บริการร่วมเดินทาง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 11 Dec 2018 03:25:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 โตแรง! Google คาดเศรษฐกิจดิจิทัลไทย ใหญ่อันดับ 2 ในภูมิภาค ทะลุ 1.4 ล้านล้านบาท ปี 2568 https://positioningmag.com/1201995 Sun, 09 Dec 2018 08:20:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1201995 Google ได้ออกมาเปิดเผยถึงมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย จะพุ่งขึ้นเป็น 4.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.4 ล้านล้านบาท) ในปี 2568  หรือเติบโตกว่า 7 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2015 โดยครอบคลุมใน 4 กลุ่มธุรกิจ คือ อีคอมเมิร์ซ, สื่อออนไลน์, บริการร่วมเดินทาง และท่องเที่ยวออนไลน์

เบน คิง หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ กูเกิล ประเทศไทย ให้รายละเอียดถึงผลการสำรวจมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ทางกูเกิลร่วมมือกับทางเทมาเส็ก เพื่อสำรวจระบบนิเวศดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน 4 กลุ่มหลักๆ ที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งอีคอมเมิร์ซ, สื่อออนไลน์, บริการร่วมเดินทาง และการท่องเที่ยวออนไลน์

โดยปีนี้ 2561 มูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะอยู่ที่ 7.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และจะเพิ่มเป็น 2.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2558 ซึ่งเป็นการปรับคาดการณ์ตัวเลขเพิ่มขึ้นจาก 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ที่คาดไว้ในปี 2558 เนื่องจาก 4 กลุ่มธุรกิจหลักมีการเติบโตเร็วกว่าที่คาดไว้ พร้อมกับการเพิ่มธุรกิจใหม่อย่างบริการจองที่พักออนไลน์ บริการส่งอาหาร และบริการสตรีมมิ่งทั้งเพลงและวิดีโอเข้ามาด้วย

ไทยเองได้กลายเป็นประเทศที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมากที่สุดในโลก จากปี 2558 ที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทยอยู่ที่ 38 ล้านคน ส่วนปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 45 ล้านคน ที่สำคัญกว่า 90% เข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ

มูลค่าตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยปัจจุบันอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท และปรับคาดการณ์ขึ้นมาเป็น 4.3 หมื่นล้านบาทภายในปี 2568 จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะอยู่ราว 3.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ สอดคล้องต่อมูลค่าตลาดรวมของภูมิภาคอาเซียน ที่ปรับเพิ่มขึ้น และถือว่าไทยเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาค รองจากอินโดนีเซีย 

เมื่อดูถึงอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลที่เกิดขึ้นทั้งในภูมิภาคอาเซียน และในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า ภายในปี 2568 เศรษฐกิจดิจิทัลจะเติบโตร่วมไปกับจีดีพีของภูมิภาค เศรษฐกิจดิจิทัลในไทย มีสัดส่วนอยู่ราว 2.7% ขณะที่ประเทศอย่างจีน และสหรัฐฯ มีสัดส่วนอยู่ที่ 6.5% และเริ่มอิ่มตัวแล้ว

ในส่วนของตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย มีอัตราเติบโตมากที่สุด ด้วยมูลค่าตลาดเกือบ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 หมื่นล้านภายในปี 2568 โดยในแต่ละประเทศจะเริ่มเห็นผู้นำในตลาดนี้ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงในแต่ละประเภทของสินค้า

ในกลุ่มของสื่อออนไลน์ จะเห็นว่า ตลาดประเทศไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมาจากทางด้านโฆษณา เกม และบริการสตรีมมิ่ง โดยปัจจุบันมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 2.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าในปี 2568 จะเพิ่มขึ้นเป็น 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ

บริการร่วมเดินทาง (Ride Hailing) ที่ในปัจจุบัน มูลค่าตลาดอยู่ที่ 700 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในปีที่ผ่านมา ถือว่ามีอัตราการเติบโตลดลง เนื่องจากการควบรวมบริการของแกร็บ และอูเบอร์ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันเท่าที่ควร และคาดการณ์ว่าในปี 2025 จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

หลังจากนี้ บริการร่วมเดินทางจะหันไปแข่งขันในการเพิ่มมูลค่าด้วยการเปลี่ยนเป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้งานในชีวิตประจำวัน เพิ่มเติมจากรถโดยสาร กลายเป็นการให้บริการขนส่งอาหาร ส่งสินค้า ไปจนถึงบริการทางการเงิน

ตลาดท่องเที่ยวออนไลน์ จะจาก 2 ส่วนหลักๆ คือ ทางสายการบิน และแพลตฟอร์มจองสถานที่ท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA) โดยปัจจุบันในไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 6.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะเติบโตเป็น 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2025

ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ไทย รวมถึงประเทศในภูมิภาคอาเซียน สามารถเติบโตตามที่คาดการณ์ไว้ คือ เรื่องของการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะทางด้านดิจิทัล โดยจำเป็นที่ต้องขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 10% และเป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันทั้งจากภาครัฐ และเอกชน

]]>
1201995
9 ข้อ กับอนาคต “แกร็บ” หลังรวมอูเบอร์ เดลีไลฟ์แอป เตรียมขยับสู่ธุรกิจ “นาโน ไฟแนนซ์” https://positioningmag.com/1169366 Thu, 10 May 2018 00:08:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169366 ครบ 1 เดือนพอดี นับตั้งแต่ 9 เม.. 61 ที่ลูกค้าอูเบอร์ต้องย้ายมาใช้บริการแกร็บเต็มตัว แกร็บมีประเด็นร้อนให้ติดตามหลายเรื่อง โดยเฉพาะรูปแบบบริษัทหลังการควบรวมอูเบอร์ รวมถึงแนวทางให้บริการนับจากนี้

1. แกร็บต้องการเป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับทุกวัน

วิสัยทัศน์นี้ของแกร็บเกิดขึ้นเพราะการสำรวจครั้งล่าสุด ที่แกร็บพบว่าทุกวันนี้ชาวดิจิทัลต้องการแอปพลิเคชั่นเดียว โดยในวันหนึ่ง คนส่วนใหญ่อยากเปิดแค่ 1 แอปพลิเคชั่นที่จะมีทุกบริการในนั้น แกร็บจึงวางเป้าหมายใหญ่ว่าจะเป็นเดลีไลฟ์แอป ซะเลย

การจะเป็นแอปสำหรับทุกวันได้ ต้องทำให้แกร็บเป็นแอปที่ตอบโจทย์ออฟไลน์ได้หมด 

ธรินทร์ ธนียวัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แกร็บ แท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุ

ก่อนนี้แกร็บ เป็นแอปพลิเคชั่นเรียกรถแท็กซี่ หรือ เรียกรวมว่า ระบบร่วมเดินทาง หรือ Ridesharing  แต่หลังจากรวมกิจการอูเบอร์ เข้ามา รวมเอาฐานลูกค้า และบริการต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน ก็ทำให้มองไกลกว่าเดิม ด้วยการวางเป้าหมายเป็นแอปเดียวที่เชื่อมการใช้จ่าย การเดินทาง และบริการหลายอย่างเข้าด้วยกัน ที่ผ่านมา แกร็บอาจมีพันธมิตรหลักคือคนขับแต่จากนี้ แกร็บจะหาพันธมิตรที่เป็นธุรกิจเอสเอ็มอี และร้านอาหารให้มากขึ้น ซึ่งวันนี้แกร็บมีพันธมิตรทั้งภูมิภาคกว่า 6 ล้านรายแล้ว

ธรินทร์ อธิบายว่า วันนี้แกร็บได้เพิ่มขอบเขตบริการจากการรับส่งผู้โดยสารมาให้บริการส่งของ บริการส่งอาหาร กระทั่งเมื่อปีที่แล้ว แกร็บออกระบบคะแนน ให้ผู้โดยสารนำคะแนนไปแลกบริการและสินค้ากับพันธมิตรได้ ล่าสุดคือ 2-3 เดือนที่ผ่านมา แกร็บเริ่มประสานงานเพื่อให้บริการสินเชื่อรายย่อยแก่ผู้ขับ และที่สิงคโปร์มีให้บริการเช่าจักรยานแล้ว

