บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 02 Feb 2022 01:08:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เช็กเงื่อนไข… เปิดลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐปี 65 กลุ่มเป้าหมาย 20 ล้านคน https://positioningmag.com/1372607 Tue, 01 Feb 2022 14:01:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372607 ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และเห็นชอบร่างประกาศ คกก. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการดำเนินงาน และความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการฯ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งช่วยเหลือกลุ่มตกหล่นให้สามารถเข้าถึงโครงการ

โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ประมาณ 20 ล้านคน (ผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เดิม และผู้เข้าข่ายได้รับสิทธิรายใหม่) คาดสามารถเริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 65 โดยมีกรอบวงเงินดำเนินการ 564.455 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าจ้างเหมาบริการระบบลงทะเบียน และการยืนยันตัวตน 164.274 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายสำหรับการรับลงทะเบียน ของหน่วยรับลงทะเบียน 400.181 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบฯ ของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้ว

คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน มีดังนี้

  • ผู้ที่มีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ต้องไม่เป็นภิกษุ ผู้ต้องขัง บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ ข้าราชการ พนักงานราชการ ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐ
  • รายได้ของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี และรายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี
  • ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์ เช่น วงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท และวงเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท เป็นต้น
  • ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ คกกฯกำหนด
Photo : Shutterstock

ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบให้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ได้บัตรสวัสดิการฯ และปัญหาผู้มีบัตรฯ ที่ไม่ควรได้รับสิทธิ ทั้งนี้ จะมีการเปิดรับลงทะเบียน ตามโครงการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และ จะมีการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง อีกด้วย

สำหรับผู้ได้รับสิทธิจากโครงการ ปี 2565 จะใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรสวัสดิการฯ เนื่องจากบัตรสวัสดิการฯ ที่ได้เริ่มใช้งานตั้งแต่เดือน ต.ค. 2560 มีอายุการใช้งาน 5 ปี และจะหมดอายุในเดือน ก.ย. 2565 ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตบัตรสวัสดิการฯ ใหม่ ประมาณ 1,258 ล้านบาท อีกทั้งลดปัญหาเรื่องการสวมสิทธิบัตรประจำตัวประชาชน หรือการนำบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลอื่นไปใช้สิทธิแทน และช่วยลดการทุจริต เช่น กรณีร้านค้าเก็บบัตรสวัสดิการฯ ไว้เอง เป็นต้น

]]>
1372607
สรุป ‘คนละครึ่ง’ เฟส 3 ให้คนละ 3,000 ‘เราชนะ – ม.33 เรารักกัน’ รับเพิ่ม 2,000 เเจก e-Voucher ‘ยิ่งใช้ยิ่งได้’ อีกคนละ 7,000 บาท https://positioningmag.com/1330614 Wed, 05 May 2021 09:44:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330614
ครม.ไฟเขียว ‘คนละครึ่ง’ เฟส 3 ให้คนละ 3,000 บาท ต่อ ‘เราชนะ’ เเละ ‘ม.33 เรารักกัน’ ให้เพิ่มคนละ 2,000 บาท พร้อมออกโครงการใหม่ ‘ยิ่งใช้ยิ่งได้’ แจก e-Voucher กระตุ้นใช้จ่าย อีกคนละ 7,000 บาท
วันนี้ (5 พ.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่ 3 ทั้ง เราชนะ คนละครึ่งเฟส 3 และ ม.33 เรารักกัน
สำหรับมาตรการคนละครึ่งเฟส 3′ จะได้รับเงินเยียวยาคนละ 3,000 บาท (ใช้ได้วันละไม่เกิน 150 บาท) ให้สิทธิ์ 31 ล้านคน คิดเป็นวงเงินงบประมาณ 9.3 หมื่นล้านบาท เริ่มตั้งเเต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564
ส่วน ‘เราชนะ’ จะเพิ่มเงินให้คนละ 2,000 บาท เเบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ มีกลุ่มเป้าหมายราว 32.9 ล้านคน คิดเป็นวงเงินงบประมาณ 6.7 หมื่นล้านบาท ให้ใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2564
ด้านโครงการ ‘ม.33 เรารักกัน’ จะเพิ่มวงเงินช่วยเหลือผู้ประกันตน ม.33 คนละ 2,000 บาท เเบ่งเป็นสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นเวลา 2 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมาย 9.27 ล้านคน คิดเป็นวงเงินงบประมาณ 1.85 หมื่นล้านบาท ให้ใช้จ่ายสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2564
สำหรับ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะให้เงินค่าครองชีพเพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม-ธันวาคม) ครอบคลุมประชาชน 13.65 ล้านคน และเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 2.5 ล้านคน เพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน (กรกฎาคม-ธันวาคม)
นอกจากนี้ ยังมีโครงการใหม่เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย ชื่อว่า ‘ยิ่งใช้ยิ่งดี’ โดยรัฐจะสนับสนุน e-Voucher ให้กับประชาชน ที่ใช้จ่ายซื้อสินค้า อาหาร และเครื่องดื่มและค่าบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เกิน 5,000 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน
โดยเมื่อประชาชนใช้จ่ายดังกล่าวเเล้ว จะได้รับการสนับสนุน e-Voucher จากภาครัฐ ในช่วงเดือน กรกฏาคม-กันยายน 2564 และสามารถนำ e-Voucher จากภาครัฐไปใช้จ่ายในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564
]]>
1330614
บัตรคนจน “โอกาส” ที่หลายองค์กรมองข้าม https://positioningmag.com/1167265 Tue, 24 Apr 2018 23:08:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167265 บทความโดย : อิษณาติ วุฒิธนากุล

