนั้น มีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึง 21% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

จากสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นทำให้ ยอดผู้ฟังวิทยุจากที่บ้านเพิ่มสูงขึ้น 18% และการฟังจากในรถลดลง 1% ในส่วนของอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการรับฟังวิทยุ เราเห็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นถึง 29% ของการฟังผ่านมือถือ/สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต ถึงแม้ว่าผู้ฟังวิทยุส่วนมากยังคงนิยมรับฟังจากเครื่องรับวิทยุ โดยมีอัตราการเติบโตที่ 0.4% เมื่อเทียบระหว่างเดือนเมษายนและมีนาคม

เพลงไทย-เพลงลูกทุ่งยังฮิตสุด

“เพลงไทย” เช่น ป๊อป ร็อก ฮิปฮอป และ “เพลงลูกทุ่ง” คือ 2 คอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ตามมาด้วยโปรแกรม ข่าว/ข่าวกีฬา และเพลงสากล และถึงแม้ว่าสถานการณ์ COVID-19 จะดันให้ยอดผู้ฟังในทุกประเภทของโปรแกรมที่กล่าวถึงข้างต้นเพิ่มขึ้น โปรแกรมเพลงสากล และเพลงไทยนั้นได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์นี้มากที่สุด โดยมีการเติบโตของยอดผู้ฟังอยู่ที่ 28% และ 20% ตามลำดับ

เมื่อมองลึกลงไปที่โปรไฟล์ของผู้ฟังจะพบว่าผู้ฟังหลัก

  • โปรแกรมเพลงไม่ว่าจะเป็นเพลงลูกทุ่ง ไทย หรือสากลคือเพศหญิง
  • โปรแกรมข่าว/ข่าวกีฬาคือเพศชาย

ซึ่งโปรแกรมทุกประเภทมียอดผู้ฟังเพิ่มขึ้นทั้งชาย-หญิงในอัตราการเติบโตที่พอๆ กันในโปรแกรมนั้นๆ เมื่อเทียบระหว่างเดือนเมษายนและมีนาคม

ในส่วนของกลุ่มอายุผู้ฟัง เราพบว่าโปรแกรมเพลงลูกทุ่ง และข่าว/ข่าวกีฬา ได้รับความสนใจจากผู้ฟังที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ในขณะที่เพลงไทยและเพลงสากลสามารถเข้าถึงผู้ฟังในกลุ่มอายุต่ำกว่า 40 ปีได้ดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ชมที่เพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ COVID-19 ของแต่ละโปรแกรมนั้นมีความแตกต่างกัน เมื่อเทียบข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนและมีนาคม

  • เพลงลูกทุ่ง กลุ่มช่วงอายุของผู้ฟังที่มียอดผู้ชมเติบโตสูงสุดคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (+10%)
  • ข่าว/ข่าวกีฬา กลุ่มอายุ 40-49 (+4%)
  • เพลงไทย กลุ่มอายุ 20-29 (+23%)
  • เพลงสากล กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป (+125%)

ยอดผู้ฟังที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วง non-prime time

ที่น่าสนใจคือการทำงานจากที่บ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนเมษายน ทำให้มีผู้ฟังวิทยุเพิ่มสูงขึ้นในช่วง non-prime time ทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด ซึ่งในวันธรรมดาจำนวนยอดผู้ฟังวิทยุนั้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเวลา 8.00 น. ถึง 14.30 น. และมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 40% ในช่วงเวลา 10.00-11.00 น. ในส่วนของวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ช่วงเวลาที่ยอดผู้ฟังเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอยู่ที่เวลา 8.00 น. ถึง 14.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นกว่าวันธรรมดาอยู่ครึ่งชั่วโมง อย่างไรก็ตามช่วง prime time ของทุกวันยังคงอยู่ที่เวลา 16.00 ถึง 17.00 น.

ถึงแม้ว่ายอดผู้ฟังวิทยุจะเพิ่มขึ้น เม็ดเงินโฆษณาที่ลงกับสื่อวิทยุนั้นกลับเติบโตสวนทางเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นกับหลายๆ สื่อในช่วงเดือนเมษายน โดยลดลง 21% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามเจ้าของสินค้าที่ยังคงลงโฆษณาสื่อวิทยุและใช้เม็ดเงินโฆษณากับสื่อวิทยุสูงสุด 10 อันดับแรกประกอบด้วยแบรนด์ในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงิน กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล กลุ่มอาหารเสริม กลุ่มยานยนต์ และหน่วยงานรัฐบาล

อารอน ริกบี้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท นีลเส็น มีเดีย ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า