แกร็บเชื่อว่าด้วยธุรกิจที่มีหลายขา บริษัทจะรวมทุกอย่างส่งให้ผู้บริโภค นี่คือวิสัยทัศน์ที่เรามีในอนาคต

2. สัดส่วนธุรกิจแกร็บจะเปลี่ยนแปลงชัดเจน

ผู้บริหารแกร็บเชื่อว่า จากธุรกิจเดินทางขนส่งด้วยรถ 4 ล้อและ 2 ล้อที่เป็นธุรกิจหลักของแกร็บ ในอนาคตธุรกิจส่งอาหารอย่างแกร็บฟู้ด น่าจะเปลี่ยนขึ้นมาครองสัดส่วนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจหลักของแกร็บก็จะยังมีขนาดเม็ดเงินหมุนเวียนสูงมากขึ้นต่อไป เพราะกลุ่มเดินทางขนส่ง 2 ล้อจะขยายตัวมากกว่านี้ ผลจากวินมอเตอร์ไซค์สามารถทำเที่ยววิ่ง หรือทำรอบได้มากขึ้นต่อวัน

3. แกร็บฟู้ดคือ 1 ในบริการหัวหอก

บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นอย่างแกร็บฟู้ดนั้นเพิ่งเริ่มให้บริการ 3-4 เดือน แต่ได้รับผลตอบรับ จากการที่ช่วงแรกเปิดให้บริการในรัศมี 5 กิโลเมตรนอกจากผู้สั่งสามารถติดตามได้ตลอดว่าอาหารอยู่ที่ไหน สามารถพิมพ์แชตสั่งอาหารได้โดยไม่ต้องโทร

ที่สำคัญคือ ให้บริการฟรีในช่วง 4 เดือนแรกเพื่อสร้างฐานลูกค้า

ปัจจุบันแกร็บฟู้ดมีพันธมิตรเกิน 4,000 ร้าน ตลอด 4 เดือนที่ผ่านมา ออเดอร์สั่งอาหารเติบโต 440% โดยออเดอร์เหล่านี้เกิดจากการที่เปิดแอปแกร็บแล้วพบเมนูสั่งอาหารได้ทุกเวลา

ผู้บริหารแกร็บยืนยันว่า แกร็บฟู้ดได้รับอานิสงส์เล็กน้อยเท่านั้นจากการควบรวมอูเบอร์อีทส์ เนื่องจากบริการส่งอาหารของอูเบอร์มีพันธมิตรร้านค้าประมาณ 1,000 ร้าน ในขณะที่แกร็บมีประมาณ 2,000-3,000 ราย ซึ่งเมื่อมารวมกัน แกร็บต้องทำสัญญากับแต่ละร้านใหม่อีกครั้ง

ถามว่าเราพร้อมจะแข่งขันไหม เราส่งฟรีมา 4 เดือนจนคู่แข่งรายอื่นยกเลิกบริการฟรีไปหมดแล้วโดยบอกว่าลูกค้าแกร็บฟู้ดจะเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับรับประทานที่ร้าน ซึ่งหลังจากวันที่ 1 มิถุนายน จะมีค่าบริการส่งเริ่มต้นที่ 10 บาท

ธรินทร์ ย้ำว่า ความสำเร็จนี้คือผลจากการเป็นวันสต็อปเซอร์วิสแอปโดยอีก 2 สัปดาห์ ผู้ใช้แกร็บทุกคนจะเห็นเมนูแกร็บฟู้ดในสมาร์ทโฟนของตัวเอง โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปใดเพิ่มเติม

4. ปรับโครงสร้างองค์กรรับมือ 3 บริการหลัก

แกร็บลงมือปรับโครงสร้างองค์กรรองรับ 3 บริการ คือ 1. บริการเดินทางขนส่ง (ทั้งมอเตอร์ไซค์และรถยนต์) 2. บริการส่งของ (ทั้งอาหารและสิ่งของ) 3. บริการชำระเงิน

แกร็บบอกว่าจะต้องทำให้ได้ 3 อย่าง คือต้องปลอดภัย ต้องเป็นบริการที่เข้าถึงได้ทุกคน และต้องเป็นประโยชน์กับชุมชน และช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้ขับดีขึ้น มีการสอนภาษาอังกฤษ และในอนาคตยังไปถึงการให้เงินกู้แก่คนขับด้วย

5. เดินหน้าเข้าเตรียมเปิด “นาโน ไฟแนนซ์”

การให้เงินกู้กับคนขับถือเป็นสเต็ปแรก ธรินทร์บอกว่าหนึ่งในสิ่งที่แกร็บต้องการทำมากที่สุด คือวันนี้คนขับมอเตอร์ไซค์ แท็กซี่ ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ ไม่มีหลักฐานเงินเดือนทำให้ธนาคารปฏิเสธ แต่แกร็บจะมีข้อมูลการขับ มีข้อมูลรายได้ แกร็บจึงกำลังเตรียมเปิดบริการเงินกู้ให้กับผู้ขับของแกร็บ โดยที่ไม่ต้องส่งหลักฐานเพิ่มเติม

เป้าหมายต่อไป คือ บริการทางการเงิน แกร็บเดินหน้าขอใบอนุญาตจากแบงก์ชาติ เพื่อให้บริการอีวอลเล็ต อาจต้องใช้เวลา 3-4 เดือน ทำให้การขยายผลระบบแกร็บเพย์ (Grab pay) ไม่เกิน 1 ปีน่าจะให้บริการทางการเงินได้ในรูปแบบนาโนไฟแนนซ์

6. ยืนยันค่าบริการไม่เปลี่ยนแปลง

หลังควบรวมอูเบอร์ อัตราค่าบริการรถโดยสารของแกร็บถูกระบุว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะตัวคูณช่วงรถติด ที่จะลดลงจนแทบจะไม่มี 

เป็นเพราะคนขับรถกับแกร็บมากขึ้น ลูกค้าจะเรียกรถได้ง่ายขึ้นด้วย แต่ต้องยอมรับว่าเรายังต้องมีตัวคูณช่วงฝนตก เพื่อให้ราคาค่าโดยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งจะจูงใจผู้ขับให้อยากรถขับรับส่งผู้โดยสารในช่วงฝนตกรถติด

ในมุมจำนวนรถ การควบรวมรถของอูเบอร์เข้ามาทำให้จำนวนผู้ขับแกร็บเพิ่มขึ้นราว 10% แต่ตัวเลขผู้โดยสารที่เรียกรถ แกร็บปฏิเสธไม่เปิดเผย 

แท็กซี่ไทยวันนี้ 9 หมื่นคัน คาดว่าอย่างน้อย 20% ขับแกร็บ

กรณีการปรับโครงสร้างบริษัท แกร็บไม่เปิดเผยชัดเจนว่าจะยุบรวมพนักงานอูเบอร์ไทยหรือให้ออก โดยบอกเพียงว่าไม่มีผู้บริหารแกร็บใดลาออก และที่แกร็บทำคือการพยายามหาทางออกที่เหมาะสม 

เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่เลือกได้ว่าจะอยู่หรือไป พร้อมบอกว่า แกร็บใช้เวลา 2-3 เดือนที่ผ่านมาคุยรายคน แต่ไม่เปิดเผยจำนวนพนักงานอูเบอร์ไทยรวม

สำหรับตัวธรินทร์เอง ก่อนจะมาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บประเทศไทย ผู้บริหารรายนี้มาจากลาซาด้า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในช่วงที่ลาซาด้าทำโครงการร่วมกับอาลีบาบา โดยธรินทร์ร่วมงานกับแกร็บมานาน 4 เดือนเท่านั้น

