บัตรแรบบิท – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 28 Oct 2021 05:10:20 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แรบบิท เปิดตัว ‘แรบบิท แคช’ ลุยตลาด ‘Digital Lending’ ปักเป้าปล่อยสินเชื่อ 3,000 ล้านในปีแรก https://positioningmag.com/1358843 Thu, 28 Oct 2021 04:20:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358843 เมื่อเทียบสัดส่วนประชากรกับการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง คนไทยถือว่ามีการใช้งานมากที่สุดในโลก โดยมีการผูกบัญชีกว่า 76 ล้านบัญชี ในแต่ละเดือนมียอดธุรกรรมกว่า 1.4 หมื่นล้านรายการ/เดือน มีการใช้งานเฉลี่ย 19 ครั้ง/เดือน ในขณะที่หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยมีเกือบ 90% คิดเป็นมูลค่า 14 ล้านล้านบาท โดยธุรกรรมเล็ก ๆ คิดเป็น 50% และอย่างน้อย 5% เป็นหนี้นอกระบบ

จากตัวเลขดังกล่าวจึงไม่น่าแปลกใจที่หลายบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารหันมาจับตลาด Digital Lending ที่เห็นชัด ๆ น่าจะเป็น Grab, Line เป็นต้น โดย รัชนี แสนศิลป์ชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แรบบิท แคช จำกัด กล่าวว่า ที่เห็นว่ามีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มหลายรายทำ Digital Lending ส่วนหนึ่งก็เพื่อ เสริมลูกค้าของตัวเอง เพราะลูกค้าของหลาย ๆ แพลตฟอร์มทำงานอิสระมากขึ้น ดังนั้น เมื่อไม่มีเงินเดือนการเข้าถึงเงินทุนก็ยาก

ดังนั้น แรบบิท ที่มีข้อมูลของลูกค้าในมืออยู่แล้ว จึงร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และมี บริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน), บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ถือหุ้นและพันธมิตร โดยจัดตั้งบริษัท ‘แรบบิท แคช’

ทั้งนี้ บริษัท บีเอสเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด ในเครือของบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) จะถือหุ้น 77%, บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 8% และบริษัท ฮิวแมนิก้า จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 5% ทุนจดทะเบียนประมาณ 800 ล้านบาท และมีแผนจะเพิ่มทุนอีก 800 ล้านบาท

สำหรับบริการสินเชื่อของแรบบิท แคชนั้นได้ถูกออกแบบให้ทำผ่านช่องทางดิจิทัล 100% ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยจะใช้ Alternative Data หรือข้อมูลทางเลือกที่แสดงถึง Digital Footprint และ Behavioral Footprint ต่าง ๆ ของผู้บริโภคมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงและพิจารณารูปแบบสินเชื่อที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน

“เนื่องจากแรบบิท แคชเป็นบริษัทในเครือบีทีเอส ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง การซื้อสินค้าหรือบริการ การแลกคะแนนแรบบิท รีวอร์ด แต่ทุกอย่างอยู่ภายใต้การได้รับความยินยอมจากลูกค้า”

เบื้องต้น วงเงินสินเชื่อจะเป็นไปตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท จะกู้ได้ไม่เกิน 1.5 เท่า ส่วนผู้ที่มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท จะได้รับวงเงิน 5 เท่าของรายได้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 1.25% ต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าจะได้ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจสินเชื่อจาก ธปท. ในช่วงไตรมาสแรกปี 2565 ดังนั้น จะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในช่วงเวลาดังกล่าว โดยจะมีทั้งสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบธุรกิจรายย่อย หรือสินเชื่อนาโน, สินเชื่อสวัสดิการ, สินเชื่อ Payday Loan, สินเชื่อผ่อนชำระ Buy Now Pay Later

ทั้งนี้ บริษัทได้เริ่มทดลองนำเสนอสินเชื่อเพื่อลูกค้าของเคอรี่ โดยเลือกจากกลุ่มของผู้ประกอบธุรกิจขายของออนไลน์ที่เป็นสมาชิกเคอรี่ เอ็กซ์เพรส โลยัลตี้ คลับ ที่มีประวัติในการจัดส่งสินค้าพัสดุกับทางเคอรี่เป็นประจำ โดยพบว่าได้รับการตอบรับจากสมาชิกเข้ามามาก และในปีหน้าจะเริ่มปล่อยสินเชื่อให้พนักงานเคอรี่