“สื่อวิทยุเป็นอีกสื่อที่ได้ผู้ฟังเพิ่มขึ้นในช่วงสถานการณ์นี้และเป็นสื่อที่ผู้ฟังสามารถรับฟังในระหว่างทำงานไปด้วยได้ตลอดวัน จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสื่อที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการและนักการตลาด สิ่งสำคัญซึ่งเหมือนกับการลงสื่ออื่นๆ คือการเลือกลงสื่อในช่วงเวลาและพื้นที่ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง เพื่อให้มั่นใจว่าเม็ดเงินโฆษณาที่ลงไปนั้นคุ้มค่าที่สุด”

“เราเห็นว่ามีผู้ฟังรายการวิทยุผ่านมือถือ/สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเจ้าของสื่อที่สามารถพัฒนาแพลตฟอร์มและช่องทางการฟังผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ ให้ใช้งานได้ง่าย มีลูกเล่น และน่าสนใจ รวมถึงสามารถรักษาฐานผู้ฟังที่เพิ่มมากขึ้นจากช่วงสถานการณ์นี้ได้แม้ผ่านช่วงโควิดไปแล้ว คือผู้ที่ได้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้อย่างแท้จริง”

]]>
1283035
สัญญาณกระเตื้อง! เม็ดเงินโฆษณา ส.ค. พลิกโตครั้งแรกในรอบปี “โฮมช้อปปิ้ง” ยังครองท็อปเท็น https://positioningmag.com/1246094 Wed, 11 Sep 2019 10:30:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246094 หลังอุตสาหกรรมโฆษณาติดลบมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีนี้ ล่าสุดตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาเดือน ส.ค. พลิกกลับมาเป็น “บวก” ได้ครั้งแรกในรอบปี และยังต้องรอลุ้นว่าไตรมาสสุดท้ายยังยืนในแดนบวกได้ต่อเนื่องหรือไม่ โดยมีเดียเอเยนซีมองว่าปีนี้ดีที่สุดน่าโตได้ 1.49% เท่านั้น

นีลเส็น ประเทศไทย รายงานการใช้เม็ดเงินโฆษณา เดือน ส.ค. 2562 มีมูลค่า 8,841 ล้านบาท เติบโต 0.94% ถือเป็นตัวเลข เติบโต” ครั้งแรกในรอบปีนี้ 

เมื่อแยกรายสื่อ กลุ่มที่ยัง “ติดลบ” ในเดือน ส.ค. คือ ทีวี มูลค่า 5,684 ล้านบาท ติดลบ 0.77% เคเบิลและทีวีดาวเทียม มูลค่า 202 ล้านบาท ติดลบ 0.98% ถือเป็นอัตราติดลบ “ลดลง” จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่หนังสือพิมพ์ มูลค่า 402 ล้านบาท ติดลบ 26.64% นิตยสาร มูลค่า 76 ล้านบาท ติดลบ 30.28% “สื่อสิ่งพิมพ์” ยังคงมีแนวโน้มติดลบหนักต่อเนื่อง

ส่วนสื่อที่มีอัตราการเติบโตในเดือน ส.ค.นี้ คือ วิทยุ มูลค่า 424 ล้านบาท เติบโต 5.21% สื่อโรงภาพยนตร์ มูลค่า 741 ล้านบาท เติบโต 57.32% สื่อนอกบ้าน มูลค่า 572 ล้านบาท เติบโต 0.88% สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 552 ล้านบาท เติบโต 16.70% สื่อในห้างฯ มูลค่า 88 ล้านบาท และสื่อดิจิทัล มูลค่า 98 ล้านบาท

3 แบรนด์โฮมช้อปปิ้งติดท็อปเท็น

สำหรับท็อปเท็น “แบรนด์” ที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดในเดือน ส.ค. 2562 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน อันดับ 1 ทีวีไดเร็ค มูลค่า 229 ล้านบาท ตามมาด้วย ผลิตภัณฑ์ซักผ้าดาวน์นี่ 110 ล้านบาท, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) 92 ล้านบาท, มือถือซัมซุง มูลค่า 84 ล้านบาท, โค้ก 83 ล้านบาท, สนุกช้อปปิ้ง (โฮมช้อปปิ้ง) มูลค่า 80 ล้านบาท, โอ ช้อปปิ้ง (โฮมช้อปปิ้ง) มูลค่า 78 ล้านบาท, ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว การ์นิเย่ มูลค่า 61 ล้านบาท, ธนาคารออมสิน มูลค่า 58 ล้านบาท และ รถเก๋งโตโยต้า มูลค่า 54 ล้านบาท

ธุรกิจโฮมช้อปปิ้งยังคงเป็นผู้ประกอบการ “รายใหญ่” ที่ใช้เวลานำเสนอเสินค้าและโฆษณาผ่านสื่อทีวีเป็นหลัก แม้เริ่มมีทีวีดิจิทัลที่คืนใบอนุญาตทยอยยุติออกอากาศตั้งแต่กลางเดือนส.ค. ที่ผ่านมาก็ตาม

10 องค์กรใช้งบโฆษณาสูงสุด ส.ค.