ที่สำคัญ ผู้บริหารแกร็บเชื่อว่าดีลแกร็บซื้ออูเบอร์ในอาเซียนนั้นไม่ทำให้เกิดการผูกขาด เนื่องจากวันนี้คนไทยยังมีตัวเลือกหลากหลาย สามารถเรียกมอเตอร์ไซค์ได้ หรือเดินทางรถไฟฟ้าได้ 

แกร็บยืนยันว่าจะไม่มีการตัดธุรกิจใดออก และตั้งเป้าขยายให้บริการแกร็บคลุม 20 จังหวัดทั่วไทยในปีนี้ จากปัจจุบันที่ขยายไปแล้ว 16-17 จังหวัดใหญ่ทั่วไทย

7. ยอดใช้แกร็บไม่ได้เกิดเพราะโปรโมชั่น

พฤติกรรมลูกค้าแกร็บในวันนี้ ธรินทร์ระบุว่าน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้แกร็บที่เรียกใช้บริการเพราะโปรโมชั่น โดยบอกว่าลูกค้าที่คลิกซื้อสินค้าออนไลน์ยังอาจรอให้มีโปรโมชั่นก่อน แต่การเดินทางนั้นต้องเดินทางวันนี้ ตอนนี้ ทำให้ยอดใช้งานแกร็บไม่ได้เกิดเพราะโปรโมชั่น

8 ปัญหายังไม่ถูกกฎหมาย

สำหรับกรณีที่ แกร็บ ยังคงมีปัญหาเรื่อง กฎหมาย ใช้รถส่วนบุคคลมารับจ้างล่าสุด กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกรุงเทพมหานคร หรือ กอ. รมน. กรุงเทพฯ จะเอาจริงในการจัดระเบียบแกร็บ กำชับให้แกร็บทำตามกฎหมายด้วยการใช้เฉพาะรถป้ายเหลืองเท่านั้น

ประเด็นนี้ ธรินทร์เผยว่าแกร็บได้พยายามประสานเพื่อหาทางออกที่ดีที่สุด พร้อมกับย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยต้องค่อยเป็นค่อยไป และควรคำนึงถึงผลได้ผลเสีย 

เราคุยมา 3 ปีแล้ว ต้องตระหนักเรื่องหนึ่งว่าเราก็มีภาระรับผิดชอบกับกลุ่มผู้โดยสารและคนขับ มีคนขับหลายคนที่สร้างตัวมากับเรา ถ้าวันหนึ่งเขาขาดเราไปก็จะเดือดร้อน เราหวังว่าจะมีทางคุยที่เหมาะสม

แม้หน่วยงานราชการไทยตั้งธงว่ารถที่ให้บริการรับส่งต้องเป็นป้ายเหลือง แต่ผู้บริหารแกร็บมั่นใจว่าจะมีทางออกที่เหมาะกับทุกฝ่าย โดยบอกว่าในหลายประเทศรอบข้าง แกร็บสามารถให้บริการอย่างถูกกฎหมาย และเมื่อบวกกับวิสัยทัศน์รัฐบาลไทย ทั้งเรื่องไทยแลนด์ 4.0 เรื่องค่าครองชีพ หรือเรื่องสังคมไร้เงินสด ทั้งหมดแกร็บตอบโจทย์ได้ดี

แกร็บยินดีจดทะเบียน หรือให้ข้อมูลตามที่หน่วยงานรัฐต้องการ ผมเชื่อว่าวันนี้ คนขับแกร็บทุกคนไม่มีปัญหาในการจดทะเบียน

9. ตอบโจทย์ขนส่ง 4.0

แกร็บมองว่าวันนี้ระบบขนส่งมวลชนของไทยยังไม่ 4.0 ยังไม่มีระบบมารองรับ ธรินทร์จึงคิดว่าไทยสามารถใช้ระบบแกร็บมาตอบโจทย์นี้ได้ ขณะเดียวกันแกร็บจะทำให้เกิดสังคมไร้เงินสดได้จริงด้วย ส่งให้สังคมไทยเปลี่ยนไปสู่สังคมนวัตกรรมได้.

]]>
1169366
7 สถิติ Grab ปักหลักขยายฐานอาเซียน https://positioningmag.com/1169081 Tue, 08 May 2018 10:15:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169081 1169081 “เทพนักงาน-คู่ค้า” ปมร้อน กรณีศึกษา “สื่อสารล้มเหลว” หลังดีล Grab-Uber มีแต่ข่าวลบ https://positioningmag.com/1164064 Sat, 31 Mar 2018 02:00:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164064 ภายหลังจากข่าว Grab เข้าซื้อกิจการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Uber ถูกประกาศ ปรากฏ Uber ถูกมองว่ากำลังอยู่ใน น้ำร้อน” เพราะรายงานหลายฉบับระบุถึงพนักงานและคู่ค้าที่ได้รับผลกระทบจากการควบรวมกิจการ สะท้อนว่า Uber กำลังอ่วมพิษ “การสื่อสารภายในองค์กรที่ผิดพลาด” ซึ่งอาจจะเป็นกรณีศึกษาที่ดีมากสำหรับวงการพีอาร์องค์กร

รายงานจากหลายสื่อชี้ว่า พนักงานของ Uber ได้รับคำสั่งให้ย้ายสิ่งของออกไปและรอดำเนินการเรื่องเงินชดเชย โดยวิดีโอภาพพนักงาน Uber กำลังเคลื่อนย้ายสิ่งของ เกิดรั่วไหลแพร่กระจายสู่โลกออนไลน์ แม้ว่าแถลงการณ์ก่อนหน้านี้ โฆษกของ Uber จะปฏิเสธว่าไม่มีการลอยแพพนักงาน และเสริมว่า Uber รวมถึง Grab พยายามมุ่งมั่นทำให้พนักงานของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

โฆษกของ Grab เคยระบุก่อนหน้านี้ว่าพนักงาน Uber รวมทั้งผู้บริหารในสำนักงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะได้รับการเสนอให้ทำงานต่อที่ Grab ในขณะที่พนักงานของ Uber ที่ทำงานในสำนักงานนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะยังคงทำงานใน Uber ต่อไป 

หลังจากมีรายงานข่าวนี้ Grab ชี้แจงว่าพนักงานของ Uber หลายรายไม่ได้รับการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากบริษัทไม่มีข้อมูลการติดต่อ

ชะตากรรมของพนักงาน Uber ยังเป็นข่าวให้ตื่นเต้นได้อีก เมื่อมีรายงานหลายฉบับระบุว่าหลายบริษัทแห่ติดต่อพนักงาน Uber ในช่องทางดิจิทัล และเสนอโอกาสในการทำงานในบริษัทใหม่ โดยล่าสุดพบโพสต์บนเครือข่ายสังคมคนทำงาน LinkedIn มีการสร้างทางลัดหรือ shoutout ให้ผู้สนใจสามารถติดต่อกับพนักงาน Uber เพื่อเสนองานใหม่ได้เร็วขึ้น

ไม่แค่พนักงาน หลายรายงานยังแสดงผลกระทบแง่ลบเรื่องพันธมิตรด้วย เช่น รายงานของสื่อสิงคโปร์ที่ระบุว่าพันธมิตรของ Uber กำลังได้รับผลกระทบจากข่าวการควบรวมกิจการ เช่น พันธมิตรรถเช่า Lion City Rentals (LCR) ที่ประกาศในสื่อสังคมออนไลน์ว่าบริษัทและ UberHUB จะถูกปิดจนกว่าจะมีข้อมูลประสานงานเพิ่มเติม โดย LCR เป็นบริษัทในเครือของ Uber ซึ่งบริษัทรถแท็กซี่ ComfortDelGro มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ 51%

บริษัทรถเช่า LCR เปิดเผยว่า ยังคงต้องการความชัดเจนมากขึ้นจากการควบรวม Grab และ Uber ซึ่งคำชี้แจงนี้สะท้อนว่าทั้ง Uber และ Grab ไม่มีการสื่อสารภายในที่ชัดเจน