ไม่ทราบว่ามีผู้อ่านท่านไหนได้เห็น “บัตรคนจน” หรือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” ของจริงกันบ้างหรือยังครับ? หลายท่านอาจคุ้นหูกับบัตรนี้เพราะเป็นบัตรที่รัฐบาลประมาณการลงทุนไว้ถึง 5.7 หมื่นล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว ปัจจุบันโครงการนี้ได้ดำเนินการมาจนถึงเฟสที่สองแล้ว โดยโครงการมีเป้าหมายในการช่วยสนับสนุนเรื่องต่างๆ อาทิ การอบรมวิชาชีพ การส่งเสริมให้มีงานทำ การสนับสนุนให้เข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน การลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ได้รับการจับตามองมากที่สุดคงหนีไม่พ้นวงเงิน 200-300 บาทในบัตร ซึ่งเพิ่มเป็น 300-500 บาทในเฟสที่สอง จุดที่หลายท่านตั้งคำถามหรืออาจเกิดความสงสัยคือจำนวนเงินที่ไม่ถือว่ามากนักตรงนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยได้มากเพียงใด? มันสามารถยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนกลุ่มนี้ได้หรือไม่? นอกจากนั้นยังเป็นที่น่าคิดว่าเมื่อเม็ดเงินตรงนี้เข้าสู่ตลาดแล้วผลกระทบต่อเศรษฐกิจหรือห้างร้านต่างๆ จะเป็นเช่นไร?

ถ้าถามว่าโครงการนี้ช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยดีขึ้นหรือไม่? ก่อนอื่นเราคงต้องเข้าใจก่อนว่าคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิ์ได้รับบัตรนี้เป็นกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่เนื่องจากรายได้ที่ค่อนข้างจำกัด ถึงแม้ว่าวงเงินนี้อาจไม่มากพอจนทำให้ชีวิตของผู้ถือบัตรสะดวกสบายขึ้น

แต่จำนวนเงินในบัตรนี้ได้กลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้สมาชิกสามารถเข้าถึงสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

โดยเราพบว่ากลุ่มคนที่ถือบัตรนี้ในเขตชนบทมีการเลือกซื้อและใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ของการดำรงชีวิตเป็นหลัก เช่น ของใช้ส่วนตัวอย่างครีมทาหน้า สบู่ แปรงสีฟัน หรือของใช้ในครัวเรือนอย่างผงซักฝอก น้ำยาซักผ้า และน้ำยาล้างจาน

นอกเหนือจากกลุ่มของใช้แล้ว เรายังพบว่าผู้ถือบัตรยังซื้อสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มอย่างปลากระป๋องและซอสปรุงรสเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้นโครงการถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง หากเป้าหมายคือการช่วยเหลือกลุ่มรากหญ้าให้สามารถเข้าถึงสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะอย่างน้อยๆ ปัจจุบันคนกลุ่มนี้ก็สามารถอาบน้ำ ซักผ้า มีกินพออิ่มท้องได้ แต่หากเป้าหมายคือการช่วยเหลือให้คนกลุ่มนี้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เราคงยังต้องรอดูผลไปอีกระยะหนึ่ง