สำหรับองค์กรที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 10 อันดับแรก เดือนส.ค. 2562 อันดับ 1. ยูนิลีเวอร์ มูลค่า 311 ล้านบาท 2. พีแอนด์จี มูลค่า 278 ล้านบาท 3. ทีวีไดเร็ค มูลค่า 229 ล้านบาท 4. ลอรีอัล มูลค่า 219 ล้านบาท 5. โตโยต้า มูลค่า 147 ล้านบาท 6. ไบเออร์สดอร์ฟ มูลค่า 135 ล้านบาท 7. เอไอเอส มูลค่า 125 ล้านบาท 8. เป๊ปซี่ มูลค่า 115 ล้านบาท 9. ธนาคารออมสิน มูลค่า 110 ล้านบาท และ 10. โคคา-โคลา มูลค่า 110 ล้านบาท

โฆษณา 8 เดือน 6.8 หมื่นล้าน

สำหรับมูลค่าโฆษณา 8 เดือน (ม.ค. – ส.ค.) ปีนี้ มีมูลค่า 68,823 ล้านบาท ติดลบ 1.22% โดย “สื่อหลัก” ส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ติดลบ” เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ไม่ว่าจะเป็น ทีวี มูลค่า 44,577 ล้านบาท ติดลบ 0.88%, เคเบิลและทีวีดาวเทียม มูลค่า 1,471 ล้านบาท ติดลบ 10.47% วิทยุ มูลค่า 3,011 ล้านบาท ติดลบ 2.24% หนังสือพิมพ์ มูลค่า 678 ล้านบาท ติดลบ 21.25%

ส่วนสื่อที่มีตัวเลขเติบโต คือ สื่อในโรงภาพยนตร์ มูลค่า 5,468 ล้านบาท เติบโต 10.8% สื่อนอกบ้าน มูลค่า 4,533 ล้านบาท เติบโต 1.03% สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 4,220 ล้านบาท เติบโต 7.16% สื่ออินสโตร์ มูลค่า 701 ล้านบาท เติบโต 1.01% สื่อดิจิทัล มูลค่า 520 ล้านบาท 

ท็อปเท็นบริษัทใช้งบโฆษณาสูงสุด 8 เดือน

กลุ่มบริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 10 อันดับ คือ 1. ยูนิลีเวอร์ มูลค่า 2,062 ล้านบาท 2. พีแอนด์จี มูลค่า 1,769 ล้านบาท 3. เนสท์เล่ มูลค่า 1,311 ล้านบาท 4. ธุรกิจไดเร็คเซล มูลค่า 1,239 ล้านบาท 5. ลอรีอัล มูลค่า 1,169 ล้านบาท 6. ทีวีไดเร็ค มูลค่า 1,133 ล้านบาท 7. โตโยต้า มูลค่า 1,117 ล้านบาท 8.  โคคา-โคลา มูลค่า 979 ล้านบาท 9.ไบเออร์สดอร์ฟ มูลค่า 945 ล้านบาท 10. เป๊ปซี่ มูลค่า 897 ล้านบาท

แม้จะมีสัญญาณการใช้งบโฆษณาเดือน ส.ค.ปีนี้กลับมาเติบโต แต่ในมุมของ มีเดีย เอเยนซี ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผนและกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อิเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด มองว่าทั้งปีอุตสาหกรรมโฆษณาคงเติบโตได้ราว 1.49% เท่านั้น เนื่องจากยังไม่มีนโยบายอะไรแรงๆ ของรัฐบาล ที่จะผลักดันการเติบโตโดยรวมได้

ส่วนปี 2563 MI คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมโฆษณา “ติดลบ” 2.83% เพราะยังไม่เห็นปัจจัยบวก หรือนโยบายรัฐที่จะมากระตุ้นกำลังซื้อได้.