การควบรวมกิจการนี้ยังส่งผลกระทบถึงพันธมิตรบริการ UberEATS จากโครงการเอาใจลูกค้า LiveUp ของ Lazada ซึ่งลูกค้าจะได้รับส่วนลดจากบริการ เช่น Lazada, RedMart, Netflix, Taobao Collection, Uber และ Uber Eats แต่เมื่อการควบรวมกิจการเกิดขึ้น จึงยังไม่มีความชัดเจนใดถูกสื่อสารออกมาในขณะนี้

ยังมีบริษัท F&B พันธมิตรผู้ร่วมมือกับ UberEATS ได้แสดงความกังวลเรื่องการควบกิจการ เพราะยังไม่มีความชัดเจนในแง่ของสัญญา รายละเอียดค่าคอมมิชชั่น และรูปแบบขอบเขตการจัดส่งใหม่ 

ทั้งหมดนี้ถือเป็นกรณีศึกษาสำคัญ เพราะนักการตลาดนั้นมองว่า Uber และ Grab นั้นควรสื่อสารกับพนักงานและคู่ค้าให้ดี แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนในการควบรวมกิจการก็ตาม

ในขณะที่รายละเอียดของการซื้อกิจการควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด Uber ควรร่วมมือกับผู้บริหารอาวุโสที่เป็นที่เชื่อถือ ให้คนกลุ่มนี้สื่อสารกับทีมของตัวเอง Lina Marican กรรมการผู้จัดการ บริษัท Mutant Communications ให้ความเห็น

ด้าน Lars Voedisch ที่ปรึกษาหลักและ MD ของ PRecious Communications มองในแง่ร้ายกว่านั้น โดยวิเคราะห์ว่าการสื่อสารเรื่องการควบรวมกิจการครั้งนี้ถูกจัดภาพให้มีลักษณะรีบร้อน เนื่องจากการควบรวมกิจการหรือการเข้าถือหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มักมีแผนการสื่อสารที่เตรียมพร้อมสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลหลายช่องทาง ซึ่งภาพงานเร่งด่วน” จะทำให้ได้รับความเห็นอกเห็นใจ แถมยังไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชน พนักงาน กลุ่มผู้ขับ และผู้โดยสาร 

ทั้งหมดนี้สะท้อนว่า Uber กำลังได้รับผลกระทบจากภาวะ “bad PR” ขณะที่การสื่อสารยังถูกมองว่าเย็นชา และขาดความเอาใจใส่ แม้จะมีข้อความยืนยันว่า จะดูแลให้การสื่อสารกับพนักงานทำได้อย่างเหมาะสมต่อไป

อีกจุดน่าสนใจ คือ การตอบสนองต่อข่าวลือในเชิงลบของ Grab ซึ่งพยายามแสดงจุดยืนในโหมดปกป้องตัวเอง โดย Grab ย้ำว่าไม่มีสิทธิ์ในการสื่อสารกับพนักงานของ Uber อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ถือเป็นอีกกรณีศึกษาที่แบรนด์ควรป้องกัน ไม่ให้พนักงานสับสน โกรธ และประกาศความไม่พอใจของตัวเองบนสื่อสังคมออนไลน์.

ที่มา : marketing-interactive.com/grab-uber-merger-did-internal-communications-fall-short/

]]>
1164064
Grab ยืนยันราคา-รูปแบบแอปไม่เปลี่ยนหลังควบรวม Uber แต่ยอมรับว่า “ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการร่วมงานกับเรา” https://positioningmag.com/1164038 Fri, 30 Mar 2018 07:12:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164038 กำลังเป็นที่จับตามอง หลังจากแกร็บ (Grab) ควบรวมกับอูเบอร์ (Uber) คู่แข่งในตลาดบริการรถร่วมเดินทางทำให้แกร็บกลายเป็นผู้ให้บริการครองตลาดส่วนใหญ่ไปเลยทันทีและเมื่อตลาดไม่มีการแข่งขันเหมือนเดิมแล้วอาจส่งผลถึงค่าบริการที่อาจเพิ่มสูง

แต่ผู้บริหารใหญ่ในมาเลเซีย ได้ออกมาระบุว่า แอปพลิเคชันของ Grab จะยังคงเหมือนเดิม เช่นเดียวกับการกำหนดราคา รวมถึงประสบการณ์ใช้งานในภาพรวม

ฌอง โกห์ (Sean Goh) หัวหน้าทีมบริหาร Grab ประเทศมาเลเซีย Grab จะยังคงราคาค่าบริการไว้เช่นเดิม ไม่ขึ้นราคา เนื่องจากการเพิ่มราคาอาจส่งให้ความต้องการใช้บริการ Grab ลดลง และทำให้ผู้ขับขี่เสียยอดเรียกรถ และจะอาจส่งผลกระทบถึงรายได้ของ Grab ในที่สุด

ฌอง โกห์ (Sean Goh) หัวหน้าทีมบริหาร Grab ประเทศมาเลเซีย

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร Grab มาเลเซีย มองว่าราคาเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ แต่ถ้าจะขึ้นราคา หลักๆ มาจาก 1.กฏระเบียบภาครัฐอาจผลักดันราคาค่าบริการให้สูงขึ้น 2. ภาวะรถยนต์และน้ำมันลด ราคาลง ก็อาจส่งผลให้ราคาค่าบริการลดลงด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นปัจจัยส่งทั้ง 2 ด้านเรื่องราคาบริการของ Grab ในอนาคต

การแข่งขันไม่ใช่เรื่องดีสำหรับธุรกิจนี้เท่ากับจำนวนผู้ขับขี่และผู้ใช้

Goh ยืนยันว่าการรวมกันระหว่าง Grab และ Uber จะไม่กระทบการแข่งขัน โดยบอกว่าแม้การแข่งขันจะเป็นปรัชญาที่ดีสำหรับผู้บริโภค แต่เรื่องนี้เป็นจริงในบางกรณีเท่านั้น ซึ่งในตลาดรถร่วมเดินทาง ทุกอย่างไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแข่งขันของแพลตฟอร์ม เพราะประสิทธิภาพของการโดยสารจะถูกสร้างขึ้นจากความหนาแน่นของผู้ขับขี่และผู้ร่วมเดินทางด้วย

ด้วยจำนวนผู้ขับขี่ที่มีคุณภาพมากขึ้น เราคาดว่าลูกค้าจะรอคอยสั้นลง สามารถขึ้นรถได้เร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีสำหรับผู้ขับ และเพิ่มความน่าเชื่อถือที่ดีกว่าสำหรับผู้โดยสาร

Goh ระบุว่าไม่มีแผนจะเปลี่ยนรูปแบบให้บริการ ขณะเดียวกันก็จะเน้นความโปร่งใส โดยยอมรับว่าบางครั้ง ผู้ขับขี่ Grab ในมาเลเซียมีปัญหาเลือกปฏิบัติ โดยปฏิเสธที่จะเดินทางไปยังจุดหมายแม้ว่าจะมีมาตรการเพื่อควบคุมพฤติกรรมดังกล่าว

สำหรับปัญหาการผูกขาด Goh ระบุว่า Grab ได้หารือกับหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการแข่งขันแล้ว โดย Grab ระบุว่าผู้บริโภคยังมีทางเลือกการขนส่งอื่นเช่นเดิม

คำให้สัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากวันที่ 26 มีนาคม 2018 รายใหญ่อาเซียนอย่าง Grab ยืนยันว่าได้ซื้อกิจการของ Uber ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยบริษัทซอฟต์แบงก์ (SoftBank) สัญชาติญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของบริษัทผลผลิตจากการควบรวม ภายใต้ข้อตกลงนี้ Grab จะได้รับการดำเนินงานทั้งหมดของ Uber รวมถึง Uber Eats ซึ่งเป็นบริการจัดส่งอาหาร ในขณะที่ Uber จะรับผลตอบแทนตามจำนวนหุ้นที่ถือ 27.5% ใน Grab และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Uber อย่าง Dara Khosrowshahi จะเข้าร่วมนั่งเก้าอี้คณะกรรมการ Grab