“ปัจจุบันเคอรี่มีลูกค้ากว่า 10 ล้านราย มีพนักงานส่งของทั้งหมด 20,000-30,000 ราย ซึ่งเราพบว่าลูกค้าเราส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ต้องการใช้สินเชื่อ เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ หรือการจัดการสภาพคล่องเป็นการชั่วคราว” วราวุธ นาถประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าว

ทั้งนี้ แรบบิท แคชตั้งเป้าหมายว่าจะเห็นยอดสินเชื่อในปี 2565 ประมาณ 2-3 พันล้านบาท และในปี 2566 จะปล่อยสินเชื่อได้ถึง 5 พันล้านบาท

]]>
1358843
เจาะกลยุทธ์ ‘บัตร Rabbit’ ในวันที่นักท่องเที่ยวหายและถูกท้าทายจาก ‘อีวอลเล็ต’ https://positioningmag.com/1312294 Mon, 28 Dec 2020 08:41:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312294 ตลอด 9 ปีที่ผ่านมามีการออกบัตร ‘แรบบิท (Rabbit)’ มากกว่า 14 ล้านใบ เพื่อใช้เป็นตั๋วรถไฟฟ้าและบัตรเติมเงินสำหรับซื้ออาหารเครื่องดื่มและบริการซึ่งมีกว่า 550 แบรนด์ที่รองรับการใช้งานผ่านบัตรแรบบิท และโดยปกติจะมีการออกบัตรแรบบิทใหม่ประมาณ 2 ล้านใบ/ปี แต่เมื่อมีการระบาดของ COVID-19 ตัวเลขดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 1.5 ล้านใบ ซึ่งการจะกลับมาเติบโตเหมือนเดิมอีกครั้ง ถือเป็นอีกโจทย์ของ รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บัตรแรบบิท)

รัชนี แสนศิลป์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (บัตรแรบบิท)

เดินหน้าเพิ่มพันธมิตร

รัชนี ระบุว่า เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงและจำนวนผู้โดยสารที่ใช้ระบบขนส่งมวลชนน้อยลงในช่วงล็อกดาวน์ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้การออกบัตรแรบบิทลดลง แต่ยังมีความหวังว่าในปี 2564 นักท่องเที่ยวต่างชาติจะ ‘กลับมา’ หลังจากที่ทั่วโลกได้รับความหวังจากการมี ‘วัคซีน’

อย่างไรก็ตาม บริษัทกำลังดำเนินกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องในการเพิ่มจำนวนผู้ถือบัตรด้วยการนำบัตรแรบบิทไปใช้ในบริบทต่าง ๆ อาทิ ร่วมกับองค์กรและสถานศึกษาในการทำ ‘บัตรพนักงาน’ และ ‘บัตรนักเรียน’ รวมถึงร่วมมือกับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ‘แสนสิริ’ ในการจัดหาคีย์การ์ดแรบบิทเพื่อเข้าคอนโดมิเนียม นอกจากนี้ยังออก ‘บัตรเมมเบอร์’ ให้แบรนด์ต่าง ๆ อีกด้วย

ล่าสุด ได้ออก ‘บัตรเครดิต อิออน แรบบิท แพลทินัม’ (AEON Rabbit Platinum Card) ซึ่งเข้ามามีส่วนใน eco-system ของบัตรแรบบิทให้เข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกการแตะบัตรใบนี้เพื่อชำระค่าบริการไม่ต้องกังวลว่ามีเงินอยู่ในบัตรพอเพียงหรือไม่ เพราะเมื่อเงินในฟังก์ชันแรบบิทที่อยู่ในบัตรใบนี้ไม่พอจ่ายค่าสินค้า/บริการ เงินจากวงเงินบัตรเครดิตก็จะเติมเข้า กระเป๋าบัตรแรบบิทโดยอัตโนมัติ และยังได้รับเครดิตเงิน 5%

เพิ่มบริการ ขนส่งมวลชน

บริษัทต้องการให้บัตรแรบบิทครอบคลุมการขนส่งประเภทต่าง ๆ ไม่ใช่แค่รถไฟฟ้า เนื่องจากจะทำให้มีผู้ถือบัตรมากขึ้นและมีร้านค้ามากขึ้นที่เสนอตัวเลือกการชำระเงินด้วยแรบบิท โดยในระหว่างที่รอการเชื่อมต่อ Rabbit กับตั๋วรถไฟฟ้า MRT บริษัทกำลังขยายบริการให้ครอบคลุมเส้นทางรถเมล์บางส่วนตามสถานที่ท่องเที่ยวและเรือสาธารณะ อาทิ การเดินทางบนคลองภาษีเจริญและแม่น้ำเจ้าพระยา