]]>
1246094
ตลาดอีคอมเมิร์ซ “ตัวเลือก” เยอะ ผู้บริโภคไทยเสพติดของใหม่ “นอกใจ” แบรนด์เดิม https://positioningmag.com/1242755 Fri, 16 Aug 2019 12:25:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242755 การศึกษาความภักดีของผู้บริโภคทั่วโลกของนีลเส็นพบว่าผู้บริโภคมักมองหาแบรนด์ใหม่ เนื่องจากการวางเดิมพันในการทดลองซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นถูกมองว่าไม่ได้มีความเสี่ยงมากนัก จากระดับของรายได้ที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา

ทั้งนี้ 42% ของผู้บริโภคทั่วโลกบอกว่าชอบลองของใหม่และเกือบครึ่งหรือ 49% ของผู้บริโภคที่แม้ปกติจะซื้อสินค้าที่ตัวเองรู้จักดีอยู่แล้ว แต่ก็มีโอกาสเปิดใจลองของใหม่ได้เช่นกัน

ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกมีความนิยมเปลี่ยนแบรนด์มากที่สุด โดย 47% จะเปลี่ยนแบรนด์หรือลองใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ ตามด้วยแอฟริกาและตะวันออกกลาง 45% และละตินอเมริกา 42% แต่ผู้บริโภคในอเมริกาเหนือและยุโรปมีโอกาสน้อยกว่าที่จะเปลี่ยนแบรนด์ ที่สัดส่วน 36% และ 33% ตามลำดับ

ผู้บริโภคไทยเปลี่ยนแบรนด์สูง

แนวโน้มของประเทศไทยได้ตอกย้ำเทรนด์ของเอเชียแปซิฟิก ซึ่ง 46% ของผู้บริโภคไทยเปิดรับสิ่งใหม่และมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่

สมวลี ลิมป์รัชตามร กรรมการผู้จัดการ บริษัทเดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่เปิดกว้างและเปิดรับสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น เป็นการส่งสัญญาณเตือนให้กับเจ้าของแบรนด์ถึงความเสี่ยง สาเหตุหนึ่งมาจากการเติบโตและการเปิดรับของผู้บริโภคต่อตลาด “อีคอมเมิร์ซ” มากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มตัวเลือกของสินค้าให้กับผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสในการรับรู้ข้อมูลสินค้าและตรวจสอบราคา

อีกทั้งการขยายตัวของสังคมเมืองในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และจะเติบโตเร่งขึ้นอีกใน 5 – 10 ปีข้างหน้า จากโครงการเมกะโปรเจกต์หลายโครงการของรัฐ เช่น โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงเห็นได้ว่าเทรนด์ของผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกสบายและความยืดหยุ่นในการซื้อของหรือสั่งของนั้นมีเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้การเข้าถึง อินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย การมีตัวเลือกมากขึ้นทำให้ทั้งนักการตลาดและผู้ค้าปลีก ต้องปรับตัวเร็ว เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและเป็นผู้นำเทรนด์ โฟกัสสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการในอนาคต

“ตัวเลือก” สินค้าเยอะอัตราเปลี่ยนแบรนด์พุ่ง

ผลกระทบจากการที่ผู้บริโภคต้องการตัวเลือกมากขึ้น และมีสิทธิในการเลือกมากขึ้น จะทำให้ตลาดต้องสร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเข้าสู่การแข่งขัน หากแบรนด์ต่างๆ ไม่เริ่มจริงจังในการสร้างฐานลูกค้าที่ภักดี

เนื่องจากผู้บริโภคเต็มใจที่จะลองใช้แบรนด์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดย 50% ของผู้บริโภคทั่วโลกมีแนวโน้มที่จะลองใช้แบรนด์ใหม่ที่ไม่เคยลองมาก่อนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ส่วนผู้บริโภค 50% ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ละตินอเมริกา 49% แอฟริกาและตะวันออกกลาง 42% ให้ความสนใจในผลิตภัณฑ์ใหม่ และมีการตัดสินใจในการเปลี่ยนแบรนด์เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ 41% ของผู้บริโภคชาวไทยยอมรับว่ามีแนวโน้มที่จะลองใช้แบรนด์ใหม่มากกว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้ว และ 27% มองแบรนด์ที่หลากหลายมากขึ้น แต่หากเลือกได้ก็ชอบอยู่กับแบรนด์ที่เคยใช้อยู่แล้ว มีเพียง 9.2% ซึ่งไม่ต้องการเสี่ยงและไม่ค่อยซื้อสินค้าใหม่

ดังนั้นเจ้าของแบรนด์ต้องใช้เวลามากขึ้นในการโน้มน้าวให้ผู้บริโภคเปลี่ยนใจ ถึงอย่างไรก็ดี ยังคงเห็นสัญญาณของความไม่ภักดีต่อแบรนด์สินค้าและพร้อมที่จะเปลี่ยนตลอดเวลา