สื่อมาเลเซียย้ำว่าแอป Uber จะปิดตัวลงในวันที่ 8 เมษายน ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ Grab ประกาศว่าแอพ Uber จะให้บริการต่อไปอีก 2 สัปดาห์นับจากวันที่ 26 มีนาคม โดยผู้ขับในระบบของ Uber จำเป็นต้องลงทะเบียนกับ Grab ใหม่อีกครั้ง ขณะที่ข้อมูลในบัญชีของ Uber ของทั้งคนขับและผู้โดยสารจะถูกย้ายมายัง Grab โดยอัตโนมัติ

สำหรับบริการส่งอาหาร UberEats กำหนดการในมาเลเซียนั้นเหมือนกับประเทศไทยคือจะให้บริการถึงพฤษภาคม 2018 จากนั้นข้อมูลรายชื่อผู้จัดส่งและร้านอาหาร จะถูกโอนไปยัง Grab ภายใต้บริการ GrabFood

สำหรับชะตากรรมของพนักงาน Uber กว่า 500 คนในอาเซียน ผู้บริหารยอมว่า Grab ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่เพื่อพิจารณาว่าใครต้องการทำงานร่วมกับ Grab ต่อ เนื่องจาก ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องการเข้าร่วมกับเรา” แม้ว่าหลังจากรวมกิจการ Grab จะมีตำแหน่งเป็นหนึ่งในบริการที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยให้บริการใน 191 เมือง ทั่วมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า และกัมพูชา.


source : https://mgronline.com/cyberbiz

]]>
1164038
Grab กินรวบตลาด เตรียมปิดดีลซื้อ Uber ในอาเซียน https://positioningmag.com/1161043 Fri, 09 Mar 2018 11:21:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1161043 แกร็บ (Grab) บริษัทให้บริการร่วมเดินทางรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังใกล้ปิดดีลซื้อกิจการบางส่วนของอูเบอร์ (Uber) ในอาเซียนเต็มที โดยแหล่งข่าวรอยเตอร์ส ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดดีลที่คาดว่าจะถูกประกาศในเร็ววันนี้ ซึ่งหากการขายกิจการเกิดขึ้นจริง จะถือว่า Uber “ล่าถอยครั้งที่สอง” ในตลาดเอเชียหลังจากที่ยกธงขาวในตลาดจีนก่อนหน้านี้

Grab นั้น เป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ โดยสื่อชี้ว่า หากข้อตกลงซื้อขายกิจการระหว่าง Grab และ Uber เกิดขึ้นจริง ก็จะมีรูปแบบคล้ายคลึงกับข้อตกลงที่เคยเกิดขึ้นในประเทศจีนเมื่อปี 2016 ซึ่งเป็นปีที่บริการร่วมเดินทางสัญชาติจีน Didi Chuxing ได้ซื้อกิจการของ Uber ในจีน เพื่อแลกกับหุ้นของ Didi Chuxing เป็นการตอบแทน

ดังนั้น กรณีของ Grab และ Uber แหล่งข่าววงในระบุว่า Uber จะเข้าถือหุ้นใน Grab ซึ่งปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดจำนวนหรือมูลค่าหุ้นที่ทั้ง 2 บริษัทเจรจากัน

ข่าวการเจรจาระหว่าง Grab และ Uber นั้นร้อนแรงตั้งแต่ปลายกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ล่าสุด สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคมว่า Grab กำลังใกล้บรรลุข้อตกลงในการเข้าซื้อธุรกิจของ Uber ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เต็มที และอาจลงนามข้อตกลงในสัปดาห์นี้ หรือสัปดาห์ถัดไป ซึ่งยังไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการในขณะนี้

การยกธงเลิกแข่งในตลาดอาเซียนของ Uber ถือเป็นสัญญาณสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในตลาดแอปพลิเคชันรถร่วมเดินทาง ที่ผ่านมา บริษัทในอุตสาหกรรมนี้พยายามเทเงินหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่ออัดฉีดให้ตลาดมีการแข่งขัน ซึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทเหล่านี้อยู่ในภาวะขาดทุน เนื่องจากต้องเทเงินสร้างแรงจูงใจให้ผู้ขับขี่ และยังต้องแข่งกันมอบส่วนลดสำหรับผู้โดยสาร

อย่างไรก็ตาม การซื้อขายกิจการโดยแลกหุ้นระหว่างคู่แข่งนี้ ถือว่ามีความเสี่ยงทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์ เนื่องจากหาก Grab และ Uber ไม่ใช่คู่แข่งกัน ทั้ง 2 บริษัทอาจมองว่าไม่มีความจำเป็นต้องแข่งกันให้ส่วนลดอีกต่อไป

สำหรับตลาดอาเซียน รายงานระบุว่า วันนี้ Grab เป็นเบอร์หนึ่งในตลาดที่มีประชากรมากกว่า 640 ล้านคน โดยที่ผ่านมา Uber สัญชาติอเมริกัน ก็มีฐานตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเดินหน้าจับมือกับบริษัทผู้ให้บริการรถแท็กซี่ชั้นนำของสิงคโปร์อย่าง ComfortDelgro ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

เบื้องต้น เสี่ยวเฟิง หวัง (Xiaofeng Wang) นักวิเคราะห์บริษัทที่ปรึกษาฟอร์เรสเตอร์ (Forrester) มองว่า Grab มีจุดยืนที่เหนือกว่า Uber มากในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีความเข้าใจตลาดในท้องถิ่นที่ดีกว่า ซึ่งหาก Grab สามารถควบรวมกับ Uber ได้ในอาเซียน ก็จะทำให้ Grab มีอำนาจในการทำตลาดที่ดีขึ้นอีก

การเปลี่ยนแปลงใน Uber ถูกมองว่า เกี่ยวโยงโดยตรงกับซอฟต์แบงก์ (SoftBank Group) กลุ่มทุนหลักที่ซื้อหุ้น Uber จำนวนมากเมื่อมกราคมที่ผ่านมา โดย SoftBank ก็เป็นหนึ่งในผู้ลงทุนหลักของ Grab ซึ่งคาดว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการเจรจาเพื่อควบรวมกิจการระหว่าง Uber กับ Grab ในครั้งนี้

ทั้งหมดนี้ นักวิเคราะห์ เชื่อว่า Uber ต้องมุ่งเน้นไปที่ตลาดซึ่งตัวเองทำได้ดี และมีข้อได้เปรียบมากกว่า เช่น ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ทำให้ต้องตัดใจเฉือนเนื้อบางส่วนเพื่อรักษาหัวใจเอาไว้ โดยขณะนี้ทั้ง Grab และ Uber ต่างเก็บตัวเงียบ ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อรายงานข่าวที่เกิดขึ้น

ที่ผ่านมา แม้ว่า Uber จะรู้ว่า ตัวเองต้องขาดทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่บริษัทก็ยังคงลงทุนต่อเนื่อง โดยซีอีโอ Uber “ดารา คาสโรว์ชาฮี” (Dara Khosrowshahi) ย้ำหนักแน่นในระหว่างการเยือนอินเดียเมื่อเดือนที่แล้ว

สำหรับ Grab ข้อมูลระบุว่า Grab มีเครือข่ายรถส่วนตัว รถจักรยานยนต์ รถแท็กซี่ และบริการเช่ารถผ่าน 8 ประเทศ ด้วยสถิติผู้ขับมากกว่า 2.3 คน โดยขณะนี้กำลังขยายไปสู่บริการชำระเงินแบบดิจิทัล ล่าสุด Grab ถูกประเมินว่า มีมูลค่าตลาดประมาณ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้รับเงินทุนจากจีน China Investment Corp ที่ร่วมทุนระหว่าง GGV Capital และ Vertex Ventures ซึ่งมีดีกรีเป็นบริษัทย่อยของเทมาเสก (Temasek Holdings) ยักษ์ใหญ่สิงคโปร์.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000023934