“เป้าหมายของเราคือการขยายเครือข่ายของเราให้มากที่สุด อย่างการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายจากวัดพระศรีมหาธาตุไปยังคูคต และรถไฟฟ้าสายสีทองที่เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีกับคลองสานน่าจะเป็นปัจจัยบวกเพิ่มจำนวนการใช้บัตร”

ในส่วนของร้านค้าปลีกต่าง ๆ บริษัทตั้งเป้าเพิ่มจุดรับชำระให้ได้ 40% โดยจะเน้นไปที่ร้านรายย่อย

“เรามั่นใจว่าจะสามารถหลับมาเติบโตได้เหมือนกับก่อนที่มี COVID-19 โดยในปีหน้าเราตั้งว่ายอดออกบัตรใหม่จะเติบโตได้ 15-20%

เพิ่มแอปฯ เพิ่มความสะดวก

ภายในไตรมาสที่สองของปี 2564 บริษัทมีแผนจะเปิดตัวแอปพลิเคชันบนมือถือเพื่อให้ผู้ถือบัตรสามารถ ‘ตรวจสอบยอดคงเหลือ’ ‘ประวัติการใช้งาน’ และเติมเงินมูลค่าบัตรได้ในไม่กี่วินาที และในอนาคตพวกเขาจะสามารถใช้ ‘มือถือแตะทำธุรกรรม’ ต่าง ๆ ได้ด้วย โดยผู้ถือบัตรจะต้องเชื่อมโยงแอปพลิเคชันกับบริการธนาคารบนมือถือ และต้องใช้โทรศัพท์ที่มี NFC

“ทุกสิ่งที่เราทำไม่ใช่แค่เพิ่มยอดออกบัตรใหม่ แต่ต้องใช้บัตรในกิจวัตรประจำวันนอกจากแค่ใช้เดินทาง BTS ซึ่งปัจจุบันมีการทำธุรกรรมผ่านบัตร 700,000-800,000 รายการ/วัน แต่การใช้นอกเหนือจากโดยสาร BTS หรือการใช้จ่ายซื้อของยังมีสัดส่วนเพียง 5-10%”

โปรโมชัน ยังจำเป็น

ส่วนบัตรลายลิมิเต็ดต่าง ๆ ช่วยให้บริษัทได้รู้ว่าลูกค้าเป็นใคร และจากนี้จะมีสิทธิประโยชน์เพิ่ม เช่น ได้ส่วนลดเพิ่มเติม ซึ่งจะไม่ใช่แค่ขายลายแต่ยังช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายด้วย อาทิ ลาย ‘กันดั้ม’ ที่เพิ่งออกไปก็จะมีสิทธิพิเศษเพิ่มไปด้วย ดังนั้น สิทธิพิเศษหรือโปรโมชันต่าง ๆ ยังเป็นสิ่งจำเป็น ช่วยให้รู้สึกว่าดีกว่า ‘ใช้เงินสด’ ดังนั้น การแข่งขันของบัตรแรบบิทกับ ‘อีวอลเล็ต’ ต่าง ๆ ยังอยู่ที่โปรโมชันเป็นหลัก ส่งผลให้ทรานแซคชั่นของร้านค้าต่าง ๆ จะขึ้น ๆ ลง ๆ แล้วแต่ใครมี ‘โปรโมชัน’ ดังนั้น ‘Loyalty’ ไม่มีแล้ว

“โปรโมชันยังสำคัญในการดึงลูกค้ามาใช้ แต่ความชินเป็นอีกสิ่งที่คนใช้ไม่รู้ตัว การชำระเงินผ่านแอปฯ อาจจะง่าย แต่การหยิบบัตรมาแตะก็ง่าย และเราไม่ได้มีโปรหวือหวาให้ว้าว แต่มีตลอดเพื่อให้อยู่ในใจลูกค้า”