ส่องปัจจัยคนไทยเลือกแบรนด์

สำหรับปัจจัยหลักที่มีผลต่อการเลือกแบรนด์ของผู้บริโภคชาวไทย ต้องบอกว่า ความคุ้มค่าของเงิน เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ซึ่งผู้บริโภคชาวไทยกว่า 52% บอกว่ามีผลต่อการตัดสินใจ “ลองแบรนด์ใหม่” หรือ “เปลี่ยนแบรนด์เดิม” ตามมาด้วยคุณภาพหรือฟังก์ชันการใช้งานที่ดีกว่า 43%

ทั้ง 2 ปัจจัยนี้ยังได้รับการจัดอันดับสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วยกัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของผู้บริโภคในภูมิภาคที่มีอัตราอยู่ที่ 40% ในเรื่องความคุ้มค่าของเงิน และ 42% สำหรับคุณภาพที่ดีกว่า

นอกจากให้ความสำคัญกับเรื่องของราคา ผู้บริโภคไทยยังมองประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น 43% และความสะดวกสบาย 42% ซึ่งมีผลต่อการเลือกแบรนด์

ชู “ออมนิ แชนแนล” ดังนักช้อป

นักช้อปไทยและกลุ่มคนติดจอ นิยมเลือกแบรนด์เพราะว่าเข้าถึงได้ 32% เนื่องจากถูกดึงดูดโดยแบรนด์ที่สามารถซื้อออนไลน์ได้ แสดงให้เห็นว่าโลกดิจิทัลของสินค้ามีส่วนช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจลองและซื้อสินค้า ดังนั้นกลยุทธ์ที่แบรนด์สามารถนำมาใช้ได้คือ Omni Channel เพื่อให้ผู้บริโภคได้ประสบการณ์เชื่อมต่อระหว่างร้านค้าและออนไลน์

5 วิธีเข้าถึงผู้บริโภค “ไม่ภักดี” แบรนด์

จากวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคของนีลเส็นที่ชัดเจนว่าผู้บริโภค “ไม่มีความภักดี” กับแบรนด์ และพร้อมลองของใหม่ถึง 90% ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการที่จะเข้าถึงคนกลุ่มนี้ เพื่อรักษาให้เป็นกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ต่อไป โดยมี 5 วิธีหลัก

1. เปิดรับการเสพติดของลัทธินิยมสิ่งใหม่ ด้วยนวัตกรรมที่สดใหม่และเข้าถึงได้อยู่เสมอ เพราะ 46% ของผู้บริโภคมีความกระตือรือร้นในการค้นหาสินค้าใหม่ๆ
2. เข้าหาท้องถิ่น ด้วยการเพิ่มความรู้ในท้องถิ่น เพื่อดึงผู้บริโภคเข้ามาร่วมสนับสนุนแบรนด์
3. การโฆษณามีอิทธิพล ที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคออนไลน์และต้องเปิดรับฟังเสียงผู้บริโภคและคำแนะนำต่อผลิตภัณฑ์
4. หา Commitment จากความสะดวกและคุณภาพ เพราะราคาเป็นสิ่งที่เรียกความสนใจได้เสมอ แต่ผู้บริโภคหลายคนก็มีความต้องการประโยชน์ที่จับต้องได้
5. การจับกลุ่มคนติดสกรีนและนักช้อป ที่สามารถซื้ออะไรก็ได้จากทุกที่ทุกเวลานั้น แบรนด์จะต้องใช้กลยุทธ์การสื่อสารกับลูกค้าผ่าน “ออมนิ แชนแนล” และทำให้การซื้อขายสินค้าผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มง่ายและสะดวก

]]>
1242755
จับตาศึกจัดทำเรตติ้งทีวี “สมาคมทีวีดิจิทัล” องค์กรกลางรับเงิน กสทช. 431 ล้าน วางเงื่อนไขเคาะเลือกรายใหม่ https://positioningmag.com/1240456 Thu, 25 Jul 2019 13:10:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240456 อีกมาตรการแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44  คือแนวทางสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งทีวี โดย กสทช. เตรียมจัดสรรเงินงบประมาณ 431 ล้านบาท ให้กับองค์กรกลางที่มีทีวีดิจิทัลเป็นสมาชิกเป็นผู้ตัดสินใจเลือกนำเงินไปว่าจ้างบริษัทจัดทำเรตติ้งทีวีใหม่ โดยทุกขั้นตอนจะสรุปในเดือน ..นี้

วันนี้ (25 ก.ค.) สำนักงาน กสทช. เชิญผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสื่อและใช้ข้อมูลเรตติ้งทีวี ทั้งทีวิดีจิทัล สมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย ผู้จัดทำเรตติ้งในประเทศไทย เจ้าของผลิตภัณฑ์ผู้ซื้อสื่อโฆษณา มีเดีย เอเยนซี ผู้ผลิตคอนเทนต์ มาหารือแนวทางการจัดทำเรตติ้งทีวี