]]>
1161043
ทำไม Uber อาจต้องขายธุรกิจในอาเซียนให้ Grab? https://positioningmag.com/1157890 Wed, 21 Feb 2018 04:21:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1157890 อูเบอร์ (Uber) ผู้ให้บริการรถร่วมเดินทางรายใหญ่เป็นข่าวว่า อาจตัดสินใจขายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กับคู่แข่งอย่างแกร็บ (Grab) เพื่อปรับปรุงฐานะทางการเงินของตัวเองในช่วงเวลาที่กำลังเตรียมนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ และเสนอขายหุ้นครั้งแรก หรือ IPO รายงานชี้มีแนวโน้มที่ดีลจะระบุให้ Uber ได้รับหุ้นใน Grab เป็นการตอบแทน ด้านซีอีโอ Uber ยืนยันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า การดำเนินงานใน “ตลาดกำลังพัฒนา” เป็นการลงทุนที่ไม่จำเป็นสำหรับบริษัท

รายงานจากสำนักข่าวซีเอ็นบีซี (CNBC) ระบุว่า Uber เตรียมอาบน้ำแต่งตัวพร้อมจะขายธุรกิจในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ให้แก่บริษัทแท็กซี่คู่แข่งรายอื่น โดย CNBC กล่าวว่า Uber จะได้รับหุ้นจำนวนไม่น้อยใน Grab เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่กำลังเกิดขึ้น

ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก (Bloomberg) เคยรายงานเมื่อปี 2017 ว่า Uber กำลังต้องดิ้นรนอย่างหนัก เพื่อแข่งขันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากคู่แข่งอย่าง Grab เปิดตัวฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย และกระบวนการชำระเงินทางเลือกที่ Uber ไม่มี จุดนี้สื่ออเมริกันจึงวิเคราะห์ว่า Uber พยายามแก้เกมด้วยการผลักดันรูปแบบธุรกิจ และแอปพลิเคชันของตัวเอง ออกมาสู่ตลาดที่มั่งคั่งมากกว่าแทน

หากการซื้อขายระหว่าง Uber และ Grab เกิดขึ้นจริง นี่จะไม่เป็นครั้งแรกที่ Uber เฉือนเนื้อขายธุรกิจนอกพื้นเกิดไป เพราะเมื่อปี 2016 ดาวรุ่งอย่าง Uber ตัดสินใจควบรวมกิจการในประเทศจีนเข้ากับคู่แข่งแดนมังกรอย่าง Didi โดย Didi ตกลงเทเงินลงทุนมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 3.15 หมื่นล้านบาท) ใน Uber ซึ่งเป็นช่วงที่ Uber มีมูลค่าตลาดมากกว่า 6.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 2.1 ล้านล้านบาท)

ผลของการลงทุนครั้งนั้น ทำให้นักลงทุนของ Uber China กลายเป็นผู้ถือหุ้น 20% ของบริษัท ที่ควบรวมกิจการแล้ว ซึ่งมีมูลค่าตลาดราว 3.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

หากการซื้อขายระหว่าง Uber และ Grab เกิดขึ้นจริง นี่จะไม่เป็นครั้งแรกที่ Uber เฉือนเนื้อขายธุรกิจนอกพื้นเกิดไป

***เส้นทางใหม่เพื่อทำกำไรของ Uber?

ดารา คอซรอว์ชาฮิ (Dara Khosrowshahi) ซีอีโอ Uber ประกาศชัดเจนในงานประชุม Goldman Sachs Technology and Internet Conference ในซานฟรานซิสโก ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า Uber อาจจะขายส่วนธุรกิจที่ทำประสิทธิภาพต่ำ เพื่อปรับปรุงบัญชีของบริษัท ก่อนที่ Uber จะดำเนินการเสนอขายหุ้นในปี 2019

ซีอีโอ Uber อธิบายว่า ตลาดหลักของ Uber ในช่วงไตรมาสที่ 4 คือ ตลาดที่พัฒนาแล้ว และรายได้รวมจากประเทศกลุ่มนี้จะช่วยอุ้มค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจของบริษัท จุดนี้ Khosrowshahi ย้ำว่า บริษัทกำลังเน้นดำเนินงาน 2 ส่วน ซึ่งรวมการเทเงินลงทุนในตลาดที่กำลังพัฒนาด้วย 

“แม้จะเป็นตัวเลขค่าใช้จ่ายตัวแดงที่เห็นได้ชัด แต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนทางเลือกสำหรับ Uber” ซีอีโอ Uber ระบุ โดยเชื่อว่าการลงทุนในตลาดกำลังพัฒนา จะยังทำให้ Uber ติดลบต่อไปอีกนาน

ยุโรปคือหนึ่งในตลาดที่พัฒนาแล้ว ซึ่งทำรายได้มากจนช่วยอุ้มค่าใช้จ่ายของ Uber ได้ระดับหนึ่ง

ในภาพรวม Khosrowshahi มองว่า ภาวะติดลบจะยิ่งเพิ่มขึ้นในยุคที่ยานยนต์อัตโนมัติแจ้งเกิดแพร่หลาย ทั้งหมดนี้ทำให้เขาระบุว่า หากตัดปัจจัยทั้งหมดทิ้งไป ตัวเขาเองอยากตัดสินใจหยุดการลงทุนเพื่อเน้นทำเงินจากบริการหลักที่มีอยู่ให้ดีที่สุด

“หากลืมเรื่องทั้งหมดนี้ไป สิ่งที่ผมต้องการ คือ บริการหลัก” โดยบอกว่า หาก Uber เน้นทำตลาดทุกบริการที่มีอยู่แล้ว หรือหยุดการลงทุนทุกอย่าง บริษัทจะเป็นธุรกิจที่มีเม็ดเงินกระแสเงินสดหมุนเวียนสูงมาก สัดส่วนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000017683

]]>
1157890
อูเบอร์ – เฉือนหุ้น มูลค่า 245 ล้านเหรียญสหรัฐให้เวย์โม จบคดีจ่ายลอกเลียนเทคโนโลยี ไร้คนขับ https://positioningmag.com/1156462 Sat, 10 Feb 2018 11:39:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156462 อูเบอร์ (Uber) แพลตฟอร์มด้านบริการร่วมเดินทาง และเวย์โม (Waymo) บริษัทผู้พัฒนายานยนต์อัจฉริยะไร้คนขับบรรลุข้อตกลงระหว่างกันแล้ว หลังเกิดคดีความว่าอูเบอร์มีการขโมยความลับทางการค้ามาจากเวย์โม 

ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว อูเบอร์จะมอบหุ้นจำนวน 0.34 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทให้กับเวย์โม ซึ่งคิดเป็นมูลค่าราว 245 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อชดใช้ต่อความเสียหายครั้งนี้ และอูเบอร์ก็มีการลงนามว่าจะไม่ใช้เทคโนโลยีของเวย์โมในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับของตัวเองด้วย

ภาระหนักตกที่ Dara Khosrowshahi ซีอีโอคนปัจจุบันของอูเบอร์ที่ออกมาแสดงความเสียใจกับสิ่งที่บริษัทของเขาได้ทำลงไป และได้มีการเอ่ยถึงการตัดสินใจเรื่องการควบรวมกิจการของบริษัทออตโต (Otto) ซึ่งเป็นบริษัทที่อดีตวิศวกรกูเกิลอย่าง แอนโทนี่ เลวานโดสกี (Anthony Levandowski) ผู้อื้อฉาว ลาออกมาเป็นผู้ก่อตั้ง โดยพัฒนารถบรรทุกที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง โดยบริษัทออตโตได้ถูกอูเบอร์ซื้อกิจการไปในปี 2016 เป็นเงิน 650 ล้านเหรียญสหรัฐ 

โดยดีลการเจรจาซื้อบริษัทออตโตประสบความสำเร็จในสี่วันหลังจากทราวิส คาลานิค (Travis Kalanick) ซีอีโออูเบอร์ในขณะนั้นไปปรากฏตัวที่ศาลในซานฟรานซิสโก โดยเขาถูกกล่าวหาว่ามีแผนจะขโมยความลับ 14,000 ชิ้นจากเวย์โม ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิล (Google) ไม่ได้แยกออกมาเป็นบริษัทใหม่เหมือนเช่นทุกวันนี้ (ตอนนี้เป็นบริษัทลูกในเครืออัลฟาเบ็ท (Alphabet) แทนแล้ว)