ผู้อยู่รอดต้องมี อีโคซิสเต็มส์ ที่แข็งแรงพอ

ตอนนี้การแข่งขันเป็นสิ่งที่ท้าทายของแรบบิทที่สุด เพราะตอนนี้กำลังแข่งขันกับ ‘ออนไลน์’ แต่ไม่ได้มีใครมองว่าความจริงเป็นยังไง โดยแรบบิทยังมองว่า ‘ออฟไลน์’ ยังแข็งแกร่ง และออนไลน์แรบบิทก็มี Rabbit Line Pay นอกจากนี้ จุดแข็งของบัตรแรบบิทคือ ‘BTS’ ตราบใดที่คนยังต้องเดินทางด้วย BTS บัตรแรบบิทยังจำเป็น ดังนั้น คนที่จะอยู่รอดหรืออีวอลเล็ตที่จะอยู่รอดต้องมีอีโคซิสเต็มส์ที่แข็งแรง

“เรายังมีความจำเป็นต้องเป็นออฟไลน์เพราะเรื่องการเดินทาง แต่ก็พร้อมจะอัพเกรดเป็นออนไลน์ 100% ได้ทันที ดังนั้นเราเท่าเทียมกับอีวอลเล็ต แต่มีมากกว่าก็คือทรานซิท”

สุดท้าย แม้ประเทศไทยกำลังก้าวไปสู่โลกดิจิทัลและโลกเสมือนจริง แต่ในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ โลกออฟไลน์ยังคงแข็งแกร่ง ดังนั้น การจะเป็นสังคมไร้เงินสดเหมือนจีนยังไม่ง่าย เพราะการใช้จ่ายของไทยกระจุกอยู่ในสังคมเมืองมากกว่า แถมคนไทยถูกกปลูกฝังว่าเรื่องเงินเป็นของธนาคาร ดังนั้นมันยังมีปัญหาตรงส่วนนี้อยู่ ดังนั้นอีก 10 ปีอาจเป็นไปได้

]]>
1312294
เตรียมพัฒนาระบบรับ “บัตรแมงมุม” ใช้ ”BTS-MRT” ข้ามระบบ ดีเดย์มิถุนายน 63 https://positioningmag.com/1260123 Fri, 10 Jan 2020 15:53:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260123 กระทรวงคมนาคมเตรียมจัดการระบบตั๋วร่วมระยะเร่งด่วน โดยให้สามารถใช้งานผ่านบัตรรถไฟฟ้า ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ บัตรแมงมุม, บัตร MRT Plus และบัตร Rabbit เพื่อให้ผู้โดยสารสะดวกมากขึ้น

กลายเป็นวาระแห่งชาติที่พูดคุยกันเป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่ลงตัวเสียที สำหรับการใช้ระบบบัตรร่วมในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT และรถไฟฟ้า BTS โดยทีก่อนหน้านี้ได้ออกบัตรแมงมุมมาแต่ก็ไม่สามารถใช้บริการได้

ทำให้ตอนนี้ในระบบบัตรรถไฟฟ้าในปัจจุบันมี 3 รูปแบบ คือ บัตร Rabbit (รถไฟฟ้า BTS) มีผู้ถือบัตรประมาณ 12 ล้านใบ, บัตร MRT plus (รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสีม่วง) มีผู้ถือบัตรจำนวน 2 ล้านใบ และบัตรแมงมุม มีจำนวน 2 แสนใบ

โดยในทางเทคนิคจะต้องพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดตั้งแต่ระดับที่ 1 เครื่องอ่านบัตรของแต่ละประตูทางเข้าสถานี ระดับที่ 2 ระบบคอมพิวเตอร์ของแต่ละสถานี ระดับที่ 3 Clearing House ของแต่ละหน่วยงาน

ทั้งนี้ที่ประชุมของกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รฟม. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM , บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) , กรุงเทพมหานคร (กทม.) , บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ปรับปรุงพัฒนาระบบให้สามารถใช้บัตรร่วมกันได้ภายใน 4 เดือน (ก.พ. – พ.ค. 63) และให้เริ่มใช้งานบัตรข้ามระบบได้ในเดือนมิ.ย. 2563 โดยให้หน่วยงานเจ้าของระบบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดสรรงบประมาณในการลงทุนพัฒนาระบบให้เชื่อมต่อกัน

ในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้พัฒนาระบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงให้เข้ากับระบบตั๋วร่วม และขอให้รายงานความคืบหน้าในการประชุมครั้งต่อไป และระดับที่ 4 ศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง เพื่อให้สามารถรองรับบัตรได้ทั้ง 3 รูปแบบ