พร้อมทั้งให้ผู้เสนอตัวจัดทำระบบเรตติ้ง 3 ราย ประกอบด้วย บริษัท พีเอสไอ บรอดคาสติ้ง จำกัด หรือ PSI ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียม, เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดทำเรตติ้งทีวีปัจจุบัน และสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA มานำเสนอระบบจัดทำเรตติ้ง ให้คณะกรรมการเยียวยาแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสื่อ ศึกษาระบบจัดทำเรตติ้งของแต่ละราย

“สมาคมทีวีดิจิทัล”คนเคาะเลือกผู้จัดทำเรตติ้ง

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44 กำหนดให้ กสทช.เป็นผู้จัดเงินสนับสนุนทีวีดิจิทัลจัดทำระบบเรตติ้ง ซึ่ง กสทช. กำหนดเบื้องต้นไว้ 431 ล้านบาท โดยอาจน้อยกว่านี้ได้ แต่จะไม่มากไปกว่านี้

ขั้นตอนการ “จ่ายเงิน” สนับสนุน 431 ล้านบาท กสทช.จะจ่ายผ่าน “องค์กรกลาง” ที่ทีวีดิจิทัลเป็นสมาชิกและจัดตั้งมา 5 ปีขึ้นไป ปัจจุบันองค์กรกลางที่เข้าหลักเกณฑ์ คือ สมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย หลังจากองค์กรกลางเลือกบริษัทที่จะว่าจ้างจัดทำเรตติ้งแล้ว กสทช.จะจ่ายเงินสนับสนุน คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในเดือน ต.ค.นี้ โดย กสทช. ยังมีหน้าที่กำกับดูแลการใช้เงินตามวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนต่อไป

สุภาพ คลี่ขจาย

สุภาพ คลี่ขจาย นายกสมาคมทีวีดิจิทัลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากนี้ สมาคมจะกลับไปหารือกับสมาชิกเพื่อกำหนด “เงื่อนไข” การคัดเลือกบริษัทจัดทำเรตติ้ง เบื้องต้น เงื่อนไขที่วางไว้ คือ ต้องเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร รวมทั้งต้องฟังเสียงจาก “มีเดีย เอเยนซี” ซึ่งเป็นผู้ใช้ข้อมูลและผู้วางแผนใช้เม็ดเงินโฆษณาให้กับเจ้าของสินค้าต่างๆ ด้วย

“การตัดสินใจเลือกผู้จัดทำเรตติ้งที่จะได้รับเงินสนับสนุนจาก กสทช. จะใช้มติเอกฉันท์ของสมาชิก”

“พีเอสไอ” โชว์จุดขายวัดเรตติ้งเรียลไทม์

สำหรับการการนำเสนอระบบเรตติ้งของทั้ง 3 ราย ให้วิธีจับฉลากเลือกลำดับการนำเสนอโดย “พีเอสไอ” เป็นรายแรก ตามด้วย นีลเส็น และ MRDA

สมพร ธีระโรจนพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีเอสไอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ PSI กล่าวว่า พีเอสไอ เป็นเจ้าของโครงข่ายแพลตฟอร์มดาวเทียม เริ่มทำระบบเรตติ้งจากกล่องทีวีดาวเทียมตั้งแต่ปี 2554 ช่วงแรกติดตั้งซิมมือถือในกล่องทีวีดาวเทียม จำนวน 2,000 ครัวเรือน ที่สามารถเรียกดูข้อมูลได้แบบเรียลไทม์

ในยุคทีวีดิจิทัล ปี 2560 พีเอสไอได้อัพเกรดระบบวัดเรตติ้งทีวีดาวเทียมใหม่ ด้วยกล่อง S3 Hybrid ระบบวัดเรตติ้งจากกล่องทีวีดาวเทียม ที่มีซอฟต์แวร์วัดจำนวนผู้ชมทั้งหน้าจอทีวีคู่กับการรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ทั้ง ไอพีทีวี ยูทูบ รายงานผลผ่านแอปพลิเคชั่น PSI Rating บนมือถือและแท็บเล็ต ที่สามารถรายงานผลได้แบบ “เรียลไทม์” ปัจจุบันมีฐานข้อมูลวัดเรตติ้งจากกล่องทีวีดาวเทียมจำนวน 1.35 แสนกล่อง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