คณะลูกขุนยังได้มีการโชว์เอกสารจากอีเมลภายในองค์กรที่พบว่า ทราวิส คาลานิค แสดงความต้องการในการครอบครองบางอย่างจากกูเกิลด้วย อย่างไรก็ดี อูเบอร์ได้โต้แย้งว่า ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าอูเบอร์มีการใช้ความลับเหล่านั้นในการพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองแต่อย่างใด และก็เชื่อว่าเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ Lidar และซอฟต์แวร์ของอูเบอร์เองนั้นก็เป็นผลงานการพัฒนาที่ดี

สำหรับการเรียกร้องค่าเสียหายจากเวย์โมนั้นอาจมีมูลค่ารวมแล้วมากกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ/หรือคำสั่งที่อาจหยุดการพัฒนาระบบรถอัตโนมัติของอูเบอร์ได้

“เราได้ตกลงกับอูเบอร์ว่าจะทำงานร่วมกันเพื่อให้มั่นใจว่า แต่ละบริษัทจะพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองขึ้นใช้งาน” ตัวแทนจากเวย์โมกล่าว “ซึ่งรวมถึงข้อตกลงว่า ข้อมูลความลับของเวย์โมจะไม่ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของบริษัทอูเบอร์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี กรุ๊ปด้วย”

สนับสนุนข่าวโดย : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000013756

]]>
1156462
สะเทือนแน่! กูเกิลประกาศลงทุนใน “โก-เจ็ก” สตาร์ทอัปร่วมเดินทางอินโดนีเซีย เป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ https://positioningmag.com/1154973 Tue, 30 Jan 2018 03:59:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1154973 กูเกิล (Google) ออกมายอมรับแล้วว่า บริษัทมีการลงทุนในธุรกิจของโก-เจ็ก (Go-Jek) สตาร์ทอัปด้านบริการร่วมเดินทางของอินโดนีเซีย โดยถือเป็นครั้งแรกของกูเกิลที่ได้ลงทุนในธุรกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ไม่มีการเปิดเผยตัวเลขในการลงทุนแต่อย่างใด มีเพียงรายงานจากรอยเตอร์ก่อนหน้านี้ว่าอาจมีมูลค่าสูงถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,145 ล้านบาทเลยทีเดียว

เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนที่สร้างแรงสั่นสะเทือนให้ธุรกิจร่วมเดินทางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ดีเลยทีเดียว เพราะคู่แข่งอย่างแกร็บ (Grab) และอูเบอร์ (Uber) ต่างก็มีนายทุนให้การสนับสนุนแล้ว นั่นก็คือ ค่ายซอฟท์แบงค์ (Softbank) ส่วนโก-เจ็กนั้น ก่อนหน้านี้ก็มีนายทุนอย่างเท็นเซนต์ (Tencent) และ JD.com เป็นแบ็กให้เช่นกัน

แต่การประกาศอย่างเป็นทางการของกูเกิลในครั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยมูลค่าที่ได้ลงทุนอย่างเป็นทางการ มีเพียงสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวระบุว่า มีมูลค่าที่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ เท่านั้น

การลงทุนรอบนี้มีบริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมลงทุนกับโก-เจ็ก ทั้งสิ้นสามบริษัท ได้แก่ เทมาเส็ก (Temasek) จากสิงคโปร์ Meituan-Dianping จากจีนแผ่นดินใหญ่ และกูเกิล จากสหรัฐอเมริกา ทำให้มูลค่าของโก-เจ็ก พุ่งขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับตลาดอินโดนีเซีย ตามการรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า 133 ล้านคน และถือเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของโลกในแง่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต แต่ที่น่าสนใจ คือ ตัวเลข 133 ล้านคนนี้ เป็นตัวเลขแค่ครึ่งประเทศเท่านั้น ยังมีอีกครึ่งประเทศที่ประชากรยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และหากทำได้ก็หมายความถึงตัวเลขมหาศาล

บริการของโก-เจ็กนั้น มีตั้งแต่รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง บริการด้านเดลิเวอรีอาหาร ไปจนถึงการให้บริการนวด ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดสามารถเรียกใช้ได้ผ่านแอปพลิเคชันทั้งสิ้น

สำหรับจุดเด่นของโก-เจ็ก ตามการวิเคราะห์ของกูเกิล พบว่ามีหลายด้าน ตั้งแต่ทีมบริหารที่แข็งแกร่ง และตัวแอปพลิเคชันที่พบว่าสามารถช่วยให้ชีวิตของคนอินโดนีเซียสะดวกสบายได้มากขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้เคยมีซีอีโอของอูเบอร์ อย่าง Dara Khosrowshahi ออกมากล่าวว่า ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เป็นตลาดที่ไม่สามารถทำกำไรได้ แต่ก็น่าประหลาดใจที่ภูมิภาคนี้เป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายด้าน รวมถึงเรื่องของการลงทุนด้วย เฉพาะบริการร่วมเดินทางนั้น ได้มีการคาดการณ์เอาไว้ว่าจะมูลค่าถึง 20,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 และตลาดที่ใหญ่ที่สุดก็คือ อินโดนีเซีย นี่เอง.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000009569

]]>
1154973
“ออนไลน์อาเซียน 2018” เดือดจัด อีคอมเมิร์ซ-บริการร่วมเดินทาง ดันตลาดบูม https://positioningmag.com/1152697 Fri, 05 Jan 2018 04:29:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1152697 เพราะปี 2017 ที่ผ่านมา การสำรวจพบว่า ทุกภาคส่วนของธุรกิจออนไลน์ล้วนเติบโตโกยลูกค้าได้มากขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะกลุ่มร้านค้าออนไลน์อีคอมเมิร์ซ จนถึงบริการ “ร่วมเดินทาง” ที่ได้รับความนิยมจากชาวอาเซียน จนทำให้มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีมากที่สุดกว่า 40% 

สำหรับปี 2018 ที่กำลังเริ่มต้น นักวิเคราะห์ต่างฟันธงว่าจะเป็นอีกปีที่การแข่งขันสุดดุเดือด ทำให้อาเซียนเป็นตลาดที่มีเงินสะพัดในโลกออนไลน์เกินเป้า ส่งให้ปี 2025 ธุรกิจออนไลน์อาเซียน จะไม่ได้มีมูลค่าแค่ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ อย่างที่เคยมีการคาดการณ์ไว้

เม็ดเงิน 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินราว 6.5 ล้านล้านบาท ถือว่ามากกว่าวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 2.9 ล้านล้านบาท ที่รัฐบาลไทยวางไว้สำหรับปีงบประมาณปี 2018 

***Google บอกโตเกินคาด

เฉพาะปี 2017 เงินสะพัดในธุรกิจออนไลน์อาเซียน ถูกบันทึกว่ามีมูลค่าราว 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.6 ล้านล้านบาท) เม็ดเงินนี้ถือว่าสูงมากกว่าที่กูเกิล (Google) และเทมาเส็ก (Temasek) เคยคาดการณ์ไว้เมื่อปี 2016 ทำให้กลายเป็นข่าวว่า ทั้งคู่ออกมายอมรับว่า ตลาดออนไลน์อาเซียนนั้น “เติบโตมากกว่าที่คิด”

ทั้ง 2 บริษัทระบุในรายงานเรื่องกูเกิล-เทมาเส็ก อีโคโนมี ซี สปอต์ไลต์ 2017 (Google-Temasek e-Conomy SEA Spotlight 2017) ว่า ธุรกิจออนไลน์ในภูมิภาคนี้เติบโตในสัดส่วน 27% แทนที่จะเติบโต 20% ตามตัวเลขในรายงาน Google-Temasek e-Conomy SEA ฉบับปี 2016 ผลที่เกิดขึ้น คือ ตลาดออนไลน์อาเซียน อาจจะเติบโตเกินหลัก 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2025 ที่เคยมีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้