ทั้งนี้มีการประเมินว่า การปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์หัวอ่านและระบบของรถไฟฟ้า 4 สาย ให้สามารถรับบัตรข้ามระบบได้ จะใช้เงินลงทุนรวมกว่า 300 ล้านบาท แต่ก็มีข้อกังวลเนื่องจากจะมีเวลาในการทำงานปรับปรุงระบบที่จำกัด เนื่องจากสามารถทำได้ในช่วงหลังปิดให้บริการแล้ว คือหลังเที่ยงคืน – ตี 5 เท่านั้น

Source

]]>
1260123
“สมาร์ทบัส” นำร่องจ่ายค่าโดยสารรถเมล์ด้วย “บัตรแรบบิท” แล้ว https://positioningmag.com/1254253 Wed, 20 Nov 2019 08:23:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254253 คนกรุงเฮ “สมาร์ทบัส” เริ่มรับชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิท นำร่องสาย 104 และ 150 ก่อนขยายให้ครบ 8 เส้นทาง พร้อมให้ส่วนลด 2 บาทต่อเที่ยวถึงมีนาคม 63

รายงานข่าวจากบริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ผู้ประกอบการรถประจำทางที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ระบุว่า ได้เริ่มให้บริการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรแรบบิท (Rabbit Card) ที่ใช้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส เริ่มต้นนำร่อง 2 เส้นทาง ได้แก่ สาย 104 ปากเกร็ดหมอชิต 2 และสาย 150 ปากเกร็ดบางกะปิ โดยมอบส่วนลดทันที 2 บาทต่อเที่ยว จากปกติ 15-20-25 บาท ตั้งแต่วันที่ 19 .. 2562 ถึง 31 มี.. 2563

 

สำหรับวิธีการแตะจ่ายบัตรแรบบิท ให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางขึ้น (ด้านหน้ารถทุกครั้ง โดยที่บัตรต้องมีเงินคงเหลือไม่น้อยกว่าอัตราค่าโดยสารสูงสุด (25 บาทเมื่อถึงป้ายรถเมล์ที่ต้องการให้แตะบัตรแรบบิทที่ประตูทางลง ระบบจะคำนวณค่าโดยสารตามระยะทางที่กำหนด คือ 4 กิโลเมตรแรก 15 บาท, 4-16 กิโลเมตร 20 บาท และ 16 กิโลเมตรขึ้นไป 25 บาท หากลืมแตะบัตร ระบบจะหักค่าโดยสารในอัตราสูงสุด

อย่างไรก็ตาม สำหรับบัตรแรบบิทที่ใช้งานได้ คือ บัตรแรบบิทมาตรฐานบัตรแรบบิทพิเศษ (ลายการ์ตูนลิขสิทธิ์), บัตรแรบบิทสำหรับองค์กรบัตรแรบบิทร่วมแบรนด์ เช่น บัตรเครดิตธนาคารกรุงเทพ แรบบิทบัตรบีเฟิสต์สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิทบัตรบีเฟิสต์สมาร์ท ทีพีเอ็น แรบบิท ศิริราช ส่วนบัตรแรบบิทที่ผูกกับบริการแรบบิท ไลน์ เพย์ (Rabbit LinePay) เพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ไม่สามารถใช้งานได้

ปัจจุบัน สมาร์ทบัสมีรถประจำทางปรับอากาศให้บริการ 8 เส้นทาง ได้แก่ สาย 104, สาย 150, สาย 51 ปากเกร็ดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ฝั่งถนนพหลโยธิน), สาย 52 ปากเกร็ดบางซื่อสาย 69 ท่าอิฐบึงกุ่มสาย 147 วงกลม การเคหะธนบุรีบางแคสาย 167 การเคหะธนบุรีสวนลุมพินี และสาย 558 การเคหะธนบุรีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยปล่อยรถความถี่สูงสุดทุก 5 นาที ให้บริการตั้งแต่เวลา 04.00-23.00 .

อนึ่ง ปัจจุบันบัตรแรบบิท จำหน่ายที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารบีทีเอสทุกสถานีราคา 200 บาท ในบัตรมีมูลค่าเริ่มต้นพร้อมใช้งาน 100 บาท นอกจากใช้กับรถไฟฟ้าบีทีเอส และรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที (สาทรราชพฤกษ์แล้ว มีรถประจำทางรองรับ ได้แก่ สาย Y70E ศาลายา-หมอชิตรถเมล์ RTC นนทบุรี ซิตี้ บัสรถเมล์ RTC เชียงใหม่ ซิตี้ บัสภูเก็ตสมาร์ทบัสเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ – ท่ามหาราช และเรือโดยสารคลองภาษีเจริญ.

Source

]]>
1254253