สินธุ์ เภตรารัตน์

“นีลเส็น” ให้ทีวีดิทัลใช้ฟรี  5 ปี

สินธุ์ เภตรารัตน์ กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจมีเดีย นีลเส็น ประเทศไทย เวียดนาม และเมียนมา กล่าวว่า นีลเส็น มีธุรกิจอยู่ทั่วโลกใน 106 ประเทศ มี 56 ประเทศที่นีลเส็นเป็นผู้จัดทำเรตติ้ง รวมทั้งประเทศไทยที่จัดทำระบบเรตติ้งมา 30 ปี ปัจจุบันอุตสาหกรรมโฆษณาทีวีมูลค่า 70,382 ล้านบาทในปี 2561 มีสัดส่วนมาจากบริษัทต่างชาติแบรนด์ระดับโกลบอล 54% ธุรกิจท้องถิ่น 46% ซึ่งบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล แบรนด์ จะใช้ข้อมูลเรตติ้งที่เป็นสากล ในการลงทุนใช้งบโฆษณา

ที่ผ่านมานีลเส็นได้พัฒนาระบบวัดเรตติ้งใหม่มาอย่างต่อเนื่องทั้งจอทีวีและดิจิทัล แพลตฟอร์ม รวมทั้งการวัดเรตติ้งเนื้อหาโฆษณา ซึ่งเป็นการปรับระบบไปตามพฤติกรรมการรับชมชองผู้ชม

หาก กสทช. และสมาคมทีวีดิจิทัล นำเสนอสนับสนุนการจัดทำระบบเรตติ้งใหม่ มาว่าจ้าง “นีลเส็น” เงื่อนไขที่จะนำเสนอคือให้ทีวีดิจิทัลใช้ข้อมูลเรตติ้งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย 5 ปี  

วรรณี รัตนพล

MRDA ผนึก 5 พันธมิตรชิงจัดทำเรตติ้ง

วรรณี รัตนพล นายกสมาคมวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ (ประเทศไทย) หรือ MRDA กล่าวว่าสมาคมได้ร่วมขับเคลื่อนการจัดทำระบบเรตติ้งใหม่ให้กับอุตสาหกรรมสื่อทีวีในประเทศไทย ร่วมกับทีวีดิจิทัลและมีเดียเอเยนซี ที่ใช้ข้อมูลเรตติ้งมาตั้งแต่ปี 2557 เนื่องจาก “ไม่แฮปปี้” กับระบบเรตติ้งทีวีเดิม

สำหรับการจัดทำเรตติ้งของ MRDA มีพันธมิตร 5 รายระดับโลก คือ กันตาร์, อินเทจ กรุ๊ป, Mediametrie ทำเรื่อง มิเตอร์เทคโนโลยี, Markdata ดูแลซอฟต์แวร์รายงานผล และ CESP องค์กรตรวจสอบ

โดยจะติดตั้งอุปกรณ์วัดเรตติ้งเครื่องรับชมทีวี 4,500 ชุด จำนวน 3,000 ครัวเรือน และอุปกรณ์วัดเรตติ้งบนอุปกรณ์รับชมที่เป็นสมาร์ทดีไวซ์ ในกลุ่มตัวอย่าง 3,000 คน เพื่อรายงานข้อมูลเรตติ้งทั้งจอทีวีและดิจิทัล แพลตฟอร์มแบบคู่ขนาน โดยจะใช้เวลาติดตั้งอุปกรณ์ 12-15 เดือน และเริ่มรายงานข้อมูลเรตติ้งได้ในเดือน ม.ค. 2564

MRDA เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ข้อมูลเรตติ้งที่จัดทำจะแบ่งปันให้องค์กรสาธารณะอื่นๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษานำไปใช้ประโยชน์”

ประวิทย์ มาลีนนท์

อดีตบิ๊กช่อง 3 ชงของบเพิ่ม

หลังจากผู้จัดทำเรตติ้งทั้ง 3 รายได้นำเสนอระบบการจัดทำเรตติ้งแล้ว มีความเห็นจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทีวี โดย ประวิทย์ มาลีนนท์ อดีตกรรมการผู้จัดการ ช่อง 3  บอกว่า ปัจจุบันรายได้โฆษณาทีวีลดลงเหลือ 1 ใน 3 โดยกระจายไปยังสื่อใหม่ และผู้ประกอบการทีวีในปัจจุบันมีรายได้ลดลง จึงมองว่าทีวีดิจิทัลไม่ควรต้องเป็นผู้จ่ายเงินซื้อเรตติ้งเหมือนที่ผ่านมา และขอเสนอให้ กสทช.พิจารณางบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติม จากที่เตรียมมอบให้ 431 ล้านบาท