สำหรับปี 2018 รายงานของ Google และ Temasek ไม่ได้คาดการณ์ไว้ละเอียด โดยให้รายละเอียดเพียงว่า ปี 2017 แต่ละธุรกิจมีการเติบโตอย่างไร ผลคือธุรกิจที่เติบโตโดดเด่นที่สุด คือ อีคอมเมิร์ซ เพราะยอดขายในธุรกิจอีคอมเมิร์ซอาเซียนนั้น มีมูลค่าราว 1.09 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2015

ยอดขายที่ Google นำมาคำนวณ คือ ยอดขายรวมทั้งหมด หรือ Gross Merchandise Value (GMV) ซึ่งยังไม่มีการหักต้นทุน การเติบโตจากยอดขายหลักพันล้านบาทมาเป็นหมื่นล้านบาทนี้ คิดเป็นอัตราเติบโตต่อปี หรือ CAGR ราว 41%

ปี 2018 คาดว่าจะเป็นอีกปีที่อีคอมเมิร์ซจะขยายตัว เพราะผลจากปัจจัยสนับสนุนอย่างความนิยมในตลาดออนไลน์ หรือ marketplace ซึ่งธุรกิจขนาดกลางถึงเล็ก จะลงไปจำหน่ายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภคโดยตรงกันมากขึ้น ผ่านระบบตลาดที่มุ่งแสดงผลบนสมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์พกพา ไม่ใช่ระบบตลาดสำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

มีความเป็นไปได้ว่า ผู้ที่ได้รับอานิสงส์จากภาวะอีคอมเมิร์ซบนสมาร์ทโฟนบูมสุดขีดปี 2018 จะเป็นเจ้าพ่อรายเดิมอย่างลาซาด้า (Lazada), ช็อปปี (Shopee) และโทโคพีเดีย (Tokopedia)

ด้านบริการร่วมเดินทาง หรือ ride-hailing service การสำรวจพบว่า ในปี 2017 ที่ผ่านมา บริการกลุ่มแอปพลิเคชันแชร์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ เพื่อเดินทางนั้น มียอดขายรวมในอาเซียน มากกว่า 5.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เคยบันทึกได้ในปี 2015

แน่นอนว่า ปี 2018 สัดส่วนการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันเหล่านี้จะเพิ่มมากกว่า 6 ล้านครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นสถิติที่ถูกจดไว้ในไตรมาส 3 ปี 2017 ที่ผ่านมา สถิติเฉพาะ 3 เดือนไตรมาส 3 นี้คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นเกิน 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2015 โดยแอปพลิเคชันกลุ่มหลักในบริการ ride-hailing ที่ได้รับความนิยมในอาเซียน คือ โกเจ็ก (Go-Jek), แกร็บ (Grab) และอูเบอร์ (Uber)

รายงานของ Google และ Temasek ยังชี้ว่า แบรนด์หลักในกลุ่ม ride-hailing กำลังจะขยายมาให้บริการส่งอาหาร บริการชำระเงินดิจิทัล และบริการอื่นอีกในปี 2018 เนื่องจากฐานผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นทั้งส่วนของผู้โดยสาร และผู้ขับรถ บริการกลุ่ม ride-hailing จึงมีภาษีที่ดีกว่า ใครในการเป็นเจ้าตลาดบริการส่วนบุคคลแบบครบวงจรของอาเซียน

ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะ นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าสายงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า ผู้บริโภคยุคใหม่เริ่มไม่เห็นความสำคัญของการซื้อสินทรัพย์ชิ้นใหญ่ พฤติกรรมนี้ทำให้บริการแชร์รถเพื่อร่วมเดินทาง บริการแชร์สำนักงาน หรือบริการแชร์ห้องพักได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นจนเห็นได้ชัด และอาจนำไปสู่ภาวะ “คนไม่ซื้อรถ ไม่เช่าสำนักงาน ไม่ซื้อบ้าน” ที่จะทำให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ

***เงินทุนอัดฉีดแน่น

อีกปัจจัยที่ชี้ว่า ปี 2018 จะเป็นจุดเริ่มปีทองของธุรกิจออนไลน์อาเซียน คือ เม็ดเงินทุนที่อัดฉีดเต็มสูบเข้าสู่ตลาดนี้ การสำรวจพบว่า ระหว่างปี 2016 ถึงไตรมาส 3 ปี 2017 บริษัทที่ให้บริการออนไลน์ในเอเชียแปซิฟิก สามารถเพิ่มเงินทุนให้บริษัทได้มากกว่า 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3.9 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากที่เคยมีเงินอัดฉีด 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2015 เงินทุนนี้เป็นอีกเดิมพันที่เชื่อว่า อาเซียนจะยังเติบโตต่อไปในระดับสวยงามตลอด 10 ปีนับจากนี้

ก่อนหน้านี้ รายงานของ Google และ Temasek ปี 2016 เคยพยากรณ์ว่า หากจะทำให้อุตสาหกรรมออนไลน์อาเซียน มีเม็ดเงินสะพัด 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2025 จะต้องมีเงินทุนมากกว่า 4-5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ไหลเข้ามาในภูมิภาคนี้ เมื่อคำนวณถึงเงินลงทุน 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2017 ที่ผ่านมา และความเป็นไปได้ว่า ปี 2018 ก็จะมีเงินทุนไหลเข้ามาไม่ขาดสายเช่นกัน ก็สะท้อนว่า ตลาดออนไลน์อาเซียนจะยังเติบโตในระดับก้าวกระโดดต่อไป

***ยังต้องปรับที่คน

ความท้าทายหลักที่ทำให้วงการออนไลน์อาเซียนไม่เติบโต คือ การขาดบุคลากรเทคโนโลยีในท้องถิ่น โดยทั้ง Google และ Temasek ระบุในรายงานฉบับปี 2017 ของตัวเองว่า ตลาดอาเซียนยังต้องปรับปรุงเป็นพิเศษในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการขาดบุคลากรที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งไม่ได้ถูกแก้ไข และหากแก้ไขได้ อาเซียนก็จะสามารถทำโอกาสที่รออยู่ให้ออกดอกออกผลได้เต็มที่ยิ่งขึ้น

สถิติอื่นที่น่าสนใจจากรายงานนี้ คือ ชาวไทยใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมากที่สุดในโลก เฉลี่ยวันละ 4.2 ชั่วโมง สูงกว่าเพื่อนบ้านในอาเซียน ที่ใช้งานเฉลี่ยวันละ 3.6 ชั่วโมง ชนะชาวอเมริกันที่ออนไลน์บนมือถือเฉลี่ยวันละ 2 ชั่วโมง ชาวอังกฤษวันละ 1.8 ชั่วโมง และชาวญี่ปุ่นวันละ 1 ชั่วโมง

จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในอาเซียน ยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2017 โดยยอดผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในอาเซียน ที่เพิ่มขึ้นจาก 260 ล้านคนในปี 2017 มีโอกาสจะเพิ่มเป็น 480 ล้านคนภายในปี 2020 คิดเป็นอัตราเติบโต 14% ต่อปี สูงกว่าจีนที่อัตราเติบโตผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 4% ต่อปี

อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในอาเซียน คือ 19% ต่อปี โดยผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือในอาเซียน ใช้เวลากับการชอปปิ้งออนไลน์มากที่สุด สูงกว่าชาวอเมริกันถึง 2 เท่าตัว

แน่นอนว่าสถิติเหล่านี้ที่บันทึกได้ในปี 2017 มีโอกาสสูงที่จะถูกทำลายในปี 2018 ปีหมาดุที่เชื่อว่า วงการออนไลน์อาเซียนจะแข่งดุเลือดสาดชนิดใครพลาดอาจไม่ฟื้นคืนมาอีกเลย.

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000001165

]]>
1152697