นอกเหนือจากผลที่กล่าวมาข้างต้น ผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งของโครงการคือการที่มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ชุมชนนั้นๆ เพิ่มมากขึ้น โดยการเกิดขึ้นของเงินหมุนเวียนตรงนี้ก็เนื่องมาจากการที่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำเป็นต้องใช้ใน “ร้านธงฟ้าประชารัฐ” หรือร้านค้าที่ร่วมนโยบาย โดยรัฐจะมีเครื่องแสกนไว้ใช้กับบัตรเสมือนเป็นบัตรแทนเงินสด ซึ่งร้านแนวนี้ส่วนใหญ่จะเป็นร้านโชห่วย ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อตามชุมชน (Local Supermarket/ Convenience store) จึงทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจชุมชนเพิ่มมากขึ้นกว่าก่อนเริ่มโครงการ และยังช่วยให้ร้านค้าชุมชนแนวนี้ที่สูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับร้านค้าโมเดิร์นเทรดเจ้าใหญ่ๆ มาโดยตลอด ได้มีโอกาสอ้าปากหายใจอีกครั้ง จริงๆ แล้วหากมีการบริหารจัดการที่ดีเม็ดเงินที่ไหลเข้าสู่ชุมชนจำนวนนี้ ก็ควรที่จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน

ผลกระทบอีกอย่างที่เกิดขึ้นจากเม็ดเงินของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คือผลกระทบต่อธุรกิจหรือตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค หากสังเกตจากกราฟเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า หากเทียบกับช่วงก่อนเริ่มโครงการ ครัวเรือนที่ถือบัตรนี้ในเขตชนบทมีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3 บาทต่อครั้ง เงินจำนวนสามบาทอาจฟังดูไม่มากแต่ถ้ารวมเงินสามบาทของ 12.9 ล้านครัวเรือนในเขตชนบทของประเทศไทยเข้าด้วยกันแล้ว สามบาทนี้จะกลายมาเป็นเม็ดเงินหลายร้อยล้านบาทที่ไหลเวียนเข้าสู่ตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคในแต่ละเดือน ซึ่งแปลว่านอกจากเม็ดเงินตรงนี้จะส่งผลต่อเศรษฐกิจชุมชมอย่างที่กล่าวมาเมื่อสักครู่แล้ว เม็ดเงินหรือกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้ยังส่งผลต่อธุรกิจ หรือเศรษฐกิจในภาพที่ใหญ่ขึ้นเช่นกัน

โดยหากสังเกตจะเห็นได้ว่า กลุ่มสินค้าที่ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีการเลือกซื้อสูงนั้นมีอัตราการเติบโตที่เยอะกว่า 10% ซึ่งตัวเลขนี้สวนทางกับตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคที่อยู่ในช่วงขาลงในหลายปีนี้อย่างชัดเจน หลากหลายข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มลูกค้าที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐคงไม่ใช่กลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้มีความสำคัญอย่างที่เข้าใจกันในเบื้องต้นอีกต่อไป

หากแต่เป็นกลุ่มที่อาจเป็นโอกาสสำหรับหลากหลายธุรกิจเลยทีเดียว ดังนั้นประเด็นที่ผู้ผลิตควรต้องตั้งคำถามคือ ทำอย่างไรถึงจะสามารถทำให้ผู้ถือบัตรเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าของตน

ในขณะเดียวกันในมุมมองของห้างร้านทั่วไปที่เริ่มเสียส่วนแบ่งทางการตลาด และเม็ดเงินหลายร้อยล้านบาทให้กับร้านค้าชุมชนที่เข้าร่วมโครงการในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา คือจะทำอย่างไรจึงจะสามารถทำให้ลูกค้ากลุ่มนี้กลับเข้ามาจับจ่ายใช้สอยในร้านของตนได้ โดยปัจจุบันบางรายมีการถกเถียงว่าจะมีการนำบางร้านค้าของตนเข้าร่วมโครงการเพื่อให้สามารถรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้ บางรายเป็นการพูดคุยว่าจะปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับลูกค้ากลุ่มนี้อย่างไร

น่าสนใจนะครับว่ากลุ่มคนที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะสร้างความแปลกใหม่อะไรอีกกับตลาด ชุมชนและเศรษฐกิจของเรา ไม่น่าเชื่อนะครับว่ากลุ่มคนที่มีรายได้น้อยที่เคยถูกหลายๆ บริษัท หรือหลายๆ คนมองข้าม จะสร้างความแปลกใจและสร้างผลกระทบให้กับตลาดได้ถึงขนาดนี้ เรื่องนี้คงสอนให้รู้ว่า ที่เคยพูดๆ กันว่าไม่ควรมองข้ามแต่ควรให้ความสำคัญกับคนอื่นนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้วนั่นเองครับ.

]]>
1167265