ระยะเวลาใบอนุญาตทีวีดิจิทัลที่ยังเหลืออีก 10 ปี และจำนวนช่องที่เหลืออยู่ คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณจัดทำเรตติ้งราว 1,200 ล้านบาท หรือปีละ 120 ล้านบาท จึงเสนอให้ กสทช.สนับสนุนเพิ่มเติมอีก 800 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการจัดทำเรตติ้งจนจบอายุใบอนุญาต

พัฒนพงค์ หนูพันธ์

ขณะที่ พัฒนพงค์ หนูพันธ์ ผู้บริหาร ช่อง 7 กล่าวว่า ต้องการให้ กสทช.พิจารณาสนับสนุนงบจัดทำเรตติ้งให้ตรงตามวัตถุประสงค์ และอุตสาหกรรมควรพิจารณาเลือกบริษัทที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว.

]]>
1240456
รีวิวโฆษณาครึ่งปีแรกสื่อเก่ายังสาหัส “สิ่งพิมพ์” วูบหนัก “ทีวี-วิทยุ” ทรงๆ ทรุดๆ https://positioningmag.com/1239388 Wed, 17 Jul 2019 11:04:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239388 รายงานเม็ดเงินอุตสาหกรรมโฆษณาครึ่งปีแรก 2562 ของ นีลเส็น ประเทศไทย สรุปมูลค่ารวม 50,702 ล้านบาท ติดลบ 2% สื่อส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะถดถอย โดยเฉพาะสื่อดั้งเดิม (Traditional Media)

หากดูรายประเภท “สื่อสิ่งพิมพ์” ทั้งหนังสือพิมพ์และนิตยสาร มีอัตราการลดลงเป็นตัวเลข “สองหลัก” ในช่วง 6 เดือนแรก 2562 โฆษณาหนังสือพิมพ์ มีมูลค่า 2,388 ล้านบาท ติดลบ 17.74% นิตยสาร มูลค่า 515 ล้านบาท ติดลบ 21.13%

ช่วงครึ่งปีแรกมีหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับ โพสต์ทูเดย์, M2F และ The Nation “ปิดตัว” จากภาวะขาดทุนและรายได้โฆษณาสิ่งพิมพ์ถดถอย โดยปรับตัวสู่สื่อออนไลน์ ส่วน “นิตยสาร” มีทั้งหัวนอกและหัวไทย ทยอยปิดตัวมาอย่างต่อเนื่องและต้องปรับตัวสู่แพลตฟอร์มออนไลน์เช่นกัน

ทั้งปี 2562 สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ประเมินมูลค่าโฆษณา หนังสือพิมพ์ อยู่ที่ 4,880 ล้านบาท ติดลบ 20% ส่วนนิตยสาร มูลค่า 975 ล้านบาท ติดลบ 25%

ส่วนสื่อทีวี ที่ยังครองเม็ดเงินโฆษณาอันดับ 1 สัดส่วน 65% ของอุตสาหกรรมโฆษณา ครึ่งปีแรกอยู่ในอาการ “ทรงๆ ทรุดๆ” บางเดือนเป็นบวก บางเดือนติดลบ แม้ทิศทาง “ทีวีดิจิทัล” หลายช่องทำรายได้กระเตื้องขึ้นแล้วก็ตาม แต่ส่วนใหญ่ยังขาดทุน ตัวเลขโฆษณา 6 เดือนแรก สื่อทีวี จึงทำได้ 33,079 ล้านบาท ติดลบ 0.58% ปีนี้ MAAT มองเม็ดเงินโฆษณาทีวี “ทรงตัว” เท่าปีก่อน ที่มีมูลค่า 68,000 ล้านบาท

“วิทยุ” เป็นสื่อที่เม็ดเงินโฆษณาถดถอยตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเช่นกัน แต่เริ่มนิ่ง ไม่ลดลงมากนัก ปี 2561 มูลค่าโฆษณาอยู่ที่ 4,600 ล้านบาท โตได้ 4% ส่วน 6 เดือนแรกปีนี้ บางเดือนเป็นบวกบางเดือนติดลบ แต่ยังถดถอยเป็นตัวเลขหลักเดียว ไม่มากเท่าสื่อสิ่งพิมพ์ ครึ่งปีแรก โฆษณาวิทยุมีมูลค่า 2,176 ล้านบาท ติดลบ 3.63% โดย MAAT คาดการณ์โฆษณาวิทยุปีนี้ มูลค่าอยู่ที่ 4,370 ล้านบาท ติดลบ 5%

สำหรับสื่อที่เม็ดเงินโฆษณายังเติบโตได้ในครึ่งปีแรกมีเพียงสื่อดิจิทัลและสื่อนอกบ้าน เท่านั้น

]]>
